Saturday, April 13, 2024

MORRISON

 

สรุปผลประกอบการประจำวันศุกร์ที่ 12 april 2024

 

1.APRIL COME SHE WILL (2024, Tomokazu Yamada, Japan, A+30)

ดูที่ HOUSE รอบ 10.00

 

ดูแล้วแอบจินตนาการว่าตัวเองคือบาร์เทนเดอร์เกย์ (หรือเจ้าของร้านเหล้า เราไม่แน่ใจเหมือนกัน) ในหนังเรื่องนี้ เหมือนเขาแอบชอบพระเอกหรือเปล่า 55555 แต่เขาก็คงทำได้แค่เป็นเพื่อนที่ดีของพระเอกเท่านั้น

 

คือหนังอาจจะไม่ได้ตั้งใจ แต่เราแอบรู้สึกเฮิร์ทเล็กน้อยในฉากที่บาร์เทนเดอร์ควงชายหนุ่มออกมาจากร้าน แต่พอเขาเจอพระเอก เขาก็ทิ้งชายหนุ่มคนนั้นเพื่อไปเดินเที่ยวกับพระเอกในยามค่ำคืน เพราะพระเอกคงมีความสำคัญต่อเขาจริง ๆ  ก่อนที่เขาจะพบว่า ที่แท้แล้วพระเอกพาเขาไปยัง... เราก็เลยคิดว่าถ้าหากเราเป็นบาร์เทนเดอร์ เราก็คงรู้สึกแอบเฮิร์ทในใจเล็กน้อย 55555

 

2. MORRISON (2023, Phuttiphong Aroonpheng, A+30)

 

ดูที่ HOUSE รอบ 12.00

 

งดงามที่สุด

 

3.BADE MIYAN CHOTE MIYAN (BIG MASTER LITTLE MASTER) (2024, Ali Abbas Zafar, India, 163min, A-)

 

ดูที่เมเจอร์ เอกมัย รอบ 15.00 น.

 

เป็นหนังที่น่าเบื่อมากสำหรับเรา

 

4.CIVIL WAR (2024, Alex Garland, A+30)

 

ดูที่ SF TERMINAL 21 รอบ 19.30

 

เป็นหนังที่สนุกสุดขีดสำหรับเราเป็นการส่วนตัว คือดูแล้วรู้สึกสนุกเหมือนดูหนังซอมบี้, มนุษย์ต่างดาวบุกโลก เพียงแต่เรื่องนี้มันเปลี่ยนจากซอมบี้กับมนุษย์ต่างดาวมาเป็นสงครามกลางเมือง แล้วพอมันเปลี่ยนแบบนี้ มันก็เลยทำให้เราอินกับมันมาก ๆ เป็นการส่วนตัว เพราะเหมือนเราจะอินกับ “ความมืดดำในจิตใจมนุษย์” มากกว่าซอมบี้และมนุษย์ต่างดาว และสถานการณ์ในหนังก็ทำให้เรารู้สึกใกล้ตัวมากกว่าซอมบี้และมนุษย์ต่างดาวด้วย เพราะเราดูแล้วจะนึกถึงเพื่อน ๆบางคนที่ถูกส่งไปทำข่าวสงครามกลางเมือง Myanmar ในตอนนี้ นึกถึงที่เพื่อน ๆ คุยกันเกี่ยวกับเหตุการณ์นักข่าวโดนยิงในสถานการณ์ต่าง ๆ และหนังเรื่องนี้ก็ทำให้นึกถึงทั้งสงครามบอสเนียและสงครามรวันดาด้วย เราก็เลยรู้สึกอินกับหนังเรื่องนี้มากกว่าหนังซอมบี้

 

และขอบันทึกความทรงจำไว้ว่า ครั้งนี้เป็นครั้งที่สองต่อจาก THE CALL (2013, Brad Anderson) มั้ง ที่เราประทับใจกับการส่งเสียงแสดงปฏิกิริยาของคนดูผิวดำต่อหนังมาก ๆ 55555 คือเราจำได้ว่าตอนที่เราดู THE CALL ที่ Central World เมื่อราว 10 ปีก่อน เราได้ที่นั่งติดกับผู้ชายผิวดำวัยกลางคน แล้วเขามีอารมณ์ร่วมกับหนังอย่างรุนแรงมาก ๆ แล้วก็ส่งเสียงลุ้นไปกับหนังอย่างรุนแรง ซึ่งอันนี้เป็นสิ่งที่เรายอมรับได้ เพราะมันไม่ใช่การคุยกันเองหรือการส่งเสียงดังในรูปแบบอื่น ๆ ที่เป็นการทำลายอารมณ์หรือบรรยากาศของหนัง 555

 

แล้วตอนที่เราดู CIVIL WAR รอบนี้ เราก็สังเกตว่าผู้ชมที่น่าจะเป็นชาวต่างชาติหลายคนใน TERMINAL 21 ส่งเสียงดังแบบมีอารมณ์ร่วมกับหนังอย่างรุนแรงสุดขีด และเราก็สังเกตว่ามีผู้ชมผิวดำหลายคนในโรงด้วย คือเราก็ไม่รู้หรอกว่าเสียงดังเหล่านั้นมาจากผู้ชมผิวขาวหรือผิวดำ แต่เราเดาว่าน่าจะเป็นผู้ชมผิวดำนี่แหละที่ส่งเสียงมีอารมณ์ร่วมกับหนังอย่างรุนแรง ซึ่งช่วยเพิ่มอรรถรสของการรับชมในโรงมาก ๆ ซ่องแตกมาก ๆ

 

 

MORRISON (2023, Phuttiphong Aroonpheng, A+30)

 

1.ดูตัวละครของ "เปิ้ล ไอริณ" ในหนังเรื่องนี้แล้วนึกว่า ตัวเราเองในโลกคู่ขนาน

 

2.ชอบ "ความหลอน" ของหนังเรื่องนี้มาก ๆ นึกถึงทั้งหนังของ Jakkrawal Nilthamrong และ David Lynch คือมันเป็นความหลอนที่ไม่ได้มาเพื่อสร้างความรู้สึกแบบ horror แต่มันกระทบจิตใจของเราในแบบที่รุนแรงและยากจะอธิบาย

 

3.ชอบ "ความพิศวง" ในหนังของคุณ Phutthiphong มาก ๆ เลยด้วย เหมือน "ความพิศวง" คือหนึ่งในสิ่งที่เรามักจะชอบที่สุดในหนังหลาย ๆ เรื่องของเขา ทั้ง STRANGER FROM THE SOUTH (2007), A SUSPENDED MOMENT (2010), FERRIS WHEEL (2016) และ MANTA RAY (2018) เหมือน "ความพิศวง" เป็นลายเซ็นอย่างนึงในหนังของเขา ซึ่งเราเคยเขียนถึงจุดนี้ไปแล้วตอนที่เขียนถึง FERRIS WHEEL

 

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10210857680261407&set=a.10210385200369705

 

4.ประโยคที่ติดใจที่สุดในหนังก็คือการที่ military ใช้ไฟฟ้าจนไฟดับทั้งจังหวัด

 

5.ดูแล้วนึกถึงหนังไทยหลายเรื่องมาก ๆ ที่พูดถึงผลกระทบจากสงครามเย็นในไทย เหมือนหนังเรื่องนี้มันมีบทสนทนากับหนังเรื่องอื่น ๆ โดยไม่ได้ตั้งใจ อย่างเช่น

 

5.1 ผู้หญิงคนนั้นชื่อบุญรอด (1985, Vichit Kounavudhi)

 

5.2 ข้าวนอกนา (1990, Thapakorn Disayanan, TV series)

 

5.3 MIAMI STRIPS, HOLLYWOOD DREAMS เมืองมายา กรุงธิดา (2001, Lee Chatametikool)

 

5.4 ถ้าจำไม่ผิด มีหนังบางเรื่องของคุณ Manasak Khlongchainan ที่พูดถึงอดีตของจังหวัดอุดรธานีในฐานะฐานทัพสหรัฐ แต่มันคือหนังเรื่องอะไรนะ ใครจำได้บ้าง

 

5.5 ALL THE THINGS YOU LEAVE BEHIND (2022, Chanasorn Chaikitiporn)

 

5.6 ลำนำ, แม่โขงที่รัก MEKHONG MON AMOUR (2023, Chitpon Paengwiangjan)

 

ซึ่งพอเทียบเคียงกันแล้ว เราก็จะรู้สึกว่า MORRISON มันก็ดูมีพลังในแบบของตัวเองดี คือหนังเรื่องอื่น ๆ มันมีพลังในแง่ของการนำเสนอ "ประเด็น" อย่างเป็นรูปธรรม จับต้องได้ แต่สิ่งที่เราชอบใน MORRISON คือพลังของดินแดนพิศวงที่มันสร้างขึ้น มากกว่า "ประเด็น" ของมัน

 

6. ดูแล้วนึกถึงหนัง 2 เรื่องนี้ด้วย

 

6.1 THE CORRIDOR (1995, Sharunas Bartas, Lithuania)

 

One of my most favorite films of all time และเหมือนเป็นเหรียญอีกด้านโดยไม่ได้ตั้งใจของ MORRISON เพราะ MORRISON เหมือนนำเสนอเศษซากอารยธรรมที่สหรัฐทิ้งไว้ในไทยในยุคสงครามเย็น ส่วน THE CORRIDOR ทำให้เรารู้สึกราวกับว่า มันคือเศษซากจิตวิญญาณของคนในลิทัวเนียหลังสหภาพโซเวียตล่มสลาย และหนังทั้งสองเรื่องก็นำเสนอ "อาคารสถานที่" และผู้คนที่อาศัยอยู่ในอาคารแห่งนั้น ในแบบที่แทบไม่มีเนื้อเรื่อง แต่นำเสนอบรรยากาศออกมาได้ในแบบที่ทรงพลังสุดขีด

 

6.2 MEKONG HOTEL (2012, Apichatpong Weerasethakul)

 

7.สิ่งหนึ่งที่หนังเรื่องนี้ไม่ได้ตั้งใจ แต่เป็นสิ่งที่เรานึกถึงหลังดูหนังเรื่องนี้จบ ก็คือว่า ดูแล้วก็นึกสงสัยไปถึงผลพวงจากการแทรกแซงของสหรัฐในยุคสงครามเย็นในประเทศอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะใน Afghanistan ที่เหมือนสหรัฐเข้าไปหนุนกลุ่มมูจาฮิดีนในการขับไล่สหภาพโซเวียตออกไป แต่ผลพวงของมันก็คือกลุ่มตาลีบันที่ต่อต้านสหรัฐและชาติตะวันตกในเวลาต่อมา

 

 คือเหมือนในบางประเทศนั้น สหรัฐเข้าไปต่อต้านคอมมิวนิสต์ ด้วยการสนับสนุนกลุ่ม A ซึ่งอาจจะเป็นกลุ่มคลั่งชาติ, คลั่งศาสนา, คลั่งสถาบันอะไรต่าง ๆ ให้ช่วยกันต่อต้าน communists แต่พอภัยคอมมิวนิสต์หายไปแล้ว กลุ่ม A ที่คลั่งชาติคลั่งอะไรต่าง ๆ นี่แหละที่จะมาแว้งกัดสหรัฐซะเอง ซึ่งเรื่องแบบนี้แน่นอนว่าไม่ได้เกิดขึ้นแค่ใน Afghanistan

 

นึกถึงกรณี “อิหร่าน-คอนทรา”, การแทรกแซงของสหรัฐในตะวันออกกลาง, ในอเมริกากลาง และอเมริกาใต้ในยุคสงครามเย็นด้วย

 

8.เรารู้สึก relate กับ MORRISON เป็นการส่วนตัวในบางมุมด้วย เพราะเราเกิดปี 1973 และเติบโตมากับการถูก propaganda ฝังหัวให้หวาดกลัวคอมมิวนิสต์อย่างรุนแรง เรากลัวเวียดนามและโซเวียตจะบุกยึดประเทศมาก ๆ ในตอนนั้น

 

และหนังเรื่องนี้ก็ทำให้เรานึกย้อนไปถึงวัยเด็กของเรา เพราะตอนเราเด็ก ๆ เราเคยใฝ่ฝันอย่างรุนแรงว่าอยากจะเป็นกะหรี่ อยากจะเป็นเมียเช่า เพราะเราอยากจะร่วมรักกับทหารอเมริกันหนุ่ม ๆ หลาย ๆ คน โดยเฉพาะทหารแบบ Tom Cruise และ Val Kilmer ใน TOP GUN (1986, Tony Scott) หรือบรรดาทหารหนุ่ม ๆ ในละครทีวีเกี่ยวกับสงครามเวียดนามเรื่อง TOUR OF DUTY (1987-1990) ที่มาฉายทางช่อง 3 ในยุคนั้น ในยุคนั้นเราชอบดูข่าวทหารอเมริกันเอาเรือรบมาจอดที่ไทยแล้วก็พากันมาเที่ยวพัทยามาก ๆ เวลาดูข่าวพวกนี้เราก็ใฝ่ฝันอย่างรุนแรงว่าอยากจะเป็นกะหรี่เพื่อจะได้ร่วมรักกับทหารเหล่านี้

 

ก่อนที่เราจะเลิกฝันแบบนั้นเมื่อได้ดูหนังเรื่อง CASUALTIES OF WAR (1989, Brian De Palma) และพอเราโตขึ้น และออกจากการถูก propaganda ในยุคสงครามเย็นแล้ว เราก็เลยลืม ๆ เรื่องนี้ไป แต่พอเราได้ดู MORRISON มันก็ทำให้เรานึกถึงอดีต นึกถึงความใฝ่ฝันอันเจิดจรัสของเราในวัยเด็กอีกครั้ง

 

รูปบนมาจาก MORRISON รูปล่างมาจาก THE CORRIDOR

 

No comments: