Sunday, January 01, 2017

FAVORITE SOUNDTRACKS OR “MOMENTS WITH SONGS” IN FILMS I SAW IN 2016

FAVORITE SOUNDTRACKS OR “MOMENTS WITH SONGS” IN FILMS I SAW IN 2016

(in preferential order)

1.THIRD SISTER LIU (1960, Su Li, China)
หนึ่งในหนังเพลงที่ชอบที่สุดตลอดกาล ชอบดนตรีจีนในหนังเรื่องนี้มากๆ, ชอบการเชิดชูคนจนในหนังเรื่องนี้มากๆ และฉากตัวละครร้องเพลงด่าทอกันอย่างรุนแรงในหนังเรื่องนี้นี่มัน electrifying มากๆ

2.BECAUSE YOU CAN’T TOUCH NOSTALGIA เพราะความคิดถึงสัมผัสไม่ได้ (2016, Arissara Surasang, 15min)
หนังทั้งเรื่องมีเพียงแค่หญิงสาวคนหนึ่งวิ่งไปเรื่อยๆตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง พร้อมกับมีเพลงป็อปญี่ปุ่นเปิดไปเรื่อยๆประมาณ 4-5 เพลงตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง หญิงสาวคนนี้กำลังคิดถึงอะไรบางอย่างขณะที่วิ่งไปเรื่อยๆ แต่หนังไม่ได้บอกโดยตรงว่าหญิงสาวคนนี้กำลังคิดถึงอะไร

นี่อาจจะไม่ใช่หนังดี แต่นี่คือหนังที่มี wavelength ตรงกับเรามากที่สุด เพราะมันเปิด “ช่องว่าง” บางอย่างที่เราสามารถเอาประสบการณ์ส่วนตัว, อารมณ์ความรู้สึก และจินตนาการของเราใส่เข้าไปได้อย่างพอเหมาะพอดี

คือมันทำให้นึกถึงการที่เราชอบฟังเพลงญี่ปุ่นและเพลง dance ที่ไม่มีเนื้อร้องน่ะ เพราะเรามักจะมีปัญหากับการฟังเพลงไทยและเพลงภาษาอังกฤษที่มีเนื้อร้องในแง่ที่ว่า “เนื้อร้อง” ของเพลงมันไม่เข้ากับประสบการณ์ส่วนตัวและอารมณ์ความรู้สึกของเราเลย เพราะเนื้อร้องของเพลงมันชอบพูดถึง “ความรัก” แต่เราแทบไม่มีประสบการณ์ด้านความรัก เรามีประสบการณ์ด้าน “ความเกลียดชัง” มากกว่า เพราะฉะนั้นเพลงไทยและเพลงภาษาอังกฤษหลายๆเพลง จึงทำให้เราไม่อิน เพราะเราโยงประสบการณ์ของตัวเองเข้ากับเนื้อเพลงที่พูดถึงความรักไม่ได้

แต่เราไม่รู้ภาษาญี่ปุ่น เพราะฉะนั้นเวลาเราฟังเพลงญี่ปุ่น เราก็เลยเอามันเข้ามารองรับอารมณ์ความรู้สึกและประสบการณ์ส่วนตัวของตัวเราเองได้ตามสบาย เวลาเราฟังเพลงอย่าง AITAI ของ Chikako Sawada เราก็สามารถเอามันมารองรับอารมณ์เศร้าของเราได้ตามสบายในหลายๆสถานการณ์ เพราะเราไม่รู้ว่าเนื้อเพลงมันพูดถึงอะไร เราก็เลยเอามันมารองรับอารมณ์เศร้าของเราได้ 100 สถานการณ์ แต่ถ้าหากเรารู้ว่าเนื้อเพลงมันพูดถึงอะไร เราอาจจะเอามันมารองรับอารมณ์เศร้าของเราได้เพียง 10 สถานการณ์เท่านั้น

เวลาเราฟังเพลง dance ที่ไม่มีเนื้อร้องก็เหมือนกัน เรารู้สึกว่ามันกระตุ้นเราให้คิดถึงอะไรต่างๆได้อย่างเสรี เราอาจจะคิดถึงควอซาร์, เนบิวลา, กรดอะซีติก, ฝนตกแหมะๆ นั่งดูแพะเย็ดแมว หรืออะไรก็ได้ ซึ่งจินตนาการเราจะไม่เปิดกว้างแบบนี้เวลาที่เราฟังเพลงรักภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย

แต่ในส่วนของดนตรีคลาสสิคที่ไม่มีเนื้อร้องนั้น จริงๆแล้วการฟังเพลงแบบนี้ก็อาจจะให้เสรีทางจินตนาการเหมือนกันนะ แต่เราฟังเพลงคลาสสิคแล้วมันไม่ “กระตุ้นจินตนาการ” เรามากเท่าเพลง dance techno น่ะ ซึ่งมันคงเป็นเรื่องของรสนิยมส่วนตัวว่าคนที่แตกต่างกันก็คงต้องอาศัย “สารกระตุ้น” จินตนาการที่แตกต่างกันไป

ย้อนกลับมาที่หนังเรื่องนี้ เราชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดๆเพราะมันทำให้เรามีความสุขเหมือนกับการฟังเพลงป็อปญี่ปุ่นและการฟังเพลง dance techno น่ะ มันเปิดช่องว่างทางจินตนาการบางอย่างที่เข้ากับเราพอดี เพราะกิจกรรมการวิ่ง+ใช้ความคิด+คิดถึงเพลงป็อปนี่มันเป็นกิจกรรมที่เราเคยทำบ่อยๆ

คือถ้าหากหนังเรื่องนี้เล่าเรื่องโดยตรงเกี่ยวกับความสัมพันธ์รักของนางเอก เราคงไม่อินกับหนังเรื่องนี้มากเท่านี้อย่างแน่นอน เพราะมันมีความเป็นไปได้ 95% ที่ชีวิตของเราจะไม่สอดคล้องกับตัวละคร แต่พอหนังเรื่องนี้แทบไม่ได้เล่าว่านางเอกคิดถึงอะไรบ้างขณะวิ่ง มันก็เลยเปิดช่องว่างให้เราเอาตัวเองใส่เข้าไปในหนังได้อย่างเหมาะเจาะที่สุด เพราะตัวเราเองเวลาวิ่งบน treadmill ใน fitness เราก็ใช้ความคิดไปด้วย และเราก็คิดถึงเรื่องต่างๆมากมาย ตั้งแต่เรื่องปัจจัย 4, อดีตของเรา, ปัจจุบันของเรา, อนาคตของเรา, ตายแล้วไปไหน, เพื่อนกูอยู่ไหน, ผัวเพื่อนอยู่ไหน ฯลฯ พร้อมกับฟังเพลงป็อปที่ฟิตเนสเปิดไปด้วย

เราก็เลยรู้สึก identify ตัวเองกับนางเอกของหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงจ้ะ เพราะการที่หนังไม่ได้เล่ามากนักว่านางเอก “คิดอะไร” มันเปิดโอกาสให้เราใส่ตัวเองเข้าไปในหนังเรื่องนี้ได้ และการที่หนังใช้เพลง pop ญี่ปุ่นที่เราไม่เข้าใจเนื้อร้อง ก็เป็นการเปิดโอกาสให้เราใส่ตัวเองเข้าไปได้ พร้อมกับกระตุ้นจินตนาการของเราด้วย

3.MAY THIS BE LOVE (2015, Jirapat Thaweechuen)
ดูหนังของจิรภัทรมาหลายเรื่องแล้ว เขาเป็นคนที่เลือกใช้ดนตรีประกอบในหนังได้ถูกจริตเรามากที่สุดคนนึงในโลกเลย คือดนตรีประกอบในหนังของเขามันไม่ได้ทำเพียงแค่เสริมอารมณ์ให้เข้ากับเนื้อเรื่องหรือภาพน่ะ แต่มันสร้างความขัดแย้งบางอย่างกับเนื้อเรื่องหรือภาพ และก่อให้เกิดอารมณ์วิปริตแปรปรวนบางอย่างขึ้น มันเหมือนกับว่าถ้าเห็นแต่ภาพอย่างเดียว เราอาจจะได้อารมณ์รัก, เศร้า, สุข, ตื่นเต้นแบบธรรมดา แต่พอจิรภัทรใส่เสียงเข้าไปปุ๊บ อารมณ์ที่ได้จากภาพ+เสียงผสมกัน มันจะเกิดความวิปริตบิดเบือนไปในทันที และเราจะไม่รู้ว่าเราควรจะทำอารมณ์ยังไงกันแน่ หรือควรจะรู้สึกยังไงกันแน่กับภาพ+เสียงที่ได้ยิน และเราชอบอะไรแบบนี้มากๆ

สิ่งที่จิรภัทรทำ มันทำให้นึกถึงหนังของ Jean-Luc Godard ด้วยนะ คือในหนังของ Godard บางเรื่องมันจะมีฉากที่ตัวละครคุยกันเรื่องชีวิตธรรมดา หรือคุยกันเรื่องเหี้ยห่าอะไรก็ได้ แต่มีการใส่ดนตรีแบบ thriller ลุ้นระทึกสุดขีดเข้าไป และมันก็เลยทำให้เกิดความสนุกสุดขีดของความขัดแย้งทางองค์ประกอบภาพยนตร์ขึ้นมาในฉากนั้นๆ

4.TIME ACTUALLY PASSES SLOWER IN DREAM (2016, Alwa Ritsila, Lucy Day, Watcharapong Narongphine)

อัลวา ริตศิลาก็ถือเป็นหนึ่งในผู้กำกับภาพยนตร์ที่มี sense ทางดนตรีประกอบถูกจริตเรามากที่สุดในโลก และหนังเรื่องนี้ก็ยังคงยืนยันว่าเขาเป็นแบบนั้น ฉากในถนนข้าวสารที่ใช้เพลง DREAMS นี่ สุดๆมากๆ

5.THE NEON DEMON (2016, Nicolas Winding Refn)
หนึ่งในการผสมภาพและเสียงเข้าด้วยกันที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เราเคยดูมาชีวิตนี้ เรารู้สึกว่าผู้กำกับเขาใช้ศักยภาพของเพลง electronic ได้ดีที่สุดน่ะ เพราะปกติแล้วเวลามีการใช้เพลง electronic ในหนังทั่วๆไป มันเหมือนกับว่า “ความงดงามของเพลง” ถูกใช้เพียงแค่ 20-50% เท่านั้น เพราะจุดประสงค์ของมันคือการใช้เพลงเพียงเพื่อหล่อเลี้ยงอารมณ์ของเนื้อเรื่อง ความงดงามที่แท้จริงของตัวเพลงก็เลยถูกกดทับเอาไว้ด้วยเนื้อเรื่องในหนังทั่วๆไป แต่ใน THE NEON DEMON นั้น มันเหมือนกับว่าภาพในหนังมันช่วยให้ความงดงามที่แท้จริงของตัวเพลง electronic มันสำแดงพลังออกมาได้ 100% เต็ม

6.เพลง “ประวัติศาสตร์” ที่ร้องโดยหมิว ลลิตา ในหนังเรื่อง SUBCONSCIOUSNESS (2016, Tani Thitiprawat)

ปกติฟังเพลงนี้แล้วคงรู้สึกเฉยๆ แต่การใช้เพลงนี้ในหนังเรื่องนี้มันทำให้เกิดอารมณ์ poignant และ ironic มากๆ

7.ฉากศรเพชร ศรสุพรรณ ร้องเพลง บุพเพสันนิวาส ในลูกทุ่งซิกเนเจอร์ (2016, ปรัชญา ปิ่นแก้ว, A+30)

รู้สึก guilty pleasure มากๆ เพราะปกติแล้วเราต่อต้านอะไรแบบนี้นี่นา เราต่อต้าน “การจงใจบีบคั้นอารมณ์คนดูให้ร้องไห้” ในหนังทั่วๆไปไม่ใช่เหรอ แล้วทำไมเราถึงร้องไห้กับฉากนี้ล่ะ ทั้งๆที่มันก็เป็นการบีบคั้นอารมณ์คนดูให้ร้องไห้เหมือนๆกัน

สรุปว่ามึงทำสำเร็จค่ะ มึงจงใจทำให้กูร้องไห้ และมึงก็ทำได้สำเร็จจริงๆ กูยอมแพ้โดยดุษฎี

8.ฉากที่มีการใช้เพลง  I WISH IT WOULD RAIN DOWN ของ Phil Collins ในหนังเรื่อง LA SALADA (2014, Juan Martin Hsu, Argentina)

ชอบฉากนี้มากๆ ในหนังมันจะมีตัวละครหนุ่มไต้หวันคนนึงที่ใช้ชีวิตอย่างยากจนและเหงาๆในอาร์เจนตินา ในช่วงกลางเรื่อง เขาไปร้านเหล้า และเลือกเปิดเพลงนี้ของฟิล คอลลินส์ ปรากฏว่ามีสาวแก่ชาวอาร์เจนตินา (ลองนึกภาพลีน่า จังเป็นฝรั่ง) ในร้านเหล้าชอบเพลงนี้มากๆ เธอก็เลยพูดคุยกับเขาอย่างอ่อนโยน เธอใส่ใจเขาเป็นอย่างดี ทั้งสองมี sex กันในร้าน และพอเธอเสร็จสมอารมณ์หมาย ได้กินหนุ่มไต้หวันแล้ว เธอก็หายตัวไปเลย มันเป็นฉากที่เริ่มต้นด้วยความเหงา+เศร้าสร้อย และตามมาด้วยความหวัง+ ความรัก+ความอ่อนโยนทางจิตใจ+ สัมผัสอันอบอุ่นของเพื่อนมนุษย์ และก็จบลงด้วยความจริงอันเย็นชาของชีวิต

9.ฉากที่ Brigitte Sy ร้องเพลงในหนังเรื่อง ULTIMATE SCREENING (2011, Laurent Achard, A+30)

ในหนังเรื่องนี้มีฉากที่ตัวละครหญิงวัยประมาณ 50 ปี ร้องเพลงในบาร์ เธอร้องเพลงเกี่ยวกับชีวิตแม่บ้านที่ผัวไม่ใส่ใจ (เนื้อร้องจะประมาณเพลง ALL WOMAN ของ Lisa Stansfield) เราชอบมากๆที่

9.1 หนังให้เราเห็นตัวละครตัวนี้ร้องเพลงอย่างยาวนาน ทั้งๆที่มันไม่ได้มีความสำคัญต่อเนื้อเรื่องหรือพล็อตเรื่อง

9.2 เราไม่รู้ว่าเราควรจะรู้สึกอย่างไรกับฉากนี้ เพราะสิ่งที่สำคัญในฉากนี้ก็คือว่า เรารู้ว่าตัวละครฆาตกรโรคจิตกำลังจ้องดูการร้องเพลงของผู้หญิงคนนี้เหมือนกัน สายตาของฆาตกรโรคจิตที่จับจ้องมองตัวละครผู้หญิงคนนี้ตลอดเวลา มันทำให้เรารู้สึกว่าฉากนี้มันทรงพลังสุดๆในแบบที่แปลกมากๆ คือถ้าหากไม่มีสายตาของตัวละครฆาตกรโรคจิตจ้องมอง ฉากนี้ก็อาจจะให้ความรู้สึกเหมือนหนังของ Mike Leigh แบบเห็นตัวละครแม่บ้านวัยกลางคนใช้ชีวิตอย่างเหงาๆขื่นๆ แต่พอมีสายตาของฆาตกรโรคจิตไปจับจ้องมองตัวละครในหนังของ Mike Leigh เราก็เลยงงๆว่าเราควรจะรู้สึกอย่างไร แต่ที่แน่ๆก็คือมันไม่ใช่อารมณ์ตื่นเต้นลุ้นระทึก เพราะหนังไม่ได้พยายามเร้าอารมณ์นี้เลย

10.ฉากเพลง SPEAK LOW ใน PHOENIX (2014, Christian Petzold)

11.เพลง AS TIME GOES BY ใน CASABLANCA (1942, Michael Curtiz)

12.การใช้เพลง GIMME GIMME GIMME (A MAN AFTER MIDNIGHT) ในหนังเรื่อง “นาน” COMING OF AGE (2016, Anuwat Amnajkasem)

13.การใช้เพลงของ Nina Hagen ในหนังเรื่อง ONE OF A KIND (2013, François Dupeyron)

14.ฉาก LOSE MY BREATH ใน BILLY LYNN’S LONG HALFTIME WALK (2016, Ang Lee)

15.ฉาก I STARTED A JOKE ใน THE CONJURING 2 (2016, James Wan)

16.ฉากร้องเพลงเต้นรำใน AE DIL HAI MUSHKIL (2016, Karan Johar, India, A)

ส่วนอันดับหนึ่ง soundtrack ของเราประจำปี 2015 คือ PREM RATAN DHAN PAYO (2015, Sooraj R. Barjatya, India) จ้ะ

No comments: