Tuesday, April 16, 2024

THE ZONE OF INTEREST AND LAUGH MOMENT

 

เช้านี้แม่หมีจับได้ว่าเมื่อวานลูกหมีแอบไปเที่ยวสงกรานต์กับหนุ่ม ๆ จำนวนมาก แม่หมีเลยจับลูกหมีใส่ตะกร้าล้างน้ำ

+++

เพิ่งได้ฟังบทสัมภาษณ์ของ Crystal Waters เกี่ยวกับที่มาของเพลง GYPSY WOMAN (1991) ชอบมาก ๆ ที่เธอบอกว่า เธอมีพื้นฐานด้าน poetry มาตั้งแต่เด็ก ๆ เธอก็เลยแต่งเพลงเองได้ แล้วตอนช่วงปลายทศวรรษ 1980 มีคนจนเยอะมากใน Washington DC โรคเอดส์ก็ระบาด แล้วเธอก็มักจะเห็นผู้หญิงคนนึงแต่งตัวดีมาก แต่งหน้าเต็มที่ มายืนที่ถนน ร้องเพลง gospel เพื่อแลกกับเงิน ซึ่งตอนแรกเธอก็จะสงสัยว่า ผู้หญิงที่แต่งตัวดีขนาดนี้มาร้องเพลงขอเงินทำไม แต่พอตอนหลังเธอได้อ่านบทความในหนังสือพิมพ์เกี่ยวกับที่มาของผู้หญิงคนนี้ ว่าวณิพกคนนี้ตกงาน และวณิพกคนนี้ก็มีแนวคิดของตัวเองว่า เธออยากจะ look respectable เวลาขอเงินจากผู้คน บทความนั้นก็เลยเหมือนช่วยเปลี่ยน attitude ของ Crystal Waters ที่มีต่อวณิพก แล้วก็เลยเป็นที่มาของเพลง GYPSY WOMAN

+++

Favorite Actress: Martine Francke from I’LL END UP IN JAIL (2019, Alexandre Dostie, Canada, short film, A+30)

+++

Films seen in the tenth week of the year 2024

 

4-10 March 2024

 

In roughly preferential order

 

1.THE CEMETERY OF CINEMA (2023, Thierno Souleymane Diallo, France/Guinea, documentary, A+30)

 

2.IMAGINARY ตุ๊กตาซาตาน (2024, Jeff Wadlow, A+30)

 

3. LAND OF LEGENDS (2022, Anton Megerdichev, Russia, A+30)

 

4.ONE DAY PINA ASKED… (1983, Chantal Akerman, France/Belgium, documentary, 57min, A+30)

 

5.THE CATHEDRAL (2022, Denis Dobrovoda, Slovakia/Spain, documentary, A+30)

 

6.EGÚNGÚN (MASQUERADE) (2021, Olive Nwosu, Nigeria/UK, lesbian, short film, A+30)

 

7.HOW TO HAVE SEX (2023, Molly Manning Walker, UK/Greece, A+30)

 

8.UNE SOEUR (2018, Delphine Girard, Belgium, short film, A+30)

 

9.BEACH FLAGS (2014, Sarah Saidan, France/Iran, short animation, A+30)

 

10.I’LL END UP IN JAIL (2019, Alexandre Dostie, Canada, short film, A+30)

 

11.OLLA (2019, Ariane Labed, France, short film, A+30)

 

12.SHAITAAN (2024, Vikas Bahl, India, A+30)

 

13.THE DARK MOTHER แม่ณุน (2024, Kou Darachan, Cambodia, A+30)

 

14.AVOCADO ON PANCAKES (2024, Chinanang Tamrongtanakijakarn, 9min, A+30)

 

15.HIDE AND SEEK (2023, Rian Apriansyah, Indonesia, 10min, A+30)

 

16.FOUNT (2020, Evrim Inci, Turkey, documentary, 4min, A+30)

 

17.POLE PRINCESS THE MOVIE (2023, Hitomi Ezoe, Japan, animation, A+30)

 

18.QUEBRA-CABEÇA (2016, Olivier Briand, France, shot in Portugal, short film, A+30)

 

19.EYE (2023, Thanawat Sae-jao ธนวัฒน์ แซ่จ๋าว, animation, 2min, A+30)

 

20.BLINDED BOUNDARY สายสัมพันธ์ (2021, Kittipot Khunthong กิตติพศ ขุนทอง, 31min, A+25)

 

21.BERMUDA (2018, Erik Warolin, Sweden, short film, A+25)

 

22.KEEPING UP WITH THE JONESES (2013, Michael Pearce, UK, short film, A+25)

 

23.WOLLY WENDA (2020, Diane Russo Cheng, USA, short film, A+25)

 

24.KLEPTOMAMI (2017, Pola Beck, Germany, short film, A+25)

 

25.PEE NAK 4 พี่นาค 4 (2024, Phontharis Chotkijsadarsopon, A+)

 

26.MADAME WEB (2024, S. J. Clarkson, A+)

 

27.THE RITUAL BLACK NUN ฝังครรภ์ปีศาจ (2023, Semsak Visal, Cambodia, A+)

 

28.AFTER SUNSET (2023, Pitchapa Phungsakorn พิชชาภา พึ่งสาคร, 4min, A-)

 

สรุปว่าใน 10 สัปดาห์แรกของปี 2024 เราดูหนังไปแล้ว  180 + 28 = 208 เรื่อง

+++

ฉันรักเขา Charles Melton from MAY DECEMBER (2023, Todd Haynes, A+30)

ฉันรักเขา Gabriel Chung from MAY DECEMBER (2023, Todd Haynes, A+30)

 

QUADRUPLE FILM WISH LIST

 

ตอนที่เราดู MAY DECEMBER (2023, Todd Haynes, A+30) เราก็จะนึกถึงหนังอีกเรื่องตลอดเวลา นั่นก็คือหนังเรื่อง MARY KAY LETOURNEAU: ALL AMERICAN GIRL (2000, Lloyd Kramer, B+/B ) ที่เราเคยดูทางเคเบิลทีวีเมื่อราว 20 ปีก่อน หนังเรื่องนี้นำแสดงโดย Penelope Ann Miller ในบทของคุณครูที่มีเพศสัมพันธ์กับนักเรียนหนุ่มวัย 13 ปี เราชอบคำโปรยของหนังเรื่องนี้มาก ๆ ที่ว่า “She was the teacher. He was her student. What they learned wasn't part of the curriculum.

 

ซึ่งหนังทั้งสองเรื่องนี้ก็สร้างจาก “เรื่องจริงเรื่องเดียวกัน” นั่นเอง และเราก็จำอะไรในหนังเรื่อง MARY KAY LETOURNEAU: ALL AMERICAN GIRL ไม่ได้แล้ว แต่ถ้าหากจำไม่ผิด มันก็คงเป็นแค่หนังที่เล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีอะไรน่าสนใจมั้ง ซึ่งแตกต่างจาก MAY DECEMBER ที่เหมือนเอาเรื่องจริงมาดัดแปลงได้อย่างรุนแรงและน่าสนใจกว่าเดิมมาก ๆ สิ่งที่เราชอบมาก ๆ ใน MAY DECEMBER ก็คือ “ความซับซ้อนของมนุษย์” ของตัวละครแต่ละคน และการกำกับของ Todd Haynes ที่มันทรงพลังมาก ๆ

 

เพราะฉะนั้นถ้าหากเอา MARY KAY LETOURNEAU: ALL AMERICAN GIRL กับ MAY DECEMBER มาฉายควบกัน มันก็จะเห็นได้ชัดเลยว่า “การดัดแปลงคดีจริง ๆ มาสร้างเป็นหนัง” นั้น มันสามารถทำออกมาได้อย่างแตกต่างกันราวหน้ามือกับหลังตีนได้อย่างไร

 

ส่วนหนังที่เราว่ามีฝีมือพอจะสูสี ทัดเทียมกับ MAY DECEMBER ในแง่ของ “การดัดแปลงคดีฉาวจริง ๆ มาสร้างเป็นหนัง” ก็คือหนังเรื่อง THE POSITIVELY TRUE ADVENTURES OF THE ALLEGED TEXAS CHEERLEADER-MURDERING MOM (1993, Michael Ritchie) ที่นำแสดงโดย Holly Hunter และถือเป็นหนึ่งในบทบาทการแสดงที่ดีที่สุดของเธอ เราว่าเรื่องนี้แหละที่พอจะปะทะกับ MAY DECEMBER ได้ในแง่ของ “วิธีการดัดแปลงคดีฉาวมาสร้างเป็นหนัง”

 

ส่วนถ้าหากใครชอบหนังที่พูดถึงความสัมพันธ์ระหว่างคุณครูสาวกับนักเรียนหนุ่ม หนังที่เราชอบมากอีกเรื่องก็คือ ALL THINGS FAIR (1995, Bo Widerberg, Denmark/Sweden)  ที่พูดถึงสัมพันธ์รักระหว่างครูสาววัย 37 ปีกับเด็กหนุ่มวัย 15 ปี

 

TRIPLE FILM WISH LIST

 

1.THE ZONE OF INTEREST (2023, Jonathan Glazer)

 

2. THE INEXTINGUISHABLE FIRE (1969, Harun Farocki, West Germany, 25min)

หนังเรื่องนี้มีให้ดูในยูทูบนะ

 

3.เรื่องเล่าจากเสียงหัวเราะ LAUGH MOMENT (2019, Teeramate Kititadsupasin, 25min)

 

จริง ๆ แล้ว THE ZONE OF INTEREST สามารถฉายควบกับหนังได้มากมายหลายร้อยเรื่องที่พูดถึง Holocaust โดยตรง แต่ถ้าหากจะฉาย THE ZONE OF INTEREST ควบกับหนังที่ไม่ได้พูดถึง Holocaust เราก็นึกถึงหนังสองเรื่องนี้

 

THE INEXTINGUISHABLE FIRE พูดถึงสงครามเวียดนาม, ความรุนแรงของระเบิดนาปาล์ม และการที่คนจำนวนมากมีส่วนร่วมในการสร้างระเบิดนาปาล์มโดยที่พวกเขาไม่รู้ตัว ซึ่งอาจจะรวมถึงคนงานและวิศวกรในบริษัทอะไรสักแห่งที่ผลิตวัสดุอะไรสักอย่าง พวกเขาอาจจะคิดว่าตัวเองกำลังผลิตวัสดุสำหรับใช้ในเครื่องดูดฝุ่น แต่พวกเขาไม่รู้หรอกว่ามันคือวัสดุที่ใช้ในการผลิตระเบิดนาปาล์ม (ถ้าหากเราจำหนังเรื่องนี้ไม่ผิดนะ)

 

THE INEXTINGUISHABLE FIRE ก็เลยทำให้เรานึกถึงผู้คนจำนวนมากที่คิดว่า “มือตัวเองไม่ได้เปื้อนเลือด” เมื่อพวกเขาได้ยินข่าวสงครามอันเลวร้ายที่เกิดขึ้นที่ไหนสักแห่ง แต่หนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่า มือของพวกเขาอาจจะเปื้อนเลือดก็ได้ แต่พวกเขาไม่รู้ตัวเท่านั้นเอง ซึ่งจุดนี้ของหนังเรื่อง THE INEXTINGUISHABLE FIRE ก็เลยทำให้นึกถึงหนังเรื่อง THE ZONE OF INTEREST มาก ๆ ในแง่ของผู้คนที่มีส่วนร่วมในการสร้างความเลวร้าย หรือ “เสวยสุขจากความเลวร้าย” นั้น แต่พวกเขาปิดตาปิดใจของตัวเองในการยอมรับความจริงนี้

 

THE INEXTINGUISHABLE FIRE ก็ทำให้เรานึกถึงตัวเองด้วย เพราะเราเองก็ไม่มีความรู้หรอกว่า “ไฟฟ้า” ที่เราใช้อยู่ทุกวันนี้ มันมาจากไหน ไฟฟ้านี้มันมาจากแหล่งพลังงานใน Myanmar หรือเปล่า แล้วการที่เราใช้ไฟฟ้าอยู่นี้ มันเป็นการสนับสนุนในทางอ้อมให้รัฐบาลเผด็จการทหารใน Myanmar มีเงินสำหรับใช้ซื้ออาวุธเข่นฆ่าประชาชนหรือเปล่า หรือไฟฟ้าที่เราใช้อยู่นี้ มันมาจากเขื่อนในลาวหรือเปล่า แล้วการที่เราใช้ไฟฟ้าอยู่นี้ มันเป็นการสนับสนุนในทางอ้อมในการทำลายระบบนิเวศของแม่น้ำโขงหรือเปล่า, etc. บางทีการดำรงชีวิตประจำวันของเราในทุกเมื่อเชื่อวัน อาจจะทำให้มือของเราเปื้อนเลือดโดยไม่รู้ตัวก็ได้

 

ส่วน LAUGH MOMENT ก็เป็นหนังที่เรานึกถึงอย่างรุนแรงตอนดู THE ZONE OF INTEREST เพราะ LAUGH MOMENT เล่าเรื่องของนักเรียนหญิง 4 คนที่กำลังจะจบม.6 แล้วทั้ง 4 คนก็มานั่งรำลึกความหลังกัน โดยเฉพาะความทรงจำเรื่องรัก ๆ ใคร่ ๆ กับนักเรียนหนุ่ม ๆ นักเรียนหญิงทั้ง 4 คนนี้ต่างก็มีความทรงจำที่สนุกสนานต่อชีวิตมัธยมในโรงเรียนแห่งนี้

 

แต่ในขณะที่ “เรื่องราวอันสนุกสนาน” ดำเนินไปในส่วนของ foreground ในแต่ละฉาก ส่วนที่เป็น background ของแต่ละฉาก ก็สะท้อนให้เห็นถึงความจริงอันเลวร้าย โดยเฉพาะความจริงที่ว่า นักเรียนที่ดูเป็นคนปกติธรรมดาหลาย ๆ คน พยายามปิดตา ไม่รับรู้ความจริงอันเลวร้ายที่เกิดขึ้นในโรงเรียนแห่งนี้

 

เพราะฉะนั้นสิ่งที่ตัวละครใน THE ZONE OF INTEREST ทำ ก็เลยทำให้เรานึกถึงสิ่งที่ตัวละครนักเรียนหญิงทั้ง 4 คนทำใน LAUGH MOMENT มาก ๆ เพียงแต่ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นใน LAUGH MOMENT มันใกล้ตัวมาก ๆ และมันอาจจะเกิดขึ้นในโรงเรียนมัธยมหลายแห่งในประเทศไทยในปัจจุบันก็ได้

 

ตอนดู THE ZONE OF INTEREST เราก็จะนึกถึงละครทีวีเรื่อง WAR AND REMEMBRANCE (1989, Dan Curtis, 1620mins) ด้วย เพราะละครทีวีเรื่องนี้ก็พูดถึง Holocaust เหมือนกัน และนำเสนอมันออกมาได้อย่างทรงพลังมาก ๆ ดูแล้วร้องห่มร้องไห้อย่างรุนแรง เพราะละครเรื่องนี้นำเสนอชีวิตของตัวละครบางตัว ที่สุดท้ายก็ถูกฆ่าตายด้วยการถูกจับรมแก๊สพิษในค่ายกักกัน โดยเฉพาะตัวละครผู้ชายคนนึงที่ตอนเด็ก ๆ เขาชอบว่ายน้ำเล่นในแม่น้ำดานูบ แต่ในที่สุดเขาก็ถูกจับรมแก๊สพิษ และเถ้าอัฐิของเขาก็ถูกปล่อยลงสู่แม่น้ำดานูบในที่สุด

 

WAR AND REMEMBRANCE มีฉากสำคัญเกี่ยวกับ “แอปเปิล” เหมือน THE ZONE OF INTEREST ด้วย โดยใน WAR AND REMEMBRANCE นั้น ตัวละครชาวยิวต้องนั่งรถไฟเป็นเวลายาวนานหลายวันท่ามกลางอากาศหนาวจัดขณะถูกส่งไปค่ายกักกัน ซึ่งการนั่งรถไฟนี้ก็ทุกข์ทรมานอย่างสาหัสสากรรจ์มาก ตัวละครหิวโหยสุดขีดมาก ๆ แต่ที่สถานีรถไฟแห่งหนึ่ง ก็มีชาวบ้านชายคนหนึ่งลักลอบนำกระสอบแอปเปิลมามอบให้กับชาวยิวบนรถไฟ แล้วพอชาวยิวถามชาวบ้านคนนี้ว่า “ทำไมคุณเสี่ยงมาช่วยเหลือพวกเราล่ะ” ผู้ชายคนนั้นก็หยิบไม้กางเขนที่ตนเองแอบซ่อนไว้ออกมาโชว์ให้ดู แล้วก็ตอบว่า “เพราะผมเป็นคาทอลิก”

 

ฉากที่ Jane Seymour กินแอปเปิ้ลบนรถไฟใน WAR AND REMEMBRANCE นี่ถือเป็น “หนึ่งในฉากที่ลืมไม่ลงตลอดชีวิตของเรา” เลย มันเป็นฉากการกินอาหารที่ทรงพลังที่สุดในชีวิตของจริง นึกไม่ถึงว่าแอปเปิลเพียงหนึ่งลูกมันจะกลายเป็นสิ่งที่ล้ำค่าที่สุดในชีวิตได้ถึงขนาดนี้

No comments: