นอกจาก The Left-Handed Woman แล้ว ยังมีหนังอีกเรื่องหนึ่งที่ดิฉันชอบมากๆค่ะที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับผู้หญิงที่ทิ้งคนรักชายไปโดยไม่ให้เหตุผลที่ชัดเจนเหมือนกัน นั่นก็คือเรื่อง For Sale (1988, แลตติเชีย มาสซง) อย่างไรก็ดี บุคลิกของนางเอกหนังสองเรื่องนี้แตกต่างกันมาก เพราะบุคลิกของนางเอก The Left-Handed Woman ค่อนข้างสงบนิ่งมั่นคง, ควบคุมตัวเองได้ดี และหาที่ทางที่เหมาะสมให้กับตัวเองได้แล้ว แต่บุคลิกของนางเอก For Sale ดูร้อนรนกว่าและยังคงอยู่ในภาวะของ “การแสวงหา”
For Sale มีเนื้อหาเกี่ยวกับนักสืบเอกชนคนหนึ่ง (แซร์โจ คาสเตลลิตโต จาก Va Savoir) ที่ได้รับการว่าจ้างจากชายฐานะดีคนหนึ่งให้สืบหาฟรานซ์ โรแบร์ต (ซองดรีน คิเบอร์แลง จาก En avoir (ou pas)) หญิงสาวที่ทำให้ชายฐานะดีคนนั้นตกหลุมรักจนเกือบจะแต่งงานกัน แต่อยู่ดีๆ ฟรานซ์ก็หนีการแต่งงานไปซะเฉยๆราวกับจูเลีย โรเบิร์ตส์ใน Runaway Brideนักสืบเอกชนสืบประวัติของฟรานซ์และก็พบว่าเธออาจจะทำอย่างนี้มาแล้วหลายครั้ง อย่างไรก็ดี ฟรานซ์ทำอย่างนั้นไปเพราะอะไร ไม่มีใครรู้ ไม่มีใครเข้าใจ และแม้แต่ตัวเธอเองก็อาจจะไม่รู้และไม่เข้าใจ เธอวิ่งหนีไปเรื่อยๆ และหาที่ทางใหม่ให้กับชีวิตของตัวเองไปเรื่อยๆฟรานซ์เป็นหนึ่งในตัวละครที่ดิฉันชอบที่สุดค่ะ และการแสดงของซองดรีน คิเบอร์แลงในเรื่องนี้ก็เป็นหนึ่งในการแสดงที่ดิฉันชอบที่สุดในชีวิต
(รูปของ SANDRINE KIBERLAIN จากหนังเรื่อง TO HAVE (OR NOT) (1995, LAETTITIA MASSON, A))
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/36/16/21/18456782.jpg
(รูปของ SERGIO CASTELLITTO จาก NE QUITTEZ PAS! (2004, ARTHUR JOFFE))
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/32/07/18385892.jpg
4.The Greatest Thing (2001, โธมัส รอบซาห์ม, นอรเวย์)
เพทรา (เฮอร์บอร์ก คราเควิก) เป็นผู้หญิงที่มีอดีตอันไม่น่าประทับใจ เธอหนีออกจากหมู่บ้านของตัวเองในช่วงทศวรรษ 1860 และมาตั้งต้นชีวิตใหม่ในหมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่ง โดยผูกมิตรกับนักบวชวัยกลางคนที่มีลูกสาวหน้าตาสะสวยชื่อซีนา
ในช่วงหลังของเรื่องนี้ เพทราต้องเลือกระหว่างชายหนุ่มคนรักกับความใฝ่ฝันของตัวเองที่จะเป็นนักแสดงละครเวที และเธอก็ตัดสินใจเลือกการเป็นนักแสดงละครเวทีค่ะ
หนังนอรเวย์เรื่องนี้เป็นหนังที่ถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ได้สวยมากๆ และเป็นหนังที่ feel good มากๆ หนังเน้นความสัมพันธ์ระหว่างเพทรากับซีนา (เคิร์สตี สตูบอ) แทนที่จะเน้นไปที่ความสัมพันธ์ระหว่างเพศชายกับเพศหญิง
ฉากที่น่าประทับใจมากๆในหนังเรื่องนี้คือฉากที่เพทราพยายามขอคืนดีกับซีนา และเพทราก็ใช้วิธีปีนบันไดสูงขึ้นไปหาซีนาที่อยู่บนชั้นสอง ฉากนี้นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงความกล้าหาญ, ความน่ารัก และความรักเพื่อนของเพทราแล้ว ยังทำให้นึกถึงฉากที่คล้ายๆกันในหนังหลายๆเรื่องด้วย เพราะในหนังหลายๆเรื่อง เรามักจะเห็นฉากที่ “พระเอก” ปีนขึ้นไปที่ระเบียงห้องนอนหรือไปที่หน้าต่างห้องนอนของนางเอก แต่ในหนังเรื่องนี้ เรากลับเห็น “นางเอกคนที่หนึ่ง” ปีนขึ้นไปที่หน้าต่างห้องนอนของ “นางเอกคนที่สอง” เพื่อหาทางพูดคุยกัน
มีหนังสแกนดิเนเวียอีกเรื่องที่มีบางจุดคล้ายกับ The Greatest Thing นั่นก็คือเรื่อง Babette’s Feast (1987, แกเบรียล แอกเซล) ของเดนมาร์ค เพราะหนังทั้งสองเรื่องนี้ต่างก็พูดถึงผู้หญิงแปลกหน้าที่มีประวัติอันลึกลับ ผู้มาปรากฏตัวในหมู่บ้านเล็กๆแห่งหนึ่งและสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีให้กับบางครอบครัวในหมู่บ้านแห่งนั้น
http://images-eu.amazon.com/images/P/B000067A9Q.03.LZZZZZZZ.jpg
ดิฉันชอบ Babette’s Feast มากในระดับใกล้ๆกับ The Greatest Thing ค่ะ แต่ถ้าถามเรื่องความชอบ “ตัวละคร” แล้ว ดิฉันชอบตัวละครนางเอกของ The Greatest Thing มากกว่าเพราะเพทราในหนังเรื่องนี้เป็นผู้หญิงที่มีชีวิตชีวา, ร่าเริง และก๋ากั่นดีมาก ถ้าหากหนังเรื่องนี้เป็นหนังไทยสมัยก่อนๆ บทนางเอกหนังเรื่องนี้อาจจะแสดงโดยคุณจารุณี สุขสวัสดิ์ได้สบาย
เนื้อเรื่องของ The Greatest Thing ในส่วนที่เกี่ยวกับการพยายามทำตามความใฝ่ฝันของตัวเองนั้น มีส่วนใกล้เคียงกับ Billy Elliot (2000, สตีเฟน ดัลดรี) เหมือนกันค่ะ คนที่ประทับใจ Billy Elliot มีสิทธิสูงมากที่จะประทับใจกับหนังเรื่องนี้ด้วย
The Greatest Thing ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์เรื่อง The Fisherman’s Daughter ของ Bjornstjerne Bjornson ซึ่งเคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรมในปี 1903
THE GREATEST THING
http://www.mundofree.com/cine_escandinavo/verden_cartel.jpg
http://www.mundofree.com/cine_escandinavo/verden_b.jpg
http://www.mundofree.com/cine_escandinavo/verden_1b.jpg
http://www.mundofree.com/cine_escandinavo/Kirsti_Stubo.jpg
THOMAS ROBSAHM ผู้กำกับหนังเรื่อง THE GREATEST THING
http://www.filmdir.no/data/profiler/104_thomas_robsahm_hires_rgb.jpg
5.Muriel’s Wedding (1994, พีเจ โฮแกน, ออสเตรเลีย)
นางเอกหนังเรื่องนี้คือโทนี คอลเลทท์ที่ทุกคนรู้จักกันดีค่ะ เธอรับบทเป็นลูกเป็ดขี้เหร่ที่ได้แต่งงานกับนักว่ายน้ำหนุ่มหล่อจากแอฟริกาใต้ (รับบทโดยแดเนียล ลาเพน จาก The Abduction Club) เพราะหนุ่มหล่อคนนี้ต้องการพาสปอร์ตออสเตรเลียเพื่อใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกปี 1996
หนังเรื่องนี้ก็มีบางจุดที่คล้ายกับ The Greatest Thing ค่ะ เพราะหนังเรื่องนี้เน้นการค้นพบตัวเองของนางเอก, การพยายามทำตามความใฝ่ฝันของนางเอก, การให้ความสำคัญระหว่าง “มิตรภาพระหว่างผู้หญิง” มากกว่าความสัมพันธ์ระหว่างหญิง-ชาย และการเรียนรู้ที่จะยืนหยัดด้วยตัวเองโดยปราศจากชายคนรัก
(ปกดีวีดี THE ABDUCTION CLUB (2002, STEFAN SCHWARTZ) ที่นำแสดงโดย DANIEL LAPAINE)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00008OP3H.02.LZZZZZZZ.jpg
DANIEL LAPAINE
http://www.geocities.com/stagescreen2001/danielgallery.html
http://www.geocities.com/stagescreen2001/photos/daniellapaine3.jpg
http://www.geocities.com/stagescreen2001/photos/dp.jpg
DANIEL LAPAINE ใน DOUBLE JEOPARDY (1999, BRUCE BERESFORD)
http://www.hotflick.net/flicks/1999_Double_Jeopardy/999DJP_Daniel_Lapaine_001.jpg
เกร็ดเพิ่มเติม
นอกจากนี้ ดิฉันก็ชอบบทของเอลิซา (รับบทโดยเอ็มมานูแอล เดโวส์) ซึ่งเป็นนางเอกหนังเรื่อง La Femme de Gilles (2004, เฟรเดอริค ฟองเตย์น, เบลเยียม) มากเหมือนกันค่ะ เอลิซาอาจจะไม่ได้เลือกอยู่เป็นโสดแบบนางเอกในหนังกลุ่มนี้ แต่การกระทำของเธอก็แสดงให้เห็นว่าเธอได้ประจักษ์แจ้งเข้าใจแล้วถึง “ความทุกข์ในชีวิตสมรส” เป็นอย่างดี ซึ่งนั่นก็เป็นสิ่งที่ทำให้เธอมีส่วนคล้ายนางเอกในหนังกลุ่มนี้อยู่เหมือนกัน
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/31/99/18384105.jpg
จุดหนึ่งที่ทำให้ดิฉันประทับใจนางเอกในหนังกลุ่มนี้มาก ก็คือการที่นางเอกในหนังกลุ่มนี้ทิ้งชายคนรักทั้งๆที่ชายคนรักไม่ใช่คนที่เลวร้ายอะไรมากนัก สามีใน Shirley Valentine, Le Bleu des villes และ The Left-Handed Woman เป็นสามีที่น่าเบื่อน่ารำคาญ แต่เขาก็ไม่ใช่คนชั่ว ส่วนชายคนรักหรือสามีใน Valerie Flake, The Greatest Thing และ Muriel’s Wedding เป็นผู้ชายที่น่ารักน่าประทานเป็นอาหารอย่างมากๆ เพราะฉะนั้นการที่ตัวละครหญิงเหล่านี้ตัดสินใจทิ้งชายคนรักไปได้ จึงเป็นสิ่งที่ทำให้ดิฉันรู้สึกอึ้งและทึ่งอย่างมากๆ และเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ตัวเองรู้สึกลังเลสงสัยหรือต้องตั้งคำถามกับตัวเองว่าตัวเองจะทำอย่างเดียวกับนางเอกหนังเรื่องนั้นๆหรือเปล่าถ้าตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน
จุดนี้คือจุดที่ทำให้ความรู้สึกของดิฉันที่มีต่อหนัง 6 เรื่องนี้ (รวม Valerie Flake) แตกต่างเป็นอย่างมากจากหนังกลุ่มผู้หญิงทิ้งผัวเพราะผัวชั่ว และหนังกลุ่มผู้หญิงทิ้งผัวเก่าเพราะได้คนรักใหม่ค่ะ ตัวอย่างของหนังกลุ่มผู้หญิงทิ้งผัวเพราะผัวชั่วก็คือเรื่อง Fried Green Tomatoes (1991, จอน แอฟเน็ท) และเรื่อง Sleeping with the Enemy (1990, โจเซฟ รูเบน) ที่นำแสดงโดยจูเลีย โรเบิร์ตส์ ในบทของลอร่า ผู้หญิงที่มีสามีโรคจิต (แพทริค เบอร์กิน) ดิฉันเชื่อว่าผู้ชมส่วนใหญ่ที่ดูหนังเรื่องนี้คงไม่เกิดความลังเลสงสัยแต่อย่างใดว่านางเอกควรทิ้งผัวหรือไม่ และผู้ชมหลายคนคงจะตัดสินใจทิ้งผัวเหมือนกับนางเอกถ้าตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกัน อย่างไรก็ดี ดิฉันไม่ได้เกลียดหนังเรื่อง Sleeping with the Enemy นะคะ ดิฉันชอบหนังเรื่องนี้ในระดับนึงค่ะ เพียงแต่อยู่ในระดับต่ำกว่าหนังกลุ่มผู้หญิงทิ้งผัวถึงแม้ผัวไม่เลวร้ายเท่านั้นเอง
ส่วนหนังกลุ่มผู้หญิงทิ้งผัวเก่าเพื่อคนรักใหม่นั้น จริงๆแล้วก็มีหลายเรื่องที่ดิฉันชอบมากๆค่ะ อย่างเช่นเรื่อง The Lovers (1958, หลุยส์ มาลล์, ฝรั่งเศส) ที่นำแสดงโดยฌานน์ มอโร กับเรื่อง Innocence (2000, พอล ค็อกซ์, ออสเตรเลีย) ที่นางเอก (จูเลีย เบลค) ทิ้งสามี (เทอร์รี นอร์ริส) เพื่อไปมีความสุขกับชายคนรักเก่า (ชาร์ลส์ ทิงเวล) ที่พลัดพรากจากกันมานาน 50 ปี ดิฉันชอบหนังสองเรื่องนี้อย่างสุดๆด้วยองค์ประกอบหลายๆอย่างของหนัง แต่ถ้าหากมองเฉพาะส่วนที่เกี่ยวกับตัวละครนางเอกแล้ว ดิฉันชอบ “นางเอกที่พึ่งพาตัวเอง” ที่มักพบในหนังกลุ่ม “ผู้หญิงทิ้งผัวเพื่ออยู่เป็นโสด” มากกว่า “นางเอกที่ตกหลุมรัก” อย่างที่พบใน Innocence
http://www.bbc.co.uk/bbcfour/cinema/images/lesamants_lead.jpg
http://images.amazon.com/images/P/B00006SFJT.01._SCLZZZZZZZ_.jpg
ถึงแม้ดิฉันมักจะตกหลุมรักนางเอกที่ทิ้งสามีตัวเอง แต่ดิฉันก็ไม่ได้เกลียดชังนางเอกที่รักสามีตัวเองนะคะ มีหนังอยู่หลายเรื่องเหมือนกันค่ะที่ดิฉันชอบมาก และหนังเหล่านั้นมีตัวละครนางเอกที่รักสามีหรือชายคนรักของตัวเองอย่างมากๆ หนังกลุ่ม “ผู้หญิงรักผัว” ที่ดิฉันโปรดปรานรวมถึงเรื่อง
1.“สวยประหาร” หรือ The Heroic Trio (1992, ตู้ฉีฟ่ง) ที่เหมยเยี่ยนฟางรับบทเป็นวันเดอร์ วูแมนที่รักสามีของตัวเองที่เป็นนายตำรวจ (หลิวสงเหยิน จากละครชุด “ฤทธิ์ดาบวงพระจันทร์”) อย่างมาก
http://www.moviebadgirls.com/Heroic_Trio_1.html
http://www.geekroar.com/film/archives/heroic_trio_cover.jpg
http://www.geekroar.com/film/archives/heroic_trio_poster.jpg
2.A Very Long Engagement (2004, ฌอง-ปิแอร์ เฌอเนต์) ที่นางเอก (ออเดรย์ โตตู) ออกตามหาสามี (กาสปาร์ด อุลเลียล) อย่างบ้าคลั่ง
(รูปของ GASPARD ULLIEL จากหนังเกย์เรื่อง THE LAST DAY (2004, RODOLPHE MARCONI))
http://a69.g.akamai.net/n/69/10688/v1/img5.allocine.fr/acmedia/medias/nmedia/18/35/40/83/18394671.jpg
3.Missing (1981, คอสตา-กาฟราส) ที่นางเอก (ซิสซี สปาเซ็ค) ออกตามหาสามี (จอห์น เชีย) ที่หายสาบสูญไปในช่วงที่เกิดการรัฐประหารในชิลี
http://www.videosphere.fr/images/jackettes/275351.jpg
4.Asi es la vida หรือ Such Is Life (2000, อาร์ตูโร ริปสไตน์, เม็กซิโก) จูเลีย (อาร์เซเลีย รามิเรซ) นางเอกของหนังเรื่องนี้เป็นนักทำแท้งที่มีฐานะยากจน เธอรักนักมวยมืออาชีพชื่อนิโคลัส (ลูอิส เฟลิเป โตวาร์) ซึ่งเป็นสามีของเธอและมีลูก 2 คนกับเขา แต่นิโคลัสกลับทิ้งเธอไปหาราเควล (ฟรานเซสกา กวีเยน) ซึ่งเป็นลูกสาวของ “Pig” (เอร์เนสโต ยานเยซ) และ Pig ก็เป็นเจ้าของบ้านเช่าที่จูเลียอาศัยอยู่
Pig พยายามขับไล่จูเลียออกไปจากบ้านเช่าแห่งนั้น และในที่สุดเมื่อจูเลียไม่สามารถทนต่อการสูญเสียสามีและแรงกดดันต่างๆในชีวิตได้อีกต่อไป โศกนาฏกรรมจึงเกิดขึ้นอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
อาร์ตูโร ริปสไตน์ เคยเป็นผู้ช่วยของหลุยส์ บุนเยลในการกำกับภาพยนตร์เรื่อง The Exterminating Angel (1962) ผลงานเด่นๆของริปสไตน์ได้แก่ The Virgin of Lust (2002), The Ruination of Men (2001), No One Writes to the Colonel (1999), Divine (1998), Deep Crimson (1996), The Place Without Limits (1978) และ Foxtrot (1976) ที่นำแสดงโดยชาร์ลอทท์ แรมพลิง กับแมกซ์ ฟอน ซีโดว์ จุดที่มักพบบ่อยในหนังของริปสไตน์ก็คือตัวละครหญิงที่มีสีสันจัดจ้านไม่แพ้ตัวละครหญิงในหนังสเปนของเปโดร อัลโมโดบาร์
ปกดีวีดี THE REALM OF FORTUNE (1986, ARTURO RIPSTEIN)
http://images.amazon.com/images/P/B00006SFJV.01.LZZZZZZZ.jpg
ปกดีวีดี DEEP CRIMSON
http://images.amazon.com/images/P/B0007989TI.01.LZZZZZZZ.jpg
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00004CVSY.02.LZZZZZZZ.jpg
5.In the Realm of the Senses (1976, นางิสะ โอชิมะ) ซาดะ อาเบะ (เออิโกะ มัตสึดะ) นางเอกหนังญี่ปุ่นเรื่องนี้ ท่าทางจะรักใคร่ชายคนรักของตัวเอง (ทัทสึยะ ฟูจิ จาก The Man in White) มากเกินไป เธอก็เลยกระหายที่จะมีเพศสัมพันธ์กับเขาตลอดเวลา
Monday, May 01, 2006
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment