Monday, April 15, 2024

THE CHALLAT OF TUNIS

 

เทปเพลงที่เก่าที่สุดที่เรามีอยู่ในตอนนี้ คือเทปเพลง soundtrack ภาพยนตร์เรื่อง THE SOUND OF MUSIC (1965, Robert Wise) ที่แม่ของเราซื้อมาตั้งแต่ก่อนเราเกิด และเราชอบฟังมันตั้งแต่ตอนเด็กๆ พอวันนี้เราลองหยิบเทปนี้มาฟังอีกครั้ง ปรากฏว่ามันยังฟังได้อยู่เลย หนักมาก ๆ ไม่รู้เหมือนกันว่าแม่ของเราซื้อมันมาตั้งแต่เมื่อไหร่ แต่เราเดาว่าอย่างน้อย ๆ เทปนี้ก็มีอายุมากกว่าเรา ซึ่งมีอายุ 51 ปี และถ้าเทปของบริษัท RCA ม้วนนี้ผลิตมาตั้งแต่ปี 1965 นั่นก็แสดงว่าเทปนี้มีอายุ 59 ปีแล้ว แต่ยังฟังได้ เล่นได้อยู่ กราบความคงทนของ tape cassette มาก ๆ

 

HEADS OF TOWN (2009, Michel Auder, video installation, 11min, A+30)

 

ดูไปเมื่อวันที่ 9 ก.พ. แต่เพิ่งมีเวลาลงรูป

 

ALICE NEEL PAINTING MARGARET (1978, Michel Auder, video installation, 41min, A+30)

 

เราได้มีเวลายืนดูแค่ 15 นาทีนะ ไม่ได้ดูตลอดทั้ง 41 นาที เราดูไปเมื่อวันที่ 9 ก.พ. แต่เพิ่งมีเวลาลงรูป

 

 

BANGKOK YAOWARAT (2024, Michel Auder, 13min, A+30)

 

มีความสุขมาก ๆ กับการที่เราได้มองการทำงานของแรงงานหนุ่ม ๆ ผ่านทางวิดีโอนี้ 55555 ชอบหนุ่มเสื้อฟ้ามาก ๆ เลย

 

เราได้ดูวิดีโอนี้ในวันที่ 31 ม.ค.นะ แต่เพิ่งมีเวลาลงรูปวันนี้

 

SNOW NIGHTS (2022, Michel Auder, video installation, 3min, A+30)

 

เราได้ดูวิดีโอนี้ในวันที่ 31 ม.ค.นะ แต่เพิ่งมีเวลาลงรูปวันนี้

 

I AM SO JEALOUS OF BIRDS II (2011, Michel Auder, video installation, 7min, A+30)

 

เราได้ดูวิดีโอนี้ในวันที่ 31 ม.ค.นะ แต่เพิ่งมีเวลาลงรูปวันนี้

 

FLOWERS OF THAILAND (2024, Michel Auder, video installation, A+25)

 

เราได้ดูวิดีโอนี้ในวันที่ 31 ม.ค.นะ แต่เพิ่งมีเวลาลงรูปวันนี้

+++

ThE CHALLAT OF TUNIS (2013, Kaouther Ben Hania, Tunisia, 90min, A+30)

 

หนังเรื่องนี้เปิดฉายออนไลน์ให้ดูฟรีจนถึงตี 5 ของวันอังคารที่ 16 เม.ย.นะ

https://www.festivalscope.com/film/the-challat-of-tunis/

 

หนักมาก ๆ หนังเป็นกึ่งสารคดีกึ่งเรื่องแต่ง ซึ่งพอเราดูแล้วก็แยกไม่ออกว่าอันไหนจริงอันไหนแต่งบ้าง แต่นั่นไม่ใช่เรื่องสำคัญ เพราะสิ่งสำคัญคือหนังคงต้องการจะนำเสนอ “การเหยียดเพศ” อย่างรุนแรงในสังคมตูนิเซีย และหนังก็พาคนดูไปสำรวจสิ่งนี้ได้อย่างดีและสนุกมาก ๆ เพราะฉะนั้นมันก็ไม่เลยไม่สำคัญสำหรับเราว่าส่วนไหนเป็นเรื่องจริงและส่วนไหนเป็นเรื่องแต่ง เพราะถึงแม้บางส่วนของหนังมันจะเป็นเรื่องแต่ง ส่วนนั้นมันก็ยังคงสะท้อนความเป็นจริงเกี่ยวกับการเหยียดเพศในสังคมตูนิเซียได้ดีเช่นกัน

 

จุดเริ่มต้นของหนังคงมาจากคดีจริงเกี่ยวกับผู้ชายที่เอามีดไปไล่กรีดทำร้ายหญิงสาวตามท้องถนนในตูนิเซียเป็นจำนวน 11 คน และก็มี urban legend ตามมาหลังจากนั้นว่า เหยื่อทุกคนเป็นผู้หญิงที่ไม่ได้แต่งตัวตามหลักศาสนา เพราะฉะนั้นก็เลยกลายเป็นว่า ผู้ชายหลายคนในตูนิเซียไม่ได้ประณามอาชญากรรายนี้ และหนังเรื่องนี้ก็พาไปสำรวจทัศนคติของผู้ชายหลายคนในตูนิเซียที่เต็มไปด้วยการเหยียดเพศอย่างรุนแรงมาก

 

ถือเป็นหนังอีกเรื่องที่ “LOOK STRAIGHT INTO HELL WITH UNBLINKING EYES” จริง ๆ เหมือนเป็นหนังที่ “จ้องตรงเข้าไปในนรกโดยไม่กะพริบตา” จริง ๆ

 

ก่อนหน้านี้เราเคยดู BEAUTY AND THE DOGS (2017, Kaouther Ben Hania) ที่ติดอันดับ 17 ในลิสท์หนังสุดโปรดของเราที่ได้ดูในปี 2019 ซึ่ง BEAUTY AND THE DOGS สร้างจากคดีจริงเกี่ยวกับหญิงสาวที่ถูกตำรวจข่มขืน

 

พอเราได้ดูหนังของ Kaouther เป็นจำนวน 2 เรื่องแล้วก็ต้องยอมรับเลยว่า ผู้กำกับคนนี้ทำหนังเข้าทางเราอย่างสุด ๆ เราชอบสุดขีดทั้งสองเรื่อง ชอบทั้งประเด็นสิทธิสตรีในหนังของเธอ และชอบการกำกับของเธอด้วย เพราะหนังทั้งสองเรื่องของเธอเป็นหนังที่ “สนุกสุดขีด” สำหรับเรา เหมือนเราชอบเธอทั้งการนำเสนอประเด็น, aesthetic choices และการเล่าเรื่องให้ออกมาสนุกมาก ๆ

+++

ดูตัวละครของ Jesse Plemons ตัวนี้ใน CIVIL WAR (2024, Alex Garland, A+30) แล้วนึกไปถึงยุค 6 ต.ค. 2519 หรือยุคสงครามเย็น ที่รัฐบาลไทยบอกว่า มี "ชาวเวียดนาม" ปะปนอยู่ในกลุ่มนักศึกษาที่ชุมนุมอยู่ที่ธรรมศาสตร์

ตอนเราเด็ก ๆ ในทศวรรษ 1980 จำได้ว่าบางทีคนที่บ้านเล่าให้ฟังว่ามีข่าวลือว่า "มีการพบเห็นผู้คนพูดคุยกันโดยใช้ภาษาแปลก ๆ บนรถเมล์ มันต้องเป็นคนเวียดนามแน่ ๆ เลย เนี่ยคนเวียดนามแอบแฝงเข้ามาอยู่ในกรุงเทพแล้ว เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการบุกยึดประเทศไทย" อะไรทำนองนี้ เพราะฉะนั้นในตอนนั้น ก็เลยเหมือนมีการจำแนกคนว่าเป็นมิตรหรือศัตรู โดยใช้ "ภาษา" ท่ามกลางความ paranoid ทางการเมืองอย่างรุนแรงของกลุ่มขวาจัด ดังนั้นฉากนี้ใน CIVIL WAR ก็เลยทำให้นึกถึงยุคของความ paranoid ที่เราเคยเจอด้วยตัวเองในตอนเด็ก ๆ มาก ๆ

+++

CHARACTERS IN FILM WHICH I FEAR THE MOST

 

คิดว่าน่าจะเป็น “ทหารญี่ปุ่น” ในหนังเรื่อง DON’T CRY, NANKING (1995, Taiwan/Hong Kong) เพราะว่า

 

1.สิ่งที่พวกเขาทำมันเลวร้าย ชั่วร้าย และโหดเหี้ยมที่สุด

 

2.มันคือ “เรื่องจริง” เราก็เลยกลัวพวกเขามากกว่า “ตัวละครสมมุติ” อย่างเช่น กลุ่มผู้ร้ายใน SALO, OR THE 120 DAYS OF SODOM (1975, Pier Paolo Pasolini, Italy) และ Jesse Plemons ใน CIVIL WAR (2024, Alex Garland)

 

3.เรากลัวพวกเขามากกว่าตัวละครแบบ “ฆาตกรโรคจิต” ด้วย เพราะฆาตกรโรคจิตแต่ละคนก็ไม่ได้ฆ่าข่มขืนผู้คนเป็นแสน ๆ คนแบบทหารญี่ปุ่น และ “ฆาตกรโรคจิต” ก็ถูกประณามจากคนทั้งโลกอยู่แล้ว และไม่ได้อยู่เหนือกฎหมาย แต่สิ่งที่ทหารญี่ปุ่นทำในสงครามโลกครั้งที่สองมันได้รับการยอมรับจากสังคมญี่ปุ่น และก็ไม่มีใครไปจับพวกเขาทุกคนมาขึ้นศาลได้หมด

 

4.สิ่งที่น่ากลัวสำหรับเราก็คือว่า ทหารญี่ปุ่นพวกนี้ เวลาพวกเขาอยู่ญี่ปุ่น พวกเขาก็อาจจะดูเป็นคนปกติธรรมดาทั่ว ๆ ไปในสังคมก็ได้ พวกเขาอาจจะดูไม่ต่างไปจากตัวละครในหนังของ Yasujiro Ozu และ Akira Kurosawa ก็ได้ มันเหมือนกับว่า “คนธรรมดา” แต่ละคน มีศักยภาพที่จะกลายเป็นฆาตกรที่สามารถช่วยกันฆ่าข่มขืนผู้คนเป็นแสน ๆ คนได้อยู่ในตัว มันก็เลย “น่ากลัว” สำหรับเรา เพราะเราก็ไม่รู้ว่า คนธรรมดาแต่ละคนที่อยู่ในซอยเดียวกับเรา ในห้างสรรพสินค้าเดียวกับเรา ในสังคมเดียวกับเรา มีศักยภาพอะไรอยู่ในตัวบ้าง โดยเฉพาะถ้าหากเกิด “สงครามกลางเมือง” หรือ “สงคราม” ขึ้นมา

 

5.เราเกลียดกลัว “ทหารญี่ปุ่น” พวกนี้มากกว่าตัวละครใน THE ZONE OF INTEREST เสียอีก ซี่งไม่ได้เป็นเพราะว่าใครเลวกว่ากัน แต่เป็นเพราะว่า เยอรมนียอมรับความผิดทั้งหมดที่ตัวเองเคยทำในสงครามโลกครั้งที่สองแล้ว แต่ญี่ปุ่นก็ยังหน้าด้านหน้าทน ไม่ยอมรับความผิดเรื่อง comfort women อะไรต่าง ๆ เราก็เลยเกลียดญี่ปุ่นมากกว่าเยอรมนีตรงจุดนี้

 

ก็เลยจะบอกว่า ปัจจัยเหล่านี้เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งด้วยแหละ ที่ทำให้เราไม่อินกับ THE BURMESE HARP (1956, Kon Ichikawa, A+30) 55555 คือเราชอบ THE BURMESE HARP อย่างสุด ๆ ในแง่ความงดงามทางภาพยนตร์นะ แต่เป็นความชอบแบบ “ไม่อิน ไม่ซาบซึ้งใด ๆ ทั้งสิ้น” น่ะ คือมึงไปตามเก็บศพทหารชาติเดียวกัน แล้วกูจะต้องซาบซึ้งกับมึงไปทำไมกันคะ โดยเฉพาะเมื่อเราได้รับรู้ถึงความเลวร้ายที่ญี่ปุ่นเคยทำในจีน, สิงคโปร์, ฟิลิปปินส์, etc. มาแล้ว

++++

ฉันรักเขา Carmine Recano from LOOSE CANNONS (2010, Ferzan Ozpetek, Italy, A+30)

 

ฉันรักเขา Alessandro Preziosi from LOOSE CANNONS (2010, Ferzan Ozpetek, Italy, A+30)

 

+++

Films seen in the ninth week of the year 2024

 

26 FEB – 3 March 2024

 

In roughly preferential order

 

1.SANS SOLEIL (1983, Chris Marker, France, second viewing, A+30)

 

2.LOOKING FOR GILLES CARON (2019, Mariana Otero, France, documentary, A+30)

 

3.CSI: DEATH OF KING ANANDA (2024, Ing K, documentary, 230min, A+30)

 

4.ROGER & ME (1989, Michael Moore, documentary, A+30)

 

5.LAAPATAA LADIES (2023, Kiran Rao, India, A+30)

 

6.MIXED BY ERRY (2023, Sydney Sibilia, Italy, A+30)

 

7.HOURS OF OURS (2023, Komtouch Napattaloong, documentary, A+30)

 

8.THE IGNORANT FAIRIES (2001, Ferzan Ozpetek, Italy, queer film, A+30)

 

9.MIA (2023, Ivano De Matteo, Italy, A+30)

 

10.LOOSE CANNONS (2010, Ferzan Ozpetek, Italy, queer film, A+30)

 

11.DOG DAYS (2024, Kim Deok-min, South Korea, A+25)

 

12.GHIACCIO (2022, Alessio De Leonardis, Fabrizio Moro, Italy, A+25)

 

13.GEJI: THE SPIRIT HUNTER เกจิ คนฆ่าผี (2024, Mate Yimsomboon, Poldollapat Tattantimaracht พลดลพัฒน์ ธัชทัณฑิมารัชต์, A+15)

 

14.MEAN GIRLS (2024, Samantha Jayne, Arturo Perez Jr., musical, A+15)

 

สรุปว่าใน 9 สัปดาห์แรกของปี 2024 เราดูหนังไปแล้ว 166 + 14 = 180 เรื่อง

+++++

จำได้ว่ามินิซีรีส์เรื่อง AMERIKA (1987, Donald Wrye, 14hrs 30min) มาฉายทางช่อง 3 ในยุคนั้น แล้วเราก็อยากดูอย่างสุดขีด แต่ไม่ได้ดู แต่ก็เคยเห็นโฆษณามินิซีรีส์นี้บ่อยมาก ๆ

No comments: