สิ่งที่ชอบมากใน THE THIRD EYE
1.การเลือก subject ของหนัง
ที่เป็นเรื่องของคนด้อยสิทธิ์ยกกำลังสอง คือการเป็นคนแหลมฉบังที่ถูกรุกรานพื้นที่ทำประมงก็เป็นเรื่องที่สาหัสสากรรจ์มากพออยู่แล้ว
แต่หนังสารคดีเรื่องนี้โฟกัสไปที่ชาวประมงตาบอดที่มักไม่ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประท้วง
มันจึงเป็นการเจาะไปยังคนที่ด้อยสิทธิ์ยิ่งกว่าคนด้อยสิทธิ์ด้วยกันเองอีก
วิธีการนี้ทำให้นึกถึงหนังเรื่องนึงเมื่อปีที่แล้ว
ไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่อง “เข็มขัดกับหวี” ของสุทิตย์ ซาจ๊ะหรือเปล่า
ที่ตัวเอกเป็นชาวลาหู่ไร้สัญชาติ
คือในหนังเรื่องนั้นเราจะเห็นว่าตัวประกอบที่เป็นชาวลาหู่นั้นด้อยสิทธิ์อยู่แล้ว
แต่ชาวลาหู่กลุ่มนี้ก็ยังมีสัญชาติไทย และยังพอมีสิทธิได้รับความช่วยเหลืออยู่บ้าง
แต่ตัวละครเอกของเรื่องนี่เป็นชาวลาหู่ไร้สัญชาติ หรือที่ฟิล์มซิคเรียกว่า
“คนชายขอบของชายขอบ” ซึ่งเป็นคนที่สมควรได้รับความสนใจอย่างมากๆ
2.หนังมีการถ่ายทอดวิถีชีวิตชาวบ้านด้วย
และไม่ได้ทำท่าทีเป็นเพียงหนังต่อต้านโครงการท่าเรือแหลมฉบังเพียงอย่างเดียว
หนังจึงมีมิติที่ลึกกว่าและเป็นมนุษย์มากกว่าหนังต่อต้านโครงการท่าเรือ,หนังต่อต้านเขื่อนเรื่องอื่นๆ จุดนี้ทำให้นึกถึง RASESALAI ของณรงค์
ศรีโสภาพ และฟ้าต่ำแผ่นดินสูงของนนทวัฒน์ นำเบญจพลด้วย
คือหนังสามเรื่องนี้มันมีประเด็นการเมือง แต่มันก็มีความเป็นมนุษย์สูงมากๆด้วย
ดูหนังเรื่อง THE THIRD EYE แล้วเราว่ามันดีพอๆกับหนังสารคดีหลายเรื่องที่เราดูทางทีวีช่อง TV5MONDE มันมีหนังสารคดีหลายเรื่องที่นำเสนอชีวิตอันยากลำบากของชาวประมงในสเปน, ในอังกฤษ, ในทะเลสาบของชาด, ในทะเลสาบแคสเปียนของอิหร่าน
ซึ่งชีวิตชาวประมงพวกนี้ชิบหายไม่แพ้กัน เพราะปัญหาโลกร้อน, สิ่งแวดล้อม, นโยบายรัฐบาล etc. แต่สิ่งที่เราชอบมากในหนังสารคดีพวกนี้คือคนทำเขานำเสนอ
“วิถีชีวิต” ของ subject ออกมาได้ดีมากๆน่ะ
มันทำให้ subject ดูเป็นมนุษย์มากๆ
และส่งผลให้หนังสารคดีพวกนี้มันไม่ได้เป็นเพียง “การส่ง message”, “การให้ information” หรือ “การกระตุ้น awareness” เพียงอย่างเดียว
แต่มันมีความเป็นมนุษย์สูงด้วย
3.หนังไม่ได้ฟูมฟายกับ subject ของเรื่อง
ทั้งความพิการของตัวละคร หรือความทุกข์ของชาวบ้าน
เราว่าหนังนำเสนอปัญหาของประชาชนได้ดี
โดยไม่พยายามบีบคั้นให้คนดูสงสารพวกเขาด้วยเครื่องเร้าอารมณ์ที่ไม่จำเป็น
4.ฉากกล้องลงน้ำแล้วผุดขึ้นผุดลงตอน subject ของเรื่องลงไปซ่อมเรือ
ถือเป็นหนึ่งในฉากที่เราชอบที่สุดประจำปีนี้
เราแทบไม่เคยเห็นหนังเรื่องไหนทำแบบนี้มาก่อน
No comments:
Post a Comment