Thursday, November 21, 2019

HANZI

HANZI (2017, Mu-Ming Tsai, Taiwan, documentary, A+30)

1.ชอบสุดๆ ได้ดูในเทศกาล MOVIES ON DESIGN ที่ LIDO หนังพูดถึง font ตัวอักษรภาษาจีน แล้วก็แตกประเด็นไปเรื่องอื่นๆมากมาย อย่างเช่นเรื่อง

1.1 พระถังซำจั๋ง !?!?!?!

1.2 ความแตกต่างของตัวอักษรในจีนแผ่นดินใหญ่ กับในไต้หวันและฮ่องกง

1.3 ความลำบากใจของชาวเท็กซัสเวลาต้องออกเสียงคำว่า get ว่า  เก็ท แทนที่จะออกว่า กิท

1.4 ตัวอักษร O ในบาง font จริงๆแล้วมันมีแกนที่เอียง 30 องศาแอบซ่อนอยู่ ซึ่งเราไม่เคยสังเกตมาก่อน

1.5 font ตัวอักษรโรมัน แต่ละ font  ครอบคลุมตัวอักษรราว 600 ตัว แต่ font จีนนี่ครอบคลุมราว 40,000 ตัว

1.6 ความแตกต่างระหว่าง letterpress print, intaglio print, silkscreen print

1.7 ความแตกต่างระหว่างการพูดจีนกับการเขียนจีน

1.8 calligraphy is not meant to be read, but meant to be enjoyed

1.9 ทัวร์สำรวจดู "ป้ายร้านค้า" ต่างๆในไต้หวัน เพื่อสังเกตความงดงามที่แตกต่างกันไปของตัวอักษรภาษาจีนในแต่ละป้าย ซึ่งแน่นอนว่าเป็นทัวร์สำหรับคนที่อ่านภาษาจีนออก

1.10 การจัดกรอบตัวอักษรจีนใหม่ เพื่อที่ว่าเวลามันอยู่ติดกับตัวอักษรโรมัน แล้วมันจะได้ไม่ดูกระดกขึ้นหรือกระดกลงจากตัวอักษรโรมัน

2.หนังมันอาจจะดูสะเปะสะปะ แต่เราว่าความสะเปะสะปะของมันทำให้หนังสนุก ไม่น่าเบื่อ 555
 
คือช่วงนี้เราได้ดูหนังสารคดีบางเรื่องที่นำเสนอ "ประเด็นหลักประเด็นเดียว"น่ะ และหนังพวกนี้ก็ชอบมีฉากที่ผู้ให้สัมภาษณ์ 4-5 คน แสดงความเห็นคล้ายๆกัน ซึ่งเราว่ามันแอบน่าเบื่อ เพราะฉะนั้นการที่ HANZI  ดูสะเปะสะปะ  และครอบคลุมประเด็นต่างๆที่แตกแขนงออกไปเรื่อยๆ ก็เลยกลายเป็นข้อดีของหนังไป

YOUR FACE (2018, Tsai Ming Liang, Taiwan, documentary, A+30)

1.ชอบทั้งส่วนที่เป็นการจ้องหน้าคนเฉยๆ และส่วนที่เป็นการสัมภาษณ์ ชอบเรื่องราวของหญิงที่ได้เจอกับชายหนุ่มคนนึงโดยบังเอิญ แล้วพบว่าอากัปกิริยาบางอย่างของเขา ทำให้เธอนึกถึงคนรักเก่า แล้วในที่สุดเธอก็พบว่า เขาคือลูกชายของคนรักเก่า

2.ส่วนที่เป็นการจ้องหน้าคน ตอนแรกดูแล้วนึกถึง portrait paintings แต่พอดูไปเรื่อยๆ ก็พบว่ามันแตกต่างจาก paintings มากๆ เพราะเวลาที่เราจ้องดู paintings นานๆ เรามักจะจ้องเพื่อพินิจพิจารณาความงามของภาพ ของฝีแปรง ของฝีมือของศิลปิน ดูการใช้แสงเงาหรือดูว่ามันถ่ายทอดหน้าคนได้สมจริงเพียงใด หรือมันซุกซ่อนอารมณ์อะไรอยู่

แต่การดูหน้าคนในหนังเรื่องนี้ เราไม่ได้ดูว่า Tsai เก่งมากๆที่ถ่ายหน้าคนออกมาได้สมจริงแน่ๆ 55555 เพราะฉะนั้นขณะที่เราดูหน้าคนแก่ในหนังเรื่องนี้ เราก็เลยมักจะจินตนาการถึงชีวิตของพวกเขาไปเรื่อยๆแทน ริ้วรอยต่างๆบนใบหน้า มันช่วยกระตุ้นจินตนาการของเราได้เป็นอย่างดี

รู้สึกว่ามันน่าสนใจดี ที่พอ "สื่อ" เปลี่ยนไป เราก็รู้สึกกับใบหน้าคนเปลี่ยนไป เพราะถ้ามันเป็น painting เราก็จะโฟกัสไปที่ฝีมือของศิลปิน แต่พอเป็น photograph เราก็จะโฟกัสไปที่อารมณ์ความรู้สึกใน moment นั้นๆที่ถูกถ่ายภาพ แต่พอเป็น moving image ที่จับจ้องหน้าคนแก่เป็นเวลานานๆ เราก็เลยจินตนาการถึงประวัติชีวิตของแต่ละคนไปเรื่อยๆ

No comments: