FOUR FACES OF JIT PHOKAEW
สรุปว่าช่วงนี้ดิฉันขอจองเป็นตัวละคร 4 ตัวนี้ค่ะ
1. Martha (แสดงโดย Hanna
Schygulla) in POOR THINGS (2023, Yorgos Lanthimos, A+30)
2.กะหรี่สาวสูงวัย (Melissa McMeekin) ท่ามกลางอากาศหนาวเหน็บ in THE HOLDOVERS (2023, Alexander Payne,
A+30)
3. ตัวละคร “คุณย่า” ที่หนักที่สุดเท่าที่เราเคยดูมาในชีวิตนี้
ใน BAZMANDE (THE SURVIVOR) (1995, Seifollah Dad,
Iran) ไม่ทราบชีวิตอะไรอีกต่อไป
4. Manju Maai (Chhaya Kadam) คุณป้าขาย samosa ที่สถานีรถไฟใน LAAPATAA
LADIES (2023, Kiran Rao, India, A+30)
รักตัวละครคุณป้าขาย samosa อย่างสุดขีดมาก ๆ เธอไล่ลูกชายกับผัวออกไปจากชีวิตของเธอ
เพราะผัวของเธอทุบตีเธอ โดยผัวอ้างว่า “เพราะเขารักเธอ เขาจึงมีสิทธิทุบตีเธอได้”
เธอก็เลยไล่เขาออกไปจากชีวิต และเธอตัดสินใจอยู่ตัวคนเดียว
หาเงินเลี้ยงชีพตามลำพัง และพอตัวละครตัวนึงถามเธอในทำนองที่ว่า “อยู่คนเดียวแบบนี้ไม่เหงาเหรอ
ไม่กลัวเหรอ มีความสุขดีเหรอ” คุณป้าก็ตอบในทำนองที่ว่า “มันก็ยากอยู่หรอกในตอนแรก
ๆ ที่จะใช้ชีวิตตามลำพังอย่างมีความสุข แต่พอเราทำมันได้สำเร็จ ก็จะไม่มีใครมา
bother เราได้อีกต่อไป”
คือจุดนี้ของคุณป้าทำให้นึกถึงตัวละครพระเอกใน PERFECT
DAYS (2023, Wim Wenders, A+30) มาก ๆ ในแง่ที่เป็นตัวละครที่ “เลือกเองว่ากูขอมีชีวิตอยู่ตามลำพังดีกว่า”
และตัวละครทั้งสองก็อาจจะมี “บาดแผลแห่งชีวิต” จากอดีตหรือจากครอบครัวอยู่ด้วยเหมือนกัน
แต่ตัวละครทั้งสองก็มีข้อแตกต่างกันอยู่บ้าง เพราะคุณป้าใน LAAPATAA LADIES
อาจจะยังไม่ได้อยู่ในจุดที่สมดุลกับชีวิตมากนักในช่วงต้นของหนังเรื่องนี้
เพราะในขณะที่เนื้อเรื่องใน LAAPATAA LADIES ดำเนินไปเรื่อย
ๆ เราก็จะได้เห็นตัวละครคุณป้าคนนี้ค่อย ๆ พัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับเนื้อเรื่องด้วย
ทั้งในเรื่อง “วิธีการที่เธอปฏิบัติต่อลูกค้า” และเรื่อง “การตัดสินใจว่าจะกินหรือไม่กินของหวาน”
ชอบ LAAPATAA LADIES (2023, Kiran Rao,
India, A+30) ที่ลงโรงฉายอยู่ที่เมเจอร์ สุขุมวิท กับไอคอน สยามในตอนนี้มาก
ๆ คือบทหนังอาจจะดู “ฝืน ๆ” ไปบ้างในช่วงท้าย
แต่โดยรวมแล้วถือว่าเป็นหนังที่โอเคมาก ๆ เมื่อกับหนังอินเดียเรื่องอื่น ๆ ที่เคยลงโรงฉายในกรุงเทพในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมา
แต่ถ้าหากเทียบกับหนังเรื่องอื่น ๆ
ที่เราได้ดูในสัปดาห์นี้แล้ว เราก็ไม่ได้ชอบ LAAPATAA LADIES มากที่สุดนะ เพราะสัปดาห์นี้เราได้ดูทั้ง SANS SOLEIL (1983, Chris
Marker, France, second viewing, A+30) ที่เราขอยกให้เป็นหนึ่งในหนังที่งดงามที่สุดเท่าที่เราเคยดูมาในชีวิตนี้
และ LOOKING FOR GILLES CARON (2019, Mariana Otero, France, documentary,
A+30) ที่ฉายที่สมาคมฝรั่งเศสในวันพุธที่ 28 ก.พ. และเหมือนเป็นหนังที่บรรจุ
all the sorrows of the world เข้ามาไว้ในหนัง แน่นอนว่า
ตอนนี้ LOOKING FOR GILLES CARON กลายเป็นหนังที่เตรียมลุ้นอันดับหนึ่งประจำปีนี้ของเราควบคู่ไปกับ
PERFECT DAYS และ KACHUA MEE PEEK กะจั๊วมีปีก
(2022, Wairun Akarawinake, 60min, A+30) ไปแล้ว
No comments:
Post a Comment