หนังสั้นไทยที่เราชอบเป็นอันดับที่ 47 ของปี 2016 คือ ห้วงวิปลาส (IN THE BOX OF FISH) (2016,
Kiattisak Kingkaew) และถือเป็นหนึ่งในหนัง queer ที่เราชอบมากที่สุดในปี 2016 ด้วย
ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่
1.จริงๆแล้วเราชอบเนื้อหาของหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงมากๆ เพราะเนื้อหาของมันเป็นสิ่งที่เราไม่เคยประสบพบเจอมาก่อนเลย
นั่นก็คือคนที่มีรสนิยมทางเพศแบบ Acrotomophilia (อยากร่วมรักกับคนพิการ)
และ Apotemnophilia (เกิดอารมณ์ทางเพศเมื่อได้ทำตัวเหมือนเป็นคนพิการ)
เราถือว่าเนื้อหาของหนังเรื่องนี้มันดีสุดๆสำหรับเรา
เพราะมันช่วยเปิดหูเปิดตาเราให้ได้รู้จักกับรสนิยมทางเพศอันหลากหลายของคนบนโลกนี้มากขึ้นไปอีก
2.นอกจากเราจะชอบตัว “เนื้อหา” ของมันอย่างสุดๆแล้ว
อีกสิ่งที่ดีมากๆในหนังเรื่องนี้ก็คือว่า “ท่าที” ของมันที่มีต่อคนที่มีรสนิยมทางเพศแบบนี้ยังถือว่าดีสุดๆด้วย
เพราะถึงหนังจะใช้ชื่อเรื่องว่า “ห้วงวิปลาส”
หนังกลับไม่ได้ปฏิบัติต่อคนที่มีรสนิยมแบบนี้ว่าเป็นคนวิปลาสหรือน่ารังเกียจเลยแม้แต่นิดเดียว
พวกเขาก็เป็นคนปกติธรรมดาเหมือนเรานั่นแหละ
พวกเขาเพียงแค่มีรสนิยมทางเพศแตกต่างจากเราเท่านั้นเอง
และพวกเขาไม่ได้สร้างความเดือดร้อนอะไรให้ใครเลย เราเองก็เหมือนพวกเขา
เพราะเราเองก็มี sexual fantasy ในแบบของเราเองเช่นกัน
เราว่า “ท่าที” แบบนี้ของหนังเป็นสิ่งที่ดีมากๆๆๆๆๆๆ
เพราะเราคิดว่าโดยปกติแล้ว
2.1 หนังที่กล้านำเสนอ “รสนิยมทางเพศแบบแปลกๆ” มีน้อย
โดยเฉพาะหนังไทยยิ่งน้อยลงไปอีก
2.2 หนังที่นำเสนอ “รสนิยมทางเพศแบบแปลกๆ” บางเรื่อง
มักจะผูกโยงรสนิยมทางเพศแบบแปลกๆเข้ากับตัวละครที่เป็นผู้ร้าย อย่างเช่น SALO OR 120 DAYS OF SODOM (1975,
Pier Paolo Pasolini) หรือ MOTEL MIST (2016, Prabda Yoon) แต่อันนี้ไม่ใช่เรื่องผิดนะ
เราไม่ได้บอกว่าห้ามนำเสนอตัวละครที่มีรสนิยมทางเพศแบบแปลกๆในฐานะผู้ร้าย
เราเพียงแค่จะชี้ให้เห็นว่า มันเป็นสิ่งที่ดีมากที่มีหนังที่นำเสนอตัวละครที่มีรสนิยมทางเพศแบบแปลกๆในฐานะคนปกติธรรมดาด้วย
3.ชอบมากด้วยที่หนังไม่ได้นำเสนอ “เนื้อหา” ของมันเพื่อสร้าง “ความแรง”
ให้กับตัวหนัง อันนี้เราก็อธิบายไม่ค่อยถูกเหมือนกัน มันเหมือนกับว่าเนื้อหาของหนังมันแรงหรือแปลกในสายตาของเรา
แต่หนังไม่ได้ต้องการ exploit ความแปลกหรือความแรงของมันน่ะ
หนังปฏิบัติต่อเนื้อหาและตัวละครของมันเหมือนเป็นเรื่องปกติธรรมดาของมนุษย์
4.เอาล่ะ คราวนี้มาว่ากันถึงสิ่งที่เราไม่ค่อยชอบในหนังเรื่องนี้บ้าง
คือจริงๆแล้วเนื้อหาของหนังมันน่าจะทำให้หนังเรื่องนี้ติดอันดับ top ten ประจำปีของเราได้เลยนะ
แต่สาเหตุที่เราชอบหนังเรื่องนี้แค่อันดับ 47 เป็นเพราะว่า เราว่าหนังยังขาด style
น่ะ
และปัญหาแบบนี้คล้ายๆกับปัญหาที่เราเพิ่งมีกับหนังเรื่อง KING COBRA
(2016, Justin Kelly, A+25) คือเราชอบเนื้อหาของ KING COBRA อย่างสุดๆ แต่เรารู้สึกว่าการกำกับมันทื่อมากๆ
คือเราชอบ IN THE BOX OF FISH ที่มันไม่พยายาม exploit ความประหลาดของตัวละครนะ เราว่าการที่หนังมันมีโทน “กลางๆ” ไม่เร้าอารมณ์
ไม่เรียกร้องความสงสาร ทำเหมือนเป็นกิจกรรมปกติธรรมดา มันเป็น “โทนอารมณ์” ที่ดี แต่พอการกำกับมันขาด
style หนังมันเลยดูเหมือนขาดอะไรบางอย่างไป คือถ้ามันมี style
ด้วย มันจะยิ่งดีกว่านี้มาก แต่ที่มันเป็นอยู่นี้ ก็ถือว่าดีแล้ว
ดีกว่าที่จะเลือกเป็นหนังเร้าอารมณ์แบบโสๆ
คือถ้าหนังมันมีการกำกับที่จั๋งหนับจริงๆ เราว่ามันจะเทียบชั้นได้กับหนังกลุ่มที่กำกับโดยเพื่อนๆของ
Napat Treepalavisetkul เมื่อราว 5-6 ปีก่อนน่ะ อย่างเช่น THOM (2009, Suphisara
Kittikunarak), ESSENCE DE FEMME (2011, Chama Lekpla), CYBER CHIMPLEE (2011,
Pakawat Panmanee) คือหนังไทยกลุ่มนี้มันมีการนำเสนอพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ธรรมดา
และมันมีการกำกับที่ดีมากๆด้วย หนังมันก็เลยออกมาทรงพลังมากๆ
5.ถ้าหากถามว่า ดู IN THE BOX OF FISH แล้วคิดถึงหนังเรื่องไหนบ้าง
เราก็คิดถึงหนังต่อไปนี้ เพราะมันเป็นหนังที่นำเสนอพฤติกรรมทางเพศที่ไม่ธรรมดา
แต่ทำออกมาได้ดีสุดๆเหมือนกัน หรือนำเสนอตัวละครที่มีความประหลาดบางอย่าง และหนังบางเรื่องในกลุ่มนี้ก็มี
style ที่น่าสนใจด้วย
5.1 BELLE DE JOUR (1967, Luis Bunuel)
5.2 IN MY SKIN (2002, Marina de Van)
5.3 IN THE REALM OF THE SENSES (1976, Nagisa Oshima)
5.4 ODETE (2005, Joao Pedro Rodrigues) ในหนังเรื่องนี้มีผู้หญิงที่ใส่
dildo เพื่อร่วมรักกับเกย์ และหนังไม่ได้นำเสนอฉากนี้ในฐานะ “สิ่งประหลาด
น่าขยะแขยง” แต่นำเสนอสิ่งนี้ในฐานะ “ความงดงามของความรัก”
5.5 SEDUCTION: THE CRUEL WOMAN (1985, Elfi Mikesch, Monika Treut)
5.6 21 NIGHTS WITH PATTIE (2015, Arnaud Larrieu + Jean-Marie
Larrieu) หนังเรื่องนี้นำเสนอตัวละครที่เป็น necrophilia ได้อย่างอ่อนโยนมากๆ
5.7 A WOMAN AND WAR (2013, Junichi Inoue)
No comments:
Post a Comment