Tuesday, December 31, 2024

THE YEAR OF 2024: THE YEAR OF “CAVE” IN FILMS

 

เพิ่ม THE SHIP OF EXILE (1982, Jocelyne Saab, Lebanon, documentary, A+30) เข้าไปในลิสท์รายชื่อ TIMELINE OF FILMS ABOUT MIDDLE EAST

 

SUNFLOWER SIEGE ENGINE (2022, Sky Hopinka, 13min, A+30)

 

เป็นหนังเรื่องที่สองของ Sky Hopinka ที่เราได้ดู ต่อจาก I’LL REMEMBER YOU AS YOU WERE, NOT AS WHAT YOU’LL BECOME (2016, 13min, A+30) ที่เพิ่งมาฉายในกรุงเทพ ตอนนี้เราไม่แปลกใจแล้วว่า ทำไม Sky Hopinka ถึงโด่งดังมาก ๆ เพราะหนังของเขามีความเป็นกวีสูงมาก, มีความงดงามทางอารมณ์มาก ๆ, มีความ pop ทางภาพและดนตรี และมีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ด้วย เพราะหนังของเขาพูดถึงประเด็นเรื่องอินเดียนแดง/ชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกา ซึ่งเป็นประเด็นที่เราไม่ค่อยได้เห็น

 

หนังเรื่อง SUNFLOWER SIEGE ENGINE นี้ ทำให้เรานึกถึงหนังเรื่อง LAY CLAIM TO AN ISLAND  (2009, Chris Kennedy, A+30) ที่เคยเข้ามาฉายในกรุงเทพในวันที่ 29 ม.ค. 2012 ในเทศกาลภาพยนตร์ Bangkok Experimental Film Festival ด้วย เพราะหนังทั้งสองเรื่องพูดถึงเกาะ Alcatraz เหมือนกัน

+++

 

วันนี้กินอาหารอินเดีย vegetable paratha + dal makhani + gulab jamun เพื่อเป็นพลีแด่ ALL WE IMAGINE AS LIGHT

+++

 

พอดูหนัง A FIDAI FILM (2024, Kamal Aljafari, Palestine, 78min, A+30) แล้วเราก็พบว่า เด็ก ๆ ชาวปาเลสไตน์มีการเล่นเกม “มอญซ่อนผ้า” ด้วย เราก็เลยอยากรู้ว่า เกมนี้ชาวปาเลสไตน์เขาเรียกกันว่าเกมอะไร เขาคงไม่เรียกว่า “มอญซ่อนผ้า” แน่ ๆ และเราก็เลยอยากรู้ว่า เกมมอญซ่อนผ้านี้ มีชาติอื่นใดอีกบ้างที่เขาเล่นกัน และเขาเรียกเกมนี้ว่าอะไรกันบ้าง

+++++++

THE YEAR OF 2024: THE YEAR OF “CAVE” IN FILMS

 

หนึ่งในสิ่งที่เราพบว่าพ้องกันโดยไม่ได้ตั้งใจในการดูหนังในปีนี้ ก็คือบทบาทสำคัญของ “ถ้ำ” ในหนังหลายเรื่องที่เราได้ดู อย่างเช่นในหนังเรื่อง

 

1. LAST THINGS (2023, Deborah Stratman, 50min, A+30)

 

2. ALL WE IMAGINE AS LIGHT (2024, Payal Kapadia, India)

 

3. RIVULET OF UNIVERSE (2024, Possathorn Watcharapanit)

 

 

4. THE NATURE OF DOGS หมา-ป่า (2024, Pom Bunsermvicha)

 

5. YOU, MY, OMMA, MAMA (2024, Laure Prouvost, Belgium, France, Austria, 15 min)

 

มีหนังเรื่องไหนอีกบ้างที่เพื่อน ๆ ได้ดูในปีนี้ ที่ “ถ้ำ” มีบทบาทสำคัญ

 

ADRIFT POTENTIALS (2024, Leonardo Pirondi, Brazil, 11min, A+30)

 

หนังของผู้ลี้ภัยทางการเมืองชาวบราซิลในทศวรรษ 1970 หนังเรื่องนี้เคยเข้ามาฉายในกรุงเทพในปีนี้ แต่ตอนนั้นเราไม่ได้ออกไปดูที่โรงภาพยนตร์ เพราะตอนนั้นเราป่วยเป็นหวัด โชคดีสุดขีดที่หนังเรื่องนี้มีให้ดูออนไลน์ในตอนนี้

+++

 

IT IS NIGHT IN AMERICA (2022, Ana Vaz, Brazil, 66min, A+30)

 

หนังเรื่องนี้มีให้ดูออนไลน์วันนี้เป็นวันสุดท้าย เราเห็นหนังเรื่องนี้เคยติดอันดับ 10 ในลิสท์หนังสุดโปรดประจำปี 2023 ของคุณ Ruslan Kulevets เราก็เลยรีบดูเลย

 

หนังเรื่องนี้ดูง่ายกว่า OCCIDENTE (2015, Ana Vaz, France, 15min, A+30) มาก ๆ ในความเห็นของเรา เพราะเราว่า OCCIDENTE มันเหมือนเต็มไปด้วยสัญลักษณ์ ส่วน IT IS NIGHT IN AMERICA เหมือนเป็นหนังที่เราไม่ต้องใช้ intellect ตลอดเวลาในการดู แค่เราดูบรรยากาศไปเรื่อย ๆ ก็เพลิดเพลินสุดขีดแล้ว

 

Sunday, December 29, 2024

RIVULET OF UNIVERSE

 

DISORDER (1986, Olivier Assayas, France, A+30)

 

1. เห็นมันอยู่ใน MUBI LEAVING SOON ก็เลยรีบดู ถือเป็นหนังเรื่องที่ 7 ของ Assayas ที่เราได้ดู ดูแล้วก็ชอบมาก ๆ

 

2.ตกใจกับความหล่อของดาราหนุ่มในหนังเรื่องนี้มาก ๆ ทั้ง Wadeck Stanczak, Simon de la Brosse กับ Philippe Demarle แต่เราไม่คุ้นชื่อของทั้งสามคนนี้เลย

 

พอไปค้นประวัติ เราก็ตกใจสุดขีดที่พบว่า Simon de la Brosse (1965-1998) ฆ่าตัวตายขณะอายุ 33 ปี เพราะว่าเขาเคยถูกทำร้ายทางเพศตอนไปแคมป์ในวัยเด็ก และก็มีผู้ชายอีกสองคนที่ฆ่าตัวตายเพราะสาเหตุเดียวกัน แคมป์เดียวกัน รุนแรงมาก ๆ

 

Simon de la Brosse เคยแสดงใน PAULINE AT THE BEACH (1983, Eric Rohmer, A+30), WAITER! (1983, Claude Sautet, A+30), FAMILY LIFE (1985, Jacques Doillon), LACE II (1985, William Hale, 188min, A+30), AN IMPUDENT GIRL (1985, Claude Miller), THE INNOCENTS (1987, André Téchiné), THE LITTLE THIEF (1988, Claude Miller), TO THE BITTER END (1991, Joaquim Leitão, Portugal), etc. เขาถือเป็นดาราหนุ่มที่หล่อมาก และก็เคยได้แสดงหนังดี ๆ หลาย ๆ เรื่อง ถือเป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากที่ trauma ที่เขาเคยได้รับในวัยเด็กจะยังคงตามทำร้ายเขาและส่งผลให้เขาฆ่าตัวตายในที่สุด

 

เสียดายที่เราอ่านภาษาฝรั่งเศสไม่ออก เหมือนรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับคดีของเขาสามารถอ่านได้ใน blog นี้

http://lesenfantsdefontdurle.blogspot.com/2009/11/biographie-simon-de-la-brosse.html

 

3. ชอบดนตรีในหนังเรื่องนี้มาก ๆ ด้วย ฟังแล้วนึกถึงวงดนตรีในทศวรรษ 1980 จริง ๆ นึกถึงวงอย่าง Depeche Mode, Deacon Blue, The Cure, Ian McCulloch, etc.

 

รูปของ Wadeck Stanczak

+++++++++

คำถาม FUN FACT: จงบอกความเชื่อมโยงกันระหว่างตัวละครในภาพยนตร์เรื่อง ALL WE IMAGINE AS LIGHT (2024, Payal Kapadia, India, A+30) กับตัวละครใน “เพลิงพระนาง” (1996, อดุลย์ บุญบุตร Adul Boonboot, A+30)

 

คำตอบ

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

ตัวละครนำตัวหนึ่งใน ALL WE IMAGINE AS LIGHT ต้องย้ายออกจากนครมุมไบ และมาปักหลักตั้งรกรากที่เมือง “รัตนคีรี” ในอินเดียในช่วงท้ายของหนัง ส่วนตัวละครนำบางตัวใน “เพลิงพระนาง” ซึ่งได้แก่เจ้าม่านฟ้า, เจ้านางปิ่นมณี และเจ้านางเรณุมาศนั้น น่าจะดัดแปลงมาจากบุคคลจริงในประวัติศาสตร์ ซึ่งได้แก่ พระเจ้าสีป่อ, พระนางศุภยาลัต และเจ้าหญิงศุภยากเล และทั้งสามคนนี้ก็ถูกอังกฤษซึ่งเป็นเจ้าอาณานิคม บังคับให้อพยพออกจากพม่า และบังคับให้มาอาศัยอยู่ที่เมืองรัตนคีรีของอินเดียในปี 1886 และต้องอาศัยอยู่ในเมืองนี้เป็นเวลานานกว่า 30 ปีจนกระทั่งพระเจ้าสีป่อสิ้นพระชนม์

 

ก็เลยเป็นเรื่องบังเอิญที่ตลกดี ที่ตัวละครนำบางตัวใน ALL WE IMAGINE AS LIGHT และตัวตนจริงของตัวละครใน “เพลิงพระนาง” ต่างก็จำเป็นต้องย้ายมาอาศัยอยู่ที่เมืองรัตนคีรีของอินเดียเหมือนกัน

++++++++

TRIPLE BILL FILM WISH LIST

1.RIVULET OF UNIVERSE (2024, Possathorn Watcharapanit, 89min, A+30)

2. TAKLEE GENESIS (2024, Chookiat Sakveerakul, 146min, A+30)

3. HERE (2024, Robert Zemeckis, A+30)

 

1.รู้สึกว่าหนัง 3 เรื่องนี้เหมาะนำมาปะทะกันมาก ๆ โดยอาจจะฉายควบกันหรือเขียนวิเคราะห์เปรียบเทียบกัน เพราะหนังทั้ง 3 เรื่องนำเสนอ “อดีตหลายยุคหลายสมัยในพื้นที่เดียว” ในหนังทั้ง 3 เรื่อง โดย RIVULET OF UNIVERSE นั้นนำเสนอจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดอุบลราชธานี และพาดพิงถึงช่วงเวลาหลายยุคหลายสมัย, เหตุการณ์ต่าง ๆ หรือเรื่องเล่าต่าง ๆ ที่เคยเกิดขึ้นบนพื้นที่ “อีสานตอนล่าง” นี้

 

ส่วน TAKLEE GENESIS นั้น ก็นำเสนออดีตหลายยุคหลายสมัย, ปัจจุบัน และอนาคตของจังหวัดอุดรธานี หรืออีสานตอนบนเป็นหลัก

 

ทางด้าน HERE ก็นำเสนออดีตหลายยุคหลายสมัย ของพื้นที่เล็ก ๆ พื้นที่เดียวในรัฐเพนซิลเวเนียของสหรัฐ

 

2. เราชอบหนังทั้ง 3 เรื่องนี้อย่างสุด ๆ และชอบมาก ๆ ที่หนังทั้ง 3 เรื่องนี้อาจจะมีจุดที่ตรงกันข้างต้น แต่หนังทั้ง 3 เรื่องนี้ออกมาใน genre ที่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดย RIVULET OF UNIVERSE นั้นเป็นหนังอาร์ตที่ไม่ได้นำเสนอเหตุการณ์ในอดีตโดยตรง แต่มีการพาดพิงถึงอดีตหลายยุคหลายสมัยผ่านทางภาพ, บทสนทนา, etc.

 

ส่วน TAKLEE GENESIS นั้นเป็นหนัง SCI-FI ที่มีการนำเสนอเหตุการณ์ในอดีตและอนาคตโดยตรง ผ่านทางการให้ตัวละครเดินทางข้ามเวลาได้

 

ทางด้าน HERE นั้นเป็นหนังดราม่า ที่นำเสนอเหตุการณ์ในอดีตโดยตรง

 

3. ในส่วนของ RIVULET OF UNIVERSE นั้น หนังดูเหมือนจะมีการพาดพิงถึงเหตุการณ์ต่าง ๆ ในอีสานตอนล่างอย่างน้อย 7 ยุคสมัยด้วยกัน ซึ่งรวมถึง

 

3.1 ช่วงต้นของหนังมีการนำเสนอโครงกระดูกมนุษย์โบราณในนครราชสีมา ซึ่งเราไม่แน่ใจว่ามันคือโครงกระดูกที่มาจากแหล่งโบราณคดีบ้านโนนวัด ซึ่งมีอายุ 4500 ปีหรือเปล่า

 

3.2 มีการนำเสนอภาพวาดในเพิงผนังผาของวัดเขาจันทน์งาม ต.ลาดบัวขาว อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา  ซึ่งน่าจะมีอายุราว 4000 ปี

 

3.3 ปราสาทหินพิมาย อายุราว 1000 ปี

 

3.4  มีการพาดพิงถึงท้าวสุรนารี (ย่าโม) (ค.ศ.1771-1852)

 

3.5 มีการพาดพิงถึงยุคที่มีกองกำลังคอมมิวนิสต์ตามป่าในไทย น่าจะราว ๆ ทศวรรษ 1960-1970

 

3.6 สามีของ “พิม” หายตัวไปท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองเมื่อราว 10 ปีที่แล้ว ถ้าหากเราจำไม่ผิด ซึ่งน่าจะตรงกับยุคของการสังหารหมู่ที่ราชประสงค์หรือเปล่า

 

3.7 ยุคปัจจุบัน ที่คนรุ่นใหม่ไม่อยากอาศัยอยู่เมืองไทย อยากอพยพย้ายถิ่นไปอยู่ต่างประเทศ

 

4. ส่วนใน TAKLEE GENESIS นั้น ก็มีการนำเสนอยุคสมัยต่าง ๆ กัน อย่างน้อย 6 ยุค ซึ่งรวมถึง

 

4.1 ยุคของอารยธรรมบ้านเชียง จังหวัดอุดรธานี อายุกว่า 5000 ปี

 

4.2 ยุคของสงครามกลางเมืองลาว (1958-1975)

 

4.3 ยุค 6 ต.ค. 1976

 

4.4 ยุคพฤษภาทมิฬ 1992 หรือยุคที่พ่อนางเอกหายตัวไป

 

4.5 ยุคปัจจุบัน

 

4.6 ยุคอนาคต

 

5. ส่วนใน HERE นั้น ก็มีการนำเสนอยุคสมัยที่แตกต่างกันอย่างน้อย 7 ยุค ซึ่งรวมถึง

 

5.1 ยุคไดโนเสาร์

 

5.2 ยุคชนพื้นเมืองอเมริกัน หรือยุคอินเดียนแดง

 

5.3 ยุค Benjamin Franklin (1706-1790)

 

5.4 ยุคเริ่มต้นของเครื่องบิน + ไข้หวัดใหญ่ระบาด 1918-1920

 

5.5 ยุคทศวรรษ 1940 ที่เจ้าของบ้านเป็นนักประดิษฐ์เก้าอี้

 

5.6 ยุคของตัวละครหลัก ตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

 

5.7 ยุคโควิดระบาด ที่เจ้าของบ้านเป็นคนดำ

 

6. เราก็เลยชอบมากที่หนังทั้ง 3 เรื่องนี้ออกฉายในปีเดียวกัน และมีอะไรบางอย่างที่เหมาะจะนำมาเปรียบเทียบกันมาก ๆ

 

เนื่องจากเราเคยเขียนถึง TAKLEE GENESIS กับ HERE ไปแล้ว เพราะฉะนั้นก็เลยถือโอกาสนี้จดบันทีกความรู้สึกบางอย่างที่มีต่อ RIVULET OF UNIVERSE ไปด้วยเลยแล้วกัน

 

7. เราไม่เคยรู้เรื่องของปาจิตตกุมารชาดกมาก่อน พอเราได้ดูหนังเรื่องนี้ เราก็เลยไปตามอ่านปาจิตตกุมารชาดก และเราก็ชอบมันอย่างสุดขีดมาก ๆ เพราะมันมีทั้ง

 

7.1 ความ homoerotic โดยไม่ได้ตั้งใจ เพราะมันมีเนื้อหาส่วนหนึ่งที่พูดถึง “พระหนุ่มรูปหล่อสององค์ใกล้ชิดกัน” โดยที่ฝ่ายหนึ่งไม่รู้ว่าอีกฝ่ายเป็นภรรยาของตนปลอมตัวมา โดยเนื้อหาในตอนนั้นมีอยู่ว่า

 

ในกาลนั้น บรรพชิตทั้งสอง คือ พระโพธิสัตว์และพระสังฆราชาก็มีรูปวรรณสัณฐานอันงามยิ่งนัก เปรียบปานดุจรูปทองคำธรรมชาติ ที่นายช่างหล่อผู้ฉลาดหล่อแล้วและตั้งไว้

 

จำเดิมแต่นั้น บรรพชิตทั้งสองก็มีความรื่นเริงบันเทิงใจอยู่ด้วยกัน แต่พระโพธิสัตว์ภิกษุนั้นพิจารณาดูพระสังฆราชาเห็นรูปทรงสัณฐานคล้ายกับนางอรพิมพ์ภรรยาของตนก็มีความสงสัย แต่มิรู้ที่ว่าจะคิดประการใด เพราะเหตุว่าเมื่อพิจารณาดูไปก็เห็นเป็นชายประจักษ์ชัด”

 

7.2 มีการแปลงเพศจากหญิงเป็นชาย และมีการแปลงเพศจากชายเป็นหญิง

 

7.3 ตัวนางอรพิมพ์ในชาดก แรงมาก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ ๆๆ ๆ ๆๆๆ และต่อมานางก็ได้กลับชาติมาเกิดเป็นพระนางยโสธราพิมพา

 

7.4 ชอบ “พระเจ้าพรหมทัต” ในชาดกตอนนี้มาก ๆ เพราะพระราชโอรสของพระองค์ถูกปลงพระชนม์ แต่พระองค์กลับไม่เอาเรื่อง โดยเนื้อหาในส่วนนี้มีอยู่ว่า

 

“จึงมีพระราชดำรัสถามว่า พระราชโอรสของเราถูกปลงพระชนม์ชีพด้วยเหตุไร อำมาตย์ที่รู้เหตุผลจึงทูลว่าข้าแต่สมมติเทวราช พระราชโอรสของพระองค์พาสตรีคนหนึ่งมาไว้ ชะรอยสตรีผู้นั้นจะปลงพระชนม์ให้ตักษัย พระพุทธเจ้าข้า พระเจ้าพรหมทัตได้ทรงฟังประพฤติเหตุดังนั้น ก็ทรงนิ่งอยู่มิได้ตรัสประการใด ด้วยทรงทราบในพระทัยว่า พระราชโอรสของพระองค์มิได้ดำรงอยู่ในสุจริตธรรม ประพฤติแต่ในทางที่ไม่ควรประพฤติ จึงต้องสิ้นชีพตักษัยเป็นธรรมดา”

 

เราก็เลยประทับใจเรื่องราวของ “ปาจิตตกุมารชาดก” อย่างรุนแรงสุดขีดมาก

 

8. ชอบการนำเสนอ “ตัวละคร love triangle” ใน 3 ยุคสมัย ทั้ง

 

8.1 ตัวละครนางอรพิมพ์, เจ้าชายปาจิต, ท้าวพรหมทัต ในตำนานเมืองพิมาย

 

8.2 จิต ที่เป็นคนเขมร, พิม ที่เป็นสาวผัวหาย และเคยย้ายจากอุบลมาอยู่โคราช (ถ้าเราจำไม่ผิด) และทัด ที่เป็นหนุ่มโคราช

 

8.3 จี๊ด, พิม และทัด. ที่เป็นวัยรุ่น ซึ่งจี๊ดกับพิมนั้นเป็นเลสเบียนที่รักกัน ส่วนทัดนั้นเราไม่แน่ใจว่าแอบชอบพิมอยู่หรือเปล่า

 

9. เรารู้สึกว่าเมืองพิมายนั้นเป็น location ที่น่าสนใจมาก ๆ เพราะว่า

 

9.1 มีทั้งความเป็น “อาณาจักรขอม” และ “ส่วนหนึ่งของประเทศไทย” อยู่ในพื้นที่เดียวกัน

 

9.2 เคยเป็นสมรภูมิระหว่างลาวกับไทย (หรือเปล่า)

 

9.3 จังหวัดนครราชสีมา เหมือนตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง กรุงเทพ กับอุบลราชธานี จังหวัดนี้ก็เลยเหมือนตั้งอยู่กึ่งกลางระหว่าง “อำนาจส่วนกลางของไทย” กับ “สุดขอบภาคอีสาน”

 

10. ชอบการนำเสนอความขัดแย้งระหว่างกรุงเทพ/อำนาจส่วนกลาง กับชนบท ผ่านทางอะไรต่าง ๆ อย่างเช่น

 

10.1 วิธีการปรุงอาหารที่ไม่เหมือนกัน พื้นที่หนึ่งนิยมใส่กะทิในแกง แต่อีกพื้นที่หนึ่งไม่ใส่

 

10.2 การที่ตัวละครอาจจะจำเป็นต้องไปศึกษาต่อในกรุงเทพ

 

10.3 ตัวละครพ่อ, แม่ และสามีของพิม (วัยผู้ใหญ่) ก็ดูเหมือนจะได้รับผลกระทบทางการเมืองจากความขัดแย้งกับรัฐบาลไทยเหมือนกัน

 

11. ชอบที่มีคนพายเรือเข้ามาในเฟรมภาพในบางฉากของหนัง 55555

 

12. ฉากที่ชอบที่สุดในหนัง คือฉากที่ตัวละครจิต, พิม, ทัดวัยผู้ใหญ่ ขี่มอเตอร์ไซค์มาด้วยกัน แล้วพอขี่เข้ามาในถนนหนึ่ง เราก็เห็นตัวละครจี๊ด, พิม กับทัด ในวัยรุ่น ขี่มอเตอร์ไซค์ออกจากอีกถนนหนึ่ง เข้ามาในถนนเส้นเดียวกันกับตัวละครวัยผู้ใหญ่

 

รู้สึกว่าฉากนี้มันงดงามและทรงพลังมาก ๆ โดยไม่มีสาเหตุ และทำให้เรารู้สึกราวกับว่า “ถนน” เหล่านี้ มันเหมือนกับเป็นคลองเล็ก ๆ ที่บางทีก็ไหลเข้ามารวมกันในแม่น้ำหรือคลองใหญ่ หรือรู้สึกราวกับว่า ถนนในยุคปัจจุบัน มันก็อาจจะทำหน้าที่คล้ายกับเป็นคลองสำหรับใช้สัญจรทางเรือในอดีต

 

13. RIVULET OF UNIVERSE เป็นหนังเรื่องที่ 4 ของคุณ Possathorn ที่เราได้ดู ส่วนอีก 3 เรื่องที่เหลือก็คือ

 

13.1 SENSORY MEMORY (2020, Possathorn Watcharapanit, 165min, A+30)

เราเคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้ไว้ที่

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10225180543124027&set=a.10224961569689828

 

13.2 SEAR NELUMBO โชติช่วงร่วงโรยรา (2020, Possathorn Watcharapanit, 13min, A+30)

เราเคยเขียนถึงหนังเรื่องนี้ไว้ที่

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10225459501457811&set=a.10224961569689828

 

13.3 SELFIE OF MY RUN TO MY RETURN FROM RUNAWAY (2021, Possathorn Watcharapanit, 6.30min, A+30)

 

ก็เลยสรุปว่าชอบหนังทั้ง 4 เรื่องของคุณ Possathorn อย่างรุนแรงมาก ๆ และคิดว่าเขาเป็นหนึ่งในผู้กำกับหนังไทยที่มาแรงที่สุดคนหนึ่งในทศวรรษ 2020 นี้สำหรับเรา

Saturday, December 28, 2024

MY THAI TV SERIES WISH LIST

 

พอดู “คุณชายน์ THE CLICHÉ” แล้วก็เลยหวนนึกถึงละครโทรทัศน์ของไทยที่เราชื่นชอบสุดขีดในอดีตมาก ๆ แต่เราเคยทำลิสท์ MY MOST FAVORITE THAI TV SERIES ไปแล้ว

https://web.facebook.com/share/p/HGCCSDsrtEATLatT/

 

ตอนนี้เราก็เลยทำลิสท์ THAI TV SERIES WISH LIST แทน เพราะมันมีละครโทรทัศน์ไทยหลายเรื่องที่เราอยากดูตอนเด็ก ๆ หรือเคยดูผ่านตาตอนเด็ก ๆ แค่ไม่กี่ตอน แต่เราก็อยากดูแบบเต็ม ๆ มาก ๆ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะไปหาดูได้ที่ไหน อยากให้มีหน่วยงานที่อนุรักษ์ “ละครทีวียุคเก่า” ของไทย แบบที่หอภาพยนตร์ ศาลายา ทำกับหนังไทยยุคเก่า ๆ ด้วย

 

MY THAI TV SERIES WISH LIST

 

1.ไฟพ่าย (1976, ภัทราวดี มีชูธน)

https://pantip.com/topic/34808926

 

2.กฎแห่งกรรม

ละครช่อง 7 สร้างจากหนังสือของท. เลียงพิบูลย์ หาข้อมูลไม่เจอว่ามันเริ่มฉายปีอะไร แต่น่าจะเป็นช่วงปลายทศวรรษ 1970 + ต้นทศวรรษ 1980 นี่แหละ เป็นละครแบบจบในตอน จำได้ว่า เรากับเพื่อน ๆ กลัวละครเรื่องนี้อย่างรุนแรงมาก ทั้ง ๆ ที่มันไม่มีภูตผีปีศาจอะไรเลย มีแต่ “กฎแห่งกรรม” แต่มันก็สร้างความกลัวให้กับเด็ก ๆ อย่างเราได้อย่างรุนแรง

 

3.มายาสีเงิน (1981) นำแสดงโดย ปฐมพงศ์ สิงหะ และวันทิพย์ ภวภูตานนท์

 

4."ปีกทอง" (1982, มีศักดิ์ นาครัตน์, ถาวร สุวรรณ) การปะทะกันครั้งสำคัญระหว่างลินดา ค้าธัญเจริญ, เดือนเต็ม สาลิตุลย์, เปียทิพย์ คุ้มวงศ์, ดวงตา ตุงคมณี

https://www.youtube.com/watch?v=Qc3ZUVed1lU

 

5.สงครามพิศวาส (1982)

 

6.ห้องที่จัดไม่เสร็จ (1984)

 

7.เบญจรงค์ห้าสี (1985, อดุลย์ ดุลยรัตน์)

https://www.youtube.com/watch?v=1WoHopCdMMY

 

8.รักในสายหมอก (1985)

 

9.ขมิ้นกับปูน (1990)

จำได้ว่า เพื่อน ๆ เราสมัยมัธยม role play ละครทีวีเรื่องนี้กันอย่างรุนแรงมาก ๆ

 

10.มาณวิกาใจร้าย (1991) ขวัญภิรมย์ หลิน ปะทะ วีนัส มีวรรณ เราเคยดูแค่บางตอน แต่อยากดูเต็ม ๆ cult มาก ๆ

 

MY THAI TV SERIES WISH LIST (ต่อ)

 

11. พานทองรองเลือด (1970)

 

ละครทีวีเรื่องนี้เริ่มฉายครั้งแรกก่อนเราเกิดอีก เพราะเราเกิดปี 1973 แต่เราจำได้ว่า ตอนเด็ก ๆ เราได้ยินชื่อละครเรื่องนี้บ่อยมาก ๆ เหมือนมันดังมากตอนเราเด็ก ๆ เราก็เลยรู้สึกอยากดูละครทีวีเรื่องนี้มานาน 40 กว่าปีแล้ว

 

สร้างจากบทประพันธ์ของหลวงวิจิตรวาทการ

 

12. พระทิณวงศ์ (1975)

 

เราเคยดูละครเรื่องนี้บางตอนตอนที่มันมารีรันทางช่อง 7 จำได้ว่าเราประทับใจตัวประกอบที่ชื่อ “ยายบ้าบี๋” อย่างรุนแรงมาก เป็นยายเฒ่าตัวร้ายที่เหาะเหินเดินอากาศได้ ถ้าจำไม่ผิด

+++

THE CONJURING UNIVERSE TOUR!

 

เสียดายที่เราเดินเร็วเกินไป คือเราเข้าใจผิดว่า มันจะเป็นแบบ “บ้านผีสิง” เราก็เลยรีบเดินผ่านแต่ละห้องอย่างรวดเร็ว 55555 แต่จริง ๆ แล้วมันไม่ใช่ “บ้านผีสิง” เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราควรทำก็คือเดินอ้อยอิ่งสำรวจแต่ละห้องอย่างเต็มที่ไปเรื่อย ๆ มากกว่า แต่นี่กูเล่นเดินฉับ ๆ ผ่านแต่ละด่านด้วยความเร็วสูง ก็เลยพลาดท่าไปเลย 55555

 

คือดูแล้วแทบไม่รู้สึกกลัวอะไรเลย สิ่งที่เรากลัวที่สุดในงานนี้ก็คือ “ตัวเราเอง” นี่แหละ เพราะตอนที่เราไปดูงานนี้ เขาปล่อยให้เราเดินเข้างานร่วมกับผู้ชมคนอื่น ๆ อีก 8 คน รวมกันเป็นทั้งหมด 9 คน แล้วเราก็เล็งแล้วว่า ในบรรดาผู้ชมคนอื่นๆ อีก 8 คนนี้ มีสองคนเป็นหนุ่มหล่อ แต่เสียดายที่หนุ่มหล่อ 2 คนนี้ควงแฟนสาวมาด้วย สิ่งที่เรากลัวที่สุดในงานนี้ ก็คือตัวเราเอง เพราะเรากลัวว่าท่ามกลางความมืดมิดในงานนี้ เราจะแสร้งทำเป็นตื่นเต้นตกใจตะโกนอุ๊ยตาย เผลอเข้ากอดหนุ่มหล่อ แล้วพูดว่า “ช่วยหนูด้วยค่ะ” นึกว่าผีต้องเจอกับ HE

THE ART OF JUST EXISTING AND NOT BEING RUDE

 

FILM WISH LIST OF THE YEAR: DREAMS (2024, Dag Johan Haugerud, Norway, 110min)

 

อยากดูอย่างสุดๆ จะได้ดูครบทั้ง 3 ไตรภาค เพราะเราชอบ SEX กับ LOVE อย่างรุนแรงมาก ๆ

 

อยากให้มีคนไทยทำหนังไตรภาคมาปะทะด้วย โดยหนังไตรภาคชุดนี้ประกอบด้วย “ตัณหา”, “ราคะ” และ “อรดี” โดยได้รับแรงบันดาลใจมาจากธิดาพญามาร 3 องค์ แต่ตัวหนังจะสำรวจตัณหา, ราคะ และอรดี (ความเกลียดชัง) ในชีวิตประจำวันของคนยุคปัจจุบัน 55555

+++

DOUBLE BILL FILM WISH LIST:

THE ART OF JUST EXISTING AND NOT BEING RUDE (2023, ณัชชา สรรพวิชุ Natcha Sanpawichu, 15:06 min, A+30)

+ SANTOSH (2024, Sandhya Suri, UK/Germany/India, 120min, A+30)

 

พอเราได้ดู THE ART OF JUST EXISTING AND NOT BEING RUDE แล้วก็นึกถึง SANTOSH มาก ๆ นึกว่าต้องฉายหนังสองเรื่องนี้ปะทะกัน เพราะว่า

 

1. หนังทั้งสองเรื่องเหมือนต่อต้านระบอบปิตาธิปไตย ชายเป็นใหญ่เหมือนกัน แต่มาในบริบทและสภาพสังคมที่แตกต่างกัน โดยใน SANTOSH นั้นเราจะเห็นการกดขี่ผู้หญิงอย่างชัดเจน ส่วนใน THE ART OF JUST EXISTING นั้น เราจะไม่เห็นมันอย่างชัดเจน แต่มันเหมือนแฝงอยู่ในความคิด/ความเชื่อของผู้ชายที่ว่า เขาสามารถล่วงเกิน แต๊ะอั๋ง ผู้หญิงได้ โดยถือเป็นพฤติกรรมที่สังคมยอมรับ หรือสังคมยุคเก่ายอมรับ ซึ่งความคิดแบบนี้ก็อาจจะถือได้ว่าเป็นเศษซากที่หลงเหลืออยู่จากระบอบปิตาธิปไตยในอดีตหรือเปล่า

 

2. ตัวนางเอกของหนังทั้งสองเรื่อง เหมือนเป็นหญิงสาวที่เพิ่งเข้ามาทำงานใหม่เหมือนกัน เหมือนเป็นตัวแทนของ “หญิงยุคใหม่” แต่ไม่ใช่ผู้หญิงที่เป็น superheroine เก่งฉกาจ แต่เป็นผู้หญิงที่เพิ่งเข้ามาทำงานใหม่ด้วยความไม่มั่นใจ ยังไม่คล่อง แต่มีความตั้งอกตั้งใจทำงาน

 

3. นางเอกของหนังทั้งสองเรื่อง นอกจากจะต้องปะทะกับผู้ชายจำนวนมากที่ทำงานในวงการเดียวกันแล้ว เธอก็ต้องปะทะกับ “เจ้าแม่ของวงการ” ด้วย ซึ่งตอนแรก ๆ นั้นนางเอกก็เหมือนจะยกย่องนับถือ “เจ้าแม่ของวงการ” ก่อนที่จะเปลี่ยนความคิดในเวลาต่อมา

 

4. “เจ้าแม่ของวงการ” ในหนังทั้งสองเรื่อง ก็เหมาะจะนำมาเปรียบเทียบกันมาก ๆ เพราะเธอเป็นหญิงเก่ง, เป็นเหมือนตัวแทนของคนรุ่นก่อน และเป็นผู้หญิงที่สามารถยืนหยัดท่ามกลางผู้ชายจำนวนมากได้ แต่การที่ตัวละครหญิงเก่งในหนังทั้งสองเรื่องนี้ยืนหยัด+ได้รับความเคารพจากผู้ชายจำนวนมากนั้น มันก็แลกมาด้วยการ compromise กับความเลวของผู้ชายด้วย

 

5. เราก็เลยรู้สึกว่าคู่ความขัดแย้งในหนังสองเรื่องนี้ มีบางจุดที่เหมือนกัน ทั้งความขัดแย้งระหว่างเพศหญิง/เพศชาย และความขัดแย้งระหว่างหญิงยุคเก่ากับหญิงยุคใหม่ โดยที่ใน SANTOSH นั้น มีความขัดแย้งเรื่อง “ชั้นวรรณะ” อยู่ด้วย

 

6. รู้สึกว่าหนังทั้งสองเรื่องนี้เหมาะฉายปะทะกันมาก ๆ เพราะเราชอบหนังทั้งสองเรื่องอย่างรุนแรง และคิดว่าหนังทั้งสองเรื่องเหมือนเป็นตัวแทนที่ดีที่แสดงให้เห็นว่า เราสามารถ “สะท้อนปัญหาสังคม” ด้วย approach ที่แตกต่างกันได้ และมันก็ออกมาดีงามสุด ๆ ทั้งคู่

 

คือถ้าหากเปรียบเทียบปัญหาสังคมเป็น “โรคร้าย” เราก็รู้สึกว่า SANTOSH ใช้วิธีการที่คล้าย ๆ กับ “การเอ็กซ์เรย์ร่างกาย” หรือทำ MRI SCAN ร่างกาย เพื่อสะท้อนให้เห็นปัญหา/เชื้อโรค ที่เกาะกินสังคม/ร่างกายอยู่

 

ส่วน THE ART OF JUST EXISTING AND NOT BEING RUDE นี่ เรากราบตีน approach ของหนังเรื่องนี้อย่างสุด ๆ เพราะเรารู้สึกว่า ถ้าหากมองเผิน ๆ แล้ว เหตุการณ์ในหนังเรื่องนี้ดูเหมือนเป็นชีวิตประจำวันในการทำงาน ไม่ได้มีอะไรร้ายแรง หรือไม่ได้มีอะไรสำคัญมากนัก (ซึ่งตรงข้ามกับ SANTOSH ที่พูดถึงการฆ่าข่มขืนเด็กผู้หญิง)

 

แต่ภายใต้เหตุการณ์ที่ดูเหมือนไม่ได้ร้ายแรงนี้ หรือภายใต้เหตุการณ์ที่ดูเหมือนเป็น “ชีวิตประจำวัน ชีวิตการทำงานแบบปกติ” นี้ เรารู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ใช้วิธีการที่คล้ายกับ “กล้องจุลทรรศน์” ส่องดูเนื้อเยื่อเล็ก ๆ เพียงชิ้นเดียว หรือส่องดู “หยดน้ำแค่ไม่กี่หยด” แล้วสามารถวิเคราะห์หา “เชื้อโรค” ที่ซ่อนอยู่ได้ เพราะหนังเรื่องนี้มีสายตาที่ละเอียดลออ เฉียบคมมาก ๆ และสามารถสะท้อนให้เห็นว่า ในแต่ละ react, แต่ละ gesture, แต่ละถ้อยคำ, แต่ละน้ำเสียง, แต่ละการแสดงออก เล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน มันสะท้อนอะไรที่น่าตกใจหรือน่าสนใจได้บ้าง

 

เราก็เลยชอบหนังทั้งสองเรื่องนี้มาก ๆ ทั้งหนังที่ใช้วิธีการแบบ X-RAY เพื่อสะท้อนปัญหาใหญ่ที่เห็นเป็นรูปธรรมได้อย่างชัดเจนในสังคมอินเดีย และหนังที่ใช้วิธีการแบบ “กล้องจุลทรรศน์” สำรวจเหตุการณ์เล็ก ๆ ธรรมดา ชีวิตประจำวันในสังคมไทย แต่สามารถสะท้อนออกมาได้อย่างลึกซึ้งและละเอียดลออถึงอะไรที่น่าสนใจมากมายของผู้คนที่แตกต่างกันไปในสังคม

 

หนังเรื่อง THE ART OF JUST EXISTING AND NOT BEING RUDE นี้ เป็นหนังเรื่องที่ 3 ของคุณณัชชา สรรพวิชุ ที่เราได้ดู ส่วนอีก 2 เรื่องคือ IN THE SAME BREATH ในลมหายใจเดียวกัน (2024, Natcha Sanpawichu ณัชชา สรรพวิชุ, 23min, A+30) และ I CRY SEVERAL TIMES (2023, Natcha Sanpawichu ณัชชา สรรพวิชุ, 4min, A+30) ซึ่งเราก็ชอบทั้งสองเรื่องนี้อย่างสุด ๆ เหมือนกัน

+++

พอดู "คุณชายน์ THE CLICHE" แล้วก็เลยอยากรู้ว่า มีใครสร้างหนังล้อเลียน/วิเคราะห์ "ละครน้ำเน่าอินเดีย" บ้างไหม ปรากฏว่ามีคนไนจีเรียทำ ไม่ทราบชีวิต 555555

https://www.youtube.com/watch?v=yh5PNulOZzE

 

พอดู “คุณชายน์ THE CLICHÉ” (2024, ชัชวาล วิศวบำรุงชัย Chatchawal Wisawabamroongchai, A+30) แล้วก็เลยนึกถึงหนังเรื่อง SOAPDISH (1991, Michael Hoffman, A+30) มาก ๆ คิดว่าเหมาะฉายปะทะคู่กันมาก ๆ เพราะ SOAPDISH ก็เป็นหนังที่ล้อเลียน/วิพากษ์ละครน้ำเน่าเหมือนกัน และทำออกมาได้ดีงามสุดขีด (เราไม่ได้ใช้คำว่า “ละครน้ำเน่า” ในทางลบนะ 55555)

 

นึกถึงละครทีวีสองเรื่องที่เราไม่ได้ดูด้วย ซึ่งก็คือ SOAP หรือ “กิเลสมนุษย์” (1977-1981) ที่เป็นละครทีวีที่ล้อเลียนละครน้ำเน่าของสหรัฐอเมริกา กับ TELENOVELA (2015-2016) ที่เราเดาเอาเองว่าเป็นการล้อเลียนละครน้ำเน่าของลาตินอเมริกา เราเดาเอาเองว่าละครโทรทัศน์สองเรื่องนี้ น่าจะรวบรวม cliché ของละครน้ำเน่าเอาไว้ได้เยอะมาก ๆ เช่นกัน

 

เสียดายที่เราไม่มีเวลาตามดูละครทีวี soap opera, melodrama ของแต่ละชาติ ซึ่งรวมถึงของไทยด้วย เพราะเราคิดว่าละครน้ำเน่า/ละครโทรทัศน์ของแต่ละชาติมันน่าจะมี cliché และเอกลักษณ์แตกต่างกันไป อย่างของญี่ปุ่นที่เราเคยดูตอนเด็ก ๆ ก็คือจะต้องมีฉากที่ตัวละครพระเอก/นางเอก วิ่ง ๆ ตอนใกล้จะจบตอน ไม่รู้เหมือนกันว่าละครน้ำเน่า/หนังน้ำเน่าของลาตินอเมริกา, ของอินเดีย, ของไนจีเรีย, ของอียิปต์, ของตุรกี, etc. มีจุดเด่นที่แตกต่างกันไปอย่างไรบ้าง

 

พอดู คุณชายน์ THE CLICHÉ แล้วเราก็ย้อนนึกถึงละครโทรทัศน์ที่เราชอบดูสุดขีดตอนเด็ก ๆ นะ ซึ่ง “ละครโทรทัศน์” ของไทยที่เราชอบสุดขีด ก็ต้องรวมถึงละครโทรทัศน์ของคุณ “สุนันทา นาคสมภพ” นี่แหละ ทั้ง “เพลิงพ่าย” (1990), “คุณหญิงบ่าวตั้ง” (1991)  และ “มนุษย์” คือไม่รู้ว่าละครเหล่านี้มีคุณค่าทางศิลปะอะไรใด ๆ หรือไม่ รู้แต่ว่า ถึงแม้เวลามันจะผ่านมานาน 30-40 ปีแล้ว ละครทีวีเหล่านี้ก็ยังคงฝังใจเราอยู่อย่างรุนแรงมาก ๆ

 

เหมือนเอาเข้าจริงแล้ว เราก็ไม่อินกับละครโทรทัศน์หลาย ๆ เรื่องของไทย ที่ตัวละครนางเอกเป็น “สาวสวยนิสัยดี” นะ 55555 เพราะฉะนั้นความบันเทิง/ความสุขของผู้ชมอย่างเรา ก็เลยได้รับการตอบสนองจากละครของคุณสุนันทา นาคสมภพ อย่างเต็มที่ เพราะตัวละครนางเอกหรือตัวละครหญิงในละครของเธอ มันเข้าทางเรามากที่สุด อย่างเช่นละครเรื่อง “มนุษย์” ก็พูดถึงหญิงสาว (มณฑาทิพย์ แก้วประเสริฐ) ที่ใช้ปืนกลกราดยิงผู้คนตาย, นางเอกของ “เพลิงพ่าย” ก็เหมือนเป็น serial killer ที่ฆ่าคนตายจำนวนมาก ส่วนนางเอกของ “คุณหญิงบ่าวตั้ง” ก็ไม่ใช่ “สาวสวย” และถือเป็นกะหรี่ที่แรงพอตัว

 

เพราะฉะนั้นพอเราดู “คุณชายน์ THE CLICHÉ” เราก็นึกถึงตัวเองในแง่นึง เพราะสิ่งที่เราต้องการจากละครโทรทัศน์หลาย ๆ เรื่อง ก็ไม่ใช่คุณค่าทางศิลปะอะไรใดๆ ทั้งสิ้น แต่เป็นความสุขจากการได้ดูอะไรที่เข้าทางเรา, การระบายออกทางจิตใจ, การตอบสนองแฟนตาซี, etc. ซึ่งละครโทรทัศน์ของคุณสุนันทา นาคสมภพ ก็อาจจะถือเป็นหนึ่งในตัวอย่างที่ดีที่สุดสำหรับเรา (ถ้าของสหรัฐก็ต้องยกให้ MELROSE PLACE) แต่โดยส่วนตัวแล้ว เราก็อาจจะไม่ได้อินอะไรมากนักกับละครโทรทัศน์เรื่องอื่น ๆ ที่นำเสนอตัวละครนางเอกที่เป็น “สาวสวยนิสัยดี” 55555 แต่ก็ยอมรับว่า ละครโทรทัศน์ที่นำเสนอนางเอกที่เป็น “สาวสวยนิสัยดี” มันก็มีคุณค่าในการสร้างความสุขให้กับผู้ชมจำนวนมากเช่นกัน

 

ก็เลยสรุปว่า ชอบหนังเรื่อง “คุณชายน์ THE CLICHÉ” มากๆ แต่ก็เป็นความชอบแบบ “นับถือ” ภาพยนตร์เรื่องนี้ มากกว่าจะเป็นความชอบแบบอินสุด ๆ เป็นการส่วนตัว 

 

Thursday, December 26, 2024

LOVE AFFAIR (1996, Tanit Jitnukul, A+30)

 

Favorite Christmas Song: CHRISTMAS CINDERELLA (1989) – Noriko Sakai
https://www.youtube.com/watch?v=rh2xHNCTWVo

+++

เราชอบ TO LIVE อย่างรุนแรงมาก เรายังจำได้เลยว่า ตอนช่วงที่หนังเรื่องนี้ยังคงอยู่ในระหว่างการถ่ายทำ (หรือในช่วงต้นทศวรรษ 1990) เรากับกลุ่มเพื่อนกะเทยคลั่งไคล้ “กงลี่” อย่างรุนแรงมาก และตอนนั้นนิตยสารไทยเกี่ยวกับ “ดาราฮ่องกง/ดาราไต้หวัน/ดาราจีน” (ไม่แน่ใจว่า “ทีวีรีวิว” หรือนิตยสารอะไรทำนองนี้) ก็ลงข่าวว่า กงลี่กำลังอยู่ในระหว่างการถ่ายทำหนังเรื่องใหม่ ชื่อเรื่องว่า “ยังมีชีวิต” คือพอเรากับเพื่อนเห็น “ชื่อหนังใหม่” ของกงลี่ เราก็ร้องกรี๊ดทันที เพราะรู้สึกว่าชื่อเรื่อง “ยังมีชีวิต” นี่มันช่างเหมาะกับกงลี่จริง ๆ 55555

 

ในปี 2008 เราเคยทำโพลล์ใน blog ของเรา เกี่ยวกับ “หนังที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคนที่มีแนวคิดคอมมิวนิสต์ หรือหนังที่สะท้อนชีวิตคนภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์” โดยเราบรรจุ TO LIVE เข้าไว้ในรายชื่อตอนนั้นด้วยเหมือนกัน

 

ตอนนั้นรายชื่อหนังในโพลล์ของเรามีดังต่อไปนี้

 

THESE FILMS MAY CONCERN LEFTISTS, COMMUNISTS, OR LIFE UNDER COMMUNISM. WHICH FILM DO YOU LIKE?

1.BATTLESHIP POTEMKIN (1925, Sergei M. Eisenstein, Soviet Union)

2.CHILDREN OF THE REVOLUTION (1996, Peter Duncan, Australia)

3.LA CHINOISE (1967, Jean-Luc Godard, France)

4.COLLECTIVE FLAT (1999, Viet Linh, Vietnam)

5.EARTH (1930, Alexander Dovzhenko, Soviet Union)

6.THE FAREWELL: BERTOLT BRECHT’S LAST SUMMER (2001, Jan Schuette, Germany)

7.LES FEUX DE LA CHANDELEUR (HEARTH’S FIRE) (1972, Serge Korber, France)

8.THE GREAT WATER (2004, Ivo Trajkov, Macedonia)

9.HAVANA: THE NEW ART OF MAKING RUINS (2006, Florian Borchmeyer, Cuba/Germany)

10.I AM CUBA (1964, Mikhail Kalatozov, Cuba/Soviet Union)

11.THE JOKE (1969, Jaromil Jires, Czechoslovakia)

12.LARKS ON A STRING (1969, Jiri Menzel, Czechoslovakia)

13.MAN OF MARBLE (1976, Andrzej Wajda, Poland)

14.THE MOONHUNTER (2001, Bhandit Rittakol, Thailand)

15.NOW LET US PRAISE AMERICAN LEFTISTS (2000, Paul Chan, USA)

16.RED PSALM (1972, Miklos Jancso, Hungary)

17.STORM OVER ASIA (1928, Vsevolod Pudovkin, Soviet Union)

18.THE SWIMMER (1981, Irakli Kvirikadze, Georgia)

19.TO LIVE (1994, Zhang Yimou, China)

20.THE TRACE OF STONES (1966, Frank Beyer, East Germany)

 

+++

Favorite Christmas Song: MERRY CHRISTMAS (1988) – Yoko Minamino

https://www.youtube.com/watch?v=jA_JE_DBUFk

+++

เพื่อนเตือนว่า เนื่องจากปีนี้เป็นปี อธิกสุรทิน เพราะฉะนั้นบัตร M PASS แบบรายปี มันจะหมดอายุก่อนครบ 366 วันนะ อย่างเช่นของเราเริ่ม 18 ก.พ. 2024 มันจะหมดอายุวันที่ 16 ก.พ. 2025 ไม่ใช่ 17 ก.พ. 2025 เพราะระบบคงยึดว่า บัตรมีอายุ 365 วัน ถึงแม้ปีนี้มี 366 วันก็ตาม เพราะฉะนั้นใครใช้บัตร M PASS แบบรายปีเหมือนเรา ก็ต้องระวังเรื่องนี้ด้วยจ้า 55555

++++

SUNSET AT SALAYA

 

วันนี้ไปดู LOVE AFFAIR รักเอย (1996, Tanit Jitnukul, A+30) ที่หอภาพยนตร์ ศาลายา และดูหนังสั้นเรื่องต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ที่ห้องสมุดหอภาพยนตร์ หลังจากนั้นก็เลยคิดว่าจะทดลองกินอาหารในร้านอาหารแถวหอภาพยนตร์ดู ก็พบว่ามีร้าน O7 RETURN ตั้งอยู่ห่างจากหอภาพยนตร์ไปเพียงแค่ 600 เมตร ตกแต่งร้านน่ารักมาก ดิฉันเลยแวะเข้าไปกินค่ะ อาหารอร่อยดี เค้กน่ารักมาก มีโต๊ะสำหรับการรับประทานอาหารเป็นหมู่คณะด้วย

+++

ฉันรักเขา เอิร์ธ ณัฐนันท์ คุณวัฒน์ จากภาพยนตร์เรื่อง LOVE AFFAIR รักเอย (1996, Tanit Jitnukul, A+30)

 

นักแสดงหนุ่มหล่อท่านนี้เกิดปี 1976 หรือมีอายุน้อยกว่าดิฉัน 3 ปี และเขาอยู่ในวงการบันเทิงมาตั้งแต่ปี 1993 แล้ว แต่ไม่เคยผ่านตาดิฉันมาก่อนเลย เพราะส่วนใหญ่แล้วเขาเล่นละครโทรทัศน์ตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นช่วงที่ดิฉันเลิกดูละครโทรทัศน์ไปแล้ว และหันมา focus กับการดูภาพยนตร์เป็นหลักแทน ดิฉันก็เลยไม่เคยผ่านตาความหล่อของเขามาก่อน

 

พอวันนี้ดิฉันได้ดูหนังเรื่อง “รักเอย” ที่เขานำแสดง ดิฉันก็กรี๊ดสลบในทันที ตัวเขาในหนังเรื่องนี้ตรงสเปคดิฉันอย่างสุดขีดค่ะ ดูแล้วกรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดน้ำลายฟูมปาก ชักดิ้นชักงอคาโรงหนังหอภาพยนตร์มาก ๆ

 

รู้สึกว่าเขามาในสไตล์หล่อใสแบบ “อัษฎาวุธ เหลืองสุนทร” และ “เศรษฐพงศ์ เพียงพอ” แต่แอบงงว่าทำไมเขาไม่โด่งดังมากกว่านี้ สงสัยสเปคของดิฉันคงไม่ตรงกับคนส่วนใหญ่

 

พอเข้าไปดูใน WIKIPEDIA ก็พบว่าเขายังคงมีงานละครโทรทัศน์แสดงมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน และยังคงดูดีมาก ๆ สำหรับชายอายุ 47-48 ปี

 

รู้สึกว่าปัจจัยสำคัญอันหนี่งที่ทำให้ดิฉันชอบหนังเรื่อง “รักเอย” ในระดับ A+30 ก็คือการ “casting นักแสดงชาย” ในหนังเรื่องนี้ได้ตรงความรู้สึกของดิฉันอย่างรุนแรงที่สุดนี่แหละ เพราะดิฉันอินกับตัวละครนางเอกในจุดหนึ่งมาก ๆ คือพอนางเอกเห็นคุณณัฐนันท์ คุณวัฒน์ เธอก็ want เขา แต่นางเอกกลับรู้สึกเฉย ๆ กับตัวละครของคุณ “รวิชญ์ เทิดวงส์” เหมือนเธอเพิ่งมา want รวิชญ์ก็ต่อเมื่อรวิชญ์ได้พิสูจน์ความดีในตัวเขาออกมา ซึ่งดิฉันอินกับจุดนี้อย่างสุด ๆ เพราะดิฉันเองก็เป็นคนที่ “เห็นรูปลักษณ์ภายนอก” ของคุณเอิร์ธ แล้วก็คงตกหลุมรักเขาในทันทีเช่นกัน แต่ดิฉันอาจจะไม่ได้เป็นคนที่ตกหลุมรักคุณรวิชญ์ในทันทีเมื่อแรกเห็น 55555 ดิฉันก็เลยรู้สึกว่า การ casting นักแสดงนำชายสองคนของหนังเรื่อง “รักเอย” นี่มันตอบโจทย์ดิฉันมาก ๆ สอดคล้องกับความรู้สึกของดิฉันอย่างสุด ๆ และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ดิฉันอินกับหนังเรื่องนี้มากในระดับหนึ่ง

 

สัมผัสความหล่อของคุณเอิร์ธ ณัฐนันท์ คุณวัฒน์ ได้ใน blog นี้นะ

https://70-90memory.blogspot.com/2011/07/blog-post.html?m=1

 

 

Tuesday, December 24, 2024

RIP SHYAM BENEGAL (1934-2024)

 

RIP SHYAM BENEGAL (1934-2024)

 

เราเคยดูหนังของเขาแค่ 3 เรื่องที่โรงภาพยนตร์ในห้าง Paragon เพราะว่าพี่วิคเตอร์ เกรียงศักดิ์ ศิลากอง เคยจัดงาน SHYAM BENEGAL RETROSPECTIVE โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของเทศกาล WORLD FILM FESTIVAL OF BANGKOK ในปี 2008 และเราก็ชอบหนังทั้ง 3 เรื่องนี้อย่างสุดขีดมาก โดยหนังทั้ง 3 เรื่องที่เราเคยดู ได้แก่

 

1.SAMAR (1998, Shyam Benegal, India)


2..BHUMIKA (1977, Shyam Benegal, India)


3.ZUBEIDAA (2001, Shyam Benegal, India)

 

เราเคยเขียนถึง SAMAR ไว้ยาวมากใน blog ของเรา ใครสนใจก็ไปอ่านเอาเองนะ
https://celinejulie.blogspot.com/2008/11/seven-reasons-why-i-worship-seven.html

 

เราเคยเขียนถึง BHUMIKA ว่า

This film reminds me of some Thai novels I read when I was a child. These novels are about the unhappy life of a heroine who has marital problems. Maybe this film should be screened together with THONG PRAGAI SAED (1988, Chana Kraprayoon, Thailand, A), because the heroines of both melodrama films have many lovers.


เราเคยเขียนถึง ZUBEIDAA ไว้ว่า

This film reminds me of ANGEL (2007, Francois Ozon, A). I like melodrama films such as these two, because the heroines in these two films behave a little bit like villainess, not like innocent heroines. I also love the story about the downfall of feudalism.


Sunday, December 22, 2024

THE PROTAGONIST IN BRESSON’S FILM

 THE PROTAGONIST IN BRESSON’S FILM (2023, Naruepong Boonkert, 30.49min, A+30)

 

1.เราเคยคุยกับเพื่อน cinephile บางคนในช่วงต้นปี 2023 ว่า พอเราเห็นคุณ Weerapat Sakolvaree แล้วเรารู้สึกว่า บุคลิกของเขาทำให้นึกถึงพระเอกภาพยนตร์เรื่อง THE DEVIL, PROBABLY (1977, Robert Bresson) ซึ่งเพื่อน cinephile ท่านนั้นก็เห็นด้วย

 

ปรากฏว่าวันนี้เราได้ดูหนังเรื่อง THE PROTAGONIST IN BRESSON’S FILM (2023, Naruepong Boonkert, 30.49min, A+30) แล้ว ก็พบว่าหนังเรื่องนี้นำแสดงโดยคุณ Weerapat เราก็เลยหวีดร้องสุดเสียง เพราะมันเหมือนช่วยยืนยันว่า น่าจะมีคนอื่น ๆ ด้วยเหมือนกันที่เห็นบุคลิกของคุณ Weerapat แล้วนึกถึงหนังของ Robert Bresson 55555

 

2.ส่วนตัวหนัง THE PROTAGONIST IN BRESSON’S FILM เราก็ชอบสุดขีดนะ สิ่งที่เราชอบในหนังเรื่องนี้ ก็รวมถึง

 

2.1 style ของหนังเรื่องนี้ คือเราแอบรู้สึกราวกับว่า ในหนังเรื่องนี้ THE STYLE IS THE SUBSTANCE น่ะ ราวกับว่า สไตล์ คือเนื้อหาหลักของหนังเรื่องนี้ แต่มันไม่ใช่ว่าหนังเรื่องนี้มีแต่สไตล์นะ เพราะหนังเรื่องนี้มันก็มีเนื้อหาและเรื่องราวของมันเหมือนกัน แต่เรารู้สึกว่าสไตล์ของมันโดดเด้งถูกจริตเรามาก ๆ จนพอดูจบแล้วเรากลับจำได้แต่สไตล์ของหนังเป็นหลัก แต่จำเนื้อหาอื่น ๆ ของหนังไม่ค่อยได้ในการดูรอบแรก

 

2.2 พลังทางภาพและเสียงของหนังเรื่องนี้ เข้าทางเรามาก ๆ ตั้งแต่ฉากแรก ๆ ที่มีการตั้งกล้องนิ่งถ่ายแสงลอดหน้าต่าง+ผ้าม่านออกมาได้งามมาก ๆ จนถึงฉากท้าย ๆ บนสะพานลอยที่งดงามพิลาสพิไลที่สุด

 

2.3 การเลือก location แต่ละจุดก็น่าสนใจมาก ๆ

 

2.4 ดูหนังเรื่องนี้แล้วรู้สึกเศร้ามาก ๆ ด้วย และดูแล้วก็ยิ่งคิดถึง THE DEVIL, PROBABLY มากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะเรารู้สึกว่า THE DEVIL, PROBABLY มันเหมือนเป็นหนังที่ตอกย้ำ “ความล่มสลายในการปฏิวัติของหนุ่มสาว ตั้งแต่การลุกฮือของหนุ่มสาวในยุโรป โดยเฉพาะในฝรั่งเศสในปี 1968 เรื่อยมาจนถึงการก่อกำเนิดของกลุ่มก่อการร้าย Baader Meinhof, กลุ่ม Red Brigade, etc.” อะไรต่าง ๆ ซึ่งการลุกฮือของหนุ่มสาวทั่วยุโรปตั้งแต่ปี 1968 จนถึงทศวรรษ 1970 มันก็ไม่สามารถนำพาไปสู่การโค่นล้มทุนนิยมหรือจักรวรรดินิยมอเมริกาหรืออะไรได้ และหนังเรื่อง THE DEVIL, PROBABLY ก็เหมือนเป็นบทสรุปของความล้มเหลวในการปฏิวัติของหนุ่มสาวยุคนั้น

 

ในแง่เดียวกัน THE PROTAGONIST IN BRESSON’S FILM ก็ทำให้เรารู้สึกแบบนั้นเหมือนกัน ราวกับว่าหนังเรื่องนี้เป็นภาคต่อของหนังหลาย ๆ เรื่องที่กำกับโดยคุณ Weerapat Sakolvaree ราวกับว่ามันเป็นภาคต่อของ NOSTALGIA (2022, Weerapat Sakolvaree, 14min, A+30) , THE ETERNAL LABYRINTH (2022, Weerapat Sakolvaree, 30min, A+30), ZOMBIE CITIZENS (2021, Weerapat Sakovaree, 11min, documentary) และในแง่หนึ่ง มันก็อาจจะเป็นภาคต่อของ PARADOX DEMOCRACY (2024, Uruphong Raksasad, documentary, 61min, A+30) ด้วย แต่เป็นภาคต่อแบบ tragic ending เพราะมันเหมือนกับว่า การลุกฮือของหนุ่มสาวในไทยตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา มันไม่ได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงมากเท่าที่ควร ราวกับว่ามันล้มเหลว และนำไปสู่การล่มสลายของจิตวิญญาณทางการเมือง คล้าย ๆ กับใน THE DEVIL, PROBABLY เหลือไว้เพียงความว่างเปล่า

 

แต่ในแง่หนึ่ง เราก็คิดว่าการลุกฮือของหนุ่มสาวในยุโรปตั้งแต่ปี 1968 เป็นต้นมา มันก็อาจจะไม่ได้ “ล้มเหลว” ไปซะทั้งหมดก็ได้นะ คือการลุกฮือในปี 1968 มันอาจจะไม่ได้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทันทีก็จริง แต่มันก็อาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ค่อย ๆ ผลักดันสังคมไปในทางที่ถูกที่ควรก็ได้ เราอาจจะไม่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วฉับพลัน แต่การเปลี่ยนแปลงอาจจะค่อย ๆ ดำเนินต่อไปทีละน้อย เพราะหลังจากเกิดการลุกฮือในปี 1968 และ THE DEVIL, PROBABLY ออกฉายในปี 1977 ต่อมาในปี 1981 ประเทศฝรั่งเศสก็ได้ประธานาธิบดีที่มาจาก “พรรคการเมืองฝ่ายซ้าย” เป็นคนแรกในรอบหลายสิบปี ชัยชนะของฝ่ายซ้ายมันเกิดขึ้นได้จริง เพียงแต่อาจจะไม่ได้เกิดขึ้นอย่างฉับพลัน

 

เพราะฉะนั้นเราก็เลยคาดหวังในแง่ดีว่า THE PROTAGONIST IN BRESSON’S FILM ก็อาจจะมีสถานะคล้าย ๆ THE DEVIL, PROBABLY ในแง่นี้ด้วยเช่นกัน หนังเรื่องนี้อาจจะเพียงแค่บันทึก “การฝ่อตัว” หลังการลุกฮือครั้งใหญ่ของหนุ่มสาว แต่มันไม่ได้หมายความว่า ทุกอย่างล้มเหลว เพราะความเปลี่ยนแปลงยังคงดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ เพียงแต่ว่าความเปลี่ยนแปลงมันไม่ได้เกิดขึ้นอย่างร้อนแรงและเห็นได้ชัดเท่านั้นเอง

 

3.ถึงแม้เราจะชอบ THE PROTAGONIST IN BRESSON’S FILM อย่างรุนแรง แต่เราก็ไม่ได้ชอบหนังเรื่องนี้มากที่สุดในบรรดาหนังที่เข้าชิงรางวัลช้างเผือกพิเศษปีนี้นะ เพราะหนังที่เราชอบที่สุดในกลุ่มนี้ก็คือ “อื่น ๆ นับจากนี้” OTHERS FROM NOW ON (2024, Tanadol Sodsri, 30min, A+30) ซึ่งเป็นหนังที่เราดูแล้วร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรงที่สุด และเป็นหนังที่เราดูแล้วนึกถึง Robert Bresson อย่างรุนแรงสุดขีดเหมือนกัน เพราะ OTHERS FROM NOW ON นี่คือหนังที่เหมาะฉายปะทะกับ MOUCHETTE (1967, Robert Bresson) มาก ๆ

 

4.ถ้าหากจะฉายหนังเรื่อง THE PROTAGONIST IN BRESSON’S FILM ควบกับหนังเรื่องไหน เราก็คิดว่า เราอยากให้มีคนฉายมันควบกับหนังอีกเรื่องที่เคยเข้าชิงรางวัล “ช้างเผือกพิเศษ” เหมือนกันเมื่อ 17 ปีก่อน ซึ่งก็คือหนังเรื่อง THE OTHER WORLD คนละโลก (2007, Chutchon Ajanakitti, 16min, A+30) เพราะทั้ง เรื่อง THE PROTAGONIST IN BRESSON’S FILM และ THE OTHER WORLD ต่างก็ทำให้เราทึ่งสุดขีดกับ “ความสามารถในการกำกับภาพยนตร์ของเด็กมัธยม” เหมือนกัน และเพราะว่าหนังทั้งสองเรื่องนี้ บันทึก/ถ่ายทอด “จิตวิญญาณขบถที่บอบช้ำของคนหนุ่ม” เอาไว้ได้อย่างดีงามสุดขีดเหมือนกัน ถ้าหากเราจำไม่ผิดนะ

 

บางคนอาจจะรู้สึกว่า ชื่อผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง “THE OTHER WORLD คนละโลก” มันคุ้น ๆ ซึ่งถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ในปี 2007 ในช่วงที่เขายังเป็น “เด็กมัธยม” นั้น ในเวลาต่อมา เขาก็คือคนเดียวกันกับผู้ประพันธ์หนังสือ “ลุกไหม้สิ! ซิการ์” นั่นเอง

Saturday, December 21, 2024

HALE COUNTY THIS MORNING, THIS EVENING

 

เพิ่งรู้จากเพื่อนว่า Quintessa Swindell ที่เคยแสดงเป็น Cyclone ในหนังซูเปอร์ฮีโร่เรื่อง BLACK ADAM (2022, Jaume Collet-Serra) ได้กำกับหนังสั้นเรื่อง THE LILY (2025) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับมวยไทย โดยมีนักมวยไทยชื่อ “เมย์ เพชรชมพู” ร่วมแสดงด้วย หนังเรื่องนี้จะฉายในเทศกาลภาพยนตร์ SUNDANCE

+++

เห็นเขาลือกันว่า ถ้าหากใครใส่ชุดที่มี “สีเขียว, ขาว และน้ำเงิน” และมาเต้นระบำหน้าประติมากรรมนี้ในเวลาโพล้เพล้ ผีตากผ้าอ้อม แล้วเต้นได้ถูกใจเจ้าแม่ฮิปโป ในคืนวันโกนถัดจากการเต้นครั้งนั้น เจ้าแม่ฮิปโปจะมาเข้าฝัน เพื่อใบ้หวยเป็นภาษา Krio

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

คงไม่มีคนเชื่อว่าเป็นเรื่องจริงนะ 55555 คือพอเราเห็นอะไรแบบนี้แล้วก็มักจะจินตนาการอะไรแบบนี้ขึ้นมาในหัวโดยอัตโนมัติ

+++

เพิ่งรู้จากเพื่อนว่า หนังเรื่อง INCIDENT (2023, Bill Morrison, documentary, A+30) ที่เพิ่งเข้าฉายในเทศกาล SIGNES DE NUIT FILM FESTIVAL IN BANGKOK ได้เข้า shortlist OSCAR ด้วย กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด ชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดขีดมาก ๆ นอกจากนี้ INCIDENT ก็ได้รับรางวัล Edward Snowden จากเทศกาลภาพยนตร์ Signes du Nuit in Bangkok ด้วย

 

ส่วน AN ORANGE FROM JAFFA (2023, Mohammad Almughanni, Palestine, A+30) ที่ได้เข้า shortlist OSCAR สาขาหนังสั้นยอดเยี่ยมนั้น ก็ได้เข้าฉายในเทศกาล Signes de Nuit Film Festival in Bangkok เช่นกัน และได้รับรางวัล Special Mentioned for Main Award จากเทศกาลนี้

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10160347905833576&set=a.10160293678308576

+++

ซื้อ “มะระขี้นกทอดกรอบ” , คุ้กกี้มะพร้าว, ปลากรอบเจ และหมูกระจกเจมากิน  ซึ่งสามอย่างหลังอร่อยดี แต่มะระขี้นกทอดกรอบ “ขมปี๋มาก” แต่ก็ไม่ได้ขมเกินไปนะ กินแล้วก็อยากกินอีก เหมือนปกติเรากินแต่ “ของหวาน” พอได้กินของขม ๆ อย่างมะระขี้นกทอดกรอบแล้วก็เริ่มรู้สึกติดใจ 55555

+++

HALE COUNTY THIS MORNING, THIS EVENING (2018, RaMell Ross, documentary, 76min, A+30)

 

เราดูฟรีออนไลน์ทาง lecinemaclub

 

หนังสารคดีบันทึก fragments ในชีวิตประจำวันของคนในเทศมณฑลเฮล รัฐอลาบามา ซึ่งเหมือนมีแต่คนผิวดำอยู่ในเทศมณฑลนี้ หนังเรื่องนี้ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์หนังสารคดียอดเยี่ยมด้วย แต่ผู้ชนะรางวัลออสการ์ในปีนั้นคือ FREE SOLO (2018, Jimmy Chin, Elizabeth Chai Vasarhelyi, A+30)

 

ตอนแรกนึกว่ามันจะเป็นหนังสารคดีสะท้อนประเด็นการเมืองสังคมความด้อยโอกาสอย่างหนัก ๆ ตรงไปตรงมา แต่ปรากฏว่ามันเป็นหนังสารคดีที่มีความเป็นกวีสูงมาก ๆ และสะท้อนชีวิตคนผิวดำในชนบทสหรัฐไปด้วยในเวลาเดียวกัน เหมือนหนังเรื่องนี้มีองค์ประกอบอย่างน้อย 4 อย่างที่เราชอบสุด ๆ ซึ่งได้แก่

 

1. การสะท้อนชีวิตคนจน ที่โอกาสจะลืมตาอ้าปากมันทำได้ยากมาก โดยในเทศมณฑลนี้นั้น โอกาสสำหรับเด็กหนุ่มที่อยากจะประสบความสำเร็จในชีวิตได้ ดูเหมือนจะต้องผ่านทางการก้าวขึ้นมาเป็นนักกีฬาบาสเกตบอลชื่อดังให้ได้

 

2. การเลือกถ่ายภาพต่าง ๆ ได้อย่างงดงามมาก ๆ โดยเฉพาะการเลือกถ่ายเงาคน แทนที่จะเลือกถ่ายตัวคนโดยตรง หรือการวางเฟรมภาพต่าง ๆ ที่เน้นความเวิ้งว้างของ subject ของภาพท่ามกลางทัศนียภาพโล่งกว้าง

 

3. อารมณ์แบบกวี

 

4. การให้ความสำคัญกับ “ชีวิตประจำวัน” ของผู้คน โดยฉากที่เราชอบที่สุดของหนังคือฉากที่หนังถ่ายเด็กตัวเล็ก ๆ อายุราว 2 ขวบ วิ่งไปวิ่งมาในห้องเป็นเวลานานหลายนาที โดยไม่มีอะไรสำคัญเกิดขึ้น และไม่รู้ว่าฉากดังกล่าวมีความสำคัญอย่างไรต่อเนื้อเรื่องของหนัง แต่ฉากนี้มันทรงพลังและตราตรึงใจเรามากที่สุด

 

ขณะที่เราดูหนังเรื่องนี้ เราก็แอบงงว่าทำไมหนังมีความเป็นกวีสูงมาก ๆ แต่พอ ending credits มันขึ้นว่า creative advisor คือ Apichatpong Weerasethakul เราก็เลยหายสงสัยในทันที 55555 คือเราไม่ได้คิดว่า Apichatpong เป็นคนทำให้หนังเรื่องนี้มีความเป็นกวีสูงมากนะ แต่เราคิดว่าตัว RaMell Ross เขาคงมีความเป็นกวีสูงมากอยู่ในตัวเขาเองอยู่แล้ว เขาเลยเลือก creative advisor ที่ไปด้วยกันกับเขาได้ดี อะไรทำนองนี้

 

ตอนนี้เรายังไม่ได้ดู NICKEL BOYS (2024, RaMell Ross) นะ แต่เราก็เชียร์ให้หนังเรื่อง NICKEL BOYS ได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ หรือชนะรางวัลออสการ์  เพราะถ้าหากหนังเรื่องนี้ชนะรางวัลออสการ์ โอกาสที่เราจะได้ดูหนังเรื่องนี้ก็จะเพิ่มสูงขึ้น 55555

 

RaMell Ross ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ เป็นอดีตนักกีฬาบาสเกตบอลด้วย

 

Thursday, December 19, 2024

THE NIGHT DARA DIED

 

RIP MARISA PAREDES (1946-2024)

 

หนังของเธอที่เคยดู

 

1.HIGH HEELS (1991, Pedro Almodóvar, Spain)

 

2.THE FLOWER OF MY SECRET (1995, Pedro Almodóvar, Spain)

เราได้ดูตอนมันมาฉายที่สมาคมฝรั่งเศส

 

3.THREE LIVES AND ONLY ONE DEATH (1996, Raúl Ruiz, France/Portugal)

 

4.DOCTOR CHANCE (1997, F.J. Ossang, France/Chile)

เราเคยดูหนังเรื่องนี้ตอนมันมาฉายที่ JAM SATHORN

 

5.LIFE IS BEAUTIFUL (1997, Roberto Benigni, Italy)

 

6.ALL ABOUT MY MOTHER (1999, Pedro Almodóvar, Spain)

 

7.NO ONE WRITE TO THE COLONEL (1999, Arturo Ripstein, Mexico)

สร้างจากบทประพันธ์ของ Gabriel García Márquez และเคยเข้าฉายที่โรง Lido ในเทศกาลภาพยนตร์เม็กซิโกในกรุงเทพ

 

8.TALK TO HER (2002, Pedro Almodóvar, Spain)

 

9.QUEENS (2005, Manuel Gómez Pereira, Spain)

 

10.THE SKIN I LIVE IN (2011, Pedro Almodóvar, Spain)

 

อยากให้มีคนจัดงาน retrospective ของเธอมาก ๆ อยากดูหนังอีกหลายเรื่องที่เธอแสดง โดยเฉพาะ

 

1. IN A GLASS CAGE (1987, Agustí Villaronga, Spain)

เราเคยดู BLACK BREAD (2010) ของ Agustí Villaronga แล้วชอบอย่างสุดขีดมาก ๆ เราเพิ่งรู้ว่า Agustí Villaronga เสียชีวิตไปแล้วในปี 2023 จากโรคมะเร็ง

 

2.SILVER-BEET FACE (1987, José Sacristán, Spain)

เธอเข้าชิงรางวัลโกย่าดาราสมทบหญิงจากเรื่องนี้

 

3.MAGIC MIRROR (2005, Manoel de Oliveira, Portugal)

เธอเข้าชิงรางวัลดาราสมทบหญิงในเทศกาลภาพยนตร์เมโทร มะนิลาจากหนังเรื่องนี้

 

4. THE GOD OF WOOD (2010, Vicente Molina Foix, Spain)

เธอได้รับรางวัล Best Actress จากเทศกาลภาพยนตร์สเปนมะละกาจากหนังเรื่องนี้

 

5.PETRA (2018, Jaime Rosales, Spain)

เธอเข้าชิงรางวัล Gaudí สาขาดาราสมทบหญิงยอดเยี่ยม

 

RIP WOLFGANG BECKER (1954-2024)

 

เราเคยดูหนังที่เขากำกับแค่ 2 เรื่อง ซึ่งก็คือ

 

1. LIFE IS ALL YOU GET (1997) ที่เราดูแล้วเฉย ๆ เพราะเราไม่ค่อยอินกับหนังโรแมนติก

 

2. GOOD BYE LENIN! (2003)

 

อยากดู BUTTERFLIES (1988, Wolfgang Becker) มาก ๆ เพราะหนังเรื่องนี้ชนะรางวัล GOLDEN LEOPARD จากเทศกาลภาพยนตร์ Locarno และสร้างจากบทประพันธ์ของ Ian McEwan (ATONEMENT, THE COMFORT OF STRANGERS, THE CEMENT GARDEN)

 

เราตกใจมากที่เพิ่งรู้ว่า จริง ๆ แล้วมีผู้กำกับภาพยนตร์ชื่อ WOLFGANG BECKER สองคน โดย Wolfgang Becker อีกคนนั้นมีชีวิตในปี 1910-2005 และเคยกำกับหนังเรื่อง I SLEEP WITH MY MURDERER (1970)

+++++++++

วันนี้เราเพิ่งได้ดูหนังเรื่อง THE NIGHT DARA DIED (2024, Asamaporn Piriyapokanon, 30min, A+30) ที่คอมพิวเตอร์ในห้องสมุดของหอภาพยนตร์ ศาลายา เห็นใน ending credits มีชื่อของ Daniel Eisenberg ในฐานะ Advisor แล้วก็ดีใจมาก ๆ เพราะเราเคยดูหนังเรื่อง SOMETHING MORE THAN NIGHT (2003, Daniel Eisenberg, 72min) ตอนที่หนังเรื่องนี้มาฉายที่สวนลุมพินีในเทศกาลภาพยนตร์ทดลองกรุงเทพครั้งที่ 4 ในวันที่ 25 ธ.ค. 2005 หรือเมื่อ 19 ปีมาแล้ว เราชอบ SOMETHING MORE THAN NIGHT มาก ๆ จนยกให้หนังเรื่องนี้ติดอันดับ 7 ประจำปีของเราไปเลย (เป็นอันดับหนังสุดโปรดของเราประจำปี 2006 ที่รวมหนังที่เราได้ดูในช่วงปลายปี 2005 ไว้ด้วย)

 

ก่อนหน้านั้น Daniel Eisenberg ก็เคยมีหนังเรื่อง PERSISTENCE (1997, 86min) มาฉายในเทศกาลภาพยนตร์ทดลองกรุงเทพครั้งที่ 2 ในช่วงปลายปี 1999 ด้วย โดยมาฉายในรูปแบบฟิล์ม 16 มม. และฉายที่สมาคมฝรั่งเศส ถนนสาทรใต้ แต่เราพลาด ไม่ได้ไปดูหนังเรื่องนี้ ส่วนเพื่อนของเราที่ได้ไปดู PERSISTENCE ในเทศกาลนี้สรรเสริญเยินยอหนังเรื่องนี้อย่างรุนแรงสุดขีดมาก หนังเรื่อง PERSISTENCE ก็เลยกลายเป็นตราบาปในใจเราตลอด 25 ปีที่ผ่านมา และเป็นบทเรียนสอนใจเราว่า ถ้าหากคุณพลาดดูหนังบางเรื่องใน “เทศกาลภาพยนตร์ทดลองกรุงเทพ” คุณก็อาจจะพลาดมันไปเลยตลอดชีวิตก็ได้ หรืออาจจะหามันมาดูไม่ได้อีกเลยในช่วงเวลา 25 ปีต่อมา เหมือนอย่างเช่นในกรณีของ PERSISTENCE (มันมีใน PRIME VIDEO แต่ดูในไทยไม่ได้)

 

ส่วนตัวหนัง THE NIGHT DARA DIED นั้น เราชอบสุดขีดมาก เพราะว่า

 

1. เราว่าหนังเรื่องนี้มีลักษณะบางอย่างที่ไม่เหมือนหนังสั้นไทยโดยทั่ว ๆ ไป แต่บอกไม่ถูกเหมือนกันว่ามันคือลักษณะอะไร แต่เหมือนกับว่าหนังสั้นไทยโดยทั่ว ๆ ไปไม่ได้ออกมาเป็นแบบนี้น่ะ

 

2. ชอบตัวละครนางเอกมาก ๆ ในฐานะ “ตัวละคร” นะ ไม่ใช่ในฐานะที่เราอยากเป็นเพื่อนกับคนแบบนี้ในชีวิตจริง 55555 คือนึกถึงตัวละครประเภทนางเอกของ THE GREEN RAY (1986, Éric Rohmer) หรือตัวละครนางเอกหนังฝรั่งเศสหลาย ๆ เรื่องน่ะ ที่ตัวละครมันเป็น “มนุษย์” มาก ๆ มีความเผ็ด มีฤทธิ์เดช และอาจจะมีข้อเสียหรือความไม่น่ารักในตัวเองสูงมาก คือเวลาที่เราดูหนังแบบนี้ เราจะชื่นชอบ “ความเป็นมนุษย์” ของตัวละครในหนังมาก ๆ และมันเป็นมนุษย์ปุถุชนที่มีข้อบกพร่องในตัวเองเยอะมากจนเราเข็ดขยาดถ้าหากเราเจอคนแบบนี้ในชีวิตจริง 55555

 

คือถ้าหากเป็นตัวละครชาย ก็เปรียบเทียบได้ง่าย ๆ เลยว่า นึกถึงพวกผู้ชายในหนังของ John Cassavetes นะ ตัวละครชายที่ “มีความเป็นมนุษย์” สูงมาก จนเราทึ่งในความสามารถของผู้สร้างภาพยนตร์ที่ปั้นตัวละครแบบนี้ออกมาได้ แต่ตัวละครชายในหนังของ John Cassavetes ก็เป็นคนที่เราไม่อยากคบหาในชีวิตจริงเช่นกัน 55555

 

3. ในแง่นึงเรารู้สึกว่า THE NIGHT DARA DIED คือ “เหรียญอีกด้าน” ของ JEANNE DIELMAN, 23, QUAI DU COMMERCE, 1080 BRUXELLES (1975, Chantal Akerman, Belgium) โดยไม่ได้ตั้งใจ 55555

 

คือเรารู้สึกว่า หนังทั้งสองเรื่องนี้เหมือนจะนำเสนอ “ชีวิตประจำวัน” ของผู้หญิงสองคนเหมือน ๆ กันน่ะ และนำเสนอกิจวัตรประจำวันที่ดูเหมือนไม่มีความสลักสำคัญอะไรของชีวิตนางเอกไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งถึงจุดพลิกผันบางอย่างที่ทำให้นางเอกในหนังทั้งสองเรื่องไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันในวันนั้นตามแผนได้ 55555 โดยในกรณีของ THE NIGHT DARA DIED ก็คือการที่นางเอกลืม ID card ส่วนกรณีของ Jeanne Dielman นั้นก็คือการต้มมันฝรั่งนานเกินไป หรือไม่ก็อะไรสักอย่างที่กระทบจิตใจ Jeanne Dielman จนส่งผลให้เธอเริ่มใจลอย และส่งผลให้เธอต้มมันฝรั่งนานเกินไป และส่งผลให้เธอทำอะไรอื่น ๆ ผิดไปจากกิจวัตรประจำวันของเธอด้วย

 

ซึ่งถึงแม้ THE NIGHT DARA DIED กับ JEANNE DIELMAN จะมีอะไรพ้องกันบางอย่างในข้างต้น แต่เราก็รู้สึกว่าหนังสองเรื่องนี้เหมือนเป็นเหรียญคนละด้านกัน เพราะตัวละครนางเอกของ THE NIGHT DARA DIED มีลักษณะตรงข้ามกับ JEANNE DIELMAN โดยสิ้นเชิง อย่างเช่น

 

3.1 ทั้งสองเหมือนเป็นตัวแทนภาพลักษณ์ของ “ผู้หญิง” ในยุคสมัยที่ห่างจากกันอย่างน้อย 50 ปี โดยตัวละคร Jeanne Dielman นั้นทำให้เรานึกถึง “แม่บ้าน” ในทศวรรษ 1950 ถึงแม้หนังจะออกมาในทศวรรษ 1970 ส่วน “ดารา” ใน THE NIGHT DARA DIED นั้น คือผู้หญิงทศวรรษนี้ ที่เน้นการสร้างภาพลักษณ์ของตนเองทาง social media ให้ดูดีตลอดเวลา

 

3.2 “ดารา” เป็นสาวโสดวัย 20 กว่าปีที่อาศัยอยู่กับพ่อ ส่วน Jeanne Dielman เป็น single mom ที่อาศัยอยู่กับลูกชาย

 

3.3  สิ่งที่ Jeanne Dielman ทำเกือบตลอดทั้งเรื่อง คือ “การทำงาน” ส่วนสิ่งที่ “ดารา” ทำเป็นส่วนใหญ่ คือการหาความสุขในแบบของตนเองไปเรื่อย ๆ

 

3.4 เหมือน Jeanne Dielman จะมีปัญหาเรื่องการเงิน ส่วน “ดารา” เหมือนจะไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการเงิน ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิดนะ

 

3.5 Jeanne Dielman ใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในบ้าน เหมือน “ชีวิต” ของเธอคือเวลาที่เธออยู่ในบ้าน (เพราะบ้านก็เป็นสถานที่ทำงานของเธอด้วย) แต่ในส่วนของ “ดารา” นั้น ช่วงเวลาที่ทำให้เธอรู้สึก “มีชีวิตชีวา” จริง ๆ เหมือนจะเป็นเวลาที่เธออยู่นอกบ้าน

 

3.6 และเนื่องจากสไตล์การใช้ชีวิตของนางเอกหนังสองเรื่องนี้ แตกต่างจากกันอย่างสิ้นเชิง สไตล์การถ่ายของหนังสองเรื่องนี้ก็เลยตรงข้ามกันไปด้วย เพราะ JEANNE DIELMAN เน้นการตั้งกล้องนิ่ง static long take ซึ่งก็สะท้อนความซ้ำซากจำเจของชีวิตนางเอกหรือผู้หญิงยุคนั้นได้เป็นอย่างดี ส่วนสไตล์การถ่ายของ DARA เป็นกล้อง handheld ตามติดตัวละครนางเอก มีการตัดสลับฉับไว ซึ่งก็สะท้อนสไตล์การใช้ชีวิตแบบปรู๊ดปร๊าดของตัวละคร “ดารา” และหญิงสาวยุคนี้ได้เป็นอย่างดี

 

4. ส่วนฉากที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ คือฉากการกรอกน้ำก๊อกใส่กระป๋องเบียร์ ถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด คือเราชอบที่ “ดารา” เหมือนพยายามสร้างภาพลักษณ์ของตัวเองตลอดเวลา ทั้งการถ่ายรูปลง social media อยู่เสมอ, การหมกมุ่นกับเครื่องแต่งกาย และการสร้างภาพลักษณ์ของตัวเองให้ดูเป็นสาวเปรี้ยวดื่มเหล้าในผับบาร์ ซึ่งสิ่งที่เธอทำก็เหมือนล้อไปกับชื่อ “ดารา” ของเธอด้วย

 

ในแง่หนึ่งตรงจุดนี้ก็ทำให้นึกถึง JEANNE DIELMAN ด้วย เพราะถึงแม้ JEANNE DIELMAN จะไม่ได้หมกมุ่นกับการสร้างภาพลักษณ์ของตัวเอง แต่เหมือนเรารู้สึกว่า ในขณะที่เราได้เห็นตัวละคร Jeanne Dielman ทำอะไรต่าง ๆ เป็นเวลานาน 3 ชั่วโมง หนังกลับไม่ได้บอกเราตรง ๆ ถึง “สิ่งที่อยู่ในใจของนางเอก” เหมือนเราได้เห็น Jeanne Dielman ทำอะไรมากมาย แต่ผู้ชมต้องจินตนาการเอาเองว่า นางเอกคิดอะไรและจิตวิญญาณของนางเอกเป็นอย่างไรกันแน่

 

ในส่วนของ THE NIGHT DARA DIED นั้น เราก็รู้สึกคล้าย ๆ กัน เราได้เห็นกิจวัตรต่าง ๆ มากมายของ “ดารา” ในหนังเรื่องนี้ เราได้เห็น “เปลือกนอก” ที่เธอพยายามสร้างให้คนอื่น ๆ เห็นตลอดเวลา แต่เหมือนหนังก็ไม่ได้บอกตรงๆ ว่า “แก่นแท้” หรือ “จิตวิญญาณ” ของ “ดารา” เป็นอย่างไร มันมีความเหงา, ความเปล่าเปลี่ยว, ความว่างโหวง, ความไร้ราก, etc. อะไรซ่อนอยู่ข้างในไหม

 

ซึ่งเราก็ชอบหนังทั้งสองเรื่องนี้ตรงจุดนี้มาก เหมือนหนังทั้งสองเรื่องนี้เปิดโอกาสให้เราได้เห็นชีวิตมนุษย์บางคนอย่างละเอียด แต่ไม่ได้ทำให้เรารู้สึกว่า “มนุษย์” เป็นอะไรที่เข้าใจได้ง่าย ๆ เลยแม้แต่นิดเดียว

 

หนังเรื่องนี้น่าจะเป็นหนังเรื่องที่ 4 ของคุณ Asamaporn Piriyapokanon ที่เราได้ดู ต่อจาก THE ROTTEN LAND (2019, documentary, 43min, A+30), RIGHT BEFORE YOUR EYES (2021, 43min, A+30) และ COMING THRO THE RYE (2023, 7min, A+30)

++++++++

 

STUFFED TOFU (2023, Feisal Azizuddin, Malaysia, 8min, A+15)

 

ดูจบแล้วงง ว่าตกลงมันเกิดอะไรขึ้น มันมีสัญญะอะไรซ่อนอยู่หรือเปล่า หรือหนังเรื่องนี้ต้องการจะบอกอะไรกันแน่

 

BUGS (2022, Gwai Lou, Malaysia, 14min, A+30)

 

ชอบสุดขีด เป็นหนัง feel bad ที่ดูแล้วหายใจไม่ทั่วท้อง นึกถึงหนังเรื่อง “เหยื่อ” VICTIM (1987, Chana Kraprayoon) เพียงแต่ว่า BUGS เป็นการปรับเปลี่ยนบริบทมาเป็นยุคสมัยปัจจุบัน ยุคของ LIVE STREAMING และ social media

 

GAREK (2024, Cech Adrea, Malaysia, 5min, A+15)

 

เหมือนหนังมันสั้นไป พอยิงประเด็น dilemma แล้วก็จบเลย เป็นการปะทะกันระหว่างหญิงสาวที่อาจจะทำตัวเสรีจนเกินไป กับเด็กหญิงที่อาจจะเชื่อฟังประเพณีมากเกินไป เหมือนเอาตัวละครที่ too liberal กับตัวละครที่ too conservative มาปะทะกัน แล้วก็จบ

 

PHONE CALL MAN WOMAN (2023, Lim Kean Hian, Malaysia, 11min, A+30)

 

นางเอกแรงมาก นึกว่าต้องฉายควบกับ LOVE LIES (2024, Ho Miu-Kei, Hong Kong, A+30)  ในประเด็น “ความรักคือธุรกิจ”

 

DURIAN TREES (2023, Cheun Shi Chin, Malaysia, 25min, A+30)

 

เดี๋ยววันหลังเราจะเอาชื่อหนังเรื่องนี้ไปแปะในรายชื่อหนังกลุ่ม “หนังที่มีอะไรบางอย่างพ้องกัน แล้วออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกันโดยไม่ได้ตั้งใจ” ด้วย เพราะหนังเรื่องนี้นึกว่าเป็นคู่แฝด เป็น doppelganger ของหนังเรื่อง THE PARADISE OF THORNS วิมานหนาม (2024, Naruebet Kuno) เพราะหนังทั้งสองเรื่องพูดถึงการต่อสู้อย่างเอาเป็นเอาตายสุดชีวิตเพื่อแย่งชิง “กรรมสิทธิ์ในที่ดินสวนทุเรียน” เหมือนกัน และตัวละครเอกในหนังทั้งสองเรื่องก็ถูกโหมกระหน่ำด้วย “เพลิงแค้น” เหมือนกัน เพียงแต่ว่าในกรณีของ DURIAN TREES นั้น พระเอกเป็น “ชาวสวนวัยชรา” และเขาต้องฟาดฟันกับ “นายทุน + อำนาจรัฐ”

 

DROPPING ASHES (2023, Phang Jing Xian, Malaysia, 11min, A+15)

 

หนังเกี่ยวกับวิญญาณชายหนุ่มที่กลับมาหาพ่อแม่ที่ยังมีชีวิตอยู่ หนังให้อารมณ์ซึ้งๆ มากเกินไปหน่อยสำหรับเรา

 

SAYANG (2021, Roanne Woo, Malaysia, 16min, A+25)

 

หนัง SCI-FI ที่พูดถึงประเด็นที่น่าสนใจ นั่นก็คือโลกอนาคตที่เต็มไปด้วยมลพิษ จนคนต้องซื้อ+ใส่หน้ากาก OXYGEN ตลอดเวลา ซึ่งนั่นก็เปิดโอกาสให้คนรวยสามารถเข้าถึง OXYGEN ได้มากกว่าคนจนด้วย ซึ่งเราชอบประเด็นนี้ เพราะนึกถึงวิกฤติ PM 2.5 ในไทย ที่คนรวยก็สามารถพึ่งพา “เครื่องฟอกอากาศ” ได้มากกว่าคนจน

 

แต่หนังเรื่องนี้ไม่ได้พูดถึงประเด็นนี้ประเด็นเดียว แต่มีการจินตนาการถึงอุปกรณ์หลอนจิตในโลกอนาคตด้วย ซึ่งก็น่าสนใจดีเหมือนกัน

+++++++++

 

ในบรรดา OSCAR SHORTLIST FOREIGN LANGUAGE FILMS 15 เรื่อง เราได้ดูไปเพียงแค่ 6 เรื่อง ซึ่งก็ชอบสุด ๆ ในระดับ A+30 ทั้ง 6 เรื่อง โดยเรียงตามลำดับความชอบส่วนตัวได้ดังนี้

 

1. UNIVERSAL LANGUAGE (2024, Matthew Rankin, Canada, 89min)

 

2. FLOW (2024, Gints Zilbalodis, Latvia, animation)

 

3. VERMIGLIO (2024, Maura Delpero, Italy, 119min)

 

4. DAHOMEY (2024, Mati Diop, France/Senegal/Benin, documentary, 68min)

 

5. HOW TO MAKE MILLIONS BEFORE GRANDMA DIES (2024, Pat Boonnitipat, Thailand)

 

6. SANTOSH (2024, Sandhya Suri, India, 120min)

 

ก็หวังว่าเราจะได้ดูหนังอีก 9 เรื่องที่เหลือในช่องทางใดช่องทางหนึ่งในอนาคตนะคะ โดยส่วนตัวแล้วเราชอบ UNIVERSAL LANGUAGE มากที่สุด แต่หนังเรื่องนี้จะได้เข้าชิงออสการ์หรือชนะออสการ์หรือไม่ เราก็ไม่ได้แคร์อะไร 5555 เหมือนเราแคร์แค่ความชอบของตัวเราเองเท่านั้น ส่วนตัวหนัง UNIVERSAL LANGUAGE มันจะได้รางวัลหรือไม่ หรือคนอื่น ๆ จะชอบจะเกลียดมันอะไรยังไง เราก็ไม่ได้สนใจอะไร คือถ้าหากมีคนอื่นๆ เขียนชม UNIVERSAL LANGUAGE เราก็ดีใจ และคงแชร์สิ่งที่คนนั้นเขียน แต่ถ้าหาก UNIVERSAL LANGUAGE ไม่ได้เข้าชิงออสการ์ เราก็เฉย ๆ ไม่ได้เสียใจอะไร จบ

 

 

Tuesday, December 17, 2024

HERE VS. FORREST GUMP

 

ในบรรดาหนังของ Jacques Rivette เราก็ได้ดู CELINE AND JULIE GO BOATING เป็นเรื่องแรก ดูแล้วก็หลงรัก Jacques Rivette ไปเลย เรายังจำได้เลยว่า เรากับเพื่อน ๆ ไปดูหนังเรื่องนี้ด้วยกันที่สมาคมฝรั่งเศส ในช่วงต้นปี 1997 พอดูเสร็จ เรากับเพื่อน ๆ ก็วิ่งข้ามทางม้าลายตรงถนนสาทรหน้า Alliance พอข้ามทางม้าลายมาได้แล้ว เรากับเพื่อน ๆ ก็มองหน้ากัน คิดถึงหนังเรื่องนี้ แล้วก็พูดออกมาพร้อมกันว่า "ไม่ทราบชีวิตอะไรอีกต่อไป"

 

เพราะฉะนั้นพอเรานึกถึงวลี "ไม่ทราบชีวิตอะไรอีกต่อไป" เราก็จะนึกถึงหนังเรื่อง CELINE AND JULIE GO BOATING ควบคู่ไปด้วยเสมอ เพราะเหมือนเรากับเพื่อน ๆ ใช้วลีนี้ในการบรรยายถึงภาพยนตร์เป็นครั้งแรกในช่วงต้นปี 1997 และหนังเรื่องแรกในชีวิตที่ถูกเรากับเพื่อน ๆ บรรยายว่า "ไม่ทราบชีวิตอะไรอีกต่อไป" ก็คือ CELINE AND JULIE GO BOATING นี่แหละ

 

+++

 

ชอบที่อุ้ย Ratchapoom เขียนถึงประเด็นเรื่อง WHAT COULD HAVE BEEN ใน HERE (2024, Robert Zemeckis) มาก ๆ พออ่านสิ่งที่อุ้ยเขียนแล้วก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า จริง ๆ แล้วตัวหนัง HERE ทั้งเรื่องก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็น “WHAT COULD HAVE BEEN ถ้าหากพระเอกนางเอกของ FORREST GUMP เกิดเป็นชนชั้นกลางธรรมดา ๆ ในสหรัฐหลังสงครามโลกครั้งที่สอง” แทนที่จะเป็นพระเอกนางเอกที่มีปัญหาชีวิตรุนแรงแบบใน FORREST GUMP (1994. Robert Zemeckis) คือเหมือนชีวิตของตัวละครใน HERE อาจจะเป็นอีก multiverse นึงของตัวละครใน FORREST GUMP หรือไม่พระเอกนางเอกของ HERE ก็อาจจะเป็นหนึ่งในผู้คนที่เดินสวนไปมากับตัวละครพระเอกนางเอกใน FORREST GUMP ตามท้องถนนได้เลย เพราะ timeline ของหนังสองเรื่องนี้มันทับซ้อนกัน โดยตัวละครพระเอกของ FORREST GUMP อาจจะเคยได้เจอกับตัวละครน้องชายของพระเอก HERE ก็ได้ เพราะทั้งสองตัวละครไปร่วมรบในสงครามเวียดนามเหมือนกัน

 

แน่นอนว่า เราชอบ HERE มากกว่า FORREST GUMP อย่างรุนแรง เพราะชีวิตเราไม่หวือหวาอย่าง FORREST GUMP ชีวิตของเราเป็นเป็นชีวิตคนธรรมดา ๆ ที่เต็มไปด้วยความผิดหวังมากมาย แต่เราก็ชอบมาก ๆ ที่ HERE treat ชีวิตชนชั้นกลางธรรมดา ๆ ว่าเป็นเหมือนเพียง “เศษธุลีเล็ก ๆ เศษหนึ่งในระยะเวลาหนึ่งมหากัป” อะไรทำนองนี้ ชีวิตของตัวละครหลักใน HERE จริงๆ  แล้วมันง่ายต่อการทำให้เป็นเมโลดราม่าฟูมฟาย แต่พอชีวิตของตัวละครหลักมันถูกนำเสนอควบคู่ไปกับชีวิตของคนและสัตว์อื่น ๆ อีกมากมายในช่วงเวลา “มหากัป” เดียวกัน หนังเรื่องนี้มันก็เลยเข้ากับมุมมองของเราที่ว่า “ชีวิตของเราเต็มไปด้วยความทุกข์ แต่ชีวิตของคนอื่น ๆ ก็อาจจะเต็มไปด้วยความทุกข์ในแบบของเขาเองเช่นเดียวกัน”

++++

Edit เพิ่ม: พอดีเราเดินข้ามสะพานลอยตรงสี่แยกปทุมวันวันนี้ แล้วเห็นเด็กฝรั่งกำลังปีนขึ้นไปเล่นบนบัวบ้า เราเลยถ่ายคลิปนี้ไว้ เราเพิ่งมารู้จาก comment ว่า จริง ๆ แล้วเขาห้ามคนปีนขึ้นไปเล่นบนนี้นะจ๊ะ

 

ถ้าเข้าใจไม่ผิด งานนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานศิลปะชื่อ BREATHING ของ Choi Jeong Hwa จากเกาหลีใต้

++++

 

เห็นงาน BREATHING ของ Choi Jeong Hwa จากเกาหลีใต้ ที่หน้า BACC วันนี้ (จริง ๆ แล้วเขาห้ามคนปีนขึ้นไปเล่นข้างบนนะ) แล้วนึกถึง “โคมวิเศษเจ้าแม่หัวซาน” มาก ๆ 55555

MISS JIT LIVE IN BOMBAY

 

ฉันรักเขา วศิน ภาณุมาภรณ์ Wasin Panumaporn from THE NATURE OF DOGS (หมา-ป่า) (2024, Pom Bunsermvicha, 27min, A+30)

++++

อ่านเรื่องของ “คริสติน่า แซ่แต้” แล้วนึกถึงกิจกรรมที่เพื่อน ๆ ของเราชอบทำสมัยมัธยมในช่วงปลายทศวรรษ 1980 มาก ๆ ซึ่งยุคนั้นยังไม่มีอินเทอร์เน็ตและโทรศัพท์มือถือ คือยุคนั้นเพื่อน ๆ ของเราชอบสมมุติว่าเพื่อน ๆ บางคนเป็น “นักร้องชื่อดัง” แล้วก็มีการจัดทำโปสเตอร์โปรโมทคอนเสิร์ตปลอม ๆ ขึ้นมา แล้วไปแอบติดโปสเตอร์ปลอม ๆ เหล่านี้ตามสถานที่ต่าง ๆ อย่างเช่นในห้องน้ำชายของสถาบันสอนภาษาบางแห่ง อะไรทำนองนี้

 

ซึ่งถึงแม้เรื่องราวเหล่านี้จะผ่านมานานราว 35 ปีแล้ว เราก็ยังจำได้ดี คือถ้าหากจำไม่ผิด มันจะมีโปสเตอร์อันนึง เป็นโปสเตอร์โปรโมทคอนเสิร์ต “MISS JIT LIVE IN BOMBAY” (จริง ๆ แล้วในโปสเตอร์นั้นจะใช้ชื่อเพื่อนอีกคนนึง ไม่ใช่ชื่อเรา แต่เราไม่อยากระบุชื่อคนอื่นๆ ในโพสท์นี้ 55555)  แล้วในโปสเตอร์นี้จะเป็นรูปวาด MISS JIT ถือไมโครโฟนร้องบนเวทีคอนเสิร์ต โดยมีงูเหลือมพาดคออยู่ แล้วก็มีการเขียนโปรโมทคอนเสิร์ตในทำนองที่ว่า “เธอร้องไปร้องมา แล้วงูเหลือมเลื้อยเข้าปิ๊ แล้วงูก็หายสาบสูญไปเลย” เป็น concert ที่มอบ unforgettable experience ให้แก่ audience หรืออะไรทำนองนี้

 

เพราะฉะนั้นพอเราเห็น “ตำนานที่สร้างขึ้นใหม่” ของคริสติน่า แซ่แต้ เราก็เลยนึกถึงกิจกรรม “การแต่งตำนาน” ของเพื่อน ๆ เราในสมัยมัธยมในช่วงปลายทศวรรษ 1980 มาก ๆ เหมือนการแต่งตำนานขึ้นมาใหม่เหล่านี้เป็นหนึ่งในกิจกรรมที่ทำแล้วมีความสุขสุด ๆ ในตอนนั้น 55555

 

++++

ชอบบทความนี้ใน HOLLYWOOD REPORTER บทความนี้มีชื่อว่า “Remembering Sarajevo’s War-Time Movie Club Where Tickets Cost a Cigarette (But You Had to Watch Out for Snipers)” หรือ “รำลึกถึงสโมสรภาพยนตร์ในกรุงซาราเจโวช่วงสงคราม ที่ซึ่งตั๋วภาพยนตร์ซื้อได้ด้วยบุหรี่หนึ่งมวน แต่คุณต้องคอยหลบนักซุ่มยิงเมื่อเดินทางมาดูหนังที่นี่”

 

บทความนี้พูดถึงเรื่องราวของต้นกำเนิดของ SARAJEVO FILM FESTIVAL ซึ่งจัดขึ้นปีแรกในปี 1995 แต่ต้นกำเนิดของมันเกิดขึ้นจากงานฉายภาพยนตร์ในชั้นใต้ดินของอาคารแห่งหนึ่งในเดือนก.พ. 1993 ในช่วงสงครามกลางเมืองบอสเนีย ซึ่งเป็นสงครามที่เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เดือนเม.ย. 1992 และมีคนถูกฆ่าตายในสงครามกลางเมืองครั้งนี้ราว 100,000 คน

 

ในเดือนก.พ. 1993 นั้น กรุงซาราเจโว ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศบอสเนีย เฮอร์เซโกวินา ถูกกองกำลังชาวเซิร์บปิดล้อมไว้ มีการทิ้งระเบิดใส่เมืองนี้มานาน 10 เดือนแล้ว และก็มีนักแม่นปืนคอยลอบยิงประชาชนในเมืองที่เดินไปเดินมาตามท้องถนน ประชาชนต้องอาศัยน้ำฝนในการทำอาหาร และต้องใช้จักรยานในการปั่นไฟฟ้าเพื่อใช้งานในบ้านเรือนของตนเอง

 

อย่างไรก็ดี ท่ามกลางสงครามกลางเมืองที่รุนแรงสุดขีดในตอนนั้น โรงหนังอะพอลโล ซึ่งตั้งอยู่ในชั้นใต้ดินของสถาบันศิลปะการแสดงซาราเจโว ก็เริ่มเปิดทำการอีกครั้งและเริ่มฉายหนัง โดยคิดค่าตั๋วเป็นบุหรี่หนึ่งมวน งานฉายหนังที่ชั้นใต้ดินนี้มีผู้ชมอย่างแน่นขนัด ถึงแม้ว่าผู้ชมต้องฝ่าดงกระสุนและนักซุ่มยิงขณะเดินทางมายังโรงภาพยนตร์ที่นี่ก็ตาม โดยโรงภาพยนตร์แห่งนี้ใช้เครื่องปั่นไฟในการทำงาน เพราะเมืองนี้ไม่มีไฟฟ้าใช้ และหนังที่ฉายก็มาจากม้วนวิดีโอเทปที่ได้รับบริจาคมาจากคนต่าง ๆ  

 

เอลมา ทาทาราจิค ซึ่งมีอายุ 16 ปีในตอนนั้นเล่าว่า “ฉันยังเป็นเด็ก และก็ต้องการจะใช้ชีวิตอย่างปกติ ต้องการจะหาเรื่องสนุก ๆ ทำ และพอฉันได้ยินเรื่องของ Apollo War Cinema ฉันก็รู้ว่าฉันต้องไปที่นี่ให้ได้ พ่อแม่ของฉันอ้อนวอนไม่ให้ฉันไป พ่อของฉันถึงกับคุกเข่าก้มลงอ้อนวอนฉัน แต่ฉันก็ไม่ฟัง ฉันขี่จักรยานไปที่โรงหนังอะพอลโล ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ฉันต้องขี่จักรยานผ่านดงของนักซุ่มยิง แต่ฉันก็หาได้แคร์ไม่ ฉันรู้สึกตื่นเต้นมาก ฉันเลือกใส่เสื้อผ้าชุดที่ดีที่สุด และฉันยังคงจำได้ดีว่าฉันใส่รองเท้าผ้าใบสีขาวคู่ใหม่ด้วย”

 

“หนังเรื่องแรกที่ฉันได้ดูคือ Bodyguard ที่นำแสดงโดยวิทนีย์ ฮุสตัน แล้วหลังจากนั้นก็เป็นสัปดาห์ภาพยนตร์ของ  French New Wave ฉันไม่แคร์ว่าจะฉายเรื่องอะไร ฉันแค่ต้องการจะดูหนัง มันคือช่วงเวลาสองชั่วโมงที่ได้หลบลี้หนีหายเข้าไปสู่อีกโลกหนึ่ง ได้หนีออกจากสิ่งเลวร้ายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราในแต่ละวัน”

 

แฟนภาพยนตร์พากันหลั่งไหลมาดูหนังที่นี่ และพอเรื่องราวนี้แพร่ออกไป เทศกาลภาพยนตร์เอดินเบอระและเทศกาลภาพยนตร์โลคาร์โนก็ช่วยส่งหนังมาฉายที่นี่ด้วย โรงหนังใต้ดินแห่งนี้เปิดทำการตั้งแต่เดือนก.พ. 1993 จนถึงเดือนธ.ค. 1995 และก็ได้กลายเป็นเทศกาลภาพยนตร์ซาราเจโวในปี 1995 ในขณะที่สงครามกลางเมืองบอสเนียสิ้นสุดลงในเดือนธ.ค. 1995  

 

เอลมา ทาทาราจิค ได้กลายเป็น head of the festivals competition selection ในเวลาต่อมา

 

เราอ่านบทความนี้แล้วรู้สึกรุนแรงกับมันมาก ๆ กราบคนจัดฉายหนังใน MOVIE CLUB ท่ามกลางสงครามกลางเมืองในปี 1993-1995 พอเราอ่านบทความนี้แล้วก็นึกถึงประโยคสำคัญในหนังเรื่อง FIELD OF DREAMS (1989, Phil Alden Robinson) ประโยคที่ว่า “IF YOU BUILD IT, HE WILL COME.”

 

ตัวบทความเต็ม ๆ อ่านได้ที่นี่นะ

https://www.hollywoodreporter.com/movies/movie-news/remembering-sarajevo-war-time-movie-clubs-tickets-cigarette-snipers-1235558461/