Thursday, December 31, 2020

3RD WORLD HERO (2000, Mike De Leon, Philippines, A+30)

 

เพิ่งนึกออกว่ามีหนังอีก 2 เรื่องที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันแล้วออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกัน ซึ่งก็คือ RIZAL IN DAPITAN (1997, Tikoy Aguiluz, Philippines) กับ JOSE RIZAL (1998, Marilou Diaz-Abaya, Philippines, 178min) เราก็เลยเพิ่มเข้าไปในรายชื่อหนังกลุ่มนี้ แต่จริงๆแล้วเราก็ไม่รู้ว่า JOSE RIZAL ได้รับแรงบันดาลใจมาจาก RIZAL IN DAPITAN หรือเปล่า หรือว่าจริงๆแล้วฟิลิปปินส์สร้างหนังเกี่ยวกับ Jose Rizal กันบ่อยๆอยู่แล้ว เพราะในปี 2000 ก็มีหนังเรื่อง THIRD WORLD HERO (2000, Mike De Leon, Philippines) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ Jose Rizal ออกฉายด้วยเหมือนกัน

 

3RD WORLD HERO (2000, Mike De Leon, Philippines, A+30)

 

1.นึกว่าต้องฉายปะทะกับหนังเรื่อง “ทวิภพในเอกภพ” (2004, Prap Boonpan) และ เพราะ 3RD WORLD HERO เป็นหนังที่พูดถึง “ข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์” เหมือนๆกับ “ทวิภพในเอกภพ”

 

คือหนังพีเรียดโดยทั่วๆไป มักจะเป็นหนังที่เล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต โดยตัวเหตุการณ์อาจจะเป็น fiction แต่ตัว fiction นั้นดำเนินไปโดย “ตั้งอยู่บน/อ้างอิงกับ” ประวัติศาสตร์  โดยที่ตัวประวัติศาสตร์ที่เป็น background นั้น มักจะถูกละไว้ในฐานที่เข้าใจว่า “เป็นความจริง หรือมีแนวโน้มสูงที่จะเป็นความจริง” โดยหนังพีเรียดในกลุ่มนี้ก็รวมไปถึง ทวิภพ (2004, Surapong Pinijkhar) และ THE OVERTURE (2004, Ittisoonthorn Vichailak) และอาจจะรวมไปถึงหนังที่เหมือนกับจะ based on a true historical story อย่างเช่น RIZAL IN DAPITAN (1997, Tikoy Aguiluz, Philippines) กับ JOSE RIZAL (1998, Marilou Diaz-Abaya, Philippines, 178min) ด้วย

 

แต่มันก็มีหนังอีกกลุ่มนึงที่น่าสนใจมากๆ นั่นก็คือหนังที่ตั้งคำถามว่า ประวัติศาสตร์ที่ถูกใช้เป็น background ในหนังพีเรียดเรื่องต่างๆน่ะ จริงๆแล้วมันก็อาจจะเป็น fiction เหมือนกันนี่หว่า เพราะประวัติศาสตร์หลายๆอย่างมันก็อาจจะไม่ตรงกับความจริง มันขึ้นอยู่กับว่า ประวัติศาสตร์เวอร์ชั่นนั้น ใครเป็นคนเขียน แล้วคุณเลือกที่จะเชื่อใคร แล้วคนสร้างหนังพีเรียดเรื่องนั้นๆเชื่อประวัติศาสตร์เวอร์ชั่นไหน เขาจงใจที่จะตัดทิ้งข้อมูลอะไรไป โดยมีจุดประสงค์อะไร (หนังของ “หม่อมน้อย” ในยุคหลังหลายๆเรื่องอาจจะมีความน่าสนใจในแง่นี้ เช่นเดียวกับละครทีวีไทยหลายๆเรื่องที่มีความน่ากังขาในการนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับคณะราษฎร 2475)

 

และหนังอย่าง “ทวิภพในเอกภพ” และ 3RD WORLD HERO ก็เลยเหมือนถูกสร้างขึ้นด้วยจุดประสงค์นี้ โดยทวิภพในเอกภพเป็นการพูดถึง “ข้อถกเถียงทางประวัติศาสตร์” ที่ปรากฏอยู่ในทวิภพและโหมโรง ส่วน 3RD WORLD HERO ก็เป็นการพูดถึง “สิ่งที่น่ากังขา” มากมายในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ Jose Rizal ทั้งเรื่องที่ว่า Rizal แต่งงานจริงหรือไม่, เขากลับมานับถือ Catholic ก่อนถูกประหารชีวิตจริงหรือไม่, อะไรซ่อนอยู่ในรองเท้าของเขา, เขามีความเห็นอย่างไรกันแน่ต่อการปฏิวัติ, Josephine Bracken รักเขาจริงหรือไม่ ฯลฯ

 

เราก็เลยชอบ 3RD WORLD HERO มากๆ มันเป็นหนังที่ไม่เน้นเล่าว่า “เกิดอะไรขึ้นในอดีต” แต่เน้นเล่าว่า “อดีตเป็นสิ่งที่เราไม่รู้แน่ชัด เพราะมันมีความเป็นไปได้ 1, 2, 3, 4, 5 รูปแบบในเหตุการณ์นั้นๆ” ซึ่งการจะทำหนังแบบนี้ได้ คนสร้างหนังต้อง research ข้อมูลอย่างรุนแรงมากๆ เพื่อรวบรวม arguments ของฝ่ายต่างๆมานำเสนอในคราวเดียวกัน

 

รู้สึกว่าหนังอย่าง ทวิภพในเอกภพ และ 3RD WORLD HERO มันเป็นญาติห่างๆกับหนังอย่าง MADAME ANNA, NIPPLES, MACARON, PONYANGKAM, AND BASIC EDUCATION (2014, Ratchapoom Boonbunchachoke) กับ FORGET ME NOT (2018, Chulayarnnon Siriphol) ด้วย เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้ ก็ตั้งคำถามต่อประวัติศาสตร์ หรือนำเสนอมุมมองใหม่ๆต่อประวัติศาสตร์เช่นเดียวกัน

 

2.ชอบสุดๆที่คนฟิลิปปินส์สามารถทำหนังที่ตั้งข้อสงสัยต่างๆเกี่ยวกับวีรบุรุษคนสำคัญของชาติอย่าง Jose Rizal ได้

 

3.หนังเรื่องนี้น่าจะเป็นหนังเรื่องที่ 3 เกี่ยวกับ Rizal ที่เราได้ดู ต่อจาก RIZAL IN DAPITAN (1997, Tikoy Aguiluz, Philippines) ซึ่งเคยมาฉายที่เซ็นทรัลพระรามสาม กับ JOSE RIZAL (1998, Marilou Diaz-Abaya, Philippines, 178min) ที่เคยมาฉายที่ห้องสมุดมหาลัยธรรมศาสตร์ แน่นอนว่าเราชอบ 3RD WORLD HERO มากที่สุดในบรรดาหนัง 3 เรื่องนี้

 

PA-TI-KOON (2020, Puwadon Naosopa, short film, A+30)

ปฏิกุน

 

1.ชอบมากๆที่หนังนำเสนอระบบการทำงานของตัวละครก่อนที่จะเกิดความเปลี่ยนแปลง เพราะเหมือนเราไม่เคยรู้เรื่องพวกนี้มาก่อน เราไม่รู้ว่าในการขายเนื้อหมูนั้น มันมีใครอยู่ในห่วงโซ่อุปทานนี้บ้าง คิดว่าหนัง research ข้อมูลพวกนี้ออกมาได้ดีและน่าสนใจมาก

 

2.ประเด็นของหนังก็เศร้ามาก เรื่องความเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างธุรกิจ และการผูกขาดทางธุรกิจ มันเป็นปัญหาที่สำคัญจริงๆ

 

SEAR NELUMBO โชติช่วงร่วงโรยรา (2020, Possathorn Watcharapanit, 13min, A+30)

 

หนังนำเสนอชายถีบรถรับจ้าง (pedicab driver) ที่เราเดาว่าน่าจะเป็น “อาชีพที่ใกล้จะสาบสูญ” แล้วในไทย หรือในบางจังหวัดของไทย

 

คือเราก็ไม่แน่ใจในเรื่องนี้นะ เพราะเราแทบไม่เคยได้ออกจากกรุงเทพไปไหนเลย เราก็เลยไม่รู้ว่ายังมีคนประกอบอาชีพนี้อยู่เยอะหรือเปล่าในไทย แต่เราเคยนั่งรถแบบนี้ครั้งสุดท้ายน่าจะประมาณในช่วงทศวรรษ 1980 ที่เชียงใหม่น่ะ หรือเมื่อ 30 กว่าปีก่อน แล้วเราก็ไม่เคยได้นั่งรถแบบนี้อีกเลย

 

เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้แบบสุดๆ เพราะเราชอบหนังที่บันทึกอาชีพหรือสิ่งต่างๆที่กำลังจะหายสาบสูญไปตามกาลเวลาน่ะ นึกถึงหนังเรื่อง READY IN 5 MINUTES (2016, Swam Yaung Ni, Myanmar) ที่บันทึกการทำงานของคนที่ประกอบอาชีพรับถ่ายรูปตามวัดในเมียนมา ซึ่งเป็นอาชีพที่ใกล้จะสูญพันธุ์เต็มที เพราะพอทุกคนมีโทรศัพท์มือถือ ทุกคนก็ถ่ายรูปเองได้ ไม่ต้องพึ่งกล้องถ่ายรูปของตากล้องเหล่านี้แล้ว และนึกถึงหนังเรื่อง PHANTOM OF ILLUMINATION (2017, Wattanapum Laisuwanchai) ด้วย ที่บันทึกอาชีพคนฉายหนังด้วยฟิล์มตามโรงหนังยุคเก่า ซึ่งเป็นอาชีพที่ใกล้สาบสูญแล้วเช่นกัน

 

พอดูหนังเรื่อง SEAR NELUMBO นี้แล้วก็เลยเศร้ามากๆ เวลามันไม่เคยปรานีใครจริงๆ เราเองก็เป็นคนที่ปรับตัวให้เข้ากับโลกยุคใหม่และเทคโนโลยียุคใหม่ได้ยากด้วย เราก็เลยอินกับหนังที่พูดถึง “อาชีพที่กำลังจะสาบสูญ” พวกนี้มากเป็นพิเศษ

 

ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่

https://www.youtube.com/watch?v=GF7qBonbRgw&fbclid=IwAR3XuQ8zPSUitt2FGo6RjPGy3YapQKMRaCEzTqcpa6dB8R_FbG2hfe6nAz0

 

FRANCE AGAINST ROBOTS (2020, Jean Marie-Straub, France, 10min, A+30)

 

ขอปิดปี 2020 ด้วยการดูหนังเรื่องนี้ ชอบบท monologue ในหนังมากๆ คิดว่าหลายๆส่วนใน monologue นี้ทำให้นึกถึงประเทศไทยด้วย

https://www.youtube.com/watch?fbclid=IwAR1ojD7FT9W69afc5qfw8_2_OUXIkamdQvpwdLq6-CZQbcLuV4acpjtJSX0&v=XZyzWDXs7hg&feature=youtu.be

 

No comments: