Thursday, September 22, 2016

2015 FILM WISH LIST

2015 WISH LIST

1. ALTAR (2007, Rico Maria Ilarde, Philippines)
2. BARBER’S TALES (2013, Jun Robles Lana, Philippines)
3. BENEATH THE COGON (2005, Rico Maria Ilarde, Philippines)
4. CASTLE OF SAND (1980, Mario O’Hara, Philippines)
5. CORAZON: THE FIRST ASWANG (2012, Richard Somes, Philippines)
6. ESOTERIKA: MAYNILA (2014, Elwood Perez, Philippines)
7. ISHMAEL (2010, Richard Somes, Philippines)
8. I WILL WAIT FOR YOU IN HEAVEN (1991, Carlos Siguion-Reyna, Philippines)
9. MUSLIM.357 (1986, Fernando Poe, Jr., Philippines)
10.          NOTORYUS (1998, Toto Natividad, Philippines)
11.          OUTLAW INFERNO (1985, Nick Lizaso, Philippines)
12.          UTOL (1995, Toto Natividad, Philippines)
13.          WOMAN OF MUD (2001, Rico Maria Ilarde, Philippines)
14.          ZAMBOANGA (1937, Eduardo de Castro)
15.          THE ACCURSED MILL (1909, Alfred Machin, Belgium)
16.          AMERICAN HUNTER (1990, Arizal, Indonesia)
17.          APACHE RIFLES (1964, William Witney)
18.          AROUND THAT WINTER (2013, Wang Xiaozhen, China, 96min)
19.          BERLUSCONI, A SICILIAN STORY (2014, Franco Maresco, Italy, documentary, 95min)
20.          THE BLACK DIAMOND (1913, Alfred Machin, Belgium)
21.          BLUE BLOOD (1914, Nino Oxilia, Italy, 55min)
22.          DAS BLUMENWUNDER (1926, Max Reichmann, Germany)
23.          THE BOSS OF THE FIRLM (1914, Carl Wilhelm, Germany)
24.          THE BRIDE (1973, Lütfi Akad, Turkey, 92min)
25.          THE BROTHERS KARAMAZOV (1921, Carl Froelich + Dimitri Buchowetzki, Germany)
26.          BURYING THE EX (2014, Joe Dante)
27.          BUT THE FLESH IS WEAK (1957, Ko Nakahiro, Japan)
28.          CHANTECOQ (1916, Henri Pouctal, France)
29.          CHATRAPATHI (2005, S.S. Rajamouli, India, 158min)
30.          THE CHEAT (1915, Cecil B. DeMille, 59min)
31.          CHILDREN’S MAGICAL DEATH (1973, Napoleon Chagnon + Tim Asch, USA, documentary, 29min)
32.          THE COUNCIL OF BIRDS (2014, Timm Kroeger, Germany)
33.          THE COUNTERFEIT TRAITOR (1962, George Seaton, 140min)
34.          CROWN OF THORNS (1923, Robert Wiene, Germany, 102min)
35.          CURSED BE WAR (1914, Alfred Machin, Belgium)
36.          CURSE OF SNAKES’ VALLEY (1987, Marek Piestrak, Poland)
37.          CUT OUT THE EYES (2014, Xu Tong, China, 80min)
38.          DANAV (2003, Makrand Deshpande, India)
39.          THE DEVIL’S MARIONETTES (1920, Johannes Brandt + Friedrich Feher, Germany)
40.          DIVA DOLOROSA (1999, Peter Delpeut, Netherlands, documentary, 75min)
41.          DOCTOR SATANSOHN (1916, Edmund Edel, 44min, Germany)
42.          DON QUIXOTE (1957, Grigori Kozintsev, USSR, 110min)
43.          THE DOSSIER (2014, Zhu Rikun, 129min)
44.          DOWN WITH WEAPONS (1914, Holger-Madsen, Denmark)
45.          EGG AND STONE (2011, Huang Ji, China, 98min)
46.          EMPEROR VISITS THE HELL (2012, Li Luo, China, 67min)
47.          THE EXTRAORDINARY ADVENTURES OF MR. WEST IN THE LAND OF THE BOLSHEVIKS (1924, Lev Kuleshov, USSR, 94min)
48.          FABIOLA (1918, Enrico Guazzoni, Italy)
49.          FABIOLA (1949, Alessandro Blasetti, Italy, 183min)
50.          FEMALE DIRECTORS (2012, Yang Mingming, 43min)
51.          FINNLAND IN KAMPF (1941, Erwin Oscar Stauffer)
52.          THE FIRE (1916, Giovanni Pastrone, Italy, 45min)
53.          FIRES ON THE PLAIN (2014, Shinya Tsukamoto, Japan)
54.          FLASHBACK (1969, Raffaele Andreassi, Italy)
55.          THE FOUR DAREDEVILS (1911, Robert Dinesen, Denmark)
56.          4 NEWSREELS (1941, Valentina Bruberg, Zinaida Brumberg, Aleksandr Ivanov, Olga Khodataeva, Ivan Ivanov-Vano, Soviet Union, animation)
57.          FOUR WAYS TO DIE IN MY HOMETOWN (2012, Chai Chunya, China, 90min)
58.          FRAULEIN PICCOLO (1915, Franz Hofer, Germany)
59.          GERMAN CONCENTRATION CAMPS FACTUAL SURVEY (1945/2014, Ministry of Information, documentary, 70min)
60.          THE GIRL FROM DEFT (1914, Alfred Machin, Belgium)
61.          GREENERY WILL BLOOM AGAIN (2014, Ermanno Olmi, Italy)
62.          EL GRITO (1968, Leobardo López Aretche, Mexico, documentary, 101min)
63.          HILDE WARREN AND DEATH (1917, Joe May, Germany)
64.          HOMUNCULUS (1916, Otto Rippert, Germany, 69min)
65.          I MET YOU TOO LATE (1940, Emanuele Caracciolo, Italy)
66.          INGEBORG HOLM (1913, Victor Sjöström, Sweden, 96min)
67.          THE INHUMAN WOMAN (1924, Marcel L’Herbier, France, 135min)
68.          IN THE LAND OF SHADOWS (1911, Victorin Jasset, France)
69.          IN THE SHADOW OF DEATH (1971, Gunars Piesis, Latvia)
70.          I WANT TO BE A PEOPLE’S REPRESENTATIVE (2014, Jia Zhitan, China, documentary, 78min)
71.          I WAS AN AMERICAN SPY (1951, Lesley Selander)
72.          JOHN PETTICOATS (1919, Lambert Hillyer, 50min)
73.          DIE LANDSTRASSE (1913, Paul von Woringen, Germany)
74.          THE LAST MOOSE OF AOLUGUYA (2013, Gu Tao, China, documentary, 99min)
75.          THE LIAISONS OF HEKTOR DALMORE (1921, Richard Oswald, Germany)
76.          LISTENING TO THIRD GRANDMOTHER’S STORIES (2012, Wen Hui, China, documentary, 75min)
77.          THE LOST SHADOW (1921, Rochus Gliese, Germany)
78.          THE LOVERS OF AN OLD CRIMINAL (1927, Svatopluk Innemann, Czech)
79.          LOVING BLOOD OF THE VOLCANO (1932, Sun Yu, China, 100min)
80.          MACUMBA (1954, Franz Eichhorn + Hans Hinrich)
81.          THE MAIAS, STORY OF A PORTUGUESE FAMILY (2014, João Botelho, Portugal)
82.          MAMAN POUPÉE (1919, Carmine Gallone, Italy)
83.          THE MAN I LOVE (1929, William Wellman)
84.          THE MARRIAGE OF FÜRSTIN DEMIDOFF (1922, Friedrich Zelnik)
85.          THE MISTRESS OF THE WORLD PART 1-8 (1919-1920, Germany)
86.          MORNING STAR (1962, Roman Tikhomirov, Soviet Union, musical, 75min)
87.          MY CRIMES AFTER MEIN KAMPF (1940, Alexandre Ryder, France, 90min)
88.          MY LOVE (1964, Raffaelo Matarazzo, Italy)
89.          THE NEW BABYLON (1929, Grigori Kozintsev + Leonid Trauberg, USSR, 120min)
90.          NIGHT IS COMING: THRENODY FOR THE VICTIMS OF MARIKANA (2014, Aryan Kaganof, South Africa, documentary, 26min)
91.          NO PINCHA (1970, Tobias Engel, René Lefort, Gilbert Igel, Burkina Faso, documentary, 65min)
92.          O’MALLY OF THE MOUNTED (1920, Lambert Hillyer, 60min)
93.          L’OMBRA (1917, Mario Caserini, Italy)
94.          THE OPEN ROAD (1926, Claude Friese-Greene, UK, documentary, 64min)
95.          PING’AN YUEQING (2011, Ai Weiwei, documentary, 142min)
96.          THE PLAGUE IN FLORENCE (1919, Otto Rippert, Germany, 92min)
97.          POWER (1920, Hans Werckmeister, Germany, 99min)
98.          THE RED LANTERN (1919, Albert Capellani, USA, 70min)
99.          REGENERATION (1915, Raoul Walsh, 72min)
100.      RICH CORPSES: A STARNBERG CRIME (2014, Dominik Graf, Germany, 89min)
101.      THE RIVER OF LIFE (2014, Yang Pingdao, China, 101min)
102.      ROSE BERND (1919, Alfred Halm Germany, 70min)
103.      SAND DOLLARS (2014, Laura Amelia Guzmán + Israel Cárdenas, Dominican)
104.      SAPPHO (MAD LOVE) (1921, Dimitri Buchowetzki, Germany, 82min)
105.      SATAN’S RHAPSODY (1917, Nino Oxilia, Italy, 40min)
106.      SATIATED VILLAGE (2011, Zou Xueping, China, 88min)
107.      THE SHORTEST DAY (1963, Sergio Corbucci, Italy)
108.      SONG OF THE SCARLET FLOWER (1919, Mauritz Stiller)
109.      SPARK (2014, Hu Jie, China, 101min)
110.      STRATUM 1: THE VISITORS (2013, Cong Feng, China, 71min)
111.      STRATOS (2014, Yannis Economides, Greece)
112.      STRONG MAN (1929, Henryk Szaro, Poland)
113.      THANGAR MEENGAL (2013, Ram, India)
114.      THEEB (2014, Naji Abu Nowar, UAE)
115.      THROUGH A LENS DARKLY: BLACK PHOTOGRAPHERS AND THE EMERGENCE OF A PEOPLE (2014, Thomas Allen Harris, documentary, 90min)
116.      TO KILL NO MORE! MISERICORDIA (1919, Lupu Pick, Germany) co-scripted by Gerhard Lamprecht
117.      TSILI (2014, Amos Gitai, Israel)
118.      2 EVERYTHING 2 TERRIBLE TOKYO DRIFT (2010. Everything Is Terrible, 55min)
119.      VILLAGE AND CITY (1921, Carl Wilhelm, Germany)
120.      WARNING SHADOWS (1923, Arthur Robison, Germany, 90min)
121.      WE ARE NOT CHILDREN (1934, Augusto Genina, France)
122.      THE WOLF AND THE LAMB (2013, Miskin, India)
123.      THE WOMAN WITH A SHOE (2014, Michael Glawogger, Austria, 90min)
124.      A YEAR OF SCHOOL (1977, Franco Giraldi, Italy, 120min)

125.      YES, MADAM (1942, Ferdinando Maria Poggioli, Italy)

TEMPETES

TEMPÊTES (STORMS) (2010, Dominique Baron + Marc Rivière + Michel Sibra, France, A+)

เหมือนเป็นตอนแรกของ series เพราะหนังเรื่องนี้นำเสนอการทำงานของหน่วยงานปฏิบัติการกู้ภัยริมทะเล มีการนำเสนอปมต่างๆของทีมงานแต่ละคน และมีการแนะนำตัวละครต่างๆ โดยทิ้งเชื้อไว้ให้มีการพัฒนาตัวละครและปมปัญหาต่างๆของตัวละครแต่ละตัวต่อไปได้ อย่างเช่น ละครหญิงสาวใส่ชุดขาวที่เป็นบ้า, ผู้ชายที่อายุน้อยที่สุดในทีมที่มาทำงานไม่ตรงเวลา และยังหาแฟนไม่ได้, หัวหน้าทีมที่มีปมทางจิตกับการทำงานล้มเหลวในอดีต, เจ้าหน้าที่หญิงที่แต่งงานแล้ว แต่ยังมีคนมาจีบ, เจ้าหน้าที่หญิงสาวสวย ที่มีปัญหาเรื่องการแบ่งเวลาทำงาน ฯลฯ

ถึงแม้มันจะดูเหมือนละครทีวีสูตรสำเร็จ แต่เราก็ชอบในระดับ A+ นะ เพราะเรารู้สึกว่าทีมงานสร้างหนังกึ่งละครทีวีเรื่องนี้เขา research ข้อมูลมาดีพอสมควรน่ะ คือเขาคง research ข้อมูลการทำงานของหน่วยกู้ภัยแบบนี้, โลเกชั่นอะไรต่างๆมาดีพอที่จะสร้างเป็นละครทีวี 12 ตอนจบได้เลย

เราว่าการหาโลเกชั่นในเรื่องมันก็ไม่ง่ายนะ เพราะมันต้องใช้เมืองท่าที่มีเกาะแก่งต่างๆอยู่ใกล้เคียงในการถ่ายทำหนังแบบนี้


หนังน่าจะใช้ทุนสูงพอประมาณด้วย เพราะมีการใช้ทั้งเรือเล็ก, เรือใหญ่, เฮลิคอปเตอร์ในการถ่ายทำ

XUAN ZANG

XUAN ZANG (2016, Huo Jianqi, China/India, A+30)
เสวียนจ้าง บุรุษพุทธานุภาพ

1.ถึงจะชอบหนังเรื่องนี้ในระดับ A+30 หรือชอบสุดๆ แต่ก็ขอขึ้นต้นไว้ก่อนว่าเป็นหนังที่เราเสียดายมากๆเรื่องนึงของปี คือช่วงครึ่งแรกของหนังเรื่องนี้นี่หนังทำท่าว่าจะติด top ten ประจำปีหรืออันดับหนึ่งหนังต่างประเทศที่เราชอบที่สุดในปีนี่ได้เลยด้วยซ้ำ แต่เรามีปัญหาบางอย่างกับช่วงหลังๆของหนัง หนังเรื่องนี้ก็เลยหมดสิทธิลุ้นอันดับหนึ่งประจำปีหนังต่างประเทศของเราอย่างแน่นอน แต่ก็ยังคงถือเป็นหนังที่ชอบสุดๆอยู่ดี

2.ช่วงแรกๆของหนังนี่เราชอบสุดๆ คือโดยสไตล์แล้วมันทำให้นึกถึงหนังสองเรื่องที่เรารักมากๆ ซึ่งก็คือ LANCELOT OF THE LAKE (1974, Robert Bresson) กับ THE GOSPEL ACCORDING TO ST. MATTHEW (1964, Pier Paolo Pasolini)

สาเหตุที่ทำให้นึกถึง LANCELOT OF THE LAKE ก็คือว่า XUAN ZANG มันเป็นการนำเสนอภาพพระถังซัมจั๋งในแบบที่เราไม่เคยเห็นมาก่อนน่ะ คือก่อนหน้านี้เราเคยดูไซอิ๋วมาแล้วประมาณ 10 เวอร์ชั่นได้มั้ง ซึ่งมันเป็นการเล่าเรื่องพระถังซัมจั๋งในแบบนิทานอภินิหารสูง มีปีศาจ มีการต่อสู้ มีฉากแอคชั่นอะไรต่างๆมากมาย แต่พระถังซัมจั๋งใน XUAN ZANG กลับได้รับการนำเสนอในฐานะมนุษย์จริงๆ ไม่ใช่นิทาน ไม่มีอภินิหาร มีแต่เลือดเนื้อจิตวิญญาณของมนุษย์จริงๆ และมีการลดทอนความดราม่าและความแอคชั่นลงอย่างรุนแรงมากเมื่อเทียบกับหนัง/ละครทีวีไซอิ๋วเวอร์ชั่นอื่น

มันก็เลยทำให้นึกถึง LANCELOT OF THE LAKE ที่เป็นการเอาตำนานกษัตริย์อาร์เธอร์มาเล่าในแบบ minimal ที่สุด คือเวลาพูดถึงตำนานกษัตริย์อาร์เธอร์กับอัศวินโต๊ะกลม เราก็มักจะนึกถึงฉากแอคชั่น, การรบพุ่งของอัศวินผู้กล้า, เวทมนต์ แต่ LANCELOT OF THE LAKE กลับเป็นอะไรที่ minimal มากๆ และฉากที่ติดตาที่สุดในหนังเรื่องนี้ไม่ใช่ฉากแอคชั่นผจญภัยอะไรเลย แต่เป็นฉากที่ผู้ชมการแข่งขันประลองอะไรสักอย่าง หันคอไปทางซ้ายและทางขวาเพื่อชมการแสดง 

ส่วนสาเหตุที่ทำให้นึกถึง THE GOSPEL ACCORDING TO ST. MATTHEW ก็เป็นเพราะว่า ทั้ง XUAN ZANG และ THE GOSPEL ACCORDING TO ST. MATTHEW เป็นหนังที่พูดถึงศาสนาและสามารถสร้างความประทับใจทางจิตวิญญาณกับเราได้อย่างรุนแรงน่ะ ซึ่งแน่นอนว่าเราไม่เคยได้รับ ประสบการณ์ทางจิตวิญญาณแบบนี้กับหนังไซอิ๋วเวอร์ชั่นอื่นๆ หรือจากหนังพุทธๆทั่วๆไปแบบหนังเกี่ยวกับองคุลีมาล หรือหนังอย่าง ขรัวโต” (2015, Somkiat Ruenprapas) จะมีแต่ก็หนังอย่าง WANDERING ธุดงควัตร (2016, Boonsong Nakphoo) เท่านั้นที่สามารถสร้างประสบการณ์ทางจิตวิญญาณได้ในแบบที่สอดคล้องกับประเด็นทางศาสนาของหนัง แต่หนังที่ทำได้อย่าง ธุดงควัตรก็หาได้ยากมากๆในแวดวงหนังเกี่ยวกับพุทธศาสนา

3.มีฉากที่ทำให้เราร้องไห้ 2 ฉากในช่วงแรก ฉากนึงก็คือฉากที่พระถังซัมจั๋งคุยกับทหารที่คุมหอที่หนึ่ง แล้วทหารคนนั้นกล่าวว่า เขามีชีวิตอยู่เพียงเพื่อรอที่จะ หลับฝันในตอนกลางคืนเท่านั้น คือเขาใช้ชีวิตในช่วงกลางวันไปเรื่อยๆ เพียงเพื่อจะได้รอเวลากลางคืน และเขาจะได้นอนหลับฝันในช่วงนั้น ช่วงเวลากลางวันสำหรับเขาไม่มีคุณค่าแต่อย่างใด มันเป็นช่วงเวลาแห่งความทุกข์ทรมาน เขามีชีวิตอยู่ต่อไปเพียงเพื่อรอเวลาที่จะได้นอนหลับในตอนกลางคืนเท่านั้นเอง

จุดนี้ทำให้เราร้องไห้อย่างรุนแรง เพราะมรสุมชีวิตที่เราเจอในปีนี้ทำให้เรารู้สึกแบบนั้นจริงๆ มันมีบางเดือนในปีนี้ที่เรารู้สึกเหมือน ตกนรกทั้งเป็นทุกๆชั่วโมงที่ตื่นนอนอยู่ และรอเพียงเวลาที่จะได้นอนกอดตุ๊กตาหมีในตอนกลางคืนเท่านั้น มันเหมือนกับว่า ไม่รู้จะมีชีวิตอยู่ต่อไปทำไม ชีวิตคือนรก ชีวิตคือความทุกข์ที่ไม่มีวันสิ้นสุด กูเกิดมาทำไม กูจะอยู่ต่อไปทำไม กูอยู่ต่อไปเพียงเพื่อรอเวลาที่จะได้นอนกอดตุ๊กตาหมีในตอนกลางคืนเท่านั้น ส่วนช่วงเวลาอื่นๆของวันเป็นเหมือนการทนอยู่ในนรกไปเรื่อยๆ

คือพอเจอฉากที่ตัวละครคุยกันแบบนี้ในหนังนี่มันทำให้เราร้องไห้เลยนะ ตอนดูฉากนี้นี่นึกว่าหนังเรื่องนี้มีสิทธิลุ้นอันดับหนึ่งหนังต่างประเทศประจำปีนี้ของเราเลยด้วยซ้ำ โดยสามารถแข่งกับ DIARY OF A COUNTRY PRIEST (1951, Robert Bresson) และ EIKA KATAPPA (1969, Werner Schroeter) ได้เลย ในแง่หนังต่างประเทศที่สะเทือนใจเรามากที่สุดที่ได้ดูในปีนี้

4.ส่วนอีกฉากที่ทำให้เราร้องไห้ใน XUAN ZANG คือฉากทะเลทราย คือเราอินกับบางจุดในฉากนี้มากๆน่ะ และมันทำให้นึกถึงหนังอย่าง ALL IS LOST (2013, J. C. Chandor) และ THE SHALLOWS (2016, Jaume Collet-Serra) ที่ทำให้เราอินอย่างรุนแรงเหมือนๆกัน เพราะในหนังทั้ง 3 เรื่องนี้ ตัวละครมันต้องกระเสือกกระสน ดิ้นรนอยู่ตามลำพัง และแทบไม่มีความหวังเลยว่าจะมีชีวิตรอดต่อไปได้ ความหวังของตัวละครในสามเรื่องนี้มันริบหรี่มากๆ และเราอินกับอะไรแบบนี้มาก

5.อย่างไรก็ดี ช่วงครึ่งหลังของ XUAN ZANG ทำให้เราไม่อินมากเท่ากับช่วงครึ่งแรก เพราะตัวพระถังซัมจั๋งมันไม่ต้อง ทุกข์ทรมานอีกแล้วน่ะ ชีวิตตัวละครสบายขึ้นแล้ว เราก็เลยไม่ค่อยอิน เพราะชีวิตเรายังคงทุกข์ทรมานอย่างมากอยู่

6.จริงๆแล้วช่วงครึ่งหลังของหนังมันเหมือนจะสามารถพัฒนาให้กลายเป็นหนังที่เข้าทางเราอย่างสุดๆได้นะ เพราะมันมีบางช่วงที่นึกว่าเป็น essay film ที่พูดถึงความแตกต่างระหว่างพุทธมหายานกับพุทธหินยาน ซึ่งถ้าหากมันทำเป็น essay film ที่ debate เรื่องนิกายในศาสนาพุทธอย่างจริงจังไปเลย หนังเรื่องนี้ก็มีสิทธิติดอันดับหนึ่งประจำปีเราอย่างแน่นอน เพราะมันจะกลายเป็นหนังที่ก้าวไปไกลสุดๆเรื่องหนึ่งเท่าที่เราเคยดูมาในชีวิต

แต่น่าเสียดายมากๆที่หนังกลับไม่กล้าแตะประเด็นนี้อย่างจริงจัง เราเดาว่าผู้สร้างหนังเรื่องนี้เข้าข้างพุทธมหายานน่ะ เราเลยได้ฟังแต่ argument ที่เหมือนจะแสดงให้เห็นว่า พุทธมหายานดีกว่าพุทธหินยาน และหนังก็ดูเหมือนไม่กล้านำเสนอ arguments ต่างๆมากนัก บางทีผู้สร้างหนังอาจจะกลัวก็ได้ว่า ถ้าหากนำเสนอเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมา มันอาจจะเป็นการสร้างความแตกแยกทางศาสนาก็ได้ หรือถ้าหากนำเสนอประเด็นนี้อย่างจริงจัง หนังเรื่องนี้ก็จะไม่เข้าข่าย หนังที่สร้างความบันเทิงและจำนวนคนดูหนังเรื่องนี้ก็อาจจะลดน้อยลงไปอีก 

7.แล้วพอช่วงท้ายๆของหนัง หนังก็ยิ่งถอยห่างจากแนวหนังที่เราชอบมากยิ่งขึ้น เพราะมันกลายเป็นเหมือนหนังเชิดชูคุณงามความดีของพระถังซัมจั๋งแบบเน้นถ่ายสวยๆย้วยๆไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีคุณค่าใดๆสำหรับเรา

8.สรุปว่า เราเสียดาย XUAN ZANG มากๆ คือถ้าหากมันทำตัวเป็น essay film ที่ debate ความแตกต่างระหว่างพุทธมหายานกับพุทธหินยานไปเลย หนังเรื่องนี้ก็จะมีสิทธิชิงอันดับหนึ่งประจำปีของเราอย่างแน่นอน หรือถ้าหากมันเน้นนำเสนอความทุกข์ทรมานทางกายและใจของพระถังซัมจั๋งอย่างรุนแรงตลอดทั้งเรื่องไปเลย และทำได้ในระดับที่ทัดเทียมกับหนังของ Robert Bresson และ Pier Paolo Pasolini หนังเรื่องนี้ก็มีสิทธิติดอันดับหนึ่งประจำปีของเราได้เช่นกัน แต่น่าเสียดายที่มันทำไม่ได้แบบนั้น