Saturday, April 13, 2024

MAY THE LAND BEAR WITNESS

 

ขอ quote คำพูดของเพื่อน (เพื่อนมีนามแฝงว่า “กีสะเดิดระเหิดกีบ”) มาแปะไว้ในนี้ เพราะคุยกับเพื่อนเรื่อง THE FIRST OMEN (2024, Arkasha Stevenson, A+30) แล้วชอบไอเดียของเพื่อนมาก ๆ ว่าถ้าหากตัวเองต้องรับบทเป็นหนึ่งในสกิอันนาในหนังเรื่องนี้ จะขอรับบทเป็น สกิอันนาที่เดินได้ตั้งแต่คลอดออกมาเลย และมีรอย 666 อยู่ในง่ามตีน คนเพิ่งมาเห็นรอย 666 ของเธอตอนโดนเธอใช้ตีนตบหน้า

 

และเราก็เห็นด้วยกับเพื่อนอย่างรุนแรงที่สุดเกี่ยวกับหนึ่งในจุดที่ชอบที่สุดใน EXHUMA (2024, Jang Jae-hyun, South Korea, A+30) นั่นก็คือหนังเต็มไปด้วยตัวละครที่ “ทุกคนรู้หน้าที่ ไม่ได้ต้องมาวี้ดว้ายโง่ ๆ” ทั้งกลุ่มตัวละครหลัก และตัวละครประกอบ อย่างเช่นสมุนของนางเอกที่เป็น “สาวท้อง” กับ “สาววัยรุ่น” ที่มาช่วยสวดข้างเตียงหนุ่มหล่อ คือพอเพื่อนพูดมาแบบนี้ เราก็เลยเข้าใจเลยว่าทำไมเราชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ เพราะหนังสยองขวัญเรื่องอื่น ๆ ชอบมีตัวละครวี้ดว้ายโง่ ๆ แล้วก็ตายห่าไปโดยที่เราไม่มี sympathy อะไร ไม่อินกับตัวละคร และไม่รู้สึกผูกพันกับตัวละครวี้ดว้ายโง่ ๆ พวกนั้น แต่ตัวละครแต่ละคนใน EXHUMA มันตั้งใจทำงานและมันสู้สุดฤทธิ์มาก ๆ เราก็เลยอินกับมันและหนังก็เลยได้ใจเรามาก ๆ ตรงจุดนี้

-------------

ฉากที่ชอบมากใน CIVIL WAR คือฉากที่นักข่าวรุ่นใหญ่บอกนางเอกว่า ค่อย ๆ หันไปดูบนดาดฟ้านะ อย่ากระโตกกระตาก แล้วกล้องก็ค่อย ๆ ให้เราเห็นว่ามีผู้ชายสองคนถือปืนอยู่บนดาดฟ้า ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมชอบฉากนี้มาก ๆ

 

ชอบ Sammy นักข่าวรุ่นใหญ่ในฉากนี้มาก ๆ คือตอนแรกนึกว่าจะมาเป็นภาระให้คนอื่น ๆ ปรากฏว่าคนนี้เก๋าจริง ช่วยชีวิตทุกคนไว้ได้

 

---

COME TOGETHER มาด้วยกัน (2023, Jakkrapan Sriwichai, video installation, 20min, A+30)

 

ในงานศิลปะชุด “รถไฟล่องหน” นี้ มีงานวิดีโออยู่ 5 ชิ้น แต่เราเพิ่งดูจบไปแค่ 3 ชิ้นนะ ซึ่งก็คือ I GO WHERE IT GOES (20MIN), ON ITS WAY (33MIN) กับ COME TOGETHER

ซึ่งในงานวิดีโอ 3 ชิ้นนี้ เราก็ชอบ COME TOGETHER มากที่สุดนะ เพราะมันมีหลายคนมาช่วยกันเดินตามเส้นทางรถไฟฟ้าล่องหน มันก็เลยดูสนุกครื้นเครงมากที่สุด

 

I GO WHERE IT GOES
https://web.facebook.com/jit.phokaew/posts/pfbid0XsWdy26f4keBWkDbPyTVKNzdujsJQGxvFk9NY4xtbJk6LhxXPG7a2eQuBesHyn8tl

 

ON ITS WAY

https://web.facebook.com/jit.phokaew/posts/pfbid02eRZXDr36WwmMdqdJPv7aUnyHf3JEJyRMsSWGBcLZUUUHAnZB1QzAPt1TJfRkZAfml

------

ได้ไปดูหนังทดลองที่นิเทศจุฬาเมื่อวันพุธที่ผ่านมา จำได้ว่า curator ของงานนั้นพูดถึงประเด็น INTERNAL COLONIALISM ด้วย เพราะหนังบางเรื่องที่ฉายในงานวันนั้นพูดถึงประเด็นนี้ อย่างเช่นหนังเรื่อง SIAMESE FUTURISM (2021, Montika Kham-on)

 

ซึ่งพอเราอาศัยอยู่แต่ในกรุงเทพ เราก็จะไม่ได้เห็นภาพของ INTERNAL COLONIALISM อย่างชัด ๆ แต่พอเราได้เห็นเสียงต่อต้านการพัฒนาระบบขนส่งมวลชนในต่างจังหวัดให้ดีขึ้นในวันนี้แล้ว ก็เลยนึกถึงหนังทดลองที่เพิ่งได้ดูเลย

-----

เพิ่งรู้ว่า Zachary Epcar ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง THE CANYON ที่ติดอันดับ 10 ในลิสท์หนังสุดโปรดของเราในเทศกาล World Film Festival of Bangkok 2022 กำลังจะสร้างหนังยาวเรื่อง THE SYNDROME ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ HAVANA SYNDROME ซึ่งเป็นกลุ่มอาการที่เราไม่เคยได้ยินมาก่อน เราเคยได้ยินแต่ศัพท์ The China Syndrome กับ The Stockholm Syndrome จากหนังบางเรื่องที่เราเคยดู

 

เราก็เลย google ดู แล้วก็พบว่า Havana Syndrome นี่มันเหมาะจะสร้างเป็นหนังจริง ๆ เพราะว่ามันคือคดีจริง ๆ ในปี 2016-2021 ที่เจ้าหน้าที่หน่วยข่าวกรองสหรัฐ, เจ้าหน้าที่ทหารสหรัฐ และครอบครัวของคนเหล่านี้ที่ประจำการอยู่ในประเทศต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงในคิวบา, เยอรมนี, จีน, อินเดีย, ยุโรป และเวียดนาม มีอาการประหลาด อย่างเช่น ได้ยินเสียงขูดขีดแปลก ๆ, ปวดศีรษะ, สูญเสียการได้ยิน, สูญเสียความทรงจำ, คลื่นเหียนอาเจียน, ได้รับบาดเจ็บที่สมอง ก็เลยมีการตั้งข้อสงสัยกันว่า ศัตรูของสหรัฐใช้คลื่นไมโครเวฟหรืออุลตร้าซาวด์ในการทำร้ายเจ้าหน้าที่สหรัฐ แต่ยังหาตัวคนร้ายไม่ได้ ซึ่งก็มีการตั้งข้อสงสัยกันว่า คนร้ายอาจจะเป็นสายลับรัสเซียด้วย

 

เราก็เลยพบว่า มันน่าสนใจมากที่ตอนนี้มีการใช้ “อาวุธคลื่นไมโครเวฟ” กันแล้ว กรี๊ดดดดดดด แล้วอย่างนี้เราจะต้องป้องกันตัวอย่างไร มี “ม่านบาเรีย” กันคลื่นไมโครเวฟขายไหม 55555

 

แต่ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ในไทย ผู้ต้องสงสัยรายแรกอาจจะไม่ใช่ “อาวุธคลื่นไมโครเวฟ” แต่อาจจะเป็น “การทำคุณไสย” ธี่หยด ลองของ ร่างทรง อะไรต่าง ๆ 55555

-------

พอเราอ่าน comment เกี่ยวกับหนังเรื่อง CIVIL WAR (2024, Alex Garland, A+30) แล้วก็เลยเพิ่งรู้ว่ามีกลุ่มติดอาวุธ Boogaloo Bois ที่เป็นกลุ่มขวาจัดในสหรัฐที่พยายามทำให้เกิดสงครามกลางเมืองครั้งที่สองในสหรัฐด้วย โดยชื่อกลุ่ม Boogaloo Bois นั้นมีที่มาจากภาพยนตร์เพลงเรื่อง BREAKIN’ 2: ELECTRIC BOOGALOO (1984, Sam Firstenberg) และกลุ่มนี้ก็มีส่วนร่วมในการบุกรัฐสภาสหรัฐในวันที่ 6 ม.ค. 2021 เพื่อสนับสนุนโดนัลด์ ทรัมป์ด้วยเช่นกัน

https://www.propublica.org/article/boogaloo-bois-military-training

+++

 

MAY THE LAND BEAR WITNESS ธรณีนี่นี้เป็นพยาน (2024, Vacharanont Sinvaravatn, video installation, A+30)

 

วิดีโอมีสองจอ จอที่พูดถึงเทือกเขาอัลไตมีความยาวราว 10 นาที ส่วนจอที่พูดถึงคอมมิวนิสต์ในไทยในทศวรรษ 1970 + ยุคแผ่นดินธรรมแผ่นดินทอง + การฆ่าคนเห็นต่างทางการเมืองแล้วนำศพถ่วงลงแม่น้ำโขง มีความยาวราว 23 นาที

 

นึกว่าต้องฉายควบกับ SOUTH (1999, Chantal Akerman) และ PROFIT MOTIVE AND THE WHISPERING WIND (2007, John Gianvito) เพราะหนังทั้งสามเรื่องนี้เล่าถึง “ประวัติศาสตร์การนองเลือด” เหมือน ๆ กัน แต่เน้นนำเสนอประวัติศาสตร์ดังกล่าวด้วยการถ่ายภาพสถานที่ที่เคยเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวในอดีต หรือสถานที่ในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าวในอดีต ซึ่งดูภายนอกมันก็จะดูเหมือนสถานที่ปกติธรรมดา สงบ สดชื่น ร่มเย็น “ลมรำเพยแผ่นพลิ้วสยิวใบหญ้า โอนเอนใบอ่อนมาถลาเล่นลม” มาก ๆ แต่จริง ๆ แล้วสถานที่แห่งนั้นมันมีประวัติศาสตร์แห่งความเจ็บปวด แห่งการต่อต้าน และแห่งการนองเลือดซ้อนทับอยู่ภายใต้ฉากหน้าที่ดูร่มเย็นนั้น เรียกได้ว่าหนัง 3 เรื่องนี้เหมือนเป็นหนังไตรภาคโดยไม่ได้ตั้งใจ เป็น TRILOGY OF “LANDSCAPE OF RESISTANCE/LANDSCAPE OF VIOLENCE”

 

ชอบที่วิดีโอชุดนี้มันให้ cosmic sense ผ่านทางจอที่พูดถึงเทือกเขาอัลไตด้วย เหมือนจอที่พูดถึงแม่น้ำโขงมันทำให้เรามองสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นแบบโฟกัสไปที่จุดเฉพาะเจาะจง แต่จอที่พูดถึงเทือกเขาอัลไตมันทำให้เรามองสิ่งต่าง ๆ แบบมองภาพรวมในมุมกว้าง ซึ่งไม่ใช่มุมกว้างเพียงแค่ในเชิง space เท่านั้น แต่เป็นการมองภาพมุมกว้างทาง “กาลเวลา” ด้วย

 

เนื่องจากเราเริ่มแยกไม่ค่อยออกว่างานวิดีโอชิ้นไหนเป็นชิ้นไหนใน INVISIBLE TRAIN (Jakkrapan Sriwichai) เราก็เลยจดข้อมูลช่วยเตือนความจำดีกว่า โดยข้อมูลเหล่านี้มาจากคำบรรยายของศิลปิน

 

1.I GO WHERE IT GOES ฉันไปที่มันไป (2023, Jakkrapan Sriwichai, video installation, 20min, A+30)

 

เป็นการเดินทางตามรถไฟฟ้าสายสีแดง เพื่อสำรวจผู้คนและชุมชน ที่อาจจะเป็นผู้ใช้งานในวันใดวันนึง

https://web.facebook.com/jit.phokaew/posts/pfbid0XsWdy26f4keBWkDbPyTVKNzdujsJQGxvFk9NY4xtbJk6LhxXPG7a2eQuBesHyn8tl

 

2. IT GOES EVERYWHERE I GO (94min)

 

เป็นการขยายขอบเขตของคำว่า ขนส่งสาธารณะ ให้ไปได้ทั่วถึงมากกว่าตามเส้นทาง เป็นเวลาทั้งหมด 7 วัน

 

3. CAN’T TAKE ME HOME (41min)

 

เป็นการจำลองขยายขอบเขตของรถไฟฟ้า ให้สามารถเชื่อมระหว่างอำเภอรอบนอกกับอำเภอเมือง ใช้รถไฟล่องหนกลับบ้านที่อยู่ต่างอำเภอ เป็นระยะทาง 40 กิโลเมตร

 

4. COME TOGETHER มาด้วยกัน (2023, Jakkrapan Sriwichai, video installation, 20min, A+30)

 

เป็นการกลับไปสำรวจเส้นทางรถไฟฟ้าอีกครั้งนึง ครั้งนี้จะเป็นสายสีน้ำเงิน ซึ่งก็จะมีอาสาสมัครมาร่วมใช้รถไฟล่องหนด้วยกัน มีการขึ้นจากสถานีนึงไปลงอีกสถานีนึง เสมือนว่าเป็นการใช้รถไฟฟ้าจริง ๆ

https://web.facebook.com/jit.phokaew/posts/pfbid0eoJ5sQ8QhQ4v4avPe2KyhkDQLUFXLumaiYJAgnEfBLWwYP6HwQsPQ8JHYPLHobWul

 

5. ON ITS WAY ทางของมัน (2023, Jakkrapan Sriwichai, video installation, 33min, A+30)

 

เป็นการจำลองเส้นทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ถ้าเราอยู่บนรถไฟฟ้าจริง ๆ ภาพที่เราเห็น เสียงที่ได้ยิน จะมีหน้าตาประมาณไหน

https://web.facebook.com/jit.phokaew/posts/pfbid02eRZXDr36WwmMdqdJPv7aUnyHf3JEJyRMsSWGBcLZUUUHAnZB1QzAPt1TJfRkZAfml

 ++++

BILLY (2019, Zachary Epcar, USA, 8min, A+30)

 

ดูได้ที่นี่

https://www.lecinemaclub.com/now-showing/billy/

 

Zachary Epcar เป็นผู้กำกับหนังเรื่อง THE CANYON ซึ่งติดอันดับ 10 ในลิสท์หนังที่เราชื่นชอบมากที่สุดในงาน World Film Festival of Bangkok ปี 2022

 

ส่วนหนังเรื่อง BILLY นี้ เราชอบความพิศวงของมัน เราเข้าใจว่าหนังเรื่องนี้เป็นการนำเอาฉากบางฉากในละครทีวีชุด MELROSE PLACE (1992-1999) มา reenact ใหม่  ซึ่งพอดู BILLY แล้วเราก็ไม่เกิดความเข้าใจอะไรทั้งสิ้น แต่ชอบความพิศวงความแปลกของมัน

No comments: