SNOWY NIGHT (2010, Piyarat Piyapongwiwat, 4min, A+30)
งดงาม แต่ถ้าไม่อ่าน statement เราก็จะไม่คิดถึงเรื่อง global
warming ใดๆทั้งสิ้น 55555
เพราะเราดูหนังเรื่องนี้ในฐานะของคนที่ไม่เคยเดินทางไปต่างประเทศเลย
เพราะฉะนั้นพอเราเห็นหิมะตกหนักแบบนี้ เราก็จะรู้สึกหลงใหล
และอยากจะมีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศบ้าง 55555
ACCORDING TO OUR RECORD SHE SPEND HER LAST DAYS AMONG THE STARS (2020,
Kardpol Nitipisanon, 5min, A+30)
ภาพสวยมากๆ นึกไม่ถึงว่าภาพถ่ายจักรวาลมันจะงดงามบรรเจิดขนาดนี้
ส่วนเสียง voiceover ทำให้นึกถึงพวกหนังอย่าง VOICES OF A
DISTANT STAR (2002, Makoto Shinkai)
การใช้ภาพนิ่งที่งดงามสุดๆมาประกอบเสียง voiceover แบบนี้ทำให้นึกถึงหนังอย่าง
LAST AND FIRST MEN (2020, Jóhann Jóhannsson, Iceland) ด้วย
เคยดูหนังเรื่อง ASTRONAUT (2017, Kardpol Nitipisanon) ตอนมันมาฉายที่ Bangkok Screening Room ในปี 2017
แต่เราลืมหนังไปหมดแล้ว ใครจำได้บ้างว่าเนื้อหามันเป็นยังไง 555
มันใช่หนังที่ถ่ายห้องอะไรสักอย่าง แบบห้องในคอนโด
แต่เอาวิวทิวทัศน์จากนอกอวกาศมาใส่ไว้นอกหน้าต่างห้องคอนโดหรือเปล่า
DAY NO. 97 (2020, Mars Bugaoan, Philippines, 1min, A+25)
หนังเหมือนสื่อถึงความรู้สึกตอนถูก lockdown ได้ดี
ผ่านทางการให้ตัวศิลปินมานั่งนิ่งๆอยู่ท่ามกลางฝนตก
PATHS (2020, Kanade Yagi, Philippines, 14min, A+30)
ชอบมาก หนังเป็น video diary ของผู้กำกับขณะอยู่ในเกาะแห่งนึงในฟิลิปปินส์
และทำงาน research เรื่องราวของวิธีการรักษาโรคตามความเชื่อแบบโบราณ
ส่วนภาพในหนังส่วนใหญ่เป็นการบันทึกถนนหนทางในเกาะแห่งนั้นตอนมืดๆ
หรือภาพป่าตอนมืดๆ แล้วภาพมันออกมาดูหลอกหลอนใช้ได้ คือถ้าพลิกนิดเดียว
หนังเรื่องนี้จะกลายเป็นหนังแบบ THE
BLAIR WITCH PROJECT (1999, Daniel Myrick, Eduardo Sánchez) ได้เลย
ดูหนังได้ที่
PROFIT MOTIVE AND THE WHISPERING WIND (2007, John Gianvito,
documentary, 58min, A+30)
1.ในที่สุดก็ได้ดูหนังในตำนานเรื่องนี้เสียที
เหมือนได้ยินกิตติศัพท์ของ John Gianvito มา 10 กว่าปีแล้ว
แต่ก็ไม่เคยได้ดูหนังของเขา ยกเว้นหนังสั้น 7 นาทีที่เขาทำขึ้นเพื่ออุทิศให้
Alexis Tioseco and Nika Bohinc
2.พอได้ดู PROFIT MOTIVE AND THE WHISPERING
WIND แล้วก็ทึ่งมากๆ ชอบทั้งตัวเนื้อหา และวิธีการนำเสนอ
โดยเฉพาะวิธีการนำเสนอของหนังเรื่องนี้ที่มันช่วยแสดงให้เห็นว่า
เราสามารถถ่ายทอดเรื่องราวที่น่าสนใจในประวัติศาสตร์ได้
โดยไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังพีเรียด และเราสามารถดัดแปลง “หนังสือวิชาการ”
มาทำเป็นหนังได้อย่างทรงพลังด้วย
3.หนังเหมือนแบ่งออกเป็น 4 ส่วนมาผสมผสานเข้าด้วยกัน ซึ่งได้แก่
3.1 ส่วนที่สำคัญที่สุด ก็คือการตามถ่ายอนุสาวรีย์, ป้าย
และหลุมฝังศพทั่วสหรัฐ โดยเน้นไปที่ “คำจารึก” ตามอนุสาวรีย์และหลุมฝังศพเหล่านั้น
เพื่อบอกเล่าประวัติศาสตร์การนองเลือดในสหรัฐ ตั้งแต่การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอินเดียนแดงโดยคนผิวขาว,
การสังหารหมู่ทาสที่ลุกขึ้นต่อสู้เพื่อเรียกร้องความเป็นไท
และการสังหารหมู่คนงานจำนวนมากทั่วสหรัฐที่ลุกขึ้นเรียกร้องสิทธิคนงาน
ซึ่งรวมถึงแรงงานสตรี
เนื้อหาในส่วนนี้หนักมาก คือเราไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีการสังหารหมู่คนงานมากมายแบบนี้ในสหรัฐ
หรือแม้แต่การสังหารหมู่อินเดียนแดง กับการสังหารหมู่ทาส
เราก็แทบไม่เคยเห็นในหนังฮอลลีวู้ดเช่นกัน
เพราะหนังคาวบอยฮอลลีวู้ดก็มักเล่าเรื่องราวของพระเอกที่เป็นคนผิวขาว ไม่ได้เล่าเรื่องราวจากมุมมองของอินเดียนแดงที่ถูกฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
ส่วนหนังเกี่ยวกับทาสนั้น เราอาจจะได้ดูเยอะหน่อย แต่หนังเหล่านี้มันก็ไม่ได้เล่าเรื่องการลุกฮือของกลุ่มทาสที่จบลงด้วยการสังหารหมู่แบบที่เคยเกิดขึ้นจริงหลายครั้งในประวัติศาสตร์สหรัฐ
ส่วนเรื่องการสังหารหมู่คนงานสหรัฐนั้น
เหมือนเราแทบไม่เคยได้ดูเลยมั้ง มีที่ใกล้เคียงหน่อยก็แค่เรื่อง HOFFA (1992, Danny DeVito) เพราะฉะนั้น PROFIT MOTIVE AND THE WHISPERING WIND นี้ก็เลยช่วยเปิดหูเปิดตาให้เราได้รับรู้ถึงประวัติศาสตร์ที่ถูกลืมไปจริงๆ
หนังส่วนนี้ไม่ได้ใช้ voiceover เลยด้วย
มีการเล่าเรื่องโดยใช้ text ช่วยแค่นิดหน่อย โดยใช้ text
เพียงแค่ราว 5% ของส่วนนี้เท่านั้น ส่วนอีก 95%
ที่เหลือของส่วนนี้เป็นการเล่าเรื่องโดยให้ผู้ชมอ่านคำจารึกบนหลุมศพ
3.2 การถ่าย whispering wind ซึ่งก็คือการถ่ายลมรำเพยแผ่วพลิ้วสยิวใบหญ้าไปเรื่อยๆ
โดยตัดสลับกับฉากหลุมศพ ส่วนนี้งดงามสุดๆ มันช่วยสร้างความ balance ทางอารมณ์ให้กับหนังได้ดีมาก และมันทำให้เราแอบรู้สึกว่า
โลกมันโหดร้ายแบบนี้ เพราะมนุษย์มันกดขี่ข่มเหงกัน
ในขณะที่ธรรมชาติมันช่างเต็มไปด้วยความงดงาม มันเหมือนกับว่า “โลก” คือสรวงสวรรค์
แต่มนุษย์ทำให้ “โลกมนุษย์” กลายเป็นนรกที่เต็มไปด้วยการนองเลือด
ช่วงท้ายๆของหนังมีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นด้วย
โดยผู้กำกับจะถ่ายให้เห็น “กิ่งไม้ใบไม้ไหว” โดยมีฉากหลังเป็น “ป้ายบริษัทใหญ่”
3.3 มีส่วนที่เป็น animation แทรกเข้ามาเล็กน้อย
3.4 มีฉากการเดินขบวนประท้วงใส่เข้ามาในช่วงท้าย
4.สรุปว่าชอบทั้งเนื้อหาและวิธีการนำเสนอของหนังมาก
เนื้อหาของหนังน่าจะมาจากงานวิชาการด้านประวัติศาสตร์ที่พูดถึงการต่อสู้ของแรงงานในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา
และเราก็ชอบสุดๆที่หนังไม่จำเป็นต้องลงทุนจำลองฉากพีเรียดขึ้นมาเพื่อเล่าเรื่องราวเหล่านี้
แต่หนังสามารถเล่าเรื่องราวเหล่านี้โดยไปตามถ่ายป้ายหลุมศพของแรงงานจำนวนมากที่เคยถูกสังหารหมู่ทั่วสหรัฐแทน
มันเป็นวิธีการนำเสนอที่ทรงพลังมากๆ
เหมือนเราแทบไม่เคยดูหนังที่ใช้วิธีการแบบนี้มาก่อนด้วยนะ
ถ้าหากเป็นหนังเกี่ยวกับหลุมศพ เราก็เคยดูแค่ FOREVER (2006, Heddy Honigmann,
Netherlands, documentary) แต่ FOREVER ไม่ใช่หนังการเมือง
แต่เป็นหนังที่นำเสนอคนที่มาเยี่ยมสุสานดังในกรุงปารีส เหมือน FOREVER มันเน้นความอาลัยอาวรณ์ของคนเป็นที่มีต่อคนตาย ส่วน PROFIT MOTIVE
AND THE WHISPERING WIND มันเน้นที่วีรกรรมของคนตาย
ซึ่งสะท้อนประวัติศาสตร์การกดขี่แรงงานในช่วงหลายร้อยปีที่ผ่านมา
5.หนังเรื่องนี้มีพูดถึง Sacco and Vanzetti เป็นเวลาสั้นๆด้วย
มันก็เลยทำให้เราอยากดูหนังเรื่อง SACCO AND VANZETTI (1971, Giuliano
Montaldo, Italy) มากๆ เพราะ SACCO AND VANZETTI เคยเข้าชิงรางวัลปาล์มทองที่คานส์ด้วย
https://www.imdb.com/title/tt0067698/?ref_=nv_sr_srsg_0
6.ชอบคำจารึกบนหลุมศพของคนนึงมากๆ ที่เขียนว่า “I’m
sick and tired of being sick and tired.”
7.อยากให้มีคนทำหนังแบบ PROFIT MOTIVE AND THE
WHISPERING WIND ในไทยด้วยเหมือนกัน
หมายถึงหนังที่ไปถ่ายสถานที่ที่เคยมีการสังหารหมู่ตามจุดต่างๆทั่วประเทศไทย โดย project
หนังเรื่องนี้อาจตั้งชื่อเรื่องไว้คร่าวๆก่อนว่า “คนที่ตาย
ใต้ฟ้าเดียวกัน”
ดู PROFIT MOTIVE AND THE WHISPERING WIND ได้ที่
https://www.nga.gov/audio-video/film-programs-online/profit-motive-and-the-whispering-wind.html
No comments:
Post a Comment