CELEBRATE PRIDE MONTH
16. THE ASCENT OF CHIMBORAZO (1989, Rainer Simon, East Germany/West
Germany/Ecuador, 110min)
เราได้ดูหนังเรื่องนี้ที่สถาบันเกอเธ่ในช่วงกลางทศวรรษ 1990 แล้วก็ประทับใจอย่างสุด
ๆ คือตัวหนังเองก็ดีงามอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ทำให้เรารักหนังเรื่องนี้มาก ๆ ก็คือว่า มันเป็นหนังเกี่ยวกับชีวประวัติของ Alexander von Humboldt (1769-1859)
ซึ่งเป็นนักภูมิศาสตร์และนักสำรวจที่เราไม่เคยได้ยินชื่อมาก่อน
แล้วหนังก็พูดถึงความเป็นเกย์ของเขาอย่างชัดเจนด้วย
คือมันเป็นเรื่องของยุคสมัยที่เราเติบโตมาด้วยแหละ คือเราเกิดปี 1973 ไง
แล้วตอนเด็กๆ เราก็แทบไม่เคยเห็น “เกย์หนุ่ม” หรือ “เกย์แมน ๆ”
ปรากฏตัวตามสื่อต่าง ๆ เลย เรามักจะเห็นแต่ “กะเทยแต่งหญิง” หรือ “กะเทยตุ้งติ้ง”
ที่ได้รับการนำเสนอผ่านทางสื่อต่าง ๆ แล้วเราก็มักจะมีภาพจำของเกย์ว่า เกย์/กะเทยมักจะประกอบอาชีพในวงการบันเทิง
หรือวงการศิลปะ แต่เราแทบไม่เคยได้ดูหนังที่บอกเล่าเรื่องราวของเกย์ชื่อดังในวงการวิทยาศาสตร์
หรือเกย์ชื่อดังในวงการกีฬามาก่อน
เพราะฉะนั้นพอเราได้ดูหนังเรื่องนี้ ที่ตอนแรกเรานึกว่ามันจะพูดถึง “นักวิทยาศาสตร์หนุ่มชื่อดัง”
หรือ “นักไต่เขาหนุ่มชื่อดัง” ที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ เราก็เลยไม่ได้เตรียมตัวเตรียมใจมาก่อนว่า
ตัวละครพระเอกจะเป็นเกย์ แล้วพอหนังมันเล่าเรื่องไปเรื่อย ๆ
แล้วแสดงให้คนดูเห็นว่าพระเอกเป็นเกย์
เราก็เลยร้องวี้ดด้วยความพึงพอใจเป็นอย่างมาก เพราะเราคาดไม่ถึงมาก่อน
นอกจากความเป็นเกย์แล้ว ตัวหนังเองก็ดีมาก ๆ ด้วยแหละ
เพราะมันเป็นหนังเยอรมันตะวันออกด้วยมั้ง
มันก็เลยไม่มีความพยายามจะเร้าใจอะไรแบบหนังฮอลลีวู้ด
และไม่มีความพยายามจะสร้างความซาบซึ้งกินใจเชิดชูฮีโร่แบบหนังฮอลลีวู้ดด้วย
แต่มันถ่ายทอดชีวิตมนุษย์ออกมาได้อย่างงดงามมาก ๆๆๆ
ส่วนหนังเรื่องอื่น ๆ ที่เราชอบในทำนองคล้าย ๆ กัน
เพราะมันนำเสนอตัวละครเกย์หรือ queer ในบทบาทที่เราคาดไม่ถึง
ก็มีเช่น
16.1 SWORDSMAN II เดชคัมภีร์เทวดาภาคสอง (1991,
Ching Siu Tung, Stanley Tong, Hong Kong)
ถึงแม้ตัวละคร “ตงฟางปุ๊ป้าย” หรือ “บูรพาไม่แพ้”
จะมีสถานะเป็นผู้ร้ายในหนังเรื่องนี้ แต่เราก็ไม่ได้รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้มีความ “เกลียดเกย์”
เลยแม้แต่นิดเดียว 55555 ตรงกันข้าม เรากลับรู้สึกว่าหนังเรื่องนี้รักตัวละครตงฟางปุ๊ป้ายอย่างสุด
ๆ และเราเชื่อว่าผู้ชมหลายๆ คนก็รักตัวละครตงฟางปุ๊ป้ายอย่างสุด ๆ เหมือนกับเรา
ยิ่งถ้าเปรียบเทียบกับตัวบทประพันธ์ต้นฉบับของ “กิมย้ง” ที่ใช้ชื่อว่า
“กระบี่เย้ยยุทธจักร” แล้วจะยิ่งเห็นชัดเลย คือในตัวบทประพันธ์ต้นฉบับนั้น
ตัวละครตงฟางปุ๊ป้ายดูไม่ค่อยดีเท่าไหร่น่ะ แต่ตัวหนังนั้นแทบไม่ได้ดำเนินเนื้อเรื่องตามตัวบทประพันธ์ต้นฉบับเลยแม้แต่นิดเดียว
ตัวหนังมันก็เลยทำให้ตัวละครตงฟางปุ๊ป้ายออกมาดูสง่างามมาก ๆ ทรงพลังมาก ๆ น่าจดจำมาก
ๆ
เราชอบสถานะของตัวละคร queer ในหนังด้วยแหละ
เพราะในจักรวาลหนังบู๊แอคชั่นนั้น “ความแข็งแกร่งของผู้ชาย” มักจะได้รับการเชิดชู โดยเฉพาะในหนังแบบ
CONAN THE BARBARIAN อะไรทำนองนี้
แต่กระบี่เย้ยยุทธจักร/เดชคัมภีร์เทวดา ทำลายหลักการนี้จนสิ้นซาก
แล้วให้ตัวละครกึ่งชายกึ่งหญิง ครองตำแหน่งสูงสุดในยุทธภพแทน
16.2 100 DAYS BEFORE THE COMMAND (1991, Hussein Erkenov, Russia)
เกย์ในกองทัพรัสเซีย
16.3 ACHILLES (1995, Barry Purves, UK, animation)
ชอบมาก ๆ ที่หนังนำเสนอตัวละคร Achilles กับ Patroclus ในตำนานกรีกในฐานะของคู่รักเกย์
16.4 BLITZ (2011, Elliott Lester, UK)
ชอบมาก ๆ ที่มันเป็นหนังแอคชั่นบ้าระห่ำที่นำแสดงโดย Jason Statham ในบทของตำรวจบู๊เลือดพล่าน
แต่ตำรวจคู่หูของเขาเป็นเกย์ (Paddy Considine)
16.5 THE IMITATION GAME (2014, Morten Tyldum, UK/USA)
อ่านที่คุณ Filmsick เขียนถึงหนังเรื่องนี้ได้ที่
https://www.facebook.com/photo?fbid=10152730932503576&set=a.10152645234863576
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Alan Turing ซึ่งเป็น subject
ของ THE IMITATION GAME ได้ในคัมภีร์ “LGBT:
SPIRIT OF QUEER CINEMA” ของคุณวาริน นิลศิริสุขนะ
16.6 MARIO (2018, Marcel Gisler, Switzerland)
เกย์ในฐานะนักฟุตบอล
16.7 CANELA (2020, Cecilia del Valle, Argentina, documentary)
หนังสารคดีเกี่ยวกับสถาปนิกวัยเกือบ 60 ปีที่กำลังจะผ่าตัดแปลงเพศเป็นผู้หญิง
และเขาก็ยังคงทำงานด้วยการไปไซท์ก่อสร้างและคุมคนงานก่อสร้างเป็นประจำ เราชอบการได้เห็นกะเทยแต่งหญิงเดินอย่างมาดมั่นเข้าไปคุมบรรดาคนงานก่อสร้างมาก
ๆ นอกจากนี้ ลูกชายของเขาก็หล่อมาก ๆ ด้วย 55555 (ตอนแรกเรานึกว่าเขาอาศัยอยู่กับผัวหนุ่มหล่อ
เพราะทั้งสองสนิทชิดเชื้อกันมาก ๆ พอดูไปถึงกลางเรื่องถึงรู้ว่า
นี่ไม่ใช่ผัวหนุ่มหล่อ แต่เป็นลูกชายของเขา)
No comments:
Post a Comment