ปีเตอร์ กรีนอะเวย์ เป็นหนึ่งในผู้กำกับอังกฤษที่นิยมทำหนังแนวเพี้ยนหลุดโลกพิลึกกึกกือ โดยผู้กำกับหนังอังกฤษคนอื่นๆที่ชอบทำหนังพิสดารพันลึกไม่แพ้กรีนอะเวย์ได้แก่
(1)ดีเรค จาร์แมน (The Angelic Conversation, Caravaggio, The Last of England)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00005JI0Q.02.LZZZZZZZ.jpg
(2) เคน รัสเซล (The Devils, Gothic, Mahler)
THE RAINBOW (1989, KEN RUSSELL)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00005AVWE.02.LZZZZZZZ.jpg
(3) จอห์น เมย์บิวรี (Man to Man, “Premonition of Absurd Perversion in Sexual Personae, Part I”, Remembrance of Things Fast: True Stories Visual Lies)
ภาพถ่าย DANIEL CRAIG โดย JOHN MAYBURY (THE JACKET)
http://www.bluematia.com/mom11.jpg
(4) ลอร่า มัลเวย์ กับปีเตอร์ โวลเลน (Crystal Gazing, Penthesilea: Queen of the Amazons, Riddles of the Sphinx)
RIDDLES OF THE SPHINX (1977)
http://www.medienkunstnetz.de/assets/img/data/2853/bild.jpg
หนังสือ DEATH 24 X A SECOND (2005) ของ LAURA MULVEY
http://images-eu.amazon.com/images/P/1861892632.02.LZZZZZZZ.jpg
หนังสือ FETISHISM & CURIOSITY (1996) ของ LAURA MULVEY
http://images-eu.amazon.com/images/P/0253210194.01.LZZZZZZZ.gif
หนังสือ PARIS HOLLYWOOD: WRITINGS ON FILM (2002) ของ PETER WOLLEN
http://images-eu.amazon.com/images/P/1859843913.01.LZZZZZZZ.jpg
หนังสือ PARIS MANHATTAN: WRITINGS ON ART (2004) ของ PETER WOLLEN
http://images-eu.amazon.com/images/P/1859844030.02.LZZZZZZZ.jpg
(5) แซลลี พ็อตเตอร์ (The Gold Diggers, Orlando, The Tango Lesson)
(6) เคน แมคมัลเลน (1871, Ghost Dance, Zina)
THERE WE ARE JOHN…: DEREK JARMAN IN INTERVIEW (1993, KEN MCMULLEN)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00004COSJ.02.LZZZZZZZ.jpg
(7) แพทริค เคลเลอร์ (London, Robinson in Space)
ROBINSON IN SPACE (1997, PATRICK KEILLER)
http://images.amazon.com/images/P/B0007TKHT8.01.LZZZZZZZ.jpg
(8) ไอแซค จูเลียน (“Frantz Fanon: Black Skin, White Mask”, Looking for Langston, The Passion of Remembrance, Baadasssss Cinema)
YOUNG SOUL REBELS (1991, ISAAC JULIEN)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B0000AZVDP.02.LZZZZZZZ.jpg
BAADASSSSS CINEMA (2002, ISAAC JULIEN)
http://images.amazon.com/images/P/B00007CVSO.01.LZZZZZZZ.jpg
(9) จอห์น อาคอมฟราห์ (Handsworth Songs, Speak Like a Child, Testament, Who Needs a Heart)
SPEAK LIKE A CHILD (1999, JOHN AKOMFRAH)
http://www.ledaserene.com/mt3/content/projects-images/projects-speaklikeachild.jpg
(10) อเล็กซ์ ค็อกซ์ (Sid and Nancy, Straight to Hell, Revengers Tragedy)
REPO MAN (1984, ALEX COX)
http://images.amazon.com/images/P/B000BR9S96.01.LZZZZZZZ.jpg
STRAIGHT TO HELL (1987, ALEX COX)
http://images.amazon.com/images/P/B000059POZ.01.LZZZZZZZ.jpg
WALKER (1987, ALEX COX)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00008WJ6F.02.LZZZZZZZ.jpg
HIGHWAY PATROLMAN (1991, ALEX COX)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B000058DG4.02.LZZZZZZZ.jpg
REVENGERS TRAGEDY (2003, ALEX COX)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B0000DCY02.02.LZZZZZZZ.jpg
นอกจาก Drowning by Numbers แล้ว (อย่าจำสลับกับ Murder by Numbers ของบาร์เบท ชโรเดอร์) ผลงานการแสดงของคุณป้า โจน โพลวไรท์ที่ดิฉันชอบมากๆยังรวมถึงเรื่อง Enchanted April (1991, ไมค์ นีเวลล์) ซึ่งเป็นหนังย้อนยุคที่ใช้ฉากหลังเป็นช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 และตัวละครในเรื่องเป็นชนชั้นกลางที่แต่งตัวดี ซึ่งวงการหนังอังกฤษดูเหมือนจะเชี่ยวชาญในการสร้างหนังย้อนยุคทำนองนี้เป็นอย่างมาก
ปัจจัยที่ทำให้ดิฉันชอบ Enchanted April มากก็คือการที่หนังเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับตัวละครหญิงหลายคนค่ะ หนังใช้ฉากหลังเป็นอังกฤษในปี 1922 และตัวละครเอกคือล็อตตี (โจซี ลอว์เรนซ์) ผู้หญิงที่รู้สึกเบื่อหน่ายสามีของตัวเอง (แอลเฟรด โมลินา จาก Spider-Man 2) ดังนั้นเธอก็เลยเช่าปราสาทขนาดเล็กแห่งหนึ่งในอิตาลีเพื่อใช้ในการพักผ่อนวันหยุดเป็นเวลานาน 1 เดือน โดยไม่พาสามีไปด้วยให้เกะกะกวนใจ
มีผู้หญิงอีก 3 คนมาร่วมสมทบกับล็อตตีที่ปราสาทนี้ด้วย ซึ่งก็คือ โรส (มิแรนดา ริชาร์ดสัน) ภรรยาที่เบื่อหน่ายสามีที่เป็นนักประพันธ์ (จิม บรอดเบนท์), มิสซิส ฟิชเชอร์ (โจน โพลวไรท์) ซึ่งเป็นแม่ม่ายที่ชอบดูถูกคนอื่น และแคโรลีน (พอลลี วอล์คเกอร์) ซึ่งเป็นสาวผู้ดีที่ทำตัวแปลกแยก
ดิฉันชอบการแสดงของวอล์คเกอร์มากที่สุดในบรรดา 4 คนนี้ค่ะ ดิฉันรู้สึกว่าเธอมีเสน่ห์บางอย่างคล้ายอแมนดา โดโนโฮ (The Lair of the White Worm) และเธอก็มอบการแสดงที่งดงามไว้ใน 8 1 / 2 Women (1999, ปีเตอร์ กรีนอะเวย์) ด้วย น่าเสียดายที่เธอไม่ดังเท่าที่ควร ล่าสุดเห็นเธอรับบทประกอบในหนังเรื่อง Control (2005, ทิม ฮันเตอร์) โดยเล่นเป็นภรรยาของวิลเลม เดโฟในเรื่องนั้น
Enchanted April ดัดแปลงมาจากนิยายของอลิซาเบธ อาร์นิม
ถ้าหากคุณชอบหนังอังกฤษย้อนยุคเกี่ยวกับผู้ดีแปดสาแหรกเหมือน Enchanted April หนังที่อาจดูควบคู่กันไปด้วยได้ก็รวมถึงหนังดังต่อไปนี้
(1) Bright Young Things (2003, สตีเฟน ฟราย)
หนังที่ดัดแปลงจากนิยายของอีฟลิน วอห์เรื่องนี้พูดถึงชนชั้นกลางของอังกฤษที่ใช้ชีวิตอย่างสนุกสนานร่าเริงบันเทิงใจในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง โดยเอมิลี มอร์ติเมอร์ กับเฟเนลลา วูลการ์แสดงได้อย่างสุดยอดมากในเรื่องนี้
(2) The Heart of Me (2002, แธดดุส โอ’ซุลลิแวน)
หนังน้ำเน่าเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรัก 3 เส้าระหว่างหนุ่มหล่อ (พอล เบตตานี) กับพี่สาวน้องสาวคู่หนึ่ง (โอลิเวีย วิลเลียมส์ กับเฮเลนา บอนแฮม คาร์เตอร์) และเป็นหนังน้ำเน่าที่ทำให้ดิฉันร้องไห้อย่างรุนแรงมาก
(3) Up at the Villa (1999, ฟิลิป ฮาส)
หนังที่นำแสดงโดยคริสติน สก็อต โธมัส, ฌอน เพนน์, เจเรมี เดวีส์ และแอนน์ แบนครอฟท์เรื่องนี้ใช้ฉากหลังเป็นเมืองฟลอเรนซ์ในแคว้นทัสคานีของอิตาลีในปี 1938
(4) Where Angels Fear to Tread (1991, ชาร์ลส์ สเตอริดจ์)
หนังอังกฤษย้อนยุคเรื่องนี้ใช้ฉากหลังเป็นแคว้นทัสคานีเหมือนกัน และดัดแปลงมาจากนิยายของอี.เอ็ม. ฟอร์สเตอร์ นักประพันธ์ชื่อดังของอังกฤษที่เป็นเกย์ โดยมีเฮเลน มิร์เรน, จูดี เดวิส, รูเพิร์ท เกรฟส์ และเฮเลนา บอนแฮม คาร์เตอร์ (หรือเจ้าแม่หนังย้อนยุคแห่งเกาะอังกฤษ) นำแสดง
(5) A Room with a View (1985, เจมส์ ไอวอรี)
บอนแฮม คาร์เตอร์นำแสดงในหนังที่สร้างจากบทประพันธ์ของอี.เอ็ม. ฟอร์สเตอร์เรื่องนี้ด้วยเหมือนกัน โดยเนื้อหาส่วนสำคัญของหนังเรื่องนี้เกิดขึ้นในชนบทอันงดงามจนสุดจะบรรยายของแคว้นทัสคานีเหมือนกันด้วย อย่างไรก็ดี ถึงแม้หนังเรื่องนี้จะเป็นหนังที่ยอดเยี่ยมกระเทียมดองในหลายๆด้าน สิ่งที่หลายๆคนนึกถึงเมื่อได้ยินชื่อหนังเรื่องนี้กลับไม่ใช่คุณค่าทางศิลปะของหนัง แต่เป็นอวัยวะเพศของจูเลียน แซนด์ส กับรูเพิร์ท เกรฟส์
(6) White Mischief (1987, ไมเคิล แรดฟอร์ด)
หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องของกลุ่มคนรวยชาวอังกฤษที่หนีภัยสงครามด้วยการอพยพไปจัดงานปาร์ตีที่เคนยา หนังเต็มไปด้วยองค์ประกอบเล็กๆน้อยๆที่ประหลาดและน่าขัน เหมาะจะนำมาดูควบกับ Clean Slate (1981, แบร์ทรองด์ ตาแวร์นิเยร์) ที่ตีแผ่ชีวิตชาวยุโรปในทวีปแอฟริกาในช่วงก่อนสิ้นยุคอาณานิคมเหมือนกัน โดยหนังทั้งสองเรื่องนี้มีเนื้อหาเกี่ยวกับการฆาตกรรมเหมือนกันด้วย
13.The Positively True Adventures of the Alleged Texas Cheerleader-Murdering Mom (1993, ไมเคิล ริทชี)
http://images.amazon.com/images/P/B00005Y6YC.01.LZZZZZZZ.jpg
ฮอลลี ฮันเตอร์รับบทเป็นผู้หญิงที่มีตัวตนจริงในหนังเรื่องนี้ ซึ่งที่จริงแล้วผู้หญิงคนนี้อาจจะร้ายสู้ตัวละครหญิงคนอื่นๆในหนังกลุ่มผู้หญิงใจโหดไม่ได้เลย เพราะเธอยังไม่ได้ฆ่าใคร เธอเพียงแค่พยายามจ้างวานผู้อื่นให้ฆ่าคนเท่านั้น แต่พอดีถูกตำรวจจับได้เสียก่อน
ฮันเตอร์รับบทเป็นผู้หญิงที่พยายามทุกวิถีทางในการผลักดันให้ลูกสาวของตัวเองได้เป็นเชียร์ลีดเดอร์ในโรงเรียนไฮสกูล เธอมองว่าตำแหน่งเชียร์ลีดเดอร์ถือเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติเป็นอย่างมาก และเธอยอมลงทุนถึงขั้นไปจ้างวานคนอื่นให้มาฆ่าเด็กสาวที่เป็นคู่แข่งของลูกสาวของเธอ แต่คนที่เธอไปจ้างวานกลับไม่เล่นด้วย
คดีนี้กลายเป็นข่าวพาดหัวหนังสือพิมพ์ และส่งผลให้เธอกลายเป็นคนดังขึ้นมา ทั้งนี้ นอกจากหนังเรื่องนี้จะจำลองเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นจริงแล้ว ฉากที่โดดเด่นน่าจดจำมากในหนังเรื่องนี้ยังรวมถึงฉากที่ฮันเตอร์มานั่งให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งฉากดังกล่าวให้อารมณ์กึ่งจริงกึ่งตอแหลเหมือนหนังกลุ่ม “ล้อเลียนสารคดี”
อีกจุดที่เด็ดมากในหนังเคเบิลทีวีเรื่องนี้ก็คือการล้อเลียนตัวเอง เพราะเนื้อหาของหนังเรื่องนี้ครอบคลุมไปถึงเหตุการณ์ที่สถานีโทรทัศน์หลายแห่งแก่งแย่งแข่งขันกันในการซื้อลิขสิทธิ์เพื่อเอาเหตุการณ์นี้มาสร้างเป็นภาพยนตร์ และบุคคลบางคนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ก็กะเก็งกันใหญ่ว่าดาราฮอลลีวู้ดคนใดจะมาแสดงเป็นตัวเอง
หนังเรื่องนี้เสียดสีชีวิตคนอเมริกันได้อย่างยอดเยี่ยมมาก ชีวิตที่ยึดติดกับวัตถุนิยมและบ้าการแข่งขัน บ้ายศบ้าเกียรติบ้าศักดิ์ศรีอย่างไม่ลืมหูลืมตา อย่างไรก็ดี อีกสิ่งหนึ่งที่น่าทึ่งมากในหนังเรื่องนี้ก็คือการที่หนังเรื่องนี้สามารถทำให้ตัวละครคุณแม่ใจโหดเลือดเย็นในเรื่องกลับกลายมาเป็นตัวละครที่น่าสงสารเห็นใจได้ในบางฉาก และทำให้ตัวละครบางคนที่เกือบจะเป็น “เหยื่อ” ของคุณแม่คนนี้กลับกลายเป็นเหมือน “ผู้ร้าย”
คดีนี้เคยได้รับการสร้างเป็นหนังมาแล้วก่อนหน้านี้ ซึ่งก็คือหนังเรื่อง Willing to Kill: The Texas Cheerleader Story (1992, เดวิด กรีน) แต่เวอร์ชันปี 1992 ที่นำแสดงโดยเลสลี แอนน์ วอร์เรน กับเทส ฮาร์เปอร์ เป็นหนังที่เล่าเรื่องอย่างตรงไปตรงมา ส่วนเวอร์ชันปี 1993 มีการเล่นสนุกกับวิธีการเล่าเรื่องและเปี่ยมไปด้วยอารมณ์ขัน
ก่อนหน้าที่จะกำกับหนังเรื่องนี้ ไมเคิล ริทชีเคยกำกับหนังเรื่อง Smile (1974) ที่มีอะไรหลายๆอย่างคล้ายคลึงกัน โดย Smile มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตในเมืองเล็กในอเมริกาในช่วงก่อนที่จะมีการประกวดนางงาม “Young American Miss” ในเมืองซานตา โรซ่าของรัฐแคลิฟอร์เนีย
Smile ตีแผ่ให้เห็นถึงความหมกมุ่นของประชาชนที่มีต่อรูปลักษณ์ภายนอก, การหลอกลวงตัวเอง และการที่ผู้หญิงกับผู้ชายไม่มีปฏิสัมพันธ์ที่แท้จริงต่อกัน และยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่าสถาบันในสังคมซึ่งรวมถึงการประกวดนางงามในครั้งนี้มีส่วนทำให้ผู้หญิงกับผู้ชายหวาดระแวงอีกฝ่ายหนึ่งมากยิ่งขึ้น
ถึงแม้ Smile จงใจเสียดสีตัวละคร แต่หนังเรื่องนี้ก็แสดงให้เห็นถึงความรักที่ผู้สร้างหนังมีต่อตัวละครด้วยเช่นกัน และส่งผลให้ในที่สุดแล้วหนังเรื่องนี้ก็ให้อารมณ์ที่อ่อนโยนน่ารักมาก โดยนักวิจารณ์ตั้งข้อสังเกตว่าลักษณะของหนังเรื่องนี้ที่ทั้งเสียดสีและเห็นใจตัวละครในเวลาเดียวกัน เป็นลักษณะที่มักพบได้ในหนังยุโรปตะวันออก โดยเฉพาะหนังของมิลอส ฟอร์แมน (Peter and Paula, The Fireman’s Ball, Loves of a Blonde) ที่มาจากประเทศเชคโกสโลวาเกีย
Smile นำแสดงโดยบรูซ เดิร์น, บาร์บารา เบลดอน, แอนเนทท์ โอ’ทูล, เมลานี กริฟฟิธ และไมเคิล คิดด์ในบทของนักออกแบบท่าเต้น
ไมเคิล ริทชีมีชีวิตระหว่างปี 1939-2001 ผลงานหนังของเขารวมถึง The Golden Child (1986), Cops & Robbersons (1994) และ Semi-Tough (1977)
Semi-Tough เสียดสีอุดมคติของชาวอเมริกันในการเป็น “ผู้ชนะ” เหมือนกัน โดยตัวละครหลักในหนังเรื่องนี้คือนักกีฬาอเมริกันฟุตบอลมืออาชีพ 2 คน (เบิร์ต เรย์โนลด์ส กับ คริส คริสทอฟเฟอร์สัน) ที่มีแฟนสาวคนเดียวกัน (จิล เคลย์เบิร์กห์) โดยมีรอน ซิลเวอร์ (“Enemies, A Love Story”) ร่วมแสดง
PRIME CUT (1972, MICHAEL RITCHIE) นำแสดงโดย SISSY SPACEK
http://images.amazon.com/images/P/B0008KLVA0.01.LZZZZZZZ.jpg
THE CANDIDATE (1972, MICHAEL RITCHIE)
http://images.amazon.com/images/P/6304696507.01.LZZZZZZZ.jpg
SMILE (1975, MICHAEL RITCHIE)
http://images.amazon.com/images/P/B00026L8O4.01.LZZZZZZZ.jpg
THE BAD NEW BEARS (1976, MICHAEL RITCHIE)
http://images.amazon.com/images/P/B00005JK9L.01.LZZZZZZZ.jpg
SEMI TOUGH (1977)
http://images.amazon.com/images/P/B000059TFQ.01.LZZZZZZZ.jpg
AN ALMOST PERFECT AFFAIR (1979, MICHAEL RITCHIE)
http://images.amazon.com/images/P/B0000A2ZNI.01.LZZZZZZZ.jpg
DIVINE MADNESS (1980, MICHAEL RITCHIE)
http://images.amazon.com/images/P/0790742039.01.LZZZZZZZ.jpg
THE SURVIVORS (1983, MICHAEL RITCHIE)
http://images-eu.amazon.com/images/P/B00005UWUB.03.LZZZZZZZ.jpg
FLETCH (1985, MICHAEL RITCHIE)
http://images.amazon.com/images/P/0783227981.01.LZZZZZZZ.jpg
THE COUCH TRIP (1988, MICHAEL RITCHIE)
http://images.amazon.com/images/P/B00008972U.01.LZZZZZZZ.jpg
FLETCH LIVES (1989, MICHAEL RITCHIE)
http://images.amazon.com/images/P/B00009W5F3.01.LZZZZZZZ.jpg
DIGGSTOWN (1992, MICHAEL RITCHIE)
http://images.amazon.com/images/P/B000035P5A.01.LZZZZZZZ.jpg
Monday, May 01, 2006
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment