Sunday, March 25, 2007

GLASNOST CINEMA

http://xq28.net/s/viewtopic.php?t=3437&start=4256

ตอบคุณ FILMSICK

ต้องขอบคุณมากค่ะที่แนะนำหนังของ IGOR ALEINIKOV + GLEB ALEINIKOV ให้ดูกันทาง UBU เมื่อกี้ได้ลองเข้าไปดูหนังเรื่อง TRAKTORA (1987) ของสองพี่น้องคู่นี้แล้ว รู้สึกชอบมากๆในระดับ A+ ถึงแม้หนังเรื่องนี้ไม่มีซับไตเติล และเต็มไปด้วยบทบรรยายภาษารัสเซียก็ตาม
http://www.ubu.com/film/aleinikov.html

TRAKTORA ดูเหมือนเป็นหนัง MOCKUMENTARY โดยทำทีเป็นเหมือนกับว่าตัวเองเป็นหนังสารคดีเกี่ยวกับรถแทรคเตอร์ เนื่องจากดิฉันฟังบทบรรยายในหนังเรื่องนี้ไม่ออก ดิฉันจึงอาจเข้าใจหนังเรื่องนี้ผิดไปบ้าง แต่พอเดาๆเอาเองว่าหนังเรื่องนี้น่าจะแบ่งออกเป็น 4 ช่วงใหญ่ๆได้ดังนี้

1.ช่วงแรกของหนังเป็นสารคดีเกี่ยวกับรถแทรคเตอร์ ที่ใช้เสียงบรรยายแบบเสียงบรรยายมาตรฐานในหนังสารคดี

2.ช่วงที่สอง เสียงบรรยายเริ่มเปลี่ยนไปเหมือนเสียงของคนใกล้ตาย

3.ช่วงที่สาม เสียงบรรยายเปลี่ยนเป็นเสียงของผู้หญิงที่เหมือนเป็นโรคฮิสทีเรีย และตากล้องก็เหมือนกลายเป็นโรคฮิสทีเรียตามเสียงบรรยายไปด้วย

4.ช่วงที่สี่ เหมือนกับเป็นมิวสิควิดีโอเชิดชูชาติโซเวียต


อันนี้เป็นคำบรรยายเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ในเว็บไซท์ UBU

Their films, like Western experimental film in the 60s, deliberately refused to conform to professional standards, and were thus rejected not only officially, but also by many filmmakers. With its dis- mantling of socialist propaganda, Traktora (Tractors) is part of the reassessment of the past in found footage that took place in the 90s. The voiceover, which grows in intensity from objective description to individual obsession, highlights the emerging individualization of the gaze as opposed to the collective ideology.


อันนี้เป็นคำบรรยายเกี่ยวกับ TRACTORS จากอีกเว็บไซท์
http://www.emaf.de/1990/sowpar_e.html

In 1980 the power of the Soviet tractor engines amounted to 497 million horse power. Who is to be surprised that this industrial achievement induced the most important methaphor. The tractor is being associated with earth and people. "The myth that the drivers of tractors possess an extraordinary potency arises among female persons" (film text). What do female drivers of tractors think about it in the country of the functional emancipation?

หนังสือ THE ZERO HOUR: GLASTNOST AND SOVIET CINEMA IN TRANSITION (1992) ของ ANDREW HORTON + MICHAEL BRASHINSKY ก็กล่าวถึงหนังเรื่อง TRAKTORA หรือ TRACTORS ไว้ด้วยเช่นกัน โดยระบุว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังขาวดำความยาวครึ่งชั่วโมงที่ผลิตโดยสองพี่น้องแห่งมอสโคว์คู่นี้ โดยเป็นการนำฟิล์มข่าวเก่าๆมาผสมกับฟิล์มที่สองพี่น้องคู่นี้ถ่ายเอง และหนังเรื่องนี้เป็นการล้อเลียนหนังเพื่อการศึกษา (EDUCATIONAL FILM) ในยุคสตาลิน โดยล้อเลียนสิ่งที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ที่สุดในกระบวนการผลิต ซึ่งก็คือรถแทรคเตอร์

เสียงบรรยายของผู้หญิงในช่วงหลังของหนังเรื่องนี้ รวมถึงประโยคที่ว่า “รถแทรคเตอร์สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ต่างๆกันไป ประชาชนรักรถแทรคเตอร์และเรียกรถนี้ว่าม้าเหล็ก”

ทันใดนั้นเอง หนังสารคดีเรื่องนี้ก็หลุดออกจากความเป็นหนังสารคดี และกล้องก็เริ่มหมุนควงอย่างรุนแรงและโฟกัสไปที่รายละเอียดต่างๆที่ไม่มีความสำคัญ ขณะที่เสียงของสาวผู้บรรยายก็เปลี่ยนไปเป็นเสียงที่เหมือนกับคนบ้า โดยเธอกรีดเสียงว่า “คุณรู้สึกได้ถึงความตายรอบๆตัวคุณ” ขณะที่กล้องทำผลิกผันไปมาและเปลี่ยนกลับมาจ้องมองลานโล่งกว้างที่แล้งไร้ไปจนถึงเส้นขอบฟ้า

ผู้บรรยายสาวยังคงบรรยายต่อไปว่า “เลือดของคุณร้องกรี๊ด หัวของคุณมึนชา” และหลังจากนั้นผู้บรรรยายสาวก็ร้องไห้และร้องกรี๊ดขณะที่ภาพบนจอเลือนไปเป็นสีขาว

“THERE IS ONLY ME AND THE TRACTOR” ผู้บรรยายสาวกล่าว ขณะที่หนังเข้าสู่ช่วงสุดท้าย เมื่อมีเสียงเพลงคอมมิวนิสต์รักชาติแบบเสียดสีดังขึ้นมา และมีรูปปั้นของเลนินปรากฏอยู่บนจอ

หนังเรื่อง TRACTORS นี้เป็นตัวอย่างที่ดีอันหนึ่งของหนังกลุ่ม PARALLEL CINEMA ซึ่งเป็นกลุ่มหนังแปลกๆที่ถือกำเนิดขึ้นในโซเวียตในช่วงปลายทศวรรษ 1980 โดยมีสองพี่น้อง ALEINIKOV เป็นผู้นำในกลุ่มนี้ นอกจากนี้ หนังกลุ่ม PARALLEL CINEMA นี้ยังอาจถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของหนังยุค GLASTNOST และ PERESTROIKA ของโซเวียตในปลายทศวรรษ 1980 ด้วย ซึ่งเป็นยุคที่ผู้กำกับชาวโซเวียตสามารถทำหนังล้อเลียนค่านิยมในยุคเดิมๆได้ หรือสามารถสะท้อนด้านลบของสังคมโซเวียตได้

ดิฉันไม่รู้อะไรมากนักเกี่ยวกับนโยบาย GLASTNOST และ PERESTROIKA ที่ประธานาธิบดีมิคาอิล กอร์บาชอฟของโซเวียตนำมาใช้ในเดือนเม.ย.ปี 1985 ข้อมูลในหนังสือ THE ZERO HOUR บอกว่า GLASTNOST = OPENNESS ส่วน PERESTROIKA = RESTRUCTURING โดย GLASTNOST นั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ง่าย เพราะมันคือการเปิดรับความคิดเห็น, การแสดงออก และข้อมูล GLASTNOST นำมาซึ่งแนวคิด และไม่เกี่ยวข้องกับ MATERIAL PRODUCT แต่ PERESTROIKA เป็นสิ่งที่ทำให้เกิดขึ้นจริงได้ยากกว่า และอุตสาหกรรมภาพยนตร์ก็ถือว่าเป็นสนามรบสำคัญของ GLASTNOST และเป็นพื้นที่ทางการผลิตพื้นที่หนึ่งสำหรับกระบวนการ PERESTROIKA

นิตยสาร FILM COMMENT เล่มเดือน JAN/FEB 2007 มีบทความเกี่ยวกับหนังกลุ่ม PARALLEL CINEMA ของโซเวียตด้วย โดยเป็นบทความของ OLAF MOELLER

บทความนี้ระบุว่า ผู้กำกับคนสำคัญในกลุ่มนี้รวมถึง

1.สองพี่น้อง ALEINIKOV ซึ่งเข้าสู่วงการภาพยนตร์ด้วยการผลิตนิตยสารทำมือเกี่ยวกับภาพยนตร์ที่มีชื่อว่า CINE FANTOM

2.BORIS YUKHANANOV ซึ่งอยู่ในมอสโคว์เหมือนกัน

3.YEVGENY YUFIT AND THE NECROREALISTS ในเมือง LENINGRAD ที่ต่อมาเปลี่ยนกลับมาใช้ชื่อเมือง ST. PETERSBURGH หลังโซเวียตล่มสลาย

ชอบคำว่า NECROREALISTS มาก เพราะ NECRO = ศพ


ผู้กำกับเหล่านี้ไม่รู้จักกันในตอนแรก พวกเขาทำหนังแปลกๆเหมือนกัน แต่ไม่รู้จักกัน แต่พวกเขามารวมตัวกันเป็นกลุ่ม PARALLEL CINEMA ได้เพราะผู้ชมของพวกเขาเล่าถึงหนังของอีกคนหนึ่งให้พวกเขาฟัง

CINE FANTOM ได้ขยับขยายจากการเป็นนิตยสารทำมือ มาเป็นผู้จัดเทศกาลภาพยนตร์ และผู้จัดฉายภาพยนตร์ในเวลาต่อมา พวกเขาได้รับประโยชน์จากนโยบาย PERESTROIKA ซึ่งเปิดโอกาสให้ชาวโซเวียตได้สำรวจแนวคิดและสุนทรียะในรูปแบบใหม่ๆ

อย่างไรก็ดี IGOR ALEINIKOV เสียชีวิตในปี 1994 จากเหตุการณ์เครื่องบินตก และสมาชิกแต่ละคนในกลุ่มก็เริ่มหันไปร่วมงานกับสตูดิโอใหญ่ๆ และไม่ได้ทำตัวเป็น “เส้นขนาน” กับสตูดิโอใหญ่เหมือนอย่างในอดีตอีก

CINE FANTOM เริ่มกลับมาได้รับความสนใจอีกครั้งในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยได้รับทุนสนับสนุนจากวงการโทรทัศน์รัสเซีย และมีสมาชิกใหม่ๆมาเข้าร่วมกลุ่ม อย่างเช่น

4.ALEXANDER DOULERAIN

5.YURI LEIDERMAN

6.ANDREY SILVESTROV

7.PETER KHAZIZOV

หนังที่น่าสนใจในกลุ่มนี้หลายเรื่องดูได้จากเว็บไซท์ UBU และรวมถึงหนังดังต่อไปนี้

1.CRAZY PRINCE FASSBINDER (1989, BORIS YUKHANANOV)
หนังความยาว 44 นาทีเรื่องนี้เป็น MOCKUMENTARY ที่ให้นักแสดงโซเวียตมาพูดจาเชิดชูฟาสบินเดอร์ และพูดถึงเรื่องราวที่ไม่จริงต่างๆเกี่ยวกับฟาสบินเดอร์


2.TRACTOR DRIVERS 2 (1989, IGOR ALEINIKOV + GLEB ALEINIKOV)
หนังเรื่องนี้เป็นการรีเมคหนังเรื่อง TRACTOR DRIVERS (1939, IVAN PYRIEV)

3.BIPEDALISM (2005, YEVGENY YUFIT)
หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับศิลปินคนหนึ่งและภรรยา ที่ได้รับรางวัลจากรัฐบาลเป็นกระท่อมในชนบท แต่พอพวกเขาเข้าไปอยู่ในกระท่อมนี้ พวกเขาก็ได้ค้นพบหัวกะโหลก, ซากศพ และความจริงเกี่ยวกับการทดลองอันพิลึกพิลั่นทางวิทยาศาสตร์ของโซเวียตในทศวรรษ 1930 เกี่ยวกับทฤษฎีวิวัฒนาการ

สิ่งที่น่าตกใจก็คือว่าผู้รอดชีวิตจากการทดลองดังกล่าวยังคงมีชีวิตอยู่ในสภาพของซอมบี้ และบางคนก็หนีรอดออกจากที่คุมขังมาได้และกลายเป็นอันตรายที่น่าสะพรึงกลัว ทางด้านศิลปินคนนี้ก็เริ่มเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทดลองอันพิลึกพิลั่นมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเขาค้นพบความจริงว่าพ่อของเขาอาจเคยมีส่วนร่วมในการทดลองนี้

อย่างไรก็ดี เนื้อหาส่วนใหญ่ของ BIPEDALISM เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างศิลปินคนนี้กับภรรยา โดยหนังเน้นปัญหาความสัมพันธ์อันเข้มข้นพอๆกับหนังของ INGMAR BERGMAN

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ BIPEDALISM ได้ที่
http://context.themoscowtimes.com/stories/2005/07/15/110.html


4.MANGA (2005, PETER KHAZIZOV)


5.VOLGA-VOLGA (2006, PAVAL LABAZOV + ANDREY SILVESTROV + VLADISLAV MAMYSHEV-MONROE)

หนังเรื่องนี้เป็นการรีเมคหนังเรื่อง VOLGA-VOLGA (1938, GRIGORI ALEKSANDROV) โดยเป็นการรีเมคที่ประหลาดมาก เพราะเป็นการนำหนังเก่ามาทำดนตรีประกอบใหม่ โดยนำเสียงกีตาร์ไฟฟ้ามาใช้แทนดนตรีบาลาไลก้า และมีการนำภาพศีรษะของ VLADISLAV MAMYSHEV-MONROE ซึ่งเป็นผู้ชาย มาทับลงบนศีรษะของ LYUBOV ORLOVA ซึ่งเป็นนางเอกของ VOLGA-VOLGA เวอร์ชันดั้งเดิม (คิดไอเดียนี้ขึ้นมาได้อย่างไร)

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ VOLGA-VOLGA (2006) ได้ที่
http://context.themoscowtimes.com/story/166526/

ภาพของ VOLGA-VOLGA เวอร์ชันเก่า
http://farm1.static.flickr.com/185/433362699_84a14b33c5_b.jpg
http://farm1.static.flickr.com/162/433362697_c6e3b808d5_b.jpg

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ LYUBOV ORLOVA ได้ที่
http://www.sensesofcinema.com/contents/02/23/orlova.html
http://www.geocities.com/rusatg/orlova/index_engl.html

อันนี้เป็นรูปของ VLADISLAV MAMYSHEV-MONROE ดิฉันคิดว่าเธอคือคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดคนหนึ่งของ MICHAEL SHAOWANASAI
http://www.mdf.ru/i/photo/003/3421.jpg
http://www.mdf.ru/i/photo/003/3416.jpg
http://www.mdf.ru/i/photo/003/3422.jpg
http://www.mdf.ru/i/photo/003/3417.jpg
http://www.mdf.ru/i/photo/003/3412.jpg

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังรัสเซียยุคปัจจุบันได้ใน BIOSCOPE เล่ม 59 ต.ค. 2549 หน้าปก THE DEPARTED

--นอกจาก PARALLEL CINEMA แล้ว หนังกลุ่มย่อยที่สำคัญอีกกลุ่มหนึ่งใน GLASNOST CINEMA ก็คือหนังกลุ่ม ZIGZAG CINEMA หรือหนังกลุ่ม KAZAKH NEW WAVE จากคาซัคสถาน

การที่หนังคาซัคสถานกลุ่มนี้ตั้งชื่อว่า ZIGZAG CINEMA เป็นเพราะว่าผู้กำกับในกลุ่มนี้มักจะทำงานร่วมกับสตูดิโอใหญ่เป็นครั้งคราวอยู่แล้ว ไม่ได้อยู่นอกระบบสตูดิโออย่างเต็มตัวในช่วงแรกเหมือนหนังกลุ่ม PARALLEL CINEMA

ผู้กำกับภาพยนตร์กลุ่ม ZIGZAG CINEMA หรือกลุ่ม KAZAKH NEW WAVE นี้ก็มีเช่น

1.RASHID NUGMANOV ซึ่งกำกับ THE NEEDLE (1988)

2.ALEXANDER BARANOV

3.BAKHYT KILIBAYEV

4.ABAI KARPIKOV

5.SERIK APRYMOV
รู้สึกว่าคุณสนธยา ทรัพย์เย็นจะชอบผู้กำกับคนนี้

หนังน่าสนใจในกลุ่มนี้ก็คือ LITTLE FISH IN LOVE (1989, ABAI KAPRIKOV) ที่ออกมาในแนว WIM WENDERS + JIM JARMUSCH โดยหนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับชายหนุ่มคนหนึ่งที่ไม่พูดไม่จา และมักจะจ้องมองปลาในตู้ปลาของเพื่อนเป็นประจำ ชายหนุ่มคนนี้ไม่ทำงานทำการอะไร และไม่ทำกิจกรรมอะไรเลยในหนังเรื่องนี้ เขาเดินไปเรื่อยๆเพื่อค้นหาบางสิ่งบางอย่างที่เขาเองก็ไม่รู้ว่ามันคืออะไร

นักวิจารณ์ภาพยนตร์ระบุว่า LITTLE FISH IN LOVE ประสบความสำเร็จอย่างมากในการถ่ายทอดบรรยากาศของเมืองที่อยู่ในภาวะ “หลับลึก และฝันถึงช่วงเวลาที่น่าจะดีกว่านี้”

อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ JIM JARMUSCH ได้ในหนังสือ FILMVIRUS 5

นอกจาก PARALLEL CINEMA และ ZIGZAG CINEMA แล้ว หนังในกลุ่ม GLASNOST CINEMA หรือหนังโซเวียตที่น่าสนใจในช่วงนั้น ยังรวมถึง

1.THE NAME DAY (1980, SERGEI SELYANOV + NIKOLAI MAKAROV)
http://movies2.nytimes.com/gst/movies/movie.html?v_id=169207

หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับคนในบ้านเก่าๆหลังใหญ่หลังหนึ่ง โดยมีตำรวจคนหนึ่งปีนต้นไม้ในสนามขึ้นไปเพื่อคอยจับตาดูพฤติกรรมของคนในบ้านหลังนี้ และตำรวจคนนี้ก็ไม่ยอมลงจากต้นไม้ถึงแม้ว่าต้นไม้กำลังไหม้ไฟ

This black and white political allegory set in Soviet Russia was filmed in 1980, and first saw the light of day at the 1989 Locarno Film Festival. The events taking place in a huge, ramshackle old house are told as seen by one of its none-too-bright residents. Of particular ironic bite is the tale of the policeman who climbs a tree in the yard in order to keep watch over the residents, who never leaves the tree even when, at the end of the film, it is burning. This uneven film is based on an unpublished novel by the screenwriter, Mikhail Konvaltchuk. ~ Clarke Fountain, All Movie Guide


2.A LIFE WITHOUT (1987, MARK SOOSAAR, ESTONIA)

หนังเรื่องนี้มีฉากเด็ดฉากหนึ่งที่ให้หญิงวัยกลางคนคนหนึ่งที่มีหน้าตาธรรมดา ทำงานในครัวที่คับแคบ หนังเรื่องนี้บันทึกภาพการทำอาหารเช้าของเธออย่างละเอียด โดยเธอทำอาหารเช้าให้ตัวเองกิน เธอปาดเนยลงบนขนมปัง, เธอรินนมใส่แก้ว, เธอเอาเทปเพลงมาฟัง

ฉากนี้เป็นฉากที่ธรรมดาที่สุดและไม่มีเหตการณ์สำคัญเกิดขึ้นแต่อย่างใด และหญิงคนนี้ก็แทบไม่แสดงอารมณ์ออกมาเลย แต่ในเวลาต่อมา หญิงคนนี้ก็เริ่มกลั้นน้ำตาไว้ไม่อยู่ เธอค่อยๆร้องไห้ และในที่สุดเธอก็ร้องไห้อย่างรุนแรงจนควบคุมตัวเองไว้ไม่ได้อีกต่อไป เพราะลูกชายของเธอเพิ่งฆ่าตัวตาย และเขาฆ่าตัวตายเพราะแม่ของเขาด่าว่าเขาและแฟนสาวของเขา

หนังเรื่อง A LIFE WITHOUT เป็นหนังสารคดี


3.THE MAN FROM CAPUCHINS BOULEVARD (1987, ALLA SURIKOVA)
http://www.imdb.com/title/tt0092745/usercomments

หนังเรื่องนี้กำกับโดยผู้หญิง และเป็นหนัง “คาวบอยรัสเซีย” !!!!!

The plot goes here. The very beginning of the 20th century. Wild West. A cinema devotee - Mr First - comes to an American town where everybody drinks, fights, and swears. Mr First introduces the world of black-and-white cinema to the cowboys and the life changes. All the good movies he shows them have a direct effect on their living. The population of the town stops all the drinking, fighting, etc. The people start to respect each other and to behave in a good manner. Mr First leaves the town for some time. During his absence some freak comes to town - Mr Second - who is also a cinema devotee, but he is into some nasty types of movies. As a result of watching those "nasties" the people turn into violent morons again.


4.SIZ KIM SIZ หรือ WHO ARE YOU (1989, DZHAHONGIR FAIZIEV, UZBEKISTAN)
หนังเรื่องนี้เป็นหนังแนว ROAD MOVIE ที่ให้คนขับรถคนหนึ่งที่เป็นหมอ มาเจอกับนักโบกรถคนหนึ่งที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย แต่ขณะที่ทั้งสองขับรถไปด้วยกัน ทั้งสองก็พบกับตำรวจจราจรที่บอกให้ทั้งสองหยุดรถ

อย่างไรก็ดี หนึ่งในสองคนนี้เป็นสายลับเคจีบีของโซเวียตที่ต้องการจะแก้แค้นตำรวจที่เขาเจอในระหว่างทาง และหลังจากนั้นทั้งสองก็ถูกส่งตัวไปยังสำนักงานราชการต่างๆหลายสำนักงาน และในที่สุดเรื่องก็เฉลยว่าที่จริงแล้วทั้งสองคนนี้ต่างก็เป็นเคจีบีที่คนหนึ่งมียศสูงกว่าอีกคนหนึ่ง


5.INTERGIRL (1989, PYOTR TODOROVSKY)

หนังเกี่ยวกับพยาบาลสาวที่หันมาเป็นโสเภณี
http://www.imdb.com/title/tt0097584/plotsummary

Tatiana is a beautiful Russian nurse who is underpaid at her hospital job, so she turns a prostitute catering to international tourists. She becomes well paid in dollars, and helps her ailing mother to survive. Tatiana's international clients enlighten her about the life in other countries, so she accepts a marriage in order to escape from the grim Soviet reality. But even being married to a decent man abroad, she still suffers from being labeled as an ex-Soviet prostitute, and her new life is full of new troubles.


--เป็นที่น่าสังเกตว่า มีนักทำนิตยสารภาพยนตร์หลายกลุ่มที่กลายเป็นผู้กำกับภาพยนตร์คุณภาพในเวลาต่อมา อย่างเช่น

1.ผู้ทำนิตยสาร CINE FANTOM ที่กลายมาเป็นผู้กำกับกลุ่ม PARALLEL CINEMA

2.นักวิจารณ์ในนิตยสาร CAHIERS DU CINEMA ที่ต่อมาได้หันมากำกับหนัง

ดูรายชื่อผู้กำกับกลุ่มนี้ได้ที่บล็อกของคุณ harrytuttle ที่
http://screenville.blogspot.com/2006/07/criticismcreation-mixity-at-cahiers.html

3.นักวิจารณ์ของนิตยสาร REVOLVER ของเยอรมนี ที่ต่อมาได้หันมากำกับภาพยนตร์ อย่างเช่น

3.1 SEBASTIAN KUTZLI ผู้กำกับ DREILAND (1998), ALLES ZOMBIES (2001), KALTE HAUT (2005)

3.2 BENJAMIN HEISENBERG ผู้กำกับ AT THE LAKE (2001) และ SLEEPER (2005)

เรื่องย่อของ SLEEPER
Johannes, a new assistant at the university, is asked to provide reports on an Algerian colleague - who is suspected of being a sleeper. He refuses, but the seed of doubt has been planted. A fragile friendship which is overshadowed by professional and emotional competition eventually leads to betrayal.


3.3 CHRISTOPH HOCHHAUSLER ผู้กำกับหนังเกย์เรื่อง I AM GUILTY (2005)

I AM GUILTY มีเนื้อหาเกี่ยวกับเด็กหนุ่มที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้รับความสนใจจากผู้คนรอบข้าง และเขาก็ใช้เวลาว่างไปกับการจินตนาการว่าเขาได้มีเพศสัมพันธ์กับกลุ่มหนุ่มๆนักขับรถมอเตอร์ไซค์ และในเวลาต่อมา เด็กหนุ่มคนนี้ก็ประกาศว่าเขาเป็นคนก่ออาชญากรรม ทั้งๆที่เขาไม่ได้เป็นคนก่อ เพราะเขามีจุดประสงค์ที่จะให้ตัวเองไม่ต้องอยู่ในสถานะของ “มนุษย์ล่องหน” อีกต่อไป

http://ec1.images-amazon.com/images/P/B000GTLQU8.01._SS500_SCLZZZZZZZ_.jpg


อ่านบทสัมภาษณ์ CHRISTOPH HOCHHAUSLER ได้ที่
http://www.sensesofcinema.com/contents/07/42/christoph-hochhausler.html

นักวิจารณ์/ผู้กำกับภาพยนตร์กลุ่มนี้มักจะรวมตัวพูดคุยกับผู้กำกับชั้นแถวหน้าคนอื่นๆของเยอรมันและออสเตรียด้วยเช่นกัน โดยผู้กำกับในกลุ่มของเขารวมถึง

3.4 HENNER WINCKLER ผู้กำกับ SCHOOL TRIP (A+++++++++++++++) ที่เคยมาเปิดฉายที่สถาบันเกอเธ่ ซ.สาทรหนึ่ง

3.5 ULRICH KOEHLER ผู้กำกับ BUNGALOW ที่เน้นโชว์เรือนร่างของหนุ่มๆ และเป็นหนังในดวงใจของคุณ BLACK FORESTS
http://www.blackforests.blogspot.com

3.6 SOEREN VOIGT ผู้กำกับ THE PERFECT SITE (2000) และ IDENTITY KILLS (2003)
http://www.luebeck.de/filmtage/03/program/filme/images/identitw.jpg
http://www.fdk-berlin.de/forumarchiv/forum2003/filme/bild/identity_kills01.jpg

3.7 JESSICA HAUSNER ที่คนไทยรู้จักกันดีจาก LOVELY RITA และ HOTEL

3.8 VALESKA GRISEBACH ที่เข้ามาอยู่ในกลุ่มนี้ได้เพราะ JESSICA HAUSNER เป็นคนพาเข้ามา หนังของเธอถูกจัดอยู่ในกลุ่ม TENDER REALISM

3.9 MAREN ADE ผู้กำกับ THE FOREST FOR THE TREES (2003) หนังของเธอถูกจัดอยู่ในกลุ่ม TENDER REALISM
http://www.stoningtonfilmsociety.com/images/theforestforthetrees.jpg

3.10 ELKE HAUCK ผู้กำกับ FLUEGGE (2001) หนังของเธอถูกจัดอยู่ในกลุ่ม TENDER REALISM

อย่างไรก็ดี ถึงแม้ผู้กำกับเยอรมันกลุ่มนี้จะชอบสังสรรค์กันเอง แต่พวกเขาก็ไม่ชอบให้คนมาเรียกเหมารวมพวกเขาภายใต้ชื่อกลุ่มเดียวกันแต่อย่างใด

No comments: