Monday, July 20, 2015

THE SPIRIT OF THE AGE (Wichanon Somumjarn, documentary, A+30)

อันนี้เป็นลิงค์ไปยังคลิป video comment ประจำวันพุธที่ 15 ก.ค.จ้ะ


ในคลิปนี้เราพูดถึงหนังเรื่อง THE SPIRIT OF THE AGE (Wichanon Somumjarn, documentary, A+30) กับ THE YEAR OF THESIS (Supachai Choatchuangsup, documentary, A+25) เราชอบที่ THE SPIRIT OF THE AGE พูดถึงคนที่เกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหวทางการเมืองช่วง 14 ต.ค. 2516-6 ต.ค. 2519 แต่เป็นคนที่เราไม่รู้จักมาก่อน และหนังพูดถึงขบวนการนวพลกับสิ่งที่เกิดขึ้นในชนบทช่วง 6 ต.ค. 2519 ด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมากๆ ฉากที่ hurt ที่สุดในหนังคือฉากที่ subject ของเรื่องเล่าถึงการเดินไปเรื่อยๆ เดินไปเรื่อยๆ จนกว่าจะออกจากประเทศไทยได้ ส่วน THE YEAR OF THESIS เราชอบมากๆที่มันเป็นเหมือน video diary บันทึกชีวิตนิสิตกลุ่มหนึ่งที่ปวดหัววุ่นวายกับการทำ thesis ในปี 2014 ซึ่งเป็นปีที่เกิดรัฐประหาร แต่หนังไม่ได้แตะประเด็นการเมืองเลย นอกจากเรื่องของนิสิตคนนึงที่อาจจะทำ thesis อะไรสักอย่างเกี่ยวกับพรรคคอมมิวนิสต์ คือเราชอบที่ในงานมาราธอนมีหนังทั้งสองแบบนี้ฉาย หนังที่พูดถึง “คนที่เกี่ยวข้องกับความเคลื่อนไหวทางการเมือง แต่ไม่ได้ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์” และหนังที่พูดถึง “ประวัติชีวิตส่วนตัวของคนธรรมดาๆที่อาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเมือง”  และประเด็นนี้ก็เลยทำให้เรานึกถึงสิ่งที่นักวิจารณ์เขียนถึงหนังเรื่อง NATHALIE GRANGER (1972, Marguerite Duras) ในแง่ที่ว่า การที่หนังให้ความสำคัญกับฉากตัวละครกวาดถูโต๊ะเป็นเวลา 10 นาที มันสอดคล้องกับสิ่งที่ดูราส์เคยพูด (ถ้าเราจำไม่ผิด) ในแง่ที่ว่า ทำไมหนังทั่วไปชอบนำเสนอแต่ฉากผู้ชายออกไปเดินขบวนตามท้องถนนเพื่อเรียกร้องความเปลี่ยนแปลงทางสังคม แต่ไม่นำเสนอภาพภรรยาของผู้ชายเหล่านั้นขณะทำความสะอาดบ้าน, ทำกับข้าว, เลี้ยงลูก เพื่อสนับสนุนผู้ชายที่เป็นนักปฏิวัติหรือคอมมิวนิสต์เหล่านั้น ทั้งๆที่สิ่งที่ภรรยาเหล่านั้นทำ ก็มีความสำคัญต่อการปฏิวัติเช่นกัน แต่ “งานกวาดบ้าน” ที่ภรรยาทำกลับไม่ถูกนำเสนอออกมาในสื่อภาพยนตร์ โดยเฉพาะภาพยนตร์เกี่ยวกับการปฏิวัติ คือสิ่งที่ดูราส์พูดมันทำให้เรานึกถึงหนังสองเรื่องนี้ในแง่ที่ว่า หนังสองเรื่องนี้มันนำเสนอ “งาน” ที่ไม่ค่อยปรากฏในสื่อภาพยนตร์กระแสหลักทั้งสองเรื่องน่ะ ทั้งเรื่องของนักเคลื่อนไหวทางสังคมในชนบทในช่วง 6 ต.ค. 2519 และชีวิตของคนธรรมดาที่ต้องดิ้นรนต่อไปเรื่อยๆในช่วงปี 2014 ซึ่งเราอยากจะเรียกว่า THE YEAR OF THAI CRISIS นอกจากนี้ หนังสองเรื่องนี้ยังทำให้เรานึกถึงละครเวทีเรื่อง TYPHOON THE REMAINS (2013, Teerawat Mulvilai, A+30) ด้วย เพราะในละครเวทีเรื่องนี้ มีฉากนึงที่ ตัวละครหลายคนออกมาพูดว่า ในวันที่ 14 ต.ค. 2516 หรือ 6 ต.ค. 2519 พ่อแม่ของใครทำอะไรที่ไหนบ้าง แม่ของบางคนอาจจะอยู่ในอีสาน ใช้ชีวิตประจำวันไปตามปกติ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเมืองเลย ในขณะที่พ่อของบางคนอยู่ในกลุ่มกระทิงแดง ที่มีส่วนในการสังหารหมู่นักศึกษาธรรมศาสตร์ เราว่ามันน่าสนใจดีที่ละครเวทีเรื่อง TYPHOON THE REMAINS ให้ความสำคัญกับ “ประวัติศาสตร์ของบุคคลธรรมดา”  และการฉายหนังเรื่อง THE SPIRIT OF THE AGE กับ THE YEAR OF THESIS ในวันเดียวกัน ก็เลยทำให้เรานึกถึงละครเวทีเรื่องนี้ขึ้นมาด้วย

No comments: