JANE (2017, Brett Morgen, USA, documentary,
A+30)
HAIRAT (2017, Jessica Beshir, Ethiopia/USA,
7min, A+30)
MIA AND THE WHITE LION (2018,
Gilles de Maistre, France/South Africa, A+20)
ดูหนังเรื่อง HAIRAT ได้ที่นี่
ช่วงนี้อยู่ดีๆก็ได้ดูหนังเกี่ยวกับ
“ความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างมนุษย์กับสัตว์ป่า” 3 เรื่องในเวลาไล่เลี่ยกัน
ก็เลยเขียนรวบยอดไปเลย โดย JANE เป็นหนังสารคดีเกี่ยวกับมนุษย์กับลิงชิมแปนซี,
HAIRAT เป็นหนังเชิงกวีเกี่ยวกับมนุษย์กับไฮยีน่า ส่วน MIA
AND THE WHITE LION เป็นหนัง fiction เกี่ยวกับเด็กสาวกับสิงโต
1.ชอบ JANE มากที่สุดใน 3
เรื่องนี้ เราทึ่งกับเรื่องราวใน JANE มากๆ รู้สึกว่า subject
เป็นคนที่กล้าบ้าบิ่นแบบเดียวกับตัวละครใน KON-TIKI (2012,
Joachim Ronning, Espen Sandberg, Norway) และ GORILLAS IN
THE MIST (1988, Michael Apted)
ชอบการเรียนรู้ของ Jane Goodall ในระหว่างการทำงานด้วย
ทั้งเรื่องวิธีการผูกมิตรกับลิง, การจัดการกับลิงหัวขโมย,
การรักษาความปลอดภัยให้ลูก, การระบาดของโรคโปลิโอ
และเรื่องที่หนักที่สุดคือเรื่องที่ลิงชิมแปนซีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันเองโดยแทบไม่มีเหตุผล
ซึ่งมันเป็นอะไรที่ทำให้ทั้ง Jane และเราต่างก็ช็อคไปตามๆกัน
คือ Jane คงพึ่งผ่านสงครามโลกครั้งที่สองมา และอาจจะคิดว่าคงมีแต่มนุษย์ที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันได้แบบนั้น
(เราก็คิดแบบเดียวกัน) แต่พอมาเจอลิงชิมแปนซีฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันเองนี่
มันเป็นอะไรที่ทำให้เรามอง “ธรรมชาติ” แตกต่างไปจากเดิมมากๆ
2.HAIRAT เป็นหนังเชิงกวีเกี่ยวกับผู้ชายที่ผูกพันกับหมาไฮยีน่ามานาน
30 กว่าปี แต่แทนที่หนังเรื่องนี้จะเล่าเรื่องแบบตรงไปตรงมาแบบ documentary
เหมือน JANE หรือแบบ fiction เหมือน MIA AND THE WHITE LION หนังเรื่องนี้กลับเลือกที่จะไม่เล่าเรื่อง
แต่แค่จับ moments ระหว่าง subject
กับไฮยีน่าขณะอยู่ด้วยกัน ใส่บทกวีเข้าไปในหนัง และพยายามเน้นบรรยากาศของหนัง
คือถ้าเราดูหนังเรื่องนี้พร้อมกับหนังทดลองเรื่องอื่นๆ
หนังเรื่องนี้อาจจะไม่โดดเด่นมากนัก แต่พอมาดูหนังเรื่องนี้ในเวลาไล่เลี่ยกับการดู
JANE และ MIA เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้มากๆ เพราะมันแสดงให้เห็นว่า
เรื่องราวประเภทเดียวกัน มันสามารถนำเสนอออกมาใน form หรือ style
ที่แตกต่างกันได้ เราไม่จำเป็นต้องนำเสนอเรื่องราวแบบนี้ด้วยการเล่าเรื่องแบบตรงไปตรงมาก็ได้
และเราสามารถเพิ่ม layer อะไรอื่นๆซ้อนทับเข้าไปในหนังแบบนี้ได้ด้วย
3.MIA AND THE WHITE LION นี่เป็นหนังที่ทำให้เราทึ่งในแบบเดียวกับ PIHU (2018, Kapri Vinod,
India, A+30) คือทึ่งในแง่ที่ว่า มันถ่ายทำกันได้ยังไง คือ PIHU
เป็นหนังที่ถ่ายเด็กตัวเล็กๆขณะเผชิญกับอันตรายต่างๆนานาจากข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้าน
ส่วน MIA AND THE WHITE LION นี่ก็ให้เด็กๆคลุกคลีกับสิงโตตลอดเวลา
และเราเดาว่ามันคงไม่ใช้ special effects สร้างภาพสิงโตขึ้นมาหรอกนะ
มันคงใช้สิงโตจริงๆในการถ่ายทำน่ะแหละ และเราก็เลยทึ่งมากๆว่า มันถ่ายทำกันได้ยังไง
คือถ้าให้เงินเราหลายล้านบาทในการแสดงหนังเรื่องนี้
เราก็คงต้องขอคิดหนักก่อนรับแสดงอยู่ดี กลัวว่าไม่ใช่แสดงอยู่ดีๆอีสิงโตเกิดตะปบหน้าเราขึ้นมา
แล้วเราจะตบอีสิงโตกลับไปยังไง
จริงๆแล้วชอบทั้ง setting และการถ่ายทำใน
MIA นะ เราว่า setting มันแปลกตาดีที่เป็นฟาร์มเพาะเลี้ยงสิงโต
เราไม่เคยรู้มาก่อนว่ามีอะไรแบบนี้อยู่บนโลกนี้ด้วย คือบ้ามาก
ไปสร้างบ้านอยู่ในฟาร์มที่มีสิงโตเป็น 10-20 ตัววนเวียนอยู่รอบบ้าน
คือมึงอยู่กันเข้าไปได้ยังไง ส่วนการถ่ายทำก็น่าสนใจดี
เพราะกล้องมันดูลื่นไหลมากๆ
แต่เรารู้สึกว่า MIA AND THE WHITE LION มันมีการ romanticize สัตว์ป่ามากเกินไปยังไงไม่รู้
คือถ้ามองหนังเรื่องนี้ด้วยสายตาของคดียิงเสือดำในไทย
หนังเรื่องนี้ก็มีจุดยืนที่ถูกต้องมาก แต่เรารู้สึกว่าคนบางคนมัน romanticize
สัตว์มากเกินไปน่ะ และหนังเรื่องนี้ก็อาจจะดูเหมือนเข้าข่ายนั้นอยู่บ้าง
ซึ่งต่างจาก JANE, HAIRAT และ GRIZZLY MAN (2005,
Werner Herzog) ที่ subjects ของหนังมีความหลงใหลในสัตว์ป่าอย่างรุนแรงก็จริง
แต่ตัวหนังมันไม่ได้ปฏิเสธความโหดร้ายของสัตว์ป่าแต่อย่างใด
No comments:
Post a Comment