Sunday, January 31, 2021

PLEASE (HER) (2020, Sugosin Akarapat, A+30)

 

PLEASE (HER) (2020, Sugosin Akarapat, A+30)

วอน (เธอ) (สุโกสินทร์ อัครพัฒน์)

 

เห็นด้วยกับสิ่งที่คุณ Ratchapoom Boonbunchachoke เขียนไว้มากๆ จบ 55555

https://www.facebook.com/ouiiouuio/posts/10164782209595220

 

SPOILERS ALERT

--

--

--

--

--

--

--

--

--

--

1.นึกถึง TIMECODE (2000) ของ Mike Figgis 55555 คือนึกถึงในแง่ที่ว่า เราชอบ concept ของ TIMECODE กับวอนเธอมาก ๆ คือคอนเซ็ปท์มันน่าประทับใจสุด ๆ แต่มันก็ต้องแลกด้วยความรู้สึกอินของเราที่มีต่อความเจ็บปวดลึกซึ้งของตัวละคร เพราะเราไม่ได้รู้สึกเจ็บปวดไปกับตัวละครมากเท่าที่ควร ถึงแม้หนังทำให้เราเข้าใจตัวละครอย่างมาก ๆ ก็ตาม

 

คือที่เรานึกถึง Mike Figgis เป็นเพราะว่า เขาเคยกำกับ LEAVING LAS VEGAS (1995) ที่ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดรันทดร้าวรานชอกช้ำใจไปกับตัวละครได้อย่างรุนแรงสุด ๆ น่ะ แต่พอเขามากำกับ TIMECODE ปรากฏว่า เราแทบไม่รู้สึกอะไรไปกับตัวละครเลย ถึงแม้เราจะประทับใจคอนเซปท์ของหนังมาก ๆ ก็ตาม

 

เรารู้สึกกับ วอนเธอคล้าย ๆ กัน คือเราว่าคอนเซปท์ของหนังมันเข้าทางเรามาก ๆ ในแง่นึง และจริง ๆ แล้วตัวละครทั้ง 4 ตัวก็เจ็บปวดร้าวรานมาก ๆ แต่พอหนังเลือกที่จะเน้นวิธีการเล่าเรื่องแบบนี้ มันก็เลยอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เราไม่ได้รู้สึกเจ็บปวดรุนแรงไปกับตัวละคร คือเราว่ามันคงได้อย่างเสียอย่างน่ะ เป็นเรื่องธรรมดา

 

2.ที่เราว่าคอนเซปท์ของหนังเข้าทางเรามาก ๆ เพราะเรารู้สึกมาโดยตลอดว่า หนังที่เข้าทางเราคือหนังที่ไม่ treat ตัวประกอบว่ามี function ตายตัวเพื่อรับใช้ตัวละครพระเอกนางเอกเพื่อจุดประสงค์บางอย่างน่ะ แต่หนังที่เข้าทางเราคือหนังที่ยอมรับว่าตัวประกอบทุกตัวเป็นมนุษย์ที่มีชีวิตของตัวเอง และตัวประกอบทุกตัวไม่ได้เกิดมาบนโลกนี้เพื่อรับใช้พระเอกนางเอก

 

เราก็เลยชอบวอนเธอในแง่นี้มาก ๆ เพราะหนังมันเปิดมาด้วยขนบหนังโรแมนติกทั่วไป มีพระเอกที่ดูน่ารักปานกลาง มีนางเอกสาวสวย มีผู้ชายที่ดูเหมือนตัวร้ายหรือนายอิจฉา และมีพระรองหรือเพื่อนพระเอก

 

แล้วหนังก็เปลี่ยนมาเล่าจากมุมมองของตัวละครที่ดูเหมือนผู้ร้าย โดย treat เขาแบบเดียวกับตัวละครพระเอก และหนังก็เปลี่ยนมาเล่าจากมุมมองของ “เพื่อนพระเอก” โดย treat เขาแบบเดียวกับตัวละครพระเอกเช่นกัน เราก็เลยชอบ concept หนังเรื่องนี้ในแง่นี้มาก ๆ เหมือนหนังมันให้ความเป็นธรรมกับตัวละครแต่ละตัว และยอมรับว่าทุกคนต่างก็เป็น main protagonist ในมุมมองของตัวเอง

 

3.อีกจุดที่ชอบมากๆ คือหนังสร้างตัวละครนางเอกที่เราคิดว่าเราอาจทำคล้าย ๆ เธอถ้าหากตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกับเธอ 55555

 

คือถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด นางเอกคง want บิว (ภีมพล พาณิชย์ธำรง) มาก ๆ เพราะบิวทั้งหล่อ นิสัยดี น่ากินน่าแดกที่สุด กูต้องเสย he ใส่เขาให้ได้ 5555 ส่วนเดี่ยว (พีรวิชญ์  อรรถชิตสถาพร)  นั้น เธอคงคิดกับเขาแค่เป็นเพื่อนที่ดีมาก ๆ คนนึงเท่านั้น แล้วเขาก็ไม่แสดงออกชัด ๆ ด้วยแหละว่าต้องการอะไรจากเธอ อย่างไรก็ดี พอเธอได้กินบิวแล้ว บิวกลับทำยึกยัก อะไรก็ไม่รู้ เธอก็เลยอกหักอย่างรุนแรง แล้วพอโอม (ศุภพงษ์ อุดมแก้วกาญจนา) เข้ามาในช่วงนั้นพอดี แล้วเขาแสดงออกอย่างชัดเจนว่าต้องการอะไรจากเธอ เธอก็เลยคบกับเขาไปก่อน

 

คือตรงนี้เรานึกถึงตัวเราเองมาก ๆ น่ะ 55555 เพราะเราก็เคยอกหักอย่างรุนแรงเหมือนกัน แล้วสิ่งที่เราทำในช่วงอกหัก ก็คือการไปมีอะไรกับฝรั่งแก่ๆ เหมือนเป็นการประชดชีวิต มันคือการคิดว่า “คนที่เรารัก เขาไม่รักเรา เรารู้สึกไร้ค่าเสียเหลือเกิน แต่เอ๊ะ เราไร้ค่าจริงๆเหรอ ในเมื่อก็มีคนอื่นๆ (ฝรั่งแก่ๆ) ที่อยาก fuck เราอยู่นี่นา เรายังมีคุณค่าน่า fuck ในสายตาของคนอื่น ๆ อยู่นี่”  พอเราเห็นนางเอกเตลิดไปกับโอมหลังอกหักจากบิว เราก็เลยนึกถึงประสบการณ์ชีวิตของตัวเองช่วงอกหักมาก ๆ  55555

 

แต่พอโอมทำตัวเจ้าชู้มากเกินไป แล้วมีปัญหาเรื่องอื่นๆตามมาอีก นางเอกก็เลยเริ่มเห็นคุณค่าของเดี่ยว แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าเธอรักเขา เธออาจจะเริ่มเห็นเขาเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในบรรดาผู้ชายสามคน แต่เธอไม่ได้มีทางเลือกแค่นั้น พอเธอมีทางเลือกอื่น ๆ อีกในชีวิต เธอก็ย่อมต้องเลือกทางเลือกที่น่าจะดีที่สุดสำหรับตัวเอง

 

เราก็เลยชอบหนังในส่วนนี้มาก ๆ เช่นกัน เพราะหนังมันสร้างตัวละครนางเอกที่เข้าทางเรามากพอสมควร

 

4.ชอบการสร้าง “ข้อเสีย” ให้ตัวละครพระเอกทั้ง 3 คนด้วย เหมือนทั้ง 3 คนมีข้อเสียที่แตกต่างกันไป อย่างเดี่ยวเราก็รู้สึกว่าปากหนักเกินไป ขี้อายเกินไป จริงๆเขาควรจะพูดกับโอมตั้งแต่แรกว่าเขาชอบเนเน่ แต่เขาก็ไม่กล้าพูด (อาจจะเพราะไม่อยากให้คนทั้งคณะรับรู้ ซึ่งเราก็เข้าใจ แต่มึงก็ต้องรับผลจากความขี้ขลาดของมึงด้วยนะ) ส่วนโอมก็ตรงไปตรงมาดี แต่เขาก็เจ้าชู้เกินไป ส่วนบิวนั้นก็ควรจะตรงไปตรงมากับเนเน่ให้มากกว่านี้ คือถ้ามึงตัดสินใจแล้วว่าจะไม่คบกับเนเน่ มึงก็ควรเคลียร์กับเนเน่ให้ชัด ๆ ไปเลย

 

5.นอกจาก “ข้อเสีย” ของตัวละครพระเอกทั้ง 3 คนแล้ว เราก็ชอบความน่าสนใจของตัวละครโอมกับบิวด้วย เราชอบที่หนังทำให้โอมดูเหมือนจะรักเนเน่มากๆ จริง ๆ คือถึงแม้เขาจะเจ้าชู้ แต่เขาก็ดู hurt จริง คือไม่ใช่ผู้ชายเจ้าชู้เสเพลที่ไร้หัวจิตหัวใจ

 

ส่วนบิวนั้นก็เป็นตัวละครที่น่าสนใจมาก ๆ เหมือนกับว่าจริงๆแล้วเราสามารถสร้างหนังใหม่ทั้งเรื่องโดยให้บิวเป็นตัวเอกได้เลย เพื่อ explore ปัญหาชีวิตของ bisexual 55555 คือแทนที่ bisexual จะมีความสุขกว่า homosexual เพราะ “ตัวเลือก” เยอะกว่า แต่การที่ตัวเลือกเยอะกว่า ก็อาจจะทำให้ปัญหาชีวิตเยอะกว่าได้ด้วยเหมือนกัน 55555

 

คือพอเห็นบิวแล้วนึกถึงหนังเรื่อง THE OBJECT OF MY AFFECTION (1998, Nicholas Hytner) โดยไม่ได้ตั้งใจด้วย  เพราะหนังเรื่องนั้นให้คำสอนที่ดีมาก ๆ ว่า You have to pick one person and make it work.คุณต้องตัดสินใจเลือกคนใดคนนึง จะจับปลาสองมือ โลเลไปมาไม่ได้ มันจะชิบหายกันทุกภาคส่วน แล้วมึงก็ไม่ต้องพยายามทำตัวเป็นคนดี พ่อสื่ออะไรด้วยนะ มึงตัดสินใจอะไรยังไงก็พูดกันให้เคลียร์ไปเลยจะดีที่สุด

 

No comments: