Thursday, February 01, 2024

THE ELITE OF DEVILS

 รายงานผลประกอบการประจำ Sunday 28 January 2024


1.MILLER'S GIRL (2024, Jade Halley Bartlett, A+30)

ดูที่ Esplanade รอบ 11.30

2. THE THREE MUSKETEERS: MILADY (2023, Martin Bourboulon, France, A+25)

ดูที่ Esplanade รอบ 14.10

ชอบการถ่ายของหนังทั้งสองภาคมาก ๆ เหมือนมันทำให้เรารู้สึก unstable ตลอดเวลา และทำให้เรารู้สึกเหมือน "ปราสาท" หรือ "ภูมิประเทศ" โดยรอบ มันใหญ่กว่าในหนังปกติ แต่เราไม่มีความรู้เรื่องการถ่ายหนัง เราเลยสงสัยว่า ที่เรารู้สึกแบบนี้ เป็นเพราะหนังเรื่องนี้มันใช้ lens ที่แตกต่างจากหนังเรื่องอื่น ๆ หรือเปล่า มันเลยทำให้เรารู้สึกว่า สัดส่วนของตัวคนกับ "สิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวคน"  ในหนังเรื่องนี้ มันให้ความรู้สึกที่แตกต่างจากหนังเรื่องอื่น ๆ หรือมันเป็นเพราะ mise-en-scene หรือเป็นเพราะ "การจัดแสง" หรืออะไร ที่ทำให้เรารู้สึกแบบนี้

3. THE FORBIDDEN PLAY (2023, Hideo Nakata, Japan, A+30)

ดูที่ Esplanade รอบ 17.00

เรารักทั้ง Hideo Nakata และ Takashi Shimizu นะ และก็ชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ ด้วย แต่ก็ยังชอบ Shimizu มากกว่า Nakata อยู่ดีนะ เพราะเราว่าหนังของ Shimizu มัน "หลอน" กว่า แต่เนื้อเรื่องมันจะงง ๆ ส่วนหนังของ Nakata มันมี "เนื้อเรื่อง" ที่สนุกมากสำหรับเรา แต่บรรยากาศโดยรวมมันยังไม่ขลังเท่าหนังของ Shimizu

4. เหมรย MEI (2024, Ekkachai Srivichai, A+25)

ดูที่ Esplanade รอบ 19.00

เหมือนหนังมันกลัวตัวเองจะ "น่าเบื่อ" มันก็เลยต้อง jump scare บ่อย ๆ จนเราตลกกับจุดนี้ของมันไปเลย จุดนี้ก็เลยเป็นปัจจัยนึงที่ทำให้เราไม่ได้ชอบหนังถึงขั้น A+30 และเราก็มีปัญหากับเนื้อเรื่องบางจุดด้วย

แต่ชอบบรรยากาศของหนังมาก ๆ และชอบความ anthropologist/exotic ของมัน ไม่รู้ใช้คำนี้ได้หรือเปล่า เหมือนมันบันทึกวัฒนธรรม/ความเชื่อของคนกลุ่มนึงเอาไว้ และถ่ายทอดมันออกมาได้ "ขลัง" ดีสำหรับเรา ชอบที่มันไม่พยายามจะ "ตลก" เลย แต่ก็เสียดายมาก ๆ ที่เราดันไปตลกกับความพยายามจะน่ากลัว(ผ่านทางการ jump scare) ของมันแทน
---

ต้องถือว่าบทความ Derek Jarman ในนิตยสาร Filmview เดือนส.ค.ปี 1994 มีส่วน "เปลี่ยนชีวิตเราให้กลายเป็น cinephile" ด้วยนะ เพราะเราจำได้ว่า เรายืมวิดีโอหนังเรื่อง THE GARDEN (1990, Derek Jarman) มาจากร้านเฟม คลองสาน ในช่วงปลายปี 1994 นี่แหละมั้ง ซึ่งสาเหตุที่เรายืมวิดีโอนั้นก็น่าจะมีส่วนมาจากบทความนี้ แล้วเราก็ตกตะลึงพรึงเพริดชักดิ้นชักงออยู่หน้าจอทีวี เพราะเราไม่เคยคิดฝันมาก่อนเลยว่ามันจะมีหนังที่ทรงพลังต่อตัวเราขนาดนี้แบบนี้อยู่ด้วย

คือเหมือนก่อนหน้านั้นเรามีความเชื่อที่ผิด ๆ ว่า "หนังชิงออสการ์" นี่คือจุดสุดยอดของวงการภาพยนตร์แล้วมั้ง ซึ่งเราก็ดูหนังชิงออสการ์แบบ THE SILENCE OF THE LAMBS, GANDHI, OUT OF AFRICA, DANCES WITH WOLVES, PLATOON, SCHINDLER'S LIST etc. อะไรทำนองนี้ ซึ่งมันก็ไม่ได้ทำให้เราหลงใหลในภาพยนตร์อย่างรุนแรงน่ะ เพราะเราชอบหนังเหล่านี้ก็จริง แต่มันไม่ได้สะท้านสะเทือนเราเท่ากับบทกวีของ Emily Dickinson หรือนิยายของ Thomas Hardy อะไรได้เลย แต่พอกูเจอ THE GARDEN เท่านั้นแหละ กูก็ต้องร้องขอชีวิตของจริง และทำให้เราตระหนักว่า มันมีหนังที่ไม่ได้ชิงออสการ์อะไรแบบ THE GARDEN นี่แหละ ที่น่าจะสะท้านสะเทือนเราอย่างมาก ๆ รอเราอยู่

และพอเราได้ดู CLASS ENEMY (1983, Peter Stein, West Germany) ที่สถาบันเกอเธ่ในช่วงปลายปี 1995 เราก็กลายเป็น cinephile หรือคนที่หลงใหลในภาพยนตร์อย่างรุนแรงจริง ๆ เพราะเราเพิ่งตระหนักในตอนนั้นว่า มันยังคงมีหนังอีกมากมายที่นักวิจารณ์ไม่ได้เขียนบทความถึง ที่เข้าทางเราอย่างสุด ๆ รอเราอยู่ด้วย
---
พอพี่สนธยา ทรัพย์เย็นพูดถึงร้าน AVS ในโพสท์ข้างล่าง ๆ นี้ เราก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า คิดแล้วก็น่าสนใจดีที่ “ต้นทุนในการเข้าถึงหนังนอกกระแส” นี่ ปรับตัวสวนทางกับ “อัตราเงินเฟ้อ” ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา คือในตอนที่เราเด็ก ๆ นั้น ค่าโดยสารรถเมล์อยู่ที่ 3.50 บาท แต่ตอนนี้อยู่ที่ระดับราว 23 บาท (ค่าโดยสารรถเมล์จากหอภาพยนตร์ไปสถานีรถไฟฟ้า MRT สิรินธร)  ส่วนตั๋วภาพยนตร์ซึ่งเคยอยู่ที่ 20 บาทต่อที่นั่ง ตอนที่เราไปดู FLASHDANCE (1983, Adrian Lyne) ที่โรงภาพยนตร์แมคเคนนา เมื่อราว 40 ปีก่อน ก็ขึ้นมาอยู่ที่ระดับราว 300 บาทต่อที่นั่งในปัจจุบัน (ค่าตั๋วที่พารากอน) ซึ่งเท่ากับว่า ค่าตั๋วชมภาพยนตร์ในปัจจุบันนี้อยู่ที่ระดับ 15 เท่า หรือ 1,500% ของเมื่อ 40 ปีก่อน

แต่ในตอนที่เราเป็นเด็กนั้น เวลาที่เราจะดูหนังนอกกระแส ซึ่งไม่ต้องพูดถึงการสั่งซื้อวิดีโอเทปแบบถูกลิขสิทธิ์จากเมืองนอก คือแค่จะดูแบบผิดลิขสิทธิ์ มันก็ต้องใช้ต้นทุนสูงมาก คือหนังนอกกระแสที่เราอยากดูจริง ๆ บางเรื่องมันก็ไม่มีให้เช่าที่ร้านเฟม และไม่มีขายที่ร้านแมงป่องกับลูกแมว เราต้องไปซื้อวิดีโอนั้นที่ร้าน AVS ในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ซึ่งมีหนังของ Rainer Werner Fassbinder, Michelangelo Antonioni และหนังลับแลอย่าง UNDER THE EARTH (1987, Beda Docampo Feijóo, Argentina/Czechoslovakia, A+30) , etc. ซึ่งเราจำได้ดีว่า AVS คิดเรื่องละ 300 บาทสำหรับหนังยาวไม่เกิน 2 ชั่วโมง แต่ถ้าหนังยาวเกิน 2 ชั่วโมงก็อาจจะเป็น 350 บาทมั้ง ถ้าจำไม่ผิด

ก็เลยเท่ากับว่า ต้นทุนของเราในการเข้าถึงหนังนอกกระแสที่อยากดูจริง ๆ ในยุคนั้นอยู่ที่ 300 บาทต่อเรื่อง ถ้าหากเราจะดูแบบผิดลิขสิทธิ์

แต่ปรากฏว่าในยุคนี้ ถ้าหากเราสมัคร MUBI เราก็เสียเงินแค่ 279 บาทต่อเดือน และก็อาจจะดูหนังแค่สักวันละ 3 เรื่อง รวมเป็น 90 เรื่องต่อเดือน ก็เท่ากับว่า ต้นทุนในการเข้าถึงหนังนอกกระแสแบบถูกลิขสิทธิ์ของเราในยุคนี้ อยู่ที่ราว 3.1 บาทต่อเรื่องเท่านั้นเอง หรืออยู่ในระดับเพียง 1% ของต้นทุน 300 บาทต่อเรื่องเมื่อราว 30-35 ปีก่อน

ก็เลยรู้สึกว่าน่าสนใจดีที่ค่าตั๋วชมภาพยนตร์ในตอนนี้ อยู่ที่ระดับราว 1,500% ของค่าตั๋วชมภาพยนตร์ของเราในวัยเด็ก แต่ต้นทุนในการดูหนังนอกกระแสของเราในยุคนี้ อยู่ที่เพียง 1% ของต้นทุนของเราในวัยเด็ก (แต่เราไม่ได้สมัคร MUBI นะ เพราะเรายังไม่มีเวลาว่างที่จะดูหนังทาง streaming ใด ๆ เลย)
---
ตอนที่เราดูหนังสั้นในเทศกาลหนังสั้นมาราธอนในปี 2023 แล้วก็พบว่า เด็กมัธยมหลายคนทำหนังเกี่ยวกับปัญหาความรุนแรง ฆ่ากันเลือดสาดนั้น ตอนแรกเราก็ไม่แน่ใจว่า มันอาจจะเป็นเหตุบังเอิญ, หรือเกิดจากความชมชอบในหนังแนวนี้, หรือว่ามันเป็น "คันฉ่องสะท้อนปัญหาสังคมเด็กในยุคนี้" หรือเกิดจากปัจจัยใด ๆ กันแน่ แต่พอมันเกิดคดี "คุณบัวผัน" และเกิดคดีแบบนี้ขึ้นมา เราก็เลยยิ่งปักใจเชื่อว่า หนังสั้นหลาย ๆ เรื่องที่ออกมาในปี 2023 มันอาจจะเป็น "คันฉ่องสะท้อนสังคมเด็กมัธยมยุคนี้" จริง ๆ ก็ได้

---
รักที่สุด Shibata Ayako ชอบการ์ตูนของคนนี้อย่างสุดขีด ทั้ง  "สู้เขามายูโกะ" (วงการ hairdresser), ยอดรักจอแก้ว (วงการพิธีกรรายการโทรทัศน์), DOUBT GAME (วงการนางแบบ) และสัญญากุ๊กกิ๊ก (เรื่องของการท้องในวัยเรียน)

---
ดูแล้วรู้สึกเชื่อมโยงกับ ANATOMY OF A FALL โดยไม่ได้ตั้งใจด้วย เพราะพระเอกกับเมียใน MILLER'S GIRL เป็นนักเขียนทั้งคู่ และเมียพระเอกดูเหมือนจะประสบความสำเร็จในฐานะนักประพันธ์มากกว่าพระเอก

จริง ๆ แล้วหนึ่งในสิ่งที่ติดอยู่ในความทรงจำมากที่สุดในหนังเรื่องนี้โดยไม่ได้ตั้งใจ คือ "สาวอ้วนขากะเผลก" ที่มาเรียนในคลาสของคุณครูมิลเลอร์ คือตัวละครตัวนี้ไม่มีบทพูดเลย แต่ทำไมเราถึงติดใจตัวละครตัวนี้ก็ไม่รู้ บางทีเราอาจจะ identify ตัวเองเป็นตัวละครตัวนี้ก็ได้มั้ง เราจินตนาการต่อเอาเองว่า เราเป็นสาวอ้วนที่มีปัญหาสุขภาพร่างกาย, สนใจ literature บางทีเธออาจจะแอบ want คุณครูอยู่ก็ได้ แต่เธอรู้ว่ายั่วคุณครูไปก็สู้อีนางเอกไม่ได้อยู่ดี เพราะฉะนั้นเธอก็เลยตั้งใจเรียน และใช้ชีวิตอย่างสงบเสงี่ยมเงียบ ๆ อยู่ในโรงเรียนนี้ต่อไปดีกว่า 555555

---
Jun Ichikawa is one of my most favorite directors of all time.

หนังของเขาที่เคยดู เรียงตามลำดับความชอบ

1.DYING AT A HOSPITAL (1993)

2.BU SU (1987)

3.TOKYO LULLABY (1997)

4.TOKYO KYODAI (1995)

5.TOKIWA: THE MANGA APARTMENT (1996)

6.OSAKA STORY (1999)

7.TSUGUMI (1990) สร้างจากบทประพันธ์ของ Banana Yashimoto นำแสดงโดย Riho Makise
--
นักแสดงที่อยากให้กลับมาเจอกันอีก

Takeshi Kaneshiro (จินเฉิงอู่), Anthony Wong, จางม่านอี้, หยางจื่อฉุง (Michelle Yeoh), หลิวชิงหวิน จาก “สวยประหาร ภาคสอง” (1993, Johnnie To, Ching Siu-tung) ส่วน “เหมยเยี่ยนฟาง” คงกลับมาร่วมด้วยไม่ได้แล้ว

จำได้ว่า “สวยประหาร ภาคสอง” นี่แหละเป็นหนังเรื่องแรกที่เราได้เห็นความหล่อของ Takeshi Kaneshiro 55555
---

ว้าย ตายแล้ว เราเพิ่งรู้ว่า Christian Bale อายุน้อยกว่าเรา 555 เพราะเขาเพิ่งมีอายุครบ 50 ปีไปเมื่อวันที่ 30 ม.ค. คือเราเห็นเขามาตั้งแต่เขาแสดงใน EMPIRE OF THE SUN (1987, Steven Spielberg) น่ะ ก็เลยนึกว่าเขาอายุมากกว่าเราเสียอีก

อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เรานึกว่าเขาอายุมากกว่าเรา เป็นเพราะว่า เราว่า Christian Bale "ไม่กลัวดูแก่” ด้วยแหละ เหมือนเขากับ Ethan Hawke ปล่อยให้ตัวเองดูเหี่ยวไปตามอายุ ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีมาก ๆ เพราะเราชอบผู้ชายแบบนี้ เราจะไม่ชอบแบบ Tom Cruise ที่ยังคงพยายามทำหน้าตึงจนเกินเหตุ จนใบหน้าของเขามันดูเป็น “พลาสติก” มาก ๆ

---
ถ้าเราจำไม่ผิด หนังเรื่องแรกที่เราได้ดูที่ศาลาเฉลิมกรุง คือ ELINE VERE (1991, Harry Kümel, Netherlands, A+30) ที่ดีงามมาก ๆ ๆ ๆ ๆๆ  โดยเราได้ดูหนังเรื่องนี้ตอนมันมาฉายในปี 1996

ส่วนหนังเรื่องสุดท้ายที่เราได้ดูที่ศาลาเฉลิมกรุง น่าจะเป็นเรื่อง BREAK YOUR BOUNDS (2000, Erik Clausen, Denmark) ที่เราได้ดูที่ศาลาเฉลิมกรุงในวันที่ 28 ก.พ.ปี 2002 หรือเมื่อ 22 ปีมาแล้ว

เหมือนช่วงปี 1996-2002 เป็นช่วงที่เราไปสิงสถิตอยู่ศาลาเฉลิมกรุงและห้างดิโอลด์สยามพลาซ่าบ่อยมาก ๆ เพราะเทศกาลภาพยนตร์ต่าง ๆ ในยุคนั้นมักจะจัดที่ศาลาเฉลิมกรุงเป็นประจำ แต่หลังจากนั้นเทศกาลภาพยนตร์ก็มักจะไปจัดที่โรงหนังมัลติเพล็กซ์ในห้างอื่น ๆ แทน อย่างเช่นเทศกาลภาพยนตร์ญี่ปุ่นที่เคยจัดที่ห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว หรือเทศกาลภาพยนตร์ world film festival of Bangkok ที่เคยจัดที่ห้างบิ๊กซี ราชดำริ ซึ่งสาเหตุก็คงเป็นเพราะการขยายตัวของโรงหนัง multiplex ในยุคนั้น และเพราะ”รถไฟฟ้า” ด้วย เพราะโรงหนังศาลาเฉลิมกรุงตั้งอยู่ห่างจากสถานีรถไฟฟ้าในยุคนั้นมากพอสมควร

Favorite Actress: Gideon Adlon from MILLER'S GIRL (2024, Jade Halley Bartlett, A+30)

Favorite Actress: Katherine Waterston from THE END WE START FROM (2023, Mahalia Belo, UK, A+30)

เธอแสดงใน BABYLON (2022, Damian Chazelle), FANTASTIC BEASTS: THE SECRETS OF DUMBLEDORE (2022, David Yates), LOGAN LUCKY (2017, Steven Soderbergh), ALIEN: COVENANT (2017, Ridley Scott), TAKING WOODSTOCK (2009, Ang Lee) ด้วย

Favorite Actress: Gina McKee from THE END WE START FROM (2023, Mahalia Belo, UK, A+30)

เหมือนหนังเรื่องแรกที่เราได้เห็น Gina คือ THE LAIR OF THE WHITE WORM (1988, Ken Russell, UK, A+30) และหลังจากนั้นเราก็ได้เห็นเธอบ้างใน PHANTOM THREAD, ATONEMENT (2007), DIVINE SECRETS OF THE YA-YA SISTERHOOD (2002, Callie Khouri), WONDERLAND (1999, Michael Winterbottom, A+30), CROUPIER (1998, Mike Hodges), etc. ดีใจที่เรายังได้เห็นเธออยู่

Favorite Actress: Olivia Cote from  WILDERNESS THERAPY (2022, Edouard Deluc, France, A+30)

รายงานผลประกอบการประจำ Saturday 27 Jan 2024

1.BODY HOME (2023, Orawan Arunrak, video installation, A+30)

2.HOME BODY (2023, Orawan Arunrak, video installation, A+30)

3.the exhibition THE 4 FOUNDATIONS by Orawan Arunrak at Bangkok CityCity Gallery

4. WILDERNESS THERAPY (2022, Edouard Deluc France, A+30)

ดูที่ Alliance รอบ 16.30

ตอนแรกนึกว่ามันจะเป็น "หนังตลกโง่ ๆ บ้องตื้น" แต่ดูแล้วชอบกว่าที่คิดไว้มาก ซึ้งมาก ๆซึ่งมันเป็นเพราะหนังใส่ใจกับตัวละครหลักและตัวละครประกอบหลาย ๆ ตัว ทำให้ตัวละครแต่ละตัวมีความเป็นมนุษย์ เต็มไปด้วยข้อบกพร่อง และเต็มไปด้วยปัญหาชีวิตที่รุนแรง นึกว่ารวมตัวละคร "ชีวิตบัดซบ" เข้ามาไว้ด้วยกัน และหนังก็ไม่ได้ตั้งตาแต่จะ "รีดเค้นเสียงหัวเราะจากผู้ชม" แต่จริงใจกับความเป็นมนุษย์ของตัวละครแต่ละตัวเป็นหลัก

หนึ่งในตัวละครประกอบที่เราชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ ก็คือ Sophie (Olivia Cote) เธอมีสามีผิวดำอารมณ์ร้อน เธอทำงานสังคมสงเคราะห์ และก็ต้องรับมือกับประชาชนที่ตกงานจำนวนมาก เธอเครียดกับงานที่ทำมาก ๆ และวันนึงเธอก็เจอเพื่อนร่วมงานฆ่าตัวตายกลาง office เธอก็เลยรู้สึกว่าเธอทนทำงานสังคมสงเคราะห์ต่อไปไม่ไหวอีกแล้ว

แล้วเธอก็มาเข้าร่วมทริปที่พระเอกจัด แต่เธอก็ต้องเจอกับเพื่อนร่วมทริปที่เป็น "ดาราหญิงที่กำลังจะตกอับ" และดาราหญิงคนนี้ก็หาเรื่องด่าทอเธออย่างรุนแรงมากในทริป

คือ Sophie นี่เป็นแค่ตัวละครประกอบนะ ไม่ใช่ตัวละครหลักของหนัง

ก็เลยรู้สึกว่า ถึงแม้ WILDERNESS THERAPY จะไม่ใช่หนังที่เลอเลิศ แต่พอเทียบกับหนังตลกของไทยหลาย ๆ เรื่องแล้ว เราก็รู้สึกเลยว่า หนังเรื่องนี้เหมือนจะเอามาใช้สอนได้เลยว่า "หนังตลกชั้นดี" เขาทำกันยังไง

5. THE END WE START FROM (2023, Mahalia Belo, UK, A+30)

ดูที่ HOUSE รอบ 19.15
---
ดีใจสุดขีดกับ OUR LADY OF THE NILE (2019, Atiq Rahimi, France/Belgium/ Rwanda/Monaco, A+30) ที่ติดอันดับประจำปีของคุณ Jutha

--
ฉันรักเขา เอิร์ธ นวภูมิ นฤนาทดำรงค์ จาก THE ELITE OF DEVILS หม่อม (2024, Artistaya Arriyawongsa, Theerakhahathep Arriyawongsa, A-)
---
RIP NORMAN JEWISON (1926-2024)

คิดว่าเขาเป็นหนึ่งในผู้กำกับหนังเมนสตรีมของฮอลลีวู้ดที่ทำหนังโอเค ใช้ได้เลยแหละ แต่เราเคยดูหนังที่เขากำกับแค่ 7 เรื่องเอง ซึ่งได้แก่เรื่อง

(เรียงตามลำดับความชอบ)

1.AGNES OF GOD (1985) หนังที่ให้ Jane Fonda มาปะทะกับ Anne Bancroft และ Meg Tilly

2.MOONSTRUCK (1987)

3.JESUS CHRIST SUPERSTAR (1973, musical)

4.FIDDLER ON THE ROOF (1971, musical)

5.IN THE HEAT OF THE NIGHT (1967) อันนี้ไม่มั่นใจ 100% นะ แต่เราน่าจะเคยดูทางวิดีโอตอนเด็ก ๆ

6.THE HURRICANE (1999)

7.ONLY YOU (1994)
---
หลังจากดูตาราง DOCUMENTARY FILM FESTIVAL, JAPANESE FILM FESTIVAL และตารางฉายหนังที่หอภาพยนตร์ ศาลายาในเดือนก.พ.แล้ว เราก็พอจะจัด "ตารางชีวิตฮิสทีเรีย" ของตัวเองได้ แต่ก็หวั่นใจอยู่ดี เพราะอีนัง Alliance ยังไม่ประกาศตารางฉายหนังของตัวเองประจำเดือนก.พ.ออกมา เรากลัวว่า อยู่ดี ๆ Alliance อาจจะประกาศฉายหนังเรื่องอะไรก็ได้ที่เราอยากดูอย่างสุด ๆ อย่างเช่น  L'AMOUR FOU (1969, Jacques Rivette, 4hours 12mins) หรืออะไรทำนองนี้ในเดือนก.พ.  แล้ววันฉาย L'AMOUR FOU หรือหนังเรื่องอะไรก็ได้ที่เราอยากดูอย่างสุด ๆ มันดันชนกับเทศกาลหนังอื่น ๆ 55555 นี่แหละความ paranoid ของ cinephile

Edit เพิ่ม: สิ่งที่เราเขียนมันคือ “เหตุการณ์สมมุติ” นะ มันคือ “สิ่งที่เรากลัวว่าจะเกิดขึ้น” ซึ่งก็คือการที่ Alliance จัดฉายหนังที่เราอยากดูสุด ๆ ในวันที่เราไม่ว่าง ซึ่งหนังที่เราอยากดูสุด ๆ มันอาจจะเป็นเรื่องอะไรก็ได้ อย่างเช่น L’AMOUR FOU, TWICE UPON A TIME (1968, Jackie Raynal), CANDIDE OR THE OPTIMISM OF THE 20TH CENTURY (1960, Norbert Carbonnaux), UNE SIMPLE HISTOIRE (1959, Marcel Hanoun), BRIGITTE AND BRIGITTE (1966, Luc Moullet), etc. เราไม่ได้หมายความว่า Alliance จะจัดฉาย L’AMOUR FOU ในเร็ว ๆ นี้นะจ๊ะ อย่าเข้าใจผิด

--
ดีใจสุดขีดที่เราจะได้ดูหนังใหม่ของ Nicholas Philibert เพราะก่อนหน้านี้เราเคยดูหนังของ Nicholas Philibert ในโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพเพียงแค่ 4 เรื่อง ซึ่งได้แก่ TO BE AND TO HAVE (2002) ที่เราได้ดูในวันที่ 19 พ.ย. 2003, IN THE LAND OF THE DEAF (1992) ที่เราได้ดูในวันที่ 20 พ.ย. 2003 และ LOUVRE CITY (1990) ที่เราได้ดูในวันที่ 21 พ.ย. 2003 ในงาน NICHOLAS PHILIBERT RETROSPECTIVE ซึ่งจัดขึ้นที่ห้าง Central World ในโรงของเมเจอร์ (ที่ปัจจุบันนี้ถูกทุบทิ้งไปแล้ว เหลือแต่โรงของ SF) ส่วนหนังเรื่องที่ 4 ของเขาที่เราได้ดู ก็คือ NENETTE (2010) ที่เคยมาฉายในโรงภาพยนตร์ของ Alliance ในปี 2011

เพราะฉะนั้น ON THE ADAMANT (2023) ก็เลยอาจจะเป็นหนังของ Nicholas Philibert เรื่องที่ 5 ที่เราได้ดูในโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพ
----
กรี๊ดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดดด หนึ่งในละครโทรทัศน์ที่คลาสสิคที่สุดตลอดกาลที่เราเคยดู ก็คือละครทีวีญี่ปุ่นเรื่อง PLAYGIRL (1969-1976) นี่แหละ เราเคยดูละครทีวีเรื่องนี้ตอนเด็ก ๆ แต่จำไม่ได้แล้วว่าตอนนั้นมันแพร่ภาพในไทยทางช่องไหน ไม่แน่ใจว่าช่อง 7 หรือเปล่า ใครจำได้บ้างคะ ละครทีวีเรื่องนี้มีความยาวเพียงแค่ 358 ตอน และเต็มไปด้วยตัวละครหญิงสาวเก่งกาจ 8 คน คือดูแล้วรู้เลยว่า ถ้าหากมันเป็นละครที่เราได้ดูในช่วงมัธยมนี่ แก๊งกะเทยของเราต้องมีการ assign บทกันครบทุกคนในกลุ่มแน่นอนว่า ใครจองเป็นตัวละครตัวไหนในละครเรื่องนี้ และต้องมีการ role play บทบาทจาก PLAYGIRL กันอย่างรุนแรงในห้องเรียนแน่ ๆ 5555555

ฉากการยิงปืนในคลิปนี้ก็คลาสสิคที่สุดตลอดกาล เพราะพอพวกเธอยิงปืนใส่ผู้ชาย ผู้ชายจะไม่ตายเพราะโดนยิงแต่อย่างใด แต่เสื้อผ้าของผู้ชายจะหายไปเหลือแต่กางเกงใน ไม่ทราบใครเป็นคนคิดไอเดียนี้ หนักที่สุดในชีวิตการแสดงของจริง

คือละครทีวีที่เราชอบที่สุดตลอดกาลนั้น รวมถึงละครทีวีเรื่อง CHARLIE’S ANGELS (1976-1981), SUKEBAN DEKA (1985-1987) และ SAILOR MOON (1992-1997) ซึ่งทั้ง 3 เรื่องนี้ล้วนเป็นเรื่องของ “กลุ่มหญิงสาวที่ร่วมมือกันออกปราบปรามเหล่าร้าย” เราก็เลยสงสัยว่า ไม่แน่ว่าละครทีวีทั้ง 3 เรื่องที่เราชอบที่สุดในชีวิตนี้ มันอาจจะมีต้นกำเนิด/แรงบันดาลใจ มาจาก PLAYGIRL ก็ได้ แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่า ตัว PLAYGIRL เองนั้น มีต้นกำเนิดมาจากอะไรอีกทีหรือเปล่า

---
Favorite Actress: Ruth Wilson in ANNA KARENINA (2012, Joe Wright, UK, A+30)
---
Film Wish List: CASA SUSANNA (2022, Sebastien Lifshitz, France/USA, documentary)
---
THE ELITE OF DEVILS หม่อม (2024, Artistaya Arriyawongsa, Theerakhahathep Arriyawongsa, A-)

SPOILERS ALERT
--
--
--
--
--
--
--
--
--
--
1.เป็นหนังที่ดูแล้วรู้สึกเสียดายมาก ๆ เหมือนเป็นหนังที่เราชอบองค์ประกอบบางส่วนของหนัง แต่ไม่ได้ชอบตัวหนังโดยรวม หรือถ้าเปรียบเป็นอาหาร เราก็ชอบแค่ ingredients บางอันที่นำมาใช้ทำเป็นอาหาร แต่ตัววิธีการปรุงออกมาเป็นอาหารนั้นเป็นสิ่งที่เราไม่ชอบเลย

2.สิ่งที่เราชอบก็มีอย่างเช่น การออกแบบตัวละคร “มีน” (พิม ลัทธ์กมล) ให้ออกมาดูเป็นหญิงสาวที่กร้าวแกร่งไม่กลัวใคร พร้อมตบได้ทุกเมื่อ คือเราชอบ “บุคลิก” ของตัวละครมีนอย่างสุด ๆ แต่เราก็เสียดายสุด ๆ เช่นกันที่เราชอบแค่ “บุคลิก” แต่ไม่ได้ชอบตัวละครตัวนี้ เพราะเธอดู “เลวแบบโง่ ๆ” มาก ๆ คือถ้าเธอ “เลวแต่ฉลาด” เราก็ยังอาจจะชอบตัวละครตัวนี้ได้อยู่นะ แต่นี่คือเธอดูโง่พอ ๆ กับเพื่อน ๆ ของเธอน่ะ เราก็เลยเสียดายสุด ๆ

3.เราชอบการใช้ปีศาจแบบคริสต์มาใส่ในหนังไทย ซึ่งเราว่ามันแปลกตาดี และได้รสชาติที่แปลกใหม่ไม่ซ้ำกับหนังสยองขวัญไทยเรื่องอื่น ๆ และเราก็เห็นด้วยกับเพื่อนบางคนอย่างสุด ๆ ที่บอกว่าข้อดีของหนังเรื่องนี้คือมันมีอะไรบางอย่างที่แตกต่างจากหนังสยองขวัญไทยเรื่องอื่น ๆ น่ะ

แต่เราก็เสียดายอย่างสุด ๆ เช่นกัน ที่เราชอบแค่ “ไอเดีย” ของการเอาปีศาจแบบคริสต์มาใช้ในหนังไทย แต่มันก็เอามาใช้ได้อย่างไม่ทรงพลังเลย โดยเฉพาะการต่อสู้กับปีศาจ ที่แค่ตัวละคร “ไวน์” (จตุพร แดงอุไร) รำลึกถึงความตั้งใจของตัวเองในอดีต และพลิกไม้กางเขนกลับไป มันก็ทำลายบ้านสลักจิตได้แล้ว แต่หนังไม่ได้ปูให้เราเข้าใจ “จิตใจ” ของตัวละครไวน์อย่างถึงแก่นจริง ๆ มาก่อนน่ะ เพราะฉะนั้นการเอาชนะปีศาจในหนังเรื่องนี้ ก็เลยเป็นอะไรที่เราเสียดายมาก ๆ โดยเฉพาะเมื่อนำมันไปเปรียบเทียบกับหนังปีศาจมากมายของฝรั่ง ที่กว่าจะเอาชนะได้ มันก็ “หืดขึ้นคอ” จริง ๆ

4.ชอบการปะทะกันระหว่างคนรุ่นใหม่กับคนรุ่นเก่ามาก ๆ เลยด้วย แต่พอมันเป็นการปะทะกันที่ตัวละครดูเป็นคนเลวทั้งสองฝ่าย และมันยังไม่ได้ลงลึกในประเด็นนี้มากเท่าที่ควร เราก็เลยเสียดายตรงจุดนี้มาก ๆ

5.จริง ๆ แล้วเราชอบการแสดงของคุณอัญชลี สายสุนทรมาก ๆ เลยนะ เหมือนเ

No comments: