Tuesday, April 29, 2014

DREAM DIARY: TIME MACHINE AND TWO LITTLE COWBOYS

 
เมื่อคืนฝันประหลาดๆ ตื่นมาเลยต้องรีบจดบันทึกไว้ เผื่อใครจะตีความได้ว่าหวยจะออกเบอร์อะไร 55555
 
เมื่อคืนเราฝันว่าเราไปเจอพี่ชายคนนึงที่เศร้าโศกเสียใจมากเพราะน้องชายของเขาตายเพราะอยากเป็นคาวบอย แต่ตอนนี้ (หลังตื่นนอน) เราจำไม่ได้แล้วว่าน้องชายของเขาตายยังไงกันแน่ อาจจะตายเพราะพยายามฝึกขี่ม้า หรือตายเพราะการยิงปืนแบบคาวบอย หรือตายด้วยวิธีอะไรสักอย่าง ตอนนี้เราจำได้แต่ว่าน้องชายของเขาตายเพราะอยากเป็นคาวบอย และพี่ชายคนนี้รู้สึกผิดมากเป็นพิเศษ เพราะสาเหตุที่น้องชายของเขาอยากเป็นคาวบอย เกิดจากการที่พี่ชายคนนี้เคยให้หมวกคาวบอยกับน้องชายตอนเด็กๆ น้องชายคนนี้ชอบหมวกคาวบอยใบนั้นมาก ก็เลยเก็บหมวกคาวบอยใบนั้นไว้ตลอดเวลา แล้วหมวกคาวบอยใบนั้นก็เลยเป็นแรงบันดาลใจให้น้องชายอยากเป็นคาวบอยในตอนโต แล้วทำให้น้องชายตายในที่สุด
 
แล้วอยู่ดีๆพอเรารู้สึกตัวอีกที เราก็พบว่าเราอยู่ในงานรื่นเริงประจำหมู่บ้านอะไรสักอย่างในอดีต เราเห็นเด็กชายตัวเล็กๆสองคน อายุประมาณ 7-8 ขวบในงานนั้น เด็กทั้งสองคนใส่หมวกคาวบอย เรารู้ว่าเด็กสองคนนั้นคือพี่ชายกับน้องชายที่เราเคยเจอตอนโตแล้ว แล้วอยู่ดีๆก็มีลมพัดมาวูบนึง หมวกคาวบอยของเด็กชายทั้งสองคนนี้ก็ลอยหวือมาทางเรา เราเอื้อมมือไปคว้าหมวกคาวบอยของคนพี่เอาไว้ แต่เราปล่อยให้หมวกคาวบอยของคนน้องปลิวหลุดลอยจากมือของเราไป หมวกคาวบอยใบนั้นก็เลยปลิวหายไปเลย เราคืนหมวกคาวบอยให้เด็กชายคนพี่ เราเห็นเด็กชายคนน้องทำหน้าเสียใจเล็กน้อย แล้วเขาก็ทำหน้าว่าเขาตัดใจจากหมวกคาวบอยใบนั้นได้แล้ว แล้วก็ไปเล่นสนุกในงานรื่นเริงต่อ แล้วเราก็เงยหน้าขึ้นมองท้องฟ้าสีครามสดใส และก็ขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์อะไรสักอย่างที่ช่วยให้เราย้อนเวลามาในอดีตได้ เรารู้ว่าพอน้องชายสูญเสียหมวกคาวบอยใบนั้นไป เขาก็จะไม่ฝังใจกับความรู้สึกอยากเป็นคาวบอย แล้วพอเขาโตขึ้น เขาก็จะไม่ต้องตายก่อนเวลาอันควร และพี่ชายของเขาก็จะได้ไม่ต้องเศร้าโศกเสียใจด้วย สรุปว่าเป็นฝันที่ดีมากๆอันนึง ภาพท้องฟ้าสีครามสดใสในฝันช่วงท้ายติดตาเรามากๆ ส่วนผู้ชายในรูปนี้คือ Guy Madison จ้ะ
 

DREAM DIARY: CATE BLANCHETT VS. TILDA SWINTON

 
เมื่อคืนนี้ฝันว่าเราเดินทางไปกับเพื่อนๆกลุ่มนึง แล้วเราต้องเข้าไปเอาหนังสือเปียกน้ำกลุ่มนึงที่เราเอาไปผึ่งให้แห้งที่ดาดฟ้าของโรงเรียนกวดวิชาอะไรสักอย่าง พอเราขึ้นไปที่ชั้นสองของโรงเรียนกวดวิชาแห่งนั้น ซึ่งมีลักษณะคล้ายตึกแถว หรือคล้ายๆ CONFERENCE OF BIRDS GALLERY ที่เคยอยู่ตรงถนนปั้น เราก็พบว่ามีคนแน่นมากที่ชั้นสอง แน่นมากๆจนเดินฝ่าเข้าไปแทบไม่ได้ ในใจเราก็คิดว่าถ้าหากเกิดไฟไหม้ขึ้นมา คนต้องเหยียบกันตายแน่นอน แล้วเราก็ฝ่าขึ้นไปชั้น 3 ได้สำเร็จ และก็ไปเก็บหนังสือเปียกน้ำที่เราผึ่งเอาไว้ก่อนหน้านี้ แต่มีหนังสือเปียกน้ำสองเล่มที่มันหนามากๆ แล้วมันยังไม่แห้ง เราก็เลยทิ้งหนังสือเปียกน้ำสองเล่มนี้เอาไว้ก่อน
 
แล้ววันต่อมาเรากับเพื่อนๆก็กลับมาที่โรงเรียนกวดวิชาแห่งนี้อีกทีในตอนเช้า ตอนนั้นยังไม่ค่อยมีคน เราพบว่าขาเราเลอะโคลน เราก็เลยล้างขาเราตรงก็อกน้ำแห่งหนึ่งในโรงเรียนกวดวิชา ปรากฏว่าเจ้าของโรงเรียนกวดวิชาเดินออกมา และเธอคือ Cate Blanchett แล้วเธอก็ด่าทอเราอย่างรุนแรงว่าทำให้พื้นบริเวณนั้นเลอะเทอะ เราโกรธยัย Cate Blanchett มาก แล้วเราก็เลยคุยกับเพื่อนเราคนนึงที่เคยตบตีด่าทอกับยัย Cate นี่มาก่อน ในทำนองที่ว่าเราเข้าใจแล้วล่ะว่าทำไมเพื่อนถึงเคยตบกับอีนี่
 
แล้วเราก็พูดกับเพื่อนๆเราว่า จริงๆแล้วเรามีความสามารถในการแปลงร่างเป็น Tilda Swinton ได้ เพราะฉะนั้นเดี๋ยวเราจะไปแปลงร่างเป็น Tilda Swinton เพื่อมากำราบยัย Cate Blanchett นี่ แต่เพื่อนๆเราห้ามไว้ แล้วหลังจากนั้นก็มีอะไรเหี้ยห่าเกิดขึ้นอีกมากมายในความฝัน มีรูปปั้นมังกรจีนอาถรรพณ์ มีการต่อสู้กันบนท้องฟ้า ฯลฯ แต่เราปะติดปะต่อเนื้อเรื่องหรือจำรายละเอียดอะไรไม่ได้แล้ว จบ
 
 

Tuesday, April 22, 2014

ACTING TASKS IN IN THER'S VIEW

 
(อันนี้เป็นการเขียนตอบน้องควอนจียุ้ย ไม่มีนามสกุล เกี่ยวกับการแสดงใน IN เธอ’S VIEW)
 
เราดู IN เธอ’S VIEW สองรอบ รอบแรกเราดูพร้อมกับตี้ ส่วนรอบสองเราไปดูในวันอาทิตย์ที่ 6 เม.ย. ในรอบนั้น
 
1.ปานรัตน กริชชาญชัยนั่งเก้าอี้ตัวแรก เล่นเป็นน้องสาวที่เอาเค้กวันเกิดไปให้พี่ชายในสนามรบ ถ้าเราเข้าใจไม่ผิด เป็นการแสดงที่แทบไม่มีบทพูดเลย และเล่นออกมาในแนวตลกขำขัน
 
2.ดลฤดี จำรัสฉาย เล่นเป็นเลดี้แมคเบธ
 
3.สุมณฑา สวนผลรัตน์ เล่น CLITORIS MONOLOGUE
 
4.นีลชา เฟื่องฟูเกียรติ เล่น “ในความเงียบ” ที่เป็นเรื่องผู้หญิงที่ถูกทหารพม่าข่มขืน โดยในครั้งนี้นีลชาแจกบทพูดใน “ในความเงียบ” ให้ผู้ชมบางคนและนักแสดงหญิงอีก 5 คนช่วยกันอ่าน คือทำให้มันเป็นกิจกรรมแบบ interactive แทนที่จะเป็นการแสดง monologue
 
5.ฟารีดา จิราพันธุ์ เล่นเป็นผู้หญิงซาอุที่ฝ่าฝืนธรรมเนียมการห้ามขับรถ และแสดงออกมาได้อย่างทรงพลังมากๆ
 
6.ภาวิณี สมรรคบุตร เล่นเป็นสาวตุลา โดยในครั้งนี้ภาวิณีจะตีความแตกต่างจากณัฐญาในแง่ที่ว่า ณัฐญาจะเล่นเป็นสาวตุลาขณะให้สัมภาษณ์กับนักเขียนคอลัมน์/นักข่าว แต่ภาวิณีจะเล่นเป็นสาวตุลาขณะคุยกับเพื่อนผู้หญิงกลุ่มนึง
 
ในการดู IN เธอ’S VIEW สองรอบนี้ ในส่วนของการแสดงนั้น เราพบว่า
 
1.นักแสดงแต่ละคนมีเทคนิคที่แตกต่างกันไป มีความถนัดที่แตกต่างกันไป คนนึงก็มีจุดแข็งอย่างนึง มีจุดอ่อนอย่างนึง และแต่ละคนก็มีจุดแข็ง จุดอ่อนแตกต่างกันไป และดูเหมือนว่ามันไม่มี “วิธีการแสดงที่ดีที่สุด” มันมีแต่ “วิธีการแสดงที่หลากหลาย” และมันขึ้นอยู่กับว่าผู้ชมแต่ละคนชอบแบบไหนเท่านั้นเอง ซึ่งผู้ชมแต่ละคนก็ชอบแตกต่างกันไปเช่นกัน
 
2.เราจะพบเลยว่า เราจะไม่ค่อยอินกับการแสดงตลก แต่เราจะอินกับการแสดงที่มันสามารถเชื่อมโยงกับความรู้สึกเจ็บปวดในใจเรา เพราะฉะนั้นในการแสดงสองรอบที่เราได้ดูนั้น เราจะไม่อินกับการแสดงของปานรัตน และการแสดงของปริยา วงศ์ระเบียบในบทของเมียซามูไร ที่ออกมาในแนวตลก แต่เราว่าการแสดงของปริยามีความน่าสนใจในแง่ที่ว่า ในการแสดงนั้น “เสียงพากย์” ของกฤษณะ พันธุ์เพ็งมีบทบาทสำคัญในการกำกับอารมณ์คนดูเป็นอย่างมาก เราก็เลยคิดว่าการแสดงของปริยาในรอบนั้น มันไม่มีผลกับเราในทางอารมณ์ แต่เราสนใจวิธีการของมันที่ทำให้เสียงพากย์กลายเป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญเท่าๆกับการแสดง (มันทำให้เรานึกถึงหนังไทยเรื่อง SING (2011, Sa Sakawee, A+30) ที่เสียงพากย์กลายเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดในหนังด้วย)
 
3.หนึ่งในช่วงเวลาที่เราชอบที่สุดในละครเวทีเรื่องนี้ คือช่วงเวลาที่นักแสดง 6 คนในรอบวันที่ 6 เม.ย. ได้รับคำถามว่า “คุณจะแสดงความเศร้าอย่างไร โดยไม่ใช้บทพูด และไม่ใช้น้ำตา” และเราก็ชอบการแสดงของดลฤดีกับสุมณฑามากๆในการตอบคำถามนี้ โดยสุมณฑาใช้วิธีทำหน้าบึ้งตึง ถอดรองเท้าออกมาข้างนึง แล้วก็เขวี้ยงรองเท้านั้นกระแทกกับพื้นอย่างรุนแรงมาก เราว่ามันเป็นการตอบโจทย์แบบสร้างสรรค์มากๆ มันเป็นการหยิบเอาของใกล้ตัวมาใช้เป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดงได้อย่างฉับพลันทันที แล้วมันก็ทำให้เรานึกถึงการ์ตูนญี่ปุ่นเรื่อง “นักรักโลกมายา” หรือ “หน้ากากแก้ว” ของ Suzue Miuchi ด้วย ที่บางทีคิตะจิมะ มายะ นางเอกของเรื่อง ต้องแก้โจทย์หินๆแบบนี้เวลาไปออดิชั่น
 
แต่การแสดงที่เราชอบที่สุดคือของดลฤดี ที่ทำหน้าเหยเก เหมือนจะร้องไห้ แต่ไม่ได้ร้องไห้มีน้ำตาออกมา คือใบหน้าของดลฤดีในตอนนั้น มันกระแทกใจเราอย่างรุนแรงมาก มันทำให้เรานึกถึงความเศร้าที่เราเคยประสบมาตั้งแต่เด็กๆ คือเรารู้สึกว่าความเศร้าที่เราสั่งสมมาตั้งแต่เด็ก มันได้รับการระบายออกมาเล็กน้อยในทางอ้อม ผ่านทาง magical moment เพียงชั่วไม่กี่วินาทีในการแสดงของดลฤดีน่ะ เราก็เลยรู้สึกว่าช่วงเวลานั้นมันเป็นช่วงเวลาที่วิเศษสุดๆสำหรับเรา
 
4.เราชอบการแสดงความเศร้าของดลฤดีในตอนนั้น มากกว่าการแสดงของดลฤดีในบทเลดี้แมคเบธอีกนะ และมันก็เลยทำให้เรารู้สึกว่า ดลฤดีกับณัฐญา นาคะเวช เป็นนักแสดงแบบที่เหมาะกับการแสดงภาพยนตร์แนวสมจริงแบบของ Eric Rohmer มากๆ เราว่าทั้งสองคนนี้มักจะให้การแสดงที่เป็นธรรมชาติมากๆ และการให้การแสดงที่ละเอียดอ่อนมากๆ เป็นมนุษย์มากๆ ซึ่งมันจะเหมาะมากๆถ้าหากมีกล้องมาจับอยู่ใกล้ๆ และได้บทที่เน้นสะท้อนแง่มุมที่ละเอียดอ่อนของมนุษย์ คือในขณะที่นักแสดงบางคนอาจจะเหมาะเล่นละครเวทีโรงใหญ่ overacting ตามสมควรเพื่อส่งพลังไปให้ถึงคนดูแถวหลังสุด แต่ไม่เหมาะเล่นหนัง เพราะมันจะ overacting เกินไป แต่เราว่าสองคนนี้เหมาะเล่นหนังมากๆ คือเราว่าสองคนนี้เล่นละครเวทีเก่งมากๆนะ  เพียงแต่เรารู้สึกว่า สองคนนี้มีศักยภาพบางอย่างหลบซ่อนอยู่ในตัวที่ยังไม่ได้ถูกใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่น่ะ และศักยภาพนั้นอาจจะได้ใช้ออกมาอย่างเต็มที่ถ้าหากได้เล่นหนังดีๆและบทดีๆที่เหมาะกับทั้งสองคนนี้
 
5.เราชอบการแสดง CLITORIS MONOLOGUE ในทั้งสองรอบที่เราได้ดูมากๆ รอบแรกที่เราได้ดูเป็นการแสดงของดวงใจ หิรัญศรี ที่แสดงออกมาในแบบสาวกร้านโลก ที่มองโลกอย่างเย้ยหยันหน่อยๆ มันทำให้เราตื่นตะลึงมากพอสมควรในแง่การเปลี่ยนบุคลิกภาพอย่างฉับพลันน่ะ เพราะแว่บนึงเราก็เห็นดวงใจตอบคำถามบนเวทีในแบบคนปกติ แต่พอผ่านไปไม่กี่วินาที เธอก็กลายเป็นสาวกร้านโลกไปแล้ว และมันดูน่าเชื่อถือมากๆด้วย เราก็เลยทึ่งมากที่ดวงใจสามารถเปลี่ยนบุคลิกภาพได้อย่างฉับพลันและสมจริงขนาดนี้
 
ส่วนการแสดงของสุมณฑานั้น จะออกมาในแบบอาซิ้ม และสิ่งที่เราชอบสุดๆก็คือ มันจะมีบางช่วงที่การแสดงของสุมณฑาทำให้เราขำขัน แต่อีก 5 วินาทีต่อมา มันก็ทำให้เราเศร้ามาก และทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรงมากๆ และมันก็เป็นแบบนี้หลายช่วงเลยนะ คือ “ขำ 5 วินาที สลับกับรู้สึกเจ็บปวดอย่างรุนแรง 5 วินาที” แบบนี้หลายครั้ง และเราก็ชอบการแสดงความรู้สึกเจ็บปวดแบบนี้อยู่แล้ว
 
สรุปว่าการแสดงความรู้สึกเศร้าของดลฤดี กับการแสดงความรู้สึกเจ็บปวดกับชีวิตของสุมณฑาในบางช่วงของ CLITORIS MONOLOGUE มันทำให้เรารู้สึกสงสัยว่า บางทีการที่เราอินกับการแสดงแบบนี้อย่างรุนแรงมากๆ อาจจะเป็นเพราะว่ามันเหมือนสามารถเข้าถึง “ถังบรรจุความเศร้า” ในใจเรามั้ง คือประสบการณ์ชีวิตของเรา มันมีบางช่วงที่เลวร้ายมากๆ และมันก็เหมือนกับทำให้เรามีถังบรรจุความเศร้าในใจเรา และถ้าหากเราได้ดูหนัง/ละครเวทีบางเรื่องที่สามารถนำเสนอความรู้สึกเจ็บปวดของตัวละครได้อย่างสมจริงและสอดคล้องกับชีวิตของเรา มันก็เหมือนกับว่าหนัง/ละครเวที/การแสดงนั้นสามารถเข้าถึงถังบรรจุความเศร้าในใจเรา และช่วยเจาะรูรั่วในถังนั้นเพื่อให้ความเศร้าในใจเราได้รับการระบายออกมาสักออนซ์สองออนซ์
 
ขอนอกเรื่องนิดนึง พอเราดู IN THER’S VIEW สองรอบ แล้วพบว่าเราชอบการแสดงความเจ็บปวด แต่ไม่ชอบการแสดงตลก เราก็เลยเข้าใจว่า เพราะเหตุใดเราถึงชอบหนังสารคดีเรื่อง THE CHEER AMBASSADORS (2011, Luke Cassady-Dorion) แค่ในระดับ A+10 แต่ชอบหนังสารคดีเรื่อง THE CHAMPIONS (2003, Christoph Hübner) ในระดับ A+30 คือหนังสารคดีสองเรื่องนี้เหมือนกันในแง่ที่ว่า มันติดตามชีวิตการฝึกซ้อมของนักกีฬากลุ่มนึงเหมือนกัน โดยในกรณีของ THE CHAMPIONS นั้นเป็นการติดตามชีวิตนักฟุตบอลกลุ่มนึงในเยอรมนี
 
สาเหตุสำคัญที่ทำให้เราชอบหนังสารคดีเรื่อง THE CHEER AMBASSADORS แค่ในระดับ A+10 ไม่ใช่ความผิดของผู้กำกับแต่อย่างใด แต่เป็นเพียงเพราะว่า ทีมเชียร์ลีดเดอร์ที่ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ติดตามถ่ายทำนั้น มันเกิดประสบความสำเร็จขึ้นมา หนังเรื่องนี้ก็เลยไม่ได้กระทบเราเป็นการส่วนตัว
 
แต่ในกรณีของ THE CHAMPIONS นั้น หนังเรื่องนี้ติดตามถ่ายทำชีวิตนักฟุตบอลนานหลายปี และพอช่วงท้ายๆของหนัง เราก็แทบร้องไห้ เพราะแววตาของนักฟุตบอลหลายๆคนที่ในช่วงต้นเรื่อง “เต็มไปด้วยประกายแห่งความหวัง” ว่าสักวันพวกเขาจะได้ไม่เป็นแค่ตัวสำรอง แต่ได้ก้าวขึ้นมาเป็นตัวจริง มันกลับ “เต็มไปด้วยความสิ้นหวังกับชีวิต” ในช่วงท้ายของเรื่องน่ะ นักฟุตบอลหลายคนในหนังเรื่องนี้ ต้องยอมรับกับความเป็นจริงของชีวิตที่ว่า พวกเขาเป็นได้แค่ตัวสำรองเท่านั้นแหละ และไม่มีทางได้เป็นตัวจริงหรอก ความสิ้นหวังในแววตาของนักฟุตบอลเหล่านี้ในช่วงท้ายของหนัง มันตรงกันข้ามกับในช่วงต้นเรื่องมากๆ และมันก็เลยกระทบเราอย่างรุนแรงเป็นการส่วนตัว บางทีมันอาจจะเป็นสิ่งหนึ่งที่สามารถเข้าถึงถังบรรจุความเศร้าในใจเราได้
 
สรุปว่าประเด็นเล็กๆประเด็นนึงที่เราได้จากการดู IN THER’S VIEW ก็คือมันทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น ว่าเราชอบการแสดงแบบไหนมากเป็นพิเศษ และเฉยๆกับการแสดงแนวไหน และมันทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้นว่าทำไมเราถึงอินกับหนังบางเรื่องมากเป็นพิเศษ :-)

Monday, April 21, 2014

FILMVIRUS ADAPTATION

Filmvirus Adaptation

ดวงกมลฟิล์มเฮ้าส์ (ฟิล์มไวรัส) ร่วมกับสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เชิญชม โปรแกรมภาพยนตร์ Filmviirus Adaption

ทุกวันอาทิตย์ระหว่างวันที่ 11 พฤษภาคม 2557 -25 พฤษภาคม 2557 ตั้งแต่เวลา 12:30 น. เป็นต้นไป...

ณ ห้องเรวัต พุทธินันท์ ชั้นใต้ดิน U2 หอสมุด ปรีดี พนมยงค์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

โทรศัพท์ 0-2613-3529 หรือ 0-2613-3530

ชมฟรี!!! (โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุดว่ามาชมภาพยนตร์ และกรุณาแต่งกายสุภาพ)

นี่คือโปรแกรมพิเศาที่เราจะไม่มิดเม้มว่าเราจัดมาเพื่อขายของแม้ตอนฉายเราไม่มีของจะขายก็ตาม เพราะนี่คือโปรแกรมหนังดัดแปลงจากวรรณกรรม โดยเฉพาะเล่มที่เรา สำนักพิมพ์บาปหนา Bookvirus จัดพิมพ์จำหน่าย พ่วงท้ายด้วยโปรแกรมพิเศษ ส่งมาร์เกซผู้ล่วงรับเดินทางกลับมาคอนโด ในโปรแกรมนี้พบกับ หนังที่ดัดแปลงจากเรื่องสั้นของ Joseph Conrad ไม่ให้บอกก็จะบอกว่าในเล่ม นาวานิราศที่เพิ่งพิมพ์เสร็จ หนังจากนิยายขายดีของAntonio Tabucchi หรือชื่อไทย เพลงรัตติกาลในอินเดีย หนังที่ดัดเสริมเติมแปลงจากเรื่องสั้นของHenry James เช่นกันหาอ่านได้ใน ห้าอัญมณี หนังสือที่เกือบเอาชีวิตไม่รอดของเรา และแถมพิเศษด้วยสองหนังจากนิยายสุดงดงามของการ์เบีรยล การ์เซีย มาร์เกซ ซึ่งเราไม่ได้ทำขาย แต่มีเล่มอื่นให้ได้อ่านกันใต้นามของสำนักพิมพ์บทจร

ดูแล้วชอบกรุณาหาซื้อหนังสือต้นฉบับเพิ่มเติมมาอ่านกันตามสมควรครับ

11/5/57

12.30 Amy Foster Swept From the Sea(1997, Beeban Kidron,US)
ดัดแปลงจากเรื่องสั้นของ Joseph Conrad
14.30 Nocturne Indian (1989, Alain Corneau,Fr)
ดัดแปลงจากนวนิยายของAntonio Tabucchi

18/5/57
12.30 Farewell to Ark(1981,Shuji Terayama,JP)
ดัดแปลงจาก 100 ปีแห่งความโดดเดี่ยว ของGabriel Garcia Marquez
15.00 The Man with  Enormous Wings ( 1988)
ดัดแปลงจากเรื่องสั้นของGarbriel Garcia Marguez

25/5/57

12.30 Celine and Julie Go Boating (1974, Jacques Rivette,Fr)
ดัดแปลงจากเรื่องสั้นของHenry James
 

 

Sunday, April 20, 2014

A TYPEWRITER MAN (2014, Lunchakorn Charigphate, A+20)

จริงๆแล้วเราอยากฉาย DVD (2014, สิทธิชัย แซ่เล้า, A-) แล้วต่อด้วยหนังเรื่อง A TYPEWRITER MAN (2014, ลัญฉกร จาริกพัฒน์, A+20) นะ เพราะในแง่นึง เราคิดว่าหนังเรื่อง A TYPEWRITER MAN มันสามารถใช้ในการวิจารณ์หนังเรื่อง DVD ได้เลย โดยที่ผู้สร้างไม่ได้ตั้งใจ 555 เพราะ A TYPEWRITER MAN มันแสดงให้เห็นว่า นักประพันธ์ชาย/ผู้กำกับชายบางคน มันแต่งเรื่องหรือสร้างหนังขึ้นมาเพื่อตอบสนอง romantic need หรือ sexual need ของตนเองโดยสร้างตัวละครผู้หญิงในฝันขึ้นมา และก็ให้ตัวละครผู้หญิงคนนั้นมาหลงรักผู้ชายธรรมดาๆคนนึง (ซึ่งอาจจะเป็นตัวแทนของผู้ประพันธ์ชาย/ผู้กำกับชายคนนั้น) โดยไม่พยายามทำให้นางเอกในเรื่องแต่งของตนเป็น “มนุษย์” จริงๆแต่อย่างใด
 
เราว่าพฤติกรรมที่พระเอก A TYPEWRITER MAN ทำกับนางเอกของเรื่องนั้น มันสะท้อนสิ่งที่นักประพันธ์ชาย/ผู้กำกับชายบางคนทำกับ “นางเอก” ในเรื่องที่ตนเองแต่งน่ะ คือแทนที่จะทำให้นางเอกเป็นมนุษย์จริงๆที่มีชีวิตรอบด้าน ก็แต่งเรื่องให้นางเอกมาหลงรักผู้ชายธรรมดาๆอย่างตนเอง และบิดผันชีวิตของนางเอกเสียจนขาดความเป็นมนุษย์จริงๆไป ซึ่งเราว่าสิ่งนี้จริงๆแล้วปรากฏในหนังหลายเรื่อง ทั้งหนังนักศึกษาและหนังฮอลลีวู้ด แต่หนังเรื่อง DVD อาจจะเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่เด่นชัดที่สุด เพราะพฤติกรรมของนางเอกในหนังเรื่อง DVD มันดูเป็น “ตัวละคร” ที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อตอบสนอง romantic need มากๆ มันดูไม่เป็นคนจริงๆเลย
 
แต่การสร้างหนังเพื่อตอบสนอง romantic need หรือ sexual need นี่ จริงๆแล้วมันไม่ผิดแต่อย่างใดนะ มันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง หรือเป็นสิ่งที่เราสนับสนุนให้ทำด้วยซ้ำไป เพราะคนดูอย่างเราก็ไปดูหนังเพื่อตอบสนอง romantic need หรือ sexual need เหมือนกัน มันขึ้นอยู่กับว่ารสนิยมทางเพศของเรากับผู้สร้างตรงกันหรือเปล่าเท่านั้นเอง เราไม่ได้ชอบหนังเรื่อง DVD มากนัก เพราะสาเหตุส่วนหนึ่งก็คือรสนิยมทางเพศของเรากับหนังเรื่องนี้มันไม่ได้ตรงกัน ก็แค่นั้น ในขณะที่หนังอย่าง “คิดถึงวิทยา” และ MY BROMANCE เป็นหนังที่เราไม่ชอบในหลายๆจุด แต่หนังสองเรื่องนี้มันตอบสนอง romantic need และ sexual fantasy ของเราได้อย่างตรงเป้ามากๆ 555
 
(แต่ถ้าหากพูดถึงหนังที่ตอบสนอง romantic fantasy ของเราได้อย่างตรงเป้ามากที่สุด อาจจะเป็น ALWAYS ของ Steven Spielberg)
 
 

BHOOTHNATH RETURNS (2014, Nitesh Tiwari, A+25)


BHOOTHNATH RETURNS (2014, Nitesh Tiwari, A+25)

 

ตอนแรกเรานึกว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังผีตลกน่ารักๆเกี่ยวกับมิตรภาพระหว่างผีตาแก่ (Amitabh Bachchan) กับเด็กชายตัวน้อยๆ เรานึกว่ามันจะเป็นหนังตลกหุยฮาไปเรื่อยๆ แต่ปรากฏว่าประเด็นในหนังมันเหมือนขยายออกไปเรื่อยๆ เรื่อยๆ และซีเรียสขึ้นเรื่อยๆ จนมันกลายเป็นหนังการเมืองในที่สุด ฉากที่ชอบมากในเรื่องนี้คือฉากที่ประชาชนบางส่วนไม่ยอมออกไปเลือกตั้ง แต่ออกไปปิกนิกกันในวันเลือกตั้ง (เอ๊ะ) และฉากที่ตัวละครบอกว่า ถ้าจะสู้กันอย่างแฟร์ๆในการเลือกตั้ง ก็อย่าใช้อำนาจวิเศษเข้าช่วย

LUPIN THE THIRD VS DETECTIVE CONAN: THE MOVIE (2013, Hajime Kamegaki, animation, A+15)

 
LUPIN THE THIRD VS DETECTIVE CONAN: THE MOVIE (2013, Hajime Kamegaki, animation, A+15)
 
(อันนี้เป็นการเขียนตอบนาโนกาย)
 
คือเราดูจบแล้วก็งงๆนะ ตามเนื้อเรื่องไม่ทัน เพราะเราไม่ได้ดูภาคก่อนหน้านี้
 
ส่วนสาเหตุที่ชอบถึงขั้น A+15 เพราะเราชอบเนื้อเรื่องของโคนันอยู่แล้ว เรารู้สึกว่ามันสนุกมากๆเท่าที่ดูมาทั้งหมด 4 ภาค และเราก็ชอบไอเดียของภาคนี้ด้วยที่เอา “สองจักรวาล” มาชนกัน คือเอาจักรวาลของโคนันกับจักรวาลของลูแปงมาชนกัน เพราะนี่แหละคือจักรวาลที่อยู่ในหัวของเรา เราชอบจินตนาการแบบนี้เสมอว่า เราอยากเอาตัวละครในหนัง A มาตบกับตัวละครในหนัง B และมาตบกับตัวละครในหนัง C พร้อมๆกัน เราก็เลยชอบไอเดียตรงส่วนนี้มากๆ
 
อีกสิ่งที่ชอบสุดๆในหนังเรื่องนี้ก็คือ การเอาตัวละคร “กึ่งนางเอกกึ่งนางมารร้าย” ในสองจักรวาลมาปะทะกันน่ะ คือในทั้งจักรวาลของลูแปงกับจักรวาลของโคนัน มันมีตัวละครหญิงที่มีบุคลิกแบบนี้เหมือนกัน และการเอาตัวละครผู้หญิงร้ายๆ (แต่จริงๆแล้วจิตใจดี) ในสองจักรวาลนี้มาปะทะกัน มันเป็นอะไรที่ฟินมากๆสำหรับเรา และมันทำให้เรานึกถึงตัวละคร Black Widow ใน CAPTAIN AMERICA: THE WINTER SOLDIER (2014, Anthony Russo + Joe Russo, A+20) ด้วย อยากให้ Black Widow หลุดเข้ามาอยู่ในจักรวาลของหนังการ์ตูนเรื่องนี้ด้วยอีกตัว จะได้ตบกันแหลก
 
หนังเรื่องนี้พาดพิงถึงวงการหนังโดยตรงด้วยนะ เพราะตัวละครตัวนึงในหนังเรื่องนี้ใช้ชื่อว่า Alan Smithee 555555
 
 

SCISSORS EGGS SILK (2014, Bin Banloerit, A+5)

SCISSORS EGGS SILK (2014, Bin Banloerit, A+5)
กรรไกร ไข่ ผ้าไหม
 
(อันนี้เป็นการเขียนตอบ filmsick)
 
“กรรไกร ไข่ ผ้าไหม” เราให้ประมาณ A+5 ค่ะ คือมันมีรายละเอียดที่เราไม่ชอบเยอะมาก แต่สิ่งที่เราชอบมากๆในหนังเรื่องนี้ก็คือ “โครงสร้าง” ในช่วงประมาณครึ่งแรกของเรื่อง ที่มันเป็นการจับ moments ต่างๆในโรงเรียนแห่งหนึ่งโดยไม่มีเนื้อเรื่องชัดเจน คือในช่วงครึ่งแรกของเรื่องมันเหมือนไม่เน้น “การเล่าเรื่อง” น่ะ แต่เป็นการนำเสนอฉากสั้นๆของคนต่างๆมากมายในโรงเรียนไปเรื่อยๆ ซึ่งเราจะชอบอะไรแบบนี้มากๆ เราชอบ “การไม่เล่าเรื่อง” ของมันในช่วงครึ่งแรกมากๆ แต่พอช่วงครึ่งหลังมันถึงมีเส้นเรื่องชัดเจนขึ้นมาบ้าง
 
แต่ถึงเราจะชอบ “โครงสร้าง” บางส่วนของมันมากๆ แต่เนื้อหาของมันเป็นปัญหามากพอสมควรเลยนะ คือไอ้ moments ต่างๆที่มันใส่เข้ามา มันไม่ใช่ moments ที่เป็นธรรมชาติหรือสมจริงน่ะ แต่มันเป็น moments คลิเช่ๆ หรือเป็น moments ที่หวังผลในทางอารมณ์อย่างชัดเจนเกินไป หรือไม่ก็เป็นมุกตลกฝืดๆ หรือเป็น moments ที่เราไม่อินด้วย เราก็เลยรู้สึกว่าเราไม่ชอบหนังมากๆในส่วนของ contents แต่ในส่วน form เราชอบมันมากพอสมควรในช่วงครึ่งแรก คือหนังเรื่องนี้มันเหมือนเอาขนมดาษดื่นไปใส่ในขวดโหลที่สวยถูกใจเราน่ะ เราชอบขวด แต่เราไม่ชอบสิ่งที่อยู่ข้างในขวด
 
แต่มันก็มีบางโมเมนต์ที่เราชอบมากนะ เราชอบแก๊งเด็กนักเรียนหญิงที่อยู่ประมาณป.5 ที่ตามจีบนักตีกลอง และเราก็ชอบ moment ที่ราตรี วิทวัสหาว่าลูกชายพูดโกหก ทั้งๆที่ลูกชายพูดความจริงด้วย
 
คือถ้าหนังเรื่องนี้มันทำดีๆ มันจะออกมาเข้าทางเรามากเลยนะ คือถ้าหากมันนำเสนอภาพชีวิตเล็กๆน้อยๆในโรงเรียนแห่งนึง โดยเน้นจับทั้ง moments ที่ไม่สลักสำคัญ และ moments ที่น่าประทับใจมาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน โดยไม่ต้องมีการเล่าเรื่อง และไม่ต้องมีตัวละครหลัก มีแต่ moments ของตัวละครเล็กๆน้อยๆในโรงเรียนมาต่อกันไปเรื่อยๆ มันจะออกมาเข้าทางเรามากๆ และมันอาจจะเอาไปเปรียบเทียบได้กับหนังอย่าง THE COMPANY (2003, Robert Altman), AMARCORD (1973, Federico Fellini) หรือ THE PROUD ONES (1980, Claude Chabrol) ที่เป็นการเอา moments ต่างๆมาต่อๆกันโดยไม่ต้องมีเส้นเรื่องชัดเจน
 
สรุปว่าดูหนังเรื่องนี้แล้วอยากให้มีคนทำหนังที่ใช้โครงสร้างแบบเดียวกัน แต่ทำให้มันออกมาเป็น “impressionistic account of student life” แทนที่จะเป็น “cliche account of student life” แบบนี้
 
 

UNLUCKY DAY

 
วันเสาร์ที่ 19 เม.ย.ที่ผ่านมาเป็นวันซวยวันนึงของดิฉันค่ะ ดิฉันตั้งใจจะไปดูหนัง 3 เรื่องที่ห้องสมุดธรรมศาสตร์ ซึ่งได้แก่ THE KID WITH A BIKE, LINHA DE PASSE และ CODE UNKNOWN ตามโปรแกรมที่ห้องสมุดธรรมศาสตร์แจกมา ดิฉันก็นั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างไปในราคา 100 บาท พอไปถึงแล้วปรากฏว่าเจ้าหน้าที่ตรงทางเข้าห้องสมุดบอกว่า วันนี้ไม่มีฉายหนัง เพราะโปรแกรมได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว ดิฉันก็ถามว่ามันเปลี่ยนไปยังไง เจ้าหน้าที่ก็บอกว่าไม่รู้
 
ดิฉันก็เลยนั่งมอเตอร์ไซค์รับจ้างกลับมาในราคา 100 บาทค่ะ สรุปว่าวันนี้เสียตังค์ไป 200 บาทฟรีๆ รู้งี้นอนอยู่กับบ้านเฉยๆดีกว่า
 
หลังจากนั้นดิฉันก็ไปที่เซ็นจูรี่ เพราะเห็นในเว็บไซต์ของ Century Movie Plazaบอกว่า “กรรไกร ไข่ ผ้าไหม” มีฉายรอบ 13.10 น. ปรากฏว่าพอไปถึงโรงหนัง มันกลายเป็นรอบ 14.20 กับ 16.25 น. แต่ตอนนั้นเป็นเวลาประมาณ 13.00 น. เพราะฉะนั้นถ้าหากดิฉันจะดูหนังเรื่องนี้รอบ 14.20 น. ดิฉันก็ต้องแกร่วอยู่ในเซ็นจูรี่เป็นเวลาประมาณชั่วโมงครึ่ง ดิฉันก็เลยตัดสินใจซื้อตั๋ว NEED FOR SPEED  เวอร์ชั่นพากย์ไทยแทน รอบประมาณบ่ายโมงกว่า แล้วก็ซื้อตั๋ว “กรรไกร ไข่ ผ้าไหม” รอบ 16.25 น. ปรากฏว่าพอซื้อตั๋วเสร็จ คนขายก็บอกว่า ”เนื่องจากคุณซื้อตั๋วหนังรอบนี้เป็นคนแรก เราก็เลยขอแจ้งว่า ถ้าหากพอถึงเวลาฉาย แล้วมีคนซื้อตั๋วไม่ถึง 3 ที่นั่ง เราจะงดฉายรอบนั้นนะคะ” เพราะฉะนั้นพอดิฉันดู NEED FOR SPEED (A+) เสร็จ ดิฉันก็ต้องรอลุ้นค่ะว่า จะได้ดู “กรรไกร ไข่ ผ้าไหม” หรือเปล่า โชคยังดีที่พอถึงเวลาฉายจริง หนังเรื่องนี้มีคนดูทั้งหมด 6 คน รวมทั้งตัวดิฉันเองด้วย หนังก็เลยได้ฉาย
 
หลังจากนั้นดิฉันก็ไปดู LUPIN THE THIRD VS. DETECTIVE CONAN ที่เซ็นทรัลเวิลด์ ก็ซื้อตั๋วรอบ 19.20 น.ไป ปรากฏว่าพอตั๋วออกมา มันเป็นรอบ 21.40 น. ดิฉันก็เลยขอเปลี่ยนตั๋ว โชคดีที่พนักงานให้เปลี่ยนโดยไม่มีดราม่าอะไร จบ
 

Thursday, April 17, 2014

CARNIVORE EATER (2014, Tanachporn Nakprom, 21min, A+30)

 
CARNIVORE EATER (2014, Tanachporn Nakprom, 21min, A+30)
ป่าหลังบ้านของเหมียว (ธนัชพร นาคพรหม)
 
ดูหนังเรื่องนี้แล้วนึกถึงสิ่งต่างๆดังต่อไปนี้
 
1.เป็นหนังสยองขวัญที่สุดยอดมากๆสำหรับเรา ทำได้ถึงมากๆ ลุ้นระทึกมากๆ คุมบรรยากาศได้ดีมากๆ คุมจังหวะได้ดีมากๆ
 
2.เป็นหนังสยองขวัญแบบที่เล่นกับความกลัวที่เกิดจากการกระตุ้นจินตนาการของคนดู แทนที่จะเล่นกับความตกใจหรือความน่าขยะแขยง เพราะในหนังเรื่องนี้เราแทบไม่ได้เห็นผีหรือสัตว์ประหลาดตรงๆเลย แต่หนังกระตุ้นให้คนดูจินตนาการไปเองเกี่ยวกับผีหรือสัตว์ประหลาดตัวนี้ ซึ่งมันเป็นวิธีการที่ดีมากๆ ในขณะที่หนังสยองขวัญบางเรื่องไม่สามารถทำสิ่งนี้ได้สำเร็จ และหันไปใช้วิธีทำให้คนดู “ตกใจ” ด้วยการปล่อยจังหวะตุ้งแช่ หรือหันไปใช้วิธีเน้นสร้างความน่าขยะแขยงด้วยการสร้างภาพแหวะๆแทน
 
หนังเรื่องนี้ประสบความสำเร็จมากๆในการสร้างรูปเงาของความน่ากลัวในห้วงจินตนาการของคนดู
 
3. ก่อนที่ผีในหนังเรื่องนี้จะปรากฏตัวออกมา เราจินตนาการไปว่าผีตัวนี้อาจรูปร่างเหมือนผู้ร้ายใน JEEPERS CREEPERS (2001, Victor Salva, A+30)
 
4.ฉากที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ ซึ่งคงติดอันดับหนึ่งในฉากที่ชอบที่สุดในปีนี้ คือฉาก “เงา” เป็นฉากที่น่ากลัวโคตรๆ น่ากลัวมากๆๆๆๆๆๆๆๆ ดูแล้วฉี่แทบราด ดูแล้วเสียวสันหลังวาบจริงๆ ทั้งๆที่เป็นฉากที่เกิดขึ้นในตอนกลางวันแสกๆ ฉากนี้ทำให้เรานึกไปถึงหนังผียุคเก่าที่ชอบมีการเล่นกับเงาได้อย่างน่าประทับใจ อย่าง NOSFERATU (1922, FW Murnau) และ VAMPYR (1932, Carl Theodor Dreyer) ด้วย
 
เราขอแนะนำให้เพื่อนทุกคนที่มีโอกาสดูหนังเรื่องนี้ จงดูฉาก “เงา” นี้ในห้องนอนคนเดียวตอนเที่ยงคืน 55555
 
5.พอดูจบแล้วก็อยากให้มีการเอาหนังเรื่องนี้ไปขยายเป็นหนังใหญ่หรือละครทีวีแบบ TWIN PEAKS (David Lynch) มากๆ เพราะหนังเรื่องนี้สร้างบรรยากาศของหมู่บ้านนี้ได้หลอนมากๆ เราก็เลยนึกไปถึง TWIN PEAKS ที่มีการสร้างบรรยากาศของเมืองเล็กๆในชนบทได้หลอนมากๆ และมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องเหนือธรรมชาติและอาชญากรรมเหมือนกัน แต่ถ้าหากเอาไปขยายแบบ TWIN PEAKS หนังคงต้องสร้างผีตัวอื่นๆ และเรื่องลึกลับอื่นๆในหมู่บ้านเข้าไปด้วย ซึ่งเราว่าเป็นสิ่งที่น่าทำมากๆ
 

Wednesday, April 16, 2014

ICT SILPAKORN FILM FESTIVAL 2014

 
ICT SILPAKORN FILM FESTIVAL 2014
 
1.OLDS (Watcharapol Saengarunroj, 26min, A+30)
OLDS (วัชรพล แสงอรุณโรจน์)
ดูแล้วร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเพราะอะไร แต่มันโดนใจเรามากๆ ชอบการตัดสินใจของตัวละครในเรื่องคนรักมากๆ มันเศร้ามากๆสำหรับเรา ชอบการที่เราไม่ค่อยได้เห็นหน้าตัวละครชัดๆในบางช่วงของเรื่อง แต่เราได้เห็นหน้าเขาส่องกระจกหลังจากเขาตัดสินใจเรื่องคนรักแล้ว เขาไม่ได้ร้องไห้ในฉากนั้น และนั่นอาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้เราเป็นฝ่ายที่ร้องไห้เสียเอง
 
จุดนี้ของหนังทำให้นึกถึงสิ่งที่ Ray Carney เขียนไว้ในหนังสือ “ฟิล์มไวรัส 2” มากๆ Ray Carney เขียนว่า
 
“ฉากยิ่งใหญ่คือฉากที่ตัวละครไม่ร้องไห้ แต่คนที่ร้องไห้กลับเป็นคนดู ซึ่งมักจะเป็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นบ่อยเมื่อตัวละครปฏิเสธไม่ยอมร้องเอง เพราะตัว Joan of Arc ในหนังของ Carl Theodor Dreyer ไม่ยอมร้องไห้ นั่นกลับเป็นเหตุให้เราร้องไห้เอง ความจริงที่ว่าอิงเกอร์ในหนังเรื่อง ORDET (1954, Carl Theodor Dreyer) พยายามทำเป็นมีกำลังใจ แม้เมื่อมีเรื่องร้ายๆเกิดขึ้น ช่วยเป็นสาเหตุให้เราหลงรักเธอ”
 
การถ่ายตัวละครเลือนๆในฉากจบของ OLDS ก็โดนใจเรามากๆ เราไม่รู้เหมือนกันว่ามันต้องการสื่อถึงอะไร แต่มันทำให้เรารู้สึกถึงความโดดเดี่ยวเปลี่ยวเหงาของตัวละครตัวนี้มากๆ ชีวิตของคนตัวเล็กๆในสังคมที่ต้องดำเนินไปอย่างเหงาๆ ไม่มีคนรัก และอาจจะไม่มีอนาคตที่ร่ำรวย และความสัมพันธ์ของพระเอกกับเพื่อนๆและกับสมาชิกครอบครัวก็ไม่ได้บ่งชี้ถึงความสุขสนุกสนานหรือบ่งชี้ว่าเพื่อนๆกับสมาชิกครอบครัวสามารถเป็นที่พึ่งทางใจของเขาได้ด้วย
 
ย่อหน้านี้อาจจะนอกเรื่องนิดนึง แต่เราอยากจะบันทึกว่า มันมี “หนังเหงาๆ” ที่มันโดนเราเป็นการส่วนตัวอย่างรุนแรง กับ “หนังเหงาๆ” ที่เราชื่นชอบมันในฐานะหนังดี แต่มันไม่โดนเราเป็นการส่วนตัว หนังอย่าง OLDS, AFTERNOON TIMES (2005, Tossapol Boonsinsukh), BU SU (1987, Jun Ichikawa), THE FIRE WITHIN (1963, Louis Malle), THE GREEN RAY (1986, Eric Rohmer), RESTLESS (2009, Laurent Perreau) และ SLEEPING BEAUTY (2011, Julia Leigh) เป็นหนังที่โดนเราเป็นการส่วนตัวอย่างรุนแรงมาก เราชอบความรู้สึกโดดเดี่ยวของตัวละครในหนัง 7 เรื่องนี้มากๆ ในขณะที่หนังอย่าง HER (Spike Jonze), INSIDE LLEWYN DAVIS (2013, Joel Coen + Ethan Coen), YOUNG AND BEAUTIFUL (2013, Francois Ozon) และหนังเหงาๆบางเรื่องของ Tsai Ming-liang จัดเป็นหนังกลุ่มที่เราชอบมากๆ แต่เราไม่อินกับมันเป็นการส่วนตัว ซึ่งเราก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าเป็นเพราะอะไร
 
2.FUNNY GHOST FILM, FUNNY GHOST FILM? (Pissanupong Rattana, 43min, A+30)
หนังผีแสนสนุก หนังผีแสนสนุก? (พิศณุพงษ์ รัตนะ)
 
3.ENDING STRAIGHT WORLD (Tanaset Siriwattanadirek, 30min, A+30)
ลากันที! โลกนี้Heครอง (ธนเสฏฐ์ ศิริวัฒนาดิเรก)
 
4.A SECRET TO MY MOM (Siriluck Sangnam, 25min, A+30)
A SECRET TO MY MOM (ศิริลักษณ์ แสงน้ำ)
 
5./’spel,baund/ (Nat Iamkantongsuk, 28min, A+30)
/’spel,baund/ (ณัฏฐ์ เอี่ยมขันทองสุข)
 
6.CARNIVORE EATER (Thanachporn Nakprom, 21min, A+30)
ป่าหลังบ้านของเหมียว (ธนัชพร นาคพรหม)
 
7.AFFIRMATIVE SENTENCE (Adisak Chanchaipoom, 22min, A+30)
ประโยคบอกเล่า (อดิศักดิ์ จันทร์ชัยภูมิ)
 
8.OBLITERATE (Kittanai Tang, 23min, A+30)
เงาหลอนซ่อนอดีต (กฤตนัยน์ แซ่ตั้ง)
 
9.MY GARDEN IS (Katathorn Suknil, 40min, A+20)
สวนสนุก (คทาธร สุขนิล)
 
10.A TYPEWRITER MAN (Lunchakorn Charigphate, 33min, A+20)
A TYPEWRITER MAN (ลัญฉกร จาริกพัฒน์)
 
11.THEY ASKED IF MY STOOLS WERE REGULAR (Narisara Wanwang, 31min, A+20)
THEY ASKED IF MY STOOLS WERE REGULAR (นริศรา วันหวัง)
 
12.MINE ROOM (Sajjathorn Kamsuwan, 35min, A+20)
MINE ROOM (สัจจธร กำสุวรรณ)
 
13.MASCOT (Pachwarang Numbua, 26min, A+20)
MASCOT (พัชวรางค์ นุ่มบัว)
 
14.IS THERE ARE THERE (Yanisa Pongchaipaibool, 23min, A+15)
IS THERE ARE THERE (ญาณิศา พงศ์ชัยไพบูลย์)
 
15.SHADOW (Natee Chaweewong, 29min, A+15)
เงา (นที ฉวีวงษ์)
 
16.THE RABBIT MOON (Pafun Baipo, 22min, A+15)
กระต่ายหมายจันท์ (พาฝัน ใบโพธิ์)
 
17.SOUND OF HAPPINESS (Jeerawat Upapong, 28min, A+15)
เสียงเหล่านั้น (จีรวัฒน์ อุปพงศ์)
 
18.REST IN PEACE (Nontakorn Padpo, 45min, A+10)
ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายพระเอกตายตอนจบ (นนทกร ผัดโพธิ์)
 
19.YESTERDAY...MEMORIES (Nawarit Mungnam, 25min, A+10)
เมื่อวาน...ความทรงจำ (นวฤทธิ์ มุงน้ำ)
 
20.MASCULINITY (Nudtida Ut-amart, 27min, A+10)
ชาติชาย (นัดฐิดา อุตอามาตย์)
 
21.THE PERFMAN (Kamoltip Sangkawutchaikul, animation, 9min, A+10)
THE PERFMAN (กมลทิพย์ สังขวุฒิชัยกุล)
 
22.THE DISAPPEARED (Peerapol Jirapathomsakul, 29min, A+10)
ส่วนที่หาย (พีรพล จิรปฐมสกุล)
 
23.SARANG HAMNEEDA, WANNA TELL YOU I LOVE YOU (Jeerawan Phan-in, 36min, A+10)
ซารางฮัมนีดา อยากบอกว่าฉันรักคุณ (จีรวรรณ พันธุ์อินทร์)
 
24.MAY THE YEAR AHEAD BRINGS YOU GOOD LUCK (Ornnalin Techapoowapat, documentary, 12min, A+5)
MAY THE YEAR AHEAD BRINGS YOU GOOD LUCK (อรนลิน เตชะภูวภัทร)
 
25.2525 (Pattarin Chaisupasakul, 27min, A+)
๒๕๒๕ (ภัทริน ชัยศุภสกุล)
 
26.ORDINARYGIRL (Siree Suwan, 28min, A+)
ORDINARYGIRL (สิรี สุวรรณ)
 
27.SORRY DAD, I AM ME (Chatkwan Yanyongyuth, 24min, A+)
SORRY DAD, I AM ME (ฉัตรขวัญ ยรรยงยุทธ)
 
28.SECRET TRICKS (Wilawal Cheewonchoatbundit, 26min, A+)
พลิกรัก (วิลาวัลย์ ชีวันโชติบัณฑิต)
 
29.MOOGROB (Yarawee Pootaworn, 18min, A+)
หมูกรอบ (ญารวี ภูถาวร)
 
30.MY BEST MANGA (Sthapat Rongkapun, 23min, A+)
ศึกเกมรัก ลูกขนไก่สะท้านฟ้า (สถาปัตย์ รงคพรรณ์)
 
31.EASTER EVE (Chanagarn Luewipun, 14min, A+/A)
EASTER EVE (ชนากานต์ ลือวิพันธ์)
 
32.TROUBLE WITH MY GIRL (Sornyada Srilalert, 17min, A+/A)
วุ่นวายมายเกิร์ล (ษรญาดา ศรีลาเลิศ)
 
33.GIVE ME BACK (Weerakit Jitsereepong, 19min, A)
วิ่งระห่ำ ทวงกระฉูด (วีรกิจ จิตรเสรีพงศ์)
 
34.RABBITS AND TURTLES (Suthasinee Nukulkit, animation, 6min, A)
กระต่ายกับเต่า (สุธาสินี นุกูลกิจ)
 
35.IN MY MY (Jaitdilok Maitrawattana, 22min, A/A-)
IN MY MY (เจตดิลก ไม้ตราวัฒนา)
 
36.MANIT (Benjawan Srilalert, 13min, A/A-)
มานิต (เบญจวรรณ ศรีลาเลิศ)
 
37.A PART OF ZEN (Nutnicha Pipitwanichkarn, 21min, A/A-)
อะพาร์ทออฟเจิน (ณัฐณิชา พิพิธวณิชการ)
 
38.WHEN THE WIND COMES (Nutnalinna Kittiwettayanusorn, 24min, A-)
WHEN THE WIND COMES (นัทนลินนา กิตติเวทยานุสรณ์)
 
39.IMAGINATION (Siripun Rattanasomchoak, 31min, A-)
มโนคติ (ศิริพรรณ รัตนสมโชค)
 
40.PROFILE (Sittichai Amornsiriwong, 18min, A-)
PROFILE (สิทธิชัย อมรศิริวงศ์)
 
41.DVD (Sittichai Saelao, 37min, A-)
DVD (สิทธิชัย แซ่เล้า)
 
42.RUN-ON (Kritsakorn Mapueg, 22min, A-)
RUN-ON (กฤษกร มาเผือก)
 
43.OVERSHADOW (Papawee Hongcherdchai, animation, 14min, A-)
OVERSHADOW (ปภาวี หงส์เชิดชัย)
 
44.THE FREEDOM (Kittipat Techatararuck, 22min, A-/B+)
THE FREEDOM (กิตติภัทร์ เตชะธรารักษ์)
 
45.SPACE (Amornrat Lapun, 11min, B+ )
SPACE (อมรรัตน์ หล้าพันธ์)
 
46.I AM SECURITHIEF (Artit Anuntnart, 30min, B- )
มิตรฉาชีพ (อาทิตย์ อนันต์นาท)