Y/OUR MUSIC (2014, Waraluck Hiransrettawat Every + David Reeve,
documentary, A+15)
ความรู้สึกที่มีต่อหนังเรื่องนี้
1.คิดว่าถ้าได้ดูหนังเรื่องนี้ในโรงปกติ เรามีสิทธิชอบมากกว่านี้สูงมาก
เพราะเมื่อวานนี้เราดูหนังเรื่องนี้ในแกลเลอรี่ ซึ่งมีระบบเสียงที่ไม่สมบูรณ์
แต่หนังเรื่องนี้มันเกี่ยวกับเสียงดนตรีน่ะ เพราะฉะนั้นถ้าเปรียบเทียบง่ายๆ
มันก็เหมือนกับว่าเราได้ดูหนังอย่าง WHIPLASH ในแกลเลอรี่ที่มีเพียงลำโพงเดียวหรืออะไรทำนองนี้
พลังที่แท้จริงของหนังมันเลยอาจจะออกมาไม่เต็มที่มากนัก
2.สิ่งที่ชอบมากในหนังก็คือมันนำพาเราไปรู้จักกับหลายๆสิ่งที่เราไม่เคยรู้มาก่อน
คือมันเป็น “สาระ” สำหรับเราจริงๆน่ะ เพราะเราแทบไม่มีความรู้เรื่องดนตรีและวงการดนตรีเลย
คือแค่วงการดนตรีกระแสหลักในไทย เราก็ไม่มีความรู้แล้ว
แต่หนังเรื่องนี้พาเราไปรู้จักดนตรีหมอลำ, คนทำแซกโซโฟนจากไม้ไผ่, คนเป่าแคนตาบอด,
คนซ่อมไวโอลิน, Maft Sai เจ้าของสังกัดสุดแรงม้า และวง
Happyband ของโลเล ซึ่งอันหลังก็เป็นความรู้ใหม่สำหรับเราเหมือนกัน
เพราะเราเคยดูแต่ผลงานภาพเขียนและวิดีโอของโลเลเมื่อหลายปีก่อน
แต่ไม่เคยเห็นเขาเล่นคอนเสิร์ตมาก่อน
ในมุมมองของคนที่ไม่มีความรู้เรื่องดนตรีและวงการดนตรีอย่างเรา
เราก็เลยมองว่าหนังเรื่องนี้เลือก subjects ได้ดีมาก, ค้นคว้าหา subjects
มาได้ดีมาก และสามารถเก็บภาพฟุตเตจที่น่าประทับใจของ subjects
บางรายได้ดีด้วย โดยเฉพาะฟุตเตจภาพการแสดงหมอลำกลางสายฝน
3.ชอบที่หนังนำเสนอเสน่ห์ทางดนตรีของแต่ละคนออกมา
โดยไม่ได้ดูถูกว่าใครต่ำกว่าใคร คือเราชอบที่หนังไม่ได้ดูถูกพวกดนตรีอินดี้น่ะ
คือก่อนไปดูหนังเรื่องนี้ เรากลัวว่า หนังเรื่องนี้จะเชิดชูดนตรีลูกทุ่ง,หมอลำ,
ดนตรีอีสาน แล้วก็ดูถูกว่าดนตรีอินดี้ของเด็กรุ่นใหม่เป็นอะไรที่เหลวไหล ไร้สาระ
ไม่จริงจัง ลืมรากเหง้าอะไรทำนองนี้ แต่ดีที่หนังไม่ออกมาเป็นอย่างนั้น
คือหนังทำให้เรารู้สึกว่าดนตรีหมอลำมันก็มีเสน่ห์ของมัน, การเป่าแคนมันก็มีเสน่ห์ของมัน
และ “การทดลองทางเสียง” ของโลเลกับเพื่อนๆมันก็มีเสน่ห์ในแบบของมัน
4.เราว่าการเชื่อมเนื้อหาในแต่ละส่วนของหนังเรื่องนี้มีอะไรบางอย่างที่น่าสนใจดี
และเราหวังว่านักวิจารณ์ท่านอื่นๆที่ได้ดูหนังเรื่องนี้จะหยิบเอาประเด็นนี้มาวิเคราะห์ให้เราได้อ่านกัน
สิ่งที่เราว่ามันน่าสนใจ ก็คือว่า หนังเรื่องนี้นำเสนอศิลปินประมาณ 9
ราย และตัดสลับเรื่องราวของ 9 รายนี้ไปมา ซึ่งปกติแล้ว ถ้าหากเป็นหนังเรื่องอื่นๆ
หนังอาจจะนำเสนอเรื่องราวของศิลปิน A แล้วอาจจะใส่ฉากทิวทัศน์อะไรเข้ามาสักแป๊บนึง
แล้วก็ไปนำเสนอเรื่องราวของศิลปิน B เสร็จแล้วก็อาจจะใส่ฉากทิวทัศน์ประมาณ
5 วินาที แล้วก็เล่าเรื่องราวของศิลปิน C
แต่เท่าที่เราจำได้เลาๆแบบไม่แน่ใจนัก หนังเรื่องนี้ไม่ได้ใช้ “ฉากทิวทัศน์
5 วินาที” ในการเชื่อมโยงเรื่องราวเหมือนหนังทั่วๆไป
แต่มีการเชื่อมเรื่องด้วยฉากที่นานกว่านั้น อย่างเช่น พอเล่าเรื่องราวของศิลปิน A เสร็จ
หนังก็ใส่ฉากรถตุ๊กๆ, เสียงเพลงจากรถตุ๊กๆ, voiceover บทสัมภาษณ์คนขับรถตุ๊กๆ
จนเรานึกว่าคนขับรถตุ๊กๆจะเป็นหนึ่งใน subject หลักของหนัง
แล้วหนังก็ค่อยไปเล่าเรื่องราวของศิลปิน B
อีกหนึ่งใน “ฉากเชื่อม” ที่เราชอบมาก
คือฉากที่มีแม่บ้านถูพื้นในอาคารอะไรสักอย่าง
คือเราดูแล้วนึกว่าตัวแม่บ้านนี่อาจจะกลายเป็นผู้ให้สัมภาษณ์หลักอีกคนหนึ่งในเรื่องน่ะ
แต่หลังจากนั้นหนังถึงค่อยตัดเข้าสู่ตัว subject หลักตัวจริง
คือเราว่านอกจากเรื่องราวของศิลปิน 9 รายในหนังเรื่องนี้จะน่าสนใจแล้ว
เราว่าไอ้ฉากเชื่อมพวกนี้นี่มันน่าสนใจมากๆ เพราะเราว่าฉากเชื่อมพวกนี้มันมี function ที่ไม่ใช่ฉากเชื่อมธรรมดาๆในหนังทั่วๆไป
และเราหวังว่าจะมีนักวิจารณ์คนอื่นๆวิเคราะห์ประเด็นนี้ออกมาในภายหลัง
5.แต่สาเหตุที่เราอาจจะไม่ได้ชอบหนังเรื่องนี้ถึงขั้น A+30 ในการดูรอบแรก
มันเป็นเพราะรสนิยมส่วนตัวของเราเองน่ะ
ซึ่งอาจจะตรงข้ามกับนักวิจารณ์และคนดูหลายคน
คือเรามองว่าหนังเรื่องนี้มันสั้นไปน่ะ และมันมีแต่ “สาระ” มากเกินไปสำหรับเรา
(แต่นั่นอาจจะเป็นจุดที่ทำให้ผู้ชมหลายๆคนชอบหนังเรื่องนี้ก็ได้)
คือโดยรสนิยมส่วนตัวของเราแล้ว เราอาจจะชอบหนังสารคดีอย่าง “เอวัง”
มากกว่า ในแง่ที่ว่า “เอวัง” มันเลือก subjects แค่สองคน
และมันก็เลยสะท้อนชีวิตของเด็กสองคนนี้ได้รอบด้าน โดยไม่ได้มีเพียงแค่ประเด็นสถาบันศาสนาเท่านั้น
คือมันไม่ใช่ว่า “เอวัง” ดีกว่าหนังเรื่องนี้นะ
เพราะหนังสองเรื่องนี้มีจุดประสงค์แตกต่างกัน แต่เพียงแค่ว่าหนังสไตล์แบบ “เอวัง”
มันตรงกับรสนิยมเรามากกว่า
คือเรามองว่า Y/OUR MUSIC มันนำเสนอแค่ “แง่มุมทางดนตรี” ของ
subjects แต่ละรายน่ะ และมีประเด็นเรื่องแง่มุมทางสังคมด้วย และมีการสะท้อนภาพชีวิตของ
subjects แต่ละรายให้เราได้เห็นบ้าง
โดยเฉพาะหมอลำและคนเป่าแคน แต่สำหรับเราแล้ว หนังเรื่องนี้มัน “ตรงเป้า”
มากเกินไปน่ะ คือเราอยากเห็นชีวิตในด้านอื่นๆของ subjects แต่ละรายมากกว่านี้
คือสำหรับเราแล้ว เราพบว่าเรามักจะชอบ “หนังที่เฉไฉออกนอกประเด็นหลัก”
ของเรื่องน่ะ ไม่รู้เหมือนกันว่าเพราะอะไร แต่เรารู้ว่าเวลาเราดูหนังเฉไฉไก่กาแบบนั้นแล้วเรามักจะมีความสุขมากกว่าดูหนังที่ทำขึ้นเพื่อตอบโจทย์อย่างใดอย่างนึง
แล้วก็ตอบโจทย์นั้นได้ตรงเป้าเพียงอย่างเดียว คือเรามองว่า Y/OUR MUSIC เหมือนตั้งเป้าว่าจะตอบโจทย์
ABC แล้วก็ตอบโจทย์ได้ครบทั้งสามประเด็น ABC แต่ “เอวัง” เหมือนตั้งเป้าว่าจะตอบโจทย์ ABC แต่มันดันนำเสนอแง่มุม
DEF ของ subjects ในหนังด้วย
และเราพบว่าเรา happy กับการไม่พยายามจะตัดทอน,ลดรูปแง่มุมอันรอบด้านของตัว
subjects ในหนัง
สรุปว่าเราชอบ Y/OUR MUSIC มาก
เพราะมันให้สาระกับเรามากๆ
มันทำให้เราได้รู้จักกับอะไรหลายๆอย่างที่เราไม่เคยรู้มาก่อน
และมันสะท้อนภาพดนตรีนอกกระแสและสังคมไทยได้อย่างน่าสนใจด้วย เพียงแต่ว่าหนังมันอาจจะเข้าทางเรามากกว่านี้
ถ้าหากหนังมันสะท้อน “แง่มุมต่างๆที่ไม่เกี่ยวข้องกับดนตรี” ในชีวิตของ subjects
เหล่านี้ด้วย (แต่การทำในสิ่งที่เราชอบอาจจะทำให้หลายคนไม่ชอบหนังเรื่องนี้
555)
เพราะฉะนั้นเราก็เลยอาจจะชอบหนังอย่าง “เอวัง” มากกว่า เพราะถึงแม้ว่าเอวังมันอาจจะไม่สามารถสะท้อนภาพปัญหาของสถาบันศาสนาหรือปัญหาสังคมไทยในวงกว้างได้
แต่เราว่ามันสะท้อนชีวิตอันรอบด้านของเด็กอย่างบัณฑิตได้อย่างประทับใจเรามากๆ
และโดยรสนิยมส่วนตัวแล้ว เราอาจจะชอบหนังที่สะท้อน “ชีวิตรอบด้านของคนๆนึง”
มากกว่าหนังที่พยายามจะสะท้อน “สังคมในวงกว้าง” จ้ะ
No comments:
Post a Comment