PBTB 2: E-SAN NEW OLD SONGS (2016,
Uthen Sririwi, A+15)
ผู้บ่าวไทบ้าน 2 ตอน แจกข้าวหาแม่ใหญ่แดง
1.ชอบภาคหนึ่งมากกว่าเยอะเล ย
2.เราว่าภาคนี้มันมีความไม่ ลงตัวระหว่างชีวิตตัวละครกั บประเด็นที่หนังต้องการจะนำ เสนอนะ
ซึ่งก็คือเรื่องการอนุรักษ์ วัฒนธรรมหมอลำ คือมันเหมือนกับว่า
ถ้าหากหนังนำเสนอชีวิตคนในห มู่บ้านไปเรื่อยๆ โดยไม่ต้องพยายามยัดเยียดสา ระเรื่องหมอลำเข้ามา
มันอาจจะดีกว่านี้ หรือไม่งั้นหนังก็ทำตัวเป็น หนัง essay film เกี่ยวกับหมอลำไปเลย มันก็อาจจะดีกว่านี้ แต่พอหนังมันพยายามจะผสมสอง ส่วนนี้เข้าด้วยกัน
มันเลยออกมาไม่ค่อยลงตัวสำห รับเรา
3.เต๋า ภูศิลป์ วารินรักษ์ พระเอกหนังเรื่องนี้ น่ารักมากๆ แต่เหมือนบทของเขาและตัวละค รอื่นๆในหนังเรื่องนี้
มันเหมือนกับถูกเขียนขึ้นมา เพื่อหวังผลบางอย่าง มากกว่าจะปล่อยให้ตัวละครมั นเป็นมนุษย์จริงๆน่ะ
คือดูแล้วรู้สึกว่า ตัวละครพระเอกนางเอกในหนังเ รื่องนี้เกลียดขี้หน้ากัน,
โกรธกัน, คืนดีกัน, งอนกัน,
ทะเลาะกัน, จีบกัน เพียงเพื่อ “หวังผลทางอารมณ์ต่อผู้ชม” ตลอดเวลา
มันไม่ใช่โกรธกันและคืนดีกั น เพราะตัวละครตัวนั้นเป็นมนุ ษย์จริงๆที่ควรจะรู้สึกอย่า งนั้นในสถานการณ์อย่างนั้น
แต่เป็นเพียงเพราะว่า เส้นเรื่องหรือพล็อตเรื่องแ บบที่ผู้ชมกลุ่มเป้าหมายชอบ มันบังคับให้ตัวละครต้องแสด งออกอย่างนั้น ตัวละครก็เลยแสดงออกอย่างนั ้นไปตามเส้นเรื่อง
4.วิวในหนังเรื่องนี้ เราว่าก็ขาดจิตวิญญาณนะ คือมันสวยจริง แต่มันสวยเพราะมัน “จงใจถ่ายให้สวย” น่ะ มันก็เลยสวยแบบจงใจ และไม่ได้ประทับใจเรามากนัก
5.น่าสนใจดีที่มีหนัง “อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย” ออกมาอย่างน้อย 3 เรื่องในปีนี้ ซึ่งก็คือเรื่องนี้, “เทริด” (เอกชัย ศรีวิชัย) และ พริกแกง (ประเสริฐสุข เหมทานนท์ + เมธีปัญญาวิชา) โดยที่ PBTB2 กับเทริด เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่ ไม่ใช่ส่วนกลางของไทย
เราว่า “เทริด” ผสมผสานชีวิตตัวละครกับประเ ด็นของหนังได้อย่างลงตัวกว่ า PBTB
2 มากๆ และหนังก็ทรงพลังกว่ามากๆด้ วย
แต่เราก็ไม่แน่ใจว่าเราชอบห นังเรื่องไหนมากกว่ากัน คือ เทริด อาจจะดีกว่า PBTB2
น่ะ แต่เรามีปัญหากับทัศนคติแบบ อนุรักษ์นิยมใน เทริด ส่วนใน PBTB2 นั้น
ถึงหนังอาจจะมีทัศนคติที่ไม ่เข้ากับเราแอบแฝงอยู่บ้าง
แต่มันก็ไม่ได้ปะทะเราอย่าง รุนแรงเท่ากับเทริด เราก็เลยไม่ค่อยมีปัญหากับห นังตรงจุดนี้
ส่วน “พริกแกง” นั้นมีปัญหาเรื่องทัศนคติอย ่างรุนแรงที่สุดในสามโลก
6.ถึงเราจะมีปัญหามากมายกับ PBTB 2 อย่างที่เขียนไปข้างต้น แต่ก็ยังชอบหนังเรื่องนี้ใน ระดับ A+15
นะ เพราะมันก็พอดูเพลินดี และเราว่า “สไตล์การถ่าย”
มันช่วยหนังไว้ได้เยอะ ถึงแม้เส้นเรื่องหรือพล็อตเ รื่องจะไม่เข้าทางเรามากนัก ก็ตาม
คือเราชอบที่ในหลายๆฉากนั้น หนังเรื่องนี้ถ่ายแบบ medium shot หรือถ่ายในระยะห่างปานกลางจ ากตัวละครน่ะ
โดยไม่ได้ถ่ายใกล้หน้าตัวละ ครแบบหนังทั่วๆไป คือในหลายๆฉากนั้น
กล้องเหมือนจะอยู่ห่างจากตั วละครราว 1-2 เมตร
และก็ปล่อยให้เราดูกิจกรรมข องตัวละครกลุ่มนั้นไปเรื่อย ๆ
โดยกล้องไม่ได้ตัดภาพบ่อยด้ วย คือกล้องก็เคลื่อนไหวไปมาบ้ าง
แต่ไม่ได้ตัดภาพฉึบฉับ และไม่ได้โคลสอัพใบหน้าตัวล ะคร
และพอหนังใช้วิธีการถ่ายแบบ นั้น
มันก็เลยช่วยลดอารมณ์ที่ล้น เกินในแต่ละฉากลงได้มากน่ะ
คือเราว่าตัวเนื้อหาในแต่ละ ฉากนี่ อารมณ์มันล้นเกินจริงอยู่มา กพอแล้ว
และถ้าหากกล้องไปโคลสอัพใบห น้า หรือยิ่งตัดต่อแบบเร้าอารมณ ์มากขึ้นไปอีก
อารมณ์มันก็จะยิ่งล้นทะลักห นักมาก แต่พอกล้องตั้งอยู่ห่างจากต ัวละคร
และไม่ตัดภาพไปมา อารมณ์ในแต่ละฉากมันก็เลยถู กจำกัดให้อยู่ในระดับที่เหม าะสม
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ฉากที่ตัวละครประกอบคุยกันแ ล้วเมียโทรมาหาหลายครั้งน่ะ เราว่า “สไตล์การถ่าย” ช่วยฉากนี้ไว้ได้มาก
คือบทมันจงใจทำให้ฉากนี้ตลก แต่การถ่ายแบบรักษาระยะห่าง จากตัวละครช่วยทำให้ฉากนี้ด ูมี
“ความเป็นธรรมชาติ” อยู่ด้วย และทำให้ “ความจงใจตลก” มันไม่ล้นเกินมากเกินไป
ฉากนี้ก็เลยกลายเป็นหนึ่งใน ฉากที่เราชอบมากที่สุดในหนั งเรื่องนี้
ผู้บ่าวไทบ้าน 2 ตอน แจกข้าวหาแม่ใหญ่แดง
1.ชอบภาคหนึ่งมากกว่าเยอะเล
2.เราว่าภาคนี้มันมีความไม่
3.เต๋า ภูศิลป์ วารินรักษ์ พระเอกหนังเรื่องนี้ น่ารักมากๆ แต่เหมือนบทของเขาและตัวละค
4.วิวในหนังเรื่องนี้ เราว่าก็ขาดจิตวิญญาณนะ คือมันสวยจริง แต่มันสวยเพราะมัน “จงใจถ่ายให้สวย” น่ะ มันก็เลยสวยแบบจงใจ และไม่ได้ประทับใจเรามากนัก
5.น่าสนใจดีที่มีหนัง “อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย” ออกมาอย่างน้อย 3 เรื่องในปีนี้ ซึ่งก็คือเรื่องนี้, “เทริด” (เอกชัย ศรีวิชัย) และ พริกแกง (ประเสริฐสุข เหมทานนท์ + เมธีปัญญาวิชา) โดยที่ PBTB2 กับเทริด เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมที่
เราว่า “เทริด” ผสมผสานชีวิตตัวละครกับประเ
ส่วน “พริกแกง” นั้นมีปัญหาเรื่องทัศนคติอย
6.ถึงเราจะมีปัญหามากมายกับ
คือเราชอบที่ในหลายๆฉากนั้น
และพอหนังใช้วิธีการถ่ายแบบ
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ
No comments:
Post a Comment