ดิฉันได้นำความเห็นของตัวเองที่มีต่อตัวละครหญิงที่ชื่นชอบในภาพยนตร์ไปแปะไว้สองที่ค่ะ ความเห็นดังกล่าวเป็นส่วนที่เพิ่มเติมจากที่ลงไว้ในหนังสือ FILMVIRUS 3
อ่านความเห็นแบบมีภาพประกอบได้ที่
http://xq28.net/s/viewtopic.php?t=11017
อ่านแบบไม่มีภาพประกอบได้ที่
http://www.bioscopemagazine.com/review/index-in.php?id=28712
FAVORITE FEMALE CHARACTERS AND OTHER STORIES
ตัวละครหญิงที่ดิฉันชื่นชอบและเรื่องอื่นๆอีกมากมาย (เพิ่มเติมจากความเห็นในหนังสือ ฟิล์มไวรัส 3)
(ข้อความข้างล่างนี้เป็นการแสดงความเห็นเพิ่มเติมต่อจากที่ลงไว้ในหนังสือ ฟิล์มไวรัส 3 ค่ะ)
คำแนะนำก่อนอ่าน
1.บทความข้างล่างนี้เปิดเผยเนื้อเรื่องและตอนจบของหนังหลายเรื่อง ถ้าหากคุณไม่อยากรู้จุดหักมุมและตอนจบของหนังเรื่องต่างๆ ก็ห้ามอ่านบทความนี้เป็นอันขาดค่ะ
2.ข้อมูลบางส่วนในบทความนี้เป็นการแปลและเรียบเรียงมาจากงานเขียนภาษาอังกฤษของนักเขียนหลายๆท่านค่ะ และหนังหลายเรื่องๆที่พูดถึงนี้เป็นหนังที่ตัวดิฉันเองยังไม่ได้ดูค่ะ
3.คำแต่ละคำที่ดิฉันใช้ อาจจะไม่ได้มีความหมายตรงตามตัวอักษร, ไม่ได้มีความหมายตรงตามที่พจนานุกรมบัญญัติไว้ และไม่ได้มีความหมายตรงตามที่คนอื่นๆบัญญัติไว้ เพราะดิฉันใช้คำเหล่านี้ตามความหมายที่ดิฉันกำหนดขึ้นมาเอง และเดาว่าผู้อ่านหลายคนคงเข้าใจความหมายนั้นได้ตรงกันหากไม่ไปยึดติดกับตัวอักษร ตัวอย่างเช่น คำว่า “ผัว” ที่ดิฉันใช้ อาจจะหมายรวมไปถึง “แฟนเพศชายที่ยังไม่ได้แต่งงานกันและยังไม่ได้มีเพศสัมพันธ์กัน” หรือ “แฟนเพศชายที่ไปแต่งงานกับผู้หญิงคนอื่นแล้ว” เป็นต้น (จะเห็นได้ว่า คำว่า “ผัว” ของดิฉันกินความหมายกว้างมากๆ และอาจจะไม่ตรงกับคำว่า “ผัว” ที่ “คนอื่นๆ” บัญญัติความหมายเอาไว้)
เวลาที่ดิฉันดูหนัง ดิฉันพบว่าในบางครั้งดิฉันก็รู้สึกชอบหนังบางเรื่องอย่างมากๆเพราะตัวละครหญิงในเรื่องมันโดนใจอย่างสุดๆ หลายครั้งก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมการได้ดูตัวละครหญิงเหล่านี้ถึงได้ทำให้เกิดความสุขอย่างเปี่ยมล้นในจิตใจ ดิฉันไม่ใช่นักจิตวิทยาและไม่มีความรู้เรื่องจิตวิเคราะห์ใดๆทั้งสิ้น เพราะฉะนั้นดิฉันจึงไม่สามารถหาเหตุผลได้ว่าเพราะเหตุใดดิฉันจึงมีความสุขที่ได้ดูตัวละครหญิงเหล่านี้, มีความสุขที่ได้รู้จักตัวละครหญิงเหล่านี้ และมีความสุขอย่างเหลือล้นทุกครั้งที่ได้นึกถึงตัวละครหญิงเหล่านี้ ดิฉันเดาว่าประสบการณ์ชีวิตคงเป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ทำให้ดิฉันหลงรักตัวละครหญิงเหล่านี้ และเนื่องจากคนทุกคนมีประสบการณ์ชีวิตที่ไม่เหมือนกัน เพราะฉะนั้นถ้าหากคุณไม่ชอบตัวละครหญิงเหล่านี้ มันก็เป็นเรื่องที่ปกติธรรมดาอย่างมากๆค่ะ
VALERIE FLAKE
หนึ่งในตัวละครหญิงที่ทำให้ดิฉันมีความสุขที่สุดที่ได้ดูคือ วาเลอรี เฟลค (รับบทโดยซูซาน เทรย์เลอร์) ในหนังเรื่อง Valerie Flake (1999,จอห์น พุทช์) ซึ่งเป็นหนังที่ดิฉันเปิดมาเจอโดยบังเอิญในเคเบิลทีวี ดิฉันประทับใจหนังเรื่องนี้ตั้งแต่ฉากแรกที่ได้เห็น ซึ่งเป็นฉากที่นางเอกที่หน้าตาไม่ค่อยสวยและออกจะบูดบึ้ง นอนห้อยหัวลงมาจากเตียง เธอเพิ่งร่วมรักกับชายหนุ่มคนหนึ่งในบ้านของเธอ แต่หลังจากร่วมรักเสร็จได้ไม่นาน เธอก็พูดกับชายหนุ่มคนนั้นว่า “ออกไป”
(อ่านเนื้อหาส่วนนี้ต่อได้ในหนังสือ FILMVIRUS 3)
หนังเคเบิลทีวี
ดิฉันดูหนังเรื่องอื่นๆทางเคเบิลทีวี ก็พบว่าหนังหลายๆเรื่องน่าจะสร้างตามกฎที่ “นายทุน” วางเอาไว้ และทั้งผู้กำกับกับนักแสดงก็คงไม่สามารถคัดง้างกับนายทุนได้มากนัก มีหนังหลายๆเรื่องที่ทำท่าว่าจะดี ผู้กำกับก็ดี นักแสดงก็ดี แต่มักจะมีฉากเสร่อๆเข้ามาเป็นประจำ หนังกลุ่มที่ดิฉันพบบ่อยก็คือหนังทริลเลอร์ที่ตัวละครเอกเป็นผู้หญิงค่ะ ดิฉันชอบดูหนังแนวนี้มาก เพราะมันเป็นหนัง “พาฝัน” เป็นหนังที่ช่วยให้ “หลีกหนีจากความเป็นจริง” ได้เป็นอย่างดี หนังกลุ่มนี้มักจะมีนางเอกเป็นตำรวจหญิงหรือผู้หญิงที่มีความเข้มแข็งอยู่ในตัว และเธอก็มักพบกับเหตุการณ์ระทึกขวัญและเหตุการณ์คับขันในหนัง แต่อยู่ดีๆเธอก็จะร่วมรักกับหนุ่มหล่อขึ้นมาอย่างกะทันหันหรืออย่างไม่มีปี่มีขลุ่ย และหลังจากนั้นเธอก็จะกลับไปสืบหาความจริงในเหตุการณ์ระทึกขวัญต่อไป
ดิฉันไม่ได้รังเกียจฉากเลิฟซีนในหนังเลยค่ะ ดิฉันชอบฉากเลิฟซีนในหนัง โดยเฉพาะฉากเลิฟซีนระหว่างชายหนุ่มหล่อล่ำกับสาวสวยที่ถนัดบู๊ในหนังทำนองนี้ แต่ดิฉันรู้สึกว่าฉากเลิฟซีนในหนังเหล่านี้มันดูเหมือนกับถูกยัดเยียดอย่างมากๆ มันเหมือนกับถูกนายทุนบังคับให้ใส่เข้ามา เพราะว่า “อารมณ์ของตัวละคร” มันดูไม่ต่อเนื่องเอาซะเลย สรุปง่ายๆก็คือว่าดิฉันชอบฉากเลิฟซีนเหล่านี้ในระดับนึงค่ะ เหตุผลที่หนึ่งก็คือว่าเป็นเพราะได้เห็นหนุ่มหล่อล่ำ และเหตุผลที่สองก็คือว่า “มันดูตลกมาก” โดยที่ทางนายทุนผู้สร้างหนังอาจไม่ได้ตั้งใจ ดิฉันคิดว่าการที่เราได้เห็นตัวละครที่ “กำลังจะเอาชีวิตไม่รอด” หลายตัวเกิดอารมณ์กระสันขึ้นมาอย่างกะทันหัน มันเป็นสิ่งที่น่าขันค่ะ ถึงแม้ว่ามันเป็นสิ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้จริงก็ตาม
ฉากเลิฟซีนที่สร้างความประทับใจในทางฮาๆให้กับดิฉันรวมถึงฉากเลิฟซีนในหนังเรื่อง
1.The Lost Angel (2004, ดิมิทรี โลโกเธทิส) หนังเรื่องนี้นำแสดงโดยอลิสัน อีสต์วูด ซึ่งเป็นลูกสาวของคลินท์ อีสต์วูด โดยเธอรับบทเป็นตำรวจหญิงปืนโหด
2.Pavement (2002, ดาร์เรล รูดท์) นำแสดงโดยลอเรน ฮอลลี ในบทของตำรวจหญิงที่จริงจังกับการทำงานเป็นอย่างมาก แต่อยู่ดีๆเธอก็ใส่ชุดวาบหวามมาเข้าห้องน้ำโดยไม่มีสาเหตุ
http://images.amazon.com/images/P/B0000E68W1.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
3.Evil Never Dies (2003, อูลิ อีเดล) หนังเรื่องนี้เป็นหนังทริลเลอร์ที่ตัวละครเอกเป็นตำรวจหนุ่มหล่อ แต่ฉากเลิฟซีนในเรื่องก็ดูเหมือนถูกยัดเยียดอย่างมากๆ
http://www.imdb.com/title/tt0355427/
รูปของ THOMAS GIBSON พระเอกหนังเรื่องนี้
http://www.goanddomichigan.com/images/20040520/7812_512.jpg
หนังที่ยกตัวอย่างมาข้างบนไม่ใช่หนังที่ดี, ไม่ใช่หนังที่แนะนำว่าน่าดู และไม่ใช่หนังที่ดิฉันชอบมากค่ะ แต่เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าการจะหานายทุนที่ให้ทุนทำหนังดีๆ อาจจะเป็นเรื่องที่ยากยิ่งกว่าการงมเข็มในมหาสมุทร ดิฉันชอบหนังผู้หญิงบู๊ๆค่ะ และก็พอใจกับหนังผู้หญิงบู๊ๆทางเคเบิลทีวีในระดับประมาณนึง แต่ก็รู้สึกว่าถ้าหากมีการขัดเกลาปรับแต่งสักนิดหน่อย หนังเหล่านี้อาจจะสร้างความพึงพอใจให้กับดิฉันได้มากยิ่งกว่าหนังฉายโรงหลายเท่า
นอกจาก Valerie Flake แล้ว ยังมีหนังเคเบิลทีวีที่ตัวละครเอกเป็นผู้หญิงที่ดิฉันชอบมากๆอีกสองเรื่องค่ะ นั่นก็คือเรื่อง Tick-Tock (2000, เควิน เทนนีย์) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับสองสาว (รับบทโดยเมแกน วอร์ด กับคริสติน มินเทอร์) ที่วางแผนอันซับซ้อนในการฆ่าผู้ชาย หนังเรื่องนี้มีโครงสร้างการเล่าเรื่องที่ถูกใจดิฉันมาก เพราะหนังเรื่องนี้สลับกันเล่าเรื่องผ่านทางมุมมองของตัวละครแต่ละคน และหนังจะย้อนเวลาให้เราดูเป็นระยะๆว่าก่อนหน้านี้ตัวละครตัวไหนวางแผนชั่วอะไรไว้บ้าง เพราะฉะนั้นหนังเรื่องนี้จึงมีการหักมุมที่ทำให้ดิฉันคาดไม่ถึงอยู่บ่อยครั้ง เดาไม่ถูกจริงๆว่าใครเริ่มวางแผนหักหลังใครไว้ตั้งแต่ตอนกี่โมงกันแน่ ดิฉันชอบหนังเรื่องนี้ในระดับพอๆกับ Memento (2000, คริสโตเฟอร์ โนแลน) เลยล่ะค่ะ
http://images.amazon.com/images/P/B00005NFZ8.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
หนังเคเบิลทีวีเรื่องที่สองที่ชอบมากก็คือ The Assault (1996, จิม ไวนอร์สกี) หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับตำรวจหญิงคนหนึ่งที่ต้องคุ้มกันผู้หญิงคนหนึ่งที่เป็นพยานปากสำคัญในคดีฆาตกรรมของมาเฟีย และตำรวจหญิงคนนี้ก็เลยส่งพยานหญิงคนนี้ไปหลบอยู่ในสถานพินิจและคุ้มครองสตรี
http://images.amazon.com/images/P/6305186510.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
อย่างไรก็ดี มาเฟียในเรื่องนี้ชั่วร้ายมาก พวกมันพยายามทุกวิถีทางที่จะฆ่าปิดปากพยานคนนี้ และพวกมันก็เลยตัดสินใจส่งกองทัพมาเฟียบุกมาที่สถานพินิจแห่งนี้เพื่อฆ่าทุกคนในสถานพินิจให้ตายให้หมด
แต่เรื่องมันไม่ง่ายอย่างนั้น เพราะผู้หญิงแต่ละคนในสถานพินิจแห่งนี้ เป็นผู้หญิงเหลือขอที่มีเขี้ยวเล็บแพรวพราว บางคนเคยมีแฟนเป็นอาชญากรตัวเขื่อง, บางคนเติบโตมาในย่านที่มีปืนกลรัวยิงกันเป็นประจำ, บางคนเป็นโรคจิตหวาดระแวง เพราะฉะนั้นการที่กองทัพมาเฟียคิดจะฆ่าผู้หญิงทุกคนในสถานพินิจแห่งนี้ จึงไม่ใช่เรื่องง่ายๆอีกต่อไป
หนังของผู้หญิงทิ้งผัวเรื่องอื่นๆ
ตอนนี้ขอจบเรื่องหนังสุดโปรดทางเคเบิลทีวี และกลับมาที่ Valerie Flake ใหม่ค่ะ สรุปว่าปัจจัยสำคัญที่ทำให้ดิฉันหลงรักนางเอกหนังเรื่องนี้ ก็คือการที่นางเอกเลือกที่จะทิ้งชายหนุ่มที่ตัวเองชอบ และขอเลือกที่จะอยู่เป็นโสดแทน
นอกจากวาเลอรี เฟลคแล้ว ยังมีตัวละครหญิงที่ทำพฤติกรรมแบบนี้ที่ดิฉันชอบสุดๆอีกหลายคนค่ะ ซึ่งรวมถึงตัวละครในหนังดังต่อไปนี้
1.Shirley Valentine (1989, ลูว์อิส กิลเบิร์ต)
เชอร์ลีย์ (รับบทโดยพอลลีน คอลลินส์) เป็นแม่บ้านอายุ 42 ปี เธอรู้สึกเบื่อหน่ายชีวิตสมรสและสามี (เบอร์นาร์ด ฮิลล์) ของตัวเองเป็นอย่างมาก และเธอก็หาทางระบายออกด้วยการพูดคุยกับผนังห้องครัวอย่างเป็นวรรคเป็นเวร เธอเริ่มสงสัยว่าเชอร์ลีย์ วาเลนไทน์ผู้มีชีวิตชีวาในวัยสาวหายไปไหนแล้ว
ต่อมาเพื่อนหญิงของเธอชวนเธอไปเที่ยวกรีซด้วยกัน เชอร์ลีย์ไม่ค่อยแน่ใจในตอนแรก แต่ก็ตัดสินใจไปเที่ยวในที่สุด เธอได้พบและทำความรู้จักกับหนุ่มกรีซ (ทอม คอนติ) ที่น่าสนใจ แต่ในเวลาต่อมาเธอก็ได้เรียนรู้ว่าหนทางที่ดีที่สุดสำหรับเธอก็คือการตั้งต้นชีวิตใหม่ที่นี่ “ตามลำพัง” โดยไม่ต้องมีทั้งสามีชาวอังกฤษและหนุ่มกรีซอยู่เคียงข้าง
ฉากที่ดิฉันชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้คือฉากที่เชอร์ลีย์คิดถึงชีวิตในวัยเรียนค่ะ เธอคิดถึงเพื่อนหญิงคนหนึ่งในโรงเรียนที่เป็น “ดาว” ประจำโรงเรียน ผู้หญิงคนนั้นเป็นสาวสวยสมองดีผู้เพียบพร้อม มีคุณสมบัติเหนือกว่าเชอร์ลีย์ทุกอย่าง
อยู่มาวันหนึ่ง เชอร์ลีย์ได้พบกับเพื่อนคนนี้โดยบังเอิญอีกครั้ง เชอร์ลีย์คิดว่าเพื่อนคนนี้คงมีชีวิตที่ดีกว่าเธอเป็นอย่างมาก แต่ปรากฏว่าไม่ใช่ เพื่อนหญิงผู้มีคุณสมบัติเพียบพร้อมกว่าเชอร์ลีย์ทุกอย่างคนนี้ทำงานเป็นโสเภณีในปัจจุบัน
ฉากนี้เป็นฉากที่กินใจดิฉันอย่างมากๆค่ะ มันทำให้รู้สึกขึ้นมาจริงๆว่า “นี่แหละชีวิต”
Shirley Valentine ดัดแปลงมาจากบทละครเวทีของวิลลี รัสเซล ซึ่งก่อนหน้านี้ลูว์อิส กิลเบิร์ตก็เคยนำบทละครเวทีเรื่อง Educating Rita ของรัสเซลไปสร้างเป็นหนังมาแล้วในปี 1983 โดยมีไมเคิล เคนและจูลี วอลเทอร์สนำแสดง
บทพูดบทนึงของเชอร์ลีย์ วาเลนไทน์ในหนังเรื่องนี้เป็นบทพูดที่น่าประทับใจมากค่ะ นั่นก็คือบทพูดที่ว่า
“I think sex is like supermarkets, you know, overrated. Just a lot of pushing and shoving and you still come out with very little at the end.”
http://www.sixthatpenn.com/Productions/Shirley%20Valentine/webshirleyhalfpage.jpg
2.Le Bleu des villes (1999, สเตฟาน บริเซ, ฝรั่งเศส)
บทโซลองจ์ ซึ่งเป็นนางเอกของหนังเรื่องนี้แสดงโดยฟลอเรนซ์ วิญญอง ซึ่งแสดงได้ดีเยี่ยมสุดใจขาดดิ้นมากๆ โซลองจ์เป็นพนักงานตรวจมิเตอร์ที่จอดรถ เธอมีชีวิตที่ไม่มีความสุข เธอมักจะถูกเจ้าของรถยนต์ด่าทออย่างรุนแรงเป็นประจำ ส่วนแพทริคซึ่งเป็นสามีของเธอก็เป็นคนอารมณ์ร้อนฉุนเฉียวง่าย และมักสร้างความลำบากให้กับโซลองจ์อยู่เสมอ
โซลองจ์ใฝ่ฝันที่จะเป็นนักร้อง แต่แพทริคไม่เห็นด้วย โซลองจ์จึงจำเป็นต้องเลือกระหว่างสามีกับการทำตามความใฝ่ฝัน และเธอก็เลือกทำในสิ่งที่ตัวเองปรารถนา
http://images-eu.amazon.com/images/P/B000065866.08.PT02.LZZZZZZZ.jpg
http://images-eu.amazon.com/images/P/B000065866.08.PT01.LZZZZZZZ.jpg
3.The Left-Handed Woman (1977, เพเทอร์ ฮันด์เคอ, เยอรมันตะวันตก)
นางเอกหนังเรื่องนี้ (อีดิธ เคลเวอร์ จาก Parsifal) ประกาศแยกทางจากสามีอย่างกะทันหันโดยไม่มีการให้เหตุผล เธอมีลูกชายกับเขาแล้ว และเธอก็หาทางเลี้ยงดูลูกชายของเธอต่อไปตามลำพัง เธอค่อยๆปรับตัวเข้ากับชีวิตใหม่ และในที่สุดเธอก็มีความสุขกับชีวิตใหม่นี้ ชีวิตที่ไม่ต้องมีสามีอยู่เคียงข้าง
หนังเรื่องนี้เต็มไปด้วยฉากเล็กๆน่ารักๆมากมาย ซึ่งรวมถึงฉากที่นางเอกกึ่งเดินกึ่งกระโดดราวกับเด็กเล็กๆไปตามทางเดิน, ฉากที่เธอเดินบนไม้ต่อขา, ฉากที่ลูกชายของเธอโผล่ออกมาจากกระเป๋าสัมภาระ และฉากรถไฟวิ่งผ่านสถานีและวิ่งผ่านจุดต่างๆในเมือง โดยที่แรงลมจากรถไฟทำให้แอ่งน้ำเล็กๆที่อยู่ข้างทางรถไฟกระเพื่อมไหว
หนึ่งในสิ่งที่ดิฉันชอบที่สุดในหนังเรื่องนี้ก็คือการที่หนังไม่ได้ให้เหตุผลค่ะว่านางเอกขอแยกทางจากสามีเพราะอะไร นางเอกคงจะมีเหตุผลอยู่ในใจของเธอเอง แต่เธอไม่ได้บอกให้คนอื่นๆและผู้ชมรู้ และดิฉันก็ไม่ได้อยากรู้ ดิฉันเคารพการตัดสินใจของนางเอกหนังเรื่องนี้ค่ะ เธอจะมีเหตุผลอะไรก็เป็นเรื่องของเธอ แต่จากสิ่งที่เธอแสดงออกมา ดิฉันคิดว่านางเอกหนังเรื่องนี้ตัดสินใจถูกต้องเหมาะสมแล้ว
วิดีโอหนังเรื่องนี้เคยมีให้ยืมในห้องสมุดของสถาบันเกอเธ่ ซ.สาทร 1 ค่ะ
(อันนี้เป็นรูปของปกหนังสือ LUCIE IN THE FOREST WITH THE DINGSDA ของ PETER HANDKE)
http://images-eu.amazon.com/images/P/2070416003.01.LZZZZZZZ.jpg
อีดิธ เคลเวอร์ (เกิดปี 1960) เป็นดาราหนังเยอรมันที่ดิฉันชอบมากๆค่ะ ดิฉันรู้สึกว่าหน้าตาเธอเหมาะจะเป็นนักการเมืองหญิงหรือผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์ เธอเคยเล่นหนังเรื่อง The Marquise of O (1976) ที่กำกับโดยเอริค โรห์แมร์ และดัดแปลงจากบทประพันธ์ของไฮน์ริช ฟอน ไคลส์ท แต่ในเรื่องนี้เธอรับบทเป็นผู้หญิงที่ค่อนข้างอ่อนแอจนดิฉันรู้สึกรำคาญ ไม่เด็ดเดี่ยวเหมือนอย่างใน The Left-Handed Woman อย่างไรก็ดี ถึงแม้ดิฉันไม่ชอบบทของเธอใน The Marquise of O แต่การที่อีดิธ เคลเวอร์สามารถแสดงบทผู้หญิงที่มีบุคลิกแตกต่างกันได้มากขนาดนี้ ก็ย่อมแสดงให้เห็นว่าเธอมีฝีมือทางการแสดงสูงมาก
http://images.amazon.com/images/P/B00004U0FM.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
อีดิธ เคลเวอร์เคยแสดงหนังเรื่อง An Adolescent Girl (1979) ที่กำกับโดยฌานน์ มอโร สุดยอดดาราหญิงคนหนึ่งของฝรั่งเศสด้วยค่ะ หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับมารี (รับบทโดยแลตติเชีย เชาโว) เด็กหญิงอายุ 12 ปีที่กำลังจะเติบโตเป็นสาว เธอกับพ่อและแม่ (รับบทโดยอีดิธ เคลเวอร์) เดินทางไปพักผ่อนในต่างจังหวัด และเธอก็ได้เรียนรู้ชีวิตที่นี่ เธอตกหลุมรักคุณหมอหนุ่มอายุ 30 ปีคนหนึ่ง แต่คุณหมอคนนั้นกลับสนใจในตัวแม่ของเธอมากกว่า
ซีโมน ซินญอเรต์ (จาก Golden Marie) รับบทเป็น grandmother (ไม่รู้ว่ายายหรือย่า) ของมารีในเรื่องนี้ค่ะ หนังเรื่องนี้เป็นผลงานการกำกับเรื่องที่สองของฌานน์ มอโร ต่อจากเรื่อง Lumiere (1976) ที่นำแสดงโดยลูเซีย โบเซ และหลังจากหนังเรื่องนี้ มอโรก็กำกับหนังสารคดีเรื่อง Lillian Gish (1983) ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับลิลเลียน กิช ดาราหญิงชื่อดังในยุคหนังเงียบ
(อันนี้เป็นรูปจากดีวีดีหนังเรื่อง ORPHANS OF THE STORM (1921, D.W. GRIFFITH) ที่นำแสดงโดย LILLIAN GISH)
http://images.amazon.com/images/P/B000095J3Y.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
โรเจอร์ อีเบิร์ต นักวิจารณ์ชื่อดังให้ดาว An Adolescent Girl ถึง 3 ดาวครึ่ง โดยเขาเปรียบเทียบหนังเรื่องนี้กับหนังของฌอง เรอนัวร์ที่ชอบสำรวจสภาพชีวิตในชนบทเหมือนกันด้วย
(รูปจากหนังเรื่อง A DAY IN THE COUNTRY (1936, JEAN RENOIR) ที่สร้างจากบทประพันธ์ของ GUY DE MAUPASSANT)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B000A82INO.01.LZZZZZZZ.jpg
http://images-eu.amazon.com/images/P/2253138053.01.LZZZZZZZ.jpg
ดิฉันยังไม่ได้ดู An Adolescent Girl เลยค่ะ แต่ก็อยากดูมากๆ เพราะดิฉันชอบทั้งฌานน์ มอโร, ซีโมน ซินญอเรต์ และอีดิธ เคลเวอร์ ทั้งสามคนนี้เป็น “หญิงเหล็ก” ในสายตาของดิฉันค่ะ
อันนี้เป็นรูปของ JEANNE MOREAU จากหนังเรื่อง THE SAILOR FROM GIBRALTAR (1967, TONY RICHARDSON) ที่สร้างจากนิยายของ MARGUERITE DURAS โดยมี VANESSA REDGRAVE และ ORSON WELLES ร่วมแสดง
http://www.imdb.com/title/tt0062225/
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/36/14/12/18455654.jpg
อันนี้เป็นรูปของ SIMONE SIGNORET จาก THE NORTH STAR (1982, PIERRE GRANIER-DEFERRE) ที่สร้างจากนิยายของ GEORGES SIMENON (RED LIGHTS)
http://www.imdb.com/title/tt0084962/
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/36/32/96/18473787.jpg
อีดิธ เคลเวอร์เป็นดาราคู่บุญของฮันส์-เยือร์เกน ซีแบร์แบร์ก หนึ่งในผู้กำกับหนังกลุ่ม New German Cinema ที่ชอบสร้างหนังที่พิสดารมากๆ โดยเคลเวอร์กับซีแบร์แบร์กเคยร่วมงานกันในหนังไม่ต่ำกว่า 7 เรื่อง ซึ่งรวมถึงเรื่อง (1) Parsifal (1982) ที่ยาว 4 ชั่วโมง 15 นาที, (2) The Night (1985), (3) Edith Clever Reads Joyce (1985) ที่ยาว 3 ชั่วโมง, (4) Penthesilea (1987) ที่ยาว 4 ชั่วโมง 3 นาที, (5) Fraulein Else (1987) ที่ยาว 2 ชั่วโมง, (6) Die Marquise von O. 'vom Süden in den Norden verlegt' ‘ (1990) ที่ยาว 3 ชั่วโมง 45 นาที และ (7) A Dream, What Else? (1994) ที่ยาว 2 ชั่วโมง 12 นาที
รูปของ EDITH CLEVER จาก DIE EINE UND DIE ANDERE (2005, HANS JURGEN-SYBERBERG)
http://www.syberberg.de/Syberberg4_2005/24_Mai05.html
http://www.syberberg.de/Syberberg4_2005/Bilder/DEUDA-MuT-23970005.JPG
http://www.syberberg.de/Syberberg4_2005/Bilder/DEUDA-MuT-23970015.JPG
http://www.syberberg.de/Syberberg4_2005/Bilder/DEUDA-MuT-23970013.JPG
นอกจากอีดิธ เคลเวอร์แล้ว The Left-Handed Woman ยังเต็มไปด้วยดาราประกอบที่น่าสนใจมากมายหลายคนค่ะ ซึ่งรวมถึงบรูโน กันซ์ จาก Downfall, มิเชล ลอนส์เดล จาก India Song, แองเจลา วิงค์เลอร์ จาก The Lost Honor of Katharina Blum, แบร์นฮาร์ด วิคกี จาก Paris, Texas, รูดิเกอร์ โวกเลอร์ จาก Alice in the Cities และมีเจอราร์ด เดอปาร์ดิเออโผล่มาแว๊บๆในหนังเรื่องนี้ด้วย
(BRUNO GANZ ใน THE DOWNFALL (OLIVER HIRSCHBIEGEL))
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/49/26/18399772.jpg
(MICHEL LONSDALE กับ LAURENT LUCAS ใน LES INVISIBLES (2005, THIERRY JOUSSE))
http://www.imdb.com/title/tt0445469/
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/81/97/18427108.jpg
Monday, May 01, 2006
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment