DRAW SOMETHING (2014, Rafa Spp, A+)
ดูหนังเรื่องนี้ได้ที่นี่
1.ในแง่บทและการเล่าเรื่อง เราว่ามันโอเคในระดับนึงนะ คือเราเข้าใจว่าหนังเรื่องนี้คงทำขึ้นภายใต้โจทย์
“หนังเงียบ” น่ะ
และมันก็เล่าเรื่องของมันได้ดีและตลอดรอดฝั่งโดยไม่ต้องใช้บทสนทนาเลย
เราชอบเนื้อเรื่องแนว “แดนสนธยา” อยู่แล้วด้วย
เราก็เลยชอบเนื้อเรื่องของหนังเรื่องนี้ในระดับนึง เพราะมันทำให้นึกถึงรายการทีวี TWILIGHT ZONE ที่เราชอบสุดๆที่เคยดูตอนเด็กๆ
แต่ข้อจำกัดของหนังเรื่องนี้ก็ขึ้นว่า มันสั้นเกินไปน่ะ
เหตุการณ์ในหนังเรื่องนี้ก็เลยไม่สามารถทำให้มันสนุกตื่นเต้นได้แบบสุดขีด เพราะแป๊บเดียวหนังก็จบแล้ว
คือถ้าหากหนังมันสามารถยาวกว่านี้ได้ และไม่ต้องอยู่ภายใต้โจทย์หนังเงียบ
หนังเรื่องนี้ก็อาจจะกลายเป็นหนังที่สนุกมากกว่านี้ได้
2.แต่ถึงแม้เราจะรู้สึกโอเคกับบทและการเล่าเรื่องของหนัง
แต่เราว่าหนังเรื่องนี้ยังขาด “เสน่ห์” อยู่มากๆนะ คือถ้าหากมันเป็นหนังส่งอาจารย์เพื่อตอบโจทย์ของการเล่าเรื่องโดยไม่ใช้บทสนทนา
มันก็เป็นหนังที่โอเคเลยแหละ แต่ถ้าหากมันจะต้องส่งประกวดในเวทีในวงกว้างในหัวข้อ TWILIGHT ZONE หรืออะไรทำนองนี้
เราว่ามันก็ต้องปรับปรุงเรื่อง “การสร้างบรรยากาศ” น่ะ
คือเราว่าบรรยากาศของหนังเรื่องนี้เหมือนหนัง realistic น่ะ บรรยากาศมันดูแห้งผากมาก
บรรยากาศมันเหมาะกับการเป็นหนังสารคดีเกี่ยวกับชีวิตภารโรงหรืออะไรทำนองนี้
แทนที่จะเป็นหนังแนวมิติลี้ลับแบบ TWILIGHT ZONE
แต่เราก็ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคนะ
เราก็เลยไม่แน่ใจเหมือนกันว่าการปรับปรุงบรรยากาศในหนังเรื่องนี้ควรจะทำยังไงบ้าง
มันอาจจะต้องรวมถึงการถ่ายภาพ, การจัดแสง, art direction, set decoration, การแสดง
และงานต่างๆในส่วน post production
สรุปว่า เราว่าหนังเรื่องนี้ เนื้อเรื่องโอเค การเล่าเรื่องโอเค
แต่ขาด “บรรยากาศ” ที่มีเสน่ห์น่ะ
3.ถ้าหากต้องเลือกฉายหนังเรื่องนี้ควบกับหนังอีกเรื่องหนึ่ง
เราคงเลือกฉายควบกับเรื่อง A TYPEWRITER MAN (2014, ลัญฉกร
จาริกพัฒน์, 33min, A+20) เพราะหนังเรื่องนี้เป็นแนว twilight
zone เหมือนกัน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับชายหนุ่มคนหนึ่งที่ได้รับมรดกเป็นเครื่องพิมพ์ดีดโบราณ
และพอเขาพิมพ์ข้อความอะไรลงไป มันก็จะกลายเป็นเรื่องจริงขึ้นมา
ที่เราชอบ A TYPEWRITER MAN มาก
มันเป็นเพราะว่าหนังเรื่องนี้ไม่ต้องอยู่ภายใต้โจทย์หนังเงียบด้วยแหละ
มันก็เลยเล่าเรื่องได้สบายขึ้น และพอหนังมันยาวถึง 33 นาที
มันก็เลยเล่นกับความสัมพันธ์ระหว่างตัวละครต่างๆได้เต็มที่
และมันก็ไม่ได้เป็นเพียงแค่หนังที่เล่นกับความสนุกแบบ TWILIGHT ZONE ด้วย เพราะเราว่าหนังเรื่องนี้มันสามารถใช้เป็นภาพเปรียบเปรยเกี่ยวกับ “ผู้เขียนบทที่เขียนบทขึ้นมาเพื่อตอบสนอง
need ต่างๆของตัวเอง” ได้ด้วย หนังเรื่องนี้ก็เลยมีอีกมิติหนึ่งที่น่าสนใจ
คือนอกจากจะมีทั้งมิติของตัวเนื้อเรื่องตรงๆ หนังเรื่องนี้ยังมีมิติเชิงสัญลักษณ์ด้วย
ถ้าหากใครสนใจหนังทีวีชุด TWILIGHT ZONE (1985-1986) ก็สามารถดูได้จากยูทูบนะ
อันนี้เป็นตอน THE LIBRARY (1986, John Hancock, A+30)
No comments:
Post a Comment