Wednesday, August 05, 2015

IN THE DREAM OF EMPTY NIGHT (2015, Chalermpong Udomsilp, 58min, A+30)


IN THE DREAM OF EMPTY NIGHT (2015, Chalermpong Udomsilp, 58min, A+30)
โลกละเมอ (เฉลิมพงษ์ อุดมศิลป์)

--จำรายละเอียดอะไรในหนังไม่ได้แล้ว เพราะดูมานานเดือนนึงแล้ว แต่ที่แน่ๆก็คือนี่เป็นหนึ่งในหนังไทยที่ชอบมากที่สุดในปีนี้

--จุดสำคัญที่ชอบมากๆก็คือการที่หนังมันตอบสนอง romantic fantasy ของเราได้ตรงมากๆ คือสถานการณ์หลายๆอย่างในหนังมันทำให้เรามีความสุขเมื่อเราจินตนาการว่าเราได้เป็นพระเอกของเรื่องน่ะ

จุดที่หนังมันตอบสนองแฟนตาซีของเราก็มีเช่น การได้รูมเมทเป็นหนุ่มหล่อ, การที่หนุ่มหล่อคนนี้อยู่ดีๆก็ละเมอขึ้นมานอนทับตัวเรา (ดูแล้วฉ่ำแฉะมากๆค่ะในจุดนี้), การได้สานความสัมพันธ์กับเขา, ฉากขี่จักรยานแล้วมีการกางแขนในหนังเรื่องนี้ก็ดูโรแมนติกมากๆๆๆ, การเลื่อนเตียงมาติดกัน, etc.

--แต่หนังเรื่องนี้มีอะไรที่แตกต่างจากหนัง homoerotic ทั่วไปในบางประการ อย่างเช่น

1.ผู้กำกับอาจจะไม่ได้ตั้งใจให้มัน homoerotic ขนาดนี้ แต่คนดูบางคนดูแล้วพบว่ามันสามารถตอบสนอง homoerotic fantasy ของตนเองได้อย่างสุดยอดมากๆ

การที่ผู้กำกับอาจจะไม่ได้ตั้งใจ มันก็เลยทำให้ความ homoerotic ของหนังเรื่องนี้มีความโดดเด่น ไม่ซ้ำแบบใคร และมันก็เลยทำให้หนังเรื่องนี้ดูมีความ “เย้ายวน” แบบแปลกๆสำหรับเราน่ะ

คือโดยรสนิยมส่วนตัวของเราแล้ว เรามักจะชอบหนังที่ไม่สาดอารมณ์บางอย่างอย่างล้นเกินใส่เราน่ะ อย่างเช่นเราจะชอบหนังเรื่อง “ตุ๊กตาหมี” ของ Pissanupong Rattana อย่างสุดๆ เพราะมันเป็นหนังที่มีความตลกอย่างมากๆอยู่ในนั้น ถึงแม้หนังมันจะพยายามทำตัวเป็นหนังซีเรียสก็ตาม มันเหมือนกับว่าความตลกของหนังมันถูก balance ด้วยความซีเรียส รสชาติโดยรวมของหนังก็เลยออกมาพอดี ในขณะที่หนังอย่าง ID OF TEM 2 (สมาพันธ์มินิฟิล์ม) มันตลกในเกือบทุกๆองค์ประกอบ เราก็เลยรู้สึกว่ามันเหมือนกับสาดความตลกใส่หน้าเรามากเกินไป จนเราไม่ค่อยชอบมันมากนัก

เราว่าโลกละเมอก็มีความ balance ในทำนองเดียวกัน ถ้าให้เราเปรียบเทียบง่ายๆก็คือว่า หนังบางเรื่อง อย่างเช่น “หนังโป๊เกย์” มันสาดความเงี่ยนใส่เรามากเกินไป มันเหมือนกับการโยนช่อดอกไม้มาที่หน้าเรา ซึ่งแทนที่เราจะรับช่อดอกไม้นั้น เรากลับเบี่ยงตัวหลบมัน หรือเอามือปัดช่อดอกไม้นั้นออกไปเพื่อไม่ให้มันมากระแทกหน้าเรา แต่หนังที่ “นำเสนอความ homoerotic แบบอ้อมๆ, เบี่ยงๆ, แฉลบๆ” มันเหมือนกับคนที่โยนช่อดอกไม้มายังจุดที่ห่างจากตัวเราประมาณ 3 คืบ และมัน “เย้ายวน” ให้เรากระโดดไปรับช่อดอกไม้นั้น และเราก็เลยกระโดดไปรับช่อดอกไม้นั้นด้วยความดีใจ

สรุปว่าที่เปรียบเทียบมาข้างต้นก็คือว่า เราว่า “หนังโป๊เกย์” บางทีมันสาดอารมณ์บางอย่างใส่เรามากเกินไป จนเราหนีห่างจากมัน แต่หนังอย่าง “โลกละเมอ” มันให้อารมณ์ homoerotic อย่างอ้อมๆ หรืออย่างไม่ได้ตั้งใจ และมันก็เลยเย้ายวนเรา หรือดึงดูดเราให้เข้าไป explore อารมณ์ที่อาจจะซ่อนอยู่ในแต่ละฉากในหนังเรื่องนั้นได้ดีกว่าหนังบางเรื่องที่สาดอารมณ์นั้นเข้าใส่เราโดยตรง

2.การที่เรารู้สึกว่า หนังมี 2 genres ดำเนินควบคู่กันไป ซึ่งก็คือ genre หนังเกย์ กับ genre หนังจิตวิทยา และการที่มันดำเนินเรื่องบน 2 genres ควบคู่กันไปนี้ มันทำให้เรารู้สึกสนุกสุดๆขณะที่ดูหนังเรื่องนี้ เพราะเราจะลุ้นตลอดเวลาว่า genre ไหนจะเป็นฝ่ายชนะในตอนจบของเรื่อง หรือหนังจะเลือกจบโดยเอนเอียงไปทางขนบของ genre ไหนกันแน่

คือการที่หนังเหมือนยืนอยู่ 2 genres แทนที่จะเป็น genre เดียว มันทำให้เรารู้สึกว่า “โลกของหนังเรื่องนี้มันมี possibilities มากขึ้นน่ะ” มันทำให้เราเดาได้ยากขึ้นว่า จะเกิดอะไรในฉากต่อไป

กรณีหนึ่งที่น่าจะนำมาเปรียบเทียบได้ดีก็คือ หนังเรื่อง JOURNEY OF LOVE เพื่อนรัก รักเพื่อน (Pratchaya Wongnanta, A+30) ที่เนื้อเรื่องเหมือนยืนอยู่บน genre เดียว นั่นก็คือ genre หนังเกย์ คือขณะที่ดูหนังเรื่อง JOURNEY OF LOVE นี้ เราจะลุ้นมากๆให้ผู้ชายในเรื่องได้กันสักที และพอผ่านไปครึ่งเรื่อง พอมันได้กันจริงๆ อารมณ์ลุ้นของเราก็ค่อยๆฝ่อลง เพราะการที่หนังมันทำตัวอยู่ในขนบหนังเกย์ของมันอย่างเหนียวแน่น มันทำให้เราคาดเดาได้ง่ายๆว่า ในช่วงท้ายของหนัง มันจะต้องเกิดเหตุการณ์ A หรือไม่ก็เกิดเหตุการณ์ B หรือไม่ก็เกิดเหตุการณ์ C แน่ๆ ผู้ชายในเรื่องมันจะต้องทะเลาะกันด้วยสาเหตุอะไรสักอย่าง แล้วก็คืนดีกันได้ในตอนจบ หรือไม่ก็แยกทางกันไป หนังประเภทนี้มันมีตอนจบให้เลือกไม่กี่แบบหรอก

แต่พอ โลกละเมอ มันเหมือนดำเนินเรื่องไปบน 2 genres พร้อมกัน ทางเลือกที่เป็นไปได้ในหนังก็เพิ่มมากขึ้น คือแทนที่จะเหลือทางเลือก 3 ทางสำหรับช่วงท้ายของหนังแบบ JOURNEY OF LOVE เราก็เริ่มเดาไม่ถูกแล้วว่า หนังมันจะเป็นยังไงต่อไป หนังมันจะเลือกจบแบบหนังเกย์หรือเปล่า ตัวละครมันจะได้กันหรือเปล่า ตัวละครมันจะรักกันในตอนจบหรือเปล่า หรือมันจะเลิกรากันไป หรือว่า genre จิตวิทยาจะเป็นฝ่ายชนะ ช่วงครึ่งหลังของหนังมันจะออกมาเป็นหนังจิตวิทยาแนว “เพื่อนกูเป็นบ้า” เรื่องไหนกันนะ มันจะออกมาแบบ MAGIC MAGIC (2013, Sebastián Silva) หรือออกมาแบบ SINGLE WHITE FEMALE (1992, Barbet Schroeder) หรือออกมาแบบ 301/302 (Cheol-su Park) หรือออกมาแบบ PRICK UP YOUR EARS (1987, Stephen Frears) หรือจะจบแบบ LES BICHES (1968, Claude Chabrol) คือการที่โลกละเมอ มันเหมือนดำเนินเรื่องใน 2 genres พร้อมกัน มันก็เลยทำให้เรารู้สึกว่า โลกในหนังเรื่องนี้มันมี “ทางเลือกที่น่าจะเป็นไปได้” มากกว่าในหนังเกย์ธรรมดา

--เราพอใจกับตอนจบของ โลกละเมอ นะ เราว่าจบแบบนี้มันก็จริงใจกับตัวละครของมันดี ซึ่งจุดนี้จะแตกต่างจากหนังเรื่อง DAILY MALICE (2015, Yukontorn Kaewprang, A+30) ที่เหมือนดำเนินเรื่องไปบน 2 genres พร้อมกัน นั่นก็คือ genre หนังเกย์ กับ genre หนังการเมือง และหนังก็ต้องเลือกเหมือนกันว่า หนังจะจบโดยเอนเอียงไปทางขนบของ genre ไหน แต่เราว่าตอนจบของ DAILY MALICE มันเหมือนฝืนตัวละครของมันมากเกินไปน่ะ ในขณะที่ตอนจบของ โลกละเมอ มันไม่ฝืนตัวละครของมัน



No comments: