Tuesday, March 15, 2016

PATONG GIRL (2014, Susanna Salonen, Germany, A-)

PATONG GIRL (2014, Susanna Salonen, Germany, A-)

1.ถ้าหนังเรื่องนี้ออกมาเมื่อ 15 ปีที่แล้ว เราอาจจะชอบมากกว่านี้เยอะก็ได้นะ เพราะเมื่อ 15 ปีที่แล้ว “แนวคิดเรื่องเพศ” ในหนังเรื่องนี้ และ “การนำเสนอภาพเมืองไทยผ่านมุมมองคนต่างชาติ” ในหนังเรื่องนี้ อาจจะยังถือว่าเป็นสิ่งที่ก้าวหน้าหรือดีกว่ามาตรฐานอยู่น่ะ โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับหนังในยุคนั้นอย่าง BUTTERFLY MAN (2002, Kaprice Kea)

แต่พอมาในยุคปัจจุบันนี้ แนวคิดเรื่องเพศในหนังเรื่องนี้ ก็ไม่ใช่สิ่งที่ “ดีกว่ามาตรฐาน” แล้ว แต่กลายเป็นมาตรฐานธรรมดาๆไปแล้ว และในส่วนของการนำเสนอภาพเมืองไทยผ่านมุมมองคนต่างชาตินั้น หนังเรื่องนี้ก็อาจจะเทียบกันไม่ติดเลยกับหนังอย่าง HOW TO WIN AT CHECKERS EVERY TIME (2015, Josh Kim) เพราะฉะนั้นในสายตาของเรา หนังเรื่อง PATONG GIRL ก็เลยอยู่ในระดับกลางๆน่ะ คือต่ำกว่าหนังอย่าง HOW TO WIN AT CHECKERS EVERY TIME ; พอๆกับหนังอย่าง SO VERY VERY (2014, Park Je-wook), ONLY GOD FORGIVES (2013, Nicolas Winding Refn),  SOI COWBOY (2008, Thomas Clay) ; แต่สูงกว่าหนังอย่าง BUTTERFLY MAN และ THE CAVE (2001, Martin Koolhoven, Netherlands) ในแง่การนำเสนอความเข้าใจที่มีต่อเมืองไทย

2.เราว่า “เจตนา” กับ “ความสามารถ” ของผู้สร้างหนังเรื่องนี้อาจจะไม่เท่ากันน่ะ 555 คือผู้สร้างหนังเรื่องนี้อาจจะมี “เจตนาดี” ในการนำเสนอภาพเมืองไทยน่ะ แต่ความสามารถของเขาไม่ถึง เพราะฉะนั้นการนำเสนอภาพเมืองไทยของเขาในหลายๆ moment มันก็เลยดูฝืนเกินไป ทั้งๆที่เรารู้ว่าเขามีเจตนาดี

คือเรารู้สึกว่าผู้สร้างหนังเรื่องนี้ไม่ได้ต้องการนำเสนอมุมมองของคนต่างชาติเพียงแง่มุมเดียวน่ะ เขาต้องการจะนำเสนอมุมมองของคนไทยที่มีต่อคนต่างชาติด้วย แต่บท/การกำกับของเขาแสดงให้เห็นว่า เขายังไม่เข้าใจการแสดงออกของคนไทยดีพอ หรืออะไรทำนองนี้ มันเลยออกมาดูล้นๆ ไม่สมจริง หรือลักลั่นในหลายฉาก โดยเฉพาะในฉากย่าของฝ้าย และฉากหญิงขายลูกชิ้นปิ้ง

คือถ้าหากผู้กำกับไม่พยายามมากเกินไป แต่นำเสนอแค่มุมมองของคนต่างชาติเพียงมุมเดียวไปเลย แล้วเอาให้มันดีจริงๆ หนังมันอาจจะออกมาดีกว่านี้ก็ได้นะ คือเรานึกถึงหนังอย่าง THE LAND OF SMILES (2015, Heikki Häkkinen, Finland, documentary, A+30) ที่ถ่ายทำในไทย และนำเสนอแค่มุมมองของคนต่างชาติเท่านั้นน่ะ แต่หนังมันก็ออกมาดีมากๆได้ เพราะผู้กำกับเขาไม่พยายามจะเคลมว่า เขารู้เรื่องเมืองไทยดีพอที่จะนำเสนอมุมมองของคนไทย คือเขาวางตัวตามความเป็นจริงว่า เขาไม่รู้เรื่องเมืองไทยเลย และก็นำเสนอไปตามนั้น หนังมันก็เลยออกมาดีในระดับนึง

แต่ก็ไม่ใช่ว่า ความพยายามที่มากเกินไปในการจะนำเสนอเมืองไทยใน PATONG GIRL เป็นสิ่งที่ล้มเหลวไปซะทั้งหมดนะ เพราะเราว่าบางอันก็ work อย่างเช่น การถ่ายภาพตลาดบ้านเรือนในหนองคาย

3.เราว่าปัญหาหลักๆของ PATONG GIRL ในสายตาของเรา ก็คือเรื่อง “เจตนา” กับ “ความสามารถ” นี่แหละ คือเราว่าผู้กำกับหนังเรื่องนี้มีเจตนาดีจริงๆ เหมือนกับว่าเขาทำ checklist ของประเด็นดีๆที่เขาต้องการนำเสนอสัก 30 ประเด็นในหนังเรื่องนี้ และฉากแต่ละฉากที่เขาใส่เข้ามาก็เหมือนกับการนำเสนอประเด็นที่ตั้งเป้าไว้แล้ว 1 ประเด็น ส่วนฉากต่อมาก็นำเสนอประเด็นที่ตั้งเป้าไว้อีกประเด็น อะไรทำนองนี้

แต่ปัญหาก็คือว่า พอเขาทำหนังแบบ “นำเสนอประเด็นตาม checklist ที่ตั้งไว้” แบบนี้ หนังมันก็เลยออกมาดูไม่เป็นธรรมชาติ และไม่สามารถลงลึกถึงอารมณ์ความรู้สึกส่วนลึกของตัวละครจริงๆน่ะ เหมือนกับว่า พอนำเสนอประเด็นนี้เสร็จปุ๊บ ก็ก้าวไปประเด็นต่อไปเลย ทั้งที่จริงๆแล้วชีวิตมนุษย์มันไม่ได้เป็นแบบนั้น มันมีความค้างคาทางอารมณ์ความรู้สึก เราก็เลยคิดว่า แทนที่เขาจะนำเสนอสัก 30 รายการ checklist ที่ตั้งไว้ จริงๆแล้วเขานำเสนอแค่ 7 ประเด็นก็ได้ แล้วให้เวลากับแต่ละประเด็นจริงๆ เจาะลึกถึงอารมณ์ความรู้สึกของมันจริงๆ หนังมันจะออกมาดีกว่า

รายการ checklist ที่เราเดาว่าผู้กำกับหนังเรื่องนี้ตั้งเป้าไว้ ก็มีเช่น

3.1 ต้องนำเสนอว่าผู้ชายรักกับ transsexual ได้
3.2 ต้องนำเสนอว่า ไม่ใช่หญิงไทยทุกคนที่มีสามีฝรั่งเป็นโสเภณี
3.3 ต้องนำเสนอคนที่เป็น subset ย่อยๆใน homosexual อย่างเช่น เกย์ที่ชอบ “กะเทยมีงู” แต่ถ้าไม่มีงูก็ไม่ชอบ
3.4 ต้องนำเสนอว่า เป็นฝรั่งมาอยู่เมืองไทย แล้วจะทำอะไรตามใจชอบไม่ได้
3.5 ต้องยอมรับความเชื่อด้าน superstition ของคนไทย
3.6 ต้องนำเสนออาหาร exotic ของไทย อย่างเช่นการกินแมลง
3.7 ต้องนำเสนอว่าฝรั่งกลุ่มนึงที่เดินทางท่องเที่ยวแบบนี้ คือพวกที่เคยเป็นฮิปปี้ในทศวรรษ 1960
3.8 ต้องนำเสนอว่า หญิงวัย 50 ปีที่มีสามีแล้ว ก็ยังมีความเงี่ยนที่รอวันระบายออกอย่างงดงามอยู่
3.9 ต้องนำเสนอว่า ฝรั่งกลุ่มนึงมาปักหลักอยู่เมืองไทย เพราะพวกเขาเป็น losers เวลาอยู่เมืองนอก แต่ที่สำคัญคือหนังต้องไม่ดูถูกฝรั่งกลุ่มนี้
3.10 ต้องนำเสนอเรื่อง ผลกระทบจากสงครามอินโดจีนที่มีต่อเมืองไทย โดยเฉพาะผลกระทบที่มีต่อภาคอีสาน
3.11 ต้องนำเสนอความแตกต่างระหว่างคนไทย กับคนจีนในไทย
ฯลฯ

คือ “เจตนา” ของผู้กำกับหนังเรื่องนี้มันดีนะ ไอ้ความต้องการจะนำเสนออะไรต่างๆแบบนี้มันดีมากน่ะ แต่เราว่าความสามารถของเขาไม่ถึงน่ะ มันก็เลยทำให้หนังมีการพูดถึงประเด็นดีๆ แต่อารมณ์ความรู้สึกมันไปไม่ถึงระดับที่น่าพอใจ

คือโดยรสนิยมส่วนตัวของตัวเราแล้ว เราว่าถ้าหากผู้กำกับพลิกครึ่งหลังของหนังให้เป็นเรื่องของ “คุณแม่วัย 50 ปีที่ออกผจญภัยทางเพศในไทย” ไปเลย มันจะดีกว่านี้นะ 555 คือหนังไม่ต้องนำเสนอประเด็นดีๆอะไรมากนักก็ได้ นำเสนอแค่ไม่กี่ประเด็นก็พอแล้ว แต่จริงจังจริงๆกับประเด็นนั้นไปเลยอาจจะดีกว่า


4.ขำที่หนังเรื่องนี้คือการ “รวมดาวสาวสยาม” ของวงการละครเวทีเมืองไทยอย่างแท้จริง ทั้ง Sasapin Siriwanij, Thanyarat Praditthaen, ดวงใจ หิรัญศรี, เศรษฐศิริ นิรันดร, จารุนันท์ พันธชาติ, นานา เดกิ้น คือมีสิทธินี่เป็นหนังที่รวมดาวค้างฟ้าวงการละครเวทีไทยไว้มากที่สุดเท่าที่เราเคยดูมา เสียดายก็แต่นักแสดงละครเวทีทั้ง 6 คนในหนังเรื่องนี้ แต่ละคนได้แสดงความสามารถเพียงแค่ 1% ของศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ในหนังเรื่องนี้

No comments: