Saturday, February 17, 2024

HANDSOME JAPANESE ACTORS

 ฉันรักเขา Masataka Kubota from A MAN (2022, Kei Ishikawa, Japan, A+30)


ฉันรักเขา Shuhei Nomura from SILENT LOVE (2024, Eiji Uchida, Japan, A-), ALIVEHOON (2022, Ten Shimoyama), CHIHARAFUYU 3 ภาค (2016, Norihiro Koizumi), SAKURADA RESET 2  ภาค (2017,Yoshihiro Fukugawa)

ฉันรักเขา Kanata Hosoda from THE LINES THAT DEFINE ME (2022, Norihiro Koizumi, Japan, A+25), ONE SUMMER STORY (2020, Shuichi Okita, A+30)

ฉันรักเขา Ryusei Yokohama from THE LINES THAT DEFINE ME (2022, Norihiro Koizumi, Japan, A+25), WANDERING (2022, Lee Sang-il, A+30), YOUR EYES TELL (2020, Takahiro Miki, A+15), KISEKI: SOBITO OF THAT DAY (2017, Atsushi Kaneshige, A+30)

ฉันรักเขา Taketo Tanaka from A MOTHER'S TOUCH (2022, Junpei Matsumoto, Japan, A+30) และ TRUE MOTHERS (2020, Naomi Kawase, Japan, A+30)

รัก UNTIL THE END OF THE WORLD อย่างรุนแรงที่สุด

อ่านโพสท์นี้แล้ว ก็นึกถึงตอนที่เราไปดู FALLEN ANGELS (1995, Wong Kar-wai) ที่เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า และ World Trade Center (Central World) แล้วก็ได้ยินคนพูดในทำนองที่ว่า "หนังแม่งโคตรห่วย" และตอนที่เราไปดู CHUNGKING EXPRESS (1994, Wong Kar-wai) ที่โรงหนังในห้างตั้งฮั่วเส็ง ธนบุรี แล้วก็ได้ยินคนดูพูดในทำนองที่ว่า "หนังแม่งโคตรห่วย" เช่นกัน 555

ฉันรักเขา Carlos Chan from THE GOLDFINGER (2023, Felix Chong, Hong Kong/China, A+30)

---
ถึงดิฉันจะไม่มีเทป Lou Reed เหมือนคุณฮิรายามะใน PERFECT DAYS (2023, Wim Wenders) แต่ดิฉันก็มี cassette tape ของ Laurie Anderson ซึ่งเป็นภรรยาของ Lou Reed นะ 555555 แต่เสียดายที่เรามี cassette tape ของ Laurie Anderson แค่อัลบั้มเดียว ซึ่งก็คืออัลบั้ม BRIGHT RED (1994) ส่วนอัลบั้มอื่น ๆ ของ Laurie Anderson เรามีในรูปแบบซีดี ก็เลยไม่เอามาโชว์ ต้องโชว์แต่ในรูปแบบ cassette tape เท่านั้น เดี๋ยวไม่เข้ากับหนัง PERFECT DAYS 5555

เราเข้าใจว่า Laurie Anderson เป็นแฟนกับ Lou Reed นานราว 21 ปีนะ คือในปี 1992-2013 แต่ทั้งสองเพิ่งแต่งงานกันอย่างเป็นทางการในปี 2008

เราชอบอัลบั้มชุด BRIGHT RED อย่างสุดขีดมาก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ เพลงที่ชอบมากในอัลบั้มนี้ก็รวมถึงเพลง BRIGHT RED, LOVE AMONG THE SAILORS, POISON และ SPEAK MY LANGUAGE ที่ถูกนำมาใช้ประกอบหนังเรื่อง FALLEN ANGELS (1995, Wong Kar-wai)

Lou Reed มาร่วมร้องและเล่นกีตาร์ให้เพลง IN OUR SLEEP ในอัลบัมชุด BRIGHT RED ด้วย
---
ลองนับดูพบว่า วันนี้ที่ Major Ratchayothin มีหนังฉายถึง 15 เรื่อง ถือเป็นสิ่งที่ดี ไม่มีหนังใหญ่เรื่องไหนมากวาดโรงไปหมดเหมือนแต่ก่อน 555

แต่ในบรรดา 15 เรื่องนี้ มีหนังที่เรายังไม่ได้ดูถึง 10 เรื่อง ซึ่งเราก็คงดูไม่ทันแน่นอน เพราะช่วงสุดสัปดาห์นี้เราต้องอุทิศเวลาให้กับ Japanese Film Festival + CCCL Film

เนื่องจากเราไม่ได้ดู MOVING (1993, Shinji Somai, A+30) มานานราว 20 ปีแล้ว แต่เพื่อน ๆ หลายคนเพิ่งได้ดูไป เราก็เลยอยากถามหน่อยว่า ฉากต้นเรื่องกับฉากจบของ MOVING มันคล้ายกับหนังเยอรมันตะวันตกเรื่อง THE ALL-ROUND REDUCED PERSONALITY: REDUPERS (1977, Helke Sander, West Germany, A+30) ใช่ไหมคะ

คือฉากเปิดของหนังเรื่อง THE ALL-ROUND REDUCED PERSONALITY: REDUPERS เป็นฉากที่ถ่ายแบบ lateral tracking shot เห็นตัวละครเดินหรือวิ่งไปตามท้องถนนในกรุงเบอร์ลินฝั่งตะวันตก ส่วนฉากจบของ THE ALL-ROUND REDUCED PERSONALITY: REDUPERS เป็นฉากที่เราเห็นตัวละคร “เดินจากด้านหลังของฉาก มายังด้านหน้าของฉาก” ซึ่งเป็นฉากที่แสดงให้เห็น “ความลึกของฉากนั้น” ซึ่งมันจะเป็นวิธีการถ่ายที่ตรงข้ามกับฉากเปิด เพราะฉากเปิดเป็นการถ่ายแบบ lateral tracking shot ที่ตัวละครเดินหรือวิ่งไปตามท้องถนน

เหมือนเราจะจำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า MOVING ก็ใช้ความ contrast กันอย่างรุนแรงระหว่าง “วิธีการถ่ายฉากเปิด กับฉากปิดของหนัง” ในแบบที่คล้าย ๆ กับ THE ALL-ROUND REDUCED PERSONALITY: REDUPERS แต่เราไม่แน่ใจว่าเราจำถูกหรือเปล่า ก็เลยอยากถามเพื่อน ๆ ที่เพิ่งได้ดู MOVING ว่าเราจำถูกหรือไม่ค่ะ

อยากถามเพื่อน ๆ ด้วยว่า นอกจาก THE ALL-ROUND REDUCED PERSONALITY: REDUPERS กับ MOVING แล้ว มีหนังเรื่องไหนอีกหรือเปล่า ที่ใช้ความ contrast กันระหว่างวิธีการถ่ายฉากเปิดกับฉากปิดเรื่องแบบนี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของตัวละคร

---
พอคนอื่น ๆ พูดถึง “นิตยสาร” แล้วก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า ตอนเด็ก ๆ เราเคยอ่านพวกเรื่อง ผี ๆ ในนิตยสาร “โลกทิพย์” หรือนิตยสารอะไรทำนองนี้ แล้วเรากลัวขนหัวลุกมาก ๆ เหมือนเรายังคงจำความกลัวเมื่อ 40 ปีก่อนตอนที่อ่านนิตยสารพวกนี้ได้เป็นอย่างดี  ไม่รู้ว่ามีเพื่อน ๆ คนไหนเป็นแฟนนิตยสาร “โลกทิพย์” กันบ้างคะ Festival ก่อน 555
---
รายงานผลประกอบการประจำ Saturday 10 Feb 2024

1.WE MADE A BEAUTIFUL BOUQUET (2021, Nobuhiro Doi, Japan, A+30)

ดูที่ House รอบ 12.45

เหมือนเราไม่ได้ดูผลงานการกำกับของ Nobuhiro Doi มานาน 13 ปีแล้ว เพราะหนังของเขาที่เราได้ดูก่อนหน้านี้น่าจะเป็น HANAMIZUKI (2010)

ตอนช่วง 10 นาทีแรกนึกว่า WE MADE A BEAUTIFUL BOUQUET จะเป็นหนังโรแมนติกแนวที่เราไม่อิน แต่ปรากฏว่าหนังมันค่อนข้างจริงจังกับรายละเอียดชีวิตตัวละคร ไม่ได้ทำเพียงแค่สร้างอารมณ์เหงาจิ๋มไปเรื่อย ๆ เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุด ๆ

รู้สึกว่า Kasumi Arimura นางเอกหนังเรื่องนี้ หน้าคุ้นมาก ๆ พอตอนหลังเช็คดูถึงรู้ว่า เราเพิ่งเห็นเธอใน PHASES OF THE MOON (2022, Ryuichi Hiroki)

2. BABY ASSASSIN (2021, Yugo Sakamoto, Japan, A+30)

ดูที่ House รอบ 15.00

ดูหน้าหนังแล้วนึกว่าเราจะไม่ชอบ เพราะเราไม่ค่อยอินกับหนังบู๊, หนังตลก, หนังตลกร้าย,  หนังยากูซ่า, หนังขายดาราหญิงสวยน่ารัก  แต่ปรากฏว่าเรากลับชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ เหมือนมัน cult ในแบบที่ลงตัวสำหรับเรา

3. BABY ASSASINS 2 BABIES (2023, Yugo Sakamoto, Japan, A+30)

ดูที่ House รอบ 16.45

เหมือนพลังมัน drop ลงจากภาคแรก แต่ก็ชอบภาคนี้มาก ๆ อยู่ดี เพราะ

3.1 Joey Iwanaga น่ารักดี

3.2 ตัวละครประกอบหนักมาก นั่นก็คือ "คุณปู่คนนึงที่คลั่งไคล้ความหล่อของ Masaki Suda"?!?!?!??! คือไม่ทราบว่าตัวละครประกอบตัวนี้ exist อยู่เพื่ออะไร มึงคิดตัวละครแบบนี้ออกมาได้ยังไง แต่เราชอบสุด ๆ 55555

3.3 ชอบบทสนทนาแบบสัพเหระไปเรื่อย ๆ ของนักฆ่า ไม่แน่ใจว่า PULP FICTION (Quentin Tarantino) คือต้นกำเนิดของหนังแนวนี้หรือเปล่า หรือว่าหนัง cult ของญี่ปุ่นมีอะไรแบบนี้มาก่อนหน้า PULP FICTION แล้ว

ดูจุดนี้แล้ว ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง "อำพราง" DISAPPEAR (2010, Tani Thitiprawat, A+30) มาก ๆ เพราะ "อำพราง" มีฉากนึงที่ให้ตัวละครในองค์กรนักฆ่าถกเถียงกันอย่างเคร่งเครียดเป็นเวลานานราว 5 นาทีเรื่อง "กระดาษทิชชูบาดตูดจนเลือดออกขณะเช็ดก้น"  (แต่ "อำพราง" มีเนื้อหาส่วนอื่น ๆ ที่ออกไปในสไตล์อื่นนะ คือ "อำพราง"  เป็นเหมือนหนัง Alfred Hitchcock + Kiyoshi Kurosawa + หนังไซไฟ + หนัง  Tatantino)

4. PATTAYA HEAT (2024, Yang Shupeng, A+)

ดูที่ Sf mahboonkrong รอบ 19.10

ชอบ "มาด" ของตัวละครมาก ๆ รู้สึกว่าหนังมันทำถึงในแง่ "มาด" ของตัวละคร และเราก็ชอบโทนหรือบรรยากาศโดยรวม แต่เรามีปัญหากับบทภาพยนตร์อย่างรุนแรง

จริง ๆ ดูแล้วนึกถึง THE COUNSELOR (2013, Ridley Scott, A+30) ในบางจุดนะ แต่ THE COUNSELOR ถือเป็นหนึ่งในหนังอาชญากรรมที่เราชอบที่สุดในชีวิต ส่วนอันนี้ยังห่างไกลมาก ๆ
---
ฉันรักเขา Joey Iwanaga from BABY ASSASSINS 2 BABIES (2023, Yugo Sakamoto, Japan, A+30)

ตื่นมาเห็นแสงเงาที่ไม้แขวนเสื้อในตอนเช้าแล้วก็รู้สึกว่า นี่มันช่าง PERFECT.......................................................INSTRUMENT FOR ABORTION? (แรงบันดาลใจจาก "ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท")

ฉันรักเขา Rentaro Mikuni from THE BURMESE HARP (1956, Kon Ichikawa, Japan, A+30)
---
รู้สึกว่า EVIL DOES NOT EXIST (2023, Ryusuke Hamaguchi, Japan, A+30) สะท้อนชีวิตพนักงานบริษัทที่ถูกทางบริษัทพยายามทำลาย "ความเป็นมนุษย์" ในตัวด้วยเหมือนกัน และพนักงานแต่ละคนก็เหมือนต้องหาจุดสมดุลระหว่าง "work" กับ "humanity ในใจตัวเอง"
---
ฉันรักเขา Mustapha Maarof from THE PASSING OF SULTAN MAHMOOD (1961, K.M. Basker, Singapore, A+30)
---
กราบตีน Vanessa Redgrave รู้สึกว่าเธอคือ "คนจริง" มาก ๆ เธอเคยได้รับรางวัลออสการ์ดาราสมทบหญิงยอดเยี่ยมจาก JULIA (1977, Fred Zinnemann) ในบทของสาวชาวยิวที่ลุกขึ้นต่อต้านนาซี แต่เธอถือโอกาสตอนที่ขึ้นไปรับรางวัลออสการ์นี้ในการกล่าวประณามกลุ่มชาวยิวหัวรุนแรงที่ตั้งเงินรางวัลให้กับคนที่สามารถสังหารเธอได้ เพราะกลุ่มชาวยิวหัวรุนแรงนี้ไม่พอใจที่เธอสนับสนุนปาเลสไตน์และสร้างหนังสารคดีปาเลสไตน์ โดยโรงภาพยนตร์ที่ฉายหนังปาเลสไตน์ของ Vanessa Redgrave ก็ถูกวางระเบิดด้วย และในอีก 40 ปีต่อมา เธอก็ประกาศว่าเธอไม่เคยเสียใจเลยแม้แต่น้อยที่กล่าวประณามชาวยิวหัวรุนแรงในงานออสการ์ปีนั้น
--'
นึกถึงหนังไทยหลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะหนังสั้นไทย ที่ทำขี้นเพื่อโปรโมทจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งบางเรื่องก็ออกมาดี แต่เราก็ไม่แน่ใจว่าหนังเรื่องไหนได้ทุนสร้างจากองค์การบริหารท้องถิ่นส่วนจังหวัดมากน้อยแค่ไหน หรือถูกทางเจ้าของเงินทุนเข้ามาควบคุมบทภาพยนตร์มากน้อยแค่ไหน และก็นึกถึงหนังสั้นไทยกลุ่มนึงที่ได้รับทุนสร้างจากโรงพยาบาลด้วย ซึ่งบางเรื่องก็ออกมาดีสุดขีด เพราะผู้กำกับหนังเก่งจริง แต่เจ้าของเงินทุนกลับทำตัวมีปัญหา
---

พอได้ดู PERFECT DAYS แล้วก็เลยนึกถึงบทความ “เนื้อเรื่องคือตัวยุ่ง: ว่าด้วยทุกข์ของการเล่าเรื่อง” ที่เขียนโดย Wim Wenders มาก ๆ บทความนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยไว้ในหนังสือ “ฟิล์มไวรัส” เล่ม 1 ซึ่งออกวางขายในปี 1998 ถ้าใครสนใจก็ไปหาซื้อหนังสือเล่มนี้กันได้นะ  หรือถ้าหากใครอยากอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษ ก็อ่านได้จากบทความ IMPOSSIBLE STORIES ในหนังสือ THE LOGIC OF IMAGES ที่เขียนโดย Wim Wenders โดยหนังสือเล่มนี้เหมือนมีให้อ่านออนไลน์ในแบบไฟล์ pdf
---
หนึ่งในสิ่งที่ชอบสุด ๆ ใน PERFECT DAYS (2023, Wim Wenders, A+30) คือการที่หนังทำให้ตัวละครประกอบแต่ละตัวดูมีชีวิตเป็นของตัวเองอย่างมาก ๆ ตัวละครประกอบแต่ละตัวดูมีชีวิตอยู่จริง ๆ ก่อนที่หนังจะเริ่มต้น และจะมีชีวิตอยู่ต่อไปหลังจากที่หนังจบลง

SPOILERS ALERT สำหรับหนังเกาหลีใต้เรื่อง OFFICE
--
--
--
--
--
--
--
--
ไม่รู้มีใครคิดเหมือนกันหรือเปล่าว่า เราลุ้นให้พระเอกไม่ได้คุยกับ “สาวออฟฟิศที่มานั่งแดกแซนด์วิช” อยู่คนเดียว เพราะเราจินตนาการต่อเอาเองว่า เธอเป็นสาวออฟฟิศที่เก็บกดอย่างรุนแรงที่จริง ๆ แล้วเป็นฆาตกรโรคจิตแบบในหนังเรื่อง OFFICE (2015, Hong Won-chan, South Korea) และ OFFICE KILLER (1997, Cindy Sherman) น่ะ 555555 เพราะฉะนั้นการที่พระเอกไม่ได้เข้าไปคุยกับเธอ ก็เลยเป็นสิ่งที่เข้าทางเราอย่างสุด ๆ เพราะถ้าหากเขาเข้าไปคุย เขาอาจจะถูกเธอฆ่าตายก็ได้ หรือในอีกทางหนึ่ง เขาอาจจะช่วยให้เธอไม่ต้องกลายไปเป็นฆาตกรโรคจิตก็ได้ 55555
---
ชอบเพลงนี้อย่างสุดขีดมาก ๆ HOW COME YOU’RE SUCH A HIT WITH THE BOYS, JANE? เป็นเพลงของวง Dolly Mixture ในปี 1983 คือรู้สึกว่าเพลงนี้มันเหมาะจะใช้จัดประกวดแข่งขันกันทำ music video อย่างรุนแรงมาก เพราะเนื้อเพลงและแนวดนตรีมันเอื้อให้ทำออกมาเป็นหนังสั้นแบบตบกันแหลกได้ คือจินตนาการเล่น ๆ แล้วรู้สึกว่า MV เพลงนี้มันจะทำออกมาเป็นแนวอะไรก็ได้ ตั้งแต่แนว John Waters, หอแต๋วแตก, Catherine Breillat, MEAN GIRLS, Greta Gerwig, SWITCHBLADE SISTERS, กะเทยหัวโปกเดินแบบในโรงเรียน, etc.
---
สรุปว่า ตอนนี้เราให้ PERFECT DAYS ก้าวขึ้นมาครองอันดับหนึ่งในใจเราในบรรดาหนังที่กำกับโดย Wim Wenders ที่เราเคยดูมา โดยให้เฉือนชนะ UNTIL THE END OF THE WORLD ไปอย่างฉิวเฉียด 55555 แต่เราเคยดูหนังของ Wim Wenders มาเพียงแค่ 26 เรื่องเท่านั้นนะ ยังเหลือหนังของเขาอีกเยอะมากที่เรายังไม่ได้ดู โดยเฉพาะ SUMMER IN THE CITY (1970) ที่เราเดาว่าน่าจะเข้าทางเราอย่างสุดขีด

แต่ถึงแม้เราจะชอบ PERFECT DAYS อย่างสุดขีดคลั่ง แต่เราก็ยอมรับว่า เรายังคงชอบ Wim Wenders น้อยกว่าผู้กำกับบางคนในกลุ่ม New German Cinema นะ 55555 คือยังคงชอบน้อยกว่า Werner Schroeter, Ulrike Ottinger, Herbert Achternbusch, Alexander Kluge, Harun Farocki, Hans-Jurgen Syberberg, Klaus Wyborny, Jean-Marie Straub, Rainer Werner Fassbinder, Werner Herzog แต่ก็ถือว่าชอบในระดับมากพอ ๆ กับ Helke Sander, Margarethe von Trotta, Rosa von Praunheim และชอบมากกว่า Volker Scholondorff (ส่วนผู้กำกับคนอื่น ๆ ในกลุ่ม New German Cinema นั้น เรายังคงดูหนังของพวกเขาน้อยมากจนนำมาเทียบกับ Wim Wenders ไม่ได้ อย่างเช่น Hellmuth Costard, Peter Fleischmann, Niklaus Schilling, Reinhard Hauff, Peter Lilienthal, Rudolf Thome, etc.)

WIM WENDERS’ FILM IN MY PREFERENTIAL ORDER

1.PERFECT DAYS (2023)

2.UNTIL THE END OF THE WORLD (1991)

3.ALABAMA: 2000 LIGHT YEARS FROM HOME (1969, 21min)

4.PARIS, TEXAS (1984)

5.BUENA VISTA SOCIAL CLUB (1999, documentary)

6.KINGS OF THE ROAD (1976)

7.THE STATE OF THINGS (1982)

8.THE SALT OF THE EARTH (2014, Juliano Ribeiro Salgado + Wim Wenders, documentary)

9.TOKYO-GA (1985, documentary)

10.FAR AWAY, SO CLOSE! (1993)

11.THE END OF VIOLENCE (1997)

12.A TRICK OF THE LIGHT (1996)

13.THE GOALIE’S ANXIETY AT THE PENALTY KICK (1972)

14.ALICE IN THE CITIES (1974)

15.WINGS OF DESIRE (1987)

16.THE AMERICAN FRIEND (1977)

17.SUBMERGENCE (2017, Wim Wenders)

18.THE SCARLET LETTER (1973)

19.NOTEBOOK ON CITIES AND CLOTHES (1989, documentary)

20.ROOM 666 (1982, documentary)

21.LISBON STORY (1994)

22.FALSE MOVEMENT (1975)

23.THE MILLION DOLLAR HOTEL (2000)

24.ODE TO COLOGNE: A ROCK ‘N’ ROLL FILM (2002, documentary)

25.THE SOUL OF A MAN (2003, documentary)

26.Music video NIGHT AND DAY – U2 (1990)
---
SOUNDS OF SAND (2006, Marion Hansel, Belgium/France) หนังเกี่ยวกับประเทศสมมุติในแอฟริกา ถ่ายที่ Djibouti เนื้อเรื่องของหนังทำให้รู้สึกว่ามันเป็นทะเลทรายที่โหดร้ายที่สุดเท่าที่เคยดูมาในชีวิตนี้

No comments: