Monday, August 20, 2007

STRANGE POLITICAL FILMS

THIS IS MY COMMENT IN BIOSCOPE WEBBOARD
http://www.bioscopemagazine.com/smf/index.php?topic=492.30

--อ่านกระทู้นี้แล้วมีความสุขมากๆ เพราะดิฉันคิดว่าหนังแต่ละเรื่องสร้างขึ้นมาเพื่อผู้ชมกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกัน และก็เป็นเรื่องที่น่าดีใจมากๆที่ดูเหมือนหนังหลายๆเรื่องได้พบผู้ชมกลุ่มเป้าหมายของตัวเองในงานนี้ และดิฉันก็หวังว่าการที่พวกเราได้แสดงความเห็นต่อหนังในดวงใจของตัวเองแตกต่างกันไป จะเป็นแรงกระตุ้นให้มีการผลิตหนังไทยหลากหลายแนวต่อไป

ดิฉันดีใจที่ได้ดูหนังเรื่อง “หนาวเหนือ” (NORTH COLD) ในเทศกาลนี้ ดีใจที่ได้รู้ว่าคุณ TAXI_ANON ชอบ A VOYAGE OF FORETELLER, น้อง merveillesxx ชอบ SOMEWHERE-IN-TIME, คุณ grappa ชอบ “ทะลุล้าน”, น้อง NANOGUY ชอบ THE ZOMBIE CHICK, คุณ TKO ชอบ “ความลักลั่นของงานรื่นเริง”, คุณ YUTTIPUNG ชอบ “แข่งบั้งไฟ” กับ “ดนตรีสนาม” (ถ้าดิฉันเข้าใจไม่ผิด), คุณ x6jo ชอบ THE DAY BEFORE REVOLUTION ดิฉันอาจจะไม่ได้ชอบหนังบางเรื่องมากเท่ากับผู้ชมบางคน เพราะดิฉันอาจจะไม่ใช่ผู้ชมกลุ่มเป้าหมายของหนังเรื่องนั้น แต่ก็รู้สึกดีใจอย่างสุดๆที่หนังเรื่องนั้นได้ให้ความสุขมากๆกับผู้ชมคนอื่นๆ หรือได้พบผู้ชมกลุ่มเป้าหมายของตัวเองในงานนี้ สรุปว่าอ่านกระทู้นี้แล้วมีความสุขมากๆค่ะ


ตอบคุณ taxi__anon

ได้ดู THE REFLECTION REMAINS (A) แล้ว ก็ชอบพอสมควรค่ะ ความรู้สึกส่วนตัวของดิฉันที่มีต่อหนังเรื่องนี้ก็รวมถึง

1.ตอนแรกนึกว่าเป็นหนังการเมือง เพราะเหตุการณ์ในเรื่องเหมือนจะเกิดในวันรัฐธรรมนูญ (ใช่หรือเปล่า)

2.ดูแล้วนึกถึงตัวเองอยู่เหมือนกัน เพราะดิฉันเคยทำแบบพระเอกในเรื่องนี้ ดิฉันเคยไปกินข้าวกับคนที่ชอบคนนึงในร้านอาหารแห่งนึง แล้วพอคนที่ดิฉันชอบคนนั้นเดินทางจากไป ดิฉันก็กลับไปกินอาหารคนเดียวที่ร้านอาหารแห่งนั้นเพื่อรำลึกถึงความหลัง

3.โครงสร้างของเรื่องก็น่าสนใจดี ที่ตัดสลับเหตุการณ์สองปีเข้าด้วยกัน

4.ชอบ “สไตล์” การแสดงของพระเอก เพราะมันดูนิ่งๆดี ไม่แสดงอารมณ์ออกมามากเกินไป

5.สิ่งที่ชอบมากที่สุดในหนังเรื่องนี้ อาจจะเป็นอารมณ์ที่ดิฉันรู้สึกว่ามันออกมา “พอดีๆ” คือดิฉันรู้สึกว่าเนื้อเรื่องแบบนี้ ผู้กำกับคนอื่นๆอาจจะทำออกมาให้ดู “ซึ้งเกินเหตุ”, “เลี่ยนเกินเหตุ” หรือ “ฟูมฟายเกินเหตุ” ได้ แต่หนังเรื่องนี้ไม่มีอารมณ์แบบที่ว่าเลย


ตอบน้อง NANOGUY และคุณ GRAPPA

--รู้สึกดีที่ THE BANGKOK BOURGEOIS PARTY ทำให้แต่ละคนมีความคิดเห็นแตกต่างกันไป พี่อาจจะมีความเห็นต่อหนังเรื่องนี้แตกต่างจากน้องนิดนึงนะคะ แต่พี่ก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าพี่คิดถูกหรือเปล่า ตอนที่พี่ดู พี่ไม่ได้นึกนะว่าคุณเนมเขากลัวตาย ก็เลยไม่ช่วยผู้หญิงในเหตุการณ์สมมุติคนนั้น พี่นึกว่าที่เขาลังเลใจว่าจะช่วยดีหรือไม่ช่วยดี เพราะเขาเพิ่งพูดในทำนองที่ว่า ถ้าหากเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างชนชั้นสูงกับชนชั้นกลางในกรุงเทพที่ได้เปรียบในการเข้าถึงทรัพยากรมาโดยตลอด กับชนชั้นล่างในชนบทที่ถูกเอารัดเอาเปรียบมาโดยตลอด ถ้าให้เขาเลือกว่าจะให้ฝ่ายใดฝ่ายนึงชนะ เขาก็อยากให้คนชนบทเป็นฝ่ายชนะมากกว่า แล้วผู้หญิงในงานปาร์ตี้ก็เลยลองสมมุติสถานการณ์อีกแบบนึงขึ้นมา เพื่อถามคุณเนมดูว่า ถ้าเป็นสถานการณ์แบบที่ว่า เขาจะเข้าข้างชนชั้นกลางหรือชนชั้นล่าง แล้วที่คุณเนมตอบว่าเป็น MORAL DILEMMA ก็เพราะว่าเขาตัดสินใจไม่ได้ว่าเขาจะทำอย่างไรดีในสถานการณ์แบบนั้น

ความประทับใจของดิฉันที่มีต่อฉากนั้น ไม่ได้เกิดจากดิฉันคิดเองค่ะ แต่เป็นเพราะได้คุยกับคุณ FILMSICK และคุณ FILMSICK ก็ได้ตั้งข้อสังเกตที่ดีมากๆกับฉากนี้ ข้อความต่อไปนี้เป็นความเห็นของคุณ FILMSICK ผสมกับของดิฉันค่ะ

ดิฉันรู้สึกว่าฉากนี้สำคัญมากๆ เพราะมันแสดงให้เห็นข้อเสียที่ร้ายแรงที่สุดของคุณเนม และมันทำให้หนังเรื่องนี้น่าสนใจมากขึ้น เพราะคุณเนมไม่ได้เป็น “พระเอก” ที่เป็นฝ่ายถูกต้องตลอดทั้งเรื่อง แต่เป็นฝ่ายที่มีข้อบกพร่องร้ายแรงเหมือนกัน และนั่นก็คือ “การติดอยู่ในกรอบความคิดบางอย่างเสียเอง” และคุณ FILMSICK ก็ให้ข้อสรุปที่ดีมากๆกับเหตุการณ์สมมุตินั้น เพราะเหตุการณ์สมมุตินั้นมันไม่ใช่เรื่องระหว่าง “ชนชั้นกับชนชั้น” อีกต่อไป แต่มันเป็นเรื่องระหว่าง “มนุษย์กับมนุษย์” แต่คุณเนมติดอยู่ในกรอบความคิดบางอย่างมากเกินไป จนไม่สามารถตัดสินใจได้ แต่ถ้าหากเขามองเหตุการณ์นั้นด้วยการมอง “มนุษย์” ไม่ใช่การมองภายในกรอบของ “ชนชั้น” เขาก็น่าจะตัดสินใจได้ทันทีว่าเขาควรจะช่วยผู้หญิงคนนั้น


--ชอบการตั้งข้อสังเกตของคุณ GRAPPA มาก ตอนแรกดิฉันก็ไม่ทันคิดว่าผู้หญิงในเรื่องดูโง่ไปหน่อย แต่พอได้คุยกับคุณ GRAPPA ก็เลยถึงค่อยสังเกตเห็นจุดนี้

ข้อความข้างล่างนี้เขียนขึ้นมาเล่นๆ ฮาๆ หวังว่าคงไม่มีใครคิดจริงจังกับข้อความข้างล่างนี้นะคะ ดิฉันแค่เขียนล้อเล่นเท่านั้นค่ะ

การได้คุยกับคุณ GRAPPA ได้จุดประกายให้ดิฉันสร้างโลกจินตนาการของตัวเองขึ้นมา (ซึ่งเป็นสิ่งที่ดิฉันทำบ่อยๆ) และก็เลยจินตนาการว่า อยากให้คุณ GRAPPA ตอบโต้หนังเรื่อง “ความลักลั่นของงานรื่นเริง” ด้วยการเป็นโปรดิวเซอร์สร้างหนังเรื่องนี้ภาคสอง ชื่อเรื่องอาจจะประมาณว่า “ความลักลั่นของงานรื่นเริง EPISODE 2: THE EMPIRE STRIKES BACK” หรืออะไรทำนองนี้ โดยเนื้อเรื่องจะเป็นทำนองว่า ผีคุณเนมยังคงสิงอยู่ในคอนโดแห่งนั้น ก็เลยต้องมีการเชิญหมอผีหญิงสามคนมาปราบ ด้วยการพูดคุยปะทะคารมกับผีอย่างรุนแรง โดยคราวนี้หมอผีหญิงจะต้องฉลาดมากๆ โดยผู้ที่มารับบทหมอผีหญิงอาจจะเป็น

1.คุณสุภิญญา กลางณรงค์

2.คุณภัควดี วีระภาสพงษ์

3.คุณสฤณี อาชวานันทกุล

หรืออะไรทำนองนี้ โดยที่คราวนี้บทสนทนาในเรื่องอาจจะเน้นการด้นสด (improvisation) เป็นหลัก คิดว่าถ้าหากหนังภาคสองออกมาอย่างนี้ หนังต้องออกมามันส์มากแน่ๆ


--ดู THE BANGKOK BOURGEOIS PARTY รอบสองแล้วเพิ่งสังเกตว่า ตอนต้นเรื่อง จะมีฉากปฏิทินแว่บเข้ามาสองฉาก เหมือนจะบอกว่าเหตุการณ์สองเหตุการณ์ในเรื่องเกิดขึ้นในวันใดบ้าง แต่ดิฉันดูไม่ทันว่ามันเป็นวันอะไร ดูออกแค่ว่ามันเป็นเดือนอะไร ถ้าเข้าใจไม่ผิด ดิฉันเข้าใจว่าเหตุการณ์ฆาตกรรมอาจจะเกิดในเดือนเม.ย. ส่วนเหตุการณ์ผีหลอกเกิดขึ้นในเดือนพ.ค.

--ได้คุยกับเพื่อนคนนึงที่เพิ่งได้ดูหนังเรื่องนี้ รู้สึกดีใจมากๆที่เพื่อนคนนี้มีความเห็นตรงกับดิฉันโดยบังเอิญ โดยเขาบอกว่าดูหนังเรื่องนี้แล้วนึกถึงหนังไทยเรื่องนึง ซึ่งก็คือเรื่อง “วิธีคิด 1: ทหารลาวขอเปลี่ยนแนวคิดคนไทย” (2002, มานัสศักดิ์ ดอกไม้, 8 min, A+) (ถ้าดิฉันไม่ได้จำชื่อหนังของคุณมานัสศักดิ์สลับกันนะ) เพราะหนังเรื่องนี้ของคุณมานัสศักดิ์ก็เป็นหนังการเมืองเฮี้ยนๆเหมือนกัน หนังเรื่องนี้กับ “ความลักลั่นของงานรื่นเริง” ไมได้เป็นหนังที่คล้ายกันนะ แต่รู้สึกว่าระดับความเฮี้ยนมันพอๆกัน มันน่าจะไปด้วยกันได้

ลองกลับไปค้นข้อมูลของ “วิธีคิด 1: ทหารลาวขอเปลี่ยนแนวคิดคนไทย” ในสูจิบัตรเทศกาลหนังสั้นแล้วก็ตลกดี เพราะข้อมูลบอกว่าหนังเรื่องนี้อำนวยการสร้างโดย “บัวสีแดงจาง จาง” แบบว่าชื่อเก๋มากค่ะ


--ดู THE BANGKOK BOURGEOIS PARTY แล้วก็ทำให้เกิดแรงกระตุ้น อยากหาหนังเฮี้ยนๆมาดูมากยิ่งขึ้น โดยหนังที่ดิฉันเดาว่าน่าจะเฮี้ยนในระดับไม่แพ้ THE BANGKOK BOURGEOIS PARTY น่าจะรวมถึง

1.THE HIMMLER PROJECT (2000, Romuald Karmakar, Germany)\

หนังเรื่องนี้มีความยาว 3 ชั่วโมงเต็ม โดยในหนังเรื่องนี้ นักแสดงคนหนึ่งจะมาอ่านบทพูดปราศรัยของไฮน์ริช ฮิมเลอร์ ผู้นำเกสตาโปของเยอรมนีให้ผู้ชมฟัง โดยบทพูดนี้นำมาจากการกล่าวสุนทรพจน์ต่อบรรดาผู้นำนาซีในวันที่ 4 ต.ค.ปี 1943 ถ้าจำไม่ผิด จุดเด่นของหนังเรื่องนี้คือการเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้เข้าใจแนวคิดอันวิปริตของนาซี และสิ่งที่น่าสนใจในหนังไม่ได้มีเพียงแค่สิ่งที่คนๆนึงพูดเป็นเวลา 3 ชั่วโมงติดต่อกันเท่านั้น เพราะหนังเรื่องนี้ยังเต็มไปด้วยรายละเอียดเล็กๆน้อยๆ อย่างเช่นการที่นักแสดงในยุคปัจจุบันอ่านบทพูดนี้ผิดพลาดในบางคำ ก็เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้ชมนำไปคิดต่อได้อีกด้วย

http://www.imdb.com/title/tt0266624/plotsummary

Experimental feature, in which the actor Manfred Zapatka reads a three-hour-long famous speech by Gestapo leader Heinrich Himmler, held on the 4th of October 1943 in front of leading Nazi officers at the Golden Hall of Posen Castle; giving an impressive insight into the perversions of Nazi ideology.


2.WORKERS, PEASANTS (2001, Jean-Marie Straub + Daniele Huillet)

WORKERS, PEASANTS ให้นักแสดงสมัครเล่นกลุ่มนึงมายืนในป่าและอ่านบทพูดแบบ MONOLOGUES ติดต่อกันสองชั่วโมง โดยบทพูดนี้นำมาจากงานเขียนของ ELIO VITTORINI ซึ่งเป็นนักเขียนอิตาเลียนฝ่ายซ้ายที่มีชีวิตอยู่ระหว่างปี 1908-1966 และมีเนื้อหาเกี่ยวกับชาวอิตาเลียนกลุ่มหนึ่งที่ตัดสินใจสร้างสังคมใหม่ร่วมกันในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง โดยใช้หมู่บ้านร้างแห่งหนึ่งทางตอนเหนือของอิตาลีเป็นที่ตั้งของสังคมใหม่แห่งนี้

อย่างไรก็ดี หนังของ STRAUB + HUILLET ไม่ได้มีดีเพียงแค่บทพูดอันยืดยาว 2 ชั่วโมงเต็มเท่านั้น ดิฉันเดาว่าหนังของเขาคงมีอะไรอื่นๆน่าสนใจอีกมาก เพราะสองสามีภรรยาคู่นี้เคยพูดถึงหนังของตัวเองว่า
http://www.10bim.ch/02prog/bim/bim10/retrospectives.php?id=r02&lg=en

Straub and Huillet define their work this way: “The spoken text or words are no more important here than the very different rhythms and tempos of the actors and their accents… no more important than their particular voices, captured in the very moment, which struggle against the noise, the air, the space, the sun and the wind, no more important than the sighs they involuntarily heave, or the all the other of life’s little surprises recorded at the same time, like particular sounds that suddenly make sense; no more important than the effort actors make, the work they do and the risk they run, like tight-rope or sleep walkers, from one end to the other of long fragments from a difficult text; no more important than the frame, which the actors are enclosed in; than their movements or positions inside that frame, than the background against which they stand; than the changes and leaps of light and color; no more important in any case than the cuts, the changes of images and shots”

(the filmmakers’ foreword to Les yeux ne veulent pas en tout temps se fermer, 1969, an adaptation of Pierre Corneille’s Othon).


ดิฉันรู้สึกว่า JEAN-MARIE STRAUB + DANIELE HUILLET เป็นผู้กำกับที่น่าสนใจสุดๆ แต่ได้มีโอกาสดูหนังของเขาไปแค่เรื่องเดียวเท่านั้น

ได้อ่านบทสนทนาของ JEAN-MARIE STRAUB ในเว็บไซท์ ROUGE แล้วน่าสนใจดี โดยเขาพูดในทำนองที่ว่า “ปัญญาชน” เป็นหนึ่งในคนกลุ่มแรกที่ทำลายเยอรมนี
http://www.rouge.com.au/3/international.html

No comments: