หนังผู้หญิงใจโหด
นอกจาก Baise-Moi และ Uninvited แล้ว หนังเกี่ยวกับผู้หญิงที่กระทำพฤติกรรมรุนแรงที่ดิฉันชอบมากๆก็รวมถึง
1.Bremen Freedom (1972, ไรเนอร์ แวร์เนอร์ ฟาสบินเดอร์)
http://www.phil.uni-passau.de/kunst_erz/galerie/Hoelzlwimmer/pics/Gross/PLAKAT12.gif
นางเอกอีกคนที่อาจจะใกล้เคียงกับกลุ่มผู้หญิงทิ้งผัวอยู่บ้างก็คือกีเชอ (รับบทโดยมาร์กิท คาร์สเตนเซน) ซึ่งเป็นนางเอกหนังเรื่อง Bremen Freedom เพราะนางเอกหนังเรื่องนี้เลือกที่จะอยู่เป็นโสดด้วยการฆ่าสามีตาย นอกจากนี้ เธอยังวางยาพิษฆ่าสมาชิกในครอบครัวตัวเองและคนรอบข้างตายไปอีกหลายคน
Bremen Freedom สร้างจากคดีจริงที่เกิดขึ้นในเมืองเบรเมนในทศวรรษ 1820 โดยฆาตกรตัวจริงมีชื่อว่ากีเชอ กอทท์ฟรีด แม่ม่ายที่เคยได้รับความสงสารเห็นใจจากผู้คนทั่วเมืองเพราะคนทั้งเมืองคิดว่าเธอโชคร้ายมากๆที่สูญเสียสมาชิกในครอบครัวไปในเวลาไล่เลี่ยกัน
อย่างไรก็ดี ในปี 1828 มีคนพบยาพิษจำนวนมากที่กีเชอใส่เอาไว้เพื่อฆ่าคน นั่นส่งผลให้เธอถูกจับกุมตัวและถูกตัดสินว่ามีความผิดในข้อหาฆ่าคน 15 คน เธอได้รับการประหารชีวิตในวันที่ 21 เม.ย.ปี 1831 โดยมีประชาชน 35,000 คนมาชมการประหารชีวิตเธอ
ดิฉันชอบบทนางเอกหนังเรื่องนี้อย่างที่สุดของที่สุดเลยค่ะ แต่สิ่งที่ทำให้ดิฉันรู้สึกกับบทนี้แตกต่างไปจากนางเอกในหนังกลุ่มผู้หญิงทิ้งผัวก็คือว่า ดิฉันรู้สึกค่อนข้างเห็นด้วยกับการกระทำของนางเอก 5 คนในกลุ่มผู้หญิงทิ้งผัว ดิฉันรู้สึกว่านางเอกในหนัง 5 เรื่องนั้นตัดสินใจถูกแล้ว เธอคิดถูกแล้วที่ทิ้งชายคนรักไปซะได้ แต่ดิฉันไม่เห็นด้วยกับการกระทำของกีเชอ ถึงแม้ดิฉันจะรักและสงสารตัวละครตัวนี้มากๆก็ตาม ถ้าหากใครถามว่าดิฉันคิดว่ากีเชอทำผิดไหม ดิฉันก็ต้องตอบว่ากีเชอทำผิดและเธอเป็นคนโหดเหี้ยมอำมหิตอย่างให้อภัยไม่ได้ค่ะ แต่ถ้าถามว่าดิฉันรักกีเชอและรักหนังเรื่องนี้ไหม ดิฉันก็ต้องตอบว่าดิฉันรักตัวละครกีเชอ (ไม่ใช่กีเชอตัวจริง) และบูชาหนังเรื่องนี้อย่างที่สุดค่ะ
ดิฉันคงต้องยกความดีความชอบให้กับฟาสบินเดอร์ค่ะที่สามารถทำให้ฆาตกรใจโหดอย่างกีเชอกลายเป็นตัวละครที่น่าสงสารและน่าเห็นใจที่สุด ในความเห็นส่วนตัวของดิฉัน ดิฉันคิดว่าไม่น่าจะเป็นเรื่องยากนักที่ผู้สร้างหนังสักคนนึงจะทำให้ผู้ชมรู้สึกสงสาร, ร้องไห้ และเห็นอกเห็นใจตัวละครประเภท “เด็กไร้เดียงสา” แต่คงเป็นเรื่องที่ยากมากๆที่ผู้กำกับและนักแสดงจะทำให้ผู้ชมรู้สึกสงสาร, เห็นอกเห็นใจ และร้องไห้ไปกับตัวละครประเภทฆาตกรโรคจิต มีผู้กำกับเพียงไม่กี่คนที่ทำอย่างนี้ได้สำเร็จกับดิฉัน และหนึ่งในนั้นก็คือฟาสบินเดอร์กับ Bremen Freedom
นอกจาก Bremen Freedom จะมีจุดเด่นที่ตัวละครนางเอกของเรื่องแล้ว จุดเด่นอีกจุดในหนังเรื่องนี้ก็คือวิธีการนำเสนอค่ะ เพราะแทนที่หนังเรื่องนี้จะสร้างเป็นหนังย้อนยุคที่เน้นความสมจริง หนังเรื่องนี้กลับออกมาคล้ายๆละครเวทีที่ทั้งเวทีแทบไม่มีอุปกรณ์ประกอบฉากอะไรเลย เราจะเห็นตัวละครอยู่ในบ้านสมมุติที่มีแค่ตู้, โต๊ะ, เก้าอี้ไม่กี่ตัว นอกจากนี้ ฉากหลังของเวทีละครก็ไม่ได้เป็นภาพของกำแพงบ้าน แต่กลับเป็นเหมือนหน้าจอภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นภาพต่างๆกันไปในแต่ละสถานการณ์ ซึ่งรวมถึงภาพใบหน้าของกีเชอขณะที่ถูกโคลสอัพอย่างเต็มที่ ซึ่งการประยุกต์ใช้ฉากหลังของเวทีละครอย่างพิสดารพันลึกเช่นนี้ช่วยทำให้อารมณ์ของภาพยนตร์เข้มข้นขึ้นอย่างมาก
ก่อนที่ฟาสบินเดอร์จะกำกับภาพยนตร์เรื่องนี้ เขาเคยเขียนบทละครเวทีเรื่องนี้และเคยจัดแสดงละครเวทีเรื่องนี้ในปี 1971 ในโรงละครที่เมืองเบรเมนค่ะ โดยเขากล่าวถึงบทละครเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องของ “ผู้หญิงคนหนึ่งที่มีความปรารถนาที่ถูกต้องในยุคสมัยที่ผิดพลาด”
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเคยจัดแสดงละครเวทีเรื่อง Bremen Freedom ด้วยค่ะ เมื่อราว 20 ปีมาแล้ว
ภาพจากการแสดง BREMEN FREEDOM ที่เมือง STUTTGART ในเยอรมนี
http://www.chekhovfest.ru/image/breme.jpg
http://www.chekhovfest.ru/image/bremens.jpg
นอกจาก Bremen Freedom แล้ว ดิฉันก็ชอบหนังอีกเรื่องหนึ่งที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสาวที่วางยาพิษฆ่าสามีตัวเองเหมือนกันค่ะ หนังเรื่องนั้นก็คือ Two Friends Kill by Poison หรือ Die beiden Freundinnen und ihr Giftmord (1977, แอกเซล คอร์ติ) โดยหนังเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากงานเขียนของแอลเฟรด เดอบลิน ในปี 1921 และมีเนื้อหาเกี่ยวกับเอลลี ลิงค์ (อุลริเค บลีเฟิร์ท) หญิงสาวที่สดใสมีชีวิตชีวา เธอแต่งงานกับคาร์ล (สเตฟาน วิกเกอร์) ซึ่งเป็นช่างไม้ แต่ค้นพบหลังจากแต่งงานว่าสามีของเธอมีนิสัยซาดิสท์ ดังนั้นเธอกับเพื่อนอีกคนหนึ่งก็เลยช่วยกันวางยาพิษฆ่าคาร์ล
AXEL CORTI
http://images-eu.amazon.com/images/P/3852525411.03.LZZZZZZZ.jpg
AXEL CORTI เคยกำกับ THE KING’S WHORE (1990)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00067ADEA.01.LZZZZZZZ.jpg
มาร์กิท คาร์สเตนเซน (เกิดปี 1940) ที่รับบทเป็นกีเชอในภาพยนตร์เรื่องนี้ เป็นดาราคู่บุญคนนึงของฟาสบินเดอร์ เธอเล่นหนังให้ฟาสบินเดอร์ประมาณ 16 เรื่อง โดยมักรับบทเป็นผู้หญิงที่ร้ายๆ ดุๆหน่อย นอกจากนี้ ฟาสบินเดอร์ยังมีดาราหญิงคู่บุญอีกหลายคน ซึ่งรวมถึงฮันนา ชิกุลลา ที่มักรับบทเป็นผู้หญิงสาวสวยเซ็กซี่ที่มีเสน่ห์ยั่วยวนและไว้วางใจไม่ได้, เอิร์ม เฮอร์มานน์ ที่มักรับบทเป็นสาวใช้, สาวเซื่อง, สาวชาวบ้าน หรือสาวชั้นต่ำ ยกเว้นในภาพยนตร์เรื่อง Katzelmacher (1969) ที่เธอรับบทเป็นสาวผู้ดีได้อย่างน่าเชื่อถือและผิดคาดมากๆ และบริกิทเทอ มิรา ที่มักรับบทเป็นคุณป้าที่มีปัญหาชีวิตอย่างหนัก
นอกจาก Bremen Freedom แล้ว คาร์สเตนเซนยังรับบทเป็นภรรยาผู้ตกอยู่ภายใต้ความกดดันในหนังเรื่องอื่นๆอีกด้วยค่ะ ซึ่งรวมถึงใน Nora Helmer, Martha และ Fear of Fear
ผลงานการแสดงที่น่าประทับใจมากๆของมาร์กิท คาร์สเตนเซนก็มีเช่นเรื่อง
(1) The Bitter Tears of Petra von Kant (1972, ฟาสบินเดอร์)
http://images.amazon.com/images/P/B00006IUHE.01.LZZZZZZZ.jpg
ในเรื่องนี้คาร์สเตนเซนรับบทเป็นเพตรา ฟอน คานท์ ดีไซเนอร์เลสเบียนจอมบงการ โดยมีชิกุลลารับบทเป็นผู้หญิงที่เธอหลงรัก และเฮอร์มานน์รับบทเป็นสาวใช้ที่แทบไม่มีปากมีเสียงของเพตรา
(2) The Third Generation (1979, ฟาสบินเดอร์)
ในเรื่องนี้คาร์สเตนเซนรับบทเป็นผู้ก่อการร้ายชื่อเพตรา โดยมีฮันนา ชิกุลลา, บุลล์ โอเจียร์ และอี ซา โล มาร่วมขบวนการกับเธอด้วย หนังเรื่องนี้มีฉากเปิดเรื่องที่น่าตื่นตะลึงมากๆ และดาราหญิงทั้งสี่คนในหนังเรื่องนี้ก็โดดเด่นมากๆในบุคลิกที่แตกต่างกันไป เรียกได้ว่าเฉือนกันไม่ลงเลยทีเดียว
(3) Mother Kusters Goes to Heaven (1975, ฟาสบินเดอร์)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B0009I7KU6.01.LZZZZZZZ.jpg
ในเรื่องนี้คาร์สเตนเซนรับบทเป็น “คอมมิวนิสต์ผู้ร่ำรวย” ผู้พยายามฉวยโอกาสทำประโยชน์จากความซวยในชีวิตของเอ็มมา คัสเตอร์ส (บริกิทเทอ มิรา) แม่ม่ายที่สูญเสียสามีไปในปัญหาความขัดแย้งด้านแรงงาน
บทของคาร์สเตนเซนในเรื่องนี้เป็นบทที่ประหลาดมากๆเลยค่ะ และเป็นบทของคอมมิวนิสต์ที่ดิฉันแทบไม่เคยพบเคยเจอเลยในโลกภาพยนตร์ เพราะคอมมิวนิสต์กับชนชั้นสูงในหนังเรื่องนี้มีสภาพที่ใกล้เคียงกันมาก ถึงแม้ว่าทั้งสองฝ่ายน่าจะมีลักษณะตรงข้ามกันก็ตาม
(4) Nora Helmer (1973, ฟาสบินเดอร์)
หนังเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์เรื่อง A Doll’s House ของเฮนริค อิบเซน และคาร์สเตนเซนรับบทเป็นนอรา เฮลเมอร์ นางเอกของเรื่องนี้ แต่บทของเธอในเรื่องนี้ไม่ค่อยดุเหมือนบทอื่นๆของเธอที่ดิฉันคุ้นตา แต่ก็เป็นบทของผู้หญิงที่น่าสนใจมากๆ
นอรา เฮลเมอร์เป็นผู้หญิงที่ใช้ชีวิตเหมือนอยู่ในบ้านตุ๊กตา เธอชอบแต่งตัวสวยๆ, ชอบใช้เงิน และชอบดูแลลูกๆและปฏิบัติกับลูกๆเหมือนพวกเขาเป็นตุ๊กตาเด็ก ทางด้านสามีของเธอก็ปฏิบัติกับเธอเหมือนเธอเป็นตุ๊กตาเช่นกัน เขาชอบจับเธอแต่งตัว, ชอบนำเธอออกโชว์ และชอบแสดงความรักต่อเธอต่อหน้าคนอื่นๆ อย่างไรก็ดี ปัญหาทางการเงินในครอบครัวนี้ก็ทำให้ความสัมพันธ์ของตัวละครในเรื่องมาถึงจุดวิกฤติและจุดเปลี่ยนแปลง และในที่สุดนอรา เฮลเมอร์ก็ตัดสินใจทิ้งสามีกับลูกๆไปใช้ชีวิตตามลำพัง เธอต้องการจะก้าวออกจากบ้านตุ๊กตาเพื่อเข้าสู่โลกแห่งความเป็นจริง เธอต้องการจะค้นพบตัวเองคล้ายกับสุภาพสตรีในหนังกลุ่ม “ผู้หญิงทิ้งผัว”
จุดเด่นของหนังเรื่องนี้อยู่ที่วิธีการจัดองค์ประกอบภาพของฟาสบินเดอร์ เพราะฟาสบินเดอร์เลือกที่จะถ่ายแทบทุกช็อตในหนังเรื่องนี้ผ่านทางลายฉลุ, ผ้าม่าน, แก้วเจียระไน และกระจก
รูปของ NORA HELMER อีกเวอร์ชันนึง
http://www.sankt-georgen.de/bilder/theater2001/nora.jpg
(5) Martha (1973, ฟาสบินเดอร์)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00024AQY4.03.LZZZZZZZ.jpg
มารา เฮเยอร์ (คาร์สเตนเซน) เป็นสาวแก่ที่รักษาพรหมจรรย์มาเป็นเวลานาน เธออาศัยอยู่กับพ่อของเธอที่ชอบบงการชีวิตของลูกสาว อย่างไรก็ดี พ่อของเธอเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจวายขณะทั้งสองไปพักผ่อนที่กรุงโรม และหลังจากนั้นมาร์ธาก็ได้พบกับเฮลมุท ซาโลมอน (คาร์ลไฮน์ซ เบิห์ม จาก Fox and His Friends) ซึ่งเป็นผู้ชายในฝันของเธอ เขาเป็นวิศกรหนุ่มผมทองตาสีฟ้ามาดเท่ที่มีความมั่นใจในตัวเอง
ทั้งสองแต่งงานกัน และมาร์ธาก็ค้นพบในเวลาอันรวดเร็วว่าถึงแม้เธอจะรอดพ้นจากการครอบงำของพ่อมาได้แล้ว เธอก็ต้องเผชิญกับสามีที่เป็นโรคจิตซาดิสท์อย่างรุนแรง มาร์ธารู้สึกสิ้นหวังกับชีวิต เธอพยายามขอความช่วยเหลือจากมารีแอนน์ (บาร์บารา วาเลนทิน จาก Ali: Fear Eats the Soul) ซึ่งเป็น sister ของเธอ และขอความช่วยเหลือจากไกเซอร์ (เพเทอร์ ชาเทล จาก Fox and His Friends) ซึ่งเป็นบรรณารักษ์หนุ่มหล่อ
หนังเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์ของคอร์เนล วูลริช (Rear Window, The Bride Wore Black, Mississippi Mermaid)
(6) Fear of Fear (1975, ฟาสบินเดอร์)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B000AFEJ9I.01.LZZZZZZZ.jpg
ในหนังจิตวิทยาเรื่องนี้มาร์กิท คาร์สเตนเซนรับบทเป็นมาร์โกท์ ชเตาด์เทอ แม่บ้านชนชั้นกลางที่น่าจะมีชีวิตที่ปกติสุข แต่เธอกลับเป็นบ้า เธออาศัยอยู่กับควร์ท (อุลริค ฟอลฮาเบอร์) สามีที่ทำงานหนักและนิสัยดี และกับลูกสาว (คอนสแตนเซอ ฮาส) โดยที่แม่ของเธอ (บริกิทเทอ มิรา) และน้องสาว (เอิร์ม เฮอร์มานน์) จอมจุ้นจ้านของเธออาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนท์ใกล้เคียง
ในระหว่างที่มาร์โกท์ตั้งครรภ์ลูกคนที่สอง เธอก็เริ่มมีอาการวิตกจริตอย่างรุนแรงจนเธอกลัวว่าตัวเองจะกลายเป็นบ้า นอกจากนี้ เธอยังถูกเพื่อนบ้านที่มีบุคลิกไม่น่าไว้วางใจ (ควร์ท ราบ) สะกดรอยตามด้วย มาร์โกท์หันไปพึ่งพิงเหล้าและยาแวเลียมเพื่อใช้ในการผ่อนคลายจิตใจ แต่ต่อมาเธอก็หันไปมีเซ็กส์กับหมอ (เอเดรียน โฮเวน) เพื่อขอยาจากเขา
อย่างไรก็ดี อาการทางจิตของมาร์โกท์กลับไม่ดีขึ้น เธอถูกรุมประณามจากแม่และน้องสาว และสามีของเธอก็ส่งตัวเธอเข้าโรงพยาบาลบ้า
นักวิจารณ์ตั้งข้อสังเกตว่า Fear of Fear มีลักษณะบางอย่างคล้ายคลึงบทละครเวทีของออกุสต์ สตรินด์เบิร์ก (Miss Julie, The Dance of Death, The Father)
(7) Chinese Roulette (1976, ฟาสบินเดอร์)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B000BD9QWE.01.LZZZZZZZ.jpg
หนังเรื่องนี้สร้างขึ้นหลังจากฟาสบินเดอร์แตกคอกับกลุ่มนักแสดงเจ้าประจำของเขา และเป็นหนังที่แตกต่างอย่างมากจากหนังแนวเสียดสีชนชั้นกลางเรื่องก่อนๆของฟาสบินเดอร์ บทหนังเรื่องนี้มีความกล้าหาญมากเพราะบทเรื่องนี้จงใจให้ทุกอย่างไม่เป็นธรรมชาติและไม่สมจริง
หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับแองเจลา (แอนเดรีย โชเบอร์) หญิงสาวผู้พิการที่วางแผนให้ตัวเธอ, เกอร์ฮาร์ด ไคร์สท์ (อเล็กซานเดอร์ แอลเลอร์สัน) นักธุรกิจใหญ่ที่เป็นพ่อของเธอ, แม่ของเธอ (มาร์กิท คาร์สเตนเซน), ชู้รักของพ่อ (แอนนา คารินา จาก Pierrot Le Fou) และชู้รักของแม่ (อุลลี ลอมเมล) ไปเผชิญหน้ากันที่บ้านพักในชนบทในเวลาเดียวกัน และส่งผลให้ช่วงสุดสัปดาห์นั้นกลายเป็นสุดสัปดาห์แห่งความอัปยศอดสู โดยมีคุณครูผู้นิ่งเงียบ (มาชา เมริล จาก Belle de Jour และ Night Train Murders), คุณป้าผู้ดูแลบ้านที่ชั่วร้าย (บริกิทเทอ มิรา จาก Ali: Fear Eats the Soul) และลูกชายของผู้ดูแลบ้าน (โวลเกอร์ สเปงเกลอร์) ร่วมอยู่ในเหตุการณ์นี้ด้วย
หนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยการหลอกลวง, ความวิตกกังวล และความหวาดผวา ส่วนอารมณ์ขันในหนังเรื่องนี้ก็เป็นอารมณ์ขันที่โหดร้ายมาก
(8) Satan’s Brew (1976, ฟาสบินเดอร์)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00006FD8F.03.LZZZZZZZ.jpg
หนังเรื่องนี้แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่าวิธีการสร้างหนังของฟาสบินเดอร์เปลี่ยนไป และเป็นหนังที่สร้างขึ้นหลังจากเขายุบคณะนักแสดงละครเวทีของเขาไปแล้ว โดยพล็อตหนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเฉลิมฉลองศิลปะในการลอกเลียนงานประพันธ์ของผู้อื่น
วอลเทอร์ ครานซ์ (ควร์ท ราบ) พระเอกของเรื่องนี้เป็นนักเขียนที่ตกอับที่กลับมาผงาดอีกครั้งเมื่อเขาเริ่มต้นงานเขียนชิ้นหนึ่งที่เหมือนกับงานเขียนของสเตฟาน จอร์จ “โดยบังเอิญ” เขาถูกห้อมล้อมด้วยผู้คนที่เพี้ยนๆและวิปริต ดังนั้นจึงไม่น่าแปลกที่คนเหล่านี้ไม่ทันสังเกตว่าผลงานของเขาเป็นการลอกเลียน
วอลเทอร์เป็นผู้ชายที่รักผู้หญิง แต่สเตฟาน จอร์จ เป็นกวีเกย์ชาวเยอรมันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ดังนั้นเมื่อวอลเทอร์เริ่มรู้สึกผูกพันทางจิตวิญญาณกับสเตฟาน จอร์จ เขาก็เลยเริ่มทำตัวเป็นเกย์ โดยเขาจ้างชายหนุ่มหล่อกลุ่มหนึ่งให้มาคอยพะเน้าพะนอเอาอกเอาใจเขา และจ้างโสเภณีชายกล้ามโตคนหนึ่งให้มาแต่งตัวแบบกรีกโบราณและโพสท่าให้กับเขา
จุดเด่นอีกจุดในหนังเรื่องนี้คือการพลิกสูตรหนังแบบเดิมของฟาสบินเดอร์เกี่ยวกับตัวละครที่เป็นเหยื่อ โดยตัวเอกของเรื่องนี้มีนิสัยเผด็จการ แต่ที่จริงแล้วเขาเป็นมาโซคิสท์ และเขาก็มีความสุขมากๆเมื่อเขาได้ตกเป็นเหยื่อ
ในเรื่องนี้คาร์สเตนเซนรับบทเป็นแอนเดรีย ซึ่งเป็นแฟนขาประจำของนักเขียนคนนี้และบูชานักเขียนคนนี้ราวกับเขาเป็นพระเจ้า ส่วนดาราคนอื่นๆที่ร่วมแสดงในหนังเรื่องนี้ได้แก่โวลเกอร์ สเปงเกลอร์ ซึ่งรับบทเป็นพี่ชายของวอลเทอร์ที่พยายามมีเพศสัมพันธ์กับแมลงวัน, เฮเลน วิตา ที่รับบทเป็นภรรยาของวอลเทอร์ผู้ชอบนับจำนวนวันที่วอลเทอร์ไม่ยอมมีเซ็กส์กับเธอ, คาเธอรินา บุคแฮมเมอร์ ที่รับบทเป็นหญิงสาวผู้ร่ำรวยที่เป็นมาโซคิสท์และจ่ายเงินก้อนใหญ่ให้แก่วอลเทอร์เพื่อใช้บริการทางเพศจากเขา, มาร์ควาร์ด โบห์ม ซึ่งรับบทเป็นสามีของสาวรวยคนนี้, อี ซา โล ซึ่งรับบทเป็นโสเภณีชั้นสูงที่ชอบถักนิตติ้ง และอุลลี ลอมเมล ที่รับบทเป็นนักสืบในคดีฆาตกรรม
ควร์ท ราบ พระเอก Satan’s Brew เป็นเกย์ในชีวิตจริง เขาเสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ในปี 1988
นอกจาก Satan’s Brew แล้ว หนังเกี่ยวกับนักลอกเลียนผลงานอีกเรื่องหนึ่งที่ยอดเยี่ยมมากๆก็คือ Little Noises (1991, เจน สเปนเซอร์) ซึ่งเป็นหนังอินดี้ทุนต่ำที่นำแสดงโดยคริสปิน โกลเวอร์ (Willard) โดยในเรื่องนี้เขารับบทเป็นนักประพันธ์ที่ไร้ความสามารถ แต่เขาก็โด่งดังขึ้นมาเมื่อเขาเอาบทกวีของผู้ชายบ๊องๆคนหนึ่งไปขายโดยแอบอ้างว่าเป็นผลงานของตัวเอง ตอนจบของหนังเรื่องนี้ดีมากๆเลยค่ะ
(9) Possession (1981, อังเดร ซูลอฟสกี)
คาร์สเตนเสนรับบทเป็นโสเภณีที่เสแสร้งทำเป็นเท้าพิการในหนังพิสดารเรื่องนี้
ผลงานการแสดงเรื่องอื่นๆของ CARSTENSEN รวมถึง
SHATTERED GLASS (2002, CHRIS KRAUS)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00013EY3K.01.LZZZZZZZ.jpg
100 YEARS ADOLF HITLER – THE LAST HOUR IN THE LEADER’S BUNKER (1989, CHRISTOPH SCHLINGENSIEF)
UDO KIER รับบทเป็น ADOLF HITLER ส่วน CARSTENSEN รับบทเป็น MARTHA GOEBBELS ในเรื่องนี้
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00030EJI6.01.LZZZZZZZ.jpg
120 DAYS OF BOTTROP (1997, CHRISTOPH SCHLINGENSIEF)
http://www.imdb.com/title/tt0115434/
หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้กำกับเยอรมันที่ต้องการนำ SALO OR 120 DAYS OF SODOM ของ PIER PAOLO PASOLINI มารีเมคใหม่ แต่เหตุการณ์ไม่ได้เป็นไปอย่างที่เขาคาดหมาย
http://images-eu.amazon.com/images/P/B000FDE04Y.01.LZZZZZZZ.jpg
หลังจากฟาสบินเดอร์เสียชีวิตในปี 1982 ก็มีหนังยุคใหม่บางเรื่องที่อาจจะพอนำมาเทียบเคียงกับหนังของเขาได้บ้าง โดยเฉพาะหนังเยอรมันยุคใหม่ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตครอบครัวที่ขมขื่น หนังยุคใหม่ที่เข้าข่ายใกล้เคียงกับฟาสบินเดอร์ก็รวมถึง No Place to Go (2000, ออสการ์ โรห์เลอร์) ที่เล่าเรื่องของผู้หญิงวัยกลางคนที่ได้รับผลกระทบทางอารมณ์อย่างรุนแรงสุดขีดจากการล่มสลายของเยอรมันตะวันออก และ Deadly Maria (1994, ทอม ทิคเวียร์) ที่เล่าเรื่องราวชีวิตลำเค็ญของมาเรีย (นีนา เพตรี จาก Am I Beautiful?) ผู้ต้องสูญเสียอิสรภาพในชีวิตเพื่อทำตามคำบัญชาของสามีและพ่อ อย่างไรก็ดี ในกรณีของ Deadly Maria นั้น หนังยังแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่ทิคเวียร์ได้รับจากแอลเฟรด ฮิทช์ค็อก และฟรังซัวส์ ทรุฟโฟต์ด้วย
SYLVESTER COUNTDOWN (1997, OSKAR ROEHLER)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B000FDE04O.01.LZZZZZZZ.jpg
NO PLACE TO GO
http://images-eu.amazon.com/images/P/B000056IUZ.03.LZZZZZZZ.jpg
SUCK MY DICK (2001, OSKAR ROEHLER)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B000067UQU.03.LZZZZZZZ.jpg
Monday, May 01, 2006
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment