TROPIKOS (2016, John Akomfrah, UK, video installation, 37min, A+30)
อลังโคมมากๆ
ENTERTAINMENT FILM ABOUT TANUKI AND PARALLEL WORLD (2020, Achitaphon Piansukprasert, 108min, A+30)
Spoilers alert
--
--
--
--
--
1.ไม่ทราบชีวิตอะไรอีกต่อไป รู้สึกว่าหนังเรื่องนี้ดูง่ายกว่า CONCRETE ROOTS (2018, Achitaphon Piansukprasert) แต่ดูยากกว่า GAGEE (2018, Achitaphon Piansukprasert ) ดีใจมากๆที่คุณ Achitaphon ยังคงทำหนังทดลองอย่างต่อเนื่องในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (เหมือนเราเคยดูหนังสั้นของเขาตั้งแต่ปี 2017)
2.ชอบความรู้สึกที่ว่า "เราไม่เข้าใจอะไรอีกต่อไป" ในหลายๆฉากในหนังเรื่องนี้ เหมือนหนังเรื่องนี้เลือกทางยากโดยไม่คิดจะประนีประนอมใดๆกับผู้ชมน่ะ เพราะ "ความไม่เข้าใจ" ย่อมต้องผลักผู้ชมจำนวนมากออกไปจากหนังเรื่องนี้แน่ๆ แต่เราชอบ 555
3.แต่ก็ยอมรับว่ารู้สึก "อุ่นใจ" อยู่เหมือนกัน เวลาเจอฉากที่เราพอจะเข้าใจได้บ้าง ซึ่งก็คือฉากต่างๆที่ตัวละครพูดออกมา อย่างเช่น
3.1 การเล่าเรื่องประพาสต้น, เสือสมิง
3.2 ประกาศคสช.
3.3 นักแสดงโทรคุยกับเพื่อน
3.4 ประกาศคณะราษฎร 2475 ฉากนี้รู้สึกพีคสุดๆ
3.5 ตัวละครเล่าเรื่องผี
4.ชอบสุดๆที่เอาปีศาจทานูกิกับเสือสมิงมาเทียบเคียงกัน
มีหลายฉากที่ตัวละครเอาธงชาติมาคลุมตัวด้วย ไม่แน่ใจว่าการเอาธงชาติมาคลุมตัวนี้ เป็นนัยยะเปรียบเปรยไปถึงการกลายร่างของเสือสมิงและปีศาจทานูกิหรือเปล่า
5.ดนตรีประกอบสุดยอดมากๆ นึกว่าต้องปะทะกับหนังของธีรภาส ว่องไพศาลกิจ
6.มีหลายฉากที่เราว่า design ภาพได้สวยมากๆ แต่ก็มีหลายฉากที่เราดูแล้วเบื่อๆ แต่เราก็ไม่รู้สึกว่ามันเป็นข้อเสียอะไรมากนัก เพราะจุดประสงค์ของหนังคงไม่ใช่การสร้างความเพลิดเพลินแบบ spectacle เพียงอย่างเดียว
7.ชอบมากๆที่คุณ Achitaphon ดูเหมือนมีแนวทางของตัวเอง เพราะผู้สร้างหนังทดลองคนอื่นๆในไทยดูเหมือนจะไม่ค่อยทำหนังทดลองออกมาในแนวทางนี้
มื้อนี้ เราจะคิดถึงแก (2020, จิรภัทร พาเพียเพ็ง, 24min, A+30)
หนังจากสกลนคร ดูแล้วร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง หนังมีจุดที่โดนเราอย่างมากๆ เพราะตัวละครในหนังเป็นหญิงสาวที่เรียนจบชั้นมัธยมมานาน 10 ปีแล้ว แต่เธอหวนรำลึกไปถึงช่วงที่อยู่มัธยม ช่วงที่ได้กินข้าวร่วมโต๊ะกับเพื่อนผู้หญิงอีก 3 คนในกลุ่มเดียวกัน ก่อนที่กลุ่มจะแตกกันในเวลาต่อมา และนางเอกก็เริ่มสำนึกเสียใจว่า ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาเธอทำตัวเลวมากเพียงใด
เราอินกับจุดนี้มากๆ เพราะปี 1989 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายที่เราเรียนชั้นมัธยม ก็ถือเป็น one of the best times of my life เราเองก็หมกมุ่นและหวนคิดถึงปี 1989 ตลอดช่วง 30 ปีที่ผ่านมา เหมือนกับนางเอกหนังเรื่องนี้ ที่มักหวนนึกถึงช่วงที่เคยกินข้าวกับเพื่อนๆเมื่อ 10 ปีก่อน
เหมาะฉายควบกับ "ขอบคุณที่อยู่ด้วยกัน" (2018, ทินภัทร เลิศอุตสาหพันธ์) และ OUR LAST DAY (2015, Rujipas Boonprakong) มากๆ
THE CON-HEARTIST (2020, Mez Tharatorn, A+30)
อ้ายคนหล่อลวง
1.ชอบกว่าที่คิดไว้มากๆ เพราะเราชอบหนังที่ตัวละครต้องใช้ ไหวพริบในการเอาตัวรอดน่ะ
2.เดาว่าบทหนังน่าจะมาจากการ research ข้อมูลที่แน่นพอสมควร โดยเฉพาะข้อมูลเกี่ยวกับคดีต้มตุ๋น
3.แต่สิ่งที่ชอบที่สุดก็คือหนังเรื่องนี้เหมือนถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเตือนสติ "สาวหิวควย" อย่างเรา 555 เพียงแต่เราอาจจะไม่ใช่ "เหยื่อ" แบบในหนังเรื่องนี้ เพราะกูจนมาก ชีวิตนี้ก็เลยไม่เคยถูกผู้ชายมาปอกลอก เพราะกูไม่มีเงินให้ปอกลอก 555
แต่ถึงจะรวยจะจน เรื่องแบบนี้เราก็เจอในชีวิตประจำวันนะ นึกถึงประสบการณ์ของตัวเองเมื่อราว 22 ปีก่อน ตอนนั้นเราเคยรู้จักเพื่อนเกย์หนุ่มหล่อคนนึง สมมุติว่าชื่อ M เขาเองก็รู้ว่าตัวเองหล่อ และใช้ความหล่อของตัวเองให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวัน
ประสบการณ์ที่เราชอบมาก คือตอนนั้นเรากับ m ไป food court ในห้างนึง เราจะไปซื้อขนมหวานที่ใส่น้ำแข็งไสมากินถ้วยนึง แต่ m มองไปที่ร้านนั้น เห็นพนักงานที่ร้าน แล้วเขาก็บอกเราว่า เราอย่าไปซื้อเอง เดี๋ยวเขาไปซื้อมาให้เรา
แล้วเราก็แอบมองว่า เขาไปทำอะไร เราเห็นว่าเขาไปคุยอะไรไม่รู้กับพนักงานสาวร้านนั้น ทำปากหวาน ก้อร่อก้อติก พนักงานสาวร้านนั้นก็ยิ้มแย้ม เขินอาย เหมือนเธอมีความสุขมากๆที่มีหนุ่มหล่อมาป้อนคำหวานใส่
แล้ว m ก็เดินกลับมาพร้อมกับขนมหวานใส่น้ำแข็งในชามที่ใหญ่มากราวกับกาละมัง คือถ้าเราไปซื้อเอง เราก็คงได้ขนมในถ้วยเล็กๆ แต่พอเราส่งเพื่อนหนุ่มหล่อไปซื้อแทนเรา เราก็ได้ขนมกลับมากินกาละมังนึง
พอดู THE CON-HEARTIST เราก็เลยนึกถึงประสบการณ์นี้ขึ้นมา เราก็เลยชอบสุดๆที่หนังเรื่องนี้นำเสนอเรื่องที่ใกล้ตัวเรามากๆ นั่นก็คือ ความหิวผู้ชาย และสิ่งที่พึงสังวรณ์ในความหิวผู้ชาย 555
------
RIP KIM KI-DUK เขาเสียชีวิตจากโรค COVID-19 เราเคยดูหนังของเขาแค่ 6 เรื่องเอง เราได้ดูหนังของเขาครั้งแรกในวันที่ 1 ต.ค.ปี 2000 ตอนที่หนังเรื่อง BIRDCAGE INN (1998) ของเขามาฉายที่เอ็มโพเรียม
No comments:
Post a Comment