SNOW WHITE เวอร์ชั่นแรกที่เราเคยดูในชีวิตก็คืออันนี้
เราน่าจะได้ดูโฆษณานี้ทางโทรทัศน์ในราว ๆ ปี 1977
ขอยกให้ “กระจกวิเศษ” (แป้งน้ำ ควินนา)
(สรรพสิริ วิริยะสิริ, animation, A+30) เป็น one of
my most favorite Thai animations of all time
แต่อยากรู้ปีที่แน่นอนของ animation นี้ เพราะคนแปะคลิปนี้ในยูทูบมันบอกว่าปี 1957 แต่เราได้ดู animation
นี้ตอนเราเด็กๆ ราว ๆ ปี 1977
เราก็เลยคิดว่าคนแปะคลิปนี้ในยูทูบน่าจะลงปีผิด
Comment บอกว่า คนพากย์คือคุณอำรุง เกาไศยนันท์
กับคุณมาลี ผกาพันธ์
สรุปว่า ชอบ animation โฆษณานี้อย่างรุนแรงมาก
ๆ เพราะ
1. มันเป็น animation ยุคโบราณของไทย
ซึ่งถือเป็น rare item อย่างหนึ่ง 55555
2. ชอบ script โฆษณามาก ๆ
ที่มีการใช้คำคล้องจองกัน
3. ชอบเสียงพากย์มาก ๆ ด้วย
ขอยกให้งานภาพเคลื่อนไหวนี้ ถือเป็น classic
Thai animation และ classic Thai advertisement ด้วย
https://www.youtube.com/watch?v=Wsvid1c03wg
+++++++
BAD TASTE (2024, Pattanapong Khongsak, 6min, A+25)
ตอนช่วงแรก ๆ ของหนัง เราจะรู้สึกงง ๆ
เพราะว่าเราเป็นคนที่ชอบสีน้ำเงินและสีม่วงอย่างรุนแรง เรามองว่าสองสีนี้สวยดี
และเราก็ชอบกิน blueberry อย่างรุนแรงด้วย
เราชอบกินอะไรทุกอย่างที่เป็นรส blueberry เพราะฉะนั้นช่วงแรก
ๆ ของหนังเราก็จะงง ๆ ว่า ทำไมหนังเรื่องนี้ทำท่าทางรังเกียจอาหารสองสีนี้
พอตอนจบหนังขึ้น text บางอย่าง
เราก็เลยเพิ่งเข้าใจหนังเรื่องนี้ในตอนจบ
++++
พออ่านข่าวเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่าง
Samsung กับบริษัทผู้ผลิตสินค้าในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เราก็เลยนึกถึงหนังเรื่อง NOTES FROM GOG MAGOG (2023, Riar Rizaldi,
Indonesia, A+30) ที่เพิ่งเข้ามาฉายในกรุงเทพในปีที่แล้ว
และพอข่าวนี้พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างเกาหลีใต้กับเวียดนาม
เราก็เลยนึกถึงหนังเรื่อง THE ROUNDUP (2022, Lee Sang-yong, South Korea,
A+30) ด้วย
+++
พอดูหนังเรื่อง “เดอะ สโตน พระแท้ คนเก๊”
เราก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า ตอนเด็ก ๆ เราเคยได้ยินคนพูดถึง “พระนางพญา” บ่อย ๆ พอ google
ดูเราถึงเพิ่งรู้ว่า “พระนางพญา” สร้างโดยพระวิสุทธิกษัตริย์ ซึ่งเป็นแม่ของสมเด็จพระนเรศวร
สร้างตั้งแต่ราวค.ศ. 1548 หรือก่อน “เชคสเปียร์” เกิดเสียอีก (เชคสเปียร์เกิดปี
1564) ปัจจุบันนี้พระนางพญาน่าจะมีอายุราว 477 ปีแล้ว
++++++++++
เปรียบเทียบ “พระเครื่องปลอม” กับ “ความรัก”
พอเราได้ดู THE STONE เดอะ
สโตน พระแท้ คนเก๊ (2025, Arak Amornsupasiri, Vuthipong Sukhanindr, A+30) เราก็รู้สึกดีใจอย่างสุดขีด
สาเหตุหนึ่งเป็นเพราะว่าเราชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ
และอีกสาเหตุหนึ่งไม่ได้เกี่ยวข้องกับความดีงามของหนังเรื่องนี้โดยตรง
แต่เป็นเพราะว่า หนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า
“การทำหนังเกี่ยวกับวงการพระเครื่องปลอม” เป็นสิ่งที่ทำได้แล้วในไทยในยุคปัจจุบัน
หนังเกี่ยวกับประเด็นนี้ไม่โดนเซ็นเซอร์อีกต่อไปแล้ว
คือเราก็ไม่รู้ว่า
ถ้าหากมีคนทำหนังประเด็นเดียวกันนี้ในอดีต มันจะโดนเซ็นเซอร์หรือเปล่านะ
แต่อย่างน้อยการที่มีหนังเรื่องนี้ออกมาในปีนี้ มันก็แสดงให้เห็นว่า
ประเด็นนี้ไม่ได้เป็น taboo ของหนังไทยอีกต่อไป
ดูอย่างการทำขนมอาลัวพระเครื่องเมื่อปี 2021
ก็ยังเจอปัญหาเลย
https://www.prachachat.net/general/news-657747
ที่เราอยากให้ประเด็นนี้ไม่เป็น taboo ของหนังไทย เพราะเราอยากให้มีคนนำนวนิยายเรื่อง “สมมุติว่า เขารักฉัน”
(1976, กฤษณา อโศกสิน) มาดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์น่ะ
“สมมุติว่า เขารักฉัน”
ถือเป็นหนึ่งในนวนิยายที่เราชื่นชอบมากที่สุดในชีวิต เราอ่านนิยายเรื่องนี้ตอนที่เราเรียนชั้นมัธยม
เมื่อราว 35-40 ปีก่อน อ่านแล้วก็ตายไปเลย กราบตีนอย่างถึงที่สุด
และเราก็อยากให้มีคนนำนิยายเรื่องนี้มาดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์หรือ series
มาก ๆ แต่ก็ไม่มีคนนำมาดัดแปลงสร้างสักที ในขณะที่นิยายอย่าง
“เมียหลวง” ของกฤษณา อโศกสิน ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์, ละครโทรทัศน์
และละครเวทีไปแล้วจนนับครั้งไม่ถ้วน
ซึ่งเราก็เดาเอาเองว่า สาเหตุที่ “สมมุติว่า
เขารักฉัน” ไม่ถูกนำมาดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์หรือละคร อาจจะเป็นเพราะว่า
นิยายเรื่องนี้ พูดถึง “อุตสาหกรรมการปลอมแปลงพระเครื่อง” และมีฉากที่รุนแรงมาก ๆ
เกี่ยวกับพระพุทธรูปอยู่ในนิยายเรื่องนี้ เป็นฉากในความฝันของนางเอก (ถ้าจำไม่ผิด)
คือเราอ่านนิยายเรื่องนี้เมื่อ 35-40 ปีก่อนนะ
เราก็เลยอาจจะจำเนื้อหาผิดพลาดไปบ้าง แต่ถ้าหากเราจำไม่ผิด นิยายเรื่องนี้ พูดถึง
ปูมแก้ว หญิงสาวที่ถูกเลี้ยงมาโดยคุณตาที่ทำอาชีพปลอมแปลงพระเครื่อง
ในตัวนิยายมีการพูดถึงวิธีการต่าง ๆ ในการปลอมแปลงพระเครื่อง อย่างเช่น
พอคุณตาหล่อพระเครื่องเสร็จ ก็จะเอาพระเครื่องไปแช่ในรางน้ำ
เพื่อให้พระเครื่องดูมีคราบเก่า ๆ ดูเป็นของโบราณ อะไรทำนองนี้
แล้วถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด
นิยายเรื่องนี้อาจจะต้องการเปรียบเทียบ “คุณค่าของพระเครื่องปลอม” กับ “ความรัก”
น่ะ (แต่เราอาจจะเข้าใจผิดไปเองก็ได้นะ หรืออาจจะคิดเกินเลยจากนิยายมากเกินไปเอง
55555) คือพระเครื่องปลอม
มันอาจจะเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง ในฐานะ “ก้อนดิน” ก้อนหนึ่ง แต่มันอาจจะไม่ได้มีคุณค่าในตัวมันเองจริง
ๆ แต่มันมี “ราคา” ขึ้นมาได้ เพราะคนต่าง ๆ ไปให้ค่ากับมันเอง ราคาของมัน
จึงเกิดจาก “สิ่งสมมุติ” เกิดจาก “ทัศนคติของคนที่มีต่อมัน” เกิดจาก
“ความเชื่อของคนที่มีต่อมัน” เกิดจาก “ความศรัทธาของคนที่มีต่อมัน” พระเครื่องปลอมนั้นไม่ได้มีอิทธิฤทธิ์กันกระสุนได้จริง
ๆ ราคาของมันล้วนเกิดจาก “สิ่งสมมุติ” เกิดจาก “การที่คนต่าง ๆ ไปเชื่อถือศรัทธา ไปให้ค่า”
กับมันเอง
คล้าย ๆ กับ “ความรัก” เพราะคุณค่าที่คนต่าง ๆ
ไปมอบให้กับ “ความรัก” มันก็เป็นสิ่งสมมุติอย่างหนึ่งหรือเปล่า
มันขึ้นอยู่กับคนแต่ละคนเองว่าจะให้ค่ากับความรักนั้น ๆ มากน้อยแค่ไหน ความรักนั้น
ๆ ไม่ได้มีคุณค่าหรือราคาที่เสถียรตายตัวในตัวมันเอง แต่ขึ้นอยู่กับว่าคนแต่ละคนไปให้ค่ากับความรักนั้น
ๆ มากน้อยเพียงใด
ตัวละครปูมแก้วในนิยายเรื่องนี้ หลงรักชายหนุ่มคนหนึ่งอย่างหัวปักหัวปำ
และเราเดาเอาเองว่า ความรักของเธอในนิยายเรื่องนี้ ในแง่หนึ่งก็คล้าย ๆ กับ
“พระเครื่องปลอม” เพราะว่าปูมแก้วหลงคิดไปเองว่า ชายหนุ่มคนนั้นรักเธอ ทั้ง ๆ
ที่จริง ๆ แล้ว ผู้ชายคนนั้นอาจจะไม่ได้รักเธอจริง “ความรักที่เขามีให้เธอ”
ไม่ใช่ของจริง มันเป็น “พระเครื่องปลอม” มันเป็น “สิ่งสมมุติ”
และถึงแม้ว่าความรักที่ปูมแก้วมีให้กับชายหนุ่มคนนั้น
อาจจะเป็น “ของจริง” แต่คุณค่าของความรักนั้นก็เป็นสิ่งสมมุติในรูปแบบหนึ่งเช่นกัน
เพราะความรักที่เขามีให้กับเธอนั้น แท้จริงแล้ว มันไม่ใช่ “สิ่งจำเป็นต่อชีวิต”
หรือ “สิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในชีวิต” เพราะถึงแม้ผู้ชายคนนั้นไม่ได้รักเธอ
เธอก็ยังคงมีชีวิตอยู่ได้ หาเลี้ยงชีพได้ หาความสุขในแบบของตัวเองได้
“ความรักที่ชายหนุ่มคนนั้นมีให้กับเธอ” มันไม่ใช่ “สิ่งจำเป็นสำหรับชีวิต”
ที่พอขาดไปแล้วร่างกายของเธอจะต้องตาย เหมือนขาดอาหาร, น้ำ, อากาศ, ออกซิเจน
อะไรทำนองนี้ ถึงแม้ว่าเขาไม่รักเธอ เธอก็ไม่ตาย
และเธอก็สามารถมีชีวิตที่ดีและมีความสุขได้ในแบบของตัวเอง
โดยที่ไม่จำเป็นต้องพึ่งพาความรักจากเขาด้วย “ความรักระหว่างเขาและเธอ”
แท้จริงแล้ว มันเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อชีวิตหรือมีคุณค่าต่อชีวิตมากน้อยเพียงใดกันแน่
หรือคุณค่าของมันที่จริงแล้ว ก็เป็นเพียง “สิ่งสมมุติ”
อย่างหนึ่งที่เราอาจจะเคยหลงตีราคามันจนสูงเกินจริงไปลิบลิ่วในอดีตในช่วงที่เราตกหลุมรักเขา
เราก็เลยรู้สึกว่า นิยายเรื่องนี้พูดถึง
“พระเครื่องปลอม”, “ความรัก” และ “สิ่งสมมุติ” ได้อย่างน่าสนใจมาก ๆ
แต่เราอาจจะตีความนิยายเรื่องนี้ผิด หรือเราอาจจะคิดฟุ้งซ่านมากเกินไปเองตอนที่อ่านนิยายเรื่องนี้ก็ได้นะ
55555 เพราะเราอ่านนิยายเรื่องนี้เมื่อราวปี 1988 หรือเมื่อ 37 ปีก่อน นิยายเรื่องนี้อาจจะไม่ได้ต้องการพูดถึงประเด็นข้างต้นก็ได้
แต่นิยายเรื่องนี้กระตุ้นให้เราคิดถึงประเด็นเหล่านี้โดยที่ตัวนิยายเองอาจจะไม่ได้ตั้งใจ
และเราก็เลยรู้สึกว่า
ถ้าหากปีนี้มีการสร้างหนังอย่าง “เดอะ สโตน พระแท้ คนเก๊” ออกมาได้ นิยายเรื่อง
“สมมุติว่า เขารักฉัน”
ก็น่าจะถูกสร้างเป็นภาพยนตร์ได้โดยไม่โดนเซ็นเซอร์ด้วยเช่นกัน
และเราคิดว่า
อีกปัญหาหนึ่งที่อาจจะเกิดขึ้นในการดัดแปลงสร้างนิยายเรื่องนี้เป็นภาพยนตร์
อาจจะเป็นเพราะ “ฉาก climax” ฉากหนึ่งในนิยายเรื่องนี้
ซึ่งเป็นฉากความฝันที่รุนแรงมาก ๆ ของนางเอก เป็นฉากที่มีพระพุทธรูปอยู่ในความฝันนั้นด้วย
(แต่ไม่รู้ว่าเราจำผิดหรือเปล่านะ)
เราจำได้ว่า เซ็นเซอร์ไทยและกบว.ไทยในยุคนั้น sensitive
มาก ๆ เกี่ยวกับฉากพระพุทธรูป อย่างเช่นตอนที่ “โปเยโปโลเย ภาคสอง” (1990,
Ching Siu-tung) มาฉายทางโทรทัศน์
เราจำได้ว่ามันมีฉากบางฉากถูกตัดออกไป
ซึ่งน่าจะเป็นฉากที่ปีศาจจำแลงกายมาในรูปแบบคล้าย ๆ พระพุทธรูป ถ้าหากเราจำไม่ผิด
เราก็เลยคิดว่า ในยุคนั้น การนำนิยายเรื่อง “สมมุติว่า เขารักฉัน”
มาดัดแปลงสร้างเป็นภาพยนตร์ น่าจะทำไม่ได้ แต่เราคิดว่ายุคนี้น่าจะทำได้แล้ว
ความคิดเห็นเพิ่มเติมเกี่ยวกับนิยายเรื่อง
“สมมุติว่า เขารักฉัน”
1. นอกจากการพูดถึง “คุณค่าอันเป็นสิ่งสมมุติ”
ของ “พระเครื่องปลอม” และ “ความรัก” แล้ว นิยายเรื่องนี้ยังพูดถึง
“คุณค่าอันเป็นสิ่งสมมุติ” ของสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตคนด้วย พวก “ลาภ” “ยศ” “สรรเสริญ”
อะไรทำนองนี้ เหมือนนิยายเรื่องนี้บอกว่า “ทัศนคติที่คนอื่น ๆ มองเรา” เป็น
“สิ่งสมมุติ” อย่างหนึ่ง มันไม่ใช่สิ่งที่สำคัญจริง ๆ สิ่งที่สำคัญจริง ๆ คือ
“ความนับถือตัวเอง” ต่างหาก
2. ฉาก climax ในนิยายเรื่องนี้มีหลายฉาก
นอกจากฉาก “ความฝันอันรุนแรงมาก ๆ ของนางเอก” แล้ว ก็มีฉาก “นางเอกสติขาดผึง
อาละวาดตบคนอย่างรุนแรง” ด้วย
คือนางเอกทำงานเป็นประชาสัมพันธ์โรงแรมมั้ง
ถ้าเราจำไม่ผิดนะ แล้วเป็นงานที่เครียดมาก ต้องคอยรับแรงกดดันจากคนต่าง ๆ
แล้วพอถึงกลางเรื่อง นางเอกก็ทนไม่ไหวอีกต่อไป ลุกขึ้นมาจิกหัวตบคนต่าง ๆ
ในที่ทำงานอย่างรุนแรง
คือเราอ่านแล้วอินมากกับฉากนี้ และคิดว่า
“สาวออฟฟิศ” หลายคน อาจจะอินมาก ๆ กับฉากนี้เหมือนอย่างเราก็ได้ แบบว่า
“กูอยากจะลุกขึ้นจิกหัวตบอีนี่กลางออฟฟิศให้มันหนำใจ” สักหน่อยเถอะ
แต่กูทำไม่ได้ในชีวิตจริง แต่นางเอกนิยายเรื่องนี้ทำได้ 55555
3. คือเราชอบตัวละคร ปูมแก้ว
อย่างรุนแรงที่สุดในชีวิต
และเราก็ชอบตัวละครประกอบในนิยายเรื่องนี้อย่างรุนแรงที่สุดในชีวิตด้วย
มันคือตัวละคร “เด็กสาว” คนหนึ่งที่เป็นเพื่อนนางเอกในโรงพยาบาลบ้า
เป็นตัวละครที่นึกว่าสามารถเข้าไปเดินเฉิดฉายในหนังของ Claude Chabrol และ Jessica Hausner ได้อย่างสบายบรื๋อ สะดือโบ๋
คือในช่วงครึ่งหลังของนิยายเรื่องนี้
นางเอกได้เข้าไปรักษาตัวในโรงพยาบาลบ้า และได้พบกับ “คุณหมอสาว” ท่านหนึ่ง
ที่นิสัยดีมาก และนางเอกก็ได้เพื่อนใหม่ในโรงพยาบาลบ้า เป็น “เด็กสาว”
คนหนึ่งที่เข้ามารักษาตัวเช่นกัน
แล้ว “เด็กสาว” คนนี้ก็พยายามพูดยุยง
พยายามทำอะไรต่าง ๆ ให้นางเอก “เป็นบ้า” ต่อไป หรือเป็นบ้ามากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ
เพราะถ้าหากนางเอกยังคงเป็นบ้าต่อไป คุณหมอก็จะรักษานางเอกไม่หาย
และเด็กสาวคนนี้ก็ให้เหตุผลว่า “ชีวิตของคุณหมอท่านนี้พบเจอแต่ความสุขมากเกินไป เพราะฉะนั้นถ้าหากนางเอกยังคงเป็นบ้าต่อไป
คุณหมอคนนี้ก็จะได้ลิ้มรสด้วยตัวเองเสียทีว่า ความผิดหวังในชีวิตมันเป็นยังไง”
คือเหมือนเด็กสาวคนนี้ไม่ได้ประสงค์ร้ายต่อนางเอกโดยตรง
แต่เด็กสาวคนนี้ “มีความทุกข์” เมื่อเห็นคุณหมอสาว “มีความสุข”
เด็กสาวคนนี้ก็เลยพยายามใช้นางเอกเป็นเครื่องมือ ในการทำให้คุณหมอสาวคนนี้
พบกับความทุกข์ในชีวิตเสียบ้าง
เราก็เลยรู้สึกว่า ตัวละคร “เด็กสาว”
ในนิยายเรื่อง “สมมุติว่า เขารักฉัน”
นี่เป็นหนึ่งในตัวละครประกอบที่รุนแรงที่สุดในชีวิตคนหนึ่งเลย
ถ้าหากเราจำอะไรในนิยายเรื่องนี้ผิดไป ก็ comment
มาได้นะคะ เพราะเราก็อ่านนิยายเรื่องนี้มานาน 37 ปีแล้ว 55555
++++
Favorite Soundtrack: FEELS SO GOOD – Perri
From the film DO THE RIGHT THING (1989, Spike Lee, A+30)
ไพเราะเพราะพริ้งๆ พอ ๆ กับเพลงของ Anita
Baker เลย
https://www.youtube.com/watch?v=Duf9uHSWZ3k
+++++
Film Wish List: WHO KILLED OUR CHILDREN? (2008, Pan Jianlin,
China, documentary)
หนังสารคดีเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมณฑลเสฉวนของจีนในปี
2008 ซึ่งเป็นแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงระดับ 8.0 และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 69,000 คน
หนังสารคดีเรื่องนี้นำเสนอความไม่ชอบมาพากลของรัฐบาลจีนเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในครั้งนั้น
โดย letterboxd บรรยายถึงหนังเรื่องนี้ไว้ว่า
“The Muyu Middle School in Muyu,
Qingchuan County, Sichuan, collapsed in the 512 Wenchuan earthquake, killing
286 students according to official statistics; but the actual death toll is not
just that. The director Pan Jianlin, who has been in the area since the sixth
day after the earthquake, uses interviews to contrast the different
perspectives and statements of the students who escaped the disaster, the
teachers who are afraid of taking responsibility, the parents who are
desperate, the government officials who are hiding the facts to maintain the
government’s image, and the rescue workers who are on the run, creating a
ridiculous tragedy that is like a Rashomon.”
เราเคยดูหนังเรื่อง FEAST OF VILLAINS
(2008) ที่กำกับโดย Pan Jianlin เหมือนกัน
และเราชอบหนังเรื่องนั้นอย่างสุดขีดมาก ๆ FEAST OF VILLAINS ติดอันดับ
15 ในลิสท์หนังที่เราชื่นชอบที่สุดที่ได้ดูในปี 2008
++++++++++
MOST FAVORITE FILMS ABOUT EARTHQUAKES
มีเพื่อนคนนึงอยากให้เราทำลิสท์หนังภัยพิบัติในดวงใจ
แต่เราคิดว่า “หนังภัยพิบัติ” มันกว้างเกินไป เราทำลิสท์ไม่ไหว เราก็เลยทำลิสท์เฉพาะหนังแผ่นดินไหวในดวงใจของเราก็แล้วกัน
ซึ่งรายชื่อหนังในลิสท์นี้ก็ครอบคลุมถึงหนังเกี่ยวกับสึนามิที่เกิดจากแผ่นดินไหว,
หนังเกี่ยวกับ trauma ที่ยังคงหลอกหลอนในใจคนเป็นเวลานานหลายปีหลังจากแผ่นดินไหว
และหนังเกี่ยวกับเหตุการณ์ “แผ่นดินไหวเพียงเบา ๆ” ที่ยังไม่ถึงขั้นก่อให้เกิดภัยพิบัติด้วย
เรียงตามลำดับปีที่ออกฉาย
1.THE GREAT LOS ANGELES EARTHQUAKE
(1990, Larry Elikann, 180min)
มินิซีรีส์ที่เคยมาฉายทางช่อง 7
2.AND LIFE GOES ON (1992, Abbas
Kiarostami, Iran)
หนังที่ได้รับแรงบันดาลใจจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปี
1990 ในอิหร่าน ซึ่งมีความรุนแรงระดับ 7.4 และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 50,000 คน
3.TIMECODE (2000, Mike Figgis)
เหตุการณ์แผ่นดินไหวในหนังเรื่องนี้เป็นเพียงแค่เหตุการณ์เบา
ๆ
4.AFTERSHOCKS: THE ROUGH GUIDE TO
DEMOCRACY (2002, Rakesh Sharma, India, documentary)
หนึ่งในหนังที่ทำให้เราร้องห่มร้องไห้หนักที่สุดในชีวิต
หนังสารคดีเรื่องนี้พูดถึงเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเดือนม.ค.ปี 2001 ในรัฐ Gujarat
ของอินเดีย โดยแผ่นดินไหวครั้งนี้มีความรุนแรงระดับ 7.6
และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 20,023 คน
แต่สิ่งที่หนักที่สุดไม่ใช่ “ภัยธรรมชาติ”
แต่คือ “ความชั่วร้ายของมนุษย์” เพราะหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งนั้น
บริษัทของรัฐบาลรัฐ Gujarat ก็ฉวยโอกาสทำร้ายชาวบ้าน
พยายามขับไล่ชาวบ้านออกจากที่อยู่ที่ทำกินเดิม เพื่อที่ทางบริษัท/รัฐบาล จะได้เข้ามาครอบครองที่ดินของชาวบ้านเหล่านี้
เพื่อทำเหมืองแร่ลิกไนต์
หนังเรื่อง AFTERSHOCKS: THE ROUGH GUIDE
TO DEMOCRACY นี้ เหมาะฉายควบกับหนังสารคดีของไทยเรื่อง WAVES
OF SOULS (2005, Pipope Panitchpakdi) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการที่นายทุนพยายามหาทางไล่ที่ชาวมอแกน
หลังจากเกิดเหตุสึนามิในไทยในช่วงปลายปี 2004 (ถ้าหากเราจำเนื้อหาของหนังเรื่องนี้ไม่ผิดนะ)
5.NOI ALBINOI (2003, Dagur Kári,
Iceland)
6.BE QUIET, EXAM IS IN PROGRESS! (2006,
Ife Ifansyah, Indonesia)
หนังเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในยอกยาการ์ตาในอินโดนีเซียในวันที่
27 พ.ค. 2006 ซึ่งส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 6000 ราย และมีความรุนแรงระดับ 6.4
เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในเวลา 14 วันก่อนการแข่งขันฟุตบอลโลก
7.SINKING OF JAPAN (2006, Shinji
Higuchi, Japan)
8.สิ่งที่เคลื่อนไหว (STILL ALIVE)
(2006, สุวรรณ ห่วงศิริสกุล, documentary, 90min)
สารคดีเกี่ยวผลกระทบจากสึนามิ
ที่มีต่อตัวผู้กำกับและชาวบ้านอีกหลาย ๆ คน
โดยตัวผู้กำกับเป็นเจ้าของร้านขายเสื้อผ้าที่ภูเก็ต
แล้วร้านของเขาก็พังพินาศเพราะสึนามิในช่วงปลายปี 2004
เหตุการณ์แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดียในครั้งนั้นมีความรุนแรงระดับ
9.3 และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตราว 227,898 คน
9.GIBELLINA – THE EARTHQUAKE (2007,
Joerg Burger, Austria/Italy, documentary)
หนังสารคดีเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในเกาะซิซิลีของอิตาลีในปี
1968 ซี่งมีความรุนแรงระดับ 5.0 และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 400 คน โดยหนังสารคดีเรื่องนี้โฟกัสไปที่ “ความพยายามในการใช้พลังของศิลปะ”
ในการฟื้นฟูเมืองที่ได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว และหนังสารคดีเรื่องนี้ก็แสดงให้เห็นว่า
“พลังของศิลปะ” ในบางครั้งก็ไม่สามารถเยียวยาจิตใจหรือฟื้นคืนเมืองที่ถูกทำลายจากแผ่นดินไหวได้แต่อย่างใด
เศร้ามาก ๆ
10.POOL (2007, Chris Chong Chan Fui,
Canada)
หนังเกี่ยวกับเด็ก ๆ ในอาเจะห์ในอินโดนีเซีย ที่เผชิญ
trauma หลังจากเกิดเหตุสึนามิในมหาสมุทรอินเดียในช่วงปลายปี
2004
11.WONDERFUL TOWN (2007, Aditya
Assarat)
12.AFTERSHOCK (2010, Feng Xiaogang,
China)
หนังเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในมณฑลเหอเป่ยของจีนในปี
1976 ซึ่งมีความรุนแรงระดับ 7.6 และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 300,000 คน
13.THREE WEEKS LATER (2010, José Luis
Torres Leiva, Chile, documentary, 60min)
หนังสารคดีเกี่ยวกับแผ่นดินไหวในชิลีในวันที่ 27
ก.พ. 2010 ซึ่งมีความรุนแรงระดับ 8.8 และส่งผลให้มีประชาชนเสียชีวิต 525 คน
14.HIMIZU (2011, Sion Sono, Japan)
หนังเกี่ยวกับตัวละครที่รอดชีวิตจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวในปี
2011 ในญี่ปุ่น ซึ่งมีความรุนแรงระดับ 9.1 และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 19,759 คน
15. A STRANGE CATHEDRAL IN THE THICK OF
DARKNESS (2011, Charles Najman, Haiti, documentary, A+30)
หนังสารคดีเกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวในไฮติในปี
2010 ซึ่งมีความรุนแรงระดับ 7.0 และส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 316,000 คน
นอกจากหนังสารคดีเรื่องนี้แล้ว เหตุการณ์แผ่นดินไหวในไฮติ
ก็ถูกนำเสนอในหนังเรื่อง THE EXORCIST: BELIEVER (2023, David Gordon
Green) ด้วย
16.THE IMPOSSIBLE (2012, J.A. Bayona,
Spain/Thailand)
17.STORYTELLERS (2013, Ryusuke
Hamaguchi, Ko Sakai, documentary)
18.GREETINGS FROM FUKUSHIMA (2016,
Doris Dörrie, Germany)
19.DOUBLE LAYERED TOWN/MAKING A SONG TO
REPLACE OUR POSITIONS (2019, Haruka Komori, Natsumi Seo, Japan)
20.VOICES IN THE WIND (2020, Nobuhiro
Suwa, Japan)
21.YARN (2020, Takahisa Zeze, Japan,
130min)
22.THE HOUSE OF THE LOST ON THE CAPE
(MISAKI NO MAYOIGA) (2021, Shinya Kawatsura, animation)
23.IN THE WAKE (2021, Takahisa Zeze,
A+30)
24.CONCRETE UTOPIA (2023, Eom Tae-hwa,
South Korea)
25.KYRIE (2023, Shunji Iwai, Japan,
178min)
26.HAPPYEND (2024, Neo Sora, Japan)
แผ่นดินไหวในหนังเรื่องนี้เป็นแค่ระดับเบา ๆ
นอกจากหนังเกี่ยวกับแผ่นดินไหวแล้ว
ถ้าหากพูดถึงหนังเกี่ยวกับ “ภัยพิบัติ” ที่เป็น “ภัยธรรมชาติ” โดยรวม ๆ เราก็ชอบหนังต่อไปนี้ด้วย
1.CONDOMINIUM (1980, Sidney Hayers, 4hours)
มินิซีรีส์ที่เคยมาฉายทางช่อง 3
เกี่ยวกับคอนโดมิเนียมที่ถูกพายุเฮอริเคนพัดถล่มในรัฐฟลอริดา
2.CITY OF JOY (1992, Roland Joffé)
หนังมีฉากน้ำท่วมในอินเดีย
3.LAST NIGHT (1998, Don McKellar,
Canada)
4.“ตะลุมพุก
มหาวาตภัยล้างแผ่นดิน” (2002, ปิติ จตุรภัทร์)
5.CHILDREN OF MUD (2009, Daniel Rifki, Indonesia,
ภูเขาไฟระเบิด)
6.HAEUNDAE (2009, JK Youn, South Korea)
7.2022 สึนามิ
วันโลกสังหาร (2009, Toranong Srichua)
8.MELANCHOLIA (2011, Lars von Trier,
Denmark)
9.FORCE MAJEURE (2014, Ruben Östlund,
Sweden)
10.POMPEII (2014, Paul W.S. Anderson)
11.STORM CHILDREN: BOOK ONE (2014, Lav
Diaz, Philippines, documentary)
12.TRAP (2015, Brillante Mendoza,
Phillippines)
13.THE WAVE (2015, Roar Uthaug, Norway)
14.YOUR NAME (2016, Makoto Shinkai,
animation)
15.ASHFALL (2019, Kim Byung-seo, Lee
Hae-jun, South Korea, A+30)
16.THE BURNING SEA (2021, John Andreas
Andersen, Norway)
17.SINKHOLE (2021, Kim Ji-hoon, South
Korea)
18.SURVIVE (2024, Frédéric Jardin,
France)
++++++++
เรื่องนี้จะแล้วมั้ย!? ตอน
เมื่อพ่อของเพื่อนสนิทและผมทำสิ่งนี้ด้วยกัน (2024, G Label, documentary,
A+30)
อะไรคือการที่ยูทูบแนะนำให้เราดูสิ่งนี้ในวันสงกรานต์คะ
55555 ยูทูบนี่รู้ใจดิฉันดีจริง ๆ
เราไม่เคยดูยูทูบช่องนี้มาก่อน
แต่พอได้ดูตอนนี้แล้วก็ชอบมาก ๆ ผู้ชายคนนี้เล่าถึงประสบการณ์ของตัวเองในช่วงเทศกาลสงกรานต์ตอนม.2
ตอนนั้นเขาไปนอนบ้านญาติ และได้นอนข้าง ๆ พ่อของเพื่อน เขาพบว่าพ่อของเพื่อนรูปร่างดีมาก
เขาก็เลยอดใจไม่ไหว เขาพยายามลูบ ๆ คลำ ๆ ร่างกายและอวัยวะต่างๆ
ของพ่อของเพื่อนขณะที่พ่อของเพื่อนหลับอยู่ และหลังจากนั้น....
ชอบ comments ของเกย์อีกหลายคน
ที่มาช่วยแชร์ประสบการณ์ทำนองเดียวกันมาก ๆ
ทั้งเรื่องของ
1. “ช่วงนั้นพ่อผมไปบวชเป็นพระอยู่ที่วัดป่าบนภูเขาที่ต่างจังหวัด
เพื่อนพ่อเลยมาชวนที่บ้านผมขึ้นไปเยี่ยมพ่อผมที่วัด”
2. “เวลาอานอนก็จะใส่ชุดสบายๆ ถอดเสื้อ
ใส่กางเกงบอล ไม่ใส่กางเกงใน”
3. “อาเขยเป็นคนหล่อมากและรูปร่างดีมากๆ สูง 175-178”
4. “ส่วนตัวผมก็เคยกับพ่อเพื่อนที่ไม่สนิทเหมือนกัน
แกชื่อน้าชม แกเป็นพ่อเลี้ยงเดียว ไม่มีเมีย มีแต่ลูกชายหนึ่งคน”
5. “ตอนนั้นเมื่อ 7 ปีที่แล้วผมอายุ
18 ลุงทศเขาอายุ 50 ปีพอดี”
คือ CALL ME BY YOUR NAME (2017, Luca
Guadagnino) ตายห่าไปเลยของจริง 55555