This is my comment in Bioscope webboard:
http://www.bioscopemagazine.com/smf/index.php?topic=71.1650
อ่านที่คุณ pc เขียนเกี่ยวกับความลักลั่นในสังคมไทยแล้วเลยทำให้นึกถึงบทสัมภาษณ์ Tuksina Pipitkul ผู้กำกับภาพยนตร์/ศิลปินหญิงชาวไทยในนิตยสาร FINE ART ฉบับเดือนก.ค.ปีนี้ โดยผู้สัมภาษณ์คือ Andrews Little เจ้าของ Conference of Birds Gallery
อันนี้เป็นส่วนหนึ่งของบทสัมภาษณ์ค่ะ
I am very impressed with Tuksina Pipitkul’s interview in Fine Art Magazine, July 2008. The interviewer is Andrews Little, the owner of Conference of Birds Gallery.
Excerpt from the interview:
Tuksina Pipitkul (Haru): As a child, I was always told, “Thais are compassionate.” And “Thais are so helpful”. I frequently heard that “Thailand is Buddhism.” and all aspects of my environment stressed the importance of mercy toward sentient beings. This degree of mercy and compassion can be achieved in meditation.
Now I wonder if what I heard is true. My work seeks to directly challenge this Thai Buddhist moral framework. I have always seen one of my neighbors give food to monks each morning so that he can gain merit. I have also seen this same neighbor kill an old dog that was lying in front of his driveway. He just drove a car right over the animal. At another point I saw him poisoning baby dogs. Belief is complicated, and often contradictory, but there is a limit to how much I hope to interrogate it. I only know that we should respect other sentient things because all such things have only one life.
You can find more information about Tuksina Pipitkul’s work here:
http://www.conferenceofbirds.com/Haru.html
Fine Art Magazine’s website:
http://www.fineart-magazine.com/index.html
In my own opinion, I think Tuksina Pipitkul is one of the most interesting Thai female filmmakers this year. The other two are Arpapun Plungsirisoontorn (REPEATING DRAMATIC) and Fari Tesprateep (THE THING).
FAVORITE MUSIC VIDEO
SIX ARMS AND ONE LEG – Minilogue
http://www.youtube.com/watch?v=vm5iQcH2Wfw
FAVORITE SONG
SPACE INVADERS NEED A RESOLUTION REMIX – Leila VS Aaliyah
http://www.youtube.com/watch?v=yk-EjlW3EW0
อันนี้เป็นข้อความที่ดิฉันเขียนตอบคุณปราปต์ในบล็อกของตัวเอง ก็เลยถือโอกาสเอามาแปะในนี้ด้วย
http://celinejulie.blogspot.com/2008/08/i-film-my-village-2006-shao-yuzhen.html
--พูดถึงการผสมผสานระหว่างความเป็นเมืองใหญ่และชนบทแล้ว ก็เลยทำให้นึกถึงหนังเรื่อง “อาข่า ผู้น่ารัก” (2008, สุกัญญา วงศ์สถาปัตย์, A+) ที่เพิ่งได้ดูมา เพราะพบว่าหนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงมิวสิควิดีโอของชนกลุ่มน้อย ที่ดิฉันเดาว่าน่าจะเป็นชาวเขา ที่ได้ดูในงาน VIDEOTOP ของกลุ่ม THIRD CLASS CITIZEN ของเต๋อ นวพล+ merveillesxx + ชาครในเดือนพ.ค.ปีนี้ เพราะพบว่าหนังและมิวสิควิดีโอสองอันนี้มีลักษณะที่น่านำมาเปรียบเทียบกัน และสองสิ่งนี้อาจจะทำให้นึกถึงความแตกต่างกันระหว่าง “ภาพของชาวเขาที่คนภายนอกต้องการนำเสนอ” กับ “ภาพของชาวเขาที่ชาวเขาต้องการนำเสนอ”
1.ในหนังเรื่อง “อาข่า ผู้น่ารัก” มีฉากที่อาสาสมัครของกลุ่มกระจกเงา ทำรายการโทรทัศน์ด้วยการบันทึกภาพชาวบ้านขณะทำการเกษตร (หรือทำพิธีกรรมทางการเกษตรอะไรสักอย่าง) พร้อมกับร้องเพลงพื้นบ้านในภาษาชาวเขาไปด้วย
2.ในมิวสิควิดีโอ (ที่ดิฉันไม่รู้ชื่อเพลงแน่นอน) ในงาน VIDEOTOP นั้น มีฉากที่คล้ายๆกัน นั่นก็คือเป็นฉากชาวบ้านทำการเกษตรหรือพิธีกรรมทางการเกษตร พร้อมกับที่เราจะได้ยินเสียงเพลงภาษาชาวเขาไปด้วย แต่เพลงที่เราได้ยินนั้นกลับเป็นเพลงจังหวะแร็พ ฮิปฮอป โย่ โย่ ในภาษาชาวเขา และก็มีชาวเขาที่แต่งตัวเป็นเด็กแร็พมาร้องเพลงนี้ โดยมีการตัดสลับภาพประเพณีต่างๆของชาวเขาเข้ามาเป็นระยะๆ
ถ้าจำไม่ผิด ชื่อเพลงนี้จะสะกดคล้ายๆ O tsui yeh o ส่วนศิลปินใช้ชื่อว่า Moses
--รู้สึกประทับใจองค์ประกอบบางส่วนในหนังสั้นหลายๆเรื่องตรงความเป็น “บ้านๆ” ของมัน ดิฉันเองก็ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าคำจำกัดความที่แท้จริงของคำว่า “บ้านๆ” คืออะไร แต่ในที่นี้ดิฉันไม่ได้หมายความถึงความเป็นบ้านนอก เพราะหนังที่ดิฉันรู้สึกว่ามันมีเสน่ห์แบบ “บ้านๆ” บางเรื่องในที่นี้อาจจะหมายรวมไปถึงหนังที่มีเนื้อหาเกิดขึ้นในกรุงเทพ หรือกำกับโดยผู้กำกับชาวกรุงเทพด้วย
หนังสั้นที่มีเสน่ห์แบบบ้านๆที่ชอบมาก
1.เก็บไว้กับเธอ (2007, มัลลิกา มิตรธงไชย)
ไม่แน่ใจว่าเนื้อหาของหนังเรื่องนี้เกิดขึ้นในกรุงเทพ หรือย่านชานเมือง หรือในจังหวัดอะไร แต่องค์ประกอบหลายอย่างในหนังมันดูบ้านๆได้อย่างน่ารักมากๆ
2.คืนเปลี่ยวในซอยตรวจ (2008, วีระศักดิ์ สุยะลา)
3.เพื่อน-รัก-ความทรงจำ (2008, ขจรศักดิ์ จันทร์คำ)
หนังเกย์
4.ลิง ไก่ ขาบ แพะ แบะ แบะ (2008, เอกวิทย์ ทมราตรี)
5.เออ...เองเก่ง (2008, ภูมิพัฒน์ อารยะธนิตกุล)
อันนี้เป็นสารคดีเกี่ยวกับจังหวัดสมุทร...อะไรสักอย่าง หนังเป็นสารคดีที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา แต่ดูน่ารักและไม่น่าเบื่อเลย
6.วังยื่นหาบ (2008, สมพงษ์ โสดา)
ผู้กำกับคนนี้เคยกำกับหนังสั้นเรื่อง “THE MISSION” และในสูจิบัตรเทศกาลหนังสั้นปีที่แล้วบอกว่าผู้กำกับคนนี้อาศัยอยู่ในกรุงเทพ แต่หนังเรื่อง “วังยื่นหาบ” ถ่ายทอดการไปเที่ยวป่าในชนบทได้ออกมาดู “บ้านๆ” มาก
7.เพื่อนรัก...(แอบ)รักเพื่อน (2007, ระชานนท์ ทวีผล)
หนังเกย์เด็กมัธยม
8.สาวน้อย คาถา แอ๊บแบ๊ว (2008, ยุทธนา เสนีวงศ์)
9.ไม้วิเศษ (2007, วรวุฒิ หลักชัย)
10.จตุคาม-จตุคำ (2007, รมย์รวินท์ ชุ่มจีน)
แต่ก็ไม่ใช่ว่าดิฉันจะชอบหนังสั้นแบบบ้านๆไปซะทุกเรื่อง เพราะบางเรื่องก็ดูไม่ค่อยสนุก และบางเรื่องก็เชิดชูการทำความดีหรือคุณธรรมในแบบที่ดิฉันไม่รู้สึกอินด้วยเท่าไหร่นัก แต่ 10 เรื่องที่ยกมาข้างต้นเป็นหนังที่ชอบมากตรงเสน่ห์ความเป็นบ้านๆของมัน หนังบางเรื่องในกลุ่มนี้อาจจะมีความไม่ลงตัวในบางจุด แต่ดิฉันก็มองว่ามันก็เหมือนกับมนุษย์นั่นแหละ ที่ทุกคนต่างก็มีทั้ง “ข้อบกพร่อง” และมี “เสน่ห์” หรือ “ข้อดี” ในแบบของตัวเอง เพราะฉะนั้นความไม่ลงตัวของหนังบางเรื่องในกลุ่มนี้จึงเป็นสิ่งที่ดิฉันสามารถมองข้ามมันไปได้อย่างง่ายดาย
--ที่ประเทศอื่นๆก็คงจะมีผู้กำกับหนังแบบบ้านๆอยู่เหมือนกัน หนึ่งในผู้กำกับกลุ่มนี้ก็คือ Moncef Kahloucha ใน Tunisia ที่เป็นชาวบ้านที่ชอบกำกับหนังเองและเล่นเอง และชีวิตของเขาก็เพิ่งได้รับการถ่ายทอดลงในสารคดีเรื่อง VHS – KAHLOUCHA (2006, Nejib Belkhadi) โดยหนังสารคดีเรื่องนี้ติดตามถ่ายทำ Moncef ขณะเขากำลังสร้างหนังเรื่อง TARZAN OF THE ARABS
เว็บไซท์ของหนังเรื่องนี้
http://www.kahloucha.com/
--ได้ยินชื่อ TARZAN OF THE ARABS แล้ว ก็เลยทำให้นึกถึงหนังที่อยากดูมากๆเรื่องหนึ่ง ซึ่งก็คือเรื่อง TURKISH SUPERMAN (1979, Kunt Tulgar)
ดูคลิปตัวอย่างของหนังเรื่องนี้ได้ที่
http://www.youtube.com/watch?v=p9oI7Fd3Uec
ชอบคลิปนี้มากในระดับ A+++++
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
1 comment:
คุณ alone again เขียนถึง TURKISH SUPERMAN ไว้ใน blog ของเขาด้วย เข้าไปอ่านได้ที่
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=aloneagain&month=08-2008&date=25&group=14&gblog=4
Post a Comment