หนังหลากชีวิตผู้หญิง
1.How to Make an American Quilt (1995, โจเซลีน มัวร์เฮาส์)
อ่านมาถึงตรงนี้แล้วผู้อ่านบางคนอาจจะสงสัยว่ามีหนังเกี่ยวกับผู้ชายทิ้งเมียที่ดิฉันชอบมากๆบ้างหรือเปล่า ซึ่งตอนนี้ดิฉันก็ยังนึกไม่ออกค่ะว่ามีหนังที่พระเอกเป็นผู้ชายทิ้งเมียเรื่องไหนบ้างที่ดิฉันชอบมากๆ แต่ถ้าเป็นหนังที่ตัวประกอบชายทิ้งเมีย มีอยู่เรื่องหนึ่งที่ฝังใจดิฉันมากค่ะ นั่นก็คือเรื่อง How to Make an American Quilt (1995, โจเซลีน มัวร์เฮาส์) ที่มีตัวละครประกอบหลายตัวมาก และหนึ่งในนั้นเป็นชายหนุ่ม (ลอเรน ดีน) ที่อยู่ดีๆ ก็ทิ้งภรรยา (ซาแมนธา แมธิส จาก The Thing Called Love)ที่เป็นนักกระโดดน้ำกับลูกไปอย่างปุบปับฉับพลัน โดยไม่ได้ให้เหตุผลที่ชัดเจน เขาหายสาบสูญไปจากชีวิตของเธอเสียเฉยๆ
(รูปของ LOREN DEAN จาก MUMFORD (1999, LAWRENCE KASDAN))
http://images.allmoviephoto.com/1999_Mumford/loren_dean_mumford_001.jpg
SAMANTHA MATHIS
http://www.aahceleb.com/picture/samanthamathis_011.jpg
ดิฉันอาจจะไม่เห็นด้วยกับการกระทำของชายหนุ่มคนนี้ แต่การกระทำของเขาก็สร้างความสะเทือนใจให้ดิฉันอย่างรุนแรง และทำให้ดิฉันชอบหนังเรื่องนี้มากค่ะ ดิฉันมักจะสมมุติตัวเองว่าเป็นภรรยาของชายคนนั้น และคิดว่าตัวเองอาจจะฉงนฉงายไปจนวันตายก็ได้ว่า “ตอนนี้ผัวเก่าฉันอยู่ที่ไหน เขาทำอะไรอยู่ และเขามีความสุขดีมั้ย”
หนังเรื่องนี้สร้างจากหนังสือของวิทนีย์ ออตโต ที่ติดอันดับขายดี และกำกับโดยผู้หญิงชื่อโจเซลีน มัวร์เฮาส์ ซึ่งเคยกำกับหนังเรื่อง Proof (1991) กับ A Thousand Acres (1997) โดยมีจานุซ คามินสกี (Schindler’s List) มาถ่ายภาพทิวทัศน์ในชนบทให้หนังเรื่องนี้ได้อย่างงดงาม ในขณะที่บทภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นฝีมือของเจน แอนเดอร์สัน (The Positively True Adventures of the Alleged Texas Cheerleader-Murdering Mom)
http://images.amazon.com/images/P/B0002XNT12.01.LZZZZZZZ.jpg
How to Make an American Quilt เล่าเรื่องของฟิน ด็อดด์ (วิโนน่า ไรเดอร์) นักศึกษามหาวิทยาลัยเบิร์คลีย์ที่ทิ้งคู่หมั้นหนุ่ม (เดอร์มอท มัลโรนีย์) เพื่อเดินทางกลับไปพักผ่อนช่วงหน้าร้อนกับญาติผู้ใหญ่ 2 คน (เอลเลน เบอร์สตีน กับแอนน์ แบนครอฟท์) และเธอก็ได้รู้จักกับผู้หญิงหลายๆคนที่มาช่วยกันถักทอผ้าคลุมเตียงให้เธอใช้ในงานแต่งงาน โดยเธอได้รับฟังประวัติชีวิตรักอันน่าประทับใจของหญิงสูงวัยเหล่านี้ด้วย
(รูปของ JOHNATHON SCHAECH นักแสดงนำคนนึงใน HOW TO MAKE AN AMERICAN QUILT)
http://www.geocities.com/hall-o-gods/candystore/johnathon.jpg
http://www.broadwayworld.com/photoops/sweetcharityarrivals/prev108.jpg
โครงสร้างของ How to Make an American Quilt คล้ายๆกับการนำเรื่องสั้นของผู้หญิงหลายๆคนมาเรียงร้อยเข้าด้วยกัน และนักวิจารณ์บางคนก็นำหนังเรื่องนี้ไปเปรียบเทียบกับหนังชุมนุมผู้หญิงผิวดำเรื่อง Waiting to Exhale (1995, ฟอเรสท์ วิทเทเกอร์) ที่มีดาราชายผิวดำชื่อไมเคลติ วิลเลียมสันร่วมแสดงด้วยเหมือนกัน (แต่ดิฉันไม่ค่อยมีอารมณ์ร่วมกับ Waiting to Exhale เท่าไหร่นัก) และนักวิจารณ์ยังนำหนังเรื่องนี้ไปเปรียบเทียบกับ Now and Then (1995, เลสลี ลิงกา แกลทเทอร์) ด้วย เพราะ Now and Then นำเสนอตัวละครผู้หญิงหลายคน และเล่าเรื่องราวของทั้งยุคอดีตกับยุคปัจจุบันควบคู่กันไป
ขอย้อนกลับมาถึงประเด็นเรื่องหนังเกี่ยวกับผู้ชายทิ้งเมียนะคะ มีหนังเกี่ยวกับประเด็นนี้ที่ดิฉันอยากดูมากแต่ยังไม่ได้ดูค่ะ นั่นก็คือหนังจีนขาวดำความยาว 3 ชั่วโมงกว่าเรื่อง The Spring River Flows East (1947, Zheng Junli, Cai Chusheng) โดยหนังอีพิคเมโลดรามาเรื่องนี้เล่าเรื่องของคุณครูจาง (Tao Jin) ที่สอนโรงเรียนภาคค่ำและเป็นคนที่เปี่ยมไปด้วยอุดมคติ เขาแต่งงานกับ Sufen (Bai Yang) ซึ่งเป็นคนงานโรงงานในเซี่ยงไฮ้ในปี 1931 แต่เมื่อกองทัพญี่ปุ่นบุกเข้ามาในจีน เขาก็ออกไปทำงานในกองหน้าร่วมกับกาชาด หลังจากนั้นเขาก็เดินทางไปอยู่ที่ชุงกิงและตั้งต้นชีวิตใหม่เป็นนักธุรกิจและแต่งงานใหม่ โดยทิ้งให้ครอบครัวเก่าของเขามีชีวิตอดๆอยากๆในช่วงสงคราม
หนังเรื่องนี้แบ่งออกเป็นสองภาคค่ะ นั่นก็คือภาค Eight Years of Turmoil กับภาค Before and After Dawn โดยนักวิจารณ์ตั้งข้อสังเกตว่า The Spring River Flows East มีลักษณะคล้ายผลงานการประพันธ็ของชาร์ลส์ ดิคเคนส์ เพราะหนังเรื่องนี้เล่าเรื่องราวของโศกนาฏกรรมของครอบครัวหนึ่งควบคู่ไปกับชะตากรรมของประเทศชาติ
http://61.145.121.92/goods/l/9/99450l.jpg
The Spring River Flows East เป็นผลงานหนังเรื่องที่สองของสตูดิโอ Pink Film Industries หรือ Kunlun Film Company ต่อจากเรื่อง 8,000 Li Under the Clouds and Moon (1947, Shi Dongshan) โดย 8,000 Li Under the Clouds and Moon มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรักของชายหญิงคู่หนึ่งในช่วงสงคราม แต่พอสงครามสิ้นสุดลงและทั้งสองได้แต่งงานกัน ทั้งสองกลับมีชีวิตที่ตกต่ำย่ำแย่ลงเพราะความยากจน ทั้งนี้ นักวิจารณ์ตั้งข้อสังเกตว่าหนังจีนรื่องนี้ได้รับอิทธิพลอย่างมากจากหนังเมโลดรามาของแฟรงค์ บอร์ซาจ (Seventh Heaven, Bad Girl, The Mortal Storm)
ผลงานสำคัญของแฟรงค์ บอร์ซาจรวมถึง A FAREWELL TO ARMS (1932) ที่สร้างจากบทประพันธ์ของ ERNEST HEMINGWAY โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับชายชาวอเมริกัน (GARY COOPER) ที่ทำงานด้านการพยาบาลในอิตาลีในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เขาตกหลุมรักพยาบาลชาวอังกฤษคนหนึ่ง (HELEN HAYES) และต่อมาเขาก็พบว่าเธอกำลังตั้งครรภ์ลูกของเขาและเสียชีวิตจากความหิวโหยและเปล่าเปลี่ยว โดยมี ADOLPHE MENJOU รับบทเป็นเพื่อนเกย์ของพระเอกผู้ตกหลุมรักพระเอก
การแสดงของแกรี คูเปอร์ในเรื่องนี้ได้รับคำชมว่าเซ็กซี่ที่สุด และหนังเรื่องนี้ยังได้รับคำชมจาก TIME OUT FILM GUIDE ว่าสามารถจัดแสงและการเคลื่อนไหวได้งดงามราวกับวาดด้วยปลายพู่กัน รวมทั้งสามารถผสมผสานแนวทาง NATURALISM + EXPRESSIONISM ไว้ในฉากเดียวกันอีกด้วย หนังเรื่องนี้คือหนังโรแมนติกเมโลดรามาที่ยอดเยี่ยมที่สุด และเพลง LIEBESTOD ของ WAGNER ก็เหมาะสมแล้วที่นำมาใช้ประกอบหนังเรื่องนี้
http://images.amazon.com/images/P/B00000ILEO.01.LZZZZZZZ.jpg
ปกดีวีดี STAGE DOOR CANTEEN (1943, FRANK BORZAGE)
http://images.amazon.com/images/P/B00005Y6YM.01.LZZZZZZZ.jpg
2. หนังของโรดริโก การ์เซีย
ถ้าหากพูดถึงหนังที่ใช้โครงสร้างแบบรวมเรื่องสั้นหลากชีวิตผู้หญิงแล้ว หนัง 3 เรื่องที่ดิฉันชอบมากที่สุดในแนวนี้คงจะเป็น The Joy Luck Club (1993, เวย์น หวัง), Things You Can Tell Just by Looking at Her (2000, โรดริโก การ์เซีย) และ Ten Tiny Love Stories (2001, โรดริโก การ์เซีย)
The Joy Luck Club นำเสนอชีวิตผู้หญิงเชื้อสายจีนรุ่นแม่กับรุ่นลูกหลายคน และทำให้ดิฉันร้องไห้กับตอนจบของเรื่อง ส่วน Things You Can Tell Just by Looking at Her ประกอบด้วยเรื่องราวย่อยๆ 5 เรื่องของชีวิตผู้หญิงอเมริกันที่อาศัยอยู่ในซาน เฟอร์นานโด แวลลีย์ในยุคปัจจุบัน โดยมีทั้งเรื่องราวของ (1) แพทย์ (เกลนน์ โคลส), (2) ผู้จัดการธนาคาร (ฮอลลี ฮันเตอร์), (3) คุณแม่ที่เลี้ยงลูกชายวัยหนุ่มตามลำพัง (แคธี เบเกอร์), (4) หมอดูไพ่ทาโรต์ (คาลิสตา ฟล็อคฮาร์ท) กับแฟนเลสเบียนที่กำลังป่วยหนัก (วาเลอเรีย โกลิโน) และ (5) ตำรวจ (เอมี เบรนเนแมน) กับน้องสาวตาบอด (คาเมรอน ดิแอซ)
ดิฉันชอบเรื่องของคุณแม่ที่เลี้ยงลูกตามลำพังมากที่สุดค่ะ เรื่องนี้มีบรรยากาศอ่อนโยนละมุนละไม โปร่งบางเบาสบายคล้ายๆหนังของเอริค โรห์แมร์ แต่ดิฉันก็ชอบการแสดงของเกลนน์ โคลส และฮอลลี ฮันเตอร์ในภาพยนตร์เรื่องนี้มากเช่นกัน โดยเฉพาะในฉากหนึ่งที่เกลนน์ โคลส นั่งนิ่งๆต่อหน้ากล้อง และฉากที่ฮอลลี ฮันเตอร์เดินไปตามท้องถนนขณะที่เขื่อนกั้นอารมณ์กำลังจะพังทลาย
โรดริโก การ์เซีย ผู้กำกับหนังเรื่องนี้เป็นลูกชายของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ นักประพันธ์ชื่อดังของละตินอเมริกาที่ถนัดเขียนเรื่องแนว magical realism ตัวโรดริโกนั้นเคยทำงานเป็นตากล้อง ก่อนจะหันมาทำงานกำกับ/เขียนบทภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นเรื่องแรก และเขาก็ทำได้ดีมาก ในขณะที่เอ็มมานูเอล ลูเบซกี (Y tu mama tambien) ซึ่งเป็นตากล้องของหนังเรื่องนี้ก็ถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของนักแสดงได้อย่างยอดเยี่ยม โดยไม่ต้องอาศัยเทคนิคการถ่ายภาพที่หวือหวาแพรวพราว
ส่วน Ten Tiny Love Stories นั้นเป็นหนังที่ให้ดาราหญิง 10คนมานั่งเล่าประสบการณ์ชีวิตรักที่ฝังใจตัวเอง โดยเรื่องที่ประทับใจดิฉันมากที่สุดคือเรื่องของเดบอราห์ คารา อุงเกอร์ (Crash) ที่เล่าเรื่องของสุนัขที่ป่วยใกล้ตายกับการทำแท้ง เพราะในขณะที่ดาราหญิงคนอื่นๆเล่าเรื่องของตัวเองอย่างค่อนข้างไหลลื่น อุงเกอร์กลับเล่าเรื่องของตัวเองโดยให้อารมณ์สับสนหรือสะดุดเป็นห้วงๆ ราวกับว่าความทรงจำที่มีต่อเหตุการณ์ครั้งนั้นส่งผลกระทบต่อจิตใจเธออย่างรุนแรงจนทำให้เธอควบคุมอารมณ์ให้เป็นปกติขณะที่เล่าไม่ได้
DEBORAH KARA UNGER
http://www.socal.com/absolutenm/articlefiles/1401-debra.jpg
ดาราหญิงที่มาร่วมแสดงใน Ten Tiny Love Stories รวมถึงอลิเซีย วิทท์ (Urban Legend) ที่มาเล่าถึงประสบการณ์ทางเพศครั้งแรก, คิมเบอร์ลี วิลเลียมส์ (Samuel Beckett Is Coming Soon) ที่มาเล่าเรื่องประสบการณ์ทางเพศกับบริกรชาวกรีก และเดบี มาซาร์ (Things I Never Told You) ที่มาบ่นให้ฟังเรื่องสามีของตัวเอง
ALICIA WITT
http://www.annsumma.com/celeb/Alicia_Witt.jpg
KIMBERLY WILLIAMS
http://www.kimberlywilliams.co.uk/misc1/misc_011.jpg
DEBI MAZAR
http://images.absolutenow.com/rp/MazarDebi155050864.jpg
ดาราหญิงคนอื่นๆที่ร่วมแสดงใน Ten Tiny Love Stories ได้แก่ รีเบคกา ทิลนีย์ (Frailty), ราดา มิทเชลล์ (Finding Neverland), เอลิซาเบธ เปนยา (Lone Star), ซูซาน เทรย์เลอร์ (Valerie Flake), แคธี เบเกอร์ (Things You Can Tell Just by Looking at Her) และลิซ่า เกย์ แฮมิลตัน (The Truth About Charlie) ซึ่งเป็นดาราหญิงผิวดำที่ระยะหลังหันมาเอาดีทางการกำกับภาพยนตร์ด้วยเช่นกัน (ระวังอย่าจำชื่อของลิซ่า เกย์ แฮมิลตัน สลับกับชื่อของ มาร์เซีย เกย์ ฮาร์เดน)
REBECCA TILNEY จาก NINE LIVES
http://www.offoffoff.com/film/2005/images/ninelives.jpg
SUSAN TRAYLOR จาก VALERIE FLAKE
http://www.acebaker.com/filmposters/flakeposter.jpg
SUSAN TRAYLOR จาก FIRECRACKER (2004, STEVE BALDERSON)
http://www.dikenga.com/films/firecracker/photographs/castimages/susan_traylor.jpg
KATHY BAKER จาก NINE LIVES (2005, RODRIGO GARCIA))
http://blogs.ya.com/butaca/files/Joe_Mantegna_and_Kathy_Baker_in__Nine_Lives__14.jpg
LISA GAY HAMILTON จาก TRUE CRIME (1999, CLINT EASTWOOD, B+)
http://www.mosaec.com/images/lghtruecrime.jpg
ตอนที่ดิฉันดู Ten Tiny Love Stories ดิฉันไม่รู้มาก่อนเลยค่ะว่าหนังเรื่องนี้เป็นเรื่องแต่ง ดิฉันนึกว่าหนังเรื่องนี้เป็นหนังสารคดีที่ให้ดาราหญิง 10 คนมานั่งเล่าเรื่องจริงที่เกิดขึ้นในชีวิตของตัวเอง จนดิฉันดูจบไปแล้ว ดิฉันก็ยังเข้าใจอยู่ดีว่าหนังเรื่องนี้เป็นสารคดี ต่อมาเมื่อดิฉันได้พูดคุยกับเพื่อน ดิฉันถึงเพิ่งรู้ว่าเรื่องเล่าทั้ง 10 เรื่องในนี้เป็นเรื่องที่แต่งขึ้นมาทั้งหมด โรดริโก การ์เซียหลอกฉันซะสนิทเลยค่ะ เพราะเขาสามารถทำให้ดาราหญิงในหนังเรื่องนี้เล่าเรื่องได้อย่างเป็นธรรมชาติและสมจริงมาก
นอกจากหนังยาวที่รวมเรื่องสั้นหลายๆเรื่องของชีวิตผู้หญิงแล้ว ยังมีหนังยาวอีกกลุ่มหนึ่งที่ประกอบขึ้นด้วยเรื่องราวของนางเอก 3 คนที่เกี่ยวโยงกันอย่างหลวมๆค่ะ ตัวอย่างหนังในกลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักกันดีก็คือ The Hours (2002, สตีเฟน ดัลดรี) และ Personal Velocity (2002, รีเบคกา มิลเลอร์)
3.Voyages (1999, เอ็มมานูเอล ฟิงเคียล)
อ่านข้อมูลส่วนนี้ได้ในหนังสือ FILMVIRUS 3
4.Everything’s Fine, We’re Leaving (2000, คล็อด มูรีราส) (มีการเฉลยตอนจบของหนัง)
อ่านข้อมูลส่วนนี้ได้ในหนังสือ FILMVIRUS 3
5.Up, Down, Fragile (1995, ฌาคส์ รีแวทท์)
อ่านข้อมูลส่วนนี้ได้ในหนังสือ FILMVIRUS 3
6.หนังที่มีนางเอก 3 คนเรื่องอื่นๆ
หนังกลุ่มนางเอก 3 คนที่ดิฉันชอบสุดๆอีกเรื่องนึงก็คือ Full Moon in New York (1989) ที่กำกับโดยสแตนลีย์ กวาน จากฮ่องกง หนังเรื่องนี้เล่าเรื่องของผู้หญิงจากจีนแผ่นดินใหญ่ (Siqin Gaowa จาก The Women from the Lake of Scented Souls), ฮ่องกง (จางม่านอี้) และไต้หวัน (ซิลเวีย ชาง จาก Tempting Heart) ที่มาพบและรู้จักกันในนิวยอร์ค โดยคนที่มาจากจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเดินทางมาแต่งงานกับสามีชาวจีนและมีปัญหาในการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมตะวันตก ส่วนคนที่มาจากฮ่องกงทำงานด้านร้านอาหารและอสังหาริมทรัพย์ และกำลังจะแยกทางจากคู่รักเลสเบียน ส่วนคนที่มาจากไต้หวันนั้นเป็นนักแสดงละครเวทีที่มีความทะเยอทะยาน
ดิฉันชอบตัวละครของซิลเวีย ชางมากที่สุดในบรรดา 3 คนนี้ค่ะ โดยเฉพาะในฉากที่เธอบรรยายถึงเหตุผลที่ทำให้เธอฝังใจกับบทละครเวทีเรื่อง Macbeth ของเชคสเปียร์ โดยเธอเล่าถึงตำนานโบราณที่โหดเหี้ยมทารุณของจีนเกี่ยวกับ “หมูมนุษย์” ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เธอชอบ Macbeth
http://pserve.club.fr/Full_Moon_Aff.JPG
ส่วนหนังกลุ่มนางเอก 3 คนที่ดิฉันชอบในระดับปานกลางก็มีเช่นเรื่อง The Garden of Eden (1994, มาเรีย โนวาโร) ที่เล่าเรื่องของผู้หญิง 3 คนในรัฐติฮัวน่าของเม็กซิโก โดยทั้งสามคนนี้ต่างก็อาศัยอยู่บริเวณพรมแดนของเม็กซิโกที่ติดกับสหรัฐ
ผู้หญิง 3 คนนี้ได้แก่ เจน (เรเน่ โคลแมน) หญิงอเมริกันที่เดินทางมาเม็กซิโก, ลิซ หญิงเชื้อสายสเปน-อเมริกันที่พูดภาษาสเปนไม่ได้ แต่พี่ชายของเธอพูดได้ และเซเรนา (กาเบรียลา โรเอล) หญิงเม็กซิโกที่เป็นม่ายและประสบความยากลำบากอย่างมากในการเลี้ยงลูกตามลำพัง
http://images.amazon.com/images/P/B0009ML27O.01.LZZZZZZZ.jpg
นักวิจารณ์กล่าวว่า The Garden of Eden มีจุดเด่นที่การสำรวจลักษณะเฉพาะของคนเชื้อชาติต่างๆ และตั้งคำถามเกี่ยวกับการดำรงรักษาลักษณะเฉพาะนั้นๆ นอกจากนี้ หนังเรื่องนี้ยังพูดถึงผู้หญิงที่ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน และหาทางสื่อสารกันถึงแม้ในบางครั้งจะพูดจากันคนละภาษาก็ตาม (ประเด็นเรื่องการสื่อสารระหว่างผู้หญิงต่างภาษาอาจจะพบได้จากหนังเรื่อง Casa de los babys (2003, จอห์น เซย์ลส์) ที่ใช้ฉากหลังเป็นเม็กซิโกเหมือนกัน)
http://images.amazon.com/images/P/B0001EQIF6.01.LZZZZZZZ.jpg
มาเรีย โนวาโร ผู้กำกับหนังเรื่องนี้ถนัดในการกำกับหนังเกี่ยวกับสิทธิสตรีค่ะ ผลงานของเธอที่ดิฉันชอบสุดๆคือ Danzon (1991) ที่เล่าเรื่องราวการค้นพบตัวเองของผู้หญิงอายุ 40 ปี (มาเรีย โรโฮ) โดยมีโรดริโก การ์เซียทำงานเป็นตากล้องให้หนังเรื่องนี้ด้วย
อ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับ MARIA NOVARO ได้ที่
http://www.sensesofcinema.com/contents/directors/02/novaro.html
WITHOUT A TRACE (2000, MARIA NOVARO)
http://images.amazon.com/images/P/B0000TPA5Q.01.LZZZZZZZ.jpg
http://www.cinemavvenire.it/magazine/pic/2656a2.jpg
DANZON
http://images-jp.amazon.com/images/P/6302895138.01.LZZZZZZZ.jpg
Monday, May 01, 2006
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment