Wednesday, June 30, 2021

QUEER CARRIERS: DOUBLE AND REPETITION (2020, Ana Laura Aláez, USA, Japan, Spain, 16 mins)

 

CELEBRATE PRIDE MONTH

 

 

29. QUEER CARRIERS: DOUBLE AND REPETITION  (2020, Ana Laura Aláez, USA, Japan, Spain, 16 mins)

 

หนังสั้นเรื่องนี้เป็นการถ่ายคนต่าง ๆ เดินไปตามท้องถนนตั้งแต่ต้นจนจบเรื่อง โดยมีคนนึงขี่มอเตอร์ไซค์ด้วย (อยู่ในรูปซ้ายล่าง) หรือบางคนก็เล่นสเก็ต, ทำการแสดง หรือเล่น Butoh ซึ่งถ้าหากเราไม่ได้อ่าน statement ของผู้กำกับที่ใช้ประกอบหนังเรื่องนี้ เราก็จะไม่รู้หรอกว่าบุคคลต่าง ๆ หลายคนที่เดินกันไปมาในหนังเรื่องนี้ จริง ๆ แล้วเป็น non-binary (แต่เราก็ไม่แน่ใจว่าเราเข้าใจ statement ของหนังถูกต้องหรือเปล่านะ)

 

เราได้ดูหนังเรื่องนี้ในเทศกาล Oberhausen Online แล้วก็เลยประทับใจมาก ๆ เพราะนี่น่าจะเป็นหนังเรื่องแรกเลยมั้งที่เราได้ดูที่ตั้งใจพูดถึง non-binary โดยตรง แต่หนังก็ไม่ได้สัมภาษณ์อะไร subjects เลยนะ แค่ถ่ายพวกเขาเดินไปเดินมาในเมือง ซึ่งบางคนก็ดูเหมือนผู้หญิงปกติธรรมดา แต่บางคนก็มีลักษณะ androgynous บอกไม่ได้ว่าเป็นเพศอะไรกันแน่

 

ก็เลยประทับใจหนังเรื่องนี้มาก ๆ ในแง่การพูดถึงประเด็นที่หนังเรื่องอื่น ๆ แทบไม่เคยพูดถึงมาก่อน ซึ่งเอาเข้าจริงเราก็ยอมรับว่า เรื่องของ non-binary เป็นอะไรที่ใหม่มากสำหรับเรา และเราก็ยังไม่มีความเข้าใจในเรื่องนี้แต่อย่างใด 55555 ดิฉันเป็นคนแก่ค่ะ ตามโลกไม่ทันแล้ว แม้แต่คำว่า cis หรืออะไรนี่ก็เป็นคำใหม่สำหรับดิฉันมาก ซึ่งดิฉันก็ยังไม่เข้าใจศัพท์ใหม่ ๆ เหล่านี้ คือยังงง ๆ ว่าตัวเองเป็น cis หรือเปล่า เพราะตัวเรานั้นเรารู้ว่าเราต้องการมี sex กับผู้ชายหนุ่ม ๆ หล่อ ๆ โดยที่ตัวเราเองจะอยู่ในสภาพไหนก็ได้ จะให้เราผ่าตัดแปลงเพศเป็นผู้หญิง เราก็ยินดีและเต็มใจ จะให้เราอยู่ในสภาพกะเทย เราก็เต็มใจ หรือจะให้เราอยู่ในสภาพผู้ชาย เราก็เต็มใจ ขอให้เราได้มี sex กับหนุ่ม ๆ หล่อ ๆ ก็พอ เราก็เลยไม่รู้ว่าถ้าจะระบุเพศตัวเองตามศัพท์ใหม่ๆ เราคือเพศอะไร แต่เราก็มองว่าตัวเองเป็นตุ๊ด/กะเทย/เกย์มาตั้งแต่เด็กน่ะแหละ 55555

 

พอพูดถึงหนังเกี่ยวกับ non-binary แล้ว เราก็เลยขอรวบรวมรายชื่อหนัง queer กลุ่มสุดท้ายของเดือนนี้ด้วยเลยแล้วกัน นั่นก็คือหนัง queer ที่เน้นเจาะ subculture, กลุ่มยิบย่อยต่าง ๆ ในกลุ่ม queer ซึ่งรวมไปถึง the minority of the minority หรือ the underprivileged of the underprivilged ด้วย เพราะดูเหมือนว่า ในบรรดา queer ด้วยกันเอง มันก็มีกลุ่มที่ด้อยกว่ากันอยู่ภายใน ซึ่งเป็นเพราะเชื้อชาติ, ชนชั้น และอายุด้วย

 

เหมือนเราเคยคิดถึงเรื่องนี้ครั้งแรกตอนฟังรายการวิทยุ SAT & SUN เมื่อ 30 กว่าปีก่อนมั้ง จำไม่ได้ว่าเป็นคุณนัท, คุณณรงค์ หรือคุณมาลี ที่หยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดถึง แต่เขาพูดในทำนองที่ว่า ถ้าหากจำแนกตามเพศและเชื้อชาติในสังคมตะวันตกแล้ว ก็อาจจะจำแนกอย่างคร่าว ๆ ที่สุดได้ว่า ผิวขาวกดผิวดำ และเพศชายอยู่ลำดับชั้นบนสุดทางสังคม (หมายถึงได้อภิสิทธิ์ทางสังคมอย่างไม่เป็นธรรมมากที่สุด) , เพศหญิงถูกกดขี่ให้อยู่ลำดับสอง, เกย์ถูกกดขี่ให้อยู่ลำดับสาม และเลสเบียนถูกกดขี่ให้อยู่ลำดับสี่  

 

เพราะฉะนั้นพอแบ่งตามเกณฑ์นี้อย่างคร่าว ๆ ก็จะพบว่า ในสังคมตะวันตกอย่างในสหรัฐ “ผู้ชายผิวขาว” คือกลุ่มที่อยู่บนสุด มีความได้เปรียบทางสังคมมากที่สุด ส่วนเลสเบียนผิวดำก็จะกลายเป็นกลุ่มที่ถูกกดขี่มากที่สุด อะไรทำนองนี้

 

ซึ่งสิ่งที่เขาพูดในรายการวิทยุเมื่อราว 30 กว่าปีก่อนก็อาจจะมีส่วนจริงนะ เพราะพอมาคิด ๆ ดูแล้ว เราก็แทบไม่เคยได้ดูหนังเกี่ยวกับเลสเบียนผิวดำเลย ทั้ง BORN IN FLAMES (1983, Lizzie Borden) และ THE WATERMELON WOMAN (1996, Cheryl Dunye) หรือหนังเลสเบียนผิวดำเรื่องอื่น ๆ ก็ไม่เคยเข้ามาฉายในไทยเลยมั้ง ยกเว้น RAFIKI (2018, Wanuri Kahiu, Kenya) แต่นั่นก็อาจจะเป็นเพราะว่าคนผิวดำถือเป็น majority ของเคนยาอยู่แล้ว ซึ่งแตกต่างจากคนผิวดำในสหรัฐที่ถือเป็น minority

 

ส่วนหนัง “เกย์ผิวดำ” เราก็ได้ดูแค่ไม่กี่เรื่อง อย่างเช่น MOONLIGHT และ GREEN BOOK (2018, Peter Farrelly) ในขณะที่หนังเกี่ยวกับ “เกย์ผิวขาว”, “เลสเบียนผิวขาว”, “ผู้ชายผิวดำ”, “ผู้หญิงผิวดำ” นั้นเราได้ดูเยอะมาก คือถ้าหากพูดถึงการถูก represent ในโลกภาพยนตร์แล้ว แม้แต่ในบรรดาหนัง queer ด้วยกันเอง มันก็กลุ่มที่ด้อยโอกาสกว่ากลุ่มอื่น ๆ อยู่ด้วยน่ะแหละ

 

หนัง queer ที่เจาะ “กลุ่มย่อย” ที่เราชอบมาก ๆ

 

29.1 PARIS IS BURNING (1990, Jenny Livingston, documentary)

 

29.2 BEAR CUB (2004, Miguel Albaladejo, Spain)

ชมรมเกย์หุ่นหมี

 

29.3 HASAN (2008, Attapon Pamakho)

 

29.4 FOR 80 DAYS (2010, Jon Garaño, Jose Mari Goenaga, Spain)

หนังพูดถึงความรักของหญิงวัย 70 กว่าปีสองคน ซึ่งเป็นประเด็นที่เราไม่ค่อยได้ดู เพราะส่วนใหญ่เรามักจะได้ดูแต่หนังเกี่ยวกับ “เกย์วัยชราที่รักเด็กหนุ่ม ๆ” 55555

 

29.5 INTERSEXION (2012, Grant Lahood, New Zealand, documentary

หนังสารคดีเกี่ยวกับ hermaphrodite หรือคนที่เกิดมาแล้วมีลักษณะกายภาพของทั้งสองเพศอยู่ในคนคนเดียวกัน (ไม่รู้เราบรรยายถูกหรือเปล่า)

 

29.6 GERONTOPHILIA (2013, Bruce LaBruce, Canada)

เกย์หนุ่มที่ชอบคนชรา

 

29.7 I AM BLACK, I AM QUEER, AND I’M A WHORE (2014, Cas van der Pas & Hugo Meijer,  Colombia, documentary)

 

หนังสารคดีเกี่ยวกับกะเทยกะหรี่ผิวดำ (รูปขวาล่าง)

 

29.8 THE WAY HE LOOKS (2014, Daniel Ribeiro, Brazil)

เกย์ผู้พิการทางสายตา

 

 29.9 IN THE BOX OF FISH ห้วงวิปลาส (2016, Kiattisak Kingkaew)

ตัวละครในหนังเป็นเกย์ที่มีรสนิยมเฉพาะทาง

 

29.10 MOONLIGHT (2016, Barry Jenkins)

 

29.11 STUMPED (2017, Robin Berghaus)

หนังสารคดีเกี่ยวกับชายหนุ่มที่อยู่ดี ๆ ก็ติดเชื้ออะไรก็ไม่รู้ และทำให้เขาต้องถูกตัดแขนตัดขาทิ้งไป แต่เขามีกำลังใจสู้ชีวิตมาก ๆ ดูแล้วกราบมาก ๆ และเขาก็มีผัวหนุ่มน่ารักด้วย

https://www.facebook.com/jit.phokaew/posts/10223950383010793

 

29.12 TALE OF THE LOST BOYS (2017, Joselito Altarejos, Philippines)

เกย์ที่เป็น “ชนพื้นเมือง” ของไต้หวัน

 

29.13 TRIAMO (2017, Pathompong Praesomboon, Thailand, 28min)

เกย์สามคนที่รักกันและอยู่กินกัน

 

29.14 ERIK & ERIKA (2018, Reinhold Bigeri, Austria)

สร้างจากเรื่องจริงของนักกีฬาสกีชื่อดัง เธอเกิดมาเป็น hermaphrodite มีทั้งสองเพศในคนคนเดียวกัน แต่คนสมัยนู้นยังไม่รู้ไม่เข้าใจในเรื่องพวกนี้ ซึ่งรวมถึงทั้งตัวเธอเองและครอบครัวของเธอด้วย เธอก็เลยเติบโตมาแบบเด็กผู้หญิงชื่อเอริกา และกลายเป็นนักกีฬาสกีที่สร้างความภาคภูมิใจให้คนทั้งชาติ แต่ต่อมาเธอถึงพบว่าตัวเองเป็น hermaphrodite และนั่นทำให้เธอถูกครหาว่าไม่สมควรได้รางวัลในฐานะนักสกีหญิง ซึ่งต่อมาเธอก็ผ่าตัดแปลงเพศเป็นผู้ชายและคืนรางวัลทั้งหมดไป (ถ้าจำไม่ผิด)

 

29.15 JOHNNY (2018, Hugh Rodgers, Ireland, documentary)

หนังสารคดีที่เกี่ยวกับเกย์หนุ่มที่มาจากชุมชนคนร่อนเร่  เข้าใจว่าเป็นชุมชนที่คล้าย ๆ คน roma หรือยิปซี

 

29.16 YOU’VE GOT ME STUMPED เราล้วนเว้าแหว่งในตำแหน่งที่แตกต่างกัน (2018, Kiattisak Kingkaew)

ตัวละครในหนังเป็นเกย์ที่มีรสนิยมเฉพาะทาง

 

29.17 SUK SUK (2019, Ray Yeung, Hong Kong)

 

รายชื่อข้างต้นไม่รวมหนัง interracial queer ที่เราเคยทำลิสท์ไว้แล้วนะ

https://www.facebook.com/jit.phokaew/posts/10226834097101843

No comments: