RIP EDGARDO COZARINSKY (1939-2024)
เราเคยดูหนังที่เขากำกับแค่เรื่องเดียว
ซึ่งก็คือ JEAN COCTEAU: SELF-PORTRAIT OF A STRANGER (1983) ที่ทาง FILMVIRUS เคยนำมาฉายที่ห้องสมุดธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์
เราชอบหนังสารคดีเรื่องนี้มาก ๆ
อยากให้มีคนจัดงาน retrospective ของ Edgardo Cozarinsky อย่างสุดขีด เพราะเขาเคยกำกับหนังมาแล้ว
27 เรื่อง แต่เราได้ดูแค่เรื่องเดียวเอง และหนังของเขาก็น่าดูสุดขีดด้วย
รูปประกอบมาจาก RED SUNSET (2003,
Edgardo Cozarinsky)
เราชอบจำชื่อเขาสลับกับ Eduardo De
Gregorio ผู้กำกับหนังเรื่อง SHORT MEMORY (1979, A+30) เพราะทั้งสองเป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวอาร์เจนตินาที่ต่างก็ลี้ภัยจากรัฐบาลเผด็จการทหารอาร์เจนตินา
มาอยู่ฝรั่งเศสเหมือน ๆ กัน และทั้งสองมีความเกี่ยวข้องกับ Jacques Rivette
เหมือน ๆ กัน โดย Eduardo De Gregorio นั้นเคยเขียนบทภาพยนตร์ให้
Jacques Rivette 4 เรื่อง ซึ่งได้แก่ CELINE AND
JULIE GO BOATING, NOROIT, DUELLE และ MERRY-GO-ROUND ส่วน Edgardo Cozarinsky นั้นเคยสัมภาษณ์ Jacques
Rivette ในปี 1974 ซึ่งในการสัมภาษณ์ครั้งนั้น Rivette ได้กล่าวประโยคที่เราชอบมาก ที่ว่า
“"I have been going in this direction for three films now, in
L'Amour Fou more than in Celine et Julie, and in Out 1 most of all. I hate to
have the feeling, either during the shooting or the editing, that everything is
fixed and nothing can be changed. I reject the word 'script' entirely -- at any
rate in the usual sense. I prefer the old usage -- usually scenario -- which it
had in the Commedia dell'Arte, meaning an outline or scheme: it implies a
dynamism, a number of ideas and principles from which one can set out to find
the best possible approach to the filming. I now prefer my shooting schedules
to be as short as possible, and the editing to last as long as possible."”
CHINATOWN (1974, Roman Polanski, A+30)
SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
เราเพิ่งได้ดูหนังเรื่องนี้ครั้งแรกเมื่อวานนี้
ซึ่งพอดูแล้วก็รู้สึกว่า หนังเรื่องนี้แหละที่คู่ควรปะทะกับ THE BIRTH OF
KITARO: MYSTERY OF GEGEGE (2023, Go Koga, Japan, animation, A+30) 55555555 เพราะว่า
1. “บอสตัวร้าย” ของหนังสองเรื่องนี้ มีจุดที่คล้ายคลึงกัน
ซึ่งคนที่ได้ดูหนังทั้งสองเรื่องนี้ ก็คงรู้ดีว่าตัวร้ายใหญ่สุดของหนังสองเรื่องนี้
มีอะไรที่คล้ายคลึงกันบ้าง
2.เรารู้สึกว่า หนังทั้งสองเรื่องนี้เหมือนเป็นการผสม
genre หนังใหญ่ ๆ สอง genre เข้าด้วยกันได้อย่างลงตัวที่สุด
โดยในกรณีของ THE BIRTH OF KITARO: MYSTERY OF GEGEGE นั้น
หนังเหมือนเป็นการผสม genre “หนังชุดนักสืบคินดะอิจิ” ของ Kon
Ichikawa กับหนัง “supernatural fantasy” ของญี่ปุ่นเข้าด้วยกันได้อย่างลงตัวที่สุด
โดยหนังกลุ่มหลังนี้ก็มีอย่างเช่น SPIRITED AWAY (2001, Hayao Miyazaki), DESTINY:
THE TALE OF KAMAKURA (2017, Takashi Yamazaki), etc.
ส่วน CHINATOWN นั้น
เรารู้สึกว่า มันเหมือนเป็นการผสมกันระหว่าง genre หนัง film
noir แบบ THE MALTESE FALCON (1941, John Huston) ที่สร้างจากบทประพันธ์ของ Dashiell Hammett, THE BIG SLEEP (1946,
Howard Hawks) ที่สร้างจากบทประพันธ์ของ Raymond Chandler, etc.
กับหนังกลุ่ม PARANOIA หรือ “political
paranoia” ในทศวรรษ 1960-1970 เข้าด้วยกัน
ซึ่งหนังกลุ่มหลังนี้เราเดาว่าน่าจะมีต้นกำเนิดมาจากการลอบสังหาร JFK หนังในกลุ่มหลังนี้ก็น่าจะรวมถึงหนังอย่าง
BLOW-UP (1966, Michelangelo Antonioni), THREE DAYS OF THE CONDOR (1975,
Sydney Pollack, นำแสดงโดย Faye Dunaway), ALL THE PRESIDENT’S
MEN (1976, Alan J. Pakula), THE CHINA SYNDROME (1979, James Bridges), I…FOR ICARUS
(1979, Henri Verneuil, France) ซึ่งเราว่าหนังกลุ่มหลังนี้พัฒนาไปถึงจุดสุดยอดในละครทีวีฮ่องกงเรื่อง
“การเคลื่อนไหวของเจ้าแม่หนี่ฮวา” หรือ “นักข่าวหัวเห็ด” NEWARK FILE
(1981) ที่นำแสดงโดยหวีอันอัน
ตอนดู CHINATOWN เรานึกถึงหนังเรื่อง
NIGHT MOVES (1975, Arthur Penn) อย่างรุนแรงด้วย พอลองกูเกิลดู
ก็พบว่ามีคนเขียนเปรียบเทียบหนังสองเรื่องนี้ไว้แล้วได้อย่างดีงาม
และพอมาได้ดู CHINATOWN ในตอนนี้
เราก็เลยสงสัยว่า ละครทีวีเรื่อง “การเคลื่อนไหวของเจ้าแม่หนี่ฮวา” นี่ จริง ๆ แล้วก็ได้รับอิทธิพลมาจาก
CHINATOWN ส่วนหนึ่งด้วยหรือเปล่า
เพราะมันมีบางจุดที่ทำให้นึกถึงละครทีวีฮ่องกงเรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน
No comments:
Post a Comment