JUPITER (2020, Karan Wongprakarnsanti, 26min, A+30)
1.สิ่งที่ชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้
ก็คือการที่พอเราดูหนังจบแล้ว เราย้อนกลับมาถามตัวเองว่า
เราเผลอแบกความคาดหวังของผู้อื่นโดยที่เราไม่รู้ตัวหรือเปล่า ซึ่งเราก็ตอบได้ว่า
เราก็มีอยู่บ้างแหละ แม้จะไม่มากนัก เพราะจริงๆแล้วเราไม่ค่อยแคร์ใคร
และไม่ค่อยอยากยุ่งเกี่ยวกับใครโดยไม่จำเป็น แต่บางทีเราก็พบว่า เรา “พยายามมากเกินไปในบางครั้ง”
ในความพยายามจะทำในสิ่งที่คนอื่นๆอยากให้เราทำอยู่เหมือนกัน
ทั้งๆที่จริงๆแล้วเราไม่มีความจำเป็นจะต้องเอาใจคนอื่นๆในกรณีนั้นๆเลยแม้แต่น้อย เราแค่ต้องการควบคุมความเห็นของเขาที่มีต่อเรา
เราต้องการควบคุมให้คนอื่นๆมองเราว่า เราเป็นคน “นิสัยดี ใจดี” ทั้งที่จริงๆแล้วไอ้การพยายามจะควบคุมความเห็นของคนอื่นๆให้มองว่าเรา
“ใจดี นิสัยดี” นี่แหละ ที่สร้างความยุ่งยากลำบากใจทรมานให้แก่เรา 555
2.ชอบที่หนังเรื่องนี้สร้างตัวละครหลัก 4 ตัวได้น่าสนใจดี ซึ่งได้แก่
2.1 นน ที่เหมือนแบกความคาดหวังของแม่เอาไว้
เหมือนแม่ภาคภูมิใจสุดๆที่เขาเข้าเรียนคณะแพทย์ได้
และเขาก็สร้างชื่อเสียงให้โรงเรียนมัธยมด้วย
เขาก็เลยเหมือนอยู่ภายใต้แรงกดดันทั้งจากครอบครัวและสังคม
ในความเห็นส่วนตัวนั้น เราคิดว่าเขาควรจะยอมรับขีดจำกัดความสามารถของตัวเองนะ
เพราะมนุษย์ทุกคนมีระดับความสามารถแตกต่างกันไปในเรื่องต่างๆ ถ้าหากเราไม่ไหวในการทำอะไรจริงๆ
เราก็ต้องยอมรับขีดจำกัดของตัวเราเอง
2.2 พิม ที่น่าจะแบกความคาดหวังของตัวเองเอาไว้
เราคิดว่าพิมน่าจะอิจฉาพี่สาวของตัวเองที่เรียนแพทย์ได้ เพราะหนังแสดงให้เห็นว่า
แม่ไม่ได้กดดันพิม
เพราะฉะนั้นน่าจะเป็นพิมเองนั่นแหละที่กดดันตัวเองจนเครียดเกินเหตุ
และไม่พอใจในสถานะที่ตนเองเป็นอยู่ เราคิดว่าถ้าหากพิมเลิกอิจฉาพี่สาว
เธอก็น่าจะเป็นสุขมากขึ้น หรือถ้าหากเธอยอมรับ limit ของตัวเอง
เธอก็น่าจะเป็นสุขมากขึ้น
2.3 ดรีม อีนี่น่าตบมากๆ กูเกลียดอีนี่มากๆ 5555
เราว่าอีนี่เห็นแก่ตัวสุดๆ เธอ treat เพื่อนราวกับว่าเพื่อนเป็นทาสรับใช้ของเธอ
แต่ปรากฏว่าอีนี่กลับมีความสุขที่สุดในเรื่อง เธออยากไปเรียนญี่ปุ่น ก็ได้ไป
โลกมันไม่ยุติธรรมจริงๆ แต่โลกแห่งความจริงมันก็ไม่ยุติธรรมแบบนี้นี่แหละ
แต่แน่นอนว่าในโลกแห่งความเป็นจริงนั้น
ดรีมก็ต้องอยู่กับเพื่อนที่เธอสามารถจิกหัวใช้ได้เท่านั้นแหละ
เพราะถ้าหากเราเป็นบอนด์ แล้วดรีมโทรมาบอกให้ไปหา เราก็คงตอบว่า “ไม่” แล้วก็วางหู
จบ
2.4 บอนด์ เราว่าตัวละครนี้น่าสนใจมากๆ เพราะว่าเขาเหมือนต้องจัดลำดับความสำคัญของ
3 สิ่งในชีวิตของเขา ซึ่งได้แก่
2.4.1 การเรียนนิติศาสตร์
2.4.2 การเล่นกีฬา แข่งกีฬา
2.4.3 เพื่อน (อีดรีม)
และดูเหมือนเขาดันเลือกให้ความสำคัญกับเพื่อนมากกว่า “การสอบผ่าน”
ซึ่งมันดูขัดหูขัดใจเรามากในตอนแรก เราว่าเขาจัดลำดับความสำคัญของชีวิตผิด เขาควรจะให้ความสำคัญกับ
“การสอบให้ผ่าน” มากกว่าเพื่อนอย่างอีดรีม
แต่พอเราดูหนังมาจนถึงตอนจบ เราเดาว่าบางทีมันอาจเป็นเรื่องของจิตใต้สำนึกก็ได้นะ
555 บางทีจิตใต้สำนึกของบอนด์อาจจะรบเร้าให้บอนด์ทำอะไรก็ได้เพื่อจะได้ล้มเลิกการเรียนนิติศาสตร์
แล้วบอนด์ก็เลยเลือกจะไปหาเพื่อน แทนที่จะพยายามทำให้ตัวเองสอบผ่าน
เพราะจิตใต้สำนึกของเขาพยายามกระตุ้นให้เขาทำให้ตัวเองสอบไม่ผ่านอยู่แล้ว
คือถ้าหากเขารักการเรียนนี้จริงๆ มุ่งมั่นจริงๆ เขาคงไม่เลือกไปหาอีดรีมหรอก
แต่ที่เขาเลือกไปหาอีดรีมอาจจะเป็นเพราะจิตใต้สำนึกของเขาต้องการ “ข้ออ้าง”
ในการทำให้ตัวเองไม่สามารถสอบผ่านก็ได้ 555
คือจริงๆแล้วพอเราดูบอนด์ เราก็นึกถึงตัวเองเหมือนกัน
เพราะเราเองก็ไม่ได้เรียนต่อปริญญาโท ทั้งๆที่หลายๆคนสนับสนุนให้เราเรียนต่อ
(ยกเว้นทางบ้านของเรา เพราะบ้านของเราจน ไม่มีเงินให้เราเรียนต่อปริญญาโท) เราก็เลยพยายามสอบชิงทุน
แต่หลังจากนั้น แทนที่เราจะพยายามตั้งใจอ่านหนังสือเพื่อให้ตัวเองได้ไปเรียนต่อ
เรากลับเอาเวลาไปเที่ยวเธคเป็นหลัก เที่ยวถึง 13 คืนต่อเดือน
มันเหมือนกับว่าที่เราพยายามสอบชิงทุนไปนั้น
มันไม่ได้เกิดจากความต้องการจริงๆในใจเราน่ะ
เราแค่ทำไปตามแรงผลักดันของสังคมรอบข้าง แต่ใจจริงของเราไมได้อยากไปเรียนต่อ
จิตใต้สำนึกของเรา ก็เลยผลักดันให้เราไปเที่ยวเธคตลอดเวลาแทน แล้วในที่สุดเราก็เลยไม่ได้เรียนต่อโท
พอเราดูตัวละคร “บอนด์” ในหนังเรื่องนี้ เราก็เลยนึกถึงตัวเอง
มันเหมือนกับว่า บางที “จิตใต้สำนึก” ของเรา มันอาจจะรู้ก็ได้ว่า
เราต้องการอะไรจริงๆ และเหมาะกับอะไรจริงๆ
มันก็เลยผลักดันให้เราทำในสิ่งที่ดูเหมือนขัดกับหลักเหตุผลหรือดูเหมือนเหลวไหลในบางครั้ง
แต่ไอ้การทำในสิ่งที่ขัดกับหลักเหตุผลนี่แหละ
บางทีมันอาจจะเป็นการทำตามสิ่งที่หัวใจเราเรียกร้องก็ได้ 555
3.ตัวละคร นน ก็น่าสนใจมากๆ ที่เขาไม่กล้าบอกแม่ว่าสอบตก
มันเหมือนกับว่า เขาแบกความคาดหวังของแม่มากเกินไป จนไม่กล้าบอกความจริงกับแม่
คือดูตัวละครนนแล้ว เราคิดถึงเรื่องจริงดังต่อไปนี้นะ
3.1 เราคิดถึงเพื่อนของเราคนนึง เขาเป็นเอดส์ในราวๆปี 2006-2007
แต่เขาไม่กล้าไปรักษา เพราะเขากลัวแม่รู้ เขากลัวว่าแม่จะรู้ว่าเขาเป็นเอดส์
แต่พอเขาไม่ไปรักษา เขาก็เลยเสียชีวิตจากโรคเอดส์ภายในเวลาไม่นาน
เราเพิ่งมารู้เรื่องการเสียชีวิตของเพื่อนคนนี้เมื่อไม่นานมานี้เอง
พอเรารู้แล้วก็เศร้าใจมาก แต่เรากับเพื่อนคนอื่นๆก็คิดว่า ถ้าหากเขาบอกกับแม่ไปตามตรงว่าเขาเป็นเอดส์
แล้วไปรักษา บางทีเขาอาจจะมีชีวิตอยู่ต่อมาได้อีกนานหลายปีก็ได้
บางทีการบอกความจริงน่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดในกรณีนี้ (และในกรณีของ นน)
3.2 หนังอย่าง TIME OUT (2001, Laurent
Cantet) และ THE ADVERSARY (2002, Nicole Garcia) ที่ได้แรงบันดาลใจจากคดีฆาตกรรมสะเทือนขวัญจริงๆ
ของผู้ชายคนนึงที่หลอกคนอื่นๆมานานหลายปีว่าเขาทำงานที่ WHO แต่พอคนอื่นๆใกล้จะรู้ความจริง
เขาก็เลยฆ่าภรรยา, ลูกๆ และพ่อแม่ของตัวเอง ก่อนที่เขาจะพยายามฆ่าตัวตาย
คือเราว่ากรณีคดีจริงๆแบบในหนังอย่าง TIME OUT และ THE
ADVERSARY มันคือ extreme case ของคนที่แบกรับความคาดหวังของครอบครัวมากเกินไปน่ะ
และแบกรับแบบผิดๆ คือแทนที่จะบอกความจริงไปซะตั้งแต่แรกว่า “กูตกงาน
กูหางานทำไม่ได้” เขากลับไม่ต้องการให้เมีย, ลูกๆ
และพ่อแม่ของตัวเองรู้ว่าเขาตกงาน และเขาก็เลือกที่จะฆ่าทุกๆคนในครอบครัว
แทนที่จะให้ครอบครัวรู้ความจริงว่าเขาตกงาน
เราว่ากรณีแบบ นน ที่พยายามไม่ให้แม่รู้ว่าตัวเขาสอบตก
มันคือตัวอย่างหนึ่งของอะไรที่ใกล้เคียงกัน เพียงแต่ว่าเป็นกรณีอ่อนๆ ไม่ใช่ extreme case แต่ถ้าหากคนเราทำแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆ
โกหกพ่อแม่ โกหกคนอื่นๆไปเรื่อยๆ มันก็อาจจะพัฒนาไปสู่การสังหารหมู่แบบที่เคยเกิดขึ้นจริงในฝรั่งเศสได้ในที่สุด
http://www.hedmarkreviews.com/2008/06/ladversaire-living-a-lie/
4.สรุปว่า ชอบประเด็นและการสร้างตัวละครของหนังเรื่อง JUPITER มากๆแหละ
มันทำให้เรานึกถึงเรื่องราวอะไรต่างๆในชีวิตจริงได้มากมายเลย ถึงแม้ผู้สร้างหนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจอะไรแบบนั้นก็ตาม
555
5.ขอจบด้วยการพยายามรำลึกว่า เราเคยดูหนังเรื่องไหนของคุณการันตร์ไปแล้วบ้าง
ซึ่งเท่าที่พอนึกออกตอนนี้ก็มีดังนี้ (อาจจะเคยดูมากกว่านี้ แต่ยังนึกไม่ออก 555)
5.1 THE FUCKING LIFE (2014, A+30)
5.2 ALONE (2015, A+25)
5.3 THE ROOM (2015, A+25)
5.4 เป่า ยิ้ง ฉุบ (2015, A+10)
5.5 THE AUDITION RIVER OF DEATH (2016, A+30)
5.6 BENEATH THE LIE สายสัมพันธ์ (2016, A+25)
5.7 HUMAN (2016, A+10)
5.8 RIVER OF DEATH (2016, A+30)
5.9 จองจำ (2016, A+15)
5.10 DEBATE วิวาทะ (2017, A+30)
5.11 NEWCOMER (2017, A+15)
No comments:
Post a Comment