“ในวันที่เกิดสุริยุปราคา นาคาจะอาละวาดบนฟ้า
นาคีจะอาละวาดบนดิน” –ตรี อภิรุม ในนิยายเรื่อง “นาคี” (ถ้าหากเราจำไม่ผิดนะ
เพราะเราอ่านมันมานานเกือบ 40 ปีแล้ว)
เพิ่มเติมรายชื่อหนังที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน แล้วออกฉายในเวลาไล่เลี่ยกันโดยบังเอิญ
71. IMMACULATE (2024, Michael Mohan,
A+30)
+ THE FIRST OMEN (2024, Arkasha Stevenson, A+30)
Favorite Actress: Ishtar Currie-Wilson from THE FIRST OMEN
(2024, Arkasha Stevenson, A+30)
ชอบเธออย่างสุดขีดมาก ๆ หวังว่าจะได้เห็นเธอในหนังเรื่องอื่น
ๆ อีก
หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เราชอบ THE FIRST
OMEN (2024, Arkasha Stevenson, A+30) มากกว่า IMMACULATE
(2024, Michael Mohan, A+30) เป็นการส่วนตัว ก็คือนักแสดงหญิง 5
คนใน THE FIRST OMEN ค่ะ คือ IMMACULATE นั้นเราว่านักแสดงเล่นดีตามมาตรฐาน แต่ยังไม่โดดเด่นแบบเด้งดึ๋งขึ้นมา
ยกเว้น Sydney Sweeney ที่ทุ่มสุดตัวมาก ๆ ในช่วงท้าย ๆ
ของหนัง
แต่เราว่าใน THE FIRST OMEN นั้น นักแสดงหญิง 5 คนแคสต์มาได้ดีมาก ๆ ถูกโฉลกกับเรามาก ๆ ทั้ง
1.Nell Tiger Free ในบทนางเอก ซึ่งตอนแรกเราเฉย
ๆ กับเธอมาก ๆ เพราะบทนางเอกของเธอเป็นบทที่ดูไม่ค่อยเฮี้ยน เธอดูเป็นนางเอกตามขนบมาก
ๆ เป็นผู้หญิงนิสัยดีทั่ว ๆ ไป แต่พอช่วงหลัง ๆ ของหนัง มีฉากที่เหมือนเธอ
tribute ให้ Isabelle Adjani ใน POSSESSION
(1981, Andrzej Zulawski) เราก็เลยยอมรับว่า เธอเก่งจริง ๆ
นักแสดงคนนี้
2.Ishtar Currie-Wilson ในบท
Sister Anjelica ชอบคนนี้ที่สุด
ดูเธอมีออร่าบางอย่างในแบบที่ถูกโฉลกกับเราอย่างรุนแรง คือเธอมี “ออร่าของความเฮี้ยน”
3.Nicole Sorace ในบทของ Carlita
Scianna เราว่าคนนี้ก็ดู “มีของ” มาก ๆ
4. Maria Caballero ในบท Luz
คนนี้ก็ดูมี “ออร่าความแรง”
เสียดายที่บทของเธอในหนังเรื่องนี้ยังไม่เปิดโอกาสให้เธอได้ใช้ “ความสามารถ”
มากนัก แต่หนังก็ใช้ประโยชน์จาก “ออร่าความแรง” ของเธอได้ทีเดียว
5.Sonia Braga (DONA FLOR AND HER TWO
HUSBANDS, KISS OF THE SPIDER WOMAN, MOON OVER PARADOR, THE MILAGRO BEANFIELD
WAR, THE LAST PROSTITUTE) เราว่าเธอก็เล่นดี แต่เอาจริงแล้วเราว่าบทของเธอดูธรรมดาไปหน่อย
สรุปว่าประทับใจฝ่ายแคสติ้งของ THE FIRST
OMEN มากค่ะ เลือกนักแสดงมาได้เข้าทางดิฉันมาก ๆ แต่เสียดายที่ “บท”
ของหนังเรื่องนี้อาจจะไม่ได้เปิดโอกาสให้ Ishtar Currie-Wilson, Maria Caballero
กับ Sonia Braga ได้สำแดงเดชมากนัก
DOUBLE BILL FILM WISH LIST:
1946 BOAT PEOPLE (2023, Theerayut Weerakham, documentary,
A+30)
+ WINTER REMINISCENCE (2010, Thanaphan Palakawong Na
Ayutthaya, 14min)
ความทรงจำดีดีในหน้าหนาว (2010, ธนัทภัณ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา)
เพราะหนังทั้งสองเรื่องพูดถึง “ผู้อพยพชาวเวียดนาม”
ที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาเหมือนกัน
จำได้ว่ามันมีหนังสั้นไทยเรื่องนึงเมื่อราว
10-15 ปีก่อน ที่เล่าเรื่องของสามีภรรยาที่ไปเช็งเม้งหรืออะไรทำนองนี้
แล้วภรรยาเป็นโรคอะไรสักอย่าง แล้วก็หิวน้ำ อยากกินน้ำมาก ๆ ท่ามกลางอากาศร้อนจัด
เหมือนภรรยาจะหยิบเอาน้ำอัดลมที่ไหว้เช็งเม้งมาดื่ม แต่สามีห้ามไว้
ภรรยาก็เลยต้องทนทุกข์ทรมานอย่างมากท่ามกลางอากาศร้อนจัดในสุสาน นักแสดงที่เล่นเป็นภรรยาก็เป็นนักแสดงขาประจำในหนังสั้นไทยยุคนั้นด้วย
คือเราจำชื่อหนังไม่ได้ มีใครจำได้บ้าง ว่ามันคือหนังเรื่องอะไร
ไม่แน่ใจว่าเป็นของม.รังสิตหรือเปล่า เหมือนถ้าหากเราจำไม่ผิด หนังเรื่องนี้น่าจะมาในยุคใกล้
ๆ กับหนังเรื่อง “นอกหน้าต่าง” UNLIKENESS (2011, Pitchnut Suktorn ภิชณัฐ สุขทร) ที่พูดถึงความสัมพันธ์อันระหองระแหงระหว่างสามีกับภรรยาเหมือนกัน
FAVORITE THAI FILMS ABOUT QINGMING FESTIVAL
หนังไทยเกี่ยวกับเทศกาลเช็งเม้ง
1.ONCE IN A YEAR ในหนึ่งปีมีหนึ่งวัน
(2014, Theeraphan Ngowjeenanan, documentary, 29min, A+25)
2.THE DEATH OF THE OTHER (2018, Karnchanit
Posawat, A+25)
เราเขียนถึงหนังเรื่องนี้ไว้ที่นี่
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10218725413149812&set=a.10218325689596973
3.SOMEWHERE UNDER THE RAINBOW (2018, Nontachai
Vinyousupornchai, A+30)
พื้นรุ้งผ่าน
อินกับช่วงครึ่งแรกของหนังเรื่องนี้อย่างสุด ๆ
เพราะครึ่งแรกมันมีความเป็น queer film ที่พูดถึงเด็กชายวัยรุ่นคนนึงที่ตกหลุมรักลูกพี่ลูกน้องหนุ่มหล่อของตนเองอย่างรุนแรง
และเทศกาลเช็งเม้งก็เลยกลายเป็นโอกาสอันดีที่เด็กชายคนนี้จะได้ใกล้ชิดกับลูกพี่ลูกน้องหนุ่มหล่อที่เขาหมายปอง
ซึ่งเราอินกับจุดนี้มาก ๆ เพราะผู้ชายคนแรกที่เราตกหลุมรักตั้งแต่ตอนที่เราอยู่ป.
5 ในปี 1983 หรือเมื่อ 41 ปีที่แล้ว ก็คือลูกพี่ลูกน้องหนุ่มหล่อของเราเองนี่แหละ
เราเขียนถึงหนังเรื่องนี้ไว้ที่นี่
https://web.facebook.com/photo?fbid=10217298588560089&set=a.10216336336704394
4.THE THIRD OF APRIL สามเมษายน
(2021, Anant Kasetsinsombut, documentary, 39min, A+30)
ชอบหนังของคุณอนันต์อย่างสุด ๆ เพราะโดยปกติแล้วหนังของคุณอนันต์ชอบถ่ายสิงสาราสัตว์ต่าง
ๆ ไปเรื่อย ๆ และในหนังเรื่องนี้เขาก็หันมาถ่ายญาติ ๆ ของเขาเองมั้งในงานเช็งเม้ง
โดยที่ไม่ได้พยายามจะสร้าง drama หรือความสำคัญอะไร
แต่เหมือนถ่ายญาติ ๆ คุยกันไปเรื่อย ๆ ซึ่งเราชอบสุด ๆ
เพราะเรามีความสอดรู้สอดเห็นในฐานะคนนอกครอบครัวที่อยากรู้ว่า คนในครอบครัวอื่น ๆ
เขามีชีวิตอย่างไรกันบ้าง
ชอบมาก ๆ
ด้วยที่เหมือนครึ่งหลังของหนังเป็นแค่การถ่ายญาติ ๆ คุยกันถึงเรื่อง “คืนบาปพรหมพิราม”
ไปเรื่อย ๆ ไม่รู้ทำไมเราถึงชอบอะไรแบบนี้ คืออะไรต่าง ๆ
ในหนังเรื่องนี้หรือในหนังหลาย ๆ เรื่องของคุณอนันต์ มันเป็นสิ่งธรรมดาสามัญที่สุดในชีวิตประจำวัน
ไม่มีความหมาย ไม่มีความสำคัญ ธรรมดาที่สุด แต่พอกล้องของคุณอนันต์ไปบันทึกมันไว้แล้วถ่ายทอดมันออกมา
มันก็เหมือนราวกับว่าสิ่งธรรมดาสามัญต่าง ๆ ในหนังเรื่องนี้มันให้ความสุขหรือความรู้สึกงดงามทางใจกับเราได้อย่างแปลกประหลาด
5.HOW TO MAKE MILLIONS BEFORE GRANDMA
DIES หลานม่า (2024, Pat Boonnitipat, A+30)
เราเขียนถึงหนังเรื่องนี้ไว้ที่นี่
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10233350228761062&set=a.10232633255917189
และที่นี่
https://web.facebook.com/photo/?fbid=10233353356919264&set=a.10232633255917189
มีหนังไทยเรื่องอื่น ๆ
เกี่ยวกับเทศกาลเช็งเม้งอีกนะ แต่เรานึกไม่ออก ซึ่งอาจจะรวมถึงหนังที่เราตั้งคำถามไว้ในนี้
ถ้าใครนึกออกว่ามีหนังไทยเรื่องไหนอีกที่พูดถึงเทศกาลเช็งเม้ง
ก็มา comment ไว้ได้นะ
------
เราได้ดู MINAMATA: THE VICTIMS AND
THEIR WORLD (1971, Noriaki Tsuchimoto, Japan, documentary, A+30) ตอนที่หนังเรื่องนี้มาฉายในกรุงเทพในวันที่
26 ส.ค. 2006 หรือเมื่อเกือบ 18 ปีที่แล้ว
ตอนนั้นเราเขียนถึงหนังเรื่องนี้ลง webboard
ว่า
“ช่วง 15 นาทีสุดท้ายของหนังเรื่องนี้
เมื่อชาวบ้านเผชิญหน้ากับประธานบริษัทที่ชั่วช้าสารเลวที่สุดในชีวิต
เป็นช่วงที่กลั้นน้ำตาเอาไว้ไม่อยู่อีกต่อไป
รู้สึกว่าผู้กำกับหนังเรื่องนี้เก่งมากๆในการควบคุมเสียงในฉากนั้น
โดยให้ผู้ชมได้ยินเสียงเซ็งแซ่ในการประชุมก่อนในช่วงแรก
ก่อนที่จะเหลือเพียงเสียงกรีดร้องของหญิงสาวคนเดียวขณะเผชิญหน้ากับประธานบริษัท
การไล่ระดับเสียงจากเสียงดังเซ็งแซ่จนเหลือเพียงเสียงหญิงสาวคนเดียวในฉากนั้น
ทำให้อารมณ์ในฉากนั้นพุ่งปรี๊ดมากๆ”
หนังเรื่องนี้ทำให้นึกถึงประโยคของใครไม่รู้ที่ว่า
“ยิ่งความชั่วมีพลังมากเท่าไหร่ หนังยิ่งมีพลังมากเท่านั้น”
เพราะการปรากฏตัวของคนชั่วในช่วงท้ายของหนังสารคดีเรื่องนี้
ทำให้อารมณ์ในหนังพุ่งปรี๊ดมาก
รู้สึกว่าประธานบริษัทในหนังเรื่องนี้ชั่วร้ายกว่าผู้พิพากษาใน SOPHIE SCHOLL – THE FINAL DAYS (2005, MARC
ROTHEMUND, A+++++) เสียอีก
เพราะรู้สึกว่าผู้พิพากษาอาจจะซวยได้ ถ้าหากไม่เข้าข้างฮิตเลอร์
แต่ปธ.บริษัทในหนังเรื่องนี้ไม่ได้ถูกบีบบังคับจากใครให้ทำร้ายประชาชนแต่อย่างใด
https://celinejulie.blogspot.com/2006/08/minamata-victims-and-their-world.html
https://celinejulie.blogspot.com/2006/09/dagmar-keller-martin-wittwer.html
No comments:
Post a Comment