Thursday, November 14, 2019

OPENING CLOSING FORGETTING

OPENING CLOSING FORGETTING (2018, James T. Hong, Taiwan/China/Japan, documentary, A+30)

1.ขอบคุณที่มีคนบันทึกเรื่องราวเหล่านี้เอาไว้ เพราะมันเหมือนเป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ที่ญี่ปุ่นพยายามจะลบมันไป

2.ความเจ็บปวดของเหยื่อในหนังมันรุนแรงมากๆ ไม่สามารถบรรยายได้

3.สิ่งหนึ่งที่เราว่าน่าสนใจดีคือคำให้สัมภาษณ์ของอดีตทหารญี่ปุ่น ที่เราไม่มีทางรู้ได้ว่า แต่ละคนพูดจริงมากน้อยแค่ไหน

แต่ถ้าหากพวกเขาพูดจริง มันก็น่าสนใจดีที่พวกเขาอ้างว่า ตนเองอยู่ทหารหน่วยอื่นๆ และไม่ได้อยู่ในหน่วยที่ "จับชาวจีนมาทดสอบอาวุธเชื้อโรค" โดยตรง โดยบางคนบอกว่า ตนเองแค่ "ชี้ให้ทหารอีกหน่วยดูแม่น้ำ" แต่ตนเองไม่ได้อยู่ในหน่วยที่ปล่อยเชื้อโรคลงในแม่น้ำ

การอ้างว่าตนเองไม่ได้เกี่ยวข้องโดยตรงอะไรพวกนี้ ทำให้นึกถึงหนังอีกหลายๆเรื่องที่สำรวจประเด็นคล้ายๆกัน นั่นก็คือสำรวจการที่ประชาชนสมัครใจ "ทำตัวเป็นฟันเฟืองของรัฐบาลชาตินิยม" แล้วอ้างว่าตัวเองไม่ได้มีส่วนในการเข่นฆ่าประชาชน

หนังที่พูดถึงประเด็นนี้ได้ดีที่สุด คงเป็น
THE INEXTINGUISHABLE FIRE (1969,  Harun Farocki) ที่แสดงให้เห็นว่า ประชาชนบางคนอาจอ้างได้ว่า ฉันแค่ทำงานในโรงงานที่ "ผลิตอุปกรณ์ทรงกระบอก" และบางคนอาจจะบอกว่า "ฉันแค่ทำงานในโรงงานที่ผลิตก้อนสี่เหลี่ยม" แต่จริงๆแล้วทุกคนอาจจะมือเปื้อนเลือดโดยไม่รู้ตัว เพราะรัฐบาลเอาแต่ละชิ้นส่วนเหล่านั้น ไปประกอบกันเป็นอาวุธเพื่อฆ่าชาวเวียดนาม

หนังอีกสองเรื่องที่ทำให้นึกถึงประเด็นนี้ คือ THE READER (2008, Stephen Daldry) และ THE MOST BEAUTIFUL (1944, Akira Kurosawa) ที่นำเสนอหญิงสาวที่มองว่า ตัวเองแค่ทำงานตามที่รัฐบาลสั่งมา โดยไม่ยอมรับรู้ความจริงที่ว่า มันเป็นสิ่งที่เลวร้ายมากเพียงใด

 EVEN ANTS STRIVE FOR SURVIVAL (2017, Ren Xia, Hong Kong, A+30)

หนังแนว Kafkaesque ที่สะท้อนความขัดแย้งระหว่างจีนกับฮ่องกงได้อย่างน่าสนใจ

LAST YEAR WHEN THE TRAIN PASSED BY (2018, Huang Pang-chuan, Taiwan, documentary, A+30)

กราบตีน หนังงดงามสุดๆ กวีมากๆ ไอเดียก็ดีมากๆ หนังเป็นการตามไปสัมภาษณ์คนในบ้านหลายๆหลังว่า เมื่อ 1 ปีก่อน ตอนที่รถไฟแล่นผ่านในวันนั้นๆ เวลานั้นๆ คุณกำลังทำอะไรอยู่

หนังเหมือนกระตุ้นให้เราคิดถึงอะไรหลายๆอย่าง คิดถึงจุดตัดของเวลากับสถานที่ จุดตัดทางชีวิตของผู้คน และโมงยามธรรมดาๆของชีวิตธรรมดาๆ ที่ดูเหมือนจะไม่สำคัญในตอนแรก แต่พอเวลาผ่านไปนานๆ แล้วเราได้หวนรำลึกถึงมัน มันกลับกลายเป็นหนึ่งในโมงยามที่งดงามที่สุดของชีวิต โดยเฉพาะในกรณีที่ "คนที่เคยร่วม moment นั้นๆกับเรา" ไม่ได้อยู่กับเราแล้ว

เหมือนอย่างเราจะฝังใจกับ "แสงแดดยามบ่ายสามในปี 1989" เพราะตอนนั้นเราอยู่ม.5 และบ่ายสามเป็นช่วงเวลาใกล้เลิกเรียน ช่วงเวลาที่เราจะได้ออกไปกรี๊ดกร๊าดกับเพื่อนๆ ไม่รู้ทำไม พอเวลาผ่านมานาน 30 ปี เมื่อเราได้เห็นแสงแดดอ่อนๆตอนบ่ายสาม เราจะรู้สึกสุขใจและเศร้าใจในเวลาเดียวกันอย่างประหลาด สุขใจที่ได้คิดถึงอดีตอันหอมหวาน และเศร้าใจที่รู้ว่า เวลาบ่ายสามในปี 1989 ไม่มีทางหวนคืนมาอีกแล้ว

พอดูหนังเรื่องนี้เราก็เลยชอบมากๆ เพราะมันทำให้เราคิดถึง "เวลา กับ ชีวิต" ในแบบที่หนังเรื่องอื่นๆไม่เคยกระตุ้นให้เราคิดมาก่อน

FUNERAL VIDEO (2017, Wu Wen-rui, Taiwan, documentary, A+25)

ดูแล้วไม่อินเลย 55555

TAIWAN PROVINCE OF CHINA (2018, Fu Yue, Taiwan, documentary, A+30)

ชอบการใช้คลิปหนังสายลับมาประกอบการเล่าชีวิตตัวเอง

30KM - 60 YEARS (2018, Laha Mebow, Taiwan, documentary, A+30)

ตอนจบของหนังซึ้งมากๆ ร้องห่มร้องไห้

ดูแล้วนึกถึงหนังสารคดีเรื่อง THE MOUNTAIN (2015, Su Hong-en) ด้วย ที่พูดถึงชนพื้นเมืองวัยชราในไต้หวันเหมือนกัน

FIREFLY (2018, Lau Kek-huat, Taiwan/Malaysia, documentary, A+30)

ชอบการร้อยเรียงประวัติศาสตร์ภาพยนตร์มาเลเซียเข้ากับปวศ.ชนกลุ่มน้อย หนังเหมือนมีความเป็นกวีที่งดงามมากๆอยู่ด้วย

BURMA MONK LIFE (2017, Lee Yong Chao, Taiwan, documentary, A+30)

ชอบการจับภาพพระนั่งสมาธิเป็นเวลาเนิ่นนาน


ก่อนที่ ROSE THE HAT (Rebecca Ferguson) กับพรรคพวกใน DOCTOR SLEEP (2019, Mike Flanagan) จะมากินเด็กทั่วสหรัฐในคริสต์ศตวรรษที่ 20 และ 21 นั้น บางทีเธอกับพรรคพวกอาจจะเคย terrorize ฟิลิปปินส์มาแล้วในคริสต์ศตวรรษที่ 19  โดยที่ชาวบ้านในฟิลิปปินส์เรียกพวกเธอว่า  Tikbalang ใน A LULLABY TO THE SORROWFUL MYSTERY (2019, Lav Diaz) 555555

No comments: