Wednesday, March 27, 2024

HOURS OF OURS (2023, Komtouch Napattaloong, documentary, A+30)

 

HOURS OF OURS (2023, Komtouch Napattaloong, documentary, A+30)

 

1.ตอนแรกที่เราได้เห็นเรื่องย่อของหนังเรื่องนี้ เราก็นึกไปถึง Facebook ของคุณ Sakda Kaewbuadee ที่มักจะเล่าเรื่องของผู้อพยพลี้ภัยจากประเทศต่าง ๆ ที่มาติดแหง็กอยู่ในไทยและประสบปัญหาต่าง ๆ มากมายเพราะกฎหมายของไทย แล้วเราก็สงสัยว่าหนังเรื่องนี้จะให้อะไรเราได้มากกว่าสิ่งที่เราเคยรู้ ๆ มาแล้วจาก Facebook ของคุณ Sakda ไหม

 

ซึ่งก็ปรากฏว่า ในด้าน “ข้อมูล” นั้น หนังเรื่องนี้แทบไม่ได้ให้อะไรเรามากไปกว่าสิ่งที่เรารู้ ๆ มาแล้วจากคุณ Sakda แต่เราก็ชอบหนังเรื่องนี้สุดๆ เพราะเราว่ามันใช้ประโยชน์จาก “ความเป็นภาพยนตร์” ได้ดีมาก ๆ ในแบบนึงน่ะ นั่นคือมันไม่จำเป็นต้องเน้นการให้ข้อมูลก็ได้ เพราะการให้ข้อมูลสามารถทำได้ในรูปแบบ “ตัวหนังสือ” หรือในรูปแบบ “การเขียน” ผ่านทางสื่อต่าง ๆ อย่างเช่น Facebook อยู่แล้ว ถ้าหากเราอยากรู้ “ข้อมูล” เราทำมันผ่านทาง “การอ่าน” ข้อมูลต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายทางอินเทอร์เน็ตก็ได้

 

เราประทับใจหนังเรื่องนี้ เพราะถึงแม้มันไม่ได้ให้ข้อมูลมากนักเกี่ยวกับตัว subjects และถึงแม้ตัว subjects ไม่ได้เปิดใจพูดคุยต่อหน้ากล้องมากนัก (ซึ่งก็คงเป็นเพราะอุปสรรคด้านภาษาด้วยส่วนหนึ่ง) แต่เราว่าหนังมันพาเราไปสัมผัส space and time เดียวกับตัว subjects ได้มากพอสมควรน่ะ โดยเฉพาะในแง่ space คือพอเราได้เห็น “สภาพแวดล้อม” ของพวกเขา และการใช้ชีวิตในแต่ละวันของพวกเขาท่ามกลางสภาพแวดล้อมเหล่านั้น มันก็เหมือนทำให้เราได้ experience อะไรบางอย่างในแบบที่ “ตัวหนังสือ” อาจจะทำได้ยากน่ะ เราก็เลยรู้สึกว่า หนังเรื่องนี้มันใช้ประโยชน์จากความเป็น “ภาพยนตร์” ได้ดี มันทำให้เราสัมผัสได้ถึง “สภาพห้องที่พวกเขาอยู่”, สภาพตึก, สนาม, สิ่งแวดล้อมรายรอบต่าง ๆ และสัมผัสได้ถึงชีวิตประจำวันของพวกเขา ซึ่งถ้าหากมันถูกถ่ายทอดเป็น “ตัวหนังสือ” บางทีเราก็อาจจะอ่านมันผ่านไปอย่างรวดเร็ว และไม่ทันได้ “รู้สึก” อย่างแท้จริงไปกับประโยคเหล่านั้น หรือไม่ทันได้จินตนาการอย่างจริง ๆ จังๆ ไปกับคำแต่ละคำในประโยค แต่พอมันเป็น “ภาพยนตร์” ที่ให้เราได้เห็น “ภาพ”, ได้เห็น “การเคลื่อนไหวของ subjects” และได้เห็น subjects ใช้เวลาอยู่ในสถานที่นั้น ๆ โดยที่เราไม่สามารถเร่งสปีดภาพให้ผ่านไปอย่างรวดเร็วแบบการอ่านหนังสือเร็ว ๆ ได้ เราก็เลยได้ใช้เวลาอยู่กับ subjects และรู้สึกสัมผัสได้ถึง space ในชีวิตประจำวันของพวกเขาจริง ๆ

 

เราก็เลยประทับใจหนังเรื่องนี้ในแง่นี้มาก ๆ เหมือนหนังมันใช้ประโยชน์จาก “ศักยภาพของภาพยนตร์” ได้ดี และจุดนี้มันช่วยกลบจุดอ่อนของหนังในแง่ที่ว่า หนังมันไม่ได้ให้ข้อมูลมากนักเกี่ยวกับตัว subjects และในแง่ที่ว่า ตัว subjects เองก็ไม่ได้พูดคุยแบบเปิดเผยมากนัก

 

2.อันนี้ไม่ได้เกี่ยวกับหนังเรื่องนี้นะ แต่เราคิดเล่น ๆ ว่า ถ้าหากเราจะฉายหนังเรื่องนี้ควบกับหนังเรื่องไหน เราก็อาจจะฉายมันควบกับ DELPHINE’S PRAYERS (2021, Rosine Mbakam, Belgium/Cameroon, documentary, 90min, A+30) และ LES ARRIVANTS (2009, Claudine Borries, Patrice Chagnard, France, documentary, A+30) เพราะหนัง 3 เรื่องนี้พูดถึงผู้อพยพเหมือนกัน แต่มีจุดเด่นไม่ซ้ำกันเลย มันก็เลยเหมือนกับว่า หนัง 3 เรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า การทำหนังเกี่ยวกับประเด็นเดียวกัน สามารถทำออกมาให้ดีมาก ๆ ได้ในรูปแบบที่หลากหลายไม่ซ้ำกัน

 

โดย DELPHINE’S PRAYERS นั้น เป็นหนังที่ตัว subject แค่พูดต่อหน้ากล้องไปเรื่อย ๆ ตลอด 90 นาที แต่นั่นก็คือหนักที่สุดในชีวิตแล้ว เพราะตัว subject เล่าอย่างหมดเปลือกถึงชีวิตของเธอ โดยเฉพาะเรื่องที่เธอถูกข่มขืนจนตั้งครรภ์ ซึ่งหนังแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัยการที่ตัว subject มีพื้นฐานเป็นคนกล้าพูดอยู่แล้ว และตัว subject กับตัวผู้กำกับน่าจะสนิทกันพอสมควร เพราะทั้งสองเป็นผู้หญิงผิวดำจาก Cameroon เหมือนกัน สื่อสารภาษาเดียวกันได้ เติบโตมากับวัฒนธรรมเดียวกัน เราก็เลยรู้สึกว่า DELPHINE’S PRAYERS นี่เป็นตัวอย่างที่ดีของหนังสารคดีประเภทที่ “ผู้กำกับกับ subject สนิทกัน” ตัว subject ก็เลยกล้าพูดทุกอย่าง และหนังก็ไม่ต้องทำอะไรมาก แค่ให้ตัว subject พูดไปเรื่อย ๆ ตลอด 90 นาที แค่นี้มันก็ทรงพลังที่สุดในชีวิตแล้ว

 

ส่วน LES ARRIVANTS นั้น เน้นตีแผ่ “ตัวระบบกฎหมายและระบบราชการ” ที่ดูแลเรื่องผู้อพยพลี้ภัย โดยหนังเน้นถ่ายทำห้องทำงานของเจ้าหน้าที่ที่ดูแลเรื่องนี้ขณะที่เจ้าหน้าที่พูดคุยกับผู้อพยพลี้ภัยรายต่าง ๆ ซึ่งเจ้าหน้าที่บางคนก็ใจร้าย เจ้าหน้าที่บางคนก็ใจดี ซึ่งเราว่าหนังแบบนี้มันเกิดขึ้นได้ก็ต้องอาศัย “ประเทศที่มีระบบกฎหมายที่โปร่งใสและเป็นธรรมมากพอสมควร และเจ้าหน้าที่ทำงานอย่างโปร่งใส” เขาถึงอนุญาตให้ถ่ายทอดการทำงานของเจ้าหน้าที่ออกมาเป็นหนังสารคดีได้น่ะ ซึ่งสิ่งนี้อาจจะทำไม่ได้ในประเทศไทย

 

เราก็เลยรู้สึกว่า หนังสองเรื่องนี้เป็นหนังเกี่ยวกับผู้อพยพที่ดีมาก ๆ และมีจุดแข็งจุดเด่นที่แตกต่างไปจาก HOURS OF OURS แต่ HOURS OF OURS ก็สามารถใช้ประโยชน์จากความเป็นภาพยนตร์ได้ดีมาก ๆ และสร้างจุดเด่นข้อดีของตนเองในแบบที่แตกต่างจากหนังเรื่องอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน

-------

เพิ่มเติมรายชื่อหนังที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน แล้วออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกันโดยบังเอิญ

 

69. MOON MAN (2022, Zhang Chiyu, China)

+ THE MOON (2023, Kim Yong-hwa, South Korea)

 

หนังสองเรื่องนี้พูดถึงชายหนุ่มที่ต้องกระเสือกกระสนเอาตัวรอดตามลำพังบนดวงจันทร์เหมือนกัน แต่เราว่า THE MOON ดีกว่า MOON MAN หลายร้อยเท่า 555

 

70. TALK TO ME (2022, Danny Philippou, Michael Philippou, Australia, A+30)

+ BAGHEAD (2023, Alberto Corredor, Germany/UK)

 

เพราะหนังสองเรื่องนี้เป็นหนังสยองขวัญที่พูดถึง “การทรงเจ้าเข้าผี” ซึ่งการทรงเจ้าเข้าผีจะไม่เกิดอันตราย ถ้าหากทำภายในกรอบเวลาอันจำกัดที่กำหนดไว้ อย่างเช่น ทำภายใน 2 นาที แต่ถ้าหากทำนานเกิน 2 นาที จะเกิดอันตรายร้ายแรงตามมา หรือถ้าหากเสพติดการทรงเจ้าเข้าผีมากเกินไป ก็จะเกิดอันตรายตามมาได้เช่นเดียวกัน

---

 

Films seen in the 8th week of the year 2024

 

19-25 FEB 2024

 

In preferential order

 

1.DETECTIVE CONAN: THE PHANTOM OF BAKER STREET (2002, Kenji Kodama, Japan, animation, A+30)

 

2.THE HOLDOVERS (2023, Alexander Payne, A+30)

 

3.KOMADA – A WHISKY FAMILY (2023, Masayuki Yoshihara, Japan, animation, A+30)

 

4.POOR THINGS (2023, Yorgos Lanthimos, Ireland/UK, A+30)

 

5.MOSCOW MISSION (2023, Herman Yau, China/Russia, A+30)

 

6.FIFI (2022, Jeanne Aslan, Paul Saintillan, France, A+30)

 

7.TURNING RED (2022, Domee Shi, USA/Canada, animation, A+30)

 

8.QUEEN ROCK MONTREAL (2024, Saul Swimmer, UK/USA, concert documentary, shot in Canada in 1981, IMAX, A+30)

 

9.CINDY SHERMAN (1988, Michel Auder, video installation, 42min, A+30)

10.MOBILE SUIT GUNDAM SEED FREEDOM (2024, Mitsuo Fukuda, Japan, animation, A+30)

 

11.JUNKYARD DOGS (2022, Jean-Baptiste Durand, France, A+30)

 

12.ARGYLLE (2024, Matthew Vaughn, UK/USA, A+30)

 

13.BAGHEAD (2023, Alberto Corredor, Germany/UK, horror, A+25)

 

14.ROB N ROLL (2024, Albert Kai-kwong Mak, China/Hong Kong, A+20)

 

15.KITBULL (2019, Rosana Sullivan, short animation, A+15)

 

16.FLORENCE (1979, Michel Auder, video installation, A+)

 

สรุปว่า ใน 8 สัปดาห์แรกของปีนี้ เราดูหนังไปแล้ว 150 + 16 = 166 เรื่อง

No comments: