อยากให้มีคนสร้างหนังเรื่อง CONGREGATION OF WITCHES โดยให้ตัวละคร Abra Stone (Kyliegh Curran) จาก DOCTOR SLEEP กับกลุ่มแม่มดจาก THE CIRCLE (2015, Levan Akin, Sweden) ผนึกกำลังกันเพื่อปะทะกับ Susie (Dakota Johnson) จาก SUSPIRIA และแม่มดร้ายอีกสองตัวที่แสดงโดย Marina Abramovic กับ Araya Rasdjarmrearnsook โดยคำโปรยนโปสเตอร์หนังเรื่องนี้คือ "AND THEN WE'LL SEE WHO IS BETTER THAN WHO" แล้วเราก็จะได้รู้ว่า ใครมันจะแน่กว่ากัน
MANDY (2018, Panos Cosmatos, A+30)
1.เหมือนเป็นหนังที่ THE STYLE IS THE SUBSTANCE คือเนื้อเรื่องของหนังไม่สำคัญเท่ากับสไตล์ของหนัง แบบเดียวกับหนังอย่าง TEARS OF THE BLACK TIGER (Wisit Sasanatieng) และ THE NEON DEMON (2016, Nicolas Winding Refn) ซึ่งเราว่า MANDY ทำถึงมากๆในจุดนี้ คือสไตล์ของมัน หรือการออกแบบภาพ+เสียง ของมันเข้าทางเราสุดๆ สวยงาม หลอกหลอน น่าพรั่นพรึงสุดๆ
2.แต่การที่ตัวหนังมันขาด substance ในตัวมันเอง หรือขาด "ตวามหลอนที่แท้จริงทางจิตวิญญาณ" ในตัวละคร หรือขาดความน่าสนใจในเชิงทัศนคติที่มีต่อมนุษย์+โลก+จักรวาล ก็เลยทำให้หนังเรื่องนี้ไต่ไปไม่ถึงขั้นเดียวกับหนังของ David Lynch และ Philippe Grandrieux นะ คือเราว่า งานด้านภาพ+เสียง+บรรยากาศ ของหนังเรื่องนี้ เทียบชั้นกับหนังของ Lynch และ Grandrieux ได้แล้ว แต่ก็คือเทียบชั้นได้แค่ "ผิวเปลือกภายนอก" ของหนังของผู้กำกับสองคนนี้น่ะ แต่แก่นแท้ภายในมันเป็นคนละเรื่องกันเลย
3.แต่เหมือนผู้กำกับหนังเรื่องนี้ เขาก็คงรู้ตัวดีแหละ ว่าเขาถนัดอะไร ไม่ถนัดอะไร เขาก็เลยดูเหมือนไม่ได้พยายามจะทำให้หนังมัน "ลึก" แต่อย่างใด และเขาดูเหมือนจะขำขันกับความกลวงในหนังของตัวเองด้วย 555
4. Linus Roache เล่นดีสุดๆ จำเขาแทบไม่ได้เลย เราเคยตกหลุมรักเขาจากหนังเรื่อง PRIEST (1994, Antonia Bird) ปรากฏว่าในหนังเรื่องนี้เขากลายเป็นเหมือน Iggy Pop ไปแล้ว
ZOMBIELAND: DOUBLE TAP (2019, Ruben Fleischer, A+25)
Spoilers alert
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
1. ชอบตัวละคร Madison (Zoey Deutch) มากๆ นึกว่าหลุดมาจากหนังเรื่อง LEGALLY BLONDE (2001, Robert Luketic)
2.แอบเอาใจช่วยกลุ่มตัวละครผู้รักสันติใน Babylon มากๆ เพราะเราเดาไม่ออกว่าหนังจะมาไม้ไหน (เราไม่ได้ดูภาคแรกมาก่อน) ไม่รู้ว่าหนังจะเลือกให้ตัวละครกลุ่มนี้อยู่หรือตาย
คือตอนแรกเรากลัวว่า หนังอาจจะเลือกสีงหารหมู่ตัวละครทั้งหมดใน Babylon แบบเดียวกับหนังเรื่อง I AM A HERO (2015, Shinsuke Sato) ที่สังหารหมู่ตัวละครกลุ่มหนุ่มสาวบนดาดฟ้าห้างสรรพสินค้า หรือเหมือนหนังเรื่อง BATTLE ROYALE (2000, Kinji Fukasaku) ที่สร้างกลุ่มตัวละครหญิงสาวนิสัยดีในประภาคารสีขาว หรืออะไรทำนองนี้ ก่อนที่จะฆ่าตัวละครกลุ่มนี้ทั้งหมดในเวลาต่อมา
พอ ZOMBIELAND ไม่เลือกแนวทางที่ใจร้ายแบบนั้น เราก็เลยดีใจ
Saturday, November 30, 2019
Friday, November 29, 2019
A DAY IN CHIANG MAI
หนังที่ได้ดูในโปรแกรมหนังสั้นมาราธอน
วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2562
1.A Day in Chiang Mai / ชนินทร เพ็ญสูตร / 28.34 นาที DOCUMENTARY, A+30
ดูแล้วนึกถึงหนังสารคดีเรื่อง HAVANA SUITE (2003, Fernando Pérez, Cuba) มากๆ เพราะ HAVANA SUITE เป็นการถ่ายทอดชีวิตคนธรรมดา 10 คนในเวลา 1 วันในคิวบา ส่วน A DAY IN CHIANG MAI ก็เป็นการถ่ายทอดชีวิตคนธรรมดาหลายคนในเวลา 1 วันในเชียงใหม่
ชอบการเลือก subjects ในหนังสารคดีเรื่องนี้ เพราะมีทั้งหนุ่มหล่อ, ชนชั้นแรงงานจากภาคใต้ที่มาทำงานในเชียงใหม่, สาวอีสานที่มาทำงานในเชียงใหม่ และบอกว่าตัวเองถูกด่าเป็นภาษาเหนือ แล้วฟังไม่ออกว่าโดนด่าว่าอะไร และกะเทยกะหรี่ที่เคยมีประสบการณ์โชกโชนในต่างประเทศมาแล้ว
2.Bon Appetit / สุรพงษ์ เพลินแสง / 19.39 นาที E A+30
3.Bowie in Bangkok - 1983 - / ภคพล ราชวงศ์ / 29.14 นาที DOCUMENTARY, A+30
4.Congruity Chant / กันต์ชนิต เลียงอุดม / 20.52 นาที E A+30
5. The Calling / พัดชา อิทธิจารุกุล / 9.12 นาที E documentary, A+25
6.Buddha on the table and the war of a child / ธิดา ต่ายใหญ่กรีด / 7.12 นาที A+25
7.Crawling Kingdom, The / กุลนิดา ประจำที่ / 6.47 นาที A+25
8.Cloning / ภาคภูมิ ศรีสุรักษ์, สิทธิชัย เจริญรอย, ณัฐนารี เชื้อวงศ์, จุฬามณี เอ้บสูงเนิน, จุฬาลักษณ์ คำอ่อน / 19.14 นาที A+25
9.Dawn / ธีรทัศน์ แผ่สุวรรณ / 4.58 นาที A+
อันนี้เป็นมิวสิควิดีโอของวง DEADFLOWERS
10.Daddy Secret / นิญาดา เกียรติเกื้อกูล / 15.35 นาที A
วันพุธที่ 6 พฤศจิกายน 2562
1.A Day in Chiang Mai / ชนินทร เพ็ญสูตร / 28.34 นาที DOCUMENTARY, A+30
ดูแล้วนึกถึงหนังสารคดีเรื่อง HAVANA SUITE (2003, Fernando Pérez, Cuba) มากๆ เพราะ HAVANA SUITE เป็นการถ่ายทอดชีวิตคนธรรมดา 10 คนในเวลา 1 วันในคิวบา ส่วน A DAY IN CHIANG MAI ก็เป็นการถ่ายทอดชีวิตคนธรรมดาหลายคนในเวลา 1 วันในเชียงใหม่
ชอบการเลือก subjects ในหนังสารคดีเรื่องนี้ เพราะมีทั้งหนุ่มหล่อ, ชนชั้นแรงงานจากภาคใต้ที่มาทำงานในเชียงใหม่, สาวอีสานที่มาทำงานในเชียงใหม่ และบอกว่าตัวเองถูกด่าเป็นภาษาเหนือ แล้วฟังไม่ออกว่าโดนด่าว่าอะไร และกะเทยกะหรี่ที่เคยมีประสบการณ์โชกโชนในต่างประเทศมาแล้ว
2.Bon Appetit / สุรพงษ์ เพลินแสง / 19.39 นาที E A+30
3.Bowie in Bangkok - 1983 - / ภคพล ราชวงศ์ / 29.14 นาที DOCUMENTARY, A+30
4.Congruity Chant / กันต์ชนิต เลียงอุดม / 20.52 นาที E A+30
5. The Calling / พัดชา อิทธิจารุกุล / 9.12 นาที E documentary, A+25
6.Buddha on the table and the war of a child / ธิดา ต่ายใหญ่กรีด / 7.12 นาที A+25
7.Crawling Kingdom, The / กุลนิดา ประจำที่ / 6.47 นาที A+25
8.Cloning / ภาคภูมิ ศรีสุรักษ์, สิทธิชัย เจริญรอย, ณัฐนารี เชื้อวงศ์, จุฬามณี เอ้บสูงเนิน, จุฬาลักษณ์ คำอ่อน / 19.14 นาที A+25
9.Dawn / ธีรทัศน์ แผ่สุวรรณ / 4.58 นาที A+
อันนี้เป็นมิวสิควิดีโอของวง DEADFLOWERS
10.Daddy Secret / นิญาดา เกียรติเกื้อกูล / 15.35 นาที A
Thursday, November 28, 2019
MALEFICENT: MISTRESS OF EVIL
MALEFICENT: MISTRESS OF EVIL (2019, Joachim Rønning, A+25)
แอบสงสัยว่าหนังเรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์สังหารหมู่ชาวโปรเตสแตนต์ 30,000 คนในวันนักบุญบาร์โธโลมิวในฝรั่งเศสในปี 1572 หรือเปล่า โดยตัวละครราชินีอิงกริธ (Michelle Pfeiffer) ในหนังเรื่องนี้ อาจจะมีต้นแบบมาจากราชินี Catherine de Medici ส่วนตัวละครเจ้าชายฟิลิป (Harris Dickinson) ในเรื่องนี้ จริงๆแล้วอาจจะมีสถานะคล้ายๆกับเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตในหนังเรื่อง QUEEN MARGOT (1994, Patrice Chéreau) เพราะเขาถูกหลอกให้จัดงานแต่งงาน เพื่อที่พระราชินีจะได้ใช้งานอภิเษกสมรสเป็นกับดักในการสังหารหมู่ฝ่ายตรงข้าม
ดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้ชอบดิสนีย์มากขึ้นกว่าเดิม มันเหมือนกับว่าดิสนีย์เอา QUEEN MARGOT มาดัดแปลงใหม่ ให้กลายเป็นหนังสำหรับเด็ก
แอบสงสัยว่าหนังเรื่องนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากเหตุการณ์สังหารหมู่ชาวโปรเตสแตนต์ 30,000 คนในวันนักบุญบาร์โธโลมิวในฝรั่งเศสในปี 1572 หรือเปล่า โดยตัวละครราชินีอิงกริธ (Michelle Pfeiffer) ในหนังเรื่องนี้ อาจจะมีต้นแบบมาจากราชินี Catherine de Medici ส่วนตัวละครเจ้าชายฟิลิป (Harris Dickinson) ในเรื่องนี้ จริงๆแล้วอาจจะมีสถานะคล้ายๆกับเจ้าหญิงมาร์กาเร็ตในหนังเรื่อง QUEEN MARGOT (1994, Patrice Chéreau) เพราะเขาถูกหลอกให้จัดงานแต่งงาน เพื่อที่พระราชินีจะได้ใช้งานอภิเษกสมรสเป็นกับดักในการสังหารหมู่ฝ่ายตรงข้าม
ดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้ชอบดิสนีย์มากขึ้นกว่าเดิม มันเหมือนกับว่าดิสนีย์เอา QUEEN MARGOT มาดัดแปลงใหม่ ให้กลายเป็นหนังสำหรับเด็ก
Wednesday, November 27, 2019
26 NOV - 2 DEC 1989
อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 48
26 NOV – 2 DEC 1989
1. PUMP UP THE JAM – Technotronic featuring
Felly
2. WITH EVERY BEAT OF MY HEART – Taylor Dayne
(New Entry)
3. BABY DON’T SAY GOODBYE – Dead Or Alive (New
Entry)
4. I’LL SET YOU FREE – The Bangles (New Entry)
5. DREAM RUSH – Rie Miyazawa (New Entry)
6. DON’T KNOW MUCH – Linda Ronstadt featuring
Aaron Neville (New Entry)
7. REALISTIC – Shirley Lewis (New Entry)
8. WE DIDN’T START THE FIRE – Billy Joel (New
Entry)
9. C’MON AND GET MY LOVE – D-Mob featuring
Cathy Dennis (New Entry)
10. DON’T MAKE ME OVER – Sybil
(New Entry)
11. THE SENSUAL WORLD – Kate Bush (New Entry)
12. LEAVE A LIGHT ON – Belinda Carlisle
13. DATTE SHOU GA NAI JA NAI – Akiko Wada (New
Entry)
14. RUN SILENT – Shakespears Sister (New Entry)
15. CROSSROADS – Tracy Chapman (New Entry)
BLUE SUMMER RAIN
หนังที่ได้ดูในโปรแกรมหนังสั้นมาราธอน
วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2562
1.Blue Summer Rain / ภัทริน เชาว์พานิช / 56.15 นาที E A+30
ชอบการเล่าเรื่องแบบแบ่งเป็น 3 องก์ในหนังมากๆ ชอบที่แต่ละองก์มันเหมือนเชื่อมกันแบบ “เล็กน้อย” เท่านั้น เหมือนองก์แรกหนังจะเล่าถึงชีวิตเด็ก 3 คนที่เคยเล่นด้วยกันที่แฟลตแห่งนึงในวัยเด็ก แต่พอองก์สอง หนังก็โฟกัสไปที่ชีวิตวัยหนุ่มของหนึ่งในเด็ก 3 คนนั้น และในองก์สาม หนังก็โฟกัสไปที่ชีวิตรันทดของหญิงสาวคนนึง ซึ่งน่าจะเป็น 1 ในเด็ก 3 คนนั้น
วิธีการเล่าเรื่องแบบ “เชื่อมกันเพียงเล็กน้อย” แบบนี้ ทำให้รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เหมาะฉายควบกับ COMING TO TERMS WITH THE DEAD (1994, Pascale Ferran, France) มากๆ
2.The Blue Crow / ปฏิภาณ บุณฑริก / 15.51 นาที E A+30
3.Blue Loop / ชาญคเณศ เล็กสมบูรณ์ / 43.24 นาที E A+30
4.Block Shot / พันธกิจ หลิมเทียนลี้ / 13.21 นาที E A+30
5.Blue Curtain, The / ยลธิดา รณกิตติ / 3.55 นาที ANIMATION, A+30
6.Big Cleaning Day / ธีรภัทร ประภัศร / 4.18 นาที E A+25
7.Bobo / กรุณาพร ผลพิทักษ์กุล / 4.05 นาที A+20
8.BFF (?) / ณัฏฐา เมืองคล้าย / 7 นาที A+15
9.Book of Incarnation, The / ฉันทัช พรหมเงิน / 12.27 นาที E A+10
วันอังคารที่ 5 พฤศจิกายน 2562
1.Blue Summer Rain / ภัทริน เชาว์พานิช / 56.15 นาที E A+30
ชอบการเล่าเรื่องแบบแบ่งเป็น 3 องก์ในหนังมากๆ ชอบที่แต่ละองก์มันเหมือนเชื่อมกันแบบ “เล็กน้อย” เท่านั้น เหมือนองก์แรกหนังจะเล่าถึงชีวิตเด็ก 3 คนที่เคยเล่นด้วยกันที่แฟลตแห่งนึงในวัยเด็ก แต่พอองก์สอง หนังก็โฟกัสไปที่ชีวิตวัยหนุ่มของหนึ่งในเด็ก 3 คนนั้น และในองก์สาม หนังก็โฟกัสไปที่ชีวิตรันทดของหญิงสาวคนนึง ซึ่งน่าจะเป็น 1 ในเด็ก 3 คนนั้น
วิธีการเล่าเรื่องแบบ “เชื่อมกันเพียงเล็กน้อย” แบบนี้ ทำให้รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้เหมาะฉายควบกับ COMING TO TERMS WITH THE DEAD (1994, Pascale Ferran, France) มากๆ
2.The Blue Crow / ปฏิภาณ บุณฑริก / 15.51 นาที E A+30
3.Blue Loop / ชาญคเณศ เล็กสมบูรณ์ / 43.24 นาที E A+30
4.Block Shot / พันธกิจ หลิมเทียนลี้ / 13.21 นาที E A+30
5.Blue Curtain, The / ยลธิดา รณกิตติ / 3.55 นาที ANIMATION, A+30
6.Big Cleaning Day / ธีรภัทร ประภัศร / 4.18 นาที E A+25
7.Bobo / กรุณาพร ผลพิทักษ์กุล / 4.05 นาที A+20
8.BFF (?) / ณัฏฐา เมืองคล้าย / 7 นาที A+15
9.Book of Incarnation, The / ฉันทัช พรหมเงิน / 12.27 นาที E A+10
TURNING 18
PARADISE HILLS (2019, Alice Waddington, A+15)
รู้สึกว่ามันสนุกปานกลาง บางทีมันอาจจะเหมาะเป็น episode นึงในละครทีวีชุด TWILIGHT ZONE มากกว่า
TURNING 18 (2018, Ho Chao-ti, Taiwan, documentary, A+30)
1.ไม่รู้ผู้กำกับทำยังไง ถึงสามารถทำให้ subjects ทั้งสองสาวไว้วางใจ ให้มาถ่ายทำขีวิตส่วนตัวได้อย่างใกล้ชิดขนาดนี้ ทั้ง subject ที่เป็นสาวเลสเบียนวัยมัธยม และ subject สาวสก๊อยที่มีผัวหนุ่มหล่อ แต่นิสัยไม่เอาถ่าน
2.ดูแล้วนึกถึงเพื่อนผู้หญิงสมัยมัธยมคนนึง ที่พอเรียนจบ ม. 3 เธอก็ลาออก แล้วก็มีลูกในทันที พอเราเรียนม.4 เธอก็อุ้มลูกมาปะทะเพื่อนๆที่โรงเรียนแล้ว ซึ่งนั่นหมายความว่าลูกของเธอน่าจะมีอายุ 31 ปีแล้วในปัจจุบัน
รู้สึกว่ามันสนุกปานกลาง บางทีมันอาจจะเหมาะเป็น episode นึงในละครทีวีชุด TWILIGHT ZONE มากกว่า
TURNING 18 (2018, Ho Chao-ti, Taiwan, documentary, A+30)
1.ไม่รู้ผู้กำกับทำยังไง ถึงสามารถทำให้ subjects ทั้งสองสาวไว้วางใจ ให้มาถ่ายทำขีวิตส่วนตัวได้อย่างใกล้ชิดขนาดนี้ ทั้ง subject ที่เป็นสาวเลสเบียนวัยมัธยม และ subject สาวสก๊อยที่มีผัวหนุ่มหล่อ แต่นิสัยไม่เอาถ่าน
2.ดูแล้วนึกถึงเพื่อนผู้หญิงสมัยมัธยมคนนึง ที่พอเรียนจบ ม. 3 เธอก็ลาออก แล้วก็มีลูกในทันที พอเราเรียนม.4 เธอก็อุ้มลูกมาปะทะเพื่อนๆที่โรงเรียนแล้ว ซึ่งนั่นหมายความว่าลูกของเธอน่าจะมีอายุ 31 ปีแล้วในปัจจุบัน
Tuesday, November 26, 2019
PINK MAN BEGINS
PINK MAN BEGINS: EPISODE 1, 2, 3 (1997, Manit Sriwanichpoom, video installlation, A+30)
1. Episode 1 เป็นพิงค์แมนกับรถเข็น supermarket, episode 2 เป็นพิงค์แมนกับตะเกียงและบทกลอน ส่วน episode 3 เป็นพิงค์แมนกับลูกโป่ง
พอมาดูในยุคนี้ ก็รู้สึกเฉยๆกับท่าทีต่อต้าน consumerism ใน video เหมือนเราไม่ได้ชอบ message ของมัน แต่สิ่งที่ชอบมากคือ "ผลพลอยได้" ของ video นี้ ที่มันบันทึกอะไรหลายๆอย่างในกรุงเทพช่วงปี 1997 เอาไว้ ทั้งถนนช่วงที่ยังก่อสร้างรถไฟฟ้าไม่เสร็จ, สภาพท้องตลาด, สีลมยุคปี 1997, แฟชั่นสาวออฟฟิศ, ทรงผมสาวออฟฟิศ, รองเท้าสาวออฟฟิศ คือดูแล้ว nostalgia ถึงชีวิตสาวออฟฟิศของตัวเองในปี 1997 มากๆ 55555
2.หัวเราะจนหยุดไม่ได้กับ episode 3 ที่เหมือนให้พิงค์แมนไปตะโกนอย่างกราดเกรี้ยวกลางตลาดว่า " ทุกคนอยากถือกระเป๋าหลุยส์ วิตตอง ทุกคนอยากถือกระเป๋าหลุยส์ วิตตอง" รู้สึกว่ามันตลกมากๆพอมาดูในยุคนี้
3.ตลกดีที่เราได้ดูวิดีโอนี้ในวันเดียวกับที่ได้ดูหนังเรื่อง "จอมขมังเวทย์ 2" ที่สมพงษ์ ทวี (พิงค์แมน) ร่วมแสดงด้วย
-----------------
FILM COMMENT เล่มเดือน SEP-OCT 2019 ออกแล้ว เราซื้อที่ KINOKUNIYA สาขา PARAGON ในเล่มนี้มีคนเขียนถึงหนังเรื่อง MIDNIGHT TRAVELER (HassaN Fazili) ที่กำลังจะฉายที่ Lido และมีบทความสั้นๆเกี่ยวกับหนังของ Ula Stockl ด้วย ซึ่งอันนี้ทำให้เราดีใจสุดขีด เพราะเราเคยดูหนังเรื่อง THE SLEEP OF REASON (1984, Ula Stockl, West Germany) ที่สถาบันเกอเธ่ในกรุงเทพเมื่อราว 20 ปีก่อน แล้วเราชอบสุดขีด ยกให้เป็น one of my most favorite films of all time ไปเลย แต่ปรากฏว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เราหาบทความเกี่ยวกับ Ula Stockl มาอ่านแทบไม่ได้เลย
1. Episode 1 เป็นพิงค์แมนกับรถเข็น supermarket, episode 2 เป็นพิงค์แมนกับตะเกียงและบทกลอน ส่วน episode 3 เป็นพิงค์แมนกับลูกโป่ง
พอมาดูในยุคนี้ ก็รู้สึกเฉยๆกับท่าทีต่อต้าน consumerism ใน video เหมือนเราไม่ได้ชอบ message ของมัน แต่สิ่งที่ชอบมากคือ "ผลพลอยได้" ของ video นี้ ที่มันบันทึกอะไรหลายๆอย่างในกรุงเทพช่วงปี 1997 เอาไว้ ทั้งถนนช่วงที่ยังก่อสร้างรถไฟฟ้าไม่เสร็จ, สภาพท้องตลาด, สีลมยุคปี 1997, แฟชั่นสาวออฟฟิศ, ทรงผมสาวออฟฟิศ, รองเท้าสาวออฟฟิศ คือดูแล้ว nostalgia ถึงชีวิตสาวออฟฟิศของตัวเองในปี 1997 มากๆ 55555
2.หัวเราะจนหยุดไม่ได้กับ episode 3 ที่เหมือนให้พิงค์แมนไปตะโกนอย่างกราดเกรี้ยวกลางตลาดว่า " ทุกคนอยากถือกระเป๋าหลุยส์ วิตตอง ทุกคนอยากถือกระเป๋าหลุยส์ วิตตอง" รู้สึกว่ามันตลกมากๆพอมาดูในยุคนี้
3.ตลกดีที่เราได้ดูวิดีโอนี้ในวันเดียวกับที่ได้ดูหนังเรื่อง "จอมขมังเวทย์ 2" ที่สมพงษ์ ทวี (พิงค์แมน) ร่วมแสดงด้วย
-----------------
FILM COMMENT เล่มเดือน SEP-OCT 2019 ออกแล้ว เราซื้อที่ KINOKUNIYA สาขา PARAGON ในเล่มนี้มีคนเขียนถึงหนังเรื่อง MIDNIGHT TRAVELER (HassaN Fazili) ที่กำลังจะฉายที่ Lido และมีบทความสั้นๆเกี่ยวกับหนังของ Ula Stockl ด้วย ซึ่งอันนี้ทำให้เราดีใจสุดขีด เพราะเราเคยดูหนังเรื่อง THE SLEEP OF REASON (1984, Ula Stockl, West Germany) ที่สถาบันเกอเธ่ในกรุงเทพเมื่อราว 20 ปีก่อน แล้วเราชอบสุดขีด ยกให้เป็น one of my most favorite films of all time ไปเลย แต่ปรากฏว่า ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา เราหาบทความเกี่ยวกับ Ula Stockl มาอ่านแทบไม่ได้เลย
19 NOV – 25 NOV 1989
อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 47
19 NOV – 25 NOV 1989
1. I WANT THAT MAN – Deborah Harry
2. LEAVE A LIGHT ON – Belinda Carlisle
3. PUMP UP THE JAM – Technotronic featuring
Felly (New Entry)
4. EVERYTHING – Jody Watley (New Entry)
5. LOVE ON A MOUNTAIN TOP – Sinitta (New Entry)
6. CAN’T FORGET YOU – Sonia (New Entry)
7. TURN THE TIDE -- Johnny Hates
Jazz (New Entry)
8. CHOCOLATE BOX – Bros (New
Entry)
9. UNDER THE BOARDWALK – Bette Midler
(New Entry)
10. LISTEN TO YOUR HEART – Roxette
(New Entry)
11. ROOM IN YOUR HEART – Living in a Box
12. DREAMER – Kahoru Kohiruimaki
13. EYE KNOW – De La Soul (New
Entry)
14. SUGAR SUGAR – Annie Amazulu (New Entry)
15. FRENCH KISS – Lil Louis (New Entry)
12 NOV – 18 NOV 1989
อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 46
12 NOV – 18 NOV 1989
1. LEAVE A LIGHT ON – Belinda Carlisle (New
Entry)
2. I WANT THAT MAN – Deborah Harry (New Entry)
3. GET ON YOUR FEET – Gloria Estefan
4. DREAMER – Kahoru Kohiruimaki (New Entry)
5. ROOM IN YOUR HEART – Living in a Box (New Entry)
6. MYSELF KAZENI NARITAI – Hideaki Tokunaga (New Entry)
7. DREAM POWER – Yui Asaka (New Entry)
8. SUNSHINE – Dino (New Entry)
9. LOVE LIKE WE DO – Edie Brickell & New Bohemians
10. HEAVEN’S HERE – Holly Johnson
11. KISS YOUR TEARS AWAY – Lisa Lisa and Cult
Jam (New Entry)
12. DON’T DROP BOMBS – Liza Minnelli (New
Entry)
13. MIRACLE GIRL – Mariko Nagai (New Entry)
14. PUS N’ BOOTS – Kon Kan (New Entry)
15. I FEEL FOR YOU – Chaka Khan (New Entry)
Saturday, November 23, 2019
THE SHEPHERDS
WHERE WE BELONG (2017, Myo Aung, Taiwan, documentary, A+25)
หนังสารคดีเกี่ยวกับชาวพม่าในไต้หวันที่ตัดสินใจอพยพออกจากไต้หวันเพื่อกลับมาทำงานขุดหาอัญมณีในเมียนมาร์
ชอบฉากซื้อขายอัญมณีในตลาดมากๆ
รู้สึกเหมือนหนังเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังไตรภาคสองชุดพร้อมกันโดยไม่ได้ตั้งใจ นั่นก็คือ หนังไตรภาคชุด "ชาวเมียนมาร์ในเอเชียตะวันออก" ต่อจาก LIFE IN A FOREIGN LAND: BURMESE IN JAPAN (2012, Doi Toshikuni, documentary) ที่พูดถึงชาวพม่าในญี่ปุ่น และ BURMESE ON THE ROOF (2016, Ko Duhyun, Oh Hyunjin, documentary) ที่พูดถึงชาวเมียนมาร์ในเกาหลีใต้
และก็เป็นส่วนหนึ่งของหนังไตรภาคชีวิตชาวเหมือง ต่อจาก CITY OF JADE (Midi Z) และ BLOOD AMBER (2017, Lee Yong Chao)
THE SHEPHERDS (2018, Elvis Lu, Taiwan, documentary, A+25)
ดูแล้วนึกถึงหนังเรื่อง WEEKENDS (2016, Lee Dong-ha, South Korea, documentary, A+30) ที่เล่าเรื่องของกลุ่ม activists ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิของ LGBTQ ในเกาหลีใต้ แต่ WEEKENDS จะทรงพลังกว่า เพราะกระแสต่อต้านเกย์ในเกาหลีใต้ ดูเหมือนจะรุนแรงกว่าในไต้หวันมากๆ คือเหมือนสังคมเกาหลีใต้มีความเป็น patriarchy มากกว่า และคนเกาหลีใต้ก็ดู " คลั่ง" ดูโรคจิตมากกว่าคนไต้หวัน
หนังสารคดีเกี่ยวกับชาวพม่าในไต้หวันที่ตัดสินใจอพยพออกจากไต้หวันเพื่อกลับมาทำงานขุดหาอัญมณีในเมียนมาร์
ชอบฉากซื้อขายอัญมณีในตลาดมากๆ
รู้สึกเหมือนหนังเรื่องนี้เป็นส่วนหนึ่งของหนังไตรภาคสองชุดพร้อมกันโดยไม่ได้ตั้งใจ นั่นก็คือ หนังไตรภาคชุด "ชาวเมียนมาร์ในเอเชียตะวันออก" ต่อจาก LIFE IN A FOREIGN LAND: BURMESE IN JAPAN (2012, Doi Toshikuni, documentary) ที่พูดถึงชาวพม่าในญี่ปุ่น และ BURMESE ON THE ROOF (2016, Ko Duhyun, Oh Hyunjin, documentary) ที่พูดถึงชาวเมียนมาร์ในเกาหลีใต้
และก็เป็นส่วนหนึ่งของหนังไตรภาคชีวิตชาวเหมือง ต่อจาก CITY OF JADE (Midi Z) และ BLOOD AMBER (2017, Lee Yong Chao)
THE SHEPHERDS (2018, Elvis Lu, Taiwan, documentary, A+25)
ดูแล้วนึกถึงหนังเรื่อง WEEKENDS (2016, Lee Dong-ha, South Korea, documentary, A+30) ที่เล่าเรื่องของกลุ่ม activists ที่ต่อสู้เพื่อสิทธิของ LGBTQ ในเกาหลีใต้ แต่ WEEKENDS จะทรงพลังกว่า เพราะกระแสต่อต้านเกย์ในเกาหลีใต้ ดูเหมือนจะรุนแรงกว่าในไต้หวันมากๆ คือเหมือนสังคมเกาหลีใต้มีความเป็น patriarchy มากกว่า และคนเกาหลีใต้ก็ดู " คลั่ง" ดูโรคจิตมากกว่าคนไต้หวัน
OUR YOUTH IN TAIWAN
OUR YOUTH IN TAIWAN (2018, Fu Yue, Taiwan, documentary, A+30)
1.ชอบความบ้าผู้ชาย ของผู้กำกับหนังเรื่องนี้มากๆ เหมือนหนังเรื่องนี้ผสม "ความสนใจในการเมือง" เข้ากับ "ความเงี่ยนผู้ชาย" หนังมันก็เลยเข้าทางเราอย่างสุดๆ
2.ชอบที่หนังมันช่วยเตือนหนุ่มสาวที่เริ่มสนใจการเมืองว่า "อย่ายึดติดกับตัวบุคคล" แต่ให้เน้นที่อุดมการณ์ เพราะมนุษย์ทุกคนมันมีข้อเสียในตัวเองทั้งนั้น ถ้าเราไปยึดติดกับตัวบุคคลมากเพียงใด เราก็จะยิ่งผิดหวังมากเพียงนั้น
3.เรารับได้กับการที่หนังถ่ายทอดความฟูมฟายของตัวผู้กำกับออกมานะ เพราะเรารู้สึกว่า มันไม่ใช่หนังที่ "ผู้กำกับพยายาม manipulate ผู้ชมให้รู้สึกฟูมฟาย" แต่มันเป็น "หนังที่ผู้กำกับระบายความฟูมฟายในใจ" ออกมา ซึ่งเราจะรับอะไรแบบหลังได้ง่ายกว่า แต่จะไม่ค่อยชอบหนังแบบแรก
4. ดูแล้วแอบนึกถึง LOVE & LEARN (2007, Matchima Ungsriwong, Nat Aphipongcharoen, documentary) ในแง่หนังสารคดีที่กล้องตามถ่ายผู้ชายที่ผู้กำกับชอบเหมือนกัน (ถ้าจำไม่ผิดนะ)
5.อยากเป็นตุ๊กตาหมีที่ Chen Wei-ting นอนกอด :-)
THE TRIAL (2018, John Williams, Japan, A+30)
+ NEVER AGAIN เหยียบ ย่ำ ซ้ำ เดิน (2019, video installation, 27min)
ดูงานวิดีโอสารคดี NEVER AGAIN ได้ที่นี่
https://www.youtube.com/watch?v=D9jIg5ihOM8&fbclid=IwAR1K9fshKeSYvz95wEzppT2Qg0MXWjjjbvdGH9UV1wnUUo5L7i1YU_H6zMQ
1.ได้ดูหนังเรื่อง THE TRIAL ที่สร้างจากบทประพันธ์ของ Franz Kafka ที่ Goethe เมื่อวันเสาร์ที่แล้ว เราชอบหนังมากๆ หนังเล่าเรื่องของชายหนุ่มที่อยู่ดีๆก็ถูกดำเนินคดี และถูกรังควานจากเจ้าหน้าที่รัฐอย่างรุนแรง ทั้งๆที่เขาก็ไม่รู้ตัวว่าเขาทำอะไรผิด และคนรอบข้างก็มีท่าทีแปลกๆกับเขา ในขณะที่กระบวนการดำเนินคดีของรัฐ ก็เต็มไปด้วยอะไรที่พิลึกกึกกือ ขัดกับหลักเหตุผล
พอดูหนังจบแล้ว ผู้กำกับก็ได้รับฟังความเห็นจากชาวต่างชาติหลายคน ทั้งจากคนฝรั่งและคนญี่ปุ่น แต่ก็ไม่มีคนไทยคนใดแสดงความเห็นในงานฉายหนังครั้งนี้ เราเองก็ไม่ได้แสดงความเห็นอะไรออกไป เพราะเราไม่ชอบพูดต่อหน้าสาธารณชน
แต่สิ่งที่เราคิดไว้ในใจก็คือว่า ถ้าหากเราได้ดูหนังเรื่องนี้เมื่อ 20-30 ปีก่อน เราคงรู้สึกว่าเหตุการณ์ในหนังมันพิสดารมากๆ เราอาจจะรู้สึกกับมันคล้ายๆกับตอนที่ดูหนังเรื่อง THE PHANTOM OF LIBERTY (1974, Luis Bunuel) และ THE DISCREET CHARM OF THE BOURGEOISIE (1972, Luis Bunuel) เมื่อ 20 กว่าปีก่อน ที่เรารู้สึกว่า หนังสองเรื่องนี้มันโคตรจะพิสดารจริงๆ
แต่การได้มาดู THE TRIAL ในปีนี้ เราขอบอกตามตรงเลยว่า "เหตุการณ์ในหนัง มันเบากว่าความเป็นจริงในไทยมากๆ"
บางที อาจจะเป็นเพราะอะไรแบบนี้ด้วยกระมัง ที่ทำให้เราหันมาชอบหนังสารคดีเพิ่มขึ้นมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพราะในหลายๆครั้ง เหตุการณ์ในหนังสารคดี มัน "รุนแรง" หรือ "พิสดาร" หรือ "ไร้เหตุผล" ยิ่งกว่าหนัง fiction หรือหนัง surreal หลายๆเรื่องไปแล้ว
2.ถ้าหากจะถามว่า ทำไม THE TRIAL ของ Franz Kafka จึง "เบา" หรือ "พิสดาร" น้อยกว่าเหตุการณ์ในไทย ก็ขอให้ดู video installation ในนิทรรศการ NEVER AGAIN ที่ WTF GALLERY ประกอบ หรือดูทางยูทูบก็ได้ แล้วก็จะรู้สึกเหมือนกับเราว่า คาฟก้ายังต้องไหว้ เมื่อเจอกับความเป็นจริงในประเทศไทยในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา
NEVER AGAIN เป็นสารคดีที่สัมภาษณ์คน 5 คน ซึ่งประกอบด้วย จ่านิว ในตอน "ส่องแสงหากลโกง" , ธีรวรรณ เจริญสุข ในตอน "ขันแดงแสลงใจ", วรรณเกียรติ ชูสุวรรณ ในตอน เลือกตั้งที่(รัก)ลัก, ประเวศ ประภานุกูล ในตอน ทนายสิทธิมนุษยชน และ ทวีศักดิ์ เกิดโภคา ในตอน คดีประชามติบ้านโป่ง สิ่งที่คนเหล่านี้ต้องเผชิญ บางทีมันอาจจะหนักกว่าใน THE TRIAL เสียอีก
หรือจะดูหนังอย่าง SASIWIMOL (2017, เรวดี งามลุน)
https://www.youtube.com/watch?v=X-rxU0k31FQ&fbclid=IwAR0ErTUvlLGegFUwTFmuQldmTWb0bLaeFLZTxrIqgbXaMba7BmqZ6SVfgdY
หรือ ไผ่ ยูโนมีอะลิตเติ้ลโก (2017, จามร ศรเพชรนรินทร์) ประกอบด้วยก็ได้
https://www.youtube.com/watch?v=QAmkI-Q_1w0
---------
นาฬิกาหมุดคณะราษฎร ในนิทรรศการ NEVER AGAIN อยากให้มีการผลิตนาฬิกาแบบนี้ออกขายเป็น mass products หรือทำเป็น application ในมือถือ แต่เพิ่ม functions ต่างๆขึ้นมาอีกอย่างน้อย 3 functions
1.บอกวันเดือนปีในปัจจุบัน
2. มีการนับว่า ตอนนี้ผ่านมานานกี่วัน กี่เดือน กี่ปีแล้ว จากวันที่ 24 มิ.ย. 1932
3.มี FUNCTION ที่นาฬิกาจะเดินหน้า ช่วงที่ไทยเป็นประชาธิปไตย แต่เดินถอยหลังเมื่อเป็นเผด็จการทหาร โดยนับตั้งแต่ 24 มิ.ย. 1932 เป็นต้นมา เราอยากรู้มากๆว่า ถ้าหากนับเวลาแบบนี้ ปัจจุบันนี้ประเทศไทยผ่านปี 1932 มานานแล้วกี่ปี หรือเวลาของไทยย้อนหลังไปสู่คริสต์ศตวรรษที่ 19 แล้ว 555
1.ชอบความบ้าผู้ชาย ของผู้กำกับหนังเรื่องนี้มากๆ เหมือนหนังเรื่องนี้ผสม "ความสนใจในการเมือง" เข้ากับ "ความเงี่ยนผู้ชาย" หนังมันก็เลยเข้าทางเราอย่างสุดๆ
2.ชอบที่หนังมันช่วยเตือนหนุ่มสาวที่เริ่มสนใจการเมืองว่า "อย่ายึดติดกับตัวบุคคล" แต่ให้เน้นที่อุดมการณ์ เพราะมนุษย์ทุกคนมันมีข้อเสียในตัวเองทั้งนั้น ถ้าเราไปยึดติดกับตัวบุคคลมากเพียงใด เราก็จะยิ่งผิดหวังมากเพียงนั้น
3.เรารับได้กับการที่หนังถ่ายทอดความฟูมฟายของตัวผู้กำกับออกมานะ เพราะเรารู้สึกว่า มันไม่ใช่หนังที่ "ผู้กำกับพยายาม manipulate ผู้ชมให้รู้สึกฟูมฟาย" แต่มันเป็น "หนังที่ผู้กำกับระบายความฟูมฟายในใจ" ออกมา ซึ่งเราจะรับอะไรแบบหลังได้ง่ายกว่า แต่จะไม่ค่อยชอบหนังแบบแรก
4. ดูแล้วแอบนึกถึง LOVE & LEARN (2007, Matchima Ungsriwong, Nat Aphipongcharoen, documentary) ในแง่หนังสารคดีที่กล้องตามถ่ายผู้ชายที่ผู้กำกับชอบเหมือนกัน (ถ้าจำไม่ผิดนะ)
5.อยากเป็นตุ๊กตาหมีที่ Chen Wei-ting นอนกอด :-)
THE TRIAL (2018, John Williams, Japan, A+30)
+ NEVER AGAIN เหยียบ ย่ำ ซ้ำ เดิน (2019, video installation, 27min)
ดูงานวิดีโอสารคดี NEVER AGAIN ได้ที่นี่
https://www.youtube.com/watch?v=D9jIg5ihOM8&fbclid=IwAR1K9fshKeSYvz95wEzppT2Qg0MXWjjjbvdGH9UV1wnUUo5L7i1YU_H6zMQ
1.ได้ดูหนังเรื่อง THE TRIAL ที่สร้างจากบทประพันธ์ของ Franz Kafka ที่ Goethe เมื่อวันเสาร์ที่แล้ว เราชอบหนังมากๆ หนังเล่าเรื่องของชายหนุ่มที่อยู่ดีๆก็ถูกดำเนินคดี และถูกรังควานจากเจ้าหน้าที่รัฐอย่างรุนแรง ทั้งๆที่เขาก็ไม่รู้ตัวว่าเขาทำอะไรผิด และคนรอบข้างก็มีท่าทีแปลกๆกับเขา ในขณะที่กระบวนการดำเนินคดีของรัฐ ก็เต็มไปด้วยอะไรที่พิลึกกึกกือ ขัดกับหลักเหตุผล
พอดูหนังจบแล้ว ผู้กำกับก็ได้รับฟังความเห็นจากชาวต่างชาติหลายคน ทั้งจากคนฝรั่งและคนญี่ปุ่น แต่ก็ไม่มีคนไทยคนใดแสดงความเห็นในงานฉายหนังครั้งนี้ เราเองก็ไม่ได้แสดงความเห็นอะไรออกไป เพราะเราไม่ชอบพูดต่อหน้าสาธารณชน
แต่สิ่งที่เราคิดไว้ในใจก็คือว่า ถ้าหากเราได้ดูหนังเรื่องนี้เมื่อ 20-30 ปีก่อน เราคงรู้สึกว่าเหตุการณ์ในหนังมันพิสดารมากๆ เราอาจจะรู้สึกกับมันคล้ายๆกับตอนที่ดูหนังเรื่อง THE PHANTOM OF LIBERTY (1974, Luis Bunuel) และ THE DISCREET CHARM OF THE BOURGEOISIE (1972, Luis Bunuel) เมื่อ 20 กว่าปีก่อน ที่เรารู้สึกว่า หนังสองเรื่องนี้มันโคตรจะพิสดารจริงๆ
แต่การได้มาดู THE TRIAL ในปีนี้ เราขอบอกตามตรงเลยว่า "เหตุการณ์ในหนัง มันเบากว่าความเป็นจริงในไทยมากๆ"
บางที อาจจะเป็นเพราะอะไรแบบนี้ด้วยกระมัง ที่ทำให้เราหันมาชอบหนังสารคดีเพิ่มขึ้นมากในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เพราะในหลายๆครั้ง เหตุการณ์ในหนังสารคดี มัน "รุนแรง" หรือ "พิสดาร" หรือ "ไร้เหตุผล" ยิ่งกว่าหนัง fiction หรือหนัง surreal หลายๆเรื่องไปแล้ว
2.ถ้าหากจะถามว่า ทำไม THE TRIAL ของ Franz Kafka จึง "เบา" หรือ "พิสดาร" น้อยกว่าเหตุการณ์ในไทย ก็ขอให้ดู video installation ในนิทรรศการ NEVER AGAIN ที่ WTF GALLERY ประกอบ หรือดูทางยูทูบก็ได้ แล้วก็จะรู้สึกเหมือนกับเราว่า คาฟก้ายังต้องไหว้ เมื่อเจอกับความเป็นจริงในประเทศไทยในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านมา
NEVER AGAIN เป็นสารคดีที่สัมภาษณ์คน 5 คน ซึ่งประกอบด้วย จ่านิว ในตอน "ส่องแสงหากลโกง" , ธีรวรรณ เจริญสุข ในตอน "ขันแดงแสลงใจ", วรรณเกียรติ ชูสุวรรณ ในตอน เลือกตั้งที่(รัก)ลัก, ประเวศ ประภานุกูล ในตอน ทนายสิทธิมนุษยชน และ ทวีศักดิ์ เกิดโภคา ในตอน คดีประชามติบ้านโป่ง สิ่งที่คนเหล่านี้ต้องเผชิญ บางทีมันอาจจะหนักกว่าใน THE TRIAL เสียอีก
หรือจะดูหนังอย่าง SASIWIMOL (2017, เรวดี งามลุน)
https://www.youtube.com/watch?v=X-rxU0k31FQ&fbclid=IwAR0ErTUvlLGegFUwTFmuQldmTWb0bLaeFLZTxrIqgbXaMba7BmqZ6SVfgdY
หรือ ไผ่ ยูโนมีอะลิตเติ้ลโก (2017, จามร ศรเพชรนรินทร์) ประกอบด้วยก็ได้
https://www.youtube.com/watch?v=QAmkI-Q_1w0
---------
นาฬิกาหมุดคณะราษฎร ในนิทรรศการ NEVER AGAIN อยากให้มีการผลิตนาฬิกาแบบนี้ออกขายเป็น mass products หรือทำเป็น application ในมือถือ แต่เพิ่ม functions ต่างๆขึ้นมาอีกอย่างน้อย 3 functions
1.บอกวันเดือนปีในปัจจุบัน
2. มีการนับว่า ตอนนี้ผ่านมานานกี่วัน กี่เดือน กี่ปีแล้ว จากวันที่ 24 มิ.ย. 1932
3.มี FUNCTION ที่นาฬิกาจะเดินหน้า ช่วงที่ไทยเป็นประชาธิปไตย แต่เดินถอยหลังเมื่อเป็นเผด็จการทหาร โดยนับตั้งแต่ 24 มิ.ย. 1932 เป็นต้นมา เราอยากรู้มากๆว่า ถ้าหากนับเวลาแบบนี้ ปัจจุบันนี้ประเทศไทยผ่านปี 1932 มานานแล้วกี่ปี หรือเวลาของไทยย้อนหลังไปสู่คริสต์ศตวรรษที่ 19 แล้ว 555
Thursday, November 21, 2019
HANZI
HANZI (2017, Mu-Ming Tsai, Taiwan, documentary, A+30)
1.ชอบสุดๆ ได้ดูในเทศกาล MOVIES ON DESIGN ที่ LIDO หนังพูดถึง font ตัวอักษรภาษาจีน แล้วก็แตกประเด็นไปเรื่องอื่นๆมากมาย อย่างเช่นเรื่อง
1.1 พระถังซำจั๋ง !?!?!?!
1.2 ความแตกต่างของตัวอักษรในจีนแผ่นดินใหญ่ กับในไต้หวันและฮ่องกง
1.3 ความลำบากใจของชาวเท็กซัสเวลาต้องออกเสียงคำว่า get ว่า เก็ท แทนที่จะออกว่า กิท
1.4 ตัวอักษร O ในบาง font จริงๆแล้วมันมีแกนที่เอียง 30 องศาแอบซ่อนอยู่ ซึ่งเราไม่เคยสังเกตมาก่อน
1.5 font ตัวอักษรโรมัน แต่ละ font ครอบคลุมตัวอักษรราว 600 ตัว แต่ font จีนนี่ครอบคลุมราว 40,000 ตัว
1.6 ความแตกต่างระหว่าง letterpress print, intaglio print, silkscreen print
1.7 ความแตกต่างระหว่างการพูดจีนกับการเขียนจีน
1.8 calligraphy is not meant to be read, but meant to be enjoyed
1.9 ทัวร์สำรวจดู "ป้ายร้านค้า" ต่างๆในไต้หวัน เพื่อสังเกตความงดงามที่แตกต่างกันไปของตัวอักษรภาษาจีนในแต่ละป้าย ซึ่งแน่นอนว่าเป็นทัวร์สำหรับคนที่อ่านภาษาจีนออก
1.10 การจัดกรอบตัวอักษรจีนใหม่ เพื่อที่ว่าเวลามันอยู่ติดกับตัวอักษรโรมัน แล้วมันจะได้ไม่ดูกระดกขึ้นหรือกระดกลงจากตัวอักษรโรมัน
2.หนังมันอาจจะดูสะเปะสะปะ แต่เราว่าความสะเปะสะปะของมันทำให้หนังสนุก ไม่น่าเบื่อ 555
คือช่วงนี้เราได้ดูหนังสารคดีบางเรื่องที่นำเสนอ "ประเด็นหลักประเด็นเดียว"น่ะ และหนังพวกนี้ก็ชอบมีฉากที่ผู้ให้สัมภาษณ์ 4-5 คน แสดงความเห็นคล้ายๆกัน ซึ่งเราว่ามันแอบน่าเบื่อ เพราะฉะนั้นการที่ HANZI ดูสะเปะสะปะ และครอบคลุมประเด็นต่างๆที่แตกแขนงออกไปเรื่อยๆ ก็เลยกลายเป็นข้อดีของหนังไป
YOUR FACE (2018, Tsai Ming Liang, Taiwan, documentary, A+30)
1.ชอบทั้งส่วนที่เป็นการจ้องหน้าคนเฉยๆ และส่วนที่เป็นการสัมภาษณ์ ชอบเรื่องราวของหญิงที่ได้เจอกับชายหนุ่มคนนึงโดยบังเอิญ แล้วพบว่าอากัปกิริยาบางอย่างของเขา ทำให้เธอนึกถึงคนรักเก่า แล้วในที่สุดเธอก็พบว่า เขาคือลูกชายของคนรักเก่า
2.ส่วนที่เป็นการจ้องหน้าคน ตอนแรกดูแล้วนึกถึง portrait paintings แต่พอดูไปเรื่อยๆ ก็พบว่ามันแตกต่างจาก paintings มากๆ เพราะเวลาที่เราจ้องดู paintings นานๆ เรามักจะจ้องเพื่อพินิจพิจารณาความงามของภาพ ของฝีแปรง ของฝีมือของศิลปิน ดูการใช้แสงเงาหรือดูว่ามันถ่ายทอดหน้าคนได้สมจริงเพียงใด หรือมันซุกซ่อนอารมณ์อะไรอยู่
แต่การดูหน้าคนในหนังเรื่องนี้ เราไม่ได้ดูว่า Tsai เก่งมากๆที่ถ่ายหน้าคนออกมาได้สมจริงแน่ๆ 55555 เพราะฉะนั้นขณะที่เราดูหน้าคนแก่ในหนังเรื่องนี้ เราก็เลยมักจะจินตนาการถึงชีวิตของพวกเขาไปเรื่อยๆแทน ริ้วรอยต่างๆบนใบหน้า มันช่วยกระตุ้นจินตนาการของเราได้เป็นอย่างดี
รู้สึกว่ามันน่าสนใจดี ที่พอ "สื่อ" เปลี่ยนไป เราก็รู้สึกกับใบหน้าคนเปลี่ยนไป เพราะถ้ามันเป็น painting เราก็จะโฟกัสไปที่ฝีมือของศิลปิน แต่พอเป็น photograph เราก็จะโฟกัสไปที่อารมณ์ความรู้สึกใน moment นั้นๆที่ถูกถ่ายภาพ แต่พอเป็น moving image ที่จับจ้องหน้าคนแก่เป็นเวลานานๆ เราก็เลยจินตนาการถึงประวัติชีวิตของแต่ละคนไปเรื่อยๆ
1.ชอบสุดๆ ได้ดูในเทศกาล MOVIES ON DESIGN ที่ LIDO หนังพูดถึง font ตัวอักษรภาษาจีน แล้วก็แตกประเด็นไปเรื่องอื่นๆมากมาย อย่างเช่นเรื่อง
1.1 พระถังซำจั๋ง !?!?!?!
1.2 ความแตกต่างของตัวอักษรในจีนแผ่นดินใหญ่ กับในไต้หวันและฮ่องกง
1.3 ความลำบากใจของชาวเท็กซัสเวลาต้องออกเสียงคำว่า get ว่า เก็ท แทนที่จะออกว่า กิท
1.4 ตัวอักษร O ในบาง font จริงๆแล้วมันมีแกนที่เอียง 30 องศาแอบซ่อนอยู่ ซึ่งเราไม่เคยสังเกตมาก่อน
1.5 font ตัวอักษรโรมัน แต่ละ font ครอบคลุมตัวอักษรราว 600 ตัว แต่ font จีนนี่ครอบคลุมราว 40,000 ตัว
1.6 ความแตกต่างระหว่าง letterpress print, intaglio print, silkscreen print
1.7 ความแตกต่างระหว่างการพูดจีนกับการเขียนจีน
1.8 calligraphy is not meant to be read, but meant to be enjoyed
1.9 ทัวร์สำรวจดู "ป้ายร้านค้า" ต่างๆในไต้หวัน เพื่อสังเกตความงดงามที่แตกต่างกันไปของตัวอักษรภาษาจีนในแต่ละป้าย ซึ่งแน่นอนว่าเป็นทัวร์สำหรับคนที่อ่านภาษาจีนออก
1.10 การจัดกรอบตัวอักษรจีนใหม่ เพื่อที่ว่าเวลามันอยู่ติดกับตัวอักษรโรมัน แล้วมันจะได้ไม่ดูกระดกขึ้นหรือกระดกลงจากตัวอักษรโรมัน
2.หนังมันอาจจะดูสะเปะสะปะ แต่เราว่าความสะเปะสะปะของมันทำให้หนังสนุก ไม่น่าเบื่อ 555
คือช่วงนี้เราได้ดูหนังสารคดีบางเรื่องที่นำเสนอ "ประเด็นหลักประเด็นเดียว"น่ะ และหนังพวกนี้ก็ชอบมีฉากที่ผู้ให้สัมภาษณ์ 4-5 คน แสดงความเห็นคล้ายๆกัน ซึ่งเราว่ามันแอบน่าเบื่อ เพราะฉะนั้นการที่ HANZI ดูสะเปะสะปะ และครอบคลุมประเด็นต่างๆที่แตกแขนงออกไปเรื่อยๆ ก็เลยกลายเป็นข้อดีของหนังไป
YOUR FACE (2018, Tsai Ming Liang, Taiwan, documentary, A+30)
1.ชอบทั้งส่วนที่เป็นการจ้องหน้าคนเฉยๆ และส่วนที่เป็นการสัมภาษณ์ ชอบเรื่องราวของหญิงที่ได้เจอกับชายหนุ่มคนนึงโดยบังเอิญ แล้วพบว่าอากัปกิริยาบางอย่างของเขา ทำให้เธอนึกถึงคนรักเก่า แล้วในที่สุดเธอก็พบว่า เขาคือลูกชายของคนรักเก่า
2.ส่วนที่เป็นการจ้องหน้าคน ตอนแรกดูแล้วนึกถึง portrait paintings แต่พอดูไปเรื่อยๆ ก็พบว่ามันแตกต่างจาก paintings มากๆ เพราะเวลาที่เราจ้องดู paintings นานๆ เรามักจะจ้องเพื่อพินิจพิจารณาความงามของภาพ ของฝีแปรง ของฝีมือของศิลปิน ดูการใช้แสงเงาหรือดูว่ามันถ่ายทอดหน้าคนได้สมจริงเพียงใด หรือมันซุกซ่อนอารมณ์อะไรอยู่
แต่การดูหน้าคนในหนังเรื่องนี้ เราไม่ได้ดูว่า Tsai เก่งมากๆที่ถ่ายหน้าคนออกมาได้สมจริงแน่ๆ 55555 เพราะฉะนั้นขณะที่เราดูหน้าคนแก่ในหนังเรื่องนี้ เราก็เลยมักจะจินตนาการถึงชีวิตของพวกเขาไปเรื่อยๆแทน ริ้วรอยต่างๆบนใบหน้า มันช่วยกระตุ้นจินตนาการของเราได้เป็นอย่างดี
รู้สึกว่ามันน่าสนใจดี ที่พอ "สื่อ" เปลี่ยนไป เราก็รู้สึกกับใบหน้าคนเปลี่ยนไป เพราะถ้ามันเป็น painting เราก็จะโฟกัสไปที่ฝีมือของศิลปิน แต่พอเป็น photograph เราก็จะโฟกัสไปที่อารมณ์ความรู้สึกใน moment นั้นๆที่ถูกถ่ายภาพ แต่พอเป็น moving image ที่จับจ้องหน้าคนแก่เป็นเวลานานๆ เราก็เลยจินตนาการถึงประวัติชีวิตของแต่ละคนไปเรื่อยๆ
Wednesday, November 20, 2019
SACRIFICE CHAPTER 1
LIGHT (2018, Tsai Ming Liang, Taiwan, A+30)
ไฉ่มิ่งเหลียงทำหนังมา 3 ทศวรรษแล้ว แต่ยังคงทำหนังที่แปลก แหกกฎต่างๆได้อยู่เลย ชอบที่เขาสามารถแสดงให้เห็นได้ว่า "การถ่ายอะไรแบบนี้ก็เป็นภาพยนตร์" ได้ด้วย
ไม่นึกมาก่อนว่า การถ่ายอาคาร โดยเน้นไปที่ การเคลื่อนคล้อยของแสงในและนอกอาคาร จะเป็นหนังที่ mesmerizing มากๆแบบนี้ได้
แต่ดูแล้วนึกถึง ภาพยนตร์เรื่อง "ฐานของแสง เท่ากับรังสีของแสง" (2013, Wachara Kanha) ที่เน้นคว้าจับความงดงามของแสงอาทิตย์ ตามสถานที่ธรรมดาหลายๆที่ และเราชอบหนังของ วชร กัณหา มากกว่า 555
14 APPLES (2018, Midi Z, Taiwan/Myanmar, documentary, A+30)
1.ฉากผู้หญิงเทินน้ำเป็นระยะทางยาวไกลในหนังเรื่องนี้นี่มันคลาสสิคจริงๆ คือตอนที่ดู BLOOD AMBER ที่มันมีฉากหาบน้ำนานๆ เราก็นึกว่า " ถ้าหากเราไม่ไปทำงานเหมืองในเมียนมาร์ เราก็อาจจะหาน้ำใช้ได้ง่ายกว่านี้" แต่ปรากฏว่าเราคิดผิด เพราะต่อให้เราอาศัยอยู่ในหมู่บ้านธรรมดาในเมียนมาร์ การประปาก็เข้าไม่ถึงเช่นกัน
นึกถึงที่แม่เราเล่าถึงชีวิตของแม่เมื่อ 70 กว่าปีก่อน สมัยยังไม่มีน้ำประปาใช้
2.ฉากขับรถข้ามแม่น้ำที่แห้งผากในช่วงต้นเรื่อง ก็น่าจดจำมาก
3.ฉากที่พระกลายเป็นที่ปรึกษาของชาวบ้าน ก็น่าสนใจมาก ดูแล้วนึกถึง ไผ่แดง (1979, เพิ่มพล เชยอรุณ) ที่สะท้อนหน้าที่ของพระในชนบทยุคเก่าของไทย ที่เหมือนต้องรับฟังปัญหาวุ่นวายมากมายของชาวบ้านไปด้วย แทนที่จะเทศนาสั่งสอนธรรมเพียงอย่างเดียว
4. พอเห็นบทบาทความสำคัญของพระต่อชาวบ้านใน 14 APPLES ก็เลยไม่แปลกใจที่เมียนมาร์มีการผลิตหนังอย่าง MONE SWAL (CLINGING TO HATE) (2018, Aww Ya Tha) และ THE ATTACHMENT (2018, Ban Gyi) ที่มีตัวละครเอกเป็นพระออกมา คือเหมือนในไทยตัวละครพระในหนังเมนสตรีมจะเหมือนมี "หน้าที่" เป็นตัวตลก หรือปราบผี แต่ใน CLINGING TO HATE กับ THE ATTACHMENT นี่ตัวละครพระดูมีบทบาทดราม่าหนักมาก
CHILDREN OF THE SEA (2019, Ayumu Watanabe, Japan, animation, A+30)
1.ภาพงามมากๆๆๆ
2.เนื้อเรื่องก็ดีมาก ดูแล้วนึกถึงนิยายเรื่อง "นิราศมหรรณพ" ของปราปต์ (ที่พูดถึง ชาวมหาสมุทร) และหนังเรื่อง AUGUST IN THE WATER (1995, Sogo Ishii) ที่เล่าเรื่องของ."สาววัยรุ่นที่เผชิญกับพลังลี้ลับของจักรวาล" คล้ายเรื่องนี้ แต่ใน AUGUST IN THE WATER นั้น นางเอกต้อง "เข้าป่า" เพื่อรับมือกับพลังลี้ลับของจักรวาล ส่วนใน CHILDREN OF THE SEA นั้น นางเอกต้องลงทะเล
SACRIFICE CHAPTER 1 พลีตน (2019, Samak Kosem, video installation, approximately 14 mins)
1.วิดีโอบันทึกภาพชีวิตชาวบ้านในส่วนใต้สุดของไทย ฉากที่ติดตามากๆคือฉากสวนสนุกที่มีเด็กๆมากมาย และมีทหารยืนประจำการตามจุดต่างๆในสวนสนุกอยู่ด้วย มันดูสยองอย่างบอกไม่ถูก เพราะเครื่องเล่นต่างๆในสวนสนุก มันคือ "การให้เราได้ตื่นเต้นกับ อันตรายปลอมๆ" แต่การที่มีทหารยืนอยู่ตามจุดต่างๆในสวนสนุก มันคือการบอกว่า ที่นี่มี "อันตรายจริงๆ" อยู่ด้วย สวนสนุกแห่งนี้จึงมีทั้งอันตรายปลอมๆ และอันตรายจริงๆ อยู่เคียงข้างกันในเวลาเดียวกัน
2.กรอบภาพของวิดีโอก็ประหลาดดี เพราะมันเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ที่เหมือนจะส่งผลให้ภาพมีความบิดเบี้ยวเล็กน้อยในส่วนที่อยู่ใกล้-ไกลจากกล้อง
3.แต่สิ่งที่น่าสนใจมากๆคือ ตำแหน่งของวิดีโอ ที่อยู่เกือบติดพื้น ใกล้ๆประตู เพราะฉะนั้นเวลาที่เรานั่งดู video นี้ราว 14 นาที เราต้องนั่งกับพื้น ไม่สามารถยืนดูได้
ไม่รู้เหมือนกันว่าสิ่งนี้มีความหมายอะไรที่เฉพาะเจาะจงหรือเปล่า แต่มันทำให้เรานึกถึง
3.1 การที่วิดีโอนี้นำเสนอชีวิตชาวบ้านใน "ส่วนใต้สุด" ของไทย
3.2 เวลาที่คนเราต้องการจะเข้าใจวัฒนธรรมอื่นๆ หรือคนอื่นๆในสังคม เราควรเริ่มต้นด้วยความนอบน้อมถ่อมตน เพื่อที่จะเข้าใจคนอื่นๆได้ เหมือนที่ผู้ชมต้องลงไปนั่งกับพื้น 555
4.ตำแหน่งการจัดวางงานจิตรกรรมอื่นๆในนิทรรศการนี้ก็น่าสนใจมาก เพราะเหมือนมีงานสวยๆหลายชิ้น ที่จงใจจัดวางไว้ในจุดที่ "แสงสว่างส่องไปไม่ถึง"
ไฉ่มิ่งเหลียงทำหนังมา 3 ทศวรรษแล้ว แต่ยังคงทำหนังที่แปลก แหกกฎต่างๆได้อยู่เลย ชอบที่เขาสามารถแสดงให้เห็นได้ว่า "การถ่ายอะไรแบบนี้ก็เป็นภาพยนตร์" ได้ด้วย
ไม่นึกมาก่อนว่า การถ่ายอาคาร โดยเน้นไปที่ การเคลื่อนคล้อยของแสงในและนอกอาคาร จะเป็นหนังที่ mesmerizing มากๆแบบนี้ได้
แต่ดูแล้วนึกถึง ภาพยนตร์เรื่อง "ฐานของแสง เท่ากับรังสีของแสง" (2013, Wachara Kanha) ที่เน้นคว้าจับความงดงามของแสงอาทิตย์ ตามสถานที่ธรรมดาหลายๆที่ และเราชอบหนังของ วชร กัณหา มากกว่า 555
14 APPLES (2018, Midi Z, Taiwan/Myanmar, documentary, A+30)
1.ฉากผู้หญิงเทินน้ำเป็นระยะทางยาวไกลในหนังเรื่องนี้นี่มันคลาสสิคจริงๆ คือตอนที่ดู BLOOD AMBER ที่มันมีฉากหาบน้ำนานๆ เราก็นึกว่า " ถ้าหากเราไม่ไปทำงานเหมืองในเมียนมาร์ เราก็อาจจะหาน้ำใช้ได้ง่ายกว่านี้" แต่ปรากฏว่าเราคิดผิด เพราะต่อให้เราอาศัยอยู่ในหมู่บ้านธรรมดาในเมียนมาร์ การประปาก็เข้าไม่ถึงเช่นกัน
นึกถึงที่แม่เราเล่าถึงชีวิตของแม่เมื่อ 70 กว่าปีก่อน สมัยยังไม่มีน้ำประปาใช้
2.ฉากขับรถข้ามแม่น้ำที่แห้งผากในช่วงต้นเรื่อง ก็น่าจดจำมาก
3.ฉากที่พระกลายเป็นที่ปรึกษาของชาวบ้าน ก็น่าสนใจมาก ดูแล้วนึกถึง ไผ่แดง (1979, เพิ่มพล เชยอรุณ) ที่สะท้อนหน้าที่ของพระในชนบทยุคเก่าของไทย ที่เหมือนต้องรับฟังปัญหาวุ่นวายมากมายของชาวบ้านไปด้วย แทนที่จะเทศนาสั่งสอนธรรมเพียงอย่างเดียว
4. พอเห็นบทบาทความสำคัญของพระต่อชาวบ้านใน 14 APPLES ก็เลยไม่แปลกใจที่เมียนมาร์มีการผลิตหนังอย่าง MONE SWAL (CLINGING TO HATE) (2018, Aww Ya Tha) และ THE ATTACHMENT (2018, Ban Gyi) ที่มีตัวละครเอกเป็นพระออกมา คือเหมือนในไทยตัวละครพระในหนังเมนสตรีมจะเหมือนมี "หน้าที่" เป็นตัวตลก หรือปราบผี แต่ใน CLINGING TO HATE กับ THE ATTACHMENT นี่ตัวละครพระดูมีบทบาทดราม่าหนักมาก
CHILDREN OF THE SEA (2019, Ayumu Watanabe, Japan, animation, A+30)
1.ภาพงามมากๆๆๆ
2.เนื้อเรื่องก็ดีมาก ดูแล้วนึกถึงนิยายเรื่อง "นิราศมหรรณพ" ของปราปต์ (ที่พูดถึง ชาวมหาสมุทร) และหนังเรื่อง AUGUST IN THE WATER (1995, Sogo Ishii) ที่เล่าเรื่องของ."สาววัยรุ่นที่เผชิญกับพลังลี้ลับของจักรวาล" คล้ายเรื่องนี้ แต่ใน AUGUST IN THE WATER นั้น นางเอกต้อง "เข้าป่า" เพื่อรับมือกับพลังลี้ลับของจักรวาล ส่วนใน CHILDREN OF THE SEA นั้น นางเอกต้องลงทะเล
SACRIFICE CHAPTER 1 พลีตน (2019, Samak Kosem, video installation, approximately 14 mins)
1.วิดีโอบันทึกภาพชีวิตชาวบ้านในส่วนใต้สุดของไทย ฉากที่ติดตามากๆคือฉากสวนสนุกที่มีเด็กๆมากมาย และมีทหารยืนประจำการตามจุดต่างๆในสวนสนุกอยู่ด้วย มันดูสยองอย่างบอกไม่ถูก เพราะเครื่องเล่นต่างๆในสวนสนุก มันคือ "การให้เราได้ตื่นเต้นกับ อันตรายปลอมๆ" แต่การที่มีทหารยืนอยู่ตามจุดต่างๆในสวนสนุก มันคือการบอกว่า ที่นี่มี "อันตรายจริงๆ" อยู่ด้วย สวนสนุกแห่งนี้จึงมีทั้งอันตรายปลอมๆ และอันตรายจริงๆ อยู่เคียงข้างกันในเวลาเดียวกัน
2.กรอบภาพของวิดีโอก็ประหลาดดี เพราะมันเป็นสี่เหลี่ยมคางหมู ที่เหมือนจะส่งผลให้ภาพมีความบิดเบี้ยวเล็กน้อยในส่วนที่อยู่ใกล้-ไกลจากกล้อง
3.แต่สิ่งที่น่าสนใจมากๆคือ ตำแหน่งของวิดีโอ ที่อยู่เกือบติดพื้น ใกล้ๆประตู เพราะฉะนั้นเวลาที่เรานั่งดู video นี้ราว 14 นาที เราต้องนั่งกับพื้น ไม่สามารถยืนดูได้
ไม่รู้เหมือนกันว่าสิ่งนี้มีความหมายอะไรที่เฉพาะเจาะจงหรือเปล่า แต่มันทำให้เรานึกถึง
3.1 การที่วิดีโอนี้นำเสนอชีวิตชาวบ้านใน "ส่วนใต้สุด" ของไทย
3.2 เวลาที่คนเราต้องการจะเข้าใจวัฒนธรรมอื่นๆ หรือคนอื่นๆในสังคม เราควรเริ่มต้นด้วยความนอบน้อมถ่อมตน เพื่อที่จะเข้าใจคนอื่นๆได้ เหมือนที่ผู้ชมต้องลงไปนั่งกับพื้น 555
4.ตำแหน่งการจัดวางงานจิตรกรรมอื่นๆในนิทรรศการนี้ก็น่าสนใจมาก เพราะเหมือนมีงานสวยๆหลายชิ้น ที่จงใจจัดวางไว้ในจุดที่ "แสงสว่างส่องไปไม่ถึง"
Tuesday, November 19, 2019
SWIMMING ON THE HIGHWAY
SWIMMING ON THE HIGHWAY (1998, Wu Yao-tung, Taiwan, documentary, A+30)
+ GOODNIGHT & GOODBYE (2018, Wu Yao-tung, Taiwan, documentary, A+30)
1.จริงๆแล้วหนังในเทศกาล TAIWAN DOC ปีนี้เราชอบสุดๆแทบทุกเรื่องเลย และแต่ละเรื่องมันก็มีข้อดีแตกต่างกันไป แต่ถ้าหากถามว่าชอบเรื่องไหนมากที่สุด มันก็อาจจะเป็นหนังสารคดีสองภาคนี้ โดยเฉพาะภาคแรกที่มันถ่ายทอดมนุษย์ที่น่าสนใจมากๆคนนึงออกมา เขาเป็นเกย์ที่เต็มไปด้วยความทุกข์ทรมานทางใจ แต่เขาก็ไม่ทำให้เรารู้สึกอยากเข้าใกล้หรือเป็นเพื่อนกับเขาในชีวิตจริง เพราะนิสัยบางอย่างของเขา คือถ้าเปรียบเทียบง่ายๆก็เหมือนกับว่า เขาเป็นเหมือน "สัตว์ประหลาดที่บาดเจ็บ และมีพิษ" น่ะ ความประหลาดของเขาทำให้เราอยากศึกษาเขา ความบาดเจ็บของเขาทำให้เราอยากเห็นเขามีความสุข แต่การที่เขา "มีพิษ" ก็ทำให้เราไม่อยากเข้าใกล้เขาโดยตรง หรือสัมผัสเขาด้วยมือของเราเอง และมันก็ต้องอาศัยผู้สร้างหนังสารคดีแบบนี้นี่แหละ ที่ "เสี่ยง" ทำหน้าที่นี้แทนเรา และก็ดูเหมือนผู้สร้างหนังสารคดีเรื่องนี้จะเป็นฝ่ายที่ได้รับพิษแทนเราไป
2.ความทุกข์ทรมานทางใจ และความเจ็บปวดกับชีวิตของ subject ในหนังเรื่องนี้ ทำให้เรานึกถึงชีวิตตัวเองมากๆ แต่นิสัยบางอย่างของเขา ทำให้เรานึกถึงเพื่อนเก่าบางคนมากๆเช่นกัน มันทำให้เรานึกถึงเพื่อนบางคนที่ในช่วงหลายปีแรก เรารู้สึกว่าเขาคือเพื่อนแท้ แต่หลังจากนั้นเราถึงได้เรียนรู้ว่า มนุษย์มัน "ซับซ้อน" มากกว่าที่คิด มันยากแท้หยั่งถึง มันมีหลายด้านในตัวเอง และเมื่อเราค้นพบบางด้านของเพื่อนเรา และพบว่ามันยากที่จะยอมรับได้ เราก็จำเป็นต้องทิ้งเพื่อนคนนั้นไปจากชีวิตเรา
เราว่าความซับซ้อนทางจิต หรือทางนิสัยใจคอของมนุษย์ที่มีทั้งด้านดี, ด้านไม่ดี และด้านที่น่าสงสารมากๆแบบนี้ เป็นเรื่องที่ยากจะถ่ายทอดออกมาเป็นภาพยนตร์ได้ แต่หนังเรื่องนี้ก็ทำได้สำเร็จ โดยเฉพาะในภาคแรก หนังทำให้เรารู้สึกได้ถึงความทุกข์และความเจ็บปวดของ subject มากๆ และหนังก็ทำให้เรารู้สึกทั้งสงสารเขา อยากปลอบประโลมเขา และอยากผลักไสเขาออกห่างในเวลาเดียวกัน
3.เป็นหนังที่ดูแล้วรู้สึก guilty มากๆ เพราะเราว่า "ความทรงพลังอย่างรุนแรง" ของหนังสองภาคนี้ มันมาจาก unhealthy/awkward relationship between the filmmaker and the subject น่ะ คือถ้าหากความสัมพันธ์ระหว่างผู้สร้างหนังกับตัว subject ในหนังมันไหลลื่น ประสานกันสนิทแบบหนังสารคดีทั่วๆไป ที่ผู้สร้างหนังทำเหมือน observe ตัว subject อยู่ห่างๆ หนังเรื่องนี้ก็คงไม่ทรงพลังรุนแรงแบบนี้ แต่ในหนังสองภาคนี้นั้น ตัวผู้สร้างหนังกับตัว subject มีความสัมพันธ์ที่ระหองระแหงกันมากๆ และมันก็เลยเกิด "พลังงานด้านลบอย่างรุนแรง" ขึ้นมา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้มันพิเศษมากๆ แต่ความพิเศษนี้มันก็ต้องแลกมาด้วยความทุกข์ทรมานของทั้งตัว subject และตัวผู้สร้างหนัง
เราก็เลยรู้สึก guilty กับหนังเรื่องนี้ เพราะการที่เราชอบหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงสุดๆ มันต้องแลกมาด้วยความทุกข์ทรมานทางใจและทางอารมณ์ของตัว subject และผู้สร้างหนัง
+ GOODNIGHT & GOODBYE (2018, Wu Yao-tung, Taiwan, documentary, A+30)
1.จริงๆแล้วหนังในเทศกาล TAIWAN DOC ปีนี้เราชอบสุดๆแทบทุกเรื่องเลย และแต่ละเรื่องมันก็มีข้อดีแตกต่างกันไป แต่ถ้าหากถามว่าชอบเรื่องไหนมากที่สุด มันก็อาจจะเป็นหนังสารคดีสองภาคนี้ โดยเฉพาะภาคแรกที่มันถ่ายทอดมนุษย์ที่น่าสนใจมากๆคนนึงออกมา เขาเป็นเกย์ที่เต็มไปด้วยความทุกข์ทรมานทางใจ แต่เขาก็ไม่ทำให้เรารู้สึกอยากเข้าใกล้หรือเป็นเพื่อนกับเขาในชีวิตจริง เพราะนิสัยบางอย่างของเขา คือถ้าเปรียบเทียบง่ายๆก็เหมือนกับว่า เขาเป็นเหมือน "สัตว์ประหลาดที่บาดเจ็บ และมีพิษ" น่ะ ความประหลาดของเขาทำให้เราอยากศึกษาเขา ความบาดเจ็บของเขาทำให้เราอยากเห็นเขามีความสุข แต่การที่เขา "มีพิษ" ก็ทำให้เราไม่อยากเข้าใกล้เขาโดยตรง หรือสัมผัสเขาด้วยมือของเราเอง และมันก็ต้องอาศัยผู้สร้างหนังสารคดีแบบนี้นี่แหละ ที่ "เสี่ยง" ทำหน้าที่นี้แทนเรา และก็ดูเหมือนผู้สร้างหนังสารคดีเรื่องนี้จะเป็นฝ่ายที่ได้รับพิษแทนเราไป
2.ความทุกข์ทรมานทางใจ และความเจ็บปวดกับชีวิตของ subject ในหนังเรื่องนี้ ทำให้เรานึกถึงชีวิตตัวเองมากๆ แต่นิสัยบางอย่างของเขา ทำให้เรานึกถึงเพื่อนเก่าบางคนมากๆเช่นกัน มันทำให้เรานึกถึงเพื่อนบางคนที่ในช่วงหลายปีแรก เรารู้สึกว่าเขาคือเพื่อนแท้ แต่หลังจากนั้นเราถึงได้เรียนรู้ว่า มนุษย์มัน "ซับซ้อน" มากกว่าที่คิด มันยากแท้หยั่งถึง มันมีหลายด้านในตัวเอง และเมื่อเราค้นพบบางด้านของเพื่อนเรา และพบว่ามันยากที่จะยอมรับได้ เราก็จำเป็นต้องทิ้งเพื่อนคนนั้นไปจากชีวิตเรา
เราว่าความซับซ้อนทางจิต หรือทางนิสัยใจคอของมนุษย์ที่มีทั้งด้านดี, ด้านไม่ดี และด้านที่น่าสงสารมากๆแบบนี้ เป็นเรื่องที่ยากจะถ่ายทอดออกมาเป็นภาพยนตร์ได้ แต่หนังเรื่องนี้ก็ทำได้สำเร็จ โดยเฉพาะในภาคแรก หนังทำให้เรารู้สึกได้ถึงความทุกข์และความเจ็บปวดของ subject มากๆ และหนังก็ทำให้เรารู้สึกทั้งสงสารเขา อยากปลอบประโลมเขา และอยากผลักไสเขาออกห่างในเวลาเดียวกัน
3.เป็นหนังที่ดูแล้วรู้สึก guilty มากๆ เพราะเราว่า "ความทรงพลังอย่างรุนแรง" ของหนังสองภาคนี้ มันมาจาก unhealthy/awkward relationship between the filmmaker and the subject น่ะ คือถ้าหากความสัมพันธ์ระหว่างผู้สร้างหนังกับตัว subject ในหนังมันไหลลื่น ประสานกันสนิทแบบหนังสารคดีทั่วๆไป ที่ผู้สร้างหนังทำเหมือน observe ตัว subject อยู่ห่างๆ หนังเรื่องนี้ก็คงไม่ทรงพลังรุนแรงแบบนี้ แต่ในหนังสองภาคนี้นั้น ตัวผู้สร้างหนังกับตัว subject มีความสัมพันธ์ที่ระหองระแหงกันมากๆ และมันก็เลยเกิด "พลังงานด้านลบอย่างรุนแรง" ขึ้นมา ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้หนังเรื่องนี้มันพิเศษมากๆ แต่ความพิเศษนี้มันก็ต้องแลกมาด้วยความทุกข์ทรมานของทั้งตัว subject และตัวผู้สร้างหนัง
เราก็เลยรู้สึก guilty กับหนังเรื่องนี้ เพราะการที่เราชอบหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงสุดๆ มันต้องแลกมาด้วยความทุกข์ทรมานทางใจและทางอารมณ์ของตัว subject และผู้สร้างหนัง
Monday, November 18, 2019
BANGKOK AND BERLIN BY BUS
UNDER THE RAINBOW (2019, Lee Yujin, art exhibition)
นิทรรศการที่ศิลปินสาวชาวเกาหลีใต้มาเรียนรู้ "เพลงไทย" ตอนเราเข้าไปดูนิทรรศการ ศิลปินกับล่ามหนุ่มถามเราด้วยว่า อยากสอนเพลงไทยเพลงอะไรให้ศิลปินร้องมั้ย เราอยากตอบออกไปมากๆว่า "เพลิงพ่าย" แต่ก็ไม่ได้ตอบออกไป เพราะขี้เกียจสอนคนร้องเพลงนี้ 555
THAI DERN LEN (2019, 305STOP, light installation)
งานชิ้นนี้เหมือนมีความเป็น video อยู่ด้วย ชอบที่งานชิ้นนี้มันใหญ่ดี เราก็เลยยืนดูมันนานๆได้โดยไม่ต้องแย่งที่ยืนดูงานกับคนอื่นๆ ส่วนงานชิ้นอื่นๆอีกหลายชิ้นในงาน AWAKENING BANGKOK มีปัญหาในแง่ที่ว่า มันเล็ก มันก็เลยเหมือนเปิดโอกาสให้คนเข้าไปดูงานได้ครั้งละ 1-3 คนเท่านั้น ซึ่งเราก็ขี้เกียจแย่งชิงตบตีกับคนดูคนอื่นๆ
BANGKOK BY BUS/BERLIN (2019, Alfred Banze, video installation, around 30 minutes, A+30)
1.Video สองจอ ที่แสดงวิวทิวทัศน์จากหน้าต่างรถเมล์ในเบอร์ลินและกรุงเทพ ดูแล้วนึกว่า heaven and hell 55555 เพราะในบางช่วงเราจะเห็นเลยว่า "ทางเท้า" ให้คนเดินในกรุงเทพ มันแคบมากๆๆๆๆ เดินได้เพียงคนเดียวเท่านั้น แล้วคนเดินเท้าก็ต้องเบียดกับมอเตอร์ไซค์ที่ขวักไขว่ไปมา แต่ทางเท้าในเบอร์ลินนี่เดินหน้ากระดาน 10 คนพร้อมกันได้เลย
2.พอเอาวิวสองเมืองมาวางเทียบกัน แล้วเหมือนมันขับเน้น "ใบหน้าของความยากจนข้นแค้นของคนในกรุงเทพ" ให้เด่นชัดยิ่งขึ้น
3.ถ้าเทียบวิวสองเมืองนี้ มันเหมือนการเดินใน supermarket ที่ทุกอย่างสะอาด และถูกจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ (Berlin) กับการเดินใน "ตลาดสด" ที่สกปรก เฉอะแฉะ วุ่นวาย แต่มีชีวิตชีวาในแบบของมันเอง (กรุงเทพ) 555
4.เสียดายที่มันเป็น video พูดเยอรมัน แล้วไม่มีซับไตเติลภาษาอังกฤษ เราก็เลยฟังไม่ออกเลย
5.ดูแล้วนึกถึง
5.1 STRAY DOG'S EYES (2012,.Wachara Kanha, 30min) ที่บันทึกภาพวิวในกรุงเทพจากหน้าต่างรถปอ.
5.2 BUS (2014, Pongsakorn Ruedeekunrungsi, 30min) ที่บันทึกภาพชาวต่างชาติในรถเมล์ในกรุงเทพ
5.3 NIGHT/SHIFT (2017, Schone Vormen,.video installation) ที่บันทึกภาพภายในรถเมล์เล็กในกรุงเทพ แล้วมีการ install ที่นั่งผู้ชมให้เหมือนที่นั่งในรถเมล์
นิทรรศการที่ศิลปินสาวชาวเกาหลีใต้มาเรียนรู้ "เพลงไทย" ตอนเราเข้าไปดูนิทรรศการ ศิลปินกับล่ามหนุ่มถามเราด้วยว่า อยากสอนเพลงไทยเพลงอะไรให้ศิลปินร้องมั้ย เราอยากตอบออกไปมากๆว่า "เพลิงพ่าย" แต่ก็ไม่ได้ตอบออกไป เพราะขี้เกียจสอนคนร้องเพลงนี้ 555
THAI DERN LEN (2019, 305STOP, light installation)
งานชิ้นนี้เหมือนมีความเป็น video อยู่ด้วย ชอบที่งานชิ้นนี้มันใหญ่ดี เราก็เลยยืนดูมันนานๆได้โดยไม่ต้องแย่งที่ยืนดูงานกับคนอื่นๆ ส่วนงานชิ้นอื่นๆอีกหลายชิ้นในงาน AWAKENING BANGKOK มีปัญหาในแง่ที่ว่า มันเล็ก มันก็เลยเหมือนเปิดโอกาสให้คนเข้าไปดูงานได้ครั้งละ 1-3 คนเท่านั้น ซึ่งเราก็ขี้เกียจแย่งชิงตบตีกับคนดูคนอื่นๆ
BANGKOK BY BUS/BERLIN (2019, Alfred Banze, video installation, around 30 minutes, A+30)
1.Video สองจอ ที่แสดงวิวทิวทัศน์จากหน้าต่างรถเมล์ในเบอร์ลินและกรุงเทพ ดูแล้วนึกว่า heaven and hell 55555 เพราะในบางช่วงเราจะเห็นเลยว่า "ทางเท้า" ให้คนเดินในกรุงเทพ มันแคบมากๆๆๆๆ เดินได้เพียงคนเดียวเท่านั้น แล้วคนเดินเท้าก็ต้องเบียดกับมอเตอร์ไซค์ที่ขวักไขว่ไปมา แต่ทางเท้าในเบอร์ลินนี่เดินหน้ากระดาน 10 คนพร้อมกันได้เลย
2.พอเอาวิวสองเมืองมาวางเทียบกัน แล้วเหมือนมันขับเน้น "ใบหน้าของความยากจนข้นแค้นของคนในกรุงเทพ" ให้เด่นชัดยิ่งขึ้น
3.ถ้าเทียบวิวสองเมืองนี้ มันเหมือนการเดินใน supermarket ที่ทุกอย่างสะอาด และถูกจัดเรียงอย่างเป็นระเบียบ (Berlin) กับการเดินใน "ตลาดสด" ที่สกปรก เฉอะแฉะ วุ่นวาย แต่มีชีวิตชีวาในแบบของมันเอง (กรุงเทพ) 555
4.เสียดายที่มันเป็น video พูดเยอรมัน แล้วไม่มีซับไตเติลภาษาอังกฤษ เราก็เลยฟังไม่ออกเลย
5.ดูแล้วนึกถึง
5.1 STRAY DOG'S EYES (2012,.Wachara Kanha, 30min) ที่บันทึกภาพวิวในกรุงเทพจากหน้าต่างรถปอ.
5.2 BUS (2014, Pongsakorn Ruedeekunrungsi, 30min) ที่บันทึกภาพชาวต่างชาติในรถเมล์ในกรุงเทพ
5.3 NIGHT/SHIFT (2017, Schone Vormen,.video installation) ที่บันทึกภาพภายในรถเมล์เล็กในกรุงเทพ แล้วมีการ install ที่นั่งผู้ชมให้เหมือนที่นั่งในรถเมล์
Sunday, November 17, 2019
THE BIRDS
สรุปว่าคู่นกเขาชวา สามีภรรยา มันอพยพย้ายรัง ย้ายไข่ หนีเราไปแล้ว ฮือๆๆๆๆๆๆ สงสารมันมากๆ ไม่รู้จะลำบากขนาดไหน เราตั้งใจจะให้มันอาศัยอยู่ต่อไปที่เครื่องแอร์ตามคำแนะนำของพนักงานอพาร์ทเมนท์ แต่เช้านี้ เราไม่ได้ยินเสียงมันอีก เราพยายามส่องดูก็ไม่เห็นตัวมันและรังของมันแล้ว เราก็เลยลองเอามือคลำที่เหนือเครี่องแอร์ ก็ไม่เจอไข่มันอีก และไม่เจอรังของมันด้วย เหลือไว้แค่เศษกิ่งไม้ 2-3 กิ่ง :-(
ก็ได้แต่ภาวนาว่า คู่สามีภรรยานกเขาชวา มันจะเจอสถานที่ใหม่ที่ดีๆและเหมาะสมกับรังของมันนะ พอเราอยากให้มันอยู่ มันก็ดันหนีเราไป สงสารมันที่สุดเลย
พนักงานอพาร์ทเมนท์บอกเราอีกด้วยว่า ทุกห้องที่เคยเจอปัญหาแบบเดียวกันกับเรา แล้วปล่อยให้นกมันเลี้ยงลูกที่เครื่องแอร์ต่อไป ถูกหวยกันหมดเลย เหมือนนกพวกนี้มันให้โชคให้ลาภกับคนที่อพาร์ทเมนท์แห่งนี้มาแล้วหลายห้องมากๆ
อยากจะร้องไห้
สรุปเหตุการณ์ THE BIRDS (Jit Phokaew as Tippi Hedren)
1. เช้า ศุกร์ 15 พ.ย. เราเจอเศษกิ่งไม้มากมาย และ "เศษลวดตาข่าย" ที่ระเบียง ก็เลยเก็บไปทิ้ง
2.ดึก ศุกร์ 15 พ.ย. เรากลับเข้าห้อง มาดูที่ระเบียง เจอเศษกิ่งไม้อีก ก็เลยเก็บไปทิ้งอีก + โพสท์ facebook ถามเพื่อนๆเรื่องวิธีรับมือกับนก
3.เช้า เสาร์ 16 เจอเศษกิ่งไม้และลวดตาข่ายที่ระเบียงอีก เราก็เลยเก็บไปทิ้งอีก
4.ตอนสายๆก็พบนกสองตัวแอบอยู่บนเครื่อง air conditioner นอกห้อง เราพยายามใช้ไม้กวาดเขี่ยไล่มันไป 3 ครั้งแต่พวกมันแค่หนีไปเกาะบนดาดฟ้าตึกใกล้ๆ
5.เราปีนขึ้นไปเพื่อพยายามส่องดูบนเครื่องแอร์ แต่มันมองไม่เห็น ทำได้แค่ใช้มือคลำๆว่ามันมีอะไรบนแอร์ เราพบลวดตาข่ายและกิ่งไม้บนแอร์ ก็เลยเก็บไปทิ้ง แต่พอคลำไปเรื่อยๆ ก็เลยเจอ " ไข่" ลูกนึง กรี๊ดดดดดดดดดดดดด มิน่าล่ะ นกคู่นี้มันถึงไม่ยอมทิ้งระเบียงนี้ไปสักที
6.เราตัดสินใจวางไข่ไว้บนแอร์ตามเดิม แล้วไปเล่าเรื่องให้พนักงานอพาร์ทเมนท์ฟัง ปรากฏว่าพนักงานบอกว่า ถ้ามันออกไข่บนแอร์แล้ว ก็ให้ปล่อยให้มันเลี้ยงลูกจนโตบนเครื่องแอร์ไปเลยจ้า แอร์ไม่เสียแต่อย่างใด เป็นอย่างนี้หลายห้องแล้ว แม่นกมันจะเลี้ยงจนลูกบินได้ แล้วมันก็จะจากไปเอง
พนักงานเล่าด้วยว่า มีหลายห้องที่เจอผึ้งแห่มาทำรังที่ระเบียงด้วย คนเช่าห้องก็กลัว แต่พนักงานบอกว่าไม่ต้องไล่ เดี๋ยวพอหมดฤดูอะไรของมัน ฝูงผึ้งมันก็จะจากไปเอง แล้วผู้เช่าห้องกับพนักงานก็เอาน้ำผึ้งจากรังมากินกัน
7.เราก็เลยตัดสินใจว่าจะลองปล่อยมันไว้อย่างนี้ก่อน ไม่รู้เหมือนกันว่านกมันจะกลัวเราจนหนีไปเอง (เพราะเราใช้ไม้กวาดไปไล่มันแล้ว 3 รอบ) หรือมันจะยังอยู่ที่นี่ต่อไป ยังไงที่นี่ก็เป็นแค่ "อพาร์ทเมนท์" ที่เราเช่าอยู่ ถ้าเจ้าของอพาร์ทเมนท์เขาโอเคกับการมีนกมาทำรังบนแอร์ เราก็ไม่ว่าอะไร
หวังแต่ว่า เราจะไม่ติดโรค ไข้กาฬนกนางแอ่น หรือโรคอะไรต่างๆหลังจากนี้นะ
ก็ได้แต่ภาวนาว่า คู่สามีภรรยานกเขาชวา มันจะเจอสถานที่ใหม่ที่ดีๆและเหมาะสมกับรังของมันนะ พอเราอยากให้มันอยู่ มันก็ดันหนีเราไป สงสารมันที่สุดเลย
พนักงานอพาร์ทเมนท์บอกเราอีกด้วยว่า ทุกห้องที่เคยเจอปัญหาแบบเดียวกันกับเรา แล้วปล่อยให้นกมันเลี้ยงลูกที่เครื่องแอร์ต่อไป ถูกหวยกันหมดเลย เหมือนนกพวกนี้มันให้โชคให้ลาภกับคนที่อพาร์ทเมนท์แห่งนี้มาแล้วหลายห้องมากๆ
อยากจะร้องไห้
สรุปเหตุการณ์ THE BIRDS (Jit Phokaew as Tippi Hedren)
1. เช้า ศุกร์ 15 พ.ย. เราเจอเศษกิ่งไม้มากมาย และ "เศษลวดตาข่าย" ที่ระเบียง ก็เลยเก็บไปทิ้ง
2.ดึก ศุกร์ 15 พ.ย. เรากลับเข้าห้อง มาดูที่ระเบียง เจอเศษกิ่งไม้อีก ก็เลยเก็บไปทิ้งอีก + โพสท์ facebook ถามเพื่อนๆเรื่องวิธีรับมือกับนก
3.เช้า เสาร์ 16 เจอเศษกิ่งไม้และลวดตาข่ายที่ระเบียงอีก เราก็เลยเก็บไปทิ้งอีก
4.ตอนสายๆก็พบนกสองตัวแอบอยู่บนเครื่อง air conditioner นอกห้อง เราพยายามใช้ไม้กวาดเขี่ยไล่มันไป 3 ครั้งแต่พวกมันแค่หนีไปเกาะบนดาดฟ้าตึกใกล้ๆ
5.เราปีนขึ้นไปเพื่อพยายามส่องดูบนเครื่องแอร์ แต่มันมองไม่เห็น ทำได้แค่ใช้มือคลำๆว่ามันมีอะไรบนแอร์ เราพบลวดตาข่ายและกิ่งไม้บนแอร์ ก็เลยเก็บไปทิ้ง แต่พอคลำไปเรื่อยๆ ก็เลยเจอ " ไข่" ลูกนึง กรี๊ดดดดดดดดดดดดด มิน่าล่ะ นกคู่นี้มันถึงไม่ยอมทิ้งระเบียงนี้ไปสักที
6.เราตัดสินใจวางไข่ไว้บนแอร์ตามเดิม แล้วไปเล่าเรื่องให้พนักงานอพาร์ทเมนท์ฟัง ปรากฏว่าพนักงานบอกว่า ถ้ามันออกไข่บนแอร์แล้ว ก็ให้ปล่อยให้มันเลี้ยงลูกจนโตบนเครื่องแอร์ไปเลยจ้า แอร์ไม่เสียแต่อย่างใด เป็นอย่างนี้หลายห้องแล้ว แม่นกมันจะเลี้ยงจนลูกบินได้ แล้วมันก็จะจากไปเอง
พนักงานเล่าด้วยว่า มีหลายห้องที่เจอผึ้งแห่มาทำรังที่ระเบียงด้วย คนเช่าห้องก็กลัว แต่พนักงานบอกว่าไม่ต้องไล่ เดี๋ยวพอหมดฤดูอะไรของมัน ฝูงผึ้งมันก็จะจากไปเอง แล้วผู้เช่าห้องกับพนักงานก็เอาน้ำผึ้งจากรังมากินกัน
7.เราก็เลยตัดสินใจว่าจะลองปล่อยมันไว้อย่างนี้ก่อน ไม่รู้เหมือนกันว่านกมันจะกลัวเราจนหนีไปเอง (เพราะเราใช้ไม้กวาดไปไล่มันแล้ว 3 รอบ) หรือมันจะยังอยู่ที่นี่ต่อไป ยังไงที่นี่ก็เป็นแค่ "อพาร์ทเมนท์" ที่เราเช่าอยู่ ถ้าเจ้าของอพาร์ทเมนท์เขาโอเคกับการมีนกมาทำรังบนแอร์ เราก็ไม่ว่าอะไร
หวังแต่ว่า เราจะไม่ติดโรค ไข้กาฬนกนางแอ่น หรือโรคอะไรต่างๆหลังจากนี้นะ
Saturday, November 16, 2019
MIASMA, PLANTS, EXPORT PAINTINGS
MIASMA, PLANTS, EXPORT PAINTINGS (2017, Lu Pan, Bo Wang, Hong Kong, documentary, A+30)
1.ติดอันดับประจำปีแน่นอน ชอบหนัง essay ทำนองนี้มากๆ หนังพูดถึงทั้ง
1.1 ประวัติศาสตร์การใช้ perspective ใน paintings ที่แตกต่างกัน ระหว่างตะวันออกกับตะวันตก
1.2 ประวัติศาสตร์การนำ exotic plants จากตะวันออกไปเผยแพร่ในตะวันตก
1.3 ประวัติศาสตร์เกาะฮ่องกงก่อนเป็นของอังกฤษ
1.4 การแบ่งชนชั้นในฮ่องกงผ่านทาง "ความสูง" ของสถานที่ตั้งบ้าน
กราบมากๆที่หนังสามารถร้อยเรียงเรื่องต่างๆเหล่านี้เข้ามาไว้ด้วยกันได้ ดูแล้วนึกถึงหนังของ Alexander Kluge และ Harun Farocki ที่เก่งกาจในการร้อยเรียงเรื่องแบบนี้เหมือนกัน
2.ชอบการใช้ found footage จากหนังมากๆ โดยเฉพาะจากหนังเรื่อง LOVE IS A MANY-SPLENDORED THING (1955, Henry King) กับ TAI-PAN.(1986, Daryl Duke) เราจำได้ว่า TAI-PAN เคยมาฉายทางทีวีตอนเราเด็กๆ แต่เราไม่ได้ดู แต่เราได้ดู NOBLE HOUSE (1988, Gary Nelson) ซึ่งเป็นภาคสองของ TAI-PAN ตอนที่มันมาฉายทางช่อง 7
ยังจำได้เลยว่า NOBLE HOUSE สะท้อนความหวาดกลัวของฮ่องกงที่มีต่อจีนด้วย เพราะตัวละครใน NOBLE HOUSE คุยกันในทำนองที่ว่า "ในอนาคต จีนจะเข้ามากลืนกินฮ่องกงหรือเปล่า" แล้วพระเอก (Pierce Brosnan) ก็ตอบว่า "ไม่แน่หรอก เมื่อถึงเวลานั้น ฮ่องกงอาจจะเป็นฝ่ายที่กลืนกินจีนก็ได้"
พอนึกย้อนไปแล้วก็รู้สึกเศร้าใจ บางทีละครทีวีเรื่อง NOBLE HOUSE มันอาจจะมองโลกในแง่ดีมากเกินไปก็ได้
MY WORLD (2018, Jun Li, Hong Kong, A+30)
ตอนแรกนึกว่าเราจะไม่ชอบหนังเรื่องนี้ เพราะช่วงแรกมันดูเหมือนหนังวัยรุ่นเปรี้ยวๆ เก๋ๆ เท่ๆ แต่พอดูไปเรื่อยๆก็พบว่าหนังมัน surreal และประหลาดดี เหมือนตัวละครในหนังเรื่องนี้เป็นสัญลักษณ์แทนอะไรบางอย่างที่เราไม่เข้าใจ ดูแล้วนึกถึงหนังอย่าง NOCTURAMA (2016, Bertrand Bonello) และ THERE'S NOTHING AT THE BEGINNING (2016, Pattanapol Suthaporn) ที่ดูช่วงแรกแล้วนึกว่าเป็นแค่เรื่องของวัยรุ่นเก๋ๆ แต่ดูไปดูมาแล้วพบว่ามันพิสดารและทรงพลังมากๆ
1.ติดอันดับประจำปีแน่นอน ชอบหนัง essay ทำนองนี้มากๆ หนังพูดถึงทั้ง
1.1 ประวัติศาสตร์การใช้ perspective ใน paintings ที่แตกต่างกัน ระหว่างตะวันออกกับตะวันตก
1.2 ประวัติศาสตร์การนำ exotic plants จากตะวันออกไปเผยแพร่ในตะวันตก
1.3 ประวัติศาสตร์เกาะฮ่องกงก่อนเป็นของอังกฤษ
1.4 การแบ่งชนชั้นในฮ่องกงผ่านทาง "ความสูง" ของสถานที่ตั้งบ้าน
กราบมากๆที่หนังสามารถร้อยเรียงเรื่องต่างๆเหล่านี้เข้ามาไว้ด้วยกันได้ ดูแล้วนึกถึงหนังของ Alexander Kluge และ Harun Farocki ที่เก่งกาจในการร้อยเรียงเรื่องแบบนี้เหมือนกัน
2.ชอบการใช้ found footage จากหนังมากๆ โดยเฉพาะจากหนังเรื่อง LOVE IS A MANY-SPLENDORED THING (1955, Henry King) กับ TAI-PAN.(1986, Daryl Duke) เราจำได้ว่า TAI-PAN เคยมาฉายทางทีวีตอนเราเด็กๆ แต่เราไม่ได้ดู แต่เราได้ดู NOBLE HOUSE (1988, Gary Nelson) ซึ่งเป็นภาคสองของ TAI-PAN ตอนที่มันมาฉายทางช่อง 7
ยังจำได้เลยว่า NOBLE HOUSE สะท้อนความหวาดกลัวของฮ่องกงที่มีต่อจีนด้วย เพราะตัวละครใน NOBLE HOUSE คุยกันในทำนองที่ว่า "ในอนาคต จีนจะเข้ามากลืนกินฮ่องกงหรือเปล่า" แล้วพระเอก (Pierce Brosnan) ก็ตอบว่า "ไม่แน่หรอก เมื่อถึงเวลานั้น ฮ่องกงอาจจะเป็นฝ่ายที่กลืนกินจีนก็ได้"
พอนึกย้อนไปแล้วก็รู้สึกเศร้าใจ บางทีละครทีวีเรื่อง NOBLE HOUSE มันอาจจะมองโลกในแง่ดีมากเกินไปก็ได้
MY WORLD (2018, Jun Li, Hong Kong, A+30)
ตอนแรกนึกว่าเราจะไม่ชอบหนังเรื่องนี้ เพราะช่วงแรกมันดูเหมือนหนังวัยรุ่นเปรี้ยวๆ เก๋ๆ เท่ๆ แต่พอดูไปเรื่อยๆก็พบว่าหนังมัน surreal และประหลาดดี เหมือนตัวละครในหนังเรื่องนี้เป็นสัญลักษณ์แทนอะไรบางอย่างที่เราไม่เข้าใจ ดูแล้วนึกถึงหนังอย่าง NOCTURAMA (2016, Bertrand Bonello) และ THERE'S NOTHING AT THE BEGINNING (2016, Pattanapol Suthaporn) ที่ดูช่วงแรกแล้วนึกว่าเป็นแค่เรื่องของวัยรุ่นเก๋ๆ แต่ดูไปดูมาแล้วพบว่ามันพิสดารและทรงพลังมากๆ
Thursday, November 14, 2019
5 NOV – 11 NOV 1989
อันดับเพลงเมื่อ 30 ปีก่อน
WEEK 45
5 NOV – 11 NOV 1989
1. (IT’S JUST) THE WAY THAT YOU LOVE ME – Paula Abdul
2.GET ON YOUR FEET – Gloria Estefan (New Entry)
3. LOVE LIKE WE DO – Edie Brickell & New Bohemians (New Entry)
4. HEAVEN’S HERE – Holly Johnson (New Entry)
5.NO DEPOSIT, NO RETURN – Sheena Easton (New
Entry)
6. YOU’RE MY LIFE – Yoko Oginome (New Entry)
7. YOU KEEP IT ALL IN – The Beautiful South (New Entry)
8. THAT’S WHAT I LIKE – Jive Bunny and the Mastermixers (New Entry)
9. ANGELIA – Richard Marx (New Entry)
10. NATURE OF LOVE – Waterfront
11.WHITE HORSE ’89 – Laid Back (New Entry)
12. BLAME IT ON THE RAIN – Milli Vanilli (New
Entry)
13. THE REAL THING – ABC (New Entry)
14. DRAMA – Erasure (New Entry)
15. BORN TO BE SOLD – Transvision Vamp (New
Entry)
OPENING CLOSING FORGETTING
OPENING CLOSING FORGETTING (2018, James T. Hong, Taiwan/China/Japan, documentary, A+30)
1.ขอบคุณที่มีคนบันทึกเรื่องราวเหล่านี้เอาไว้ เพราะมันเหมือนเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ญี่ปุ่นพยายามจะลบมันไป
2.ความเจ็บปวดของเหยื่อในหนังมันรุนแรงมากๆ ไม่สามารถบรรยายได้
3.สิ่งหนึ่งที่เราว่าน่าสนใจดีคือคำให้สัมภาษณ์ของอดีตทหารญี่ปุ่น ที่เราไม่มีทางรู้ได้ว่า แต่ละคนพูดจริงมากน้อยแค่ไหน
แต่ถ้าหากพวกเขาพูดจริง มันก็น่าสนใจดีที่พวกเขาอ้างว่า ตนเองอยู่ทหารหน่วยอื่นๆ และไม่ได้อยู่ในหน่วยที่ "จับชาวจีนมาทดสอบอาวุธเชื้อโรค" โดยตรง โดยบางคนบอกว่า ตนเองแค่ "ชี้ให้ทหารอีกหน่วยดูแม่น้ำ" แต่ตนเองไม่ได้อยู่ในหน่วยที่ปล่อยเชื้อโรคลงในแม่น้ำ
การอ้างว่าตนเองไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงอะไรพวกนี้ ทำให้นึกถึงหนังอีกหลายๆเรื่องที่สำรวจประเด็นคล้ายๆกัน นั่นก็คือสำรวจการที่ประชาชนสมัครใจ "ทำตัวเป็นฟันเฟืองของรัฐบาลชาตินิยม" แล้วอ้างว่าตัวเองไม่ได้มีส่วนในการเข่นฆ่าประชาชน
หนังที่พูดถึงประเด็นนี้ได้ดีที่สุด คงเป็น
THE INEXTINGUISHABLE FIRE (1969, Harun Farocki) ที่แสดงให้เห็นว่า ประชาชนบางคนอาจอ้างได้ว่า ฉันแค่ทำงานในโรงงานที่ "ผลิตอุปกรณ์ทรงกระบอก" และบางคนอาจจะบอกว่า "ฉันแค่ทำงานในโรงงานที่ผลิตก้อนสี่เหลี่ยม" แต่จริงๆแล้วทุกคนอาจจะมือเปื้อนเลือดโดยไม่รู้ตัว เพราะรัฐบาลเอาแต่ละชิ้นส่วนเหล่านั้น ไปประกอบกันเป็นอาวุธเพื่อฆ่าชาวเวียดนาม
หนังอีกสองเรื่องที่ทำให้นึกถึงประเด็นนี้ คือ THE READER (2008, Stephen Daldry) และ THE MOST BEAUTIFUL (1944, Akira Kurosawa) ที่นำเสนอหญิงสาวที่มองว่า ตัวเองแค่ทำงานตามที่รัฐบาลสั่งมา โดยไม่ยอมรับรู้ความจริงที่ว่า มันเป็นสิ่งที่เลวร้ายมากเพียงใด
EVEN ANTS STRIVE FOR SURVIVAL (2017, Ren Xia, Hong Kong, A+30)
หนังแนว Kafkaesque ที่สะท้อนความขัดแย้งระหว่างจีนกับฮ่องกงได้อย่างน่าสนใจ
LAST YEAR WHEN THE TRAIN PASSED BY (2018, Huang Pang-chuan, Taiwan, documentary, A+30)
กราบตีน หนังงดงามสุดๆ กวีมากๆ ไอเดียก็ดีมากๆ หนังเป็นการตามไปสัมภาษณ์คนในบ้านหลายๆหลังว่า เมื่อ 1 ปีก่อน ตอนที่รถไฟแล่นผ่านในวันนั้นๆ เวลานั้นๆ คุณกำลังทำอะไรอยู่
หนังเหมือนกระตุ้นให้เราคิดถึงอะไรหลายๆอย่าง คิดถึงจุดตัดของเวลากับสถานที่ จุดตัดทางชีวิตของผู้คน และโมงยามธรรมดาๆของชีวิตธรรมดาๆ ที่ดูเหมือนจะไม่สำคัญในตอนแรก แต่พอเวลาผ่านไปนานๆ แล้วเราได้หวนรำลึกถึงมัน มันกลับกลายเป็นหนึ่งในโมงยามที่งดงามที่สุดของชีวิต โดยเฉพาะในกรณีที่ "คนที่เคยร่วม moment นั้นๆกับเรา" ไม่ได้อยู่กับเราแล้ว
เหมือนอย่างเราจะฝังใจกับ "แสงแดดยามบ่ายสามในปี 1989" เพราะตอนนั้นเราอยู่ม.5 และบ่ายสามเป็นช่วงเวลาใกล้เลิกเรียน ช่วงเวลาที่เราจะได้ออกไปกรี๊ดกร๊าดกับเพื่อนๆ ไม่รู้ทำไม พอเวลาผ่านมานาน 30 ปี เมื่อเราได้เห็นแสงแดดอ่อนๆตอนบ่ายสาม เราจะรู้สึกสุขใจและเศร้าใจในเวลาเดียวกันอย่างประหลาด สุขใจที่ได้คิดถึงอดีตอันหอมหวาน และเศร้าใจที่รู้ว่า เวลาบ่ายสามในปี 1989 ไม่มีทางหวนคืนมาอีกแล้ว
พอดูหนังเรื่องนี้เราก็เลยชอบมากๆ เพราะมันทำให้เราคิดถึง "เวลา กับ ชีวิต" ในแบบที่หนังเรื่องอื่นๆไม่เคยกระตุ้นให้เราคิดมาก่อน
FUNERAL VIDEO (2017, Wu Wen-rui, Taiwan, documentary, A+25)
ดูแล้วไม่อินเลย 55555
TAIWAN PROVINCE OF CHINA (2018, Fu Yue, Taiwan, documentary, A+30)
ชอบการใช้คลิปหนังสายลับมาประกอบการเล่าชีวิตตัวเอง
30KM - 60 YEARS (2018, Laha Mebow, Taiwan, documentary, A+30)
ตอนจบของหนังซึ้งมากๆ ร้องห่มร้องไห้
ดูแล้วนึกถึงหนังสารคดีเรื่อง THE MOUNTAIN (2015, Su Hong-en) ด้วย ที่พูดถึงชนพื้นเมืองวัยชราในไต้หวันเหมือนกัน
FIREFLY (2018, Lau Kek-huat, Taiwan/Malaysia, documentary, A+30)
ชอบการร้อยเรียงประวัติศาสตร์ภาพยนตร์มาเลเซียเข้ากับปวศ.ชนกลุ่มน้อย หนังเหมือนมีความเป็นกวีที่งดงามมากๆอยู่ด้วย
BURMA MONK LIFE (2017, Lee Yong Chao, Taiwan, documentary, A+30)
ชอบการจับภาพพระนั่งสมาธิเป็นเวลาเนิ่นนาน
ก่อนที่ ROSE THE HAT (Rebecca Ferguson) กับพรรคพวกใน DOCTOR SLEEP (2019, Mike Flanagan) จะมากินเด็กทั่วสหรัฐในคริสต์ศตวรรษที่ 20 และ 21 นั้น บางทีเธอกับพรรคพวกอาจจะเคย terrorize ฟิลิปปินส์มาแล้วในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยที่ชาวบ้านในฟิลิปปินส์เรียกพวกเธอว่า Tikbalang ใน A LULLABY TO THE SORROWFUL MYSTERY (2019, Lav Diaz) 555555
1.ขอบคุณที่มีคนบันทึกเรื่องราวเหล่านี้เอาไว้ เพราะมันเหมือนเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ญี่ปุ่นพยายามจะลบมันไป
2.ความเจ็บปวดของเหยื่อในหนังมันรุนแรงมากๆ ไม่สามารถบรรยายได้
3.สิ่งหนึ่งที่เราว่าน่าสนใจดีคือคำให้สัมภาษณ์ของอดีตทหารญี่ปุ่น ที่เราไม่มีทางรู้ได้ว่า แต่ละคนพูดจริงมากน้อยแค่ไหน
แต่ถ้าหากพวกเขาพูดจริง มันก็น่าสนใจดีที่พวกเขาอ้างว่า ตนเองอยู่ทหารหน่วยอื่นๆ และไม่ได้อยู่ในหน่วยที่ "จับชาวจีนมาทดสอบอาวุธเชื้อโรค" โดยตรง โดยบางคนบอกว่า ตนเองแค่ "ชี้ให้ทหารอีกหน่วยดูแม่น้ำ" แต่ตนเองไม่ได้อยู่ในหน่วยที่ปล่อยเชื้อโรคลงในแม่น้ำ
การอ้างว่าตนเองไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงอะไรพวกนี้ ทำให้นึกถึงหนังอีกหลายๆเรื่องที่สำรวจประเด็นคล้ายๆกัน นั่นก็คือสำรวจการที่ประชาชนสมัครใจ "ทำตัวเป็นฟันเฟืองของรัฐบาลชาตินิยม" แล้วอ้างว่าตัวเองไม่ได้มีส่วนในการเข่นฆ่าประชาชน
หนังที่พูดถึงประเด็นนี้ได้ดีที่สุด คงเป็น
THE INEXTINGUISHABLE FIRE (1969, Harun Farocki) ที่แสดงให้เห็นว่า ประชาชนบางคนอาจอ้างได้ว่า ฉันแค่ทำงานในโรงงานที่ "ผลิตอุปกรณ์ทรงกระบอก" และบางคนอาจจะบอกว่า "ฉันแค่ทำงานในโรงงานที่ผลิตก้อนสี่เหลี่ยม" แต่จริงๆแล้วทุกคนอาจจะมือเปื้อนเลือดโดยไม่รู้ตัว เพราะรัฐบาลเอาแต่ละชิ้นส่วนเหล่านั้น ไปประกอบกันเป็นอาวุธเพื่อฆ่าชาวเวียดนาม
หนังอีกสองเรื่องที่ทำให้นึกถึงประเด็นนี้ คือ THE READER (2008, Stephen Daldry) และ THE MOST BEAUTIFUL (1944, Akira Kurosawa) ที่นำเสนอหญิงสาวที่มองว่า ตัวเองแค่ทำงานตามที่รัฐบาลสั่งมา โดยไม่ยอมรับรู้ความจริงที่ว่า มันเป็นสิ่งที่เลวร้ายมากเพียงใด
EVEN ANTS STRIVE FOR SURVIVAL (2017, Ren Xia, Hong Kong, A+30)
หนังแนว Kafkaesque ที่สะท้อนความขัดแย้งระหว่างจีนกับฮ่องกงได้อย่างน่าสนใจ
LAST YEAR WHEN THE TRAIN PASSED BY (2018, Huang Pang-chuan, Taiwan, documentary, A+30)
กราบตีน หนังงดงามสุดๆ กวีมากๆ ไอเดียก็ดีมากๆ หนังเป็นการตามไปสัมภาษณ์คนในบ้านหลายๆหลังว่า เมื่อ 1 ปีก่อน ตอนที่รถไฟแล่นผ่านในวันนั้นๆ เวลานั้นๆ คุณกำลังทำอะไรอยู่
หนังเหมือนกระตุ้นให้เราคิดถึงอะไรหลายๆอย่าง คิดถึงจุดตัดของเวลากับสถานที่ จุดตัดทางชีวิตของผู้คน และโมงยามธรรมดาๆของชีวิตธรรมดาๆ ที่ดูเหมือนจะไม่สำคัญในตอนแรก แต่พอเวลาผ่านไปนานๆ แล้วเราได้หวนรำลึกถึงมัน มันกลับกลายเป็นหนึ่งในโมงยามที่งดงามที่สุดของชีวิต โดยเฉพาะในกรณีที่ "คนที่เคยร่วม moment นั้นๆกับเรา" ไม่ได้อยู่กับเราแล้ว
เหมือนอย่างเราจะฝังใจกับ "แสงแดดยามบ่ายสามในปี 1989" เพราะตอนนั้นเราอยู่ม.5 และบ่ายสามเป็นช่วงเวลาใกล้เลิกเรียน ช่วงเวลาที่เราจะได้ออกไปกรี๊ดกร๊าดกับเพื่อนๆ ไม่รู้ทำไม พอเวลาผ่านมานาน 30 ปี เมื่อเราได้เห็นแสงแดดอ่อนๆตอนบ่ายสาม เราจะรู้สึกสุขใจและเศร้าใจในเวลาเดียวกันอย่างประหลาด สุขใจที่ได้คิดถึงอดีตอันหอมหวาน และเศร้าใจที่รู้ว่า เวลาบ่ายสามในปี 1989 ไม่มีทางหวนคืนมาอีกแล้ว
พอดูหนังเรื่องนี้เราก็เลยชอบมากๆ เพราะมันทำให้เราคิดถึง "เวลา กับ ชีวิต" ในแบบที่หนังเรื่องอื่นๆไม่เคยกระตุ้นให้เราคิดมาก่อน
FUNERAL VIDEO (2017, Wu Wen-rui, Taiwan, documentary, A+25)
ดูแล้วไม่อินเลย 55555
TAIWAN PROVINCE OF CHINA (2018, Fu Yue, Taiwan, documentary, A+30)
ชอบการใช้คลิปหนังสายลับมาประกอบการเล่าชีวิตตัวเอง
30KM - 60 YEARS (2018, Laha Mebow, Taiwan, documentary, A+30)
ตอนจบของหนังซึ้งมากๆ ร้องห่มร้องไห้
ดูแล้วนึกถึงหนังสารคดีเรื่อง THE MOUNTAIN (2015, Su Hong-en) ด้วย ที่พูดถึงชนพื้นเมืองวัยชราในไต้หวันเหมือนกัน
FIREFLY (2018, Lau Kek-huat, Taiwan/Malaysia, documentary, A+30)
ชอบการร้อยเรียงประวัติศาสตร์ภาพยนตร์มาเลเซียเข้ากับปวศ.ชนกลุ่มน้อย หนังเหมือนมีความเป็นกวีที่งดงามมากๆอยู่ด้วย
BURMA MONK LIFE (2017, Lee Yong Chao, Taiwan, documentary, A+30)
ชอบการจับภาพพระนั่งสมาธิเป็นเวลาเนิ่นนาน
ก่อนที่ ROSE THE HAT (Rebecca Ferguson) กับพรรคพวกใน DOCTOR SLEEP (2019, Mike Flanagan) จะมากินเด็กทั่วสหรัฐในคริสต์ศตวรรษที่ 20 และ 21 นั้น บางทีเธอกับพรรคพวกอาจจะเคย terrorize ฟิลิปปินส์มาแล้วในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยที่ชาวบ้านในฟิลิปปินส์เรียกพวกเธอว่า Tikbalang ใน A LULLABY TO THE SORROWFUL MYSTERY (2019, Lav Diaz) 555555
Wednesday, November 13, 2019
BLOOD AMBER
ROGER WATERS: US + THEM (2019, Sean Evans, Roger Waters, documentary, A+30)
เราแทบไม่เคยฟังเพลงของ Pink Floyd มาก่อนเลย แต่พอมาได้ฟังจากหนังเรื่องนี้ก็รู้สึกว่ามันเพราะดี โชว์ก็ตระการตาดี
อยากให้มีคนเอาหนังของ Laurie Anderson มาฉายบ้าง 555
-------------
หนึ่งในหนังที่มีอิทธิพลกับเรามากที่สุดในชีวิต คือหนังโง่ๆเรื่อง MIDNIGHT OFFERINGS (1981, Rod Holcomb) ที่เป็นเรื่องของสาวเชียร์ลีดเดอร์ไฮสกูลสองคนตบตีแย่งผัวกัน แต่สาวสองคนนี้เป็นแม่มด ก็เลยใช้เวทมนตร์ตบตีแย่งผัวกันสุดฤทธิ์ หนังเรื่อง MIDNIGHT OFFERINGS ทำให้เราหลงใหลในโลกของเวทมนตร์คาถาคุณไสยมนตร์ดำตั้งแต่เด็ก พอมาได้ดู DOCTOR SLEEP ที่มันมีความ "แม่มด/สาวพลังจิตตบตีห้ำหั่นกัน" มันก็เลยกลายเป็นหนึ่งในหนังที่เราชอบที่สุดในปีนี้ไปเลย 555
BLOOD AMBER (2017, Lee Yong Chao, Taiwan, documentary, A+30)
1.ฉากเดินไปหาบน้ำนี่คลาสสิคมากๆ ไม่นึกว่าน้ำจะหายากขนาดนี้
2.พอดูเทียบกับหนังของ Midi Z อย่าง CITY OF JADE (2016) แล้ว เราจะรู้สึกว่า หนังของ Midi Z คล้าย Ken Loach ส่วนหนังของ Lee Yong Chao จะไปทาง Mike Leigh 55555 เพราะหนังของ Midi Z เหมือนใช้ subjects ในการสะท้อนโครงสร้างสังคม ปัญหาสังคม แต่หนังอย่าง BLOOD AMBER เหมือนจะลงลึกในความเป็นมนุษย์ของตัว subjects มากกว่า
3.ดู BLOOD AMBER แล้วนึกถึงช่วงหนึงในหนังสารคดีเรื่อง WORKINGMAN'S DEATH (2005, Michael Glawogger) กับหนังสารคดีหลอนๆเรื่อง THE MAGIC MOUNTAIN (2015, Andrei Schtakleff, France/Bolivia) ด้วย เพราะหนังสารคดีกลุ่มนี้ถ่ายทอดชีวิตการทำงานในเหมืองได้อย่างทรงพลังมากๆเหมือนกัน
QUAN MA HE (2018, Lee Yong Chao, Taiwan, documentary, A+30)
ชอบความเดียวดายแต่ไม่โรแมนติกของหนัง ชีวิตในชนบทของ subject กับเมียดูเหงามากๆ เพราะคนอื่นๆในหมู่บ้านเหมือนจะทิ้งหมู่บ้านไปกันเกือบหมดแล้ว
ดูแล้วนึกถึง ALEXEI AND THE SPRING (2002, Motohashi Seiichi, documentary) ที่เล่าเรื่องหมู่บ้านที่เกือบร้างใน Belorussia หรือ Ukraine
เราแทบไม่เคยฟังเพลงของ Pink Floyd มาก่อนเลย แต่พอมาได้ฟังจากหนังเรื่องนี้ก็รู้สึกว่ามันเพราะดี โชว์ก็ตระการตาดี
อยากให้มีคนเอาหนังของ Laurie Anderson มาฉายบ้าง 555
-------------
หนึ่งในหนังที่มีอิทธิพลกับเรามากที่สุดในชีวิต คือหนังโง่ๆเรื่อง MIDNIGHT OFFERINGS (1981, Rod Holcomb) ที่เป็นเรื่องของสาวเชียร์ลีดเดอร์ไฮสกูลสองคนตบตีแย่งผัวกัน แต่สาวสองคนนี้เป็นแม่มด ก็เลยใช้เวทมนตร์ตบตีแย่งผัวกันสุดฤทธิ์ หนังเรื่อง MIDNIGHT OFFERINGS ทำให้เราหลงใหลในโลกของเวทมนตร์คาถาคุณไสยมนตร์ดำตั้งแต่เด็ก พอมาได้ดู DOCTOR SLEEP ที่มันมีความ "แม่มด/สาวพลังจิตตบตีห้ำหั่นกัน" มันก็เลยกลายเป็นหนึ่งในหนังที่เราชอบที่สุดในปีนี้ไปเลย 555
BLOOD AMBER (2017, Lee Yong Chao, Taiwan, documentary, A+30)
1.ฉากเดินไปหาบน้ำนี่คลาสสิคมากๆ ไม่นึกว่าน้ำจะหายากขนาดนี้
2.พอดูเทียบกับหนังของ Midi Z อย่าง CITY OF JADE (2016) แล้ว เราจะรู้สึกว่า หนังของ Midi Z คล้าย Ken Loach ส่วนหนังของ Lee Yong Chao จะไปทาง Mike Leigh 55555 เพราะหนังของ Midi Z เหมือนใช้ subjects ในการสะท้อนโครงสร้างสังคม ปัญหาสังคม แต่หนังอย่าง BLOOD AMBER เหมือนจะลงลึกในความเป็นมนุษย์ของตัว subjects มากกว่า
3.ดู BLOOD AMBER แล้วนึกถึงช่วงหนึงในหนังสารคดีเรื่อง WORKINGMAN'S DEATH (2005, Michael Glawogger) กับหนังสารคดีหลอนๆเรื่อง THE MAGIC MOUNTAIN (2015, Andrei Schtakleff, France/Bolivia) ด้วย เพราะหนังสารคดีกลุ่มนี้ถ่ายทอดชีวิตการทำงานในเหมืองได้อย่างทรงพลังมากๆเหมือนกัน
QUAN MA HE (2018, Lee Yong Chao, Taiwan, documentary, A+30)
ชอบความเดียวดายแต่ไม่โรแมนติกของหนัง ชีวิตในชนบทของ subject กับเมียดูเหงามากๆ เพราะคนอื่นๆในหมู่บ้านเหมือนจะทิ้งหมู่บ้านไปกันเกือบหมดแล้ว
ดูแล้วนึกถึง ALEXEI AND THE SPRING (2002, Motohashi Seiichi, documentary) ที่เล่าเรื่องหมู่บ้านที่เกือบร้างใน Belorussia หรือ Ukraine
Monday, November 11, 2019
DEW IN MY VERSION
TERMINATOR: DARK FATE (2019, Tim Miller, A+30)
1.พอดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้รู้สึกชอบ I AM MOTHER (2019, Grant Sputore, Australia) มากขึ้นกว่าเดิมอีกหลายเท่า 555 เพราะเหมือนหนังสองเรื่องนี้ใช้ setting คล้ายกัน เป็นโลกอนาคตที่หุ่นยนต์พยายามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์เหมือนกัน แต่ I AM MOTHER ใช้ "ทุนสมอง" เป็นหลัก ส่วน TERMINATOR ใช้เงินทุนเป็นหลัก 555
2.แต่ก็ enjoy กับ DARK FATE มากๆเลยนะ เพราะมันเป็นเรื่องของ ผู้หญิงสามคนที่รวมพลังกันต่อสู้กับวายร้ายน่ะ และพอมันใช้ตัวละครหลักเป็นผู้หญิงสามคน เราก็เลยอินกับหนังมากๆ ซึ่งถ้าหากมันเปลี่ยนมาเป็นหนังบู๊แบบผู้ชายๆ เราก็คงไม่อินมากเท่านี้
คือดูแล้วนึกถึงความสนุกตอนดูละครทีวี SUKEBAN DEKA ปีสองน่ะ ที่เป็นเรื่องของสามนักเรียนสาวต่อสู้กับเหล่าร้าย คือพล็อตของมันไม่มีความสร้างสรรค์อะไรเลย เป็นเรื่องของสามสาวที่ใช้ลูกดิ่ง, ลูกแก้ว และว่าวเป็นอาวุธ และในแต่ละตอนพวกเธอก็จะสู้กับผู้ร้ายที่ใช้อาวุธต่างๆกันไป บางตอนผู้ร้ายก็ใช้บูมเมอแรง, ลูกข่าง, ริบบิ้น, ร่ม, เกี๊ยะ, ฉมวก, กระดานโต้คลื่น, ดอกกุหลาบ ฯลฯ เป็นอาวุธ แต่เราก็ยกให้ละครทีวีเรื่องนี้เป็น MY MOST FAVORITE TV SERIES OF ALL TIME
ซึ่งก็เหมือนกับ DARK FATE ในแง่นึง คือพล็อตเหมือนไม่มีอะไรน่าสนใจเลย แต่ดูแล้วก็ enjoy มากๆ
3.หนังอีกเรื่องที่ดูแล้วนึกถึงมากๆ คือ HALLOWEEN (2018, David Gordon Green) ที่เป็นเรื่องของหญิงสามคน (ยาย-แม่-สาววัยรุ่น) รวมพลังรับมือกับฆาตกรที่แข็งแกร่งผิดมนุษย์มนาเหมือนกัน โดยตัวนำคือหญิงที่เคยรอดชีวิตมาแล้วเหมือนๆกัน (Linda Hamilton/Jamie Lee Curtis)
LIAM: AS IT WAS (2019, Gavin Fitzgerald, Charlie Lightening, UK, documentary, A+10)
เหมือนดูโฆษณาความยาว 85 นาที 555
อยากให้มีการเปิด fan fiction เพื่อให้ผู้ชมแต่ละคนแต่ง "ครึ่งหลัง" ของ "ดิว ไปด้วยกันนะ" ขึ้นมาใหม่ตามใจชอบ เราว่าน่าจะสนุกดี และในส่วนของตัวเรานั้น (มีสปอยล์)
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
ถ้าเป็นในเวอร์ชั่นของเรา ในฉากที่ครูรัชนีโอบกอดเวียร์อยู่นั้น หนังจะ flashback ไปยังอดีตเพื่อเฉลยว่า ที่แท้ครูรัชนีคือคนที่ขับรถชนดิวตาย (ชนแล้วหนี ไม่มีใครจับได้) ด้วยความตั้งใจของเธอเอง เพราะเธอแอบเงี่ยนภพมานานแล้ว และเธอมองว่าดิวเป็นมารหัวใจของเธอ เธอนี่แหละคือฆาตกรที่ฆ่าดิวในอดีต แล้วหนังก็ตัดกลับมาเป็นภาพเธอพูดกับเงาตัวเองในกระจกทุกวันว่า "เราต้องไม่ให้ความเจ็บปวดจากอดีตมาเป็นอุปสรรคฉุดรั้งเรานะ มีเด็กหนุ่มในโรงเรียนให้เราเลือกมากมาย เราต้อง move on ต่อไป"
1.พอดูหนังเรื่องนี้แล้วทำให้รู้สึกชอบ I AM MOTHER (2019, Grant Sputore, Australia) มากขึ้นกว่าเดิมอีกหลายเท่า 555 เพราะเหมือนหนังสองเรื่องนี้ใช้ setting คล้ายกัน เป็นโลกอนาคตที่หุ่นยนต์พยายามฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์เหมือนกัน แต่ I AM MOTHER ใช้ "ทุนสมอง" เป็นหลัก ส่วน TERMINATOR ใช้เงินทุนเป็นหลัก 555
2.แต่ก็ enjoy กับ DARK FATE มากๆเลยนะ เพราะมันเป็นเรื่องของ ผู้หญิงสามคนที่รวมพลังกันต่อสู้กับวายร้ายน่ะ และพอมันใช้ตัวละครหลักเป็นผู้หญิงสามคน เราก็เลยอินกับหนังมากๆ ซึ่งถ้าหากมันเปลี่ยนมาเป็นหนังบู๊แบบผู้ชายๆ เราก็คงไม่อินมากเท่านี้
คือดูแล้วนึกถึงความสนุกตอนดูละครทีวี SUKEBAN DEKA ปีสองน่ะ ที่เป็นเรื่องของสามนักเรียนสาวต่อสู้กับเหล่าร้าย คือพล็อตของมันไม่มีความสร้างสรรค์อะไรเลย เป็นเรื่องของสามสาวที่ใช้ลูกดิ่ง, ลูกแก้ว และว่าวเป็นอาวุธ และในแต่ละตอนพวกเธอก็จะสู้กับผู้ร้ายที่ใช้อาวุธต่างๆกันไป บางตอนผู้ร้ายก็ใช้บูมเมอแรง, ลูกข่าง, ริบบิ้น, ร่ม, เกี๊ยะ, ฉมวก, กระดานโต้คลื่น, ดอกกุหลาบ ฯลฯ เป็นอาวุธ แต่เราก็ยกให้ละครทีวีเรื่องนี้เป็น MY MOST FAVORITE TV SERIES OF ALL TIME
ซึ่งก็เหมือนกับ DARK FATE ในแง่นึง คือพล็อตเหมือนไม่มีอะไรน่าสนใจเลย แต่ดูแล้วก็ enjoy มากๆ
3.หนังอีกเรื่องที่ดูแล้วนึกถึงมากๆ คือ HALLOWEEN (2018, David Gordon Green) ที่เป็นเรื่องของหญิงสามคน (ยาย-แม่-สาววัยรุ่น) รวมพลังรับมือกับฆาตกรที่แข็งแกร่งผิดมนุษย์มนาเหมือนกัน โดยตัวนำคือหญิงที่เคยรอดชีวิตมาแล้วเหมือนๆกัน (Linda Hamilton/Jamie Lee Curtis)
LIAM: AS IT WAS (2019, Gavin Fitzgerald, Charlie Lightening, UK, documentary, A+10)
เหมือนดูโฆษณาความยาว 85 นาที 555
อยากให้มีการเปิด fan fiction เพื่อให้ผู้ชมแต่ละคนแต่ง "ครึ่งหลัง" ของ "ดิว ไปด้วยกันนะ" ขึ้นมาใหม่ตามใจชอบ เราว่าน่าจะสนุกดี และในส่วนของตัวเรานั้น (มีสปอยล์)
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
ถ้าเป็นในเวอร์ชั่นของเรา ในฉากที่ครูรัชนีโอบกอดเวียร์อยู่นั้น หนังจะ flashback ไปยังอดีตเพื่อเฉลยว่า ที่แท้ครูรัชนีคือคนที่ขับรถชนดิวตาย (ชนแล้วหนี ไม่มีใครจับได้) ด้วยความตั้งใจของเธอเอง เพราะเธอแอบเงี่ยนภพมานานแล้ว และเธอมองว่าดิวเป็นมารหัวใจของเธอ เธอนี่แหละคือฆาตกรที่ฆ่าดิวในอดีต แล้วหนังก็ตัดกลับมาเป็นภาพเธอพูดกับเงาตัวเองในกระจกทุกวันว่า "เราต้องไม่ให้ความเจ็บปวดจากอดีตมาเป็นอุปสรรคฉุดรั้งเรานะ มีเด็กหนุ่มในโรงเรียนให้เราเลือกมากมาย เราต้อง move on ต่อไป"
Thursday, November 07, 2019
DEW (2019, Chookiat Sakveerakul, A+30)
DEW (2019, Chookiat Sakveerakul, A+30)
ดิว ไปด้วยกันนะ
ไม่เน้นเขียนถึงหนัง แต่เราอยากจะแค่จดบันทึกว่า
หนังเรื่องนี้ทำให้เรานึกถึงเรื่องอะไรในชีวิตตัวเองบ้าง
SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
1. ถ้าจำไม่ผิด
เราน่าจะเคยคิดฆ่าตัวตายครั้งแรกตอนอยู่ป.6
ตอนนั้นคิดว่าจะใช้ผ้าห่มรัดคอตัวเองตาย พอมานึกย้อนกลับไปในตอนนี้แล้วก็รู้สึกขำมาก
ไม่รู้ตอนนั้นคิดขึ้นมาได้ยังไง 55555 เหมือนตอนนั้นเราเคยทดลองเอาผ้าห่มรัดคอตัวเองแน่นๆอยู่สักครั้งสองครั้งด้วยมั้ง
กะว่าวันไหนเราอยากตายจริงๆ เราค่อยลองรัดแน่นๆแล้วไม่ปล่อยดู
แต่ตอนหลังเหมือนได้อ่านหนังสือที่บอกว่า
เราไม่มีทางฆ่าตัวตายด้วยวิธีนี้ได้สำเร็จหรอก เพราะขณะที่เรารัดคอตัวเองแน่นๆ
เราจะหมดสติก่อน แล้วมือเราก็จะปล่อยออกจากผ้าห่ม แล้วผ้าห่มมันก็จะคลายตัวออกจากคอเราเอง
แล้วเราซึ่งหมดสติอยู่ก็จะกลับมาหายใจต่อไปเองโดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นพอมานึกย้อนกลับไปแล้วก็ขำตัวเองในตอนนั้นมากๆ
จำไม่ได้อย่างแน่ชัดแล้วว่าตอนนั้นทำไมถึงอยากฆ่าตัวตายด้วยวิธีการโง่ๆตั้งแต่อยู่ป.6
เหมือนมันเป็นบาดแผลของชีวิตที่เราพยายามจะลืมๆมัน แล้วเราก็เลยเลือกที่จะจำเฉพาะแง่มุมฮาๆของเหตุการณ์ที่เจ็บปวดมากๆแทน
พอขึ้นชั้นมัธยมต้น-มัธยมปลาย ก็เหมือนเจอมรสุมชีวิตอยู่หลายครั้ง คิดที่จะฆ่าตัวตายอยู่หลายครั้ง
จำได้แต่ว่า ตอนนั้นกะว่าถ้าวันไหนเราทนมรสุมชีวิตไม่ไหวอีกต่อไป เราจะแอบลุกขึ้นกลางดึก
ตอนราวๆเที่ยงคืน แล้วเชือดข้อมือตัวเองตาย
ตอนนั้นเราว่ายน้ำไม่เป็นด้วย บางครั้งเราก็กะว่า
เราจะเดินลงแม่น้ำเจ้าพระยาไปเลย แต่เราก็ไม่เคยเดินเท้าไปจนถึงแม่น้ำเจ้าพระยา เราอาจจะเดินไปถึงแค่ปากซอย
หรือกลางซอย เดินวนเวียนอยู่ในซอย แล้วก็กลับบ้าน หลอกตัวเองว่า
ลองมีชีวิตอยู่ต่อไปอีกสักหนึ่งวันดีกว่า เผื่อวันพรุ่งนี้เราอาจจะเจอ “สามีในฝัน”
ก็ได้ แต่ถ้าวันพรุ่งนี้เราไม่เจอสามีในฝัน เราค่อยฆ่าตัวตายวันพรุ่งนี้ก็ได้
ยังไงวันนี้ขอเลื่อนการฆ่าตัวตายออกไปก่อนแล้วกัน
พรุ่งนี้ก็ยังไม่สายเกินไปที่จะฆ่าตัวตาย หลอกตัวเองแบบนี้มาเรื่อยๆ
จนในที่สุดก็เรียนจบมัธยมปลายมาได้
พอเราดู “ดิว ไปด้วยกันนะ”
เราก็เลยอินกับช่วงครึ่งแรกของหนังอย่างสุดๆ โดยเฉพาะการที่ “ภพ”
ตัดสินใจหนีออกจากบ้าน ตัดสินใจที่จะไปตายเอาดาบหน้า คือหนีไปแล้วจะรอดชีวิตหรือไม่
กูไม่รู้ แต่กูขอหนีไปก่อน มันเหมือนกับว่า หนังเรื่องนี้ทำได้ทั้ง “ตอบสนองความต้องการทางเพศ”
ของเรา และ “เข้าใจความเจ็บปวด” ของเราน่ะ ในขณะที่ “รักแห่งสยาม” ทำได้แค่ “ตอบสนองความต้องการทางเพศ”
ของเรา แต่เหมือน “รักแห่งสยาม” มันยังไม่เข้าใจความเจ็บปวดของเรา เพราะตัวละครใน “รักแห่งสยาม”
มันไม่ได้ตัดสินใจหนีออกจากบ้านหรือฆ่าตัวตาย ซึ่งก็ไม่ใช่ความผิดของหนัง “รักแห่งสยาม”
นะ มันเป็นเรื่องที่ว่า ประสบการณ์ชีวิตของผู้ชมแต่ละคนมันแตกต่างกัน
เพราะฉะนั้นหนังแต่ละเรื่องมันก็จะ touch ผู้ชมที่แตกต่างกันไปโดยปริยาย
เราก็เลยชอบหนังเรื่อง DEW อย่างสุดๆ
โดยเฉพาะช่วงครึ่งแรกของหนัง มันเป็นหนึ่งในหนังไทยไม่กี่เรื่องที่เข้าใจความเจ็บปวดของเรา
พอเราดู DEW แล้ว
เราก็เลยจัดให้มันอยู่ในกลุ่มเดียวกับหนังอย่าง MOUCHETTE (1967, Robert
Bresson), BU SU (1987, Jun Ichikawa) และ LOVELY RITA
(2001, Jessica Hausner, Austria) เพราะหนังในกลุ่มนี้มีบางอย่างที่ทำให้เรานึกถึงตัวเองสมัยมัธยม
และเหมือนหนังกลุ่มนี้มันจะเข้าใจความเจ็บปวดของเรา แต่ก็ประหลาดดีที่หนังทั้ง 3
เรื่องนี้มันเล่าเรื่องของ “วัยรุ่นหญิง” ไม่ใช่เกย์
ส่วนหนังเกย์ที่เราดูแล้ว “อิน” ที่สุด เรื่องนึง น่าจะเป็น TORCH SONG TRILOGY (1988, Paul
Bogart) มั้ง แต่หนังเรื่องนี้มันก็ไม่ได้พูดถึงเกย์ในช่วงวัยรุ่น
เพียงแต่ว่า “ความเจ็บปวดในใจ” ของตัวละครใน TORCH SONG TRILOGY มันเป็นสิ่งที่เรา relate ด้วยได้อย่างรุนแรงมากๆ
2.ส่วนช่วงครึ่งหลังของ DEW นั้น เราก็รับได้นะ
คือเราไม่ได้อินเท่ากับช่วงครึ่งแรก แต่ก็มองมันในฐานะหนังแฟนตาซีอะไรไป 555 เพราะเราเองก็ชอบมีแฟนตาซีอะไรแบบนี้ด้วย
เหมือนอย่างที่เราเคยเล่าไปแล้วว่า พ่อของเราตายไปตั้งแต่เราอายุ 3 ขวบ ในช่วงปลายปี
1976 เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่เกิดตั้งแต่ปี 1977 เป็นต้นไป
อาจจะเป็นพ่อของเรากลับชาติมาเกิดก็ได้ และเราก็ชอบจินตนาการเล่นๆว่า
ในบรรดาเพื่อนๆของเราใน FACEBOOK นี้ อาจจะมีใครสักคนที่เป็นพ่อของเรากลับชาติมาเกิดก็ได้นะ
แบบว่าเราคุยกับเพื่อนใน FACEBOOK อยู่
แต่หารู้ไม่ว่าเราคุยกับพ่อของตัวเองอยู่ อะไรทำนองนี้ 555
3. อีกสิ่งหนึ่งที่ชอบมากใน DEW คือการที่มัน treat ตัวประกอบดีน่ะ เราชอบที่หนังแสดงให้เห็นความเจ็บปวดของแม่ดิวและของอร และที่สำคัญมากสำหรับเราก็คือว่า
หนังมันเหมือนจะแสดงให้เห็นความเจ็บปวดของ “เด็กแข่งตอบคำถามวิทยาศาสตร์”
ที่อาจจะแพ้เพราะหลิวเป็นต้นเหตุด้วย 55555
คือเราชอบที่หนังแสดงให้เห็นว่า เด็กๆกลุ่มนั้นร้องห่มร้องไห้น่ะ
ซึ่งหนังก็ไม่ได้บอกว่า เด็กๆกลุ่มนี้แพ้การแข่งขันเพราะอะไร อาจจะเพราะเด็กๆกลุ่มนี้ไม่เก่ง
หรืออาจจะเป็นเพราะว่าภพ “ลำเอียง” เอา “หลิว” เข้ามาร่วมทีมแข่งขันด้วย
ทั้งๆที่หลิวไม่มีคุณสมบัติเหมาะสมพอก็เป็นได้
คือภพคงอยากให้หลิวระลึกชาติได้ด้วยการเดินทางไปเชียงใหม่น่ะ
แต่หนังก็ไม่ได้แสดงให้เห็นว่า หลิวเก่งจริงพอที่จะร่วมทีมแข่งขันหรือเปล่า
เพราะฉะนั้นหนังก็เลยทำให้เรารู้สึกเหมือนกับว่า ความลำเอียงของภพ
หรือความรักที่ภพมีต่อหลิว/ดิว มันคือสิ่งที่สร้างความเจ็บปวดให้แก่ “เด็กๆในทีมเดียวกับหลิว”
ด้วย นอกจากสิ่งนี้จะสร้างความเจ็บปวดให้แก่อรและท้อปแล้ว 555
เราว่าจริงๆแล้ว ตัวละครอย่าง “อร” นี่ spin off ไปเป็น “นางเอก”
ใน side story ของตัวเองได้เลยนะ คือถ้ามองจากอีกมุมนึง
เธอเป็น “นางเอก” ในเรื่องเล่าของตัวเองได้เลยนะ
และเราก็ชอบมากที่ว่า
ต่อให้หนังมันจะแสดงให้เห็นว่าตัวละครบางตัวมันเจ็บปวด แต่มันก็ไม่ได้หมายความว่า
เราจะต้อง “ทำลายหัวใจของตัวเอง” เพื่อไปเอาใจมึงน่ะ คือ your heart มันอาจจะแตกสลาย
แต่ what about my heart ล่ะ
แล้วถ้าเราอยู่โดยทรยศต่อหัวใจของตัวเอง เราจะมีชีวิตอยู่ได้นานจริงๆหรือ
เราจะไม่ฆ่าตัวตายในวันนี้วันพรุ่งนี้หรอกหรือ เราก็เลยชอบความเห็นแก่ตัวของตัวละครในเรื่อง
คือจริงๆแล้วเราก็ชอบหนังทั้งสองแบบแหละ หนังอย่าง THE BRIDGES OF MADISON
COUNTY (1995, Clint Eastwood) ที่ตัวละคร “เลือกที่จะไม่ทำตามหัวใจของตัวเอง”
เราก็ชอบอย่างสุดๆ แต่หนังอย่าง DEW, WEATHERING WITH YOU และ
AE FOND KISS (2004, Ken Loach) ที่ตัวละครเลือกที่จะทำตามหัวใจของตัวเอง
เราก็ชอบอย่างสุดๆ คือถึงแม้ว่าเราอาจจะไม่เห็นด้วยกับการกระทำของตัวละครในหนังบางเรื่อง
แต่เราก็ชอบที่หนังมันสะท้อนความจริงที่ว่า มนุษย์มันก็เห็นแก่ตัวแบบนี้แหละ หรือ “ความรักมันก็มีด้านลบ”
แบบนี้แหละ
4.ส่วนฉากครูรัชนีที่หลายคนชอบกันนั้น ตอนที่เราดู เรากลับไม่ได้มุ่งความสนใจไปยังคำพูดซึ้งๆของตัวละครตัวนี้เลย
5555 เพราะตอนนั้นเรากลับจินตนาการว่า ถ้าตัวเองเป็นคุณวราพรรณ
เราคงกระหยิ่มยิ้มย่องอยู่ในใจว่า กูจะได้กอดเวียร์ในฉากนี้แล้ว 555
5.สรุปว่า ชอบครึ่งแรกของ DEW อย่างรุนแรงที่สุด
เพราะมันทำให้นึกถึงชีวิตตัวเองในทางอ้อม ส่วนช่วงครึ่งหลังเราก็รับได้
ถึงแม้ว่ามันจะไม่ “ซาบซึ้งตรึงใจ” เราอย่างรุนแรงแบบหนังอย่าง DEJA VU
(1997, Henry Jaglom) ก็ตาม
Subscribe to:
Posts (Atom)