MONTAGE STRUCTURE (2010, Zhou Xiaohu, China, video installation, A+25)
DRAGONER PANZER (2018-2020, Wasinburee Supanichvoraparch, porcelain)
SOUTH CHINA SEA PISKUN (2009, Dinh Q. Le, Vietnam, video
installation, 13min, A+25)
GLITTER’S PARADISE (2015, Dinh Q. Le, Vietnam, video installation,
7min, A+25)
DAVAA, MYAGMAR, LHAGVA, PUREV, BAASAN, BYAMBO, NYAMAND DAVAA (2019,
Baatarzorig Batjargal, Nomin Bold, Mongolia, video installation, 10min, A+30)
ชอบวิดีโอนี้อย่างสุดๆ โดยไม่รู้เหตุผลว่าเพราะอะไร 555 วิดีโอมีการ split screen เป็น 4 ช่อง ช่องหนึ่งเป็นหมาป่าที่ถูกขังกรง,
อันนึงเป็นเหมือนพ่อมดหมอผีของมองโกเลียประกอบพิธีกรรม,
อันนึงเป็นรถวิ่งไล่ฆ่าหมาป่ากลางทะเลทราย (ถ้าเข้าใจไม่ผิด)
ส่วนอีกอันเป็นการชำแหละเนื้อหมาป่า
ดูแล้วนึกถึง TO THE ENDS OF THE EARTH (2019, Kiyoshi
Kurosawa) ด้วย
เพราะเหมือนวิดีโอนี้พาเราไปรู้จักกับวัฒนธรรมต่างถิ่นที่เราไม่มีทางเข้าใจได้
ดูแล้วนึกถึงภาพยนตร์เกี่ยวกับการฆ่าสุนัขเรื่อง IS IT EASY TO KILL/PRAY? (2005,
Sherman Ong) ด้วย
เหมือนวิดีโอนี้ทำให้เราเผชิญกับทั้งธรรมชาติ, ความลี้ลับเหนือธรรมชาติ
และความโหดร้ายของมนุษย์ในเวลาเดียวกัน
อยากรู้ว่าชื่อวิดีโอแปลว่าอะไร
PATHETIC FALLACY (2014, Elena Knox, Australia, video installation,
4min, A+30)
อีหุ่นยนต์นี่น่าตบมากๆ (คำชม) เพราะในวิดีโอนี้
หญิงชรากับหุ่นยนต์สาวจะพูดคุยกัน
เหมือนหญิงชราจะพูดถึงสัจธรรมมนุษย์ประเภทสังขารไม่เที่ยงอะไรทำนองนี้
ส่วนหุ่นยนต์สาวก็จะตอบโต้ด้วยประโยคทำนองว่า “ฉันจะสาวตลอดไป” “ฉันจะไม่มีวันแก่”
เหมือนหุ่นยนต์สาวเป็นหญิงสาวที่หยิ่งผยองในความสาวความสวยตลอดกาลของตัวเองเป็นอย่างมาก
ไม่ว่าใครจะเตือนยังไง เธอก็ไม่เชื่อ
พอดูแล้วก็เลยรู้สึกว่าวิดีโอนี้มันฮามากๆ
RADICAL HOSPITALITY (2014, Elena Knox, Australia, video
installation, 6min, A+25)
หุ่นยนต์สาวมาทำงานเป็นพนักงานต้อนรับ ดูแล้วนึกถึงสารคดีเรื่อง HI, A.I. (2019, Isa Willinger,
Germany, A+30)
WOW WOW...MORE FUN!!! (2020, Note Kritsada, video installation,
A+30)
ชอบไอเดียการจัดงานศิลปะในรูปแบบของ Dental Clinic
วิดีโอนี้จัดแสดงที่ The Parq
BLUE SKY ACADEMY (2020, Choy Ka Fai, Singapore, video installation,
A+30)
ชอบสุดๆ อันนี้เป็น installation ที่มาในรูปแบบของบริษัททัวร์ที่พาไปดูการทรงเจ้าเข้าผีทั่วเอเชีย
โดยตัววิดีโอหลักในงานนี้เป็นการทรงเจ้าเข้าผีในไซบีเรีย
ซึ่งเคยถูกทำให้หายสาบสูญไปในยุคของสหภาพโซเวียต แต่พอสหภาพโซเวียตล่มสลายในปี
1990 การทรงเจ้าเข้าผีก็เลยได้รับการรื้อฟื้นกลับคืนมาอีกครั้ง
พอเราได้รับฟังคำอธิบายข้างต้น
มันก็เลยเหมือนช่วยตอบข้อสงสัยของเราที่ว่า ทำไมช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้
เหมือนเราได้ดูภาพยนตร์เกี่ยวกับหมอผีในแถบอดีตสหภาพโซเวียตหลายเรื่อง แต่เราไม่เคยเจอสิ่งนี้มาก่อนใน
“หนังโซเวียต”
หนังเกี่ยวกับหมอผีหรือการทรงเจ้าเข้าผีในแถบภูมิภาคนี้เรื่องอื่นๆที่เราเคยดู
ก็คือเรื่อง CAMP ON THE WIND’S ROAD (2018, Natalya Kharlamova, Russia) และ CONCRETE DUST (2017, Viktor Brim) นอกจากนี้
เราก็รู้สึกว่า
พิธีกรรมเหนือธรรมชาติในภูมิภาคนี้มีความใกล้เคียงกับหมอผีมองโกเลียในงานวิดีโอ DAVAA,
MYAGMAR, LHAGVA, PUREV, BAASAN, BYAMBO, NYAMAND DAVAA (2019, Baatarzorig
Batjargal, Nomin Bold) ด้วย
วิดีโอในงานนี้มี 3 จอ จอนึงเป็นการเล่าเรื่องราวการเดินทางไปเจอหมอผีไซบีเรียในแบบสารคดีการเดินทางท่องเที่ยว
จอนึงเป็นการนำ “พิธีกรรมทรงเจ้าเข้าผีไซบีเรีย” มาดัดแปลงเป็นวิดีโอแดนซ์เทคโน
หรืออะไรทำนองนี้ ส่วนอีกจอเป็นโฆษณาพิธีกรรมทรงเจ้าเข้าผีที่แตกต่างกันไปในไต้หวัน,
อินโดนีเซีย, สิงคโปร์ ฯลฯ
ปัจจัยนึงที่ทำให้เราชอบ video installation นี้อย่างสุดๆ
เพราะมันกระตุ้นจินตนาการของเราอย่างมากๆน่ะ เพราะมันทำให้เราฝันว่าอยากให้มีคนสร้าง
“หนังสยองขวัญเกี่ยวกับการปะทะกันของเวทมนต์ลี้ลับทั่วโลก” อะไรทำนองนี้มากๆ แบบ THE
X-FILES ผสม MARVEL SUPERHERO ผสมหนังสยองขวัญของ
Kuei Chih-hung ผสมจินตวีร์ วิวัธน์ ผสมตรี อภิรุม ผสม Joko
Anwar ผสม Dan Brown ผสม Ari Aster ผสม DOCTOR SLEEP อะไรทำนองนี้ 555 เพื่อให้แม่มดหมอผีผู้มีพลังจิตจากทั่วโลก ทั้งในเอเชีย, อินเดีย, แอฟริกา,
ยุโรป, ไฮติ และอินเดียนแดงมาปะทะกันอย่างรุนแรง
No comments:
Post a Comment