Wednesday, June 30, 2021

QUEER CARRIERS: DOUBLE AND REPETITION (2020, Ana Laura Aláez, USA, Japan, Spain, 16 mins)

 

CELEBRATE PRIDE MONTH

 

 

29. QUEER CARRIERS: DOUBLE AND REPETITION  (2020, Ana Laura Aláez, USA, Japan, Spain, 16 mins)

 

หนังสั้นเรื่องนี้เป็นการถ่ายคนต่าง ๆ เดินไปตามท้องถนนตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง โดยมีคนนึงขี่มอเตอร์ไซค์ด้วย (อยู่ในรูปซ้ายล่าง) หรือบางคนก็เล่นสเก็ต, ทำการแสดง หรือเล่น Butoh ซึ่งถ้าหากเราไม่ได้อ่าน statement ของผู้กำกับที่ใช้ประกอบหนังเรื่องนี้ เราก็จะไม่รู้หรอกว่าบุคคลต่าง ๆ หลายคนที่เดินกันไปมาในหนังเรื่องนี้ จริง ๆ แล้วเป็น non-binary (แต่เราก็ไม่แน่ใจว่าเราเข้าใจ statement ของหนังถูกต้องหรือเปล่านะ)

 

เราได้ดูหนังเรื่องนี้ในเทศกาล Oberhausen Online แล้วก็เลยประทับใจมาก ๆ เพราะนี่น่าจะเป็นหนังเรื่องแรกเลยมั้งที่เราได้ดูที่ตั้งใจพูดถึง non-binary โดยตรง แต่หนังก็ไม่ได้สัมภาษณ์อะไร subjects เลยนะ แค่ถ่ายพวกเขาเดินไปเดินมาในเมือง ซึ่งบางคนก็ดูเหมือนผู้หญิงปกติธรรมดา แต่บางคนก็มีลักษณะ androgynous บอกไม่ได้ว่าเป็นเพศอะไรกันแน่

 

ก็เลยประทับใจหนังเรื่องนี้มาก ๆ ในแง่การพูดถึงประเด็นที่หนังเรื่องอื่น ๆ แทบไม่เคยพูดถึงมาก่อน ซึ่งเอาเข้าจริงเราก็ยอมรับว่า เรื่องของ non-binary เป็นอะไรที่ใหม่มากสำหรับเรา และเราก็ยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องนี้แต่อย่างใด 55555 ดิฉันเป็นคนแก่ค่ะ ตามโลกไม่ทันแล้ว แม้แต่คำว่า cis หรืออะไรนี่ก็เป็นคำใหม่สำหรับดิฉันมาก ซึ่งดิฉันก็ยังไม่เข้าใจศัพท์ใหม่ ๆ เหล่านี้ คือยังงง ๆ ว่าตัวเองเป็น cis หรือเปล่า เพราะตัวเรานั้นเรารู้ว่าเราต้องการมี sex กับผู้ชายหนุ่ม ๆ หล่อ ๆ โดยที่ตัวเราเองจะอยู่ในสภาพไหนก็ได้ จะให้เราผ่าตัดแปลงเพศเป็นผู้หญิง เราก็ยินดีและเต็มใจ จะให้เราอยู่ในสภาพกะเทย เราก็เต็มใจ หรือจะให้เราอยู่ในสภาพผู้ชาย เราก็เต็มใจ ขอให้เราได้มี sex กับหนุ่ม ๆ หล่อ ๆ ก็พอ เราก็เลยไม่รู้ว่าถ้าจะระบุเพศตัวเองตามศัพท์ใหม่ๆ เราคือเพศอะไร แต่เราก็มองว่าตัวเองเป็นตุ๊ด/กะเทย/เกย์มาตั้งแต่เด็กน่ะแหละ 55555

 

พอพูดถึงหนังเกี่ยวกับ non-binary แล้ว เราก็เลยขอรวบรวมรายชื่อหนัง queer กลุ่มสุดท้ายของเดือนนี้ด้วยเลยแล้วกัน นั่นก็คือหนัง queer ที่เน้นเจาะ subculture, กลุ่มยิบย่อยต่าง ๆ ในกลุ่ม queer ซึ่งรวมไปถึง the minority of the minority หรือ the underprivileged of the underprivilged ด้วย เพราะดูเหมือนว่า ในบรรดา queer ด้วยกันเอง มันก็มีกลุ่มที่ด้อยกว่ากันอยู่ภายใน ซึ่งเป็นเพราะเชื้อชาติ, ชนชั้น และอายุด้วย

 

เหมือนเราเคยคิดถึงเรื่องนี้ครั้งแรกตอนฟังรายการวิทยุ SAT & SUN เมื่อ 30 กว่าปีก่อนมั้ง จำไม่ได้ว่าเป็นคุณนัท, คุณณรงค์ หรือคุณมาลี ที่หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดถึง แต่เขาพูดในทำนองที่ว่า ถ้าหากจำแนกตามเพศและเชื้อชาติในสังคมตะวันตกแล้ว ก็อาจจะจำแนกอย่างคร่าว ๆ ที่สุดได้ว่า ผิวขาวกดผิวดำ และเพศชายอยู่ลำดับชั้นบนสุดทางสังคม (หมายถึงได้อภิสิทธิ์ทางสังคมอย่างไม่เป็นธรรมมากที่สุด) , เพศหญิงถูกกดขี่ให้อยู่ลำดับสอง, เกย์ถูกกดขี่ให้อยู่ลำดับสาม และเลสเบียนถูกกดขี่ให้อยู่ลำดับสี่  

 

เพราะฉะนั้นพอแบ่งตามเกณฑ์นี้อย่างคร่าว ๆ ก็จะพบว่า ในสังคมตะวันตกอย่างในสหรัฐ “ผู้ชายผิวขาว” คือกลุ่มที่อยู่บนสุด มีความได้เปรียบทางสังคมมากที่สุด ส่วนเลสเบียนผิวดำก็จะกลายเป็นกลุ่มที่ถูกกดขี่มากที่สุด อะไรทำนองนี้

 

ซึ่งสิ่งที่เขาพูดในรายการวิทยุเมื่อราว 30 กว่าปีก่อนก็อาจจะมีส่วนจริงนะ เพราะพอมาคิด ๆ ดูแล้ว เราก็แทบไม่เคยได้ดูหนังเกี่ยวกับเลสเบียนผิวดำเลย ทั้ง BORN IN FLAMES (1983, Lizzie Borden) และ THE WATERMELON WOMAN (1996, Cheryl Dunye) หรือหนังเลสเบียนผิวดำเรื่องอื่น ๆ ก็ไม่เคยเข้ามาฉายในไทยเลยมั้ง ยกเว้น RAFIKI (2018, Wanuri Kahiu, Kenya) แต่นั่นก็อาจจะเป็นเพราะว่าคนผิวดำถือเป็น majority ของเคนยาอยู่แล้ว ซึ่งแตกต่างจากคนผิวดำในสหรัฐที่ถือเป็น minority

 

ส่วนหนัง “เกย์ผิวดำ” เราก็ได้ดูแค่ไม่กี่เรื่อง อย่างเช่น MOONLIGHT และ GREEN BOOK (2018, Peter Farrelly) ในขณะที่หนังเกี่ยวกับ “เกย์ผิวขาว”, “เลสเบียนผิวขาว”, “ผู้ชายผิวดำ”, “ผู้หญิงผิวดำ” นั้นเราได้ดูเยอะมาก คือถ้าหากพูดถึงการถูก represent ในโลกภาพยนตร์แล้ว แม้แต่ในบรรดาหนัง queer ด้วยกันเอง มันก็กลุ่มที่ด้อยโอกาสกว่ากลุ่มอื่น ๆ อยู่ด้วยน่ะแหละ

 

หนัง queer ที่เจาะ “กลุ่มย่อย” ที่เราชอบมาก ๆ

 

29.1 PARIS IS BURNING (1990, Jenny Livingston, documentary)

 

29.2 BEAR CUB (2004, Miguel Albaladejo, Spain)

ชมรมเกย์หุ่นหมี

 

29.3 HASAN (2008, Attapon Pamakho)

 

29.4 FOR 80 DAYS (2010, Jon Garaño, Jose Mari Goenaga, Spain)

หนังพูดถึงความรักของหญิงวัย 70 กว่าปีสองคน ซึ่งเป็นประเด็นที่เราไม่ค่อยได้ดู เพราะส่วนใหญ่เรามักจะได้ดูแต่หนังเกี่ยวกับ “เกย์วัยชราที่รักเด็กหนุ่ม ๆ” 55555

 

29.5 INTERSEXION (2012, Grant Lahood, New Zealand, documentary

หนังสารคดีเกี่ยวกับ hermaphrodite หรือคนที่เกิดมาแล้วมีลักษณะกายภาพของทั้งสองเพศอยู่ในคนคนเดียวกัน (ไม่รู้เราบรรยายถูกหรือเปล่า)

 

29.6 GERONTOPHILIA (2013, Bruce LaBruce, Canada)

เกย์หนุ่มที่ชอบคนชรา

 

29.7 I AM BLACK, I AM QUEER, AND I’M A WHORE (2014, Cas van der Pas & Hugo Meijer,  Colombia, documentary)

 

หนังสารคดีเกี่ยวกับกะเทยกะหรี่ผิวดำ (รูปขวาล่าง)

 

29.8 THE WAY HE LOOKS (2014, Daniel Ribeiro, Brazil)

เกย์ผู้พิการทางสายตา

 

 29.9 IN THE BOX OF FISH ห้วงวิปลาส (2016, Kiattisak Kingkaew)

ตัวละครในหนังเป็นเกย์ที่มีรสนิยมเฉพาะทาง

 

29.10 MOONLIGHT (2016, Barry Jenkins)

 

29.11 STUMPED (2017, Robin Berghaus)

หนังสารคดีเกี่ยวกับชายหนุ่มที่อยู่ดี ๆ ก็ติดเชื้ออะไรก็ไม่รู้ และทำให้เขาต้องถูกตัดแขนตัดขาทิ้งไป แต่เขามีกำลังใจสู้ชีวิตมาก ๆ ดูแล้วกราบมาก ๆ และเขาก็มีผัวหนุ่มน่ารักด้วย

https://www.facebook.com/jit.phokaew/posts/10223950383010793

 

29.12 TALE OF THE LOST BOYS (2017, Joselito Altarejos, Philippines)

เกย์ที่เป็น “ชนพื้นเมือง” ของไต้หวัน

 

29.13 TRIAMO (2017, Pathompong Praesomboon, Thailand, 28min)

เกย์สามคนที่รักกันและอยู่กินกัน

 

29.14 ERIK & ERIKA (2018, Reinhold Bigeri, Austria)

สร้างจากเรื่องจริงของนักกีฬาสกีชื่อดัง เธอเกิดมาเป็น hermaphrodite มีทั้งสองเพศในคนคนเดียวกัน แต่คนสมัยนู้นยังไม่รู้ไม่เข้าใจในเรื่องพวกนี้ ซึ่งรวมถึงทั้งตัวเธอเองและครอบครัวของเธอด้วย เธอก็เลยเติบโตมาแบบเด็กผู้หญิงชื่อเอริกา และกลายเป็นนักกีฬาสกีที่สร้างความภาคภูมิใจให้คนทั้งชาติ แต่ต่อมาเธอถึงพบว่าตัวเองเป็น hermaphrodite และนั่นทำให้เธอถูกครหาว่าไม่สมควรได้รางวัลในฐานะนักสกีหญิง ซึ่งต่อมาเธอก็ผ่าตัดแปลงเพศเป็นผู้ชายและคืนรางวัลทั้งหมดไป (ถ้าจำไม่ผิด)

 

29.15 JOHNNY (2018, Hugh Rodgers, Ireland, documentary)

หนังสารคดีที่เกี่ยวกับเกย์หนุ่มที่มาจากชุมชนคนร่อนเร่  เข้าใจว่าเป็นชุมชนที่คล้าย ๆ คน roma หรือยิปซี

 

29.16 YOU’VE GOT ME STUMPED เราล้วนเว้าแหว่งในตำแหน่งที่แตกต่างกัน (2018, Kiattisak Kingkaew)

ตัวละครในหนังเป็นเกย์ที่มีรสนิยมเฉพาะทาง

 

29.17 SUK SUK (2019, Ray Yeung, Hong Kong)

 

รายชื่อข้างต้นไม่รวมหนัง interracial queer ที่เราเคยทำลิสท์ไว้แล้วนะ

https://www.facebook.com/jit.phokaew/posts/10226834097101843

Monday, June 28, 2021

I PROMISE YOU ANARCHY (2015, Julio Hernández Cordón, Mexico/Germany, 88min)

 

CELEBRATE PRIDE MONTH

 

28.I PROMISE YOU ANARCHY (2015, Julio Hernández Cordón, Mexico/Germany, 88min)

 

หนึ่งในหนังที่ชอบที่สุดที่ได้ดูในปี 2019 หนังเล่าเรื่องราวของเด็กหนุ่มสองคนในเม็กซิโกที่เป็นเพื่อนกัน แต่บางทีก็เย็ดกัน โดยคนหนึ่งเป็นลูกชายของเจ้านาย ส่วนอีกคนนึงเป็นลูกชายของสาวใช้ ทั้งสองชอบเล่นสเก็ตบอร์ด และเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับอาชญากรรมร้ายแรงที่น่ากลัวสุด ๆ แต่สิ่งที่ชอบสุด ๆ  ในหนังเรื่องนี้ก็คือ gaze ของหนังที่มองตัวละครอย่างค่อนข้างเป็นอิสระ คือเหมือนหนังมันค่อนข้างลื่นไหลไปกับตัวละคร, ชีวิตด้านต่าง ๆ ของตัวละคร และ “มนุษย์” ต่างๆ ที่แวดล้อมตัวละครหลัก เหมือนหนังมันมีบางฉากที่อาจจะดูเหมือนไม่มีความจำเป็นต่อเส้นเรื่องหลักแต่อย่างใด แต่ฉากแบบนี้นี่แหละที่มันให้ความรู้สึกที่งดงามสุด ๆ สำหรับเรา

 

ดูหนังเรื่องนี้ด้วยความรู้สึกอิ่มเอมใจมาก ๆ ในด้านนึงมันทำให้เรานึกถึงหนังอย่าง MADE IN HONG KONG (1997, Fruit Chan), MUSHROOMS (2014,Óscar Ruiz Navia, Colombia) และ FIREFLIES (2019, Robin Estargo, Philippines) ที่สะท้อนอารมณ์ความรู้สึกจิตวิญญาณของเด็กหนุ่มวัยรุ่นออกมาได้อย่างตรงใจเราอย่างสุด ๆ แต่ในอีกด้านนึง หนังเรื่องนี้ก็นำเสนอ “โลกมนุษย์” ในแบบที่ดำมืดและโหดร้ายจนน่าตกใจมาก ๆ ดูแล้วนึกถึงหนัง feel bad ที่เราชื่นชอบสุด ๆ อย่าง THE BLUE HOUR ด้วย ในแง่การนำเสนอตัวละครเกย์ในโลกแห่งความเลวร้าย และดูแล้วนึกถึงหนังอย่าง THE COUNSELOR (2013, Ridley Scott) และ WEEKEND WITH MY MOTHER (2009, Stere Gulea, Romania) ด้วย ในแง่ของการนำเสนอแก๊งอาชญากรที่โหดร้ายมาก ๆ

 

ถึงแม้ตัวละคร queer หนุ่มสองคนใน I PROMISE YOU ANARCHY จะไม่ใช่คนดีสักเท่าไหร่ แต่เราก็ไม่มีปัญหาแต่อย่างใดในจุดนี้นะ  เพราะเราชอบหนังที่นำเสนอโลกแห่งความเป็นจริงแบบนี้ หนังที่ยอมรับว่ามนุษย์แต่ละคนประกอบไปด้วย “หลากหลายแง่มุม หลากหลายด้าน หลากหลายองค์ประกอบ” ในตนเอง และความเป็น queer/เกย์/เลสเบียน ก็เป็นเพียงแค่ “องค์ประกอบหนึ่งในหลาย ๆ องค์ประกอบในตัวมนุษย์คนนึง” เท่านั้น เพราะฉะนั้นการที่หนังเรื่องใดนำเสนอตัวละครหลักหรือตัวละครประกอบที่เป็นคนเลว หรือตัวละครสีเทาที่มีความน่ากังขาทางศีลธรรม แล้วตัวละครตัวนั้นเป็น queer ด้วย มันก็เลยเป็นเรื่องปกติสำหรับเรา เพราะเราเองก็มองมนุษย์แบบนั้นอยู่แล้ว คือมองว่าเกย์มีทั้งคนดีและคนเลว (อย่างเช่นที่มองเกย์/กะเทยที่เชิดชูเผด็จการบางคนในสังคมไทย 55555)  

 

เราเองก็ไม่มีหลักเกณฑ์ตายตัวหรอกนะในการใช้ตัดสินว่าหนังเรื่องไหน “เกลียดเกย์” หรือเปล่า 55555 คือถ้าหนังเรื่องไหนนำเสนอว่า “ความเป็น queer” เป็นเหตุ และ “ความเป็นคนเลว” เป็นผลจากเหตุนั้น (หรือ “เพราะคุณเป็น queer คุณจึงเป็นคนเลว”) หรือนำเสนอว่า “ความเป็น queer เป็นสิ่งที่สมควรได้รับการแก้ไข” อะไรทำนองนี้ หนังเรื่องนั้นก็คงเกลียดเกย์อย่างแน่นอน แต่จริง ๆ แล้วเราก็ใช้ sense ในการดูแล้วรู้สึกเอาเองน่ะ ว่าหนังเรื่องไหนทำให้เรารู้สึกไม่ชอบมาพากล หรือมีอะไรทะแม่ง ๆ หรือเปล่า หรือไม่ก็ต้องอ่านหรือฟังจากคนอื่นๆ ที่ช่วยกันวิเคราะห์ออกมา เพราะเอาจริง ๆ หนังอย่าง “พรางชมพู” และ “ตุ๊ดซี่ส์แอนด์เดอะเฟค” ที่พื้นผิวภายนอกมันดูเหมือนสนับสนุน queer แต่มันก็มีบางฉากที่มันดูแล้วทะแม่ง ๆ สำหรับเรา (เราไม่ได้มองว่าหนังเหล่านี้เกลียดเกย์นะ เพียงแต่มันมีทัศนคติอะไรบางอย่างที่เรารู้สึกแปลก ๆ) ในขณะที่หนังอย่าง I PROMISE YOU ANARCHY หรือ MONSTER ที่ตัวละคร queer มันทำในสิ่งที่เลวร้ายมาก ๆ เรากลับไม่มีปัญหากับมันแต่อย่างใด เพราะฉะนั้นเรื่องแบบนี้เราก็เลยพึ่ง sense ของเราเป็นหลัก และคิดว่าผู้ชมแต่ละคนก็มีสิทธิ debate กันได้ตามใจชอบน่ะแหละ เราอ่านความเห็นของหลาย ๆ คนแล้วเราก็มักจะได้รับความรู้ตามไปด้วย

 

เพราะฉะนั้นเราก็เลยถือโอกาสนี้รวบรวมรายชื่อหนัง queer แนว feel bad ที่เราชอบสุด ๆ มาไว้ด้วยเลยแล้วกัน (หรือหนังที่สะท้อนความดำมืดของมนุษย์ และมีตัวละคร queer อยู่ด้วย) หนังบางเรื่องในกลุ่มนี้อาจจะมีตัวละคร queer ที่ชั่วร้ายมาก ๆ และจริง ๆ แล้วอาจจะไม่เหมาะกับหัวข้อ CELEBRATE PRIDE MONTH แต่เราก็ขอใส่ไว้ในนี้ด้วยนะ 5555 ตามเหตุผลที่เราระบุไปข้างต้น เพราะเรามองว่าหนังเหล่านี้เพียงแต่มองมนุษย์ตามความเป็นจริงที่ซับซ้อนเท่านั้น  มนุษย์ที่เป็นสีเทา มีทั้งความดีความชั่วปะปนกันมากมายในคนคนเดียว และความเป็น queer เป็นเพียงแค่องค์ประกอบหนึ่งในหลาย ๆ องค์ประกอบในตัวมนุษย์แต่ละคนเท่านั้น

 

28.1 LES BICHES (1968, Claude Chabrol)

 

28.2 THE PLACE WITHOUT LIMITS (1978, Arturo Ripstein, Mexico)

 

28.3 QUERELLE (1982, Rainer Werner Fassbinder, West Germany)

 

28.4 THE WOUNDED MAN (1983, Patrice Chéreau, France)

 

28.5 PRICK UP YOUR EARS (1987, Stephen Frears, UK)

 

28.6 MY OWN PRIVATE IDAHO (1991, Gus Van Sant)

 

28.7 HEAVENLY CREATURES (1994, Peter Jackson, New Zealand)

 

28.8 I CAN’T SLEEP (1994, Claire Denis, France)

 

28.9 SISTER MY SISTER (1994, Nancy Meckler, UK)

 

28.10 FEMALE PERVERSIONS (1996, Susan Streitfeld)

หนังอาจจะไม่ได้ feel bad เท่าไหร่ แต่เราชอบตัวละครนางเอก bisexual ที่ดูเทา ๆ ดี นำแสดงโดย Tilda Swinton

 

28.11 DRY CLEANING (1997, Anne Fontaine, France)

 

28.12 SURRENDER DOROTHY (1998, Kevin DiNovis)

 

28.13 THE TALENTED MR. RIPLEY (1999, Anthony Minghella)

 

28.14 GIRLS CAN’T SWIM (2000, Anne-Sophie Birot, France)

 

28.15 MONSTER (2003, Patty Jenkins)

 

28.16 MYSTERIOUS SKIN (2004, Gregg Araki)

 

28.17 CAPOTE (2005, Bennett Miller)

 

28.18 PASSION SONATA (2009, Suphisara Kittikunarak)

 

28.19 THE SKIN I LIVE IN (2011, Pedro Almodóvar, Spain)

 

28.20 TOM AT THE FARM (2013, Xavier Dolan, Canada)

 

28.21 THE BLUE HOUR (2015, Anucha Boonyawatana)

 

28.22 PLAYBOY (AND THE GANG OF CHERRY) (2017, Oompon Kitikamara)

 

28.23 THIRTY YEARS OF ADONIS (2017, Scud, Hong Kong)

เราเขียนถึงหนังเรื่องนี้ไว้ในลิสท์ของ FILM CLUB ด้วยนะ

https://filmclubthailand.com/articles/film-club-list-queer-cinema-part-1/

 

28.24 JT LEROY (2018, Justin Kelly)

อันนี้ก็ไม่ได้ feel bad เท่าไหร่ และไม่รู้ว่าถือเป็นหนัง queer ได้หรือเปล่า 55555 แต่ตัวละครนำก็ดูมีความก้ำกึ่งทางศีลธรรรมที่น่าสนใจมาก ๆ และถือเป็นหนังที่ชอบมาก ๆ

 

28.25 A GIRL MISSING (2019, Koji Fukada, Japan)

Sunday, June 27, 2021

SMALL TALK (2016, Huang Hui-chen, Taiwan, documentary, 88min)

 

CELEBRATE PRIDE MONTH

 

27.SMALL TALK (2016, Huang Hui-chen, Taiwan, documentary, 88min)

 

หนังสารคดีที่ลูกสาวถ่ายแม่ของตนเองที่เป็นเลสเบียน ดูแล้วรู้สึกว่าชีวิตมนุษย์นี่มันยากจะบรรยายจริง ๆ

 

รู้สึกว่า SMALL TALK มันจัดอยู่ในกลุ่มหนังที่น่าสนใจกลุ่มนึงด้วย นั่นก็คือหนังกลุ่ม “พ่อแม่เป็น queer” ที่เหมือนเป็นด้านกลับกันของหนังกลุ่ม “เกย์/เลสเบียนวัยรุ่น coming out” คือโดยปกติแล้วเรามักจะได้ดูหนังที่เกย์/เลสเบียนวัยรุ่นประสบปัญหาในการบอกความจริงกับพ่อแม่ว่าตนเองเป็นเกย์/เลสเบียนน่ะ แต่ในขณะเดียวกัน มันก็มีหนังบางเรื่องที่นำเสนอสถานการณ์ในทางกลับกัน นั่นก็คือหนังที่ตัวพ่อหรือแม่เป็น queer และลูกก็จะแสดงปฏิกิริยาแตกต่างกันไปต่อความเป็นจริงนี้ (อันนี้ไม่นับหนังกลุ่มพ่อแม่ queer ที่รับลูกบุญธรรมนะ)

 

นอกจาก SMALL TALK แล้ว หนังเรื่องอื่น ๆ ในกลุ่มนี้ที่เราเคยดู ก็มีเช่น

 

27.1 THE BIRDCAGE (1996, Mike Nichols)

 

27.2 FROM BEHIND (1999, Valérie Lemercier)

ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุด ๆ หนังมันฮามาก ๆ นางเอกเป็นหญิงสาวที่พยายามตามหาพ่อของเธอที่เป็นเกย์ เธอก็เลยปลอมตัวเป็นเกย์หนุ่มเพื่อออกตามหาเขา

 

27.3 TRANSAMERICA (2005, Duncan Tucker)

 

27.4 FAMILY TREE (2010, Olivier Ducastel, Jacques Martineau, France)

 

27.5 INSECTS IN THE BACKYARD (2010, Tanwarin Sukkhapisit)

 

27.6 LOVELY MAN (2011, Teddy Soeriaatmadja, Indonesia)

 

27.7 THE DUNE (2013, Yossi Aviram, France/Israel)

 

27.8 FAMILY IN TRANSITION (2018, Ofir Trainin, Israel, documentary)

 

27.9 LIKE MOTHER, LIKE SON (2019, Nuttakit Taengthai, 24min)

 

27.10 CANELA (2020, Cecilia del Valle, Argentina, documentary)

 

27.11 วัยอลวนฮ่า! WAI ONLAWON HA! (2021, Pairoj Sangwariboot) น่าเสียดายที่เราไม่ค่อยชอบหนังเรื่องนี้เท่าไหร่ 555

Saturday, June 26, 2021

26. THE RASPBERRY REICH (2004, Bruce La Bruce, Germany/Canada, 90min)

 

CELEBRATE PRIDE MONTH

 

26. THE RASPBERRY REICH (2004, Bruce La Bruce, Germany/Canada, 90min)

 

เหมือนยิ่งเวลาผ่านไปก็ยิ่งชอบหนังเรื่องนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ เรื่องราวของกลุ่มก่อการร้ายที่นำโดยหญิงสาวชื่อ Gudrun (2004) กับกลุ่มลูกสมุนชาย straight แต่ Gudrun เธอมองว่า “Heterosexuality is the opiate of the masses.” (เดาว่าน่าจะแปลว่า ความสัมพันธ์แบบชายหญิงคือสิ่งที่ใช้มอมเมามวลชน”)

เธอก็เลยสั่งให้กลุ่มลูกสมุนชาย straight ของเธอร่วมรักกันเอง เพื่อเป็นการปลดแอกแบบหนึ่ง แต่ปรากฏว่าพอพวกเขาร่วมรักกันเอง พวกเขาก็เลยติดใจไปตาม ๆ กัน และก็เลยตกหลุมรักกันเอง Gudrun ก็เลยยิ่งโมโหหนักยิ่งขึ้นไปอีก 55555 เธอก็เลยสั่งให้ลูกสมุนของเธอไปลักพาตัวลูกชายเศรษฐีมา แต่ปรากฏว่าลูกชายเศรษฐีก็ดันไปตกหลุมรักผู้ชายที่จับตัวเขามา (ถ้าจำไม่ผิด)

 

เข้าใจว่าจริง ๆ แล้ว Bruce La Bruce น่าจะอยู่ในฝ่ายเห็นใจกลุ่มก่อการร้ายฝ่ายซ้ายนะ เพราะในหนังเรื่องนี้เขาจงใจพาดพิงถึงกลุ่ม Baader-Meinhof  ในเยอรมันตะวันตก, กลุ่ม

THE SYMBIONESE LIBERATION ARMY หรือ SLA ที่เคยลักพาตัว Patty Hearst, กลุ่ม The Weathermen และ Che Guevara

 

 แต่เราชอบสุด ๆ ที่หนังเรื่องนี้พอดูแล้วมันเหมือนเป็นการล้อเลียนกลุ่มก่อการร้ายฝ่ายซ้ายและกลุ่มเกย์หัวรุนแรง/กลุ่มหัวก้าวหน้าหัวรุนแรงก็ได้ด้วยน่ะ คือจะมองว่ามันเข้าข้างก็ได้ หรือจะมองว่ามันเสียดสีก็ได้มั้ง แล้วแต่คนมอง

 

คือสิ่งที่ทำให้ชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ เป็นเพราะว่ามันแตกต่างจากหนังเกย์การเมืองโดยทั่วไปในยุคนั้นน่ะ เพราะหนังเกย์การเมืองโดยทั่วไปในยุคนั้น มันมักจะเป็นหนังเรียกร้องสิทธิเกย์ ที่นำเสนอความจริงที่ว่า กฎหมายในหลายๆ ประเทศไม่ให้ความเป็นธรรมต่อ LGBTQ+ และกระแสความเห็นของผู้คนในหลาย ๆ สังคมก็นำมาซึ่งการทำร้ายร่างกาย LGBTQ+ หรือประณาม/กีดกั้นความรักของพวกเรา

 

ซึ่งเราก็มองว่าเป็นสิ่งที่ดีงามแล้วที่มีการผลิตหนังเรียกร้องสิทธิเกย์ออกมาเยอะ ๆ เพื่อจะได้ช่วยผลักดันแก้ไขกฎหมายและความไม่เป็นธรรมในสังคม แต่เนื่องจากโลกแห่งความเป็นจริงมันมีความซับซ้อนมาก ๆ เพราะฉะนั้นมันก็ควรที่จะมีการสร้างหนังที่สะท้อนความซับซ้อนตรงนี้ด้วย เพราะเกย์ก็มีทั้งคนดีคนเลว, ฝ่ายซ้ายก็มีทั้งคนดีคนเลว, ทุนนิยมอาจจะไม่ดี แต่คนที่บอกว่าตัวเอง “ต่อต้านทุนนิยม” บางคน ก็อาจจะเหี้ยยิ่งกว่าทุนนิยมเสียอีก, คนบางคนที่บอกว่าตัวเอง “หัวก้าวหน้า” ก็อาจจะเป็นคนที่เหี้ยมาก ๆ ก็ได้

 

เพราะฉะนั้นเราก็เลยรู้สึกว่า THE RASPBERRY REICH ที่ออกมาในปี 2004 มันพิเศษมาก ๆ เพราะถึงแม้ว่าจริง ๆ แล้วหนังมันจะเข้าข้างฝ่ายซ้ายและกำกับโดยผู้กำกับที่เป็นเกย์ แต่หนังมันไม่ได้นำเสนอภาพลักษณ์ว่า “ฝ่ายซ้าย = คนดี” หรือ “เกย์ = เหยื่อของสังคม” แบบตื้นเขินน่ะ แต่มันดูซับซ้อนกว่านั้นมาก

 

 เราก็เลยรู้สึกว่า พอเวลาผ่านไปเรื่อย ๆ และสังคมในปี 2021 พัฒนาไปไกลกว่าปี 2004 มาก ๆ หนังที่จริงๆ แล้วอาจจะเข้าข้างสิ่งหนึ่งในอดีต อาจจะกลายเป็นหนังที่เสียดสีสิ่งนั้นได้ดีมากโดยที่ไม่ได้ตั้งใจหรือเปล่า 55555 เพราะพอเวลาเราเจอคนที่เรามองว่าเป็น “ฝ่ายซ้ายประสาทแดก”, “หัวก้าวหน้าประสาทแดก” หรือ “เกย์หัวรุนแรง” เราก็จะแอบคิดถึงหนังเรื่องนี้ 55555 เพราะเหมือนมันก็ไม่ค่อยมีหนังเรื่องอื่นๆ ที่นำเสนอ “กลุ่มหัวรุนแรงฝ่ายซ้าย” ได้อย่างประสาทแดกสาแก่ใจเท่าหนังเรื่องนี้ในช่วงที่ผ่านมา คือกลายเป็นว่าหนังเรื่องนี้อาจจะมีคุณค่าสำหรับเราในทางที่ตรงกันข้ามกับที่ Bruce La Bruce ตั้งใจไว้ในตอนแรก 55555

 

เราเคยแปลข้อมูลเกี่ยวกับ THE RASPBERRY REICH เอาไว้ในปี 2005 อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหนังเรื่องนี้ได้ที่นี่นะ

https://celinejulie.blogspot.com/2005/05/raspberry-reich.html

 

พอพูดถึง “หนัง queer แนวการเมือง” แล้ว เราก็คิดว่าอาจจะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ  ซึ่งก็คือหนังการเมืองที่เน้นพูดถึงสิทธิเกย์ อย่างเช่น MILK (2008, Gus Van Sant) และหนังการเมืองที่มีตัวละครเป็น queer แต่อาจจะไม่ได้พูดถึงสิทธิ queer อย่างเช่น RED ANINSRI และ I’M FINE สบายดีค่ะ

 

ในโอกาสนี้ก็เลยถือโอกาสรวบรวมรายชื่อหนัง QUEER แนวการเมืองที่เราเคยดูเอาไว้ด้วยเลยแล้วกัน

 

26.1 WORD IS OUT (1977, Nancy Adair, Andrew Brown, Rob Epstein, documentary)

 

26.2 MARCHES, KISS-INS, PROTESTS & CANDLELIGHT VIGILS: 30 YEARS OF ACTIVISM ON CAMERA (1979-1988, Jim Hubbard, documentary)

 

26.3 STREAMERS (1983, Robert Altman)

 

26.4 THE TIMES OF HARVEY MILK (1984, Rob Epstein, documentary)

 

26.5 KISS OF THE SPIDER WOMAN (1985, Hector Babenco, Brazil/USA)

 

26.6 THE CRYING GAME (1992, Neil Jordan, UK)

 

26.7 PHILADELPHIA (1993, Jonathan Demme)

 

26.8 EAST PALACE, WEST PALACE (1996, Zhang Yuan, China)

 

26.9 BENT (1997, Sean Mathias, UK)

 

26.10 BOYS DON’T CRY (1999, Kimberly Peirce)

 

26.11 หนังของคุณ Montri Toemsombat ที่แต่งตัวเป็นผู้สมัครวุฒิสมาชิกหญิง แล้วชูนโยบายว่าจะนำพาประเทศไทยเข้าไปเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) 55555 เราเคยดูหนังเรื่องนี้ที่หอกลางจุฬา แต่จำชื่อเรื่องไม่ได้แล้ว ไม่แน่ใจว่าใช่เรื่อง OUR PEOPLE (2000, Montri Toemsombat & Jacques Charrier, 13min) หรือเปล่า คิดว่าไม่น่าจะใช่ OUR PEOPLE แต่น่าจะเป็นหนังในเซ็ตเดียวกัน

 

26.12 LAN YU (2001, Stanley Kwan, Hong Kong/China)

 

26.13 THE ASSASSINATED SUN (2003, Abdelkrim Bahloul, France/Algeria) ดูแล้วร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง รักหนังเรื่องนี้ที่สุด

 

26.14 A JIHAD FOR LOVE (2007, Parvez Sharma, UK, documentary)

 

26.15 I’M FINE สบายดีค่ะ (2008, ธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ Tanwarin Sukkhapisit, 4min)

 

26.16 MILK (2008, Gus Van Sant)

 

26.17 SUDDENLY, LAST WINTER (2008, Gustav Hofer, Luca Ragazzi, Italy, documentary)

 

26.18 ENDING STRAIGHT WORLD ลากันที! โลกนี้ he ครอง  (2014, Tanaset Siriwattanadirek, 2014)

 

26.19 1448 LOVE AMONG US (2014, Arunsak Ongla-or)

 

26.20 GAYBY BABY (2015, Maya Newell, Australia, documentary)

 

26.21 HOW TO WIN AT CHECKERS (EVERY TIME) (2015, Josh Kim)

 

26.22 NASTY BABY (2015, Sebastián Silva)

 

26.23 THE QUEEN OF IRELAND (2015, Conor Horgan, Ireland, documentary)

 

26.24 WHERE IS TOMORROW? พรุ่งนี้ของเรา (2015, Parnupong Chaiyo)

https://www.youtube.com/watch?v=N1gi6Kn9VrY

 

26.25 THE SOCIOLOGIST AND THE BEAR CUB (2016, Etienne Chaillou, Mathias Théry, France)

 

26.26 WEEKENDS (2016, Lee Dong-ha, South Korea, documentary)

 

26.27 THE MISEDUCATION OF CAMERON POST (2017, Desiree Akhavan)

 

26.28 NEVERLAND (2017, Samak Kosem)

 

26.29 ปรองดอง NON ZERO SUM GAME (2017, พันธวิศย์ เทพจันทร์ Bhandavis Depchand, documentary, 20min)

 

26.30 THE RED TREE (2018, Paul Rowley, Ireland, documentary)

 

26.31 THE SHEPHERDS (2018, Elvis Lu, Taiwan, documentary)

 

26.32 LATE NIGHT, EARLY DAWN (2019, Nirand Samphaokaew)

ดาวทะเล (นิรันดร์ สำเภาแก้ว)

 

26.33 RED ANINSRI; OR, TIPTOEING ON THE STILL TREMBLING BERLIN WALL (2020, Ratchapoom Boonbunchachoke)

 

26.34 SOUTHERN SORCERESSES (2020, Eliane Caffé, Carla Caffé, Beto Amaral, Brazil, documentary, 89min)

 

แต่เอาจริงแล้ว เราก็คิดว่าหนัง queer ส่วนใหญ่ของฝรั่งที่สร้างออกมาก่อนทศวรรษ 1990 มีความเป็นการเมืองโดยไม่ตั้งใจในตัวมันเองอยู่แล้วนะ คือถ้า queer ยังเป็น taboo ในยุคใดในสังคมใดอยู่ แล้วมีการสร้างหนัง queer ออกมา หนังเรื่องนั้นมันก็อาจจะมีความเป็นการเมืองโดยตัวมันเองอยู่แล้ว

 

แต่พอเหมือนเข้าทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ความเป็น queer มันก็ไม่ได้เป็น taboo ในหลาย ๆ สังคมแล้ว (ถึงแม้ homosexuality จะยังเป็นสิ่งผิดกฎหมายในหลาย ๆ ประเทศในปัจจุบัน แต่ก็มักจะเป็นประเทศที่เราไม่ได้ดูหนังของพวกเขาอยู่แล้ว อย่างเช่น Brunei) เพราะฉะนั้นพอเราดูหนัง queer หลาย ๆ เรื่องตั้งแต่ทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา โดยเฉพาะหนังรักโรแมนติก หรือหนังตลกกะเทยของไทย เราก็เลยไม่รู้สึกว่าเรากำลังดูหนังการเมืองแต่อย่างใด เพราะมันไม่ได้แตะ taboo ใด ๆ ในสังคม ยกเว้นแต่ว่ามันเป็นหนัง queer ที่จงใจพูดถึงปัญหาการเมือง, สังคม, กฎหมายโดยตรง