ตอบคุณ TARENCE
อยากจะช่วยคุณ TARENCE เหมือนกัน แต่ดิฉันยังไม่ได้ดูเรื่อง THE SAINT เลยค่ะ แหะๆๆ
สิ่งที่ได้ดู
1.นิทรรศการภาพถ่าย MESSAGE FROM MY HEAD ของ ธนานนท์ ธนากรกานต์ (A+)
http://www.2how.com/board/topic.php?id=20737
จัดที่ NUMBER 1 GALLERY ใน SILOM GALLERIA ตรงข้ามเซ็นทรัล สีลม
http://www.number1gallery.com/
ดูตัวอย่างภาพถ่ายหลอนๆของเขาได้ที่
http://www.number1gallery.com/new-art-gallery/thananon/index.html
http://www.number1gallery.com/new-art-gallery/thananon/images/p9.jpg
http://www.number1gallery.com/new-art-gallery/thananon/images/p4.jpg
http://www.number1gallery.com/new-art-gallery/thananon/images/p5.jpg
อยากรู้จังเลยว่าถ้าหากคุณธนานนท์กำกับภาพยนตร์ หนังจะออกมาเป็นอย่างไร ดูจากภาพถ่ายแล้ว ทำให้จินตนาการว่า
1.1 หนังอาจจะออกมามีสไตล์หลุดโลก แต่อาจจะไม่ทรงพลังสุดขีด แบบหนังเรื่อง THE CELL (2000, TARSEM SINGH, A-)
1.2 ภาพถ่ายบางภาพของเขาทำให้นึกถึงหนังหลายๆแนวที่ “ภูมิประเทศ” มีความสำคัญมากๆ อย่างเช่น WOLF CREEK (2005, GREG MCLEAN, A+) และ WALKABOUT (1971, NICOLAS ROEG, A)
1.3 แต่มีความเป็นไปได้ว่า หนังของเขาอาจจะเปี่ยมด้วยความหลุดโลกและทรงพลังสุดๆแบบหนังของ DAVID LYNCH
พูดถึงห้างเซ็นทรัลสีลมแล้วก็เลยนึกถึงเรื่องสั้น “สวนสนุกบนห้างเซ็นทรัลสีลม” ของคุณทศพล บุญสินสุข อ่านเรื่องสั้นเรื่องนี้ได้ที่
http://yrna.wordpress.com/
2.BRIDGE TO TERABITHIA (2007, GABOR CSUPO, A+)
หลังจากดิฉันผิดหวังเล็กน้อยกับหนังสำหรับเด็กอย่าง THE CHRONICLES OF NARNIA: THE LION, THE WITCH, AND THE WARDROBE (2005, ANDREW ADAMSON, B+) และ ERAGON (2006, STEFEN FENGMEIER, B) หนังเรื่อง BRIDGE TO TERABITHIA ก็ทำให้ดิฉันรู้สึกซาบซึ้งตื้นตันใจไปกับมันมากๆ และแน่นอนว่าดิฉันชอบหนังเรื่องนี้มากกว่าหนังชุด HARRY POTTER และ THE LORD OF THE RINGS
ในแง่นึง BRIDGE TO TERABITHIA ทำให้ดิฉันนึกถึง DARK WATER (WALTER SALLES, A+) เพราะในขณะที่ DARK WATER ไม่เน้น “เขย่าขวัญผู้ชม” แบบหนังผีทั่วๆไป แต่กลับมุ่งความสนใจไปที่ปัญหาชีวิตของนางเอก หนังเรื่อง BRIDGE TO TERABITHIA ก็ไม่เน้นสร้างฉากแฟนตาซีหรือเน้นการใช้สเปเชียลเอฟเฟคท์อย่างรุนแรงแบบหนังสำหรับเด็กหลายๆเรื่องในระยะนี้ แต่กลับมุ่งความสนใจไปที่ปัญหาชีวิตของพระเอก และขับเน้นความเป็นมนุษย์ของตัวละครหลายๆตัว แทน
ดิฉันชอบ BRIDGE OF TERABITHIA เพราะดิฉันรู้สึกอินกับมันมากกว่าหนังแฟนตาซีสำหรับเด็กหลายๆเรื่องค่ะ แต่ถ้าหากนำ BRIDGE OF TERABITHIA ไปเทียบกับหนัง “เด็กมีปัญหา” อีกหลายๆเรื่องแล้ว BRIDGE OF TERABITHIA ก็จะกลายเป็นหนังที่ดู “สูตรสำเร็จ” มากเกินไปได้เหมือนกัน โดยเฉพาะวิธีการคลี่คลายของอะไรหลายๆอย่างในเรื่องนี้ ที่ดูสูตรสำเร็จมากๆ แต่ก็รู้สึกว่าตัวละครพระเอก (JOSH HUTCHERSON เกิดปี 1992) เล่นได้กินใจดีจนทำให้ตัวละครของเขาดูเป็นมนุษย์ที่มีเลือดมีเนื้อมากๆ จนทำให้พอจะมองข้าม “ความลงตัวแบบยัดเยียด” ในบางช่วงของหนังไปได้
ดู BRIDGE OF TERABITHIA แล้วก็ทำให้นึกถึง “หนังเกี่ยวกับเด็ก” ที่ชอบมากๆ อย่างเช่นเรื่อง
2.1 BEFORE THE STORM (2000, REZA PARSA, A+)
http://www.imdb.com/title/tt0251091/
REZA PARSA เป็นผู้กำกับขวัญใจคนนึงของ INGMAR BERGMAN ส่วน BEFORE THE STORM นี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กชายคนนึงที่ถูกเด็กชายอันธพาลกลั่นแกล้งเป็นประจำในโรงเรียน จนในที่สุดเด็กชายพระเอกก็ทนไม่ไหวและลุกขึ้นมาฆาตกรรมเด็กชายชั่วๆซะ
2.2 RAIN (2001, CHRISTINE JEFFS, A+)
สาเหตุที่ BRIDE OF TERABITHIA ทำให้นึกถึง RAIN ก็เพราะว่าหนังสองเรื่องนี้ดูเหมือนจะเป็นหนังแนว COMING OF AGE เหมือนกัน โดยที่ตัวละครพระเอกของ BRIDE OF TERABITHIA กับตัวละครนางเอกของ RAIN ต่างก็เอาแต่หมกมุ่นกับปัญหาของตัวเองจนทำให้หมางเมินกับ “น้องสาว” หรือ “น้องชาย” ของตัวเองไป
2.3 TOUGH ENOUGH (2005, DETLEV BUCK, A)
หนังเยอรมันเรื่องนี้ก็เล่าเรื่องของเด็กชายผู้เรียบร้อยที่ถูกเด็กชายอันธพาลกลั่นแกล้งเหมือนกับ BRIDE OF TERABITHIA และ BEFORE THE STORM แต่เด็กชายผู้เรียบร้อยในเรื่องนี้โดนกลั่นแกล้งรังแกอย่างรุนแรงสาหัสสากรรจ์มาก เด็กชายผู้เรียบร้อยในเรื่องนี้ก็เลยหันไปเป็นลูกสมุนของแก๊งมาเฟียค้ายาเสพติดที่โหดเหี้ยม เพื่อให้แก๊งมาเฟียค้ายาเสพติดนี้ทำหน้าที่คุ้มกะลาหัวของเขา ไม่ให้กลุ่มเด็กชายอันธพาลมากลั่นแกล้งรังแกเขาได้อีก
จะเห็นได้ว่า พอเทียบ BRIDE OF TERABITHIA กับหนังยุโรปบางเรื่องแล้ว ก็ทำให้รู้สึกว่าปัญหาใน BRIDGE OF TERABITHIA มันเบาหวิวอย่างมากๆ แต่ก็นั่นแหละนะ แค่การที่ BRIDGE OF TERABITHIA ทำได้แค่นี้ ดิฉันก็พอใจมากๆแล้วค่ะ
3.NAVINS OF BOLLYWOOD (2007, NAREN MOJIDRA, A+/A)
งานนิทรรศการศิลปะนี้เป็นของ NAVIN RAWANCHAIKUL โดยจัดที่ TANG CONTEMPORARY ART ชั้นใต้ดินของ SILOM GALLERIA
งานนิทรรศการนี้ประกอบด้วยหลายๆส่วน ตั้งแต่
3.1 ภาพยนตร์สั้นเรื่องนึงที่เล่าเรื่องเร็วมากๆ ดิฉันต้องนั่งดูถึงสองรอบกว่าจะพอตามเนื้อเรื่องได้ทัน หนังสั้นเรื่องนี้นำลักษณะของหนังบอลลีวู้ดมาใช้ได้อย่างสนุกดี โดยเฉพาะฉากพระเอกนางเอกวิ่งไล่จับกันผ่านเรือกสวนไร่นาป่าละเมาะ โดยที่ขณะวิ่งๆอยู่ เสื้อผ้าของพระเอกนางเอกก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
3.2 คัทเอาท์โฆษณาหนังสีสันฉูดฉาดสะท้านใจ ดูแล้วนึกถึงคัทเอาท์หนังไทยเมื่อ 30 ปีก่อนอย่างมากๆ
3.3 ภาพถ่ายขาวดำจากหนังพร้อมเรื่องย่อ ภาพถ่ายนี้จัดแสดงอยู่ในกรอบรูปประมาณสิบกว่ากรอบ ถ้าใครดูหนังแล้วตามเนื้อเรื่องไม่ทัน ก็มาอ่านเรื่องย่อเอาจากสิ่งที่เขียนบรรยายข้างภาพถ่ายเหล่านี้ได้
3.4 หนังสือพิมพ์ THE NAVINIST ราคา 10 บาท
3.5 แต่สิ่งที่ชอบที่สุดในงานนี้ ก็คือรูปปั้นของ NAVIN RAWANCHAIKUL ที่เหมือนคนจริงๆมาก
หนังสือพิมพ์ BANGKOK POST ฉบับวันนี้ ลงบทวิจารณ์ NAVINS OF BOLLYWOOD เอาไว้ด้วย
4.STILL SMALL VOICES (2006, MARIO AZZOPARDI, A-/B+)
http://www.imdb.com/title/tt0844025/
หนังฉายทางเคเบิลทีวี ช่อง STAR MOVIES หนังมีเนื้อหาเกี่ยวกับพนง.รับโทรศัพท์เหตุด่วนเหตุร้าย 911 ที่อยู่ดีๆก็ได้รับโทรศัพท์ขอความช่วยเหลือจากเด็กหญิงคนนึงที่ถูกฆาตกรรมเมื่อ 30 ปีก่อน
ตอนแรกที่ตัดสินใจดูหนังเรื่องนี้ เพราะอ่านเรื่องย่อแล้วทำให้นึกถึง CELINE AND JULIE GO BOATING ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสองสาวที่พยายามช่วยเหลือเด็กหญิงคนนึงที่อาจจะถูกฆาตกรรมเมื่อนานมาแล้ว แต่พอได้ดู STILL SMALL VOICES แล้ว ก็พบว่าหนังเรื่องนี้ไม่ได้ใกล้เคียง CELINE AND JULIE GO BOATING แม้แต่กระผีกริ้น อย่างไรก็ดี ถ้าหากคิดซะว่า STILL SMALL VOICES เป็นหนังฉายทางเคเบิลทีวี ก็ทำให้รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ไม่ได้เลวร้ายจนเกินไปนัก
หนังสือที่ได้อ่าน
1.นิตยสาร I AM GUY เล่มใหม่ ซึ่งไม่ค่อยน่าพอใจเท่าใดนัก เพราะนายแบบไม่ค่อยตรงสเปคดิฉัน
2.การ์ตูนเรื่อง CRYSTAL DRAGON เล่ม 18-20
การ์ตูนที่เขียนกันมานาน 20 กว่าปีเรื่องนี้ยังคงให้ความเพลิดเพลินแก่ดิฉันอย่างมากๆ ไม่รู้ว่า ASHIBE YUHO คิดสรรค์แต่ละสิ่งแต่ละอย่างในเรื่องได้อย่างไร สิ่งที่ชอบมากๆในเล่มหลังๆนี้ก็คือพล็อตเรื่องเกี่ยวกับ “ต้นไม้” ที่ออกลูกเป็น “เหตุการณ์” ต่างๆ และพอนางเอก “สอดแทรก” เข้าไปในเหตุการณ์นั้น นางเอกก็ต้องสู้รบปรบมือกับ “คนเฝ้าสวน” ที่หาว่านางเอกทำตัวเป็น “ศัตรูพืช” ที่คอยเจาะชอนไชผลไม้
ตอบน้อง merveillesxx
--อ้าว พี่พึ่งจะรู้นะคะเนี่ยว่าน้องไม่ชำนาญเส้นทางในซอยสาทร 1 พึ่นึกมาโดยตลอดว่าน้องน่าจะชำนาญเส้นทางในซอยนี้เป็นอย่างดี เพราะ BABYLON ก็อยู่ในซอยนี้เหมือนกัน และอยู่ไกลกว่า FLIP CAFE มาก ฮ่าๆๆๆๆ (ล้อเล่นค่ะ)
ดูแผนที่ไป Babylon ได้ที่
http://farm1.static.flickr.com/156/422016315_b40e1e59fd_o.gif
http://www.babylonbangkok.com/map.asp#
--เพลงที่คุณวาสนา วีระชาติพลีเปิดแล้วดิฉันชอบมาก คือเพลง WHEN YOUR HEART IS WEAK ของ COCK ROBIN ค่ะ
http://www.youtube.com/watch?v=Qy8Ysa-RD0U
ตอบคุณ pc
เห็นคุณ pc พูดถึงดนตรีแนว DUBSTEP ซึ่งดิฉันก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามันเป็นยังไง แต่พอดีได้ดูมิวสิควิดีโอของ KODE9 ซึ่งเขาบอกว่าเป็นศิลปินแนว DUBSTEP ดิฉันก็เลยรู้สึกว่าดนตรีแนวนี้อาจจะมีอะไรน่าสนใจอยู่บ้าง
อ่านคำวิจารณ์ดนตรีของ KODE9 ได้ที่นี่ค่ะ รู้สึกว่าศิลปินรายนี้จะได้รับแรงบันดาลใจจากงานประพันธ์ของ WILLIAM S. BURROUGHS (TOWERS OPEN FIRE, NAKED LUNCH) และ JG BALLARD (EMPIRE OF THE SUN, CRASH) ด้วย
http://www.factmagazine.co.uk/da/42229
Unsympathetic observers considered dubstep the place where the ‘nuum had gone to die, an arid, emotionally autistic cul-de-sac littered with the de-vitalized relics of jungle and garage. Kode 9’s genius lay in intensifying, rather than retreating from, dubstep’s claustrophobic austerity. Instead of expanding outwards, Kode9 further contracted dubstep’s limited horizons, paring the sound down to a previously unexplored minimum. ‘Sine of the Dub’’s attenuated sonic palette consisted of only an ominous heart-monitor pulse and a single, reverbed chord tolling like a plague-bell in a zombie city. You could scarcely believe that this picked-clean carcass was once a Prince song.
ส่วนมิวสิควิดีโอที่ดิฉันชอบอย่างสุดขีดคลั่งนี้ เป็นเพลง SAMURAI ของ KODE9 & SPACEAPE ค่ะ มิวสิควิดีโอนี้กำกับโดย MO STOEBE + JASMIN JODRY และมีเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้คลื่นเสียงเป็นอาวุธในการฆ่าคนโดยทำให้ร่างกายแหลกเหลว
ดูมิวสิควิดีโอนี้ได้ที่
http://www.youtube.com/watch?v=WaU-pnassYM
พูดถึงมิวสิควิดีโอเกี่ยวกับการใช้เสียงเป็นอาวุธฆ่าคนแล้ว ก็ทำให้นึกถึงมิวสิควิดีโอ EXPERIMENT IV ของ KATE BUSH ดูมิวสิควิดีโอนี้ได้ที่
http://www.youtube.com/watch?v=9DVvrcFi4M0
KODE9
http://www.thehivecollective.co.uk/hive_festival/2005/images/festival/images/kode9_JPG.jpg
http://k-punk.abstractdynamics.org/archives/webmemory.gif
http://blogs.abc.es/media/kode9_spaceape2-web.jpg
--ข้อสังเกตเกี่ยวกับการแบ่งเชื้อชาติและชนชั้นในอังกฤษและสหรัฐน่าสนใจดีค่ะ และทำให้นึกได้ว่าดิฉันเคยรู้สึกประหลาดใจตอนที่ดูหนังเรื่อง VANITY FAIR (2004, MIRA NAIR, A) เพราะในหนังย้อนยุคเรื่องนี้มีฉากที่ GEORGE OSBORNE (JONATHAN RHYS MYERS) จะถูกคลุมถุงชนให้แต่งงานกับหญิงสาวผิวสีที่มีฐานะร่ำรวย ซึ่งตอนที่ดูหนังเรื่องนี้ ดิฉันก็รู้สึกงงว่าคนผิวสีเป็นที่ยอมรับของสังคมผู้ดีอังกฤษในอดีตมากขนาดนั้นเลยหรือ ถ้าจำไม่ผิด หญิงสาวผิวสีคนนั้นต้องการแต่งงานกับจอร์จ เพราะเธอต้องการ “สายเลือดผู้ดี” ของเขา และเธอจะได้ก้าวเข้าสู่สังคมชั้นสูง ส่วนจอร์จนั้นเกิดในตระกูลผู้ดีที่มีฐานะยากจน ครอบครัวก็เลยต้องการให้เขาแต่งงานกับคนรวยๆ
--พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนผิวสีในอังกฤษแล้ว ก็จำได้ว่าตัวเองเคยเห็นสิ่งนี้ครั้งแรกๆในชีวิตจากมิวสิควิดีโอ HOLD ME IN YOUR ARMS (1989) ของ RICK ASTLEY ที่มีฉากหญิงสาวผิวขาวกับหนุ่มผิวดำทำตัวเหมือนเป็นคนรักหรือเป็นเพื่อนกัน ฉากนี้จะอยู่ประมาณนาทีที่ 1:20
ดูมิวสิควิดีโอนี้ได้ที่
http://www.youtube.com/watch?v=EaOjcgq9oXM
--มิวสิควิดีโออีกอันที่ชอบมากตอนเด็กๆคือ I DON’T WANNA LOSE YOU ของ TINA TURNER ที่มีหญิงสาวผิวดำกับหนุ่มผิวขาวเป็นคนรักกัน แต่มิวสิควิดีโอนี้ไม่มีใน YOUTUBE
ตอบคุณคนมองหนัง
ชอบหนังเรื่อง ALFIE (2004, CHARLES SHYER, A+/A) มากๆเหมือนกันค่ะ เพราะว่าหนังเรื่องนี้ไม่ได้ “เน้นย้ำมากเกินไป” ว่า พระเอกควรจะแต่งงานมีครอบครัวลงหลักปักฐานมีลูกมีเต้าทำตัวเป็นสามี,พ่อ, พลเมืองที่ดีของสังคม คือหนังมันแสดงให้เห็นว่าพระเอกทำตัวตรงข้ามกับที่ว่ามา และพระเอกก็ไม่มีความสุขมากนัก แต่หนังก็ไม่ได้พยายามสั่งสอนมากเกินไป (ในความเห็นของดิฉัน) ว่าพระเอกควรเปลี่ยนชีวิตของตัวเองใหม่ หนังเลือกจบในจังหวะที่ดีมากๆในความเห็นของดิฉัน และดิฉันรู้สึกว่าถ้าหากหนังเรื่องนี้เลือกที่จะสั่งสอนศีลธรรมให้แก่คนดูต่ออีก 5 นาทีแล้วล่ะก็ ความรู้สึกชอบของดิฉันที่มีต่อหนังเรื่องนี้อาจจะลดฮวบฮาบลงได้ง่ายๆ
จุดนี้ทำให้นึกถึง BROKEN FLOWERS (2005, A+) ของ JIM JARMUSCH ด้วยเหมือนกัน เพราะถึงแม้หนังเหมือนๆกับจะแสดงให้เห็นว่าพระเอกเลือกทางเดินชีวิตผิดพลาดมาโดยตลอด และเขาควรจะทำตัวเป็นพ่อบ้านที่ดีเหมือนเพื่อนบ้านของเขา แต่หนังก็ดูเหมือนไม่ได้ตอกย้ำในเรื่องนี้มากจนเกินไป และโดยส่วนตัวแล้ว ดิฉันก็รู้สึกว่าถึงแม้พระเอก BROKEN FLOWERS เลือกทางเดินชีวิตใหม่ เขาก็อาจจะไม่มีความสุขได้เช่นกัน
FAVORITE WRITING
1.บทวิจารณ์หนังไตรภาคของ BELA TARR โดย ED HALTER ใน VILLAGE VOICE เพราะ ED HALTER เขียนล้อเล่นว่า การที่ SUSAN SONTAG ดูหนังเรื่อง SATANTANGO ของ BELA TARR ซึ่งมีความยาวราว 7 ชั่วโมง ถึง 15 รอบนั้น อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ SUSAN SONTAG หัวหงอกบางส่วน
http://www.villagevoice.com/film/0708,halter,75857,20.html
Critics have rightfully hailed Tarr as one of filmdom's criminally undersung geniuses; Susan Sontag once boasted that she saw Satantango over 15 times (likely the cause of her signature white hair streak). If 20th-century cinema begins with the montage frenzies of Vertov and Griffith, possessed by a cocksure project to remake history and the world, then it ends with the long sigh of Tarr, brutally conveying the inescapable weight of history and human limitation through monuments of unblinking vision.
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ BELA TARR ได้ที่บล็อกของอาจารย์คณะนิเทศศาสตร์ จุฬา
http://leave2remain0.exteen.com/20070216/bla-tarr-hungarian-director
2.ZACH CAMPBELL ลิสท์รายชื่อหนังที่น่าดูอย่างสุดๆในความเห็นของเขา เพื่อเสริมรายชื่อหนังสำคัญที่ควรดูที่ PAUL SCHRADER เขียนไว้ในนิตยสาร FILM COMMENT
ดูรายชื่อหนังสำคัญในความเห็นของ Paul Schrader ได้ที่
http://www.greencine.com/list?action=viewList&listID=9446
แต่ดิฉันรู้สึกว่ารายชื่อหนังของ PAUL SCHRADER เป็นรายชื่อที่น่าเบื่อยังไงไม่รู้ คือหนังในรายชื่อของเขามันเป็นหนังที่ยอดเยี่ยมกระเทียมดองและมีคุณค่าทางศิลปะจริงๆน่ะนะ แต่เห็นรายชื่อแบบนี้แล้วมันรู้สึกเบื่อๆเซ็งๆยังไงพิกล
แต่รายชื่อหนังของ ZACH CAMPBELL นั้น ดูแล้วน่าสนุกกว่ามาก โดยเขาจัดให้ TROPICAL MALADY เป็นหนึ่งในหกสิบหนังในรายชื่อของเขาด้วย
ดูรายชื่อของเขาได้ที่
http://elusivelucidity.blogspot.com/2006/11/counter-canon-viewing-list.html
ในจำนวนนี้มีได้ดูแค่ 11 เรื่อง ซึ่งได้แก่ (เรียงตามลำดับความชอบ)
1. Take the 5:10 to Dreamland (Bruce Conner, 1976)
2. Edward II (Derek Jarman, 1992)
3. Tropical Malady (Apichatpong Weerasethakul, 2004)
4.Daisies (Vera Chytilova, 1966)
5. La Jetee (Chris Marker, 1962)
6.Las Hurdes (Luis Bunuel, 1932)
7.We Won't Grow Old Together (Maurice Pialat, 1972)
8.Love Streams (John Cassavetes, 1984)
9.Videodrome (David Cronenberg, 1983)
10.The Terrorizer (Edward Yang, 1986)
11.The Saragossa Manuscript (Wojciech Has, 1965)
Thursday, March 15, 2007
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment