CELEBRATE PRIDE MONTH
25. THE SUMMER OF SANGAILE (2015, Alante Kavaite, Lithuania, 90min)
แน่นอนว่าติดอันดับหนึ่งในหนังเลสเบียนที่เราชอบมากที่สุดในชีวิต พอ ๆ
กับ CAROL
(2015, Todd Haynes) แต่ CAROL
เป็นหนังที่เพื่อน ๆ หลายคนคงดูไปแล้วเรียบร้อย
เราก็เลยเลือกหนังเรื่องนี้มาใส่ในลิสท์ของเราแทน
สาเหตุที่เราชอบ CAROL อย่างสุด ๆ
คงเป็นเพราะความละเมียดละไมด้านภาพและอารมณ์ความรู้สึกของมันมั้ง
ส่วนสาเหตุที่เราชอบ THE SUMMER OF SANGAILE นั้น
คงเป็นเพราะ wavelength มันตรงกับเราพอดี 555
และเป็นเพราะเราชอบตัวละครนางเอก Sangaile (Julija Steponaityte) อย่างสุด ๆ ด้วยแหละ คือเหมือนถ้าเราเลือกเกิดเป็นผู้หญิงได้
เราก็อยากเกิดเป็นผู้หญิงที่มีรูปร่างหน้าตาแบบนี้ คือดูมีเสน่ห์แบบนางแบบ
ผอมเพรียว หรือถ้าหากเราแต่งนิยาย หรือสร้างหนัง
เราก็อยากแต่งนิยายหรือสร้างหนังที่มีตัวละครนางเอกคล้าย ๆ แบบนี้
คือเป็นหญิงสาวที่มีความแปลกแยก ไม่ค่อยชอบสุงสิงกับใคร และเหมือนมีธาตุความแข็งบางอย่างอยู่ในตัว
ฉากที่ทำให้เรามั่นใจว่าเราคือตัวละครนางเอกในหนังเรื่องนี้อย่างแน่นอน
ก็คือฉากที่นางเอกถูกถามในงานปาร์ตี้ญาติผู้ใหญ่ว่า “โตขึ้นหนูอยากเป็นอะไร”
แล้วนางเอกก็ประกาศกลางงานปาร์ตี้ว่า “Maybe
I’ll be a whore.”
ชอบปมความกลัวความสูงของนางเอกมาก ๆ ด้วย ชอบที่เธอท้าทายตัวเองได้ในช่วงท้าย
ฉากที่เธอไต่ขึ้นที่สูง ๆ ในช่วงท้ายเรื่องนี่ติดตามาก ๆ
ตลกดีที่หนังเลสเบียนที่เราชอบมาก ๆ 4 เรื่องตั้งชื่อหนังคล้ายกัน,
นำเสนอเรื่องราวความรักระหว่างหญิงสาวสวยสองคนเหมือนกัน และเน้น “ธรรมชาติที่งดงามสุด
ๆ” เหมือนกัน โดยหนังอีก 3 เรื่องที่เหลือก็คือ
-- MY SUMMER OF LOVE (2004, Pawel Pawlikowski,
UK)
--SUMMER (2014, Colette Bothof, Netherlands)
--SUMMERTIME (2015, Catherine Corsini, France)
เราว่าหนังทั้ง 4 เรื่องนี้มีข้อดีแตกต่างกันไปนะ MY SUMMER OF LOVE มีประเด็นด้านชนชั้น
ส่วน SUMMER เราชอบโครงสร้างการเล่าเรื่องที่แตกต่างจากหนังเลสเบียนวัยรุ่นทั่วไป
เพราะในหนังเรื่องนี้ประเด็นเลสเบียนเหมือนไม่ใช่สิ่งที่สำคัญที่สุดของหนัง
แต่เป็นเพียงแค่ “ด้านนึง” ในหลาย ๆ ด้านของชีวิตตัวละคร ส่วน SUMMERTIME ก็มีการพูดถึงประเด็น feminism ในทศวรรษ 1970
แต่ในบรรดาหนังชุด THE SUMMER OF LESBIANS 4 เรื่องนี้
เราก็ชอบ THE SUMMER OF SANGAILE มากที่สุดน่ะแหละ
เพราะเราชอบรูปร่างหน้าตาบุคลิกลักษณะนิสัยของนางเอกเรื่องนี้มากที่สุด
มันเป็นตัวละคร “หญิงสาววัยรุ่น” ที่เรารู้สึกอินกับเธอได้มากที่สุดตัวนึงน่ะ เราก็เลยจัดให้หนังเรื่องนี้อยู่ในกลุ่ม
“หนังหญิงสาววัยรุ่น” ที่เรารู้สึกอินด้วยอย่างรุนแรง เหมือนกับหนังอย่าง MOUCHETTE
(1967, Robert Bresson, France), BU SU (1987, Jun Ichikawa, Japan), GINGER SNAPS
(2000, John Fawcett, Canada), THE OTHER GIRLS (2000, Caroline Vignal, France), LOVELY
RITA (2001, Jessica Hausner, Austria), BROAD SHOULDERS (2003, Ursula Meier,
Switzerland), I ALWAYS WANTED TO BE A SAINT (2003, Genevieve Mersch Luxembourg),
ANGEL’S FALL (2004, Semih Kaplanoglu, Turkey), GHOSTS (2005, Christian Petzold,
Germany), STOKER (2013, Park Chan-wook) และ LADY BIRD
(2017, Greta Gerwig)
และเนื่องจาก THE SUMMER OF SANGAILE เป็นหนัง Lithuania
ซึ่งเราได้ดูหนังจากประเทศนี้น้อยมาก ๆ ในชีวิตนี้เราน่าจะเคยดูหนัง
Lithuania มาไม่ถึง 20 เรื่องมั้ง เราก็เลยถือโอกาสนี้รวบรวมรายชื่อหนัง
queer จากประเทศแปลก ๆ หรือประเทศที่เราไม่ค่อยได้ดูหนัง queer
ของเขามาไว้ด้วยเลยแล้วกัน
WORLD CINEMA OF QUEER FILMS ที่เราเคยดู
25.1 COMING OUT (1989, Heiner Carow, East Germany)
25.2 STRAWBERRY AND CHOCOLATE (1993, Tomás Gutiérrez Alea, Juan
Carlos Tabío, Cuba)
25.3 BUGIS STREET (1995, Yonfan, Singapore)
25.4 FIRE (1996, Deepa
Mehta, India)
เหมือนในยุคโน้นหนังเลสเบียนเรื่องนี้จะถูกต่อต้านอย่างรุนแรงในอินเดีย
แต่ปัจจุบันนี้หนังบอลลีวู้ดเบาสมองของอินเดียสามารถนำเสนอตัวละครคู่รักเกย์ได้แล้ว
อย่างเช่นหนังเรื่อง EXTRA CAREFUL OF MARRIAGE (2020, Hitesh Kewalya)
25.5 DAKAN (1997, Muhammad Camara,
Guinea)
25.6 DON’T TELL ANYONE (1998, Francisco J. Lombardi, Peru, 1998)
25.7 FROM THE EDGE OF THE CITY (1998, Constantine Giannaris,
Greece)
25.8 HOME FOR CHRISTMAS (2000, Frank Mosvold, Norway, 4min)
25.9 YOU I LOVE (2004, Olga Stolpovskaja, Dmitriy Troitskiy,
Russia)
25.10 GO WEST (2005, Ahmed Imamovic, Bosnia and Herzegovina)
25.11 A SOAP (2006, Pernille Fischer Christensen, Denmark)
25.12 THE COUNTRY TEACHER (2008, Bohdan Sláma, Czech)
25.13 BE LIKE OTHERS (2009, Tanaz Eshaghian, Iran/Canada,
documentary)
25.14 BURMESE
BUTTERFLIES (2011, Hnin Ei Hlaing, Myanmar, documentary)
25.15 LOST IN PARADISE (2011, Ngoc Dang Vu, Vietnam)
25.16 PARTS OF THE HEART (2012, Paul Agusta, Indonesia)
25.17 SECOND LIFE OF THIEVES (2014, Woo Ming Jin, Malaysia)
25.18 ABOVE IT ALL (2015, Anysay Keola, Laos)
25.19 HOLY MESS (2015, Helena Bergstrom, Sweden)
25.20 WHERE THERE IS SHADE (2015, Nathan Nicholovitch,
Cambodia/France)
จริง ๆ มันก็น่าจะถือเป็นหนังฝรั่งเศสมากกว่าหนังกัมพูชานะ 5555
แต่เนื่องจากเราคิดถึงหนัง queer จากกัมพูชายังไม่ออก
เราก็เลยใส่อันนี้เข้ามาก่อน
25.21 HANDSOME DEVIL (2016, John Butler, Ireland)
25.22 TOMCAT (2016, Klaus Händl, Austria)
25.23 MR. GAY SYRIA (2017, Ayse Toprak, Turkey, documentary)
25.24 RIU, WHAT THE ANCESTRAL CHANTS TELL (2017, Pablo Berthelon
Aldunate, Chile, documentary)
25.25 TOM OF FINLAND (2017, Dome Karukoski, Finland)
25.26 THE WOUND (2017, John Trengove, South Africa)
25.27 RAFIKI (2018, Wanuri Kahiu,
Kenya)
25.28 ONLY YESTERDAY (2020, Sione Monu, New Zealand,
8min)
หนัง queer
จาก New Zealand คงไม่ใช่เรื่องแปลก
แต่เนื้อหาของหนังเรื่องนี้พูดถึงกะเทย/เกย์ชาว Tonga (ประเทศนึงใน
Polynesia) และน่าจะเป็นหนังเรื่องเดียวที่เราเคยดูที่พูดถึง
queer จาก Tonga
รายชื่อข้างต้นไม่รวมประเทศที่พวกเราได้ดูหนังเกย์เยอะมากอยู่แล้ว
อย่างเช่นไทย, ฟิลิปปินส์, ญี่ปุ่น, ไต้หวัน, เกาหลีใต้, อเมริกา, แคนาดา, ฝรั่งเศส, สเปน, อิตาลี, เยอรมนี, เนเธอร์แลนด์, เบลเยียม, อังกฤษ,
etc. นะ หรือบางประเทศมันก็มี gay film auteurs ที่พวกเรารู้จักกันดีอยู่แล้วน่ะ อย่างเช่น Marco Berger
(Argentina), Karim Aïnouz (Brazil), Scud
(Hong Kong), Jaime Humberto Hermosillo (Mexico), João Pedro Rodrigues
(Portugal), Marcel Gisler (Switzerland)
No comments:
Post a Comment