THE HUNDRED-FOOT JOURNEY (2014, Lasse Hallström, A+25)
SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
ความรู้สึกที่มีต่อหนังเรื่องนี้
1.ดูแล้วนึกถึง HACHI: A DOG’S TALE (2009, A+30) ของผู้กำกับคนเดียวกัน
ในแง่ที่ว่า หนังสองเรื่องนี้เป็นหนังแนวที่เราเกลียด แต่ผู้กำกับสามารถทำมันให้ออกมาในแบบที่ทำให้เรารู้สึกดีกับมันมากๆ
ซึ่งเราก็ต้องยกความดีความชอบให้กับผู้กำกับจริงๆ
คือ HACHI: A DOG’S TALE เป็นหนังเกี่ยวกับหมาที่จงใจเรียกน้ำตาผู้ชมน่ะ
แต่เราเกลียดหมา และโดยปกติแล้วเราก็เกลียดหนังที่จงใจเรียกน้ำตาผู้ชมด้วย
(อย่างเช่น THE LETTER ของผอูน จันทรศิริ) แต่ปรากฏว่า HACHI
ประสบความสำเร็จในการทำให้เราร้องไห้ได้จริงๆ เราร้องไห้ในฉากที่ Joan
Allen เดินมาที่สถานีแล้วพบว่าหมาฮาชิยังมารอริชาร์ด เกียร์อยู่
ทั้งๆที่ริชาร์ด เกียร์ตายไปสิบปีแล้วหรืออะไรทำนองนี้ ถ้าจำไม่ผิด
ส่วน THE HUNDRED-FOOT JOURNEY เป็นหนังโลกสวย
สูตรสำเร็จมากๆ บางฉากในหนังเรื่องนี้นึกว่าโฆษณา มีการถ่ายภาพสวยๆ
จังหวะสโลว์โมชั่นเล็กน้อย ผู้คนยิ้มระรื่น เหตุการณ์ร้ายแรงต่างๆในเรื่องไม่ได้ถูกขยี้อารมณ์ในทางลบมากเท่าที่ควร
อย่างเช่นการที่แม่พระเอกถูกไฟคลอกตาย คือถ้าเป็นในหนังโดยทั่วไปแล้ว
ตัวละครในครอบครัวนี้คงจะ trauma มากๆไปจนจบเรื่อง
แต่หนังกลับแทบไม่ได้นำเสนอ trauma ของครอบครัวนี้ที่มีต่อเหตุการณ์ในอินเดียเลย
มันเหมือนกับว่าเหตุการณ์ที่แม่ถูกไฟคลอกตายเพราะเหตุผลทางการเมืองเป็นสิ่งที่พวกเขาสามารถลืมได้โดยง่าย
ยกเว้นเพียงแต่ตัวพ่อเท่านั้น
คือตามหลักเหตุผลแล้ว เราควรจะเกลียดหนังเรื่องนี้มากๆน่ะ
เพราะโดยปกติแล้วเราชอบหนัง feel bad มากกว่า
แต่เรากลับพบว่าเราแทบไม่รู้สึกต่อต้านหนังเรื่องนี้เลย เราก็เลยรู้สึกว่า Lasse
Hallström แม่งเก่งจริงๆ
ที่สามารถทำให้เราชอบในสิ่งที่โดยปกติแล้วเรามักจะเกลียดได้
2.จุดที่เราซึ้งมากๆในช่วงกลางเรื่อง ก็คือการกระทำของ Madame Mallory (Helen
Mirren) น่ะ เราชอบตัวละครที่มีจริยธรรมแบบนี้
หรือตัวละครที่ดูเหมือนนางมารร้ายแต่จริงๆแล้วเป็นคนดีน่ะ (เพราะเราเกลียดพวก “คนดี”
ที่จริงๆแล้วแม่งเหี้ย) คือถึงแม้ว่า Madame Mallory จะเป็นคนไม่ดี
กลั่นแกล้งคู่แข่งด้วยวิธีการต่างๆ แต่พอเกิดเหตุการณ์บางอย่างขึ้น
มันก็ทดสอบเธอได้ว่า จริงๆแล้วธาตุแท้เธอเป็นคนอย่างไร
จุดนี้ของหนังก็เลยทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้มากๆ
3.อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้มากๆ
เพราะเราเอามันไปเปรียบเทียบกับ WHIPLASH (2014, Damien Chazelle, A+25) น่ะ คือเราไม่อินกับ WHIPLASH เพราะเราไม่อินกับตัวละครที่
“อยากโด่งดัง” น่ะ แต่เราชอบพระเอกของ WHIPLASH ในแง่ที่ว่าเป็นคน
“ตั้งใจจริงในการทำงาน” นะ คือเราชอบคนที่ขยันขันแข็ง, เอาจริงเอาจัง,
มุ่งมั่นในการทำงานมากๆ แต่เราจะชอบคนที่ “ตั้งใจทำงาน” เพราะ “รักงานที่ทำ”
แต่ไม่ใช่คนที่ตั้งใจทำงานเพราะกูจะได้อยู่เหนือคนอื่นๆน่ะ คือเราจะไม่ชอบคนที่ “อยากโด่งดัง”,
“อยากได้รางวัล” หรือ “อยากเป็นที่หนึ่ง” หรือคนที่ competitive มากๆ มองคนอื่นๆเป็นคู่แข่งหรือเป็นศัตรูตลอดเวลา
เพราะฉะนั้นเราก็เลยไม่อินกับ WHIPLASH เท่าไหร่ คือในชีวิตจริงคนเรามันต้องแข่งขันกันเพื่อความอยู่รอดก็จริง
เพราะฉะนั้นการมุ่งมั่นเพื่อจะเอาชนะเพื่อ “ความอยู่รอด”
มันก็เลยเป็นสิ่งที่เรายอมรับได้ แต่การมุ่งมั่นเพื่อจะเอาชนะเพื่อ “กูจะได้เป็นที่หนึ่ง”
มันเป็นสิ่งที่เราไม่อินด้วยน่ะ คือถ้าทำเพื่อความอยู่รอด เราโอเค
แต่ถ้าทำเพื่อความโด่งดัง เราไม่โอเค
ในทางตรงกันข้าม พระเอกของ THE HUNDRED-FOOT JOURNEY จะเข้าทางเรามากกว่า
คือเป็นคนที่ตั้งอกตั้งใจในการทำงาน เพราะรักงานที่ทำ มากกว่าเป็นเพราะว่าเขากระเหี้ยนกระหือรือที่จะโด่งดังซะเหลือเกิน
แต่ตัวละครประเภทที่เราชอบที่สุด
ก็คือตัวละครที่ไม่สนใจการแข่งขันอะไรอีกต่อไป ซึ่งก็คือนางเอกของหนังเรื่อง WORLDMASTER (1994, Zoran Solomun,
Germany, A+30) กับนางเอกของหนังเรื่อง STRONG SHOULDERS
(2003, Ursula Meier, Switzerland, A+30) นางเอกของหนังเรื่อง WORLDMASTER
ต้องแข่งขันเล่นดนตรีบนเวที แต่เธอกลับนั่งเฉยๆ ไม่ยอมเล่นดนตรีบนเวที
เพราะสภาพจิตเธอไม่ไหวอีกต่อไป (ถ้าจำไม่ผิด) ส่วนนางเอกของหนังเรื่อง STRONG
SHOULDERS เป็นเด็กสาววัยรุ่นที่ต้องการจะชนะการแข่งขันวิ่งแข่ง
เธอก็เลยพยายามจะมีเซ็กส์กับนักกีฬาหนุ่มหล่อ เพราะเธอเชื่อว่า ถ้าเธอตั้งครรภ์ขณะลงแข่งขัน
ฮอร์โมนเพศหญิงเธอจะพุ่งสูง และจะทำให้เธอวิ่งได้เร็วขึ้น แล้วพอเธอชนะการแข่งขัน
เธอค่อยไปทำแท้ง อย่างไรก็ดี ในที่สุดเธอก็ตัดสินใจไม่ลงแข่งขัน
และหันไปวิ่งเล่นในทุ่งหญ้าแทน
สรุปว่าความ competitive ของตัวละครเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เราอินกับหนังแต่ละเรื่อง
ตัวละครใน WHIPLASH มีความ competitive สูงมาก เราก็เลยอินน้อย ตัวละครใน THE HUNDRED-FOOT JOURNEY มีความ competitive ในระดับปานกลาง (หมายถึงตัว Madame
Mallory ด้วย) เราก็เลยอินมากขึ้น ส่วนตัวละครใน WORLDMASTER
กับ STRONG SHOULDERS พบว่าตัวเองไม่ต้องการแข่งขันเหี้ยอะไรอีกต่อไปแล้วทั้งนั้น
เราก็เลยอินกับหนังสองเรื่องนี้อย่างรุนแรงที่สุด
4.แต่สาเหตุที่ทำให้เราไม่ชอบ THE HUNDRED-FOOT JOURNEY ในระดับ A+30
เพราะเราไม่อินกับ “ความผูกพันกับบ้านเก่า” ของพระเอกน่ะ
คือพระเอกในหนังเรื่องนี้ได้กินอาหารอินเดีย แล้วก็เลยนึกถึงบ้านเก่า อยากกลับมาอยู่กับคนในครอบครัว
หรืออะไรทำนองนี้ ซึ่งเราจะไม่อินกับตัวละครประเภทนี้อย่างรุนแรงมากๆจ้ะ
คุณสมเกียรติ ชินตระกูลวัฒนะ เขียนถึงหนังเรื่องนี้ไว้ในนิตยสาร FLICKZ เล่มสองด้วยนะ
(นิตยสารที่แจกฟรีตามโรงหนัง)
เผื่อถ้าใครอยากอ่านบทวิจารณ์อื่นๆเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ ก็ลองอ่านใน FLICKZ
ได้
No comments:
Post a Comment