Tuesday, February 27, 2024

MELISSA MCMEEKIN

 

ช่วงวิบากกรรมชีวิตฮิสทีเรีย

 

ขอบันทึกความทรงจำของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นวันนี้ค่ะ นั่นก็คือวันนี้เราไปดูเทศกาลหนังอิตาลีที่สามย่าน เรื่อง THERE’S STILL TOMORROW แต่โชคร้ายที่เราได้ที่นั่งติดกับผู้ชายคนนึงที่ไอหนักมาก เหมือนเขาไอทุก ๆ 3-5 นาที โดยที่เขาไม่ใส่หน้ากากอนามัย ส่วนเรานั้นใส่หน้ากากอนามัย ตอนแรกเราก็พยายามทำใจร่ม ๆ ว่า การที่เราใส่หน้ากากอนามัย น่าจะช่วยปกป้องคุ้มครองภัยเราจากการไอของคนที่นั่งข้าง ๆ ได้ในระดับนึงนะ เราก็เลยนั่งดูหนังไปเรื่อย ๆ ก่อน แต่ก็สงสัยว่า เมื่อไหร่เขาจะหยุดไอสักทีนะ

 

เราเปลี่ยนที่นั่งไม่ได้ด้วย เพราะคนดูเต็มโรง คือถ้าเป็นโรงหนังรอบปกติที่มีที่นั่งว่าง ๆ เหลือเยอะ เราก็มักจะหนีไปนั่งที่ห่างไกลมนุษย์เป็นประจำอยู่แล้ว

 

แต่ในที่สุดความอดทนของเราก็ขาดผึง เพราะพอเราดูหนังไปได้ราว ๆ 20 กว่านาที ผู้ชายที่นั่งทางด้านซ้ายของเราก็ไออีกครั้ง แล้วเรารู้สึกราวกับว่ามันมีลมจากการไอของเขามาโดนลูกตาของเรา ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเราอุปาทานไปเองหรือเปล่า

 

คือเราก็ไม่รู้เหมือนกันว่า สิ่งที่เกิดขึ้นจริง ๆ มันคืออะไร แต่ถ้าหากให้เราเดาเอาเอง เราก็เดาว่า เขาไอโดยเบือนหน้าไปทางซ้าย คือเบือนหน้าหนีจากเรา แล้วเขาก็เอามือขึ้นมาบังปากขณะไอ แต่เราไม่แน่ใจเหมือนกันว่า การที่เขาทำแบบนั้น ลมที่ออกจากปากของเขาก็เลยปะทะกับฝ่ามือของเขา แล้วลมจากการไอมันก็เลยไหลมาทางขวามือของเขา ไหลมาทางเรา แล้วก็เลยไหลผ่านลูกตาของเราหรือเปล่า หรือเราอาจจะ paranoid อุปาทานไปเองก็ได้ 5555 คือสรุปว่า เรารู้สึกว่ามันมีลมมาปะทะลูกตาของเรา แต่เราไม่แน่ใจว่ามันเป็นลมจากการไอของเขาหรือเปล่า อันนี้เราไม่ชัวร์ บางทีเราอาจจะอุปาทานไปเอง

 

เราก็เลยคิดว่า ไม่ไหวแล้วล่ะ เพราะถึงแม้เราจะใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา แต่น้ำกระเซ็นจากการไอของคนข้าง ๆ ก็อาจจะกระเซ็นมาโดนลูกตาเราได้ทุกเมื่อ (เราถอดแว่นขณะดูหนังโรง) แล้วเราก็เหน็ดเหนื่อยกับการมีชีวิตอยู่จนจะทนไม่ไหวอยู่แล้ว เราก็เลยตัดสินใจเดินออกจากโรงเลยดีกว่า หลังจากดูหนังไปได้แค่ราว 25 นาที แล้วพอเรากลับถึงอพาร์ทเมนท์ปุ๊บ เราก็เลยแดกฟ้าทะลายโจรไป 4 เม็ดเพื่อผลทางจิตวิทยา 55555

 

แต่เราก็ไม่ได้โกรธอะไรใครมากนักนะ 555 เพราะการที่เราตัดสินใจเลิกดูหนังกลางคันเป็นเพราะเรารู้ตัวว่า เราเป็นคนที่ป่วยเป็นหวัดง่ายมากน่ะแหละ คือคนปกติคงไม่เป็นอะไร แต่เรารู้จุดอ่อนทางร่างกายของเราดี และเนื่องจากเรารู้ตัวว่า ร่างกายของเราอ่อนแอกว่ามนุษย์ปกติ เราก็หนีออกจากโรงหนังเลยดีกว่า

 

ก่อนหน้านี้เราก็เคยหนีออกจากโรงหนังกลางคันแบบนี้ครั้งนึงในช่วง WILDTYPE ปี 2023 เพราะมีรอบนึงที่เราได้ที่นั่งติดกับผู้ชายคนนึงที่ไอหนักมาก เราก็เลยตัดสินใจหนีกลับบ้านไปเลยหลังจากดูหนังรอบนั้นไปได้แค่ครึ่งโปรแกรม

 

แต่ช่วงเทศกาล DOC FILM FESTIVAL, JAPANESE FILM FESTIVAL กับ CCCL FILM FESTIVAL นี่เราไม่เจอปัญหาคนไอแบบนี้นะ เจอแต่ปัญหาแบบอื่น

 

ก็เลยจดบันทึกไว้ว่า เราได้ดูหนังเรื่อง THERE’S STILL TOMORROW ไปได้แค่ 25 นาที เพราะความซวยของชีวิต 555

 

Favorite Actress: Melissa McMeekin from THE HOLDOVERS (2023, Alexander Payne, A+30)

 

เหมือนเธอโผล่มาแค่ 5 นาทีใน THE HOLDOVERS แต่ครองตำแหน่ง one of my most favorite characters of the year ไปเลย 55555

 

Monday, February 26, 2024

HANNA SCHYGULLA

 

รู้สึกปลื้มปริ่มน้ำตาไหลมาก ๆ เมื่อได้เห็น Hanna Schygulla ปรากฏตัวใน POOR THINGS (2023, Yorgos Lanthimos, A+30)

คือเราไม่รู้มาก่อนว่า Schygulla เล่นเรื่องนี้ เพราะฉะนั้นพอเราเห็นเธอในหนัง เราก็เลยร้องวี้ดสุดเสียงมาก ๆ (ร้องในใจ 555)

 

รู้สึกว่า เธอได้บทที่เหมาะกับตัวเธออย่างสุดขีดด้วย คือบทของเธอดูมีความเป็นเจ้าแม่ เป็นหญิงแกร่ง ฉลาด ขบถ มีอิทธิฤทธิ์จริง ๆ ไม่เสียแรงที่เธอเคยเล่นทั้งหนังของ Rainer Werner Fassbinder, Alexander Sokurov, Amos Gitai, Bela Tarr, Andrzej Wajda, Jean-Luc Godard, Ettore Scola, Volker Schlondorff มาแล้ว

 

การได้เห็น Hanna Schygulla ยังได้บทดี ๆ เล่นอยู่ ทำให้เราน้ำตาไหลมาก ๆ นึกถึงดาราหญิงของ Fassbinder ยุคเดียวกับเธอที่เสียชีวิตไปแล้ว ทั้ง Margit Carstensen (เสียปี 2023),Irm Hermann (เสียปี 2020), Brigitte Mira (เสียชีวิตปี 2005 ขณะอายุ 94 ปี), Rosel Zech (เสียปี 2011), Elisabeth Trissenaar (เสียเมื่อวันที่ 14 ม.ค. 2024), Barbara Valentin (เสียปี 2002)

 

แต่ยังดีที่ Hanna Schygulla, Barbara Sukowa ( BERLIN ALEXANDERPLATZ) และ Ingrid Caven (LOVE IS COLDER THAN DEATH) ยังมีชีวิตอยู่

 

เรารู้สึกว่า การปรากฏตัวของนักแสดงหญิงระดับเจ้าแม่ อย่าง Hanna Schygulla ในช่วงกลางเรื่อง POOR THINGS มันเหมือนทำให้เรารู้สึกว่า "หนังมัน up level ระดับความเฮี้ยน" ขึ้นโดยอัตโนมัติผ่านทางการปรากฏตัวของนักแสดงหญิงเหล่านี้ด้วยแหละ นึกถึงตอนที่ Vanessa Redgrave ปรากฏตัวใน MISSION: IMPOSSIBLE (1996, Brian De Palma) และตอนที่ Elaine Stritch ปรากฏตัวในตอนท้ายของ MONSTER-IN-LAW (2005, Robert Luketic) ที่มันทำให้เรารู้สึกว่า หนังมัน up level ความเฮี้ยนขึ้นไปอีกระดับนึงในทันที

 

รูปของ Hanna Schygulla จาก THE MARRIAGE OF MARIA BRAUN (1979, Rainer Werner Fassbinder), THE BITTER TEARS OF PETRA VON KANT (1972, Rainer Werner Fassbinder), WERCKMEISTER HARMONIES (2000, Bela Tarr) และ POOR THINGS

 

 

สิ่งหนึ่งที่เราดูใน POOR THINGS (2023, Yorgos Lanthimos, A+30) แล้วสงสัย แต่เราไม่แน่ใจ ไม่สามารถตอบได้ ก็คือว่า Lanthimos จงใจพาดพิงถึงหนังเรื่อง MARTHA (1973, Rainer Werner Fassbinder) หรือเปล่า เพราะว่าตัวละครที่แสดงโดย Hanna Schygulla ในหนังเรื่อง POOR THINGS นั้น เป็นตัวละครที่มีชื่อว่า Martha แล้วถ้าหากเราเข้าใจไม่ผิด ตัวละครตัวนี้ไม่มีในนิยายเรื่อง POOR THINGS ของ Alasdair Gray (จากที่เราอ่านที่คุณ Ratchapoom Boonbunchachoke เขียนเปรียบเทียบระหว่างหนังกับนิยายเรื่อง POOR THINGS) เราก็เลยเข้าใจว่า Lanthimos หรือไม่ก็คนเขียนบทหนังเรื่องนี้ จงใจสร้างตัวละคร Martha ขึ้นมาใหม่สำหรับภาพยนตร์เรื่องนี้โดยเฉพาะ และพอตัวละครตัวนี้นำแสดงโดย Hanna Schygulla ซึ่งเป็นดาราขาประจำของ Rainer Werner Fassbinder เราก็เลยสงสัยว่า การที่ Lanthimos หรือไม่ก็คนเขียนบท จงใจตั้งชื่อตัวละครตัวนี้ว่า Martha มันเหมือนเป็นการ tribute หรือไม่ก็เป็นการกระตุ้นเตือนให้ผู้ชมนึกไปถึงหนังเรื่อง MARTHA หรือเปล่า

 

แต่ Schygulla ไม่ได้รับบทเป็นนางเอกใน MARTHA นะ บทนางเอกใน MARTHA แสดงโดย Margit Carstensen ซึ่งเสียชีวิตไปแล้ว

 

เราไม่สามารถตอบคำถามนี้ได้ว่า Lanthimos จงใจพาดพิงถึงหนังเรื่อง MARTHA ของ Fassbinder หรือเปล่า เพราะเรายังไม่ได้ดู MARTHA แต่ก็อยากดูอย่างสุดขีด จากที่เราเคยอ่านเรื่องย่อของหนังเรื่องนี้มา เราเข้าใจว่า MARTHA เป็นหนังที่ตีแผ่ระบบความเลวร้ายของ patriarchal society เหมือน POOR THINGS แต่มันมีความแตกต่างอย่างสำคัญอย่างนึงระหว่าง MARTHA กับ POOR THINGS เพราะนางเอกของ MARTHA นั้น “เต็มใจที่จะให้สามีกดขี่ข่มเหงทำร้ายเธอ” คือเธอเป็นผู้หญิงประเภทที่สนับสนุน patriarchal society เป็นผู้หญิงที่มีความสุขที่จะโดนกดขี่จากผู้ชาย อะไรทำนองนี้ เราก็เลยรู้สึกว่า MARTHA เป็นหนังที่น่าสนใจสุดขีด เพราะตัวละครนางเอกมันดู “เทา” จริง ๆ ไม่ใช่นางเอกประเภทที่เราจะเอาใจช่วยอย่างเต็มที่ได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เราอาจจะเข้าใจผิดก็ได้นะ เพราะเรายังไม่ได้ดู MARTHA เลย เราแค่อ่านเรื่องย่อเอา 5555 คงต้องให้คนที่เคยดู MARTHA มาแล้ว มาช่วย comment เพิ่มเติมว่าเรื่องจริงมันเป็นยังไง

Sunday, February 25, 2024

MOSCOW MISSION (2023, Herman Yau, China/Russia, A+30)

 

MOSCOW MISSION (2023, Herman Yau, China/Russia, A+30)

 

1.เราชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุดขีดมาก ๆ ถึงแม้เราแอบสงสัยว่า การสร้างหนังเรื่องนี้ถือเป็นผลพวงจาก "สงครามยูเครน" หรือเปล่า คือพอเกิดสงครามยูเครนตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมา จีนกับรัสเซียก็เลยหันมาสนิทกัน รัสเซียหันไปใช้เงินหยวนในการค้าขายระหว่างประเทศ เพราะมาตรการคว่ำบาตรของชาติตะวันตกส่งผลให้รัสเซียไม่สะดวกใช้เงินดอลลาร์สหรัฐอีกต่อไป แล้วพอจีนกับรัสเซียหันมาสนิทกันในช่วงนี้ ก็เลยอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้รัฐบาลสองประเทศนี้หันมาสร้างหนังอวยซึ่งกันและกันหรือเปล่า

 

คือ MOSCOW MISSION นี่ น่าจะเป็นหนังที่นำเสนอ KGB หรืออดีต KGB ในทางบวกมากที่สุดเรื่องหนึ่งเท่าที่เราเคยดูมาในชีวิตเลยนะ

 

2.เป็นหนังที่สนุกสุดขีดสำหรับเรา บู๊กันมันส์สะใจมาก ๆ นึกถึงความเดือดของทั้ง RRR (2022, S.S. Rajamouli, India) และ THE BATTLE AT LAKE CHANGJIN (2021, Chen Kaige, Dante Lam, Tsui Hark, China) ซึ่งมันเข้าทางเรามากกว่าหนังอย่าง JOHN WICK

 

เราชอบ “ความเดือด” ของ MOSCOW MISSION และหนังฮ่องกงแบบ SHOCK WAVE (2017, Herman Yao) มากกว่าความเดือดของหนังชุด MISSION: IMPOSSIBLE และ FAST & FURIOUS ด้วย แต่ไม่แน่ใจว่าเป็นเพราะอะไรกันแน่ แต่เราเดาว่าสาเหตุส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะว่า ความเดือดของหนังฮ่องกงหลาย ๆ เรื่อง มันเล่าผ่านตัวละคร “ตำรวจ” ที่ “เก่งในระดับไม่เว่อร์เกินไป” น่ะ เหมือนเป็นตำรวจที่เป็นมนุษย์ธรรมดาที่ตั้งอกตั้งใจทำงานและเก่งกาจด้านการบู๊ในระดับนึง แต่ยังไม่ได้เก่งเว่อร์ถึงขั้นพระเอกในหนังชุดของฮอลลีวู้ดพวกนั้นน่ะ เพราะฉะนั้นพอพระเอกของหนังฮ่องกงพวกนี้มีความใกล้เคียงกับคนธรรมดามากกว่าพระเอกหนังชุดของฮอลลีวู้ด เราก็เลยรู้สึกตื่นเต้นหรืออินกับตัวละครในเรื่องมากกว่าการดูหนังชุดของฮอลลีวู้ดมั้ง เพราะพระเอกในหนังชุดของฮอลลีวู้ดมันจะ “หนังเหนียว” มาก ๆ หรือเก่งเว่อร์มาก ๆ จนเราไม่ค่อยอินหรือไม่ค่อยรู้สึกหวาดกลัวกับ “อันตราย” ที่ตัวละครพระเอกในหนังฮอลลีวู้ดต้องเผชิญ แต่เราจะรู้สึกว่า “อันตราย” ในหนังฮ่องกงมันทำให้เรากลัวมากกว่า

 

3.ชอบที่ MOSCOW MISSION ย้อนไปรัสเซียในยุคต้นทศวรรษ 1990 ในช่วงที่สหภาพโซเวียตเพิ่งล่มสลาย และเป็นยุคของเพจเจอร์ ในขณะที่โทรศัพท์มือถือยังเป็นของที่หายากสุดขีดอยู่ เหมือนเราไม่ค่อยเห็นหนังที่พูดถึงยุคนี้ นอกจาก LOVE IS NOT AN ORANGE (2022, Otila Babara, Moldova/Belgium, documentary, A+30), FLEE (2021, Jonas Poher Rasmussen, Denmark, animation), LILYA 4-EVER (2002, Lukas Moodysson, Sweden/Denmark)

 

4.พอหนังพูดถึงรถไฟข้ามไซบีเรีย เราก็เลยนึกถึงหนังดังต่อไปนี้ด้วย

 

4.1 JOAN OF ARC OF MONGOLIA (1989, Ulrike Ottinger, West Germany, 2hrs 45mins, A+30)

 

4.2 WISH US LUCK (2013, Wanweaw Hongvivatana, Weawwan Hongvivatana, documentary)

 

4.3 COMPARTMENT NUMBER 6 (2021, Juho Kuosmanen, Finland)

 

5.สรุปว่าในบรรดาผู้กำกับหนังจีน/ฮ่องกงยุคนี้ เรารัก Herman Yau, Felix Chong, Soi Cheang อย่างรุนแรงมาก ๆ ดีใจที่ได้เห็น Herman Yau ทำหนังจีนเดือด ๆ แบบยุคเก่าออกมาให้เราได้ดูกัน หลังจาก John Woo ทำให้เราผิดหวังอย่างสุดขีดกับ SILENT NIGHT (2023)

 

6.ย้อนกลับไปข้อ 1 ที่เราตั้งข้อสงสัยว่า การสร้างหนังเรื่องนี้อาจจะถือเป็น “ผลพวงจากสงครามยูเครน” คือเรารู้สึกว่า หนังเรื่องนี้มันเข้ากับสิ่งที่เราเคยเขียนไว้.ในประเด็นเรื่อง ภาพยนตร์ในฐานะ “อาวุธสงคราม” และ “โรงภาพยนตร์” ในฐานะ “สมรภูมิรบ” ด้วย เพราะเรารู้สึกว่า หนังหลาย ๆ เรื่องที่เราได้ดู มันถูกใช้เป็น propaganda ในการอวยบางประเทศ จนราวกับว่า มันเป็น “อาวุธสงคราม” ในทางนึง เพียงแต่ว่ามันเป็นอาวุธที่ไม่ได้ทำร้ายร่างกายคนในประเทศอื่น ๆ แต่เป็นอาวุธทางจิตวิทยาที่ใช้ในการโน้มน้าวคนดูทั้งในประเทศและนอกประเทศให้หันมามองประเทศนั้น ๆ ในทางบวก ซึ่งการสู้รบกันโดยไม่ได้ใช้อาวุธจริงในการทำร้ายร่างกายกัน แต่หันมาสู้รบกันผ่านทางศิลปะภาพยนตร์แทน ก็ถือเป็นสิ่งที่เรายอมรับได้และสนใจมาก ๆ นะ เพียงแต่ว่าเราก็ต้องเตือนตัวเองเวลาที่ดูว่า ถึงแม้เราจะชอบหนังเรื่องนั้น ๆ อย่างสุดขีด เราก็ต้องไม่ลืมความจริงที่ว่า มันถูกสร้างขึ้นเพื่อ propaganda อะไร

 

 

เราเคยเขียนถึงประเด็นนี้ไว้ที่

https://web.facebook.com/photo/?fbid=10232990193080395&set=a.10232633255917189

 

และนอกจากหนังอย่าง MOSCOW MISSION, FIGHTER (2024, Siddharth Anand, India, 160min, A+25), BAZMANDE (THE SURVIVOR) (1995, Seifollah Dad, Iran, A+30),  THE BLOOD OF SUPAN เลือดสุพรรณ (1979, Cherd Songsri, A+30),  ORDINARY HERO (2022, Tony Chan, China, A+15), BORN TO FLY (2023, Liu Xiaoshi, China) ที่เรามองว่ามันเป็น propaganda/อาวุธสงครามในทางอ้อม ที่น่าสนใจแล้ว เราว่าแม้แต่หนังอย่าง WHERE THE WIND BLOWS (2022, Philip Yung, China/Hong Kong) และ THE GOLDFINGER (2023, Felix Chong, Hong Kong/China, A+30) ก็เป็น propaganda ที่น่าสนใจเช่นกัน คือเราชอบหนังสองเรื่องนี้อย่างมาก ๆ นะ แต่เราสงสัยว่า หนังสองเรื่องนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อ propaganda การปกครองของจีนในฮ่องกงหรือเปล่า เพราะหนังสองเรื่องนี้ตีแผ่ความเลวร้ายในวงการตำรวจ, วงการการเงิน, ระบบศาล ในยุคที่อังกฤษปกครองฮ่องกงน่ะ คือพอเราดูหนังสองเรื่องนี้แล้วเราก็จะได้เห็นความฉ้อฉลเลวร้ายของวงการตำรวจ, วงการการเงิน, ศาล ในยุคที่ฮ่องกงอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ และมันก็เลยเหมือนจะทำให้เรารู้สึกในทางอ้อมว่า การที่จีนเข้ามาปกครองฮ่องกงตั้งแต่ปลายทศวรรษ 1990 เป็นต้นมา อาจจะช่วยทำให้วงการตำรวจ, วงการการเงิน, วงการศาล ปรับตัวไปในทางที่ดีขึ้น

 

เพราะฉะนั้นถึงแม้เราจะชอบ WHERE THE WIND BLOWS และ THE GOLDFINGER มาก ๆ เราก็เตือนตัวเองว่า เราจะต้องไม่ลืมการประท้วงของคนฮ่องกงในทศวรรษ 2010 และหนังอย่าง YELLOWING (2016, Chan Tze-woon, Hong Kong, A+30),  WE HAVE BOOTS (2020, Evans Chan, Hong Kong, documentary, 130min, A+30) ด้วย

 

นี่เรายังไม่ได้ดู THE CHALLENGE (2023, Klim Shipenko, Russia) นะ แต่เดาได้ล่วงหน้าเลยว่า หนังเรื่องนี้คงเข้าข่าย propaganda/อาวุธสงครามทางจิตวิทยา เช่นเดียวกัน 555

 

ส่วนหนังที่เรารู้สึกว่า มันเป็นขั้วตรงข้ามกับหนัง propaganda ชาตินิยมเหล่านี้ ก็คือหนังอย่าง REASON (2018, Anand Patwardhan, India, documentary, 3hrs 38min, A+30) และ THE HOLDOVERS (2023, Alexander Payne, A+30) นี่แหละ ที่ตีแผ่ความเลวร้ายของประเทศตนเอง

RIP TIKOY AGUILUZ (1952-2024)

 

RIP TIKOY AGUILUZ (1952-2024)

 

Tikoy Aguiluz เป็นผู้กำกับภาพยนตร์ชาวฟิลิปปินส์ เราเคยดูหนังของเขาแค่เรื่องเดียว ซึ่งก็คือ RIZAL IN DAPITAN (1997) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ Jose Rizal วีรบุรุษแห่งชาติของฟิลิปปินส์ เราได้ดูหนังเรื่องนี้ตอนที่มันมาฉายในห้างเอ็มโพเรียมในเทศกาลภาพยนตร์ Bangkok Film Festival ในปี 1998 ซึ่งเป็นปีแรกของเทศกาล และเราได้ดูหนังเรื่องนี้ในวันแรกของเทศกาลด้วย โดยในวันนั้นเราได้ดูหนัง 4 เรื่องติดกัน ซึ่งก็คือ YOURS AND MINE (1997, Shaudi Wang, Taiwan), RIZAL IN DAPITAN, A PETAL (1996, Jang Sun-woo, South Korea) และ 12 STOREYS (1997, Eric Khoo, Singapore)

 

ส่วนหนังเกี่ยวกับชีวประวัติของ Jose Rizal นั้น เราเคยดูรวมกันทั้งหมด 3 เรื่อง โดยอีก 2 เรื่องที่เหลือก็คือ JOSE RIZAL (1998, Marilou Diaz-Abaya, Philippines, 178min) กับ 3RD WORLD HERO (2000, Mike De Leon, Philippines, A+30)

+++

หนังที่พลาดดูเพราะกูไม่ว่าง

 

เนื่องจากช่วงเดือนก.พ.นี้ มีเทศกาลภาพยนตร์เยอะมาก และเราก็เริ่มกลับเข้ามาทำงานใน office แล้ว หลังจากที่เรา work from home ตั้งแต่ต้นเดือนพ.ย. 2023 เป็นต้นมา (หลังผ่าตัดหมอนรองกระดูก) ตอนนี้เราก็เลยมีเวลาว่างเหลือน้อยลงมาก และก็ส่งผลให้เราไม่สามารถตามไปดูหนังที่อยากดูที่เข้าฉายในโรงภาพยนตร์ทั่วไปได้ทัน

 

ก็เลยคิดว่า เราจะจดบันทึกไว้เล่น ๆ ดีกว่าว่า เราพลาดดูหนังเรื่องไหนไปบ้างในช่วงที่ผ่านมา 5555

 

1.RASCAL DOES NOT DREAM OF A KNAPSACK KID (2023, Soichi Masui, Japan, animation)

 

2.FLOAT (2023, Sherren Lee)

 

 

 

Friday, February 23, 2024

M PASS THIRD YEAR

 

บันทึกเรื่องบัตร M PASS

 

ตอนนี้บัตร M PASS ปีที่สามของเราได้หมดอายุลงแล้ว ก็เลยจดบันทึกการใช้ไว้สักหน่อย

 

บัตร M PASS ปีแรกของเราเสียค่าสมัคร 4800 บาท เราใช้ดูหนังไป 100 เรื่อง ตั้งแต่ THE HUNT (2020, Craig Zobel, A+30) ในวันที่ 23 ส.ค. 2020 และใช้บัตรนี้ดูหนังเรื่องที่ 100 ซึ่งก็คือเรื่อง HOUSE OF GUCCI (2021, Ridley Scott, A+25) ในวันที่ 29 ม.ค. 2022 (มันใช้ได้นานกว่า 1 ปีเพราะมันเจอช่วง lockdown ที่โรงหนังปิดทำการ) สรุปว่าเราจ่ายค่าตั๋วหนัง 100 เรื่องนี้ในราคาเรื่องละ 48 บาทเท่านั้น

 

บัตร M PASS ปีที่สองของเราเสียค่าสมัคร 4800 บาท เราใช้ดูหนังเรื่องแรก ซึ่งก็คือ GINTAMA: THE FINAL (2021, Chizuru Miyawaki, Japan) ในวันที่ 11 ก.พ. 2022 และใช้ดูหนังเรื่องที่ 128 ซึ่งก็คือ TÁR (2022, Todd Field, A+30) ในวันที่ 9 ก.พ. 2023

 

สรุปว่า ใช้ดูหนังไป 128 เรื่อง ในราคา 4800 บาท ซึ่งจริง ๆ มากกว่านั้น เพราะมีจ่ายส่วนเกิน 20 บาทเป็นครั้งคราว แต่รวม ๆ กันแล้วก็ไม่น่าจะเกิน 5000 บาท ซึ่งถ้าหาก 5000/128 ก็จะได้เรื่องละ 39.0625 บาท แต่ถ้าหากเป็น 4800/128 ก็จะได้เรื่องละ 37.5 บาท ก็เลยสรุปว่า เราจ่ายค่าตั๋วหนังไปเรื่องละประมาณ 37.5-39.0625 บาทในช่วง 1 ปีที่ผ่านมาจากการใช้บัตร M PASS

 

บัตร M PASS ปีที่สามของเรา เสียค่าสมัคร 4600 บาท เราใช้ดูหนังเรื่องแรก ซึ่งก็คือ YOU & ME & ME (2023, Wanweaw Hongvivatana, Weawwan Hongvivatana, A+30) ในวันที่ 11 ก.พ. 2023  และใช้ดูหนังเรื่องที่ 120 ซึ่งก็คือ PERFECT DAYS (2023, Wim Wenders, Japan, A+30) ในวันที่ 3 ก.พ. 2024 สรุปว่า เสียเงินค่าตั๋วหนังราวเรื่องละ 4600/120 = 38.33 บาทต่อเรื่อง ซึ่งก็ถือว่าคุ้มมากสำหรับเรา

 

ตอนนี้เราสมัครบัตร M PASS ปีที่สี่ไปแล้วในราคา 4800 บาท แต่ไม่รู้ว่าปีนี้จะได้ดูหนังทาง M PASS กี่เรื่อง เพราะเราสมัคร SF+ UNLIMITED 180 DAY ในราคา 2499 บาทไปด้วย 555 เพราะเหมือน SF มักจะจัดรอบหนังได้ตรงกับตารางชีวิตของเรามากกว่า โดยตอนนี้เราใช้โปรโมชั่นของ SF ในการซื้อตั๋วหนังไปแล้ว 7 เรื่องนับตั้งแต่ต้นปีนี้ เรากะว่าจะต้องใช้โปรโมชั่นนี้ซื้อตั๋วหนังรวมกันอย่างน้อย 11 เรื่อง ถึงจะนับว่าเริ่มคุ้มทุน

 

 

 

Monday, February 19, 2024

BIOPIC FILMS ABOUT SINGERS

 

มีเพื่อนถามว่า มีหนัง biopic ที่สร้างจากชีวิตจริงของนักร้อง/นักดนตรีญี่ปุ่นบ้างไหม เพราะเท่าที่เราเคยดู เราก็นึกออกแต่หนังสารคดีเกี่ยวกับวง X Japan และ Ryuichi Sakamoto และหนังเรื่อง KISEKI: SOBITO OF THAT DAY (2017, Atsushi Kaneshige, A+30) ที่สร้างจากชีวิตจริงของวง Greeeen แต่เรานึกไม่ออกว่ามันมีหนัง biopic เรื่องอื่น ๆ ของญี่ปุ่นที่สร้างจากชีวิตนักร้องนักดนตรีที่มีตัวตนจริงอีกบ้างหรือเปล่า มีใครนึกออกบ้างไหมคะ เพราะเรารู้สึกว่าญี่ปุ่นเต็มไปด้วยนักร้องดัง ๆ มากมาย แต่เราได้ดูหนัง biopic กลุ่มนี้น้อยมาก

 

คือหนัง biopic แนวนี้ของประเทศอื่น ๆ ก็มีเช่น

 

1. ANITA (2021, Lok Man Leung, Hong Kong)

 

2.STRAIGHT OUTTA COMPTON (2015, F. Gary Gray)

 

3.BOHEMIAN RHAPSODY (2018, Bryan Dinger)

 

4.ROCKETMAN (2019, Dexter Fletcher)

 

5.ELVIS (2022, Baz Luhrmann)

 

6.พุ่มพวง THE MOON (2011, บัณฑิต ทองดี)

 

7.TANGO FEROZ (1993, Marcelo Pineyro, Argentina)

 

8.THE SAPPHIRES (2012, Wayne Blair, Australia)

 

9.GUNDERMANN (2018, Andreas Dresen, Germany)

 

10.PIANO, SOLO (2007, Riccardo Milani, Italy)

 

11.LA VIE EN ROSE (2007, Olivier Dahan, France)

 

 

เราก็เลยตั้งข้อสงสัยว่า ที่เราเคยดูหนัง biopic ชีวิตจริงนักร้องญี่ปุ่นเพียงแค่ไม่กี่เรื่อง อาจจะเป็นเพราะ

 

1.มีหนังญี่ปุ่นแนวนี้อยู่เยอะ แต่เราแทบไม่เคยมีโอกาสได้ดูเอง

 

2. ญี่ปุ่นไม่ค่อยผลิตหนังแนวนี้ เพราะว่า

 

2.1 ชีวิตนักร้องญี่ปุ่นส่วนใหญ่ ไม่หวือหวา โลดโผน เหมือนนักร้องฝรั่ง ไม่ได้เน้นเสพเฮโรอีนโคเคน มากเท่ากับนักร้องฝรั่ง 555 ชีวิตก็เลยไม่มี dramatic material มากนัก

 

2.2 พวกนักร้องญี่ปุ่นที่มี "สังกัด" ก็คงจะเน้นใช้ชีวิตตามกฎที่สังกัดวางไว้

 

2.3 ชีวิตนักร้องญี่ปุ่นบางคนก็อาจจะมี dramatic material อยู่บ้าง แต่พอมันเกี่ยวข้องกับ "คนจริง ๆ" ที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือลูกหลานของคนนั้นยังมีชีวิตอยู่  การสร้างหนังโดยไม่ทำให้คนจริง ๆ บางคน "เสียหน้า" อาจจะเป็นเรื่องยากในสังคมญี่ปุ่นมากกว่าสังคมฝรั่งหรือเปล่า

 

คือจริง ๆ แล้วก็อยากดูหนังเกี่ยวกับวง Zard และ Minako Honda นะ

 

เชิญแสดงความเห็นได้ใน comment นะคะ

 

รูปของ Yumi Matsutoya ที่ทำยอดขายได้ 42 ล้านก็อปปี้ และออก studio albums มาแล้ว 38 ชุดนับตั้งแต่ปี 1973-2020, Mariya Takeuchi, Ayumi Hamasaki และ Akina Nakamori

 

 

Sunday, February 18, 2024

FILMS/TV SERIES WHICH PORTRAY LOVERS WHO EXCEL IN THE SAME THING

 

หนึ่งในฉากที่ชอบที่สุดที่ได้ดูในช่วงไม่กี่สัปดาห์แรกของปีนี้ ก็คือฉากใน THE TASTE OF THINGS (2023, Tran Anh Hung, France, A+30) ซึ่งเป็นฉากที่ Eugénie (Juliette Binoche) กับ Dodin Bouffant (Benoît Magimel) ทดสอบเด็กหญิง Pauline (Bonnie Chagneau-Ravoire) ว่า เธอสามารถใช้ลิ้นของเธอในการจำแนกส่วนผสมต่าง ๆ อันหลากหลายและมากมายใน sauce bourguignonne ที่เธอแดกเข้าไปได้หรือไม่ ซึ่งก็ปรากฏว่า Pauline สามารถตอบองค์ประกอบต่าง ๆ ได้ครบเกือบหมด  ซึ่งรวมถึง mushrooms, fennel, tomatoes, oranges, wine, bay leaf, cumin, juniper berry, clove, etc.

 

อีกจุดหนึ่งที่ชอบมากในหนังเรื่อง THE TASTE OF THINGS โดยที่หนังไม่ได้ตั้งใจ ก็คือว่า เรารู้สึกราวกับว่า Eugénie กับ Dodin เป็น “จอมยุทธ์” แห่งวงการอาหารน่ะ 5555 คือถ้าหากเปรียบเทียบความสามารถในการทำอาหารเป็นวิทยายุทธ Eugénie ก็อาจจะเป็นเซียวเหล่งนึ่ง Dodin ก็อาจจะเป็นเอี้ยก้วย และ Pauline ก็อาจจะเป็นก๊วยเซียงอะไรทำนองนี้ คือทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิงมีความสามารถสูงลิบลิ่วในด้านอาหารเหมือน ๆ กัน

 

อาจจะเป็นเพราะเราเติบโตมากับการดูละครทีวีฮ่องกงแนวกำลังภายในด้วยมั้ง เราก็เลยชอบที่หนังเรื่อง THE TASTE OF THINGS ทำให้เรารู้สึกราวกับว่า ความสามารถในการทำอาหารเป็นวิทยายุทธขั้นสูงแบบหนึ่ง โดยที่หนังไม่ได้ตั้งใจ คล้าย ๆ กับหนังเรื่อง MOTORWAY (2012, Soi Cheang, Hong Kong) ที่ทำราวกับว่า “ความสามารถในการขับรถ” ถือเป็นวิทยายุทธ์ขั้นสูงแบบหนึ่งเหมือนกัน

 

พอเราดู THE TASTE OF THINGS แล้วทำให้นึกถึงตัวละครแบบเอี้ยก้วย/เซียวเหล่งนึ่งแล้ว เราก็เลยคิดว่า เราอยากทำลิสท์รายชื่อหนัง/ละครทีวี ที่มีตัวละครคู่รักชายหญิงเป็น “สุดยอดฝีมือ” ในด้านเดียวกัน ด้วยเลยดีกว่า

 

FILMS/TV SERIES WHICH PORTRAY LOVERS WHO EXCEL IN THE SAME THING (เฉพาะที่เราเคยดูแล้วชอบมาก ๆ)

 

1.CHILDREN OF THE CENTURY (1999, Diane Kurys, France)

ดัดแปลงจากเรื่องจริงของเรื่องราวความรักระหว่าง George Sand (Juliette Binoche) ซึ่งเป็นนักแต่งนิยายชื่อดัง กับ Alfred de Musset (Benoît Magimel) ซึ่งเป็นกวีชื่อดัง

 

2.THE CONJURING (2013, James Wan) และภาคต่อ ๆ มาของหนังเรื่องนี้

 

3.GOTHIC (1986, Ken Russell, UK)

ตัวละครในหนังเรื่องนี้รวมถึง Mary Shelley (Natasha Richardson) ผู้แต่ง FRANKENSTEIN และสามีของเธอ Percy Bysshe Shelley (Julian Sands) ซึ่งเป็นกวีชื่อดัง

 

4.HANCOCK (2008, Peter Berg)

Will Smith กับ Charlize Theron รับบทเป็นคู่รัก superheroes

 

5.SATRE, YEARS OF PASSION (2006, Claude Goretta, Switzerland/France, 2hrs 45mins)

เรื่องราวของ Jean-Paul Satre (Denis Podalydes) กับ Simone de Beauvoir (Anne Alvaro) ที่ต่างก็ถือเป็นสุดยอดทั้งคู่ เราประทับใจกับการแสดงของ Anne Alvaro ในมินิซีรีส์เรื่องนี้มาก ๆ

 

6.THE TASTE OF THINGS

 

7.WHERE DOES YOUR HIDDEN SMILE LIE? (2001, Pedro Costa, documentary, 104min, A+30)

สารคดีบันทึกการทำงานของ Jean-Marie Straub กับ Daniele Huillet ซึ่งเราถือว่าเป็นสุดยอดผู้กำกับภาพยนตร์ทั้งคู่

 

8.ซิติงซาน พิชิตตะวันตก (1986, Hong Kong TV series)

นำแสดงโดย หวงเย่อหัว ในบทซิติงซาน และ เฉินหมิ่นเอ๋อ ในบท ฟ่านหลีฮัว ซึ่งทั้งสองเก่งกาจพอ ๆ กันในแง่การเป็นแม่ทัพนำทหารออกรบ

 

9.มังกรหยก – ก๊วยเจ๋ง+อึ้งย้ง, เอี้ยก้วย+เซียวเหล่งนึ่ง

 

พอคิด ๆ ดูแล้ว ในโลกแห่งความเป็นจริงก็มีคู่รักหลายคู่ที่ทำให้เรานึกถึงพระเอกนางเอกใน THE TASTE OF THINGS นะ ในแง่การเป็นสุดยอดฝีมือในศาสตร์เดียวกัน โดยคู่รักในชีวิตจริงเหล่านี้ ก็มีเช่น

 

1.Agnes Varda + Jacques Demy คู่รักที่เป็นสุดยอดผู้กำกับภาพยนตร์

 

2.Elem Klimov + Larissa Shepitko คู่รักที่เป็นสุดยอดผู้กำกับภาพยนตร์

 

3.Molly Haskell + Andrew Sarris คู่รักที่เป็นสุดยอดนักวิจารณ์ภาพยนตร์

 

4.Laurie Anderson + Lou Reed คู่รักที่เป็นสุดยอดฝีมือแห่งวงการดนตรี

 

มีใครคิดถึงคู่รักในภาพยนตร์/ละครทีวี/ชีวิตจริง ที่เข้าข่ายอะไรแบบนี้อีกบ้างไหม ถ้าคิดถึงคู่รักคู่ไหนก็มา comment ได้นะคะ

 

 

Saturday, February 17, 2024

HANDSOME JAPANESE ACTORS

 ฉันรักเขา Masataka Kubota from A MAN (2022, Kei Ishikawa, Japan, A+30)


ฉันรักเขา Shuhei Nomura from SILENT LOVE (2024, Eiji Uchida, Japan, A-), ALIVEHOON (2022, Ten Shimoyama), CHIHARAFUYU 3 ภาค (2016, Norihiro Koizumi), SAKURADA RESET 2  ภาค (2017,Yoshihiro Fukugawa)

ฉันรักเขา Kanata Hosoda from THE LINES THAT DEFINE ME (2022, Norihiro Koizumi, Japan, A+25), ONE SUMMER STORY (2020, Shuichi Okita, A+30)

ฉันรักเขา Ryusei Yokohama from THE LINES THAT DEFINE ME (2022, Norihiro Koizumi, Japan, A+25), WANDERING (2022, Lee Sang-il, A+30), YOUR EYES TELL (2020, Takahiro Miki, A+15), KISEKI: SOBITO OF THAT DAY (2017, Atsushi Kaneshige, A+30)

ฉันรักเขา Taketo Tanaka from A MOTHER'S TOUCH (2022, Junpei Matsumoto, Japan, A+30) และ TRUE MOTHERS (2020, Naomi Kawase, Japan, A+30)

รัก UNTIL THE END OF THE WORLD อย่างรุนแรงที่สุด

อ่านโพสท์นี้แล้ว ก็นึกถึงตอนที่เราไปดู FALLEN ANGELS (1995, Wong Kar-wai) ที่เซ็นทรัล ปิ่นเกล้า และ World Trade Center (Central World) แล้วก็ได้ยินคนพูดในทำนองที่ว่า "หนังแม่งโคตรห่วย" และตอนที่เราไปดู CHUNGKING EXPRESS (1994, Wong Kar-wai) ที่โรงหนังในห้างตั้งฮั่วเส็ง ธนบุรี แล้วก็ได้ยินคนดูพูดในทำนองที่ว่า "หนังแม่งโคตรห่วย" เช่นกัน 555

ฉันรักเขา Carlos Chan from THE GOLDFINGER (2023, Felix Chong, Hong Kong/China, A+30)

---
ถึงดิฉันจะไม่มีเทป Lou Reed เหมือนคุณฮิรายามะใน PERFECT DAYS (2023, Wim Wenders) แต่ดิฉันก็มี cassette tape ของ Laurie Anderson ซึ่งเป็นภรรยาของ Lou Reed นะ 555555 แต่เสียดายที่เรามี cassette tape ของ Laurie Anderson แค่อัลบั้มเดียว ซึ่งก็คืออัลบั้ม BRIGHT RED (1994) ส่วนอัลบั้มอื่น ๆ ของ Laurie Anderson เรามีในรูปแบบซีดี ก็เลยไม่เอามาโชว์ ต้องโชว์แต่ในรูปแบบ cassette tape เท่านั้น เดี๋ยวไม่เข้ากับหนัง PERFECT DAYS 5555

เราเข้าใจว่า Laurie Anderson เป็นแฟนกับ Lou Reed นานราว 21 ปีนะ คือในปี 1992-2013 แต่ทั้งสองเพิ่งแต่งงานกันอย่างเป็นทางการในปี 2008

เราชอบอัลบั้มชุด BRIGHT RED อย่างสุดขีดมาก ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ เพลงที่ชอบมากในอัลบั้มนี้ก็รวมถึงเพลง BRIGHT RED, LOVE AMONG THE SAILORS, POISON และ SPEAK MY LANGUAGE ที่ถูกนำมาใช้ประกอบหนังเรื่อง FALLEN ANGELS (1995, Wong Kar-wai)

Lou Reed มาร่วมร้องและเล่นกีตาร์ให้เพลง IN OUR SLEEP ในอัลบัมชุด BRIGHT RED ด้วย
---
ลองนับดูพบว่า วันนี้ที่ Major Ratchayothin มีหนังฉายถึง 15 เรื่อง ถือเป็นสิ่งที่ดี ไม่มีหนังใหญ่เรื่องไหนมากวาดโรงไปหมดเหมือนแต่ก่อน 555

แต่ในบรรดา 15 เรื่องนี้ มีหนังที่เรายังไม่ได้ดูถึง 10 เรื่อง ซึ่งเราก็คงดูไม่ทันแน่นอน เพราะช่วงสุดสัปดาห์นี้เราต้องอุทิศเวลาให้กับ Japanese Film Festival + CCCL Film

เนื่องจากเราไม่ได้ดู MOVING (1993, Shinji Somai, A+30) มานานราว 20 ปีแล้ว แต่เพื่อน ๆ หลายคนเพิ่งได้ดูไป เราก็เลยอยากถามหน่อยว่า ฉากต้นเรื่องกับฉากจบของ MOVING มันคล้ายกับหนังเยอรมันตะวันตกเรื่อง THE ALL-ROUND REDUCED PERSONALITY: REDUPERS (1977, Helke Sander, West Germany, A+30) ใช่ไหมคะ

คือฉากเปิดของหนังเรื่อง THE ALL-ROUND REDUCED PERSONALITY: REDUPERS เป็นฉากที่ถ่ายแบบ lateral tracking shot เห็นตัวละครเดินหรือวิ่งไปตามท้องถนนในกรุงเบอร์ลินฝั่งตะวันตก ส่วนฉากจบของ THE ALL-ROUND REDUCED PERSONALITY: REDUPERS เป็นฉากที่เราเห็นตัวละคร “เดินจากด้านหลังของฉาก มายังด้านหน้าของฉาก” ซึ่งเป็นฉากที่แสดงให้เห็น “ความลึกของฉากนั้น” ซึ่งมันจะเป็นวิธีการถ่ายที่ตรงข้ามกับฉากเปิด เพราะฉากเปิดเป็นการถ่ายแบบ lateral tracking shot ที่ตัวละครเดินหรือวิ่งไปตามท้องถนน

เหมือนเราจะจำได้คลับคล้ายคลับคลาว่า MOVING ก็ใช้ความ contrast กันอย่างรุนแรงระหว่าง “วิธีการถ่ายฉากเปิด กับฉากปิดของหนัง” ในแบบที่คล้าย ๆ กับ THE ALL-ROUND REDUCED PERSONALITY: REDUPERS แต่เราไม่แน่ใจว่าเราจำถูกหรือเปล่า ก็เลยอยากถามเพื่อน ๆ ที่เพิ่งได้ดู MOVING ว่าเราจำถูกหรือไม่ค่ะ

อยากถามเพื่อน ๆ ด้วยว่า นอกจาก THE ALL-ROUND REDUCED PERSONALITY: REDUPERS กับ MOVING แล้ว มีหนังเรื่องไหนอีกหรือเปล่า ที่ใช้ความ contrast กันระหว่างวิธีการถ่ายฉากเปิดกับฉากปิดเรื่องแบบนี้ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของตัวละคร

---
พอคนอื่น ๆ พูดถึง “นิตยสาร” แล้วก็เลยนึกขึ้นมาได้ว่า ตอนเด็ก ๆ เราเคยอ่านพวกเรื่อง ผี ๆ ในนิตยสาร “โลกทิพย์” หรือนิตยสารอะไรทำนองนี้ แล้วเรากลัวขนหัวลุกมาก ๆ เหมือนเรายังคงจำความกลัวเมื่อ 40 ปีก่อนตอนที่อ่านนิตยสารพวกนี้ได้เป็นอย่างดี  ไม่รู้ว่ามีเพื่อน ๆ คนไหนเป็นแฟนนิตยสาร “โลกทิพย์” กันบ้างคะ Festival ก่อน 555
---
รายงานผลประกอบการประจำ Saturday 10 Feb 2024

1.WE MADE A BEAUTIFUL BOUQUET (2021, Nobuhiro Doi, Japan, A+30)

ดูที่ House รอบ 12.45

เหมือนเราไม่ได้ดูผลงานการกำกับของ Nobuhiro Doi มานาน 13 ปีแล้ว เพราะหนังของเขาที่เราได้ดูก่อนหน้านี้น่าจะเป็น HANAMIZUKI (2010)

ตอนช่วง 10 นาทีแรกนึกว่า WE MADE A BEAUTIFUL BOUQUET จะเป็นหนังโรแมนติกแนวที่เราไม่อิน แต่ปรากฏว่าหนังมันค่อนข้างจริงจังกับรายละเอียดชีวิตตัวละคร ไม่ได้ทำเพียงแค่สร้างอารมณ์เหงาจิ๋มไปเรื่อย ๆ เราก็เลยชอบหนังเรื่องนี้อย่างสุด ๆ

รู้สึกว่า Kasumi Arimura นางเอกหนังเรื่องนี้ หน้าคุ้นมาก ๆ พอตอนหลังเช็คดูถึงรู้ว่า เราเพิ่งเห็นเธอใน PHASES OF THE MOON (2022, Ryuichi Hiroki)

2. BABY ASSASSIN (2021, Yugo Sakamoto, Japan, A+30)

ดูที่ House รอบ 15.00

ดูหน้าหนังแล้วนึกว่าเราจะไม่ชอบ เพราะเราไม่ค่อยอินกับหนังบู๊, หนังตลก, หนังตลกร้าย,  หนังยากูซ่า, หนังขายดาราหญิงสวยน่ารัก  แต่ปรากฏว่าเรากลับชอบหนังเรื่องนี้มาก ๆ เหมือนมัน cult ในแบบที่ลงตัวสำหรับเรา

3. BABY ASSASINS 2 BABIES (2023, Yugo Sakamoto, Japan, A+30)

ดูที่ House รอบ 16.45

เหมือนพลังมัน drop ลงจากภาคแรก แต่ก็ชอบภาคนี้มาก ๆ อยู่ดี เพราะ

3.1 Joey Iwanaga น่ารักดี

3.2 ตัวละครประกอบหนักมาก นั่นก็คือ "คุณปู่คนนึงที่คลั่งไคล้ความหล่อของ Masaki Suda"?!?!?!??! คือไม่ทราบว่าตัวละครประกอบตัวนี้ exist อยู่เพื่ออะไร มึงคิดตัวละครแบบนี้ออกมาได้ยังไง แต่เราชอบสุด ๆ 55555

3.3 ชอบบทสนทนาแบบสัพเหระไปเรื่อย ๆ ของนักฆ่า ไม่แน่ใจว่า PULP FICTION (Quentin Tarantino) คือต้นกำเนิดของหนังแนวนี้หรือเปล่า หรือว่าหนัง cult ของญี่ปุ่นมีอะไรแบบนี้มาก่อนหน้า PULP FICTION แล้ว

ดูจุดนี้แล้ว ทำให้นึกถึงหนังเรื่อง "อำพราง" DISAPPEAR (2010, Tani Thitiprawat, A+30) มาก ๆ เพราะ "อำพราง" มีฉากนึงที่ให้ตัวละครในองค์กรนักฆ่าถกเถียงกันอย่างเคร่งเครียดเป็นเวลานานราว 5 นาทีเรื่อง "กระดาษทิชชูบาดตูดจนเลือดออกขณะเช็ดก้น"  (แต่ "อำพราง" มีเนื้อหาส่วนอื่น ๆ ที่ออกไปในสไตล์อื่นนะ คือ "อำพราง"  เป็นเหมือนหนัง Alfred Hitchcock + Kiyoshi Kurosawa + หนังไซไฟ + หนัง  Tatantino)

4. PATTAYA HEAT (2024, Yang Shupeng, A+)

ดูที่ Sf mahboonkrong รอบ 19.10

ชอบ "มาด" ของตัวละครมาก ๆ รู้สึกว่าหนังมันทำถึงในแง่ "มาด" ของตัวละคร และเราก็ชอบโทนหรือบรรยากาศโดยรวม แต่เรามีปัญหากับบทภาพยนตร์อย่างรุนแรง

จริง ๆ ดูแล้วนึกถึง THE COUNSELOR (2013, Ridley Scott, A+30) ในบางจุดนะ แต่ THE COUNSELOR ถือเป็นหนึ่งในหนังอาชญากรรมที่เราชอบที่สุดในชีวิต ส่วนอันนี้ยังห่างไกลมาก ๆ
---
ฉันรักเขา Joey Iwanaga from BABY ASSASSINS 2 BABIES (2023, Yugo Sakamoto, Japan, A+30)

ตื่นมาเห็นแสงเงาที่ไม้แขวนเสื้อในตอนเช้าแล้วก็รู้สึกว่า นี่มันช่าง PERFECT.......................................................INSTRUMENT FOR ABORTION? (แรงบันดาลใจจาก "ไม่สิ้นไร้ไฟสวาท")

ฉันรักเขา Rentaro Mikuni from THE BURMESE HARP (1956, Kon Ichikawa, Japan, A+30)
---
รู้สึกว่า EVIL DOES NOT EXIST (2023, Ryusuke Hamaguchi, Japan, A+30) สะท้อนชีวิตพนักงานบริษัทที่ถูกทางบริษัทพยายามทำลาย "ความเป็นมนุษย์" ในตัวด้วยเหมือนกัน และพนักงานแต่ละคนก็เหมือนต้องหาจุดสมดุลระหว่าง "work" กับ "humanity ในใจตัวเอง"
---
ฉันรักเขา Mustapha Maarof from THE PASSING OF SULTAN MAHMOOD (1961, K.M. Basker, Singapore, A+30)
---
กราบตีน Vanessa Redgrave รู้สึกว่าเธอคือ "คนจริง" มาก ๆ เธอเคยได้รับรางวัลออสการ์ดาราสมทบหญิงยอดเยี่ยมจาก JULIA (1977, Fred Zinnemann) ในบทของสาวชาวยิวที่ลุกขึ้นต่อต้านนาซี แต่เธอถือโอกาสตอนที่ขึ้นไปรับรางวัลออสการ์นี้ในการกล่าวประณามกลุ่มชาวยิวหัวรุนแรงที่ตั้งเงินรางวัลให้กับคนที่สามารถสังหารเธอได้ เพราะกลุ่มชาวยิวหัวรุนแรงนี้ไม่พอใจที่เธอสนับสนุนปาเลสไตน์และสร้างหนังสารคดีปาเลสไตน์ โดยโรงภาพยนตร์ที่ฉายหนังปาเลสไตน์ของ Vanessa Redgrave ก็ถูกวางระเบิดด้วย และในอีก 40 ปีต่อมา เธอก็ประกาศว่าเธอไม่เคยเสียใจเลยแม้แต่น้อยที่กล่าวประณามชาวยิวหัวรุนแรงในงานออสการ์ปีนั้น
--'
นึกถึงหนังไทยหลาย ๆ เรื่อง โดยเฉพาะหนังสั้นไทย ที่ทำขี้นเพื่อโปรโมทจังหวัดต่าง ๆ ซึ่งบางเรื่องก็ออกมาดี แต่เราก็ไม่แน่ใจว่าหนังเรื่องไหนได้ทุนสร้างจากองค์การบริหารท้องถิ่นส่วนจังหวัดมากน้อยแค่ไหน หรือถูกทางเจ้าของเงินทุนเข้ามาควบคุมบทภาพยนตร์มากน้อยแค่ไหน และก็นึกถึงหนังสั้นไทยกลุ่มนึงที่ได้รับทุนสร้างจากโรงพยาบาลด้วย ซึ่งบางเรื่องก็ออกมาดีสุดขีด เพราะผู้กำกับหนังเก่งจริง แต่เจ้าของเงินทุนกลับทำตัวมีปัญหา
---

พอได้ดู PERFECT DAYS แล้วก็เลยนึกถึงบทความ “เนื้อเรื่องคือตัวยุ่ง: ว่าด้วยทุกข์ของการเล่าเรื่อง” ที่เขียนโดย Wim Wenders มาก ๆ บทความนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยไว้ในหนังสือ “ฟิล์มไวรัส” เล่ม 1 ซึ่งออกวางขายในปี 1998 ถ้าใครสนใจก็ไปหาซื้อหนังสือเล่มนี้กันได้นะ  หรือถ้าหากใครอยากอ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษ ก็อ่านได้จากบทความ IMPOSSIBLE STORIES ในหนังสือ THE LOGIC OF IMAGES ที่เขียนโดย Wim Wenders โดยหนังสือเล่มนี้เหมือนมีให้อ่านออนไลน์ในแบบไฟล์ pdf
---
หนึ่งในสิ่งที่ชอบสุด ๆ ใน PERFECT DAYS (2023, Wim Wenders, A+30) คือการที่หนังทำให้ตัวละครประกอบแต่ละตัวดูมีชีวิตเป็นของตัวเองอย่างมาก ๆ ตัวละครประกอบแต่ละตัวดูมีชีวิตอยู่จริง ๆ ก่อนที่หนังจะเริ่มต้น และจะมีชีวิตอยู่ต่อไปหลังจากที่หนังจบลง

SPOILERS ALERT สำหรับหนังเกาหลีใต้เรื่อง OFFICE
--
--
--
--
--
--
--
--
ไม่รู้มีใครคิดเหมือนกันหรือเปล่าว่า เราลุ้นให้พระเอกไม่ได้คุยกับ “สาวออฟฟิศที่มานั่งแดกแซนด์วิช” อยู่คนเดียว เพราะเราจินตนาการต่อเอาเองว่า เธอเป็นสาวออฟฟิศที่เก็บกดอย่างรุนแรงที่จริง ๆ แล้วเป็นฆาตกรโรคจิตแบบในหนังเรื่อง OFFICE (2015, Hong Won-chan, South Korea) และ OFFICE KILLER (1997, Cindy Sherman) น่ะ 555555 เพราะฉะนั้นการที่พระเอกไม่ได้เข้าไปคุยกับเธอ ก็เลยเป็นสิ่งที่เข้าทางเราอย่างสุด ๆ เพราะถ้าหากเขาเข้าไปคุย เขาอาจจะถูกเธอฆ่าตายก็ได้ หรือในอีกทางหนึ่ง เขาอาจจะช่วยให้เธอไม่ต้องกลายไปเป็นฆาตกรโรคจิตก็ได้ 55555
---
ชอบเพลงนี้อย่างสุดขีดมาก ๆ HOW COME YOU’RE SUCH A HIT WITH THE BOYS, JANE? เป็นเพลงของวง Dolly Mixture ในปี 1983 คือรู้สึกว่าเพลงนี้มันเหมาะจะใช้จัดประกวดแข่งขันกันทำ music video อย่างรุนแรงมาก เพราะเนื้อเพลงและแนวดนตรีมันเอื้อให้ทำออกมาเป็นหนังสั้นแบบตบกันแหลกได้ คือจินตนาการเล่น ๆ แล้วรู้สึกว่า MV เพลงนี้มันจะทำออกมาเป็นแนวอะไรก็ได้ ตั้งแต่แนว John Waters, หอแต๋วแตก, Catherine Breillat, MEAN GIRLS, Greta Gerwig, SWITCHBLADE SISTERS, กะเทยหัวโปกเดินแบบในโรงเรียน, etc.
---
สรุปว่า ตอนนี้เราให้ PERFECT DAYS ก้าวขึ้นมาครองอันดับหนึ่งในใจเราในบรรดาหนังที่กำกับโดย Wim Wenders ที่เราเคยดูมา โดยให้เฉือนชนะ UNTIL THE END OF THE WORLD ไปอย่างฉิวเฉียด 55555 แต่เราเคยดูหนังของ Wim Wenders มาเพียงแค่ 26 เรื่องเท่านั้นนะ ยังเหลือหนังของเขาอีกเยอะมากที่เรายังไม่ได้ดู โดยเฉพาะ SUMMER IN THE CITY (1970) ที่เราเดาว่าน่าจะเข้าทางเราอย่างสุดขีด

แต่ถึงแม้เราจะชอบ PERFECT DAYS อย่างสุดขีดคลั่ง แต่เราก็ยอมรับว่า เรายังคงชอบ Wim Wenders น้อยกว่าผู้กำกับบางคนในกลุ่ม New German Cinema นะ 55555 คือยังคงชอบน้อยกว่า Werner Schroeter, Ulrike Ottinger, Herbert Achternbusch, Alexander Kluge, Harun Farocki, Hans-Jurgen Syberberg, Klaus Wyborny, Jean-Marie Straub, Rainer Werner Fassbinder, Werner Herzog แต่ก็ถือว่าชอบในระดับมากพอ ๆ กับ Helke Sander, Margarethe von Trotta, Rosa von Praunheim และชอบมากกว่า Volker Scholondorff (ส่วนผู้กำกับคนอื่น ๆ ในกลุ่ม New German Cinema นั้น เรายังคงดูหนังของพวกเขาน้อยมากจนนำมาเทียบกับ Wim Wenders ไม่ได้ อย่างเช่น Hellmuth Costard, Peter Fleischmann, Niklaus Schilling, Reinhard Hauff, Peter Lilienthal, Rudolf Thome, etc.)

WIM WENDERS’ FILM IN MY PREFERENTIAL ORDER

1.PERFECT DAYS (2023)

2.UNTIL THE END OF THE WORLD (1991)

3.ALABAMA: 2000 LIGHT YEARS FROM HOME (1969, 21min)

4.PARIS, TEXAS (1984)

5.BUENA VISTA SOCIAL CLUB (1999, documentary)

6.KINGS OF THE ROAD (1976)

7.THE STATE OF THINGS (1982)

8.THE SALT OF THE EARTH (2014, Juliano Ribeiro Salgado + Wim Wenders, documentary)

9.TOKYO-GA (1985, documentary)

10.FAR AWAY, SO CLOSE! (1993)

11.THE END OF VIOLENCE (1997)

12.A TRICK OF THE LIGHT (1996)

13.THE GOALIE’S ANXIETY AT THE PENALTY KICK (1972)

14.ALICE IN THE CITIES (1974)

15.WINGS OF DESIRE (1987)

16.THE AMERICAN FRIEND (1977)

17.SUBMERGENCE (2017, Wim Wenders)

18.THE SCARLET LETTER (1973)

19.NOTEBOOK ON CITIES AND CLOTHES (1989, documentary)

20.ROOM 666 (1982, documentary)

21.LISBON STORY (1994)

22.FALSE MOVEMENT (1975)

23.THE MILLION DOLLAR HOTEL (2000)

24.ODE TO COLOGNE: A ROCK ‘N’ ROLL FILM (2002, documentary)

25.THE SOUL OF A MAN (2003, documentary)

26.Music video NIGHT AND DAY – U2 (1990)
---
SOUNDS OF SAND (2006, Marion Hansel, Belgium/France) หนังเกี่ยวกับประเทศสมมุติในแอฟริกา ถ่ายที่ Djibouti เนื้อเรื่องของหนังทำให้รู้สึกว่ามันเป็นทะเลทรายที่โหดร้ายที่สุดเท่าที่เคยดูมาในชีวิตนี้