ชอบที่คุณ Sarunyoo Threesukon เขียนเกี่ยวกับ sound design ของ LONGLEGS บนวอลล์ของอาจารย์ Prawit TaengAksorn มาก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ
โดยเฉพาะเรื่องความเชื่อเกี่ยวกับการใช้เสียงแบบ “ย้อนหลัง” เราก็เลยนึกถึง “การสวดอิติปิโส”
แบบย้อนหลัง เพียงแต่ว่าการสวดอิติปิโสย้อนหลังไม่ใช่การปลุกภูตผีปีศาจ แต่เป็นการปราบภูตผีปีศาจ
https://www.thairath.co.th/horoscope/belief/2715667
รายงานผลประกอบการประจำวันอาทิตย์ที่ 4
aug 2024
1.A FEW MOMENTS OF CHEERS (2024, Popreq, Japan, animation,
A+30)
ดูที่ MBK รอบ 1100
รู้สึกว่า หนังญี่ปุ่นนี่เต็มไปด้วย subgenres
ที่น่าสนใจมากมาย อย่างเช่น "หนังทำอาหาร", "หนังเกี่ยวกับแมว" และอีก subgenre หนึ่งที่น่าสนใจ
ก็คือ "หนัง animation เกี่ยวกับดนตรี" ซึ่งหนังในกลุ่มนี้ที่เราเคยดู
ก็มีเช่น
1.1 IDOLISH 7 MOVIE: LIVE 4 BIT -- BEYOND THE PERIOD (2023,
Hiroshi Nishikiori, A+) ที่เกี่ยวกับวงบอยแบนด์
1.2 SOUND! EUPHONIUM: ENSEMBLE CONTEST (2023, Tatsuya
Ishihara, A+30) ที่เกี่ยวกับวงดนตรีในโรงเรียนไฮสกูล
1.3 BLUE GIANT (2023, Yuzuru Tashikawa, A+30) ที่เกี่ยวกับวงดนตรี
jazz
1.4 POLE PRINCESS THE MOVIE (2023,
Hitomi Ezoe, Japan, animation, A+30) ที่เกี่ยวกับการเต้นแบบ pole
dancing
1.5 YA BOY KONGMING! ROAD TO SUMMER
SONIA (2024, Shu Honma, A+30) ที่เกี่ยวกับวิธีการปั้นศิลปินให้โด่งดัง โดยเน้นไปที่ผู้จัดการวง
1.6 GIVEN HIIRAGI MIX (2024, Noriko Hashimoto, Japan,
animation, queer film, A+30) ที่เกี่ยวกับวงดนตรีหนุ่มหล่อ ซี่งสิ่งที่เราชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ก็คือ
gay sex
1.7 A FEW MOMENTS OF CHEERS ที่เกี่ยวกับการทำ music
video
ก็เลยรู้สึกว่า subgenre ของหนังญี่ปุ่นกลุ่มนี้มันน่าสนใจสุด
ๆ เพราะเหมือนแต่ละเรื่องก็อาจจะเจาะประเด็นที่แตกต่างกันไปเกี่ยวกับ “ดนตรี”
หรือมีจุดขายที่แตกต่างกันไป ยกเว้นหนังแนว boybands/girlbands ที่อาจจะพัฒนามาจาก video games ที่อาจจะดูซ้ำซากหน่อย
ๆ (แต่เราก็ไม่ได้ดูหนังกลุ่มนี้เยอะนะ)
และเราก็เลยสงสัยว่า หนังเหล่านี้ส่วนใหญ่มันใช้เพลงที่สร้างขึ้นมาเพื่อหนังเรื่องนั้น
ๆ โดยเฉพาะใช่ไหม ไม่ใช่การเอาเพลงที่มีอยู่แล้วมาใส่ในหนัง ซึ่งนั่นก็หมายความว่า
อุตสาหกรรมดนตรีญี่ปุ่นนี่มันคงต้องใหญ่มาก เพราะเหมือนมันต้องมีการสร้างเพลงใหม่
ๆ ขึ้นมาเพื่อใช้รองรับ fictional artists, fictional boybands, fictional
girlbands ในหนังจำนวนมากด้วย ถ้าใครมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ก็มา
comment ได้นะคะ
2. DETECTIVE CONAN: THE LOST SHIP IN THE SKY (CONAN 14)
(2010, Yasuichiro Yamamoto, Japan, animation, A+30)
ดูที่ MBK รอบ 1250
แอบตกใจกับความโหดเหี้ยมของผู้ร้ายในหนังเรื่องนี้
ที่พยายามฆ่าเด็กตัวเล็ก ๆ ด้วยการโยนลงจากเรือเหาะ
3. DETECTIVE CONAN: THE PRIVATE EYES' REQUIEM (CONAN
10) (2006, Yasuichiro Yamamoto, Japan, animation, A+30)
ดูที่ MBK รอบ 1515
รู้สึกว่า “การแสดงความรัก”
ของตัวละครบางตัวในหนังเรื่องนี้นี่มัน “วิปริต” มาก ๆ
4. DETECTIVE CONAN: THE LAST WIZARD OF THE CENTURY (CONAN 3)
(1999, Kenji Kodama, Japan, animation, A+30)
ดูที่ MBK รอบ 1750
ชอบเรื่องนี้ที่สุดในบรรดา CONAN 3 ภาคที่ได้ดูในวันนี้ เพราะมันมีความ INDIANA JONES และหนังเรื่องนี้พูดถึงการฆ่าล้างโคตรพระเจ้าซาร์ของรัสเซีย
สรุปว่าวันศุกร์ได้ดูหนังโรงไปแค่ 4 เรื่อง,
วันเสาร์ได้ดูหนังโรงไปแค่ 5 เรื่อง และวันอาทิตย์ได้ดูหนังโรงไปแค่ 4 เรื่องเท่านั้นค่ะ
No comments:
Post a Comment