SO BE IT เอวัง (2014, Kongdej Jaturanrasmee,
documentary, A+30)
ความรู้สึกที่มีต่อภาพยนตร์เรื่องนี้
1.สาเหตุหลักที่เราชอบภาพยนตร์เรื่องนี้มากๆ
อาจจะเป็นเพราะว่าเราไม่ได้สนใจว่าหนังเรื่องนี้กับ “นิทานเรื่องสักกะและปุระ”
ตั้งใจจะสอนอะไร แต่เรามีมีความสุขกับการดูหนังเรื่องนี้
เพราะเรามองว่าหนังเรื่องนี้สอดคล้องกับความเชื่อบางอย่างของเรา
ถึงแม้ว่าความเชื่อนั้นอาจจะไม่ใช่จุดประสงค์ของผู้สร้างหนังและผู้เล่านิทาน 555
ความเชื่อนั้นของเราก็คือความเชื่อที่ว่า “มนุษย์ทุกคนแตกต่างกัน
และสิ่งที่ดีหรือเหมาะสมกับมนุษย์ A อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีหรือเหมาะสมกับมนุษย์
B ก็ได้ เพราะฉะนั้นถึงแม้ศาสนาอาจจะเป็นสิ่งที่ดีหรือเหมาะสมกับมนุษย์
A ศาสนาก็อาจจะไม่ใช่สิ่งที่ดีหรือเหมาะสมกับมนุษย์ B
ก็ได้”
คือหนังเรื่อง “เอวัง”
มันอาจจะไม่ได้ตั้งใจบอกคนดูอย่างที่เราเชื่อหรอก
แต่มันก็มีหลายอย่างในหนังที่มันไปกันได้กับความเชื่อของเรา และแม้แต่ตัวนิทานเรื่องสักกะและปุระเองนั้น
เราก็ชอบมากๆ เราไม่เคยได้ยินนิทานเรื่องนี้มาก่อนเลย
และเราไม่รู้หรือไม่สนใจด้วยว่าจุดประสงค์จริงๆของนิทานเรื่องนี้คืออะไร
แต่เรามองว่าสิ่งที่นิทานเรื่องนี้เล่ามันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้จริง
และมันสอดคล้องกับความเชื่อของเราที่ว่า “คนทุกคนแตกต่างกัน
และที่ทางที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคนก็แตกต่างกัน บางคนต้องใช้เวลาเรียนรู้
ลองผิดลองถูก ก่อนจะพบที่ทางที่เหมาะสมสำหรับตัวเอง
และไม่มีเส้นทางใดในชีวิตที่จะให้คุณสมหวังได้ในทุกอย่าง ถ้าคุณเลือกเส้นทางชีวิตแบบ
A คุณก็จะสมหวังกับการได้ความสุขแบบที่หนึ่ง
แต่คุณจะสูญเสียความสุขแบบที่สอง ถ้าคุณเลือกเส้นทางชีวิตแบบ B คุณก็จะได้ความสุขแบบที่สอง แต่สูญเสียความสุขแบบที่หนึ่ง
มันไม่มีเส้นทางใดในชีวิตที่จะทำให้คุณได้รับความสุขทั้งสองแบบ”
2.เราชอบความเป็น individual ของเด็กชายทั้งสองคนในเรื่องนี้มากๆๆๆๆ
คือเด็กชายสองคนนี้มันไม่สามารถใช้เป็นภาพแทนของกลุ่มคนในสังคมได้น่ะ
นอกจากจะใช้เป็นภาพแทนของ “มนุษย์คนหนึ่งที่ย่อมมีความแตกต่างจากมนุษย์คนอื่นๆ”
คือวิลเลียมในเรื่องนี้ ก็ไม่ใช่ภาพแทนของชนชั้นกลางส่วนใหญ่
เพราะเขามีความผูกพันกับศาสนามากกว่าชนชั้นกลางส่วนใหญ่ ส่วนบัณฑิต
ก็มีความแปลกแยกจากเด็กชาวบ้านทั่วๆไป เขาเกเรกว่าเด็กทั่วๆไป, เป็น ethnic,
ไม่ได้อาศัยอยู่กับครอบครัว
และไม่ชอบนอนกับเพื่อนๆ แต่ชอบไปนอนกลางทุ่ง เพราะฉะนั้นเราก็เลยมองว่า
หนังเรื่องนี้สามารถสะท้อนสังคมได้โดยไม่ลดทอนความเป็นปัจเจกของตัว subjects
ลงเลย และเรามองว่าความเป็นปัจเจกของ subjects
เป็นสิ่งที่เราชอบมากกว่าการพยายามจะสะท้อนสังคมด้วย
เราก็เลยชอบความแปลกแยกของวิลเลียมและบัณฑิตที่มีต่อสังคมที่ตนเองอยู่มากๆ
คือแทนที่หนังเรื่องนี้จะนำเสนอว่าเด็กชนชั้นกลางส่วนใหญ่มีท่าทีต่อศาสนาพุทธอย่างไร,
เด็กชาวบ้านส่วนใหญ่มีท่าทีต่อศาสนาพุทธอย่างไร หนังเรื่องนี้กลับไม่ใช้วิธีนั้น
หนังเรื่องนี้กลับมุ่งเป้าไปที่วิลเลียมและบัณฑิต
ซึ่งต่างก็มีอะไรบางอย่างที่แปลกแยกจากสังคมชนชั้นกลางและสังคมเด็กชาวบ้านของตนเอง
และเรามองว่าการเลือกจุด focus แบบนี้มันเข้าทางเรามากๆ เราชอบหนังที่นำเสนอชีวิตเล็กๆแบบนี้มากกว่าการพยายามจะนำเสนอปัญหาสังคมที่ยิ่งใหญ่น่ะ
3.ในขณะเดียวกันหนังมันก็สะท้อนปัญหาสังคมออกมาได้บ้างนะ
อย่างแรกที่เรารู้สึกเลยก็คือ ปัญหาการสอนพุทธศาสนาในโรงเรียนของวิลเลียมน่ะ คือมันมีฉากนึงที่หนังตัดภาพมาให้เราเห็นแค่นิดเดียวที่เป็นครูเปิดเทปคำสอนของพระให้เด็กชั้นประถมฟัง
แต่ฉากนั้นมันทำให้เรารู้สึกสงสัยมากว่า เด็กมันจะเข้าใจสิ่งที่พระพูดสักเท่าไหร่กัน คือสิ่งที่พระสอนมันค่อนข้างยากน่ะ
ขนาดเราเป็นผู้ใหญ่เรายังต้องใช้เวลาครุ่นคิดไปกับสิ่งที่พระพูดเลย
แล้วเด็กมันจะเข้าใจอะไร
และก็มีฉากอื่นๆในหนังเรื่องนี้ด้วย ที่ทำให้เรารู้สึกว่า
หนังมันสะท้อนให้เห็นถึงอะไรบางอย่างที่สร้างความเหินห่างระหว่างพุทธศาสนากับตัวเราน่ะ
ทั้งการใช้ภาษาบาลีที่คนฟังไม่รู้ความหมาย และการสอนพุทธศาสนาให้เด็กแบบไม่สร้างสรรค์
คือสอนไปตามที่เขาพูดๆกันมา เปิดเทปพระเทศน์ให้เด็กฟังไปเลย แทนที่ตัวครูผู้สอนจะพยายามทำความเข้าใจกับหลักธรรมะจริงๆ
แล้วย่อยออกมาให้เด็กฟังอย่างเข้าใจง่ายๆ โดยยกตัวอย่างเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันมาเทียบกับหลักธรรมะหรืออะไรทำนองนี้
4.ตอนแรกกลัวบัณฑิตมากๆ ตอนเริ่มต้นเรื่องเรากลัวแววตาของเด็กคนนี้อย่างรุนแรงมาก
แต่พอเขาได้กลับไปอยู่กับพ่อแม่ที่บ้าน เราก็เห็นแววตาเขาเปลี่ยนไปจากช่วงต้นเรื่อง
เราเห็นว่าเขามีแววตาแบบมนุษย์เหมือนกัน เราก็เลยค่อยโล่งใจขึ้นมาหน่อย
5.ในขณะที่เด็กทั้งสองคนนี้ไม่สามารถใช้เป็นภาพแทนของชนชั้นกลางส่วนใหญ่และเด็กชาวบ้านส่วนใหญ่ได้
เรากลับ identify ตัวเองกับวิลเลียมได้ในบางจุด เพราะตอนเด็กๆเราก็ชอบนั่งสมาธิเหมือนกัน
(แต่พอเราโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ เรากลับกลายเป็นกะหรี่ชั้นต่ำ
หวังว่าน้องวิลเลียมคงไม่กลายเป็นแบบเรา 555)
6.จุดที่รู้สึกติดขัดเล็กน้อยคือการถ่ายภาพการเล่นน้ำของบัณฑิตแบบ romanticize ในตอนจบ
เราว่าฉากนั้นถ่ายแบบไม่ต้องสโลว์โมชั่นหรือ romanticize จะดีกว่านะ
ถ่ายแบบ realistic ไปเลยจะดีกว่า
7.ดูฉากบัณฑิตเล่นกับเพื่อนๆในชนบทแล้วทำให้นึกถึงวัยเด็กของเราเหมือนกัน
เพราะตากับยายของเราเป็นชาวไร่ในจังหวัดอุบล
พอดูฉากบัณฑิตเล่นกับเพื่อนๆในท้องทุ่งแล้วเลยทำให้นึกถึงตอนที่เราไปเยี่ยมตากับยายในวัยเด็ก
8.ชอบญาติหนุ่มของบัณฑิตมากๆ ไม่รู้เป็นน้าหรืออา
เห็นเขาเรียกบัณฑิตว่า หลาน (nephew) เราว่าเขาน่ารักมากๆ
และก็เลยทำให้เรานึกถึงสิ่งที่เราคิดมานานแล้วว่า ควรจะมีคนทำสารคดีเกี่ยวกับ “เด็กวัดหล่อๆ”
เพราะอย่างที่เราเคยเขียนไปในเฟซบุ๊คเมื่อสองปีก่อนว่า เราแอบชอบเด็กวัดคนนึง
เขาน่ารักมาก และเราเชื่อว่าคงมีเด็กวัดอีกหลายคนที่น่ารักๆแบบนี้อยู่ตามวัดต่างๆ
555
เอวัง
No comments:
Post a Comment